RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179479
ทั้งหมด:13490711
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผู้ว่าฯ กทม.เคลียร์ชัด โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง รถไฟฟ้าสายสีทอง เอกชนลงทุนเองทั้งหมดกว่า 3,000 ล้านบาท แล้วยกให้ กทม.โดยรัฐไม่ได้ออกสักบาท ประชาชนได้ประโยชน์เต็มๆ
เผยแพร่: 27 พ.ย. 2563 12:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จะยกส่วนสายสีทอง (Gold Line AGT) มาไว้ที่ section รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ดีไหม เพราะเปิดสายนี้แล้ว

คนคูคต-ฝั่นธนฯ แฮปปี้ ได้นั่ง “รถไฟฟ้าสีเขียว-สีทอง” ลดเวลา-ค่าเดินทาง
วันที่ 16 ธันวาคม 2563 - 17:06 น.


คนคูคต-ฝั่นธนฯ แฮปปี้ ได้นั่ง “รถไฟฟ้าสีเขียว-สีทอง” ลดเวลา-ค่าเดินทาง

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า บรรยากาศการใช้บริการวันแรกรถไฟฟ้า 2 สาย โดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดให้บริการฟรีไปถึงวันที่ 15 มกราคม 2564

เริ่มจากสายสีทองช่วงกรุงธนบุรี – คลองสาน ระยะทาง 1.8 กม. ที่สถานีเจริญนคร หน้าศูนย์การค้าไอคอนสยามเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีประชาชนและพนักงานภายในไอคอนสยาม รอคอยที่หน้าสถานีตั้งแต่เวลา 12.40 น. ซึ่งการเปิดให้บริการจะเริ่มในเวลา 13.00 น. โดยผู้โดยสารที่โดยสารในรอบปฐมฤกษ์ ทุกคนจะได้รับบัตรโดยสารสายสีทองแบบเที่ยวเดียวเป็นที่ระลึกด้วย



ซึ่งพนักงานประจำตู้จำหน่ายบัตรโดยสารประชาสัมพันธ์ว่า รถไฟฟ้าสายสีทองจะให้บริการฟรีถึงวันที่ 15 ม.ค. 2564 โดยผู้โดยสารสามารถกดรับบัตรได้ที่ตู้จำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ หรือรับบัตรกับพนักงานได้ที่ตู้จำหน่ายบัตรโดยสารได้ ส่วนผู้ถือบัตร Rabbit สามารถแตะที่เครื่องกั้นได้ทันที โดยยอดเงินในบัตรจะไม่ถูกตัดออกแต่อย่างใด

ปู่วัย 88 ปี ผู้โดยสารคนแรก
เมื่อถึงเวลา 13.00 น. พนักงานประจำสถานีได้เปิดให้ประชาชนเข้ารับบัตรโดยสารทันที โดยผู้โดยสารรายแรกที่รับบัตรโดยสาร คือ นายแก้ว แซ่อึ้ง อายุ 88 ปี ประชาชนย่านเจริญนคร โดยเปิดเผยว่า มาทดลองใช้บริการเฉย ๆ ส่วนตัวมีบ้านอยู่แถวนี้คงไม่ได้ไปไหนนัก แค่ไหน ๆ มีรถไฟฟ้าผ่านแล้ว จึงขอใช้บริการสักหน่อย ซึ่งตนเห็นรถไฟฟ้าสายนี้สร้างมา 3 ปีแล้ว



ประสานเสียงราคาถูกกว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ขณะที่ผู้โดยสารท่านอื่น “คุณปิลันทนา“ อายุ 57 ปี พนักงานภายในศูนย์การค้าไอคอนสยามกล่าวว่า รอคอยมานาน 3 ปีเช่นกันสำหรับรถไฟฟ้าสายนี้ โดยบ้านของตนอยู่ที่สถานีรถไฟฟ้าหลักสอง ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซด์รับจ้างจากสถานีกรุงธนบุรีจึงจะมาถึง ไปกลับตกวันละ 55-60 บาท แต่รถไฟฟ้าสายนี้มีค่าบริการแค่ 15 บาทเท่านั้น ไปกลับตกวันละเพียง 30 บาท

“ส่วนระยะทางที่สั้นเพียง 1.8 กม. ยอมรับว่าสั้นไป แต่ 1.8 กม.นี้เป็นเส้นทางที่คนมาทำงานในโซนนี้เยอะ ทำให้ช่วยประหยัดค่าเดินทางไปอีกทางหนึ่ง”

สอดคล้องกับ ”คุณแยม” อายุ 36 ปี พนักงานประจำศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายนี้ช่วยประหยัดค่าเดินทางจากเดิมเสียค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างวันละเกือบ 60 บาท พอรถไฟฟ้าสายสีทองเปิดก็จะเสียค่าเดินทางแค่ 30 บาท/วันเท่านั้น และสามารถเดินเข้ารถไฟฟ้า BTS ได้เลย ไม่ต้องเดินขึ้นบันไดอีก และส่วนตัวใช้บริการบัตร Rabbit อยู่แล้วก็ยิ่งสะดวกมากขึ้นอีก


ด้าน ”คุณเปรมิการ์” อายุ 30 ปี ประชาชนย่านภาษีเจริญกล่าวว่า สะดวกกว่าเดิมมาก เพราะแต่เดิมต้องนั่งมอเตอร์ไซค์มาถึงจะเข้าไอคอนสยามได้ ตอนนี้นั่งรถไฟฟ้าเสียแค่วันละ 30 บาท ก็ถือว่าถูกกว่าเดิมมาก แต่ตนกังวลเรื่องความสั่นสะเทือนในระหว่างเดินทาง เพราะตอนที่นั่งมารถค่อนข้างสั่นมาก ๆ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นเพียงช่วงแรก ๆ ของการให้บริการเท่านั้น เมื่อเปิดให้บริการไปเรื่อย ๆ เชื่อว่าระบบเดิยรถจะนิ่งไปเอง





ปลื้มลุงตู่-นโยบายคนละครึ่ง
นอกจากนี้ คุณปิลันทนายังได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงความรู้สึกที่ได้เจอพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเมื่อช่วง 11.00 น. ว่า ตัวจริงแอบหล่อกว่าในทีวี (หัวเราะ) โดยท่านได้ถามสารทุกข์สุขดิบว่า ค้าขายเป็นยังไง ตนตอบไปว่า ก็ทรง ๆ ค่ะ ท่านก็ตอบว่า เดี๋ยวป้าจะค้าขายดีขึ้นแล้วนะ รัฐบาลจะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ตอนนี้ก็ขอให้เข้าร่วมคนละครึ่งกัน ซึ่งนโยบายนี้ส่วนตัวถือว่าดีมาก ทำให้คนค้าคนขายลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นเยอะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีทอง บูมท่องเที่ยวฝั่งธนบุรี ปักหมุด 5 ย่านห้ามพลาด
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 17 ธันวาคม 2563 - 14:49 น.


เปิดหวูดให้บริการไปแล้วเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2563 สำหรับ “รถไฟฟ้าสายสีทอง” รถไฟฟ้าน้องใหม่

วิ่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี ไปตามแนวถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม แยกคลองสาน ไปสิ้นสุดที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน

รวมระยะทางประมาณ 1.8 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน จะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 นาที อัตราค่าโดยสารเที่ยวละ 15 บาทตลอดสาย แต่ตอนนี้ ”กทม.” ใจดี เปิดให้นั่งฟรี 1 เดือน ถึงวันที่ 15 ม.ค. 2564

ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้ ถึงจะมีระยะทางสั้นที่สุดในประเทศไทย และมีขนาดเล็ก นอกจากจะช่วยให้คนเดินทางไปช้อปปิ้งและท่องเที่ยวที่ศูนย์การค้ายักษ์ไอคอนสยามได้สะดวกรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปต่อคิวนั่งมอเตอร์ไซต์และนั่งเรือที่สะพานตากสิน

ยังช่วยเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวฝั่งธนบุรี กระตุ้นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ชื่นชมวิถีชีวิตชุมชนในแนวเส้นทางและริมแม่น้ำเจ้าพระยา


    จากการสำรวจ มี 5 ย่านดัง ที่ต้องห้ามพลาด จุดแรก ”ย่านท่าดินแดง” เป็นจุดเชื่อมต่อของท่าเรือท่าดินแดง กับถนนสายหลักถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนลาดหญ้า มีร้านค้า และร้านอาหารมากมาย

    จุดที่สอง ”ย่านคลองสาน” จุดต่อเรือโดยสารทั้งเรือด่วนเจ้าพระยา เรือข้ามฝาก ไปยังฝั่งสี่พระยา มีร้านค้าและร้านอาหารมากมาย

    จุดที่สาม ”ย่านวงเวียนใหญ่” จุดต่อรถโดยสารสาธารณะและรถไฟไปยังแถบชานเมือง มีตลาดวงเวียนใหญ่และร้านอาหารมากมาย

    จุดที่สี่ ”ย่านไอคอนสยาม” ห้างสรรพสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทั้งศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์และศูนย์การเรียนรู้

    จุดสุดท้าย ”ย่านล้ง 1919” แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดดเด่นด้านศิลปะไทย-จีน มีร้านค้า ร้านอาหารและร้านกาแฟให้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2020 1:58 am    Post subject: Reply with quote






รถไฟฟ้าสายสีทอง AGT มาวันแรกก็ไปได้สวยเลยนะครับ
https://www.facebook.com/marut.siriko.3/posts/3382503451875485
https://www.youtube.com/watch?v=QhqJdg8F-y0
https://www.youtube.com/watch?v=6IYZ0rXv2Ro
https://www.youtube.com/watch?v=R9WqWy2h2TU
https://www.youtube.com/watch?v=CrTOWd0B9nk
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2020 11:01 pm    Post subject: Reply with quote

กดปุ่มรถไฟฟ้าสายสีทอง บูม “ศูนย์ราชการ-ท่องเที่ยว” ฝั่งธนฯ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 ธันวาคม 2563 - 09:10 น.

หลังรอมาร่วม 3 ปี ในที่สุดคนฝั่งธนบุรี สิ้นสุดการรอคอยได้นั่งรถไฟฟ้าล้อยาง “สายสีทอง” รถไฟฟ้าไร้คนขับสายแรกของประเทศไทย

ย้อนที่มาโครงการ
จุดเริ่มต้นรถไฟฟ้าสายนี้ เกิดจาก “กลุ่มสยามพิวรรธน์” เจ้าของศูนย์การค้าไอคอนสยาม สนับสนุนเงินลงทุน 2,500 ล้านบาท ให้ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ซึ่งมอบ บจ. กรุงเทพธนาคม วิสาหกิจ กทม.เป็นผู้ก่อสร้างเฟสแรก ระยะทาง 1.7 กม. จากกรุงธนบุรี เลาะถนนเจริญนคร ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงสำนักงานเขตคลองสาน

มี 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมต่อบีทีเอส 2.สถานีเจริญนคร (ไอคอนสยาม) อยู่เจริญนคร 6 และ 3.สถานีคลองสาน เยื้องโรงพยาบาลตากสิน มี sky walk เชื่อมโรงพยาบาลตากสินได้ จะใช้เวลาเดินทาง 6 นาที

โดยมี “บีทีเอส-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถตลอด 30 ปี โดยรัฐมีรายได้จากค่าตั๋วโดยสารที่เก็บ 15 บาทตลอดสาย

ลงทุนโดยเอกชน 100%

ซึ่งเป็นการลงทุนโดยที่ไม่ใช้งบประมาณ กทม. เป็นการให้สิทธิพื้นที่โฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้าแก่เอกชน 30 ปี และ กทม.นำรายได้ดังกล่าวมาลงทุนก่อสร้าง โดยทรัพย์สินทั้งหมดยังเป็นของ กทม.ตั้งแต่เริ่มให้บริการ

ถือเป็นการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชนอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ลดปัญหารถติด คาดว่าจะลดจำนวนรถบนถนนคลองสานลงในแต่ละชั่วโมง 6,000 คัน และเพิ่มทางเลือกเดินทางที่สะดวกสบาย สร้างแหล่งงาน แหล่งท่องเที่ยว และเสริมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ฝั่งธนบุรี



แม้ว่า “สายสีทอง” จะเป็นรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งบนรางคอนกรีต มีขนาดเล็ก จุคนได้ไม่มาก และมีระยะทางที่สั้นที่สุดในประเทศไทย แต่เป็นรถไฟฟ้าอีกหนึ่งสายทาง มีส่วนสำคัญช่วยเปิดการพัฒนาให้พื้นที่ฝั่งธนบุรี ทั้งการท่องเที่ยวและการพัฒนาใหม่ ๆ ย่านเจริญนคร-คลองสานได้เป็นอย่างดี


คอนโดฯ-โรงแรม-ห้างขึ้นพรึ่บ

เนื่องจากตลอดเส้นทางมีคอนโดมิเนียมและโรงแรมหรู เข้าไปลงทุนพัฒนารอไว้ล่วงหน้าก่อนที่รถไฟฟ้าสายสีจะตอกเข็มในปี 2561 เช่น บมจ.ศุภาลัย บมจ.ไรมอนแลนด์ บมจ.รสา พร็อพเพอร์นี้ ดีเวลลอปเมนท์ ยังมีที่ดินเปล่ารอพัฒนา หนึ่งในนั้นเป็นที่ดินเจ้าสัวเจริญ เนื้อที่ 10 ไร่ โกดังเก่า บจ. เสริมสุข อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และติดถนนเจริญนครซอย 15 ห่างจากสถานีเจริญนคร 400-500 เมตร ปีหน้าอวดโฉมไอคอนเฟส 2

โดยรอบ “ศูนย์การค้าไอคอนสยาม” หลังกลุ่มสยามพิวรรธน์ ผนึก “บจ.แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น” ธุรกิจอสังหาฯเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ทุ่มกว่า 5 หมื่นล้านบาท เนรมิตที่ดิน 50 ไร่ ผุดศูนย์การค้า โรงแรม 5 ดาว คอนโดฯหรู ศูนย์ประชุมแล้ว

ยังทุ่มอีก 4,000 ล้านบาท สร้าง “ไอคอนสยาม เฟส 2” กว่า 5 ไร่ อยู่ฝั่งตรงข้ามติดกับสถานี จะเปิดตัวในปี 2564 ประกอบด้วย โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ กรุงเทพฯ มีห้องพัก 244 ห้อง ห้องอาหารรูฟท็อปบาร์ ห้องประชุม สระว่ายนํ้า ฟิตเนส, โคเวิร์กกิ้งสเปซ, ร้านค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น


กระตุ้นท่องเที่ยวริมเจ้าพระยา

อีกหนึ่งไฮไลต์ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ไม่ไกลให้เช็กอิน ทั้งท่าดินแดง คลองสาน วงเวียนใหญ่ ล้ง 1919

ยังทำให้ประชาชนมาใช้บริการหน่วยงานราชการได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น โรงพยาบาลตากสิน โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ สำนักงานเขตคลองสาน สำนักการศึกษา

ในแต่ละวัน จะมีคนกว่า 4.000 คน ใช้บริการโรงพยาบาลตากสิน อีก 30,000 คน เดินทางไปโรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ และกว่า 25,000 คน ใช้บริการเรือข้ามฟากและเรือโดยสารจาก 20 ท่าเรือที่อยู่ใกล้สายสีทอง

มหาดไทยปักหมุดกระทรวงใหม่

และในอนาคตจะมีการพัฒนาใหม่ ๆ ในรัศมีใกล้เคียงเกิดขึ้นอีก เนื่องจากอีกไม่นาน “กระทรวงมหาดไทย” จะย้ายที่ตั้งกระทรวงแห่งใหม่มาอยู่ที่ถนนเจริญนคร สร้างเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ วงเงิน 5,574.50 ล้านบาท บนเนื้อที่ 18 ไร่เศษ รองรับข้าราชการ 6 กรม ที่ย้ายมากว่า 5,000 คน ยังไม่รวมประชาชนที่มาติดต่อราชการ

ตามแผนจะเริ่มสร้างภายในปี 2564 แล้วเสร็จในปี 2569 ขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นอาคารสำนักงานจำนวน 1 อาคาร 6 ทาวเวอร์ และชั้นใต้ดิน 3 ชั้น มีพื้นที่ก่อสร้าง 226,000 ตร.ม. เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นศูนย์ราชการแนวใหม่อยู่ใจกลางทำเลทอง

สอดรับกับนักวิชาการที่คาดการณ์ว่าการมาของรถไฟฟ้าสายสีทอง จะทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจของฝั่งธนบุรีอย่างก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้


บิ๊กตู่ชมบูมการพัฒนาฝั่งธนบุรี

แม้แต่ “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ในวันที่เดินทางไปกดปุ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา ยังกล่าวชมการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีทอง จะทำให้คนหลาย 10,000 คนที่อยู่ฝั่งธนบุรีได้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันฝั่งธนบุรีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ตนเคยอยู่ฝั่งธนบุรี และที่นั่งรถไฟฟ้ามาก็เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

ปัจจุบันก็พยายามพัฒนาเมืองออกไปรอบนอกเพื่อคนรุ่นใหม่ในอนาคต และจะขยายต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งในอนาคตรถไฟฟ้าสายสีทองมีแผนจะขยายไปอีก 1 สถานี ถึงสถานีประชาธิปก ทุกอย่างอยู่ในแผนหมด แต่ต้องดูการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ก่อน ทั้งสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีแดง

ทุ่ม 1.3 พัน ล.สร้าง 1 สถานี

ขณะที่ “พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า รอประเมินผลตอบรับของผู้โดยสารอีก 6 เดือน ซึ่งกลางปี 2564 น่าจะมีความชัดเจนเรื่องการลงทุนสร้างเพิ่ม 1 สถานี จะใช้เงินลงทุนอีก 1,300 กว่าล้านบาท ระยะทางกว่า 900 เมตร อาจจะเป็นการให้เอกชนร่วม PPP โดยสายสีทองเฟสแรก คาดว่าจะมีผู้โดยสารอยู่ที่ 42,000 เที่ยวคน/วัน ตอนนี้ กทม.เปิดให้ใช้ฟรีไปถึงวันที่ 15 ม.ค. 2564 จากนั้นเก็บ 15 บาทตลอดสาย

ดูแล้วน่าจะอีกไม่นานเกินรอ เพราะแค่เปิดใช้บริการไม่กี่วัน มีผู้โดยสารมาใช้บริการถึง 15,000 เที่ยวคน/วัน ยิ่งต่อไปถึงประชาธิปก น่าจะคึกคักมากขึ้น เพราะอยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว “สะพานด้วน” หรือสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ กทม.เพิ่งจะปลุกปั้นขึ้นมาเป็นแลนด์มาร์กใหม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2020 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

ทำความเข้าใจ “รถไฟฟ้าสายสีทอง” ระบบล้อยางแห่งแรกของไทย
วันที่ 25 ธันวาคม 2563 - 13:38:38 น.
สทค.เผยระบบรถไฟฟ้าสายสีทองสายแรกของไทย รุ่นล้อยาง APM ใช้เทคโนโลยีแบบเวิลด์คลาส ยันหลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้ ลั่นจ่อดึงรถไฟฟ้า APM ระบบรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งทางใต้ดิน บูมสนามบินสุวรรณภูมิ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2021 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ

จันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 เวลา 17:51 น.

“สายสีทอง”สร้างอีก1สถานีเอาใจคนฝั่งธนฯ ผู้ว่ากทม.ยันลากอีก900เมตรวงเงิน3,000 ล้าน

กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีทองระยะแรก1.74 กิโลเมตรไปแล้วจำนวน3สถานีนับตั้งแต่วันที่ 16ธันวาคม2563 ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนครและสถานีคลองสาน หรือหากผู้โดยสารจะใช้บริการไปตามเส้นทาง ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จะเริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนครฝั่งเหนือ ผ่านวัดสุวรรณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน และไปสิ้นสุดที่สถานีคลองสาน ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มในอนาคต

ขณะเดียวกันเพื่อให้ คนฝั่งธนฯได้ เข้าถึงระบบรางมากขึ้น และรองรับโครงการขนาดใหญ่ริมน้ำเจ้าพระยาไม่ว่าจะเป็นห้างไอคอนสยามเฟส2 คอนโดมิเนียม โรงแรมหรู ฯลฯ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหนครระบุว่ามีแผนขยายเส้นทางในระยะที่2 อีก1สถานีคือสถานีประชาธิปก(G4) 0.9 กิโลเมตร หรือ900 เมตร งบประมาณ3,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ไม่เกิน1ปีข้างหน้า โดยแนวสายทางตั้งอยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 ส่วนใหญ่เป็นย่านเก่าแก่มีร้านรวงร้านอาหารอร่อยๆสลับกับโครงการอยู่อาศัย ในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เตรียมเปิดประมูลภายในต้นปี2564นี้ “สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ
“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ


ทั้งนี้สายสีทองระยะ2หากก่อสร้างครบทั้งหมด จะวิ่งตรงต่อไปตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา วัดอนงคารามวรวิหาร และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สิ้นสุดบริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก บริเวณด้านหลังอนุสรณสถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน “สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ
“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ


เมื่อความเจริญเข้าถึง ผังเมืองกรุงเทพมหานคร ใหม่ ปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก)เพิ่มพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) ให้เป็นย่านพัฒนาเชิงพาณิชย์ย่อย หรือซับซีบีดีที่ขยายจากย่านสีลม สาทร ย่านซีบีดีหลัก ข้ามฝั่งมาพร้อมกับรถไฟฟ้าเส้นนี้ ตึกเก่าทรุดโทรมกลายเป็นคอนโดมิเนียม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า เกิดขึ้นคึกคักโดยเฉพาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถเชื่อมโยงการใช้ชีวิต ระหว่างคนฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร ได้อย่างไร้รอยต่อ มองว่านับจากนี้หากต้องการเดินทางจากแหล่งงานขนาดใหญ่ใจกลางเมืองใช้เวลา เพียง 20 นาที ข้ามฝั่งมายังที่พักอาศัย เขตคลองสานได้อย่างไรข้อจำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2021 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

หมดเวลาใช้ฟรี! รถไฟฟ้า “สีทอง” เก็บค่าโดยสาร 15 บาท ตั้งแต่ 16 ม.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:36 น.


ดีเดย์ 16 ม.ค.นี้ เก็บค่าโดยสาร "สายสีทอง" 15 บาท ตลอดสาย
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:52 น.

กรุงเทพธนาคม จ่อเก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีทอง” 15 บาทตลอดสาย เริ่ม 16 ม.ค.นี้ ลั่นโควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบผู้โดยสารใช้บริการลดฮวบกว่า 70%


เริ่ม 16 ม.ค.เก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีทอง” 15 บาทตลอดสาย “กรุงเทพธนาคม” เผยโควิด-19 รอบใหม่ ทำผู้โดยสารลดลงกว่า 70% เหลือ 3,000 คน/วัน ส่วนสีเขียว (คูคต) เหลือ 1.2 แสนคน/วัน และเรือคลองผดุงฯ กำชับเข้มงวดมาตรการทำความสะอาดและป้องกันทุกจุดต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 นายเกรียงพล พัฒนรัฐ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทฯได้เปิดให้บริการเดินรถ ระบบขนส่งมวลชนระบบรองสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี (G1) - สถานีคลองสาน (G3) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 โดยเปิดให้บริการฟรีตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 มกราคม 2564

โดยจะเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2564 นี้เป็นต้นไป ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย นอกจากการใช้บริการกดบัตรโดยสารที่บริเวณสถานีแล้ว ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเดือน และบัตรแรบบิท สามารถใช้บัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองได้เช่นกัน โดยหักเป็นรายเที่ยว หรือหักตามมูลค่าค่าโดยสารเที่ยวละ 15 บาท แล้วแต่ชนิดของบัตร

โดยจากสถิติการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ประมาณ 10,000 เที่ยวคนต่อวัน โดยสถานีที่มีประชาชนใช้บริการสูงสุดคือที่สถานีเจริญนคร (G2) แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกสองที่เริ่มมีผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งภาครัฐได้ออกมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดมากขึ้น โดยประกาศให้สถานศึกษาในพื้นที่หยุดเรียน เน้นการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) รวมทั้งการจำกัดจำนวนคนเข้าสถานที่ต่างๆ และเข้มงวดการเดินทางของประชาชน ทำให้ผู้โดยสารลดลงกว่า 70% โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารที่ประมาณ 3,000 เที่ยวคน/วัน ซึ่งเป็นแนวโน้มในทิศทางเดียวกันกับปริมาณผู้โดยสารในส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงห้าแยกลาดพร้าว (N9) - คูคต (N24) ที่บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการถึงสถานีปลายทางคูคต ไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 125,444 เที่ยวคนต่อวัน ซึ่งในช่วงแรกที่ให้บริการมีผู้โดยสารมากกว่า 150,000 เที่ยวคนต่อวัน แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารลดลง ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80,000 เที่ยวคนต่อวัน โดยในส่วนต่อขยายสายสีเขียวขณะนี้ทางฝ่ายนโยบายยังไม่มีกำหนดจัดเก็บค่าโดยสาร

อย่างไรก็ตาม ได้กำชับเจ้าหน้าที่ในการทำความสะอาดและขอความร่วมมือผู้เดินทางปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเคร่งครัดตลอดเวลาที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการป้องกันในทุกระบบขนส่งมวลชนที่บริษัทให้บริการ ทั้งโครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม โครงการรถบีอาร์ที โครงการรถบริการสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ให้กำหนดรอบการทำความสะอาดด้วยน้ำยาแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและหลังให้บริการในแต่ละวัน

สำหรับโครงการพัฒนาการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษมที่ได้เปิดให้บริการเรือไฟฟ้าจำนวน 7 ลำไปเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563 ได้รับความสนใจจากประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยที่ประมาณ 1,000 เที่ยวคน/วัน แต่หลังจากที่มีการระบาดของโควิด-19 ผู้โดยสารก็ลดลงกว่า 70% ด้วยเช่นกัน ซึ่งทางบริษัทฯ ได้มีมาตรการเข้มงวดเพื่อสร้างความมั่นใจและปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร โดยคัดกรองสุขภาพของเจ้าหน้าที่ พนักงานทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ การคัดกรองอุณหภูมิของผู้โดยสารประจำท่าเรือ และให้ผู้โดยสารกรอกประวัติข้อมูลทุกครั้งก่อนใช้บริการ และต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดการเดินทาง พร้อมทั้งจัดจุดบริการแอลกอฮอล์ ทุกท่าเรือ และบนเรือ ตลอดจนเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดจุดสัมผัสภายในเรือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

16 ม.ค. รถไฟฟ้าสีทองเก็บ 15 บาทตลอดสาย สีเขียวคูคต-ปากน้ำยังนั่งฟรี
อสังหาริมทรัพย์

เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:11 น.

หมดโปรฟรี ”รถไฟฟ้าสายสีทอง” เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย 16 ม.ค.นี้ เผยโควิดเหลือคนใช้แค่ 3,000 คน/วัน ส่วนสายสีเขียวต่อขยาย ”หมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ“ ยังนั่งฟรีไม่มีกำหนด

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 นายเกรียงพล พัฒนรัฐ กรรมการผู้อำนวยการ บจ.กรุงเทพธนาคม (เคที) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี – สถานีคลองสาน เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยเปิดให้บริการฟรีตามนโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 ม.ค. 2564 จะเริ่มเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2564 นี้เป็นต้นไป

ซึ่งนอกจากการใช้บริการกดบัตรโดยสารที่บริเวณสถานีแล้ว ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเดือนและบัตรแรบบิท สามารถใช้บัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองได้เช่นกัน โดยหักเป็นรายเที่ยว หรือหักตามมูลค่าค่าโดยสารเที่ยวละ 15 บาท แล้วแต่ชนิดของบัตร

โควิดทุบสายสีทองวูบเหลือ 3,000 คน/วัน
ดร.เกรียงพล กล่าวต่อว่า จากสถิติการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ประมาณ 10,000 เที่ยวคน/วัน โดยสถานีที่มีประชาชนใช้บริการสูงสุดคือที่สถานีเจริญนคร (G2) แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกสองที่เริ่มมีผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งภาครัฐได้ออกมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดมากขึ้น โดยประกาศให้สถานศึกษาในพื้นที่หยุดเรียน เน้นการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) รวมทั้งการจำกัดจำนวนคนเข้าสถานที่ต่าง ๆ และเข้มงวดการเดินทางของประชาชน ทำให้ผู้โดยสารลดลงกว่า 70% โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารที่ประมาณ 3,000 เที่ยวคน/วัน




สายสีเขียวต่อขยายยังไม่มีกำหนดเก็บค่าตั๋ว
ซึ่งเป็นแนวโน้มในทิศทางเดียวกันกับปริมาณผู้โดยสารในส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงห้าแยกลาดพร้าว (N9) – คูคต (N24 ) ที่บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการถึงสถานีปลายทางคูคต ไปเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 125,444 เที่ยวคนต่อวัน

ในช่วงแรกที่ให้บริการมีผู้โดยสารมากกว่า 150,000 เที่ยวคนต่อวัน แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารลดลง ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80,000 เที่ยวคนต่อวัน โดยในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ขณะนี้ทางฝ่ายนโยบายยังไม่มีกำหนดจัดเก็บค่าโดยสาร


อย่างไรก็ตามได้กำชับเจ้าหน้าที่ในการทำความสะอาด และขอความร่วมมือผู้เดินทางปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเคร่งครัด ตลอดเวลาที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการป้องกันในทุกระบบขนส่งมวลชนที่บริษัทให้บริการ ทั้งโครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม โครงการรถบีอาร์ที โครงการรถบริการสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ให้กำหนดรอบการทำความสะอาดด้วยน้ำยาแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและหลังให้บริการในแต่ละวัน

เรือไฟฟ้าไม่รอดยอดตก 70%
ดร.เกรียงพล ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการพัฒนาการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม ที่บริษัทเปิดให้บริการเรือไฟฟ้าจำนวน 7 ลำ ไปเมื่อ 27 พ.ย. 2563 ได้รับความสนใจจากประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยที่ประมาณ 1,000 เที่ยวคน/วัน แต่หลังจากที่มีการระบาดของโควิด-19 ผู้โดยสารก็ลดลงกว่า 70% ด้วยเช่นกัน

ซึ่งทางบริษัทได้มีมาตรการเข้มงวด เพื่อสร้างความมั่นใจ และปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร โดยคัดกรองสุขภาพของเจ้าหน้าที่ พนักงาน ทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ การคัดกรองอุณหภูมิของผู้โดยสารประจำท่าเรือ และให้ผู้โดยสารกรอกประวัติข้อมูลทุกครั้งก่อนใช้บริการ และต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดการเดินทาง พร้อมทั้งจัดจุดบริการแอลกอฮอล์ทุกท่าเรือ และบนเรือ ตลอดจนเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดจุดสัมผัสภายในเรือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 1:46 am    Post subject: Reply with quote

เริ่มวันนี้ เก็บค่าโดยสาร "สายสีทอง" 15 บาท ตลอดสาย
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 16 มกราคม 2564 06:00 น.

กรุงเทพธนาคม ลุยเก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีทอง” 15 บาทตลอดสาย เริ่มวันแรก (16 ม.ค.) เผยสถิติผู้โดยสารใช้บริการ 10,000 เที่ยวคนต่อวัน

ดร.เกรียงพล พัฒนรัฐ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทฯได้เปิดให้บริการเดินรถ ระบบขนส่งมวลชนระบบรองสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี(G1) – สถานีคลองสาน (G3) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 โดยเปิดให้บริการฟรีตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 มกราคม 2564 และจะเริ่มเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันนี้ (16 มกราคม 2564) เป็นต้นไป ซึ่งนอกจากการใช้บริการกดบัตรโดยสารที่บริเวณสถานีแล้ว ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเดือนและบัตรแรบบิท สามารถใช้บัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองได้เช่นกัน โดยหักเป็นรายเที่ยว หรือหักตามมูลค่าค่าโดยสารเที่ยวละ 15 บาท แล้วแต่ชนิดของบัตร



ดร.เกรียงพล กล่าวต่อว่า จากสถิติการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ประมาณ 10,000 เที่ยวคนต่อวัน โดยสถานีที่มีประชาชนใช้บริการสูงสุดคือที่สถานีเจริญนคร (G2) แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกสองที่เริ่มมีผู้ป่วยในกรุงเทพฯตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ธันวาคม 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเริ่มวันนี้ เก็บค่าโดยสาร "สายสีทอง" 15 บาท ตลอดสาย

ทั้งนี้ภาครัฐได้ออกมาตรการควบคุมโรค ที่เข้มงวดมากขึ้น โดยประกาศให้สถานศึกษาในพื้นที่หยุดเรียน เน้นการทำงานจากที่บ้าน ( Work from home) รวมทั้งการจำกัดจำนวนคนเข้าสถานที่ต่าง ๆ และเข้มงวดการเดินทางของประชาชน ทำให้ผู้โดยสารลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารที่ประมาณ 3,000 เที่ยวคน/วัน ซึ่งเป็นแนวโน้มในทิศทางเดียวกันกับปริมาณผู้โดยสารในส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงห้าแยกลาดพร้าว (N9) – คูคต (N24 ) ที่บริษัทฯได้เปิดให้บริการถึงสถานีปลายทางคูคต ไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 125,444 เที่ยวคนต่อวัน ซึ่งในช่วงแรกที่ให้บริการมีผู้โดยสารมากกว่า 150,000 เที่ยวคนต่อวัน แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารลดลง ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80,000 เที่ยวคนต่อวัน โดยในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ขณะนี้ทางฝ่ายนโยบายยังไม่มีกำหนดจัดเก็บค่าโดยสาร

‘รถไฟฟ้าสายสีทอง’ เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย เริ่มวันนี้
วันที่ 16 มกราคม 2564 - 06:00 น.

วันที่ 16 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี – สถานีคลองสาน (15 ธ.ค.63) โดยเปิดให้บริการฟรีตามนโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เป็นระยะเวลา 1 เดือน ได้ครบกำหนดในวานนี้ (15 ม.ค.) และจะเริ่มเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

นอกจากการใช้บริการกดบัตรโดยสารที่บริเวณสถานีแล้ว ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเดือนและบัตรแรบบิท สามารถใช้บัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองได้เช่นกัน โดยหักเป็นรายเที่ยว หรือหักตามมูลค่าค่าโดยสารเที่ยวละ 15 บาท แล้วแต่ชนิดของบัตร


สายสีทองวูบเหลือ 3,000 คน/วัน
ดร.เกรียงพล กล่าวต่อว่า จากสถิติการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ประมาณ 10,000 เที่ยวคน/วัน โดยสถานีที่มีประชาชนใช้บริการสูงสุดคือที่สถานีเจริญนคร (G2) แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกสองที่เริ่มมีผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน


ภาครัฐได้ออกมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดมากขึ้น โดยประกาศให้สถานศึกษาในพื้นที่หยุดเรียน เน้นการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) รวมทั้งการจำกัดจำนวนคนเข้าสถานที่ต่าง ๆ และเข้มงวดการเดินทางของประชาชน ทำให้ผู้โดยสารลดลงกว่า 70% โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารที่ประมาณ 3,000 เที่ยวคน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 10:37 pm    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ”ชี้อย่าเร่งแค่เปิดรถไฟฟ้าตามกำหนดแต่ต้องดูแลคนใช้ถนนด้วย
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 - 21:45 น.

“ชัชชาติ”ชี้อย่าเร่งแค่เปิดรถไฟฟ้าตามกำหนดแต่ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลคนใช้ถนนด้านล่างด้วย

รายงานข่าวระบุว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตร่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) โดยมีข้อความว่า


วันนี้ตอนเย็นผมไปร่วมงานศพที่วัดสุวรรณ ตรงถนนเจริญนคร เยื้องๆห้างไอคอนสยาม เลยนั่งรถไฟฟ้า BTS ไปลงสถานีกรุงธนบุรีและต่อรถไฟฟ้าสายสีทองไปลงสถานีเจริญนคร และเดินสัก 500 เมตรไปวัดสุวรรณผมไปวัดสุวรรณมาครั้งหนึ่งช่วงต้นปีที่แล้ว ตอนนั้นกำลังเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองกัน สภาพถนนเลยดูแย่ มาวันนี้เมื่อรถไฟฟ้าเปิดวิ่งเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.ปีที่แล้ว ปรากฎว่าทั้งถนน ทางเท้า ใต้รถไฟฟ้า ก็ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ คนที่ต้องสัญจรไปมาบนถนน ผู้อยู่อาศัยและร้านค้าแถวนั้นคงลำบากกันน่าดู


โครงการนี้ ครม.เห็นชอบให้ กทม.เป็นผู้ดูแล และ กทม.มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของ กทม.เป็นผู้บริหารและพัฒนาโครงการเท่าที่ถามน้องพนักงาน BTS แจ้งว่าปัจจุบันมีคนนั่งรถไฟฟ้าสายสีทองวันละ 3,000-4,000 คน/เที่ยว หรือประมาณ 2,000 คนต่อวันในแต่ละทิศทาง ในขณะที่คนที่ใช้รถใช้ถนนเจริญนครด้านล่าง ผมเชื่อว่ามีเป็นหมื่นๆคนต่อวัน ดังนั้น กทม.ต้องให้ความสำคัญและดูแลคนใช้ถนนด้านล่างด้วย ไม่ใช่แค่เร่งเปิดบริการรถไฟฟ้าได้ตามกำหนด ส่วนถนน ทางเท้า ด้านล่าง ยังอยู่ในสภาพที่เลอะเทอะจนถึงปัจจุบันข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ผู้ว่า กทม.ยัน ถนนเจริญนครเละ ไม่เกี่ยวก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 - 18:58 น.

ผู้ว่า กทม.เผยถนนเจริญนครเละเพราะ กปน.ขยายท่อประปา ยืนยันไม่เกี่ยวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง ชี้เคลื่อนย้ายสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องเสร็จก่อนเปิดใช้รถไฟฟ้าขณะที่ เคที แจ้ง งานก่อสร้างที่รบกวนผิวจราจร เสร็จไปนานแล้ว ขณะนี้เร่งประสานงานหน่วยงานกฟน.และ กปน. ที่มีการก่อสร้างสาธารณูปโภคดำเนินการแก้ไขแล้ว

จากประเด็นที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โพสต์เฟซบุ๊ค "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2564 ถึงความล่าช้าการเคลียร์พื้นที่จราจรบนถนนเจริญนครที่จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชี้แจงว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสายสีทอง การรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่เกี่ยวกับสายสีทองทำเสร็จไปตั้งแต่ปี 2563 แต่สาเหตุที่ถนนเละ เพราะการประปานครหลวง (กปน.) เริ่มขุด เพื่อทำงานขยายท่อ ซึ่งจริงๆ ควรดำเนินการตั้งแต่ปีที่แล้ว
ADVERTISEMENT

นอกจากนี้ งานก่อสร้างของ กปน. มีความล่าช้ามาก เกินกำหนดเสร็จมา 2-3 เดือนและไม่มีการปรับหน้างาน เพื่อลดความเดือดร้อนของผู้ใช้ถนน



ขณะเดียวกัน ดร.เกรียงพล พัฒนรัฐ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ได้ชี้แจงในกรณีเดียวกันว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จและเปิดให้บริการไปแล้วตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2563 ส่วนการก่อสร้างที่มีการรบกวนผิวถนนและทางเท้าได้ทยอยเสร็จสิ้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน - พฤศจิกายน 2563 แล้ว แต่เนื่องจากในแนวถนนดังกล่าวปัจจุบันมีการก่อสร้างของระบบสาธารณูปโภคอื่น คือ โครงการก่อสร้างท่อร้อยสายใต้ดิน ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โครงการวางท่อ 1,000 มม. และงานย้ายท่อที่กีดขวางงาน Duct bank และซ่อมแซมท่อประปาขนาด 500 มม.ของการประปานครหลวง (กปน.) จึงทำให้ในเส้นทางดังกล่าวยังมีการขุดก่อสร้างใช้ผิวการจราจรอยู่ บริษัทฯได้มีการประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและสำนักงานเขตพื้นที่ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้เส้นทาง ในส่วนของถนนอื่น ๆ ที่ไม่มีงานก่อสร้างท่อประปาและท่อร้อยสายใต้ดิน ได้แก่ ถนนกรุงธนบุรีและถนนสมเด็จเจ้าพระยา บริษัทฯได้คืนผิวถนนได้หมดเรียบร้อยแล้วจากการประสานงานทางหน่วยงานเจ้าของโครงการแจ้งว่า จะเร่งดำเนินการให้เสร็จตามแผนและจะเริ่มทยอยคืนผิวการจราจรได้ ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ใช้เส้นทางในถนนดังกล่าวทราบโดยทั่วกัน
โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน) โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กรุงเทพมหานครดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เริ่มก่อสร้างในปี 2561 ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองจะทำให้ประชาชนย่านฝั่งธนบุรี มีทางเลือกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณสถานีคลองสาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลตากสิน สำนักการศึกษา สำนักงานเขตคลองสาน และสน.ปากคลองสาน จะช่วยให้การเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชนสะดวกมากขึ้น


กทม.เร่ง “กฟน.-กปน.” คืนผิวจราจร ถนนด้านล่าง “รถไฟฟ้าสายสีทอง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 - 13:25 น.

“เคที” เร่งประสาน กฟน. -กปน. คืนผิวการจราจรถนนเจริญนคร โดยเร็ว เหตุขุดก่อสร้างสาธารณูปโภคยังไม่เรียบร้อย ขณะที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองเนื้องานบนถนนเสร็จสิ้นไปแล้ว

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.เกรียงพล พัฒนรัฐ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เปิดเผยว่า จากที่มีการร้องเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ถึงปัญหาสภาพทางเท้าและสภาพถนนเจริญนคร ซึ่งเป็นเส้นทางใต้แนวโครงการขนส่งมวลชนระบบรอง สายสีทองกรุงธนบุรี-คลองสาน มีสภาพพังเป็นหลุมเป็นบ่อ ทั้งที่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จและเปิดให้บริการไปแล้วตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2563 แต่สภาพถนนในแนวเส้นทางยังไม่เรียบร้อย ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เดินทางและผู้อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว

บริษัทฯ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองขอเรียนว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองที่มีการรบกวนผิวถนนและทางเท้าได้ทยอยเสร็จสิ้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน – พฤศจิกายน 2563 เรียบร้อยแล้ว

แต่เนื่องจากในแนวถนนดังกล่าวปัจจุบันมีการก่อสร้างของระบบสาธารณูปโภคอื่น คือ โครงการก่อสร้างท่อร้อยสายใต้ดิน ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และโครงการวางท่อประปาขนาด 500 มม. ของการประปานครหลวง (กปน.) จึงทำให้ในเส้นทางดังกล่าวยังมีการขุดก่อสร้างใช้ผิวการจราจรอยู่




โดยบริษัทฯ มีการประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและสำนักงานเขตพื้นที่ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้เส้นทาง ในส่วนของถนนอื่น ๆ ที่ไม่มีงานก่อสร้างท่อประปาและท่อร้อยสายใต้ดิน ได้แก่ถนนกรุงธนบุรีและถนนสมเด็จเจ้าพระยา บริษัทฯ ได้คืนผิวถนนได้หมดเรียบร้อยแล้ว


ดร.เกรียงพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จากการประสานงานทางหน่วยงานเจ้าของโครงการแจ้งว่า จะเร่งดำเนินการให้เสร็จตามแผนและจะเริ่มทยอยคืนผิวการจราจรได้ ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ใช้เส้นทางในถนนดังกล่าวทราบโดยทั่วกัน

อย่างไรก็ตามบริษัทฯมิได้นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนของประชาชน ได้มีการติดตามประสานการทำงานกับผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการแจ้งข้อมูลหรือเสนอแนะต่อหน่วยงานเจ้าของโครงการโดยตรง สามารถแจ้งได้ที่ Call Center การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130 และการประปานครหลวง โทร.1125 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 10:59 pm    Post subject: Reply with quote

รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”
หน้าอสังหาริมทรัพย์ /
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 - 11:57 น.

ประเทศไทยมีรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM 2เส้นทาง “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ” ทั้งนี้ คนไทยได้เริ่มสัมผัสบ้างแล้ว เมื่อ เปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่วันที่ 16ตุลาคม 2563 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง ของกรุงเทพมหานคร โดย มีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือBTSCเป็นผู้เดินรถ รองรับการเดินทางให้กับคนฝั่งธนบุรี3สถานีที่สถานีกรุงธนบุรี (GN1) สถานีเจริญนคร (GN2) และสถานีคลองสาน (GN3) ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร มีเสียงตอบรับที่ดีสำหรับผู้ใช้บริการ


สำหรับเทคโนโลยีของ รถไฟฟ้าสายสีทอง โครงสร้างลอยฟ้า มีไฮไลท์ ระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ Automated Guideway Transit (AGT) หรือ เป็นระบบรางที่เป็นโมโนเรล หรือรางเดี่ยว ขบวนแรกของประเทศไทย ใช้ระบบควบคุมการขับเคลื่อนรถด้วยระบบอัตโนมัติ หรือแบบไร้คนขับ เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 โดยมีลักษณะพิเศษคือเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพในการขนส่งผู้โดยสารล้ำนำเทรนด์เทคโนโลยี สำหรับฟีดเดอร์ หรือระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ป้อนผู้โดยสารส่งต่อให้กับระบบขนส่งมวลชนหลัก เนื่องจากมีโครงสร้างขนาดเล็ก ทำให้กินพื้นที่น้อย ช่วยนำทางเลี้ยววงแคบและไต่ทางลาดชันได้ดี สำหรับรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 ผลิตที่เมืองอู่หู มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถรองรับผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ และ1 ขบวนรองรับผู้โดยสาร 276 คน/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 4,200 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตรใช้เวลา วิ่งถึงสถานีไม่เกิน 2 นาทีความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”


นอกจาก รถไฟฟ้า ไร้คนขับสายสีทอง สายแรกแล้ว ล่าสุดกำลังมีรถไฟฟ้าไร้คนขับเป็นเส้นทางที่สองของประเทศไทย ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ใช้รถไฟฟ้า APM ไร้คนขับโครงสร้างใต้ดิน วิ่งเชื่อม อาคารผู้โดยสาร SAT 1 สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าขนาดเล็ก สัญชาติ ยุโรป ปัจจุบันบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ผู้ผลิตตัวรถ ได้ส่งรถไฟฟ้าไร้คนขับ รุ่น Airval มาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ล่าสุด ถึงประเทศไทยแล้ว จำนวน 4 ขบวน 8 ตู้ ซึ่งทั้งหมดนี้จอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) บริเวณชั้นใต้ดินของ SAT 1คาดว่าอีก 2 ขบวน 4 ตู้ที่เหลือจะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือนพฤษภาคม2564 เป้าหมาย มีขบวนรถครบทั้งหมด 6 ขบวน 12 ตู้ อย่างไรก็ตามรถไฟฟ้าไร้คนขับ จะนำมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารฟรีภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างอาคารผู้โดยหลังปัจจุบัน และ SAT 1 ใช้ความเร็วการทำงานสูงสุดที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 6,000 คนต่อชั่วโมงนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท. ระบุว่า การติดตั้งระบบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ รุ่น Airval ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.) ว่า อยู่ระหว่างการทดสอบวิ่งบนราง เพื่อตรวจสอบสมรรถนะ 4 ขบวน โดยเดินรถใต้ดินไป-กลับ ระหว่างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซทเทิลไลท์ 1 (SAT 1) และอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน มีระยะทางต่อเที่ยวประมาณ 1 กิโลเมตรรู้จัก! รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM “สายสีทอง VS สุวรรณภูมิ”



เบื้องต้นการทดสอบดังกล่าวเป็นไปด้วยความราบรื่น ผ่านตามมาตรฐาน ยังไม่พบปัญหาใดๆ โดยจะดำเนินการทดสอบไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม2564 จากนั้นจะทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ถึงเดือนกรกฎาคม หากไม่พบอุปสรรค จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงในเดือน สิงหาคมเป็นต้นไปจนกว่า SAT 1 จะเปิดให้บริการในเดือน เมษายน 2565 อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทดสอบเดินรถเสมือนจริงมีผู้โดยสารทดลองนั่งภายในขบวนรถด้วย แต่เนื่องจาก SAT 1 ยังไม่ได้เปิดให้บริการ จึงเป็นการทดสอบภายในไปก่อน ไม่ได้เปิดให้ประชาชนภายนอกได้ทดลองใช้บริการ
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารถไฟฟ้าไร้คนขับรุ่นไหน สัญชาติ ใด สิ่งที่ปรากฎต่อสายตาชาวโลกคือประเทศไทย ก้าวล้ำ ไปอีกขั้นด้านเทคโนโลยีที่ประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการเป็นผู้สัมผัส
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 30, 31, 32  Next
Page 24 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©