Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180069
ทั้งหมด:13491301
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 115, 116, 117 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2021 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

ส่อง รถไฟฟ้ายุคโควิด-19 “คนหาย-รายได้หด” เท่าไหร่
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
13 Jan 2021 09:16 น.

ส่อง รถไฟฟ้ายุคโควิด-19 “คนหาย-รายได้หด” เท่าไหร่
ดร.สามารถ เผยพิษโควิด-19 กระทบรถไฟฟ้าสายสีเขียว-สายสีน้ำเงิน ทำคนหายหลายแสน กระทบรายได้หดเพียบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจทุกประเภทได้รับความเดือดร้อนไปตามๆ กัน หนักบ้าง เบาบ้าง รวมทั้งธุรกิจเดินรถไฟฟ้าที่มีจำนวนผู้โดยสารลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีการ Work From Home และมีการเรียนทางออนไลน์จำนวนไม่น้อย
ผมได้เปรียบเทียบจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของรถไฟฟ้าในกรณีที่ไม่มีและมีโควิด-19 ได้ผลดังนี้ ปี 2562 (ไม่มีโควิด-19) ใช้ข้อมูลเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 รถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 870,000 คน และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 26.7 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินซึ่งมีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 440,000 คน และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 11.8 ล้านบาท




ปี 2563 (มีโควิด-19 รอบแรก) รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 537,000 คน ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 333,000 คน คิดเป็น 38.3% และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 16.1 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 10.6 ล้านบาท คิดเป็น 39.7% รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 284,000 คน ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 156,000 คน คิดเป็น 35.5% และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 7.8 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 4 ล้านบาท คิดเป็น 33.9% ปี 2564 (มีโควิดรอบ 2) ใช้ข้อมูลเดือนมกราคม 2564 รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 355,000 คน ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 515,000 คน คิดเป็น 59.2% และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 10.2 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 16.5 ล้านบาท คิดเป็น 61.8% รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 167,000 คน ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 273,000 คน คิดเป็น 62% และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 4.6 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 7.2 ล้านบาท คิดเป็น 61%
ดร.สามารถ กล่าวอีกว่า เมื่อดูข้อมูลรายเดือนพบว่าในเดือนเมษายน 2563 ผู้โดยสารและรายได้ลดลงมากที่สุด กล่าวคือรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 177,000 คน ลดลงจากปี 2562 ประมาณวันละ 693,000 คน คิดเป็น 79.7% และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 6.9 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 19.8 ล้านบาท คิดเป็น 74.2% ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 97,000 คน ลดลงจากปี 2562 ประมาณวันละ 343,000 คน คิดเป็น 78% และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 2.7 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 วันละประมาณ 9.1 ล้านบาท คิดเป็น 77.1% หลังจากเดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมาพบว่ามีผู้โดยสารและรายได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ยังไม่เท่ากับในปี 2562 พอมาเจอโควิด-19 รอบ 2 ในกลางเดือนธันวาคม 2563 ทำให้ผู้โดยสารและรายได้ในเดือนมกราคม 2564 ลดลงมาดังกล่าวแล้วข้างต้น พิษโควิด-19 สร้างความเดือดร้อนให้กับธุรกิจทุกประเภท และประชาชนทุกหย่อมหญ้าจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2021 11:32 am    Post subject: Reply with quote

คนกรุงระทึกค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว 158 บาท
15 มกราคม 2564

กทม.เล็งเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว 16 ก.พ.นี้ เผยเพดานราคาสูงสุด 158 บาท หลังดีล 65 บาทตลอดสายไร้ไม่ได้ข้อสรุป ชี้โควิด-19 พ่นพิษ ผู้โดยสารลดต่อเนื่อง ”บีทีเอส” แจงหนี้เดินรถพุ่งกว่า 9 พันล้าน
การเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต–สะพานใหม่-คูคต จะเปิดให้บริการฟรีถึงวันนี้ (15 ม.ค.) ในขณะที่การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยังไม่ได้ข้อสรุป

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกรุงเทพธุรกิจว่า การเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่กรุงเทพมหานครเปิดให้บริการฟรีมาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 ได้มีการพิจารณาแนวทางดำเนินการหลังจากนี้ โดยในวันที่ 16 ม.ค.นี้ กรุงเทพมหานครจะมีการประกาศอัตราค่าโดยสารของส่วนต่อขยาย รวมค่าโดยสารสายหลักทั้งสายสุขุมวิทและสีลม

โดยขณะนี้ กรุงเทพมหานครยังอยู่ระหว่างศึกษาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม โดยเบื้องต้นประเมินว่าจะมีเพดานราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณมาจากอัตราค่าโดยสารสายสีเขียวหลักที่เก็บสูงสุด 44 บาท และมีการจัดเก็บเพิ่มเติมในเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยอัตราค่าโดยสารที่กรุงเทพมหานครจะประกาศครั้งนี้ ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราราคาเพิ่มเติมในช่วงส่วนต่อขยายสายใหม่ ทั้งสายเหนือหมอชิต-สะพานใหม่–คูคต และสายใต้ ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ



“เนื่องจากว่ากำหนดฟรีค่าโดยสารจะสิ้นสุดวันที่ 15 ม.ค.นี้ แต่เนื่องด้วยกฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการเดินรถจะต้องประกาศค่าโดยสารให้ผู้โดยสารทราบและเตรียมตัวก่อน 30 วัน ดังนั้นการที่ กทม.จะประกาศราคาในวันที่ 16 ม.ค.นี้ ก็จะเริ่มมีผลต่อผู้โดยสาร เริ่มจ่ายค่าโดยสารในวันที่ 16 ก.พ.2564” พล.ต.อ.อัศวิน กล่าว


อย่างไรก็ดี กรุงเทพมหานครยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราที่สูง เพดานราคา 158 บาท เนื่องจากปัจจุบันการเจรจาจัดทำราคา 65 บาทตลอดสาย ยังไม่ได้ข้อสรุป อีกทั้งกรุงเทพมหานครก็มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับเอกชนผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายดังกล่าว ซึ่งเป็นภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันว่าเพดานราคา 158 บาท แม้จะเป็นราคาที่สูง แต่เมื่อคำนวณต้นทุนทั้งหมดแล้วแล้วพบว่ากรุงเทพมหานครยังขาดทุน

ทั้งนี้ จากสถิติการให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงห้าแยกลาดพร้าว–คูคต จากการเปิดให้บริการตั้งแต่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 125,444 เที่ยวคนต่อวัน ซึ่งในช่วงแรกที่ให้บริการมีผู้โดยสารมากกว่า 150,000 เที่ยวคนต่อวัน แต่จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารลดลง ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80,000 เที่ยวคนต่อวัน


นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เผยว่า ขณะนี้บีทีเอสยังไม่ได้รับแจ้งจากทางกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการถึงรายละเอียดการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสาย แต่ตามกฎหมายกำหนดว่าเมื่อมีการประกาศค่าโดยสารแล้ว ซึ่งจะต้องใช้เวลา 30 วันจึงจะมีการจัดเก็บค่าโดยสารได้ ก็คาดว่าจะได้รับแจ้งข้อมูลจากทางกรุงเทพมหานครและประกาศให้ประชาชนรับทราบภายใน 16 ม.ค.นี้

“เมื่อมีการประกาศก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะจัดเก็บค่าโดยสารได้ ดังนั้นต้นทุนการเดินทางก็จะยังเพิ่มขึ้นอยู่ ซึ่งปัจจุบันคค่าจ้างเดินรถที่บีทีเอสต้องจัดเก็บจากทางกรุงเทพมหานครมีอยู่กว่า 9 พันล้านบาทแล้ว โดยบีทีเอสต้องแจ้งอัพเดตตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นต้นทุนที่เราก็ต้องแบกรับ”นายสุรพงษ์ กล่าว

ส่วนการปรับเปลี่ยนค่าโดยสารจะต้องใช้เวลาในการปรับระบบตั๋ว 3-4 วัน รวมทั้งที่ผ่านมาเมื่อเปลี่ยนค่าโดยสารบีทีเอสจะใช้เวลาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า 30 วัน ตามข้อกำหนดของสัมปทาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2021 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คนกรุงระทึกค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว 158 บาท
15 มกราคม 2564




งานเข้าคนกรุง กทม.เตรียมเก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” 158 บาท
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
15 มกราคม 2564 เวลา 13:03 น.

กทม.ฉุน เตรียมเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 158 บาท หลังเจรจาปิดดีลค่าโดยสาร 65 บาท ไม่เคลียร์ เล็งประกาศค่าโดยสาร 16 ม.ค.นี้ วอนผู้โดยสารเตรียมตัวภายใน 1 เดือน ด้านบีทีเอสลั่นหนี้พุ่งถึง 9 พันล้าน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำหรับการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เปิดให้บริการฟรีในช่วงที่ผ่านมานั้น โดยปัจจุบัน กทม.อยู่ระหว่างพิจารณาศึกษาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เบื้องต้นประเมินว่าจะมีเพดานราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท โดยในวันที่ 16 ม.ค.นี้ กทม.จะมีการประกาศอัตราค่าโดยสารของส่วนต่อขยาย รวมทั้งค่าโดยสารสายหลักทั้งสายสุขุมวิทและสีลม โดยจะเปิดให้บริการนั่งฟรีถึงวันที่ 15 ก.พ.2564 จากเดิมกำหนดฟรีค่าโดยสารสิ้นสุดวันที่ 15 ม.ค.นี้ แต่ด้านกฎหมายกำหนดให้ผู้ให้บริการเดินรถต้องประกาศค่าโดยสารให้ผู้โดยสารทราบและเตรียมตัวก่อน 30 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มจ่ายค่าโดยสารในวันที่ 16 ก.พ.2564


“เรายอมรับว่ามีความจำเป็นต้องจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราที่สูง เพดานราคา 158 บาท เพราะปัจจุบันการเจรจากำหนดอัตราค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสาย ยังไม่ได้ข้อสรุป ขณะเดียวกัน กทม.มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับเอกชนผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายดังกล่าว ซึ่งเป็นภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันว่าเพดานราคา 158 บาท แม้จะเป็นราคาที่สูง แต่เมื่อคำนวณต้นทุนทั้งหมดแล้วแล้วพบว่ากทม.ยังขาดทุน”



สำหรับการศึกษาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ที่ประเมินว่าจะมีเพดานราคาสูงสุดอยู่ที่ 158 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณมาจากอัตราค่าโดยสารสายสีเขียวหลักที่เก็บสูงสุด 44 บาท และมีการจัดเก็บเพิ่มเติมในเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยอัตราค่าโดยสารที่กรุงเทพมหานครจะประกาศครั้งนี้ ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราราคาเพิ่มเติมในช่วงส่วนต่อขยายสายใหม่ ทั้งสายเหนือหมอชิต-สะพานใหม่–คูคต และสายใต้ ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เผยว่า ปัจจุบันบีทีเอสยังไม่ได้รับแจ้งจากทางกทม.อย่างเป็นทางการถึงรายละเอียดการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสาย คาดว่าจะได้รับแจ้งข้อมูลจากทางกรุงเทพมหานครและประกาศให้ประชาชนรับทราบภายใน 16 ม.ค.นี้ “หากมีการประกาศก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงสามารถจัดเก็บค่าโดยสารได้ ดังนั้นต้นทุนการเดินทางก็จะยังเพิ่มขึ้นอยู่ ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างเดินรถที่บีทีเอสต้องจัดเก็บจากทางกทม.มีอยู่กว่า 9 พันล้านบาทแล้ว โดยบีทีเอสต้องแจ้งอัพเดตตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นต้นทุนที่เราก็ต้องแบกรับ”

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2530352
https://www.facebook.com/thumbsupth/posts/4145205978836678


Last edited by Wisarut on 17/01/2021 12:24 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2021 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะแล้ว! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท เริ่มเก็บ 16 ก.พ.
ศุกร์ที่ 15 มกราคม 2564 เวลา 17:32 น.

สำหรับอัตราค่าโดยสาร 104 บาทตลาดสาย จาก 158 บาทเป็นอัตราชั่วคราวที่จะจัดเก็บ ตั้งแต่วันที่ 16ก.พ. 64 เป็นต้นไปเนื่องจาก พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มองว่าอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิดเกรงประชาชนผู้ใช้บริการจะได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม สำหรับอัตรานี้(104บาท) กทม.ยังขาดทุนปีละ3,000 ล้านบาท และหากเก็บ65บาทกทม.จะขาดทุน5,000ล้านบาทต่อปี

นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ได้ทวงถาม ค่าเดินรถ ที่ติดค้างบีทีเอสซี2ปีรวมเกือบ10,000ล้านบาท โดยขอแบ่งจ่ายบางส่วนก่อน5,000ล้านบาท ซึ่งกทม.รับปากจะชำระคืน ซึ่งเข้าใจว่ากทม.ต้องเสนอกระทรวงมหาดไทยรับทราบตามขั้นตอน อาจมีความล่าช้าบ้างซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของทางหน่วยงานราชการ แต่หาก คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติ ขยายสัมปทาน ค่าโดยสารสายสีเขียว กทม.สามารถจัดเก็บค่าโดยสาร 65บาทตลอดสาย และไม่ต้องแบกภาระหนี้อีก กว่า1แสนบาทบาท คาดว่าในเดือนหน้าจะมีความชัดเจนขึ้น


กทม.ยันเก็บค่าตั๋ว 65 บาท ‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ 16 ม.ค.
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ ศุกร์ที่ 15 มกราคม 2564 เวลา 07:40 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,644 วันที่ 14 - 16 มกราคม พ.ศ. 2564

กทม.ยืนยันจัดเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวไม่เกิน 65 บาท ตลอดสาย หลังครบกำหนดบริการฟรี 15 ม.ค. ลุ้นมหาดไทยชงครม.เคาะเดินหน้าเก็บค่าตั๋ว-เคลียร์ปมสัญญาสัมปทานฯ วอนรัฐหนุนงบจ่ายหนี้แทน ปีละ 5,000 ล้าน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 12 ม.ค.2564 กระทรวงมหาดไทยได้เสนอเรื่องอัตราค่าโดยสาร ตลอดจนปมขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ โดยเฉพาะการจัดเก็บค่าโดยสารที่จะครบกำหนดภายในวันที่ 16 ม.ค.2564 เบื้องต้น กทม. ต้องการให้จัดเก็บไม่เกิน 65 บาท เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน

“ทั้งนี้ต้องรอฟังความคิดเห็นจากครม.ก่อนว่าเป็นอย่างไร ถ้าครม.ให้ดำเนินการเราก็ต้องมาคุยเรื่องการกำหนดอัตราค่าอัตราค่า โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่าจะเก็บเท่าไร รวมถึงรัฐบาลต้องใช้หนี้ให้เราเท่าไร ยืนยันว่าหากครบกำหนดที่ต้องจัดเก็บอัตราค่าโดยสารในวันที่ 16 มกราคมนี้ เราจะจัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานี เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน เชื่อว่าเราเก็บอัตราค่าโดยสารถูกกว่ารถไฟฟ้าสายสีอื่น”



พล.ต.อ.อัศวิน อธิบายว่า หากยังไม่ได้ข้อสรุปถึงการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวทางกทม.จะต้องหารือกับกระทรวงมหาดไทยว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งบีทีเอสซีผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต ได้ทำหนังสือทวงถามค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ซึ่งเริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เป็นเงินกว่า 8,000 ล้านบาท โดยกทม.ต้องรายงานหนี้ต่อรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้ทราบด้วยเช่นกัน ขณะที่ค่าโดยสารส่วนต่างราว 93 บาท ซึ่งมาจากผลการศึกษา ที่กำหนดให้เก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 158 บาท นั้น กทม.ต้องการให้รัฐบาลรับผิดชอบและสนับสนุนงบประมาณในเรื่องนี้ด้วย เนื่องจาก กทม.ไม่มีงบประมาณพอที่จะจ่ายค่าจ้างเดินรถให้กับเอกชน เพราะรัฐบาลมอบให้กทม.รับผิดชอบเดินรถ อีกทั้งการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ได้เก็บค่าโดยสาร “สาเหตุช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กทม.ไม่จัดเก็บค่าโดยสารสายสีเขียว เพราะอยู่ในช่วงทดลองเปิดให้บริการแต่ละสถานี ขณะเดียวกันกทม.ก็ยังไม่ทราบว่าที่ผ่านมาควรจัดเก็บอัตราค่าโดยสารอย่างไร เนื่องจากบางสถานีอยู่ระหว่างการก่อสร้าง” ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว ทั้ง 4 เรื่อง คือ 1.ความครบถ้วนตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน 2.ค่าโดยสารที่เหมาะสมเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ 3.การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 4. ข้อพิพาททางกฎหมายและการร้องเรียน นั้น “กทม.ยืนยันว่า ได้ตอบทุกข้อสงสัยของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปทั้งหมดแล้ว และไม่มีหน้าที่ตอบคำถามของกระทรวงคมนาคม เรามองว่าเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะมากวาดบ้านคนอื่น ถ้าเขายังกวาดบ้านของเขาไม่เสร็จ”
สำหรับสาเหตุการต่ออายุสัมปทานฯ นั้น มาจากกทม. รับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทร ปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตจากรฟม. ทำให้กทม.เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดเส้นทาง ส่งผลให้ กทม.ต้องแบกรับภาระหนี้กว่าแสนล้านบาท จากการโอนโครงการรวมถึงค่าบริหารจัดการเดินรถด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันกทม.มีการเจรจากับบีทีเอสโดยการต่ออายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี เพื่อแลกกับบีทีเอสรับภาระหนี้มูลค่าแสนล้านบาทแทนกทม. และเงื่อนไขการเก็บอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท ตลอดสาย จนหมดอายุสัญญาจ้างเดินรถถึงปี 2585 แหล่งข่าวจากกทม.กล่าวเพิ่มเติมว่า กทม.ยืนยันจัดเก็บได้ในอัตรา15-65 บาท ตลอดสายจากราคาเต็ม 158 บาท สำหรับส่วนต่างที่เหลือได้เสนอรัฐบาลรับภาระปีละ 5,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 12:17 am    Post subject: Reply with quote

กทม. เคาะค่าตั๋วสายสีเขียว15-104 บาท เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวเริ่ม 16 ก.พ. 64
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 15 มกราคม 2564 - 18:41 น.


กทม.เคาะโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเริ่มต้น 15 บาทสูงสุดไม่เกิน 104 บาทเริ่มเก็บ 16 ก.พ. 2564 คาดขอรัฐชดเชยส่วนต่างค่าตั๋วปีละ 3,800 ล้าน

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ภายในวันที่ 15 ม.ค.2564 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะลงนามในประกาศเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามโครงสร้างราคาใหม่ หลังจากกทม.ให้ประชาชนใช้บริการฟรีส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สทุทรปราการ จะสิ้นสุดวันที่ 15 ม.ค.นี้ ซึ่งกทม.จะต้องติดประกาศราคาใหม่ล่วงหน้า 30 วัน จะเริ่มเก็บราคาใหม่ในวันที่ 16 ก.พ.2564 ในระหว่าง 1 เดือนนี้จะให้ประชาชนใช้ฟรีไปก่อน

โดยอัตราค่าโดยสารใหม่ จะเก็บค่าแรกเข้าระบบครั้งเดียว เริ่มต้น 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 104 บาท ซึ่งกทม.ปรับลดจากอัตราเดิมที่จะเก็บสูงสุด 158 บาท เนื่องจากปัจจุบันเกิดการระบาดของโควิด-19 จึงลดราคาให้โดยเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว หากเก็บ 158 บาท จะต้องเสียค่าแรกเข้าหลายครั้ง


“โครงสร้างราคาใหม่กทม.ไม่ได้แตะในส่วนของสัมปทานที่เก็บ 16-44 บาท แต่จะรับภาระค่าโดยสารในส่วนต่อขยายแทน คงต้องของบประมาณอุดหนุนจากรัฐปีละ 3,800 ล้านบาท ส่วนจะใช้ราคาใหม่นี้ไปถึงเมื่อไหร่ยังตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่คณะรัฐมนตรีจะมีการพิจารณาอนุมัติสัญญาสัมปทานสายสีเขียวเมื่อไหร่ ถึงจะเริ่มเก็บในราคาตามสัญญา 15-65 บาทได้ “


สำหรับค่าโดยสารแบ่งเป็นช่วงสัมปทานของบีทีเอส (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) ค่าโดยสาร 16-45 บาท

ส่วนต่อขยายหมอดชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท
ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท
และส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า 15-33 บาท

เคาะแล้ว! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท เริ่มเก็บ 16 ก.พ.
หน้า อสังหาริมทรัพย์ /
วันที่ 15 มกราคม 2564 - 17:32 น.


กทม.-บีทีเอส เคาะ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย104บาท เตรียมออกประกาศ1-2วันนี้เพื่อจัดเก็บจริง 16ก.พ.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า วันนี้(15ม.ค.) กรุงเทพมหานคร เชิญบีทีเอสซี ร่วมประชุมหาทางออก อัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเคาะราคาร่วมกันที่ 104บาท ตลอดสายไม่มีค่าแรกเข้าแบ่งออกเป็น
ADVERTISEMENT

1. ส่วนตรงกลางสัมปทาน ราคา 16-44บาท คงเดิม 2. ส่วน หมอชิต-คูคต ราคา15บาท +3บาทต่อสถานี (18บาท/สถานี) รวมค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน45บาท 3. ส่วนอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15บาท+3 บาท ต่อสถานี ไม่เกิน45บาท4. ส่วนไปบางหว้า 15บาท+3 บาทต่อสถานีรวมไม่เกิน 33บาท “สถานีคูคต-หมอชิต 45บาท จากหมอชิต-อ่อนนุช 44บาท(สัมปทาน)ส่วนนี้ ค่าโดยสารสูงสุด44บาท หักค่าแรกเข้า 15บาท และจากอ่อนนุช - เคหะสมุทรปราการ อีก45บาท หักค่าแรกเข้า15บาท เหลือ 30บาท “ หรือโดยสรุป มีดังนี้ 1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 - 45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)โดยบีทีเอสซี เตรียมออกประกาศอัตราค่าโดยสาร สายสีเขียว ในอีก 1-2วันนี้ เพื่อแจ้งประชาชนทราบก่อนเป็นเวลา 1 เดือน

สำหรับอัตราค่าโดยสาร 104 บาทตลาดสาย จาก 158 บาทเป็นอัตราชั่วคราวที่จะจัดเก็บ ตั้งแต่วันที่ 16ก.พ. 64 เป็นต้นไปเนื่องจาก พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มองว่าอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิดเกรงประชาชนผู้ใช้บริการจะได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม สำหรับอัตรานี้(104บาท) กทม.ยังขาดทุนปีละ3,000 ล้านบาท และหากเก็บ65บาทกทม.จะขาดทุน5,000ล้านบาทต่อปีเคาะแล้ว! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท เริ่มเก็บ 16 ก.พ.
เคาะแล้ว! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท เริ่มเก็บ 16 ก.พ.


นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ได้ทวงถาม ค่าเดินรถ ที่ติดค้างบีทีเอสซี2ปีรวมเกือบ10,000ล้านบาท โดยขอแบ่งจ่ายบางส่วนก่อน5,000ล้านบาท ซึ่งกทม.รับปากจะชำระคืน ซึ่งเข้าใจว่ากทม.ต้องเสนอกระทรวงมหาดไทยรับทราบตามขั้นตอน อาจมีความล่าช้าบ้างซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของทางหน่วยงานราชการ แต่หาก คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติ ขยายสัมปทาน ค่าโดยสารสายสีเขียว กทม.สามารถจัดเก็บค่าโดยสาร 65บาทตลอดสาย และไม่ต้องแบกภาระหนี้อีก กว่า1แสนบาทบาท คาดว่าในเดือนหน้าจะมีความชัดเจนขึ้น
เปิดประกาศค่าตั๋วใหม่รถไฟฟ้าสายสีเขียว กทม. แจงยิบทำไมต้องเก็บ 104 บาท
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 15 มกราคม 2564 - 22:22 น.



“ผู้ว่าฯอัศวิน” เซ็นออกประกาค่าโดยสารใหม่สายสีเขียว 15-104 บาท เก็บจริง 16 ก.พ. นี้ ไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนพร้อม ร่ายยาวชี้แจงต้องเก็บเพราะแบกต้นทุนไม่ไหว ลุ้นครม.ทางตันเคาะสัมปทาน ดั๊มฟ์ราคาลงเหลือสูงสุด 65 บาท สางหนี้ 1.2 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกประกาศ กทม. เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงนามโดยพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่ากทม. อาศัยอำนาจตามข้อ 4 แห่งข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง ค่าบริการระบบขนส่งมวลชน กทม. 2552 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. 2564 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญคือ

ให้ยกเลิกประกาศ กทม. ฉบับวันที่ 29 ม.ค. 2560 เรื่อง ค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งมวลชนกทม.ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทตอนที่ 1(ซ.สุขุมวิท 85- สุขุมวิท 107) ระยะทาง 5.25 กม. และส่วนต่อขยายสายสีลมตอนที่ 2 (ตากสิน – เพชรเกษม) ระยะทาง 5.3 กม.

เก็บ 15-104 บาท เริ่ม 16 ก.พ. 64
โดยกำหนดสายทางและค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวใหม่ ดังนี้

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (สถานีห้าแยกลาดพร้าว – สถานีคูคต) จำนวน 16 สถานี เก็บค่าโดยสารราคา 15-45 บาท (ปรับขึ้น 3 บาท/สถานี)

2.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวตามแนวสัมปทาน สายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช – หมอชิต และสายสีลม ช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สะพานตากสิน จำนวนรวม 23 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 16-44 บาท

3. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 1 คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงสถานีกรุงธนบุรี – สถานีวงเวียนใหญ่ จำนวน 2 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 16 บาท

4.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงสถานีบางจาก – สถานีแบริ่ง จำนวน 5 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท (ปรับขึ้น 3 บาท/สถานี)

5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงสถานีสำโรง – สถานีเคหะสมุทรปราการ จำนวน 9 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท (ปรับเพิ่ม 3 บาท/สถานี)

และ 6. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 คือส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสถานีโพธิ์นิมิตร – บางหว้า จำนวน 4 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-25 บาท (ปรับเพิ่ม 3 บาท/สถานี)

ค่าแรกเข้าเก็บครั้งเดียวและจัดเก็บสูงสุดไม่เกิน 104 บาท

แจงต้องเก็บ เหตุแบกหนี้ 3 ปี
นอกจากนี้ กทม.ยังได้ชี้แจงกรณีการเก็บค่าโดยสารอัตราใหม่ด้วย โดยระบุว่า ในช่วงทดลองให้บริการส่วนต่อขยายต่างๆ กทม.ไม่มีการเรียกเก็บค่าโดยสารมา 3 ปีแล้ว เนื่องจาก กทม. ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน

แต่ตอนนี้เปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบแล้ว ประกอบกับ กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดิน รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. 2564 เป็นต้นไป ยืนยันว่าเสียค่าแรกเข้ารอบเดียว ไม่มีการเก็บซ้ำซ้อน

ฉุดเรตเหลือ104 บาท บรรเทาโควิด
ส่วนอัตราค่าโดยสารสูงสุด จริงๆแล้วอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาด จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 104 บาทแทน ซึ่ง กทม. จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 จะมีผลขาดทุนถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท


ขณะที่ประเด็นการต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว เห็นว่าแนวทาง PPP เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด โดยจะให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้สินของ กทม. เพื่อที่จะทำให้ กทม. สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนจนเกินสมควร

หวังครม.เคาะต่อสัมปทานฝ่าทางตัน
ปัจจุบันนี้ กทม. อยู่ระหว่างการนำเสนอแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากมีการเห็นชอบแล้ว การแก้ไขสัญญาสัมปทานนี้จะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาท เป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาทของ กทม. ได้

รายละเอียดของประกอบด้วย 1.ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดขึ้นจากการรับโอนโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งในส่วนเงินต้นค่างานโยธาที่ประมาณ 55,000 ล้านบาท

2.ภาระดอกเบี้ยในอนาคตอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท 3.ค่าลงทุนในงานระบบ (E&M) ในส่วนต่อขยายที่ 2 ประมาณ 20,000 ล้านบาท

4.ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่ายอีกประมาณ 9,000 ล้านบาท 5.ภาระผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 รวมอีกประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ เอกชนยังต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้ กทม. อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา

ยืนยันว่า ภายใต้อำนาจของ กทม. จะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุดเพื่อให้ลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดย กทม. จะอธิบายถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อที่จะให้สามารถปรับอัตราค่าโดยสารให้ค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลดลงมาเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด

กทม.แจงยิบปรับค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย104บาท เริ่ม 16 ก.พ.นี้
วันที่ 16 มกราคม 2564 -เวลา 00:30 น.

กทม.แจงยิบปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท มีผลวันที่16ก.พ.นี้ รับขาดทุนปีละ 3-4พันล้านบาท นับรวมปี64-72 ขาดทุน 3-4หมื่นล้านบาท เร่งหาข้อยุติแก้สัญญาสัมปทาน ลดค่าโดยสารเหลือ65บาท

กทม.แจงยิบกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดเส้นทางไม่เกิน104 บาท มีผลวันที่16ก.พ.นี้ รับขาดทุนปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท

นับรวมปี64-72 กรุงเทพมหานคร ชี้แจงการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย โดยระบุว่า สืบเนื่องจากการเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเชียวเส้นทางส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ทยอยเปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่ วันที่ 3 เมษายน 2561 และเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 รถไฟฟ้าบีทีเอส
รถไฟฟ้าบีทีเอส

โดยในช่วงทดลองให้บริการซึ่งยังไม่มีการเดินรถเต็มรูปแบบไม่มีการเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการเป็นระยะเวลาเกือบสามมาแล้ว เนื่องจาก กทม. ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประขาชน บัดนี้เมื่อมีการเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบแล้ว ประกอบกับ กทม มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยาย
สายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ใช้บริการในส่วนหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช จะไม่ได้รับผลกระทบ ยังคงเสียค่าโดยสารในอัตราเดิม และจะไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก (หมอชิต-อ่อนนุข และสะพานตากสินสนามกีฬาแห่งชาติ) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย(ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ คูคต)



โดยประชาชนจะจ่ายค่าแรกเข้าสำหรับการใช้บริการโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ปรากฏตามตารางด้านล่างนี้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว

Click on the image for full size
Click on the image for full size
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารของโครงการสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COMD-19 กทม. จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท กทม.จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาทเมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 จะมีผลขาดทุนถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ตลอดเวลาที่ผ่านมา กทม.ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนจากการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยกทม.ได้พยายามหาทางแก้ไข รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ ซึ่ง กทม. เห็นว่าแนวทางการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public - Private Partnership: ppp) เป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุด ในการที่จะมาแก้ป้ญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้สินของ กทม. เพื่อที่จะทำให้ กทม. สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนจนเกินสมควร และ
จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ปลอดภัย สะดวก และมีประสิทธิภาพอยู่เหมือนเดิม
โดยในปัจจุบันนี้ กทม. อยู่ระหว่างการนำเสนอแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากมีการเห็นชอบแล้ว การแก้ไขสัญญาสัมปทานนี้จะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาท เป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาทของกทม. ได้ ซึ่งประกอบด้วย ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดขึ้นจากการรับโอนโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งในส่วนเงินต้นค่างานโยธาที่ประมาณ 55,000 ล้านบาทและภาระดอกเบี้ยในอนาคตอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าลงทุนในงานระบบ (E&M) ในส่วนต่อขยายที่ 2 ประมาณ 20,000 ล้านบาท ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินค้างจ่ายอีกประมาณ 9,000 ล้านบาท และภาระผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2564 จนถึง 2572 รวมอีกประมาณ 30,000 -40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ เอกชนยังต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้ กทม. อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ ตอนเจรจากทม. ยืนยันว่า ภายใต้อำนาจของ กทม. จะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุดเพื่อให้ลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดย กทม.จะอธิบายถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อที่จะให้สามารถปรับอัตราค่าโดยสารให้ค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลดลงมาเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด


ผู้ว่ากทม.ออกประกาศ ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสาย สีเขียวทุกเส้นทาง เริ่มใช้ 16 ก.พ.64
หน้า อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 มกราคม 2564 -เวลา 11:47 น.

ผู้ว่ากทม.ประกาศค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวทุกเส้นทาง เริ่มใช้ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป พร้อมเดินหน้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าโดยสารให้เหลือ 65 บาทตลอดสาย ส่งเสริมการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะแก่ประชาชน



พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่16มกราคม 2564ว่า หลายคนคงรอคำตอบเกี่ยบกับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่าจะมากน้อยเท่าไหร่ เพื่อเป็นตัวตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายและวางแผนการเดินทาง ซึ่งผมขอเรียนชี้แจงครับว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา กทม. ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนจากการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และได้พยายามหาทางแก้ไข รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ โดยขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างการนำเสนอแนวทางแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบปรับลดค่าโดยสารให้เหลือ 65 บาทตลอดสาย เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นหลัก ช่วยลดผลกระทบด้านการจราจร มลพิษ และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผู้ว่ากทม.ออกประกาศ ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสาย สีเขียวทุกเส้นทาง เริ่มใช้ 16 ก.พ.64
ผู้ว่ากทม.ออกประกาศ ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสาย สีเขียวทุกเส้นทาง เริ่มใช้ 16 ก.พ.64



อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน กทม.ได้เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวทุกเส้นทางแล้ว พร้อมทั้งได้ออกประกาศกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป โดยการเก็บค่าโดยสารจะเก็บเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน โดยคิดจากเส้นทางต้นทางที่เริ่มเดินทาง ดังนี้ครับ 1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 - 45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
พร้อมกันนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 กทม. จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุด จากเดิมที่ต้องจ่ายจริงตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท เป็น 104 บาท แม้กทม.จะต้องแบกรับภาระการขาดทุนตั้งแต่ปี 2564 - 2572 ถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท ก็ตาม ซึ่งขอยืนยันว่ากทม. จะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุดครับ


Last edited by Wisarut on 17/01/2021 1:00 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 12:29 am    Post subject: Reply with quote

เปิดศึก 2 พรรค ยื้อสัญญาสัมปทาน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว”
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project

วันที่ 15 มกราคม 2564 - 14:10 น.

กทม.เผยต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังไม่ได้ข้อสรุป เหตุฝ่ายค้านเตรียมซัดอภิปรายไม่ไว้วางใจสัปดาห์หน้า หลังขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กรณีที่ยังไม่มีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส จะทำให้ต้องเก็บค่าโดยสารตลอดสายที่ราคา 158 บาทตลอดสาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นค่าโดยสารในส่วนที่บีทีเอสรับสัมปทานช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ราคาไม่เกิน 44 บาท และส่วนที่เหลือเป็นค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่กรุงเทพมหานครจ้างบีทีเอสเดินรถ ส่วนจะเสนอเรื่องการต่ออายุสัมปทานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเมื่อไหร่ เบื้องต้นนายกรัฐมนตรีขอให้รอการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านเสร็จก่อน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาเพื่อเตรียมเสนอ ครม.โดยกำหนดรูปแบบสัญญาแบบ PPP Net Cost อายุสัญญา 40 ปีแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม ตั้งแต่วันที่ลงนาม ถึง 4 ธ.ค.2572 และ2.ระยะเวลาร่วมลงทุนเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.2572 ถึง4 ธ.ค.2602 (ต่ออายุสัญญา 30 ปีจาก 4 ธ.ค.2572) รวมทั้งมีการแบ่งผลประโยชน์ค่าโดยสารให้กรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2572 เป็นต้นไป แบ่งเป็นปีที่ 1-15 10% ,ปีที่ 16-25 15% และปีที่ 26-30 25% โดยภาระทางการเงินของโครงการที่เอกชนรับผิดชอบรวม 76,948 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุน 38,639 ล้านบาท ครอบคลุมค่าจัดหาขบวนรถ 17,291 ล้านบาทค่างานระบบ 20,248 ล้านบาทการลงทุนของกรุงเทพมหานคร (ส่วนสะพานตากสิน) 500 ล้านบาทการลงทุนของกรุงเทพมหานคร (ส่วนประตูกั้นชานชาลาอัตโนมัติส่วนต่อขยายที่ 1) 600 ล้านบาท ขณะเดียวกันภาระทางการเงินก่อนเริ่มสัมปทาน 38,309 ล้านบาทผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยาย 28,103 ล้านบาท และส่วนต่างรายได้ค่าโดยสารที่ต้องชดเชยให้กองทุน BTSGIF 10,206 ล้านบาท ในขณะที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของกรุงเทพมหานครที่รับภาระภาษีในเขตกรุงเทพฯ ส่วนเอกชนรับผิดชอบภาษีนอกเขตกรุงเทพฯ รวมถึงภาษีอื่น

แหล่งข่าวจากรัฐบาล กล่าวว่า สำหรับการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกำลังเป็นปัญหาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย มีท่าทีคัดค้านและอาจไม่ยกมือสนับสนุนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เนื่องจากล่าสุดพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้ประกาศชัดเจนว่าเตรียมนำเรื่องปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวมาเป็นประเด็นหลักในการซักฟอกรัฐบาลด้วย นอกจากนี้ ฝ่ายค้านเตรียมที่จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้บรรจุทันสมัยประชุมนี้ หากไม่ทันก็จะเสนอให้เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ จึงเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี ยังไม่ให้วาระการต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวและราคาส่วนต่อขยายเข้า ครม.ก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อไม่ให้เรื่องนี้กลายมาเป็นประเด็นที่พรรคฝ่ายค้านจะใช้โจมตีรัฐบาลได้ ข่าวที่เกี่ยวข้องงานเข้าคนกรุง กทม.เตรียมเก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” 158 บาทBTS จ่อเปิดเดินรถไฟฟ้าเพิ่ม 7 สถานี สยบดราม่าสัญญาสัมปทาน “สายสีเขียว”ส่อวุ่น กทม.เตรียมหยุดเดินรถไฟฟ้า ”สายสีเขียว” ส่วนต่อขยายส่องเส้นทางเดินรถ BTS จ่อหยุดวิ่ง!เดือดจัด กทม.ซัด คมนาคม หลังค้านต่อสัมปทานสายสีเขียว



"วิษณุ" รับ สายสีเขียวยังไม่เข้าครม.เชิญทุกฝ่ายผ่าทางตัน
หน้า Politics /
วันที่ 15 มกราคม 2564 - 14:27 น.

“วิษณุ”เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อัพเดตปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัดตอบต้นตอปัญหา รับยังไม่มีวี่แววเข้าครม.ภายเดือนม.ค.นี้

เมื่อเวลา 11.45 น. วันที่ 15 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีข่าวว่ารถไฟฟ้าจะให้บริการฟรีในสถานีส่วนต่อขยายสถานีหมอชิต-คูคต และ แบริ่ง- สมุทรปราการ วันที่ 15 ม.ค. เป็นวันสุดท้าย และราคาจะกำหนดที่ 158 บาท ว่า เรื่องนี้ตนไม่รู้และเพิ่งได้ยินข่าวนี้

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ได้เชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆมาหารือ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กทม.และ สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี มาอัพเดตข้อมูลเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็ยังไม่เห็นมีใครพูดถึงเรื่องนี้ "เท่าที่มีการหารือกัน ผมก็ทราบแล้วว่าติดขัดที่ตรงไหน และได้สอบถามแล้วว่ารออะไรในเวลานี้ โดยเรื่องนี้ยังไม่สามารถเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ทันภายในสัปดาห์หน้า และภายในเดือนนี้อาจยังไม่สามารถนำเข้าครม.ได้ เพราะยังมีข้อติดขัดอยู่ แต่ติดขัดเรื่องอะไรนั้น ผมรู้แล้ว แต่บอกสื่อไม่ได้ ไม่บอก ห้ามบอก"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อติดเกี่ยวกับเรื่องราคาค่าโดยสารที่ยังสรุปไม่ได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ติดขัดและจะต้องมีการชี้แจง เมื่อถามย้ำว่าต้องให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ หน่วยงานที่จะต้องพิจารณามีเยอะ แต่ละหน่วยก็ยังไม่ได้ตอบมา ซึ่งสรุปสุดท้ายครม.จะเป็นผู้พิจารณา และคาดว่าเรื่องนี้ยังไม่ได้ความชัดเจนภายในเดือนม.ค.นี้แน่ เมื่อถามว่าราคาค่าโดยสารจะมีการปรับลดหรือเพิ่มอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ตอบไม่ถูกในเรื่องนี้ เพราะหน่วยงานยังไม่ได้ตอบอะไรกันมา ข่าวที่เกี่ยวข้องงานเข้าคนกรุง กทม.เตรียมเก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” 158 บาทเปิดศึก 2 พรรค ยื้อสัญญาสัมปทาน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว”BTS จ่อเปิดเดินรถไฟฟ้าเพิ่ม 7 สถานี สยบดราม่าสัญญาสัมปทาน “สายสีเขียว”ส่อวุ่น กทม.เตรียมหยุดเดินรถไฟฟ้า ”สายสีเขียว” ส่วนต่อขยายส่องเส้นทางเดินรถ BTS จ่อหยุดวิ่ง!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 12:56 am    Post subject: Reply with quote

คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:31 น.


คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท
อีก1เดือน 16ก.พ.64 คนกรุงเตรียมควักกระเป๋าจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เต็มทั้งระบบ 104บาท เป็นการชั่วคราวเทียบจากเดิมต้องเก็บเต็มราคาในอัตรา158บาทตลอดสาย ดีกว่าแน่ลดค่าใช้จ่าย54บาท


นับจากนี้อีก1เดือน(16ก.พ.64)คนกรุงที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าโดยสารเต็มทั้งระบบ 104บาทเป็นการชั่วคราวเทียบจากเดิมต้องเก็บเต็มราคาในอัตรา158บาทตลอดสาย ซึ่ง158บาทนี้เป็นตัวเลขที่กทม.คำนวนออกมาแล้ว ไม่ทำให้เกิดการขาดทุน กรณีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าระบบกระแสไฟฟ้า ค่าจ้างพนักงาน ขบวนรถ ค่าซ่อมบำรุง ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทาง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์โควิดระบาด เมื่อวันที่15ม.ค.64 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอซี ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ได้ เคาะราคาค่าโดยสารลง เหลือ 104บาท ช่วยประชาชนประหยัดเงินในกระเป๋า ลง54บาท แลกกับกทม.ต้องแบกหนี้ส่วนต่าง3,000-4,000ล้านบาท และเมื่อเทียบกับ การเดินทางข้าม3จังหวัด(ปทุมธานี-กทม.-สมุทปราการ) ในเวลาอันรวดเร็ว 80กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยไม่สะดุด ใช้เวลาเพียง1ชั่วโมงเศษระยะทางยาว 68.25กิโลเมตร 59สถานี ท่ามกลางวิกฤติจราจร ต้องยอมรับว่าคุ้มค่า



ที่สำคัญจากผลสำรวจของบีทีเอสซี พบพฤติกรรมผู้โดยสารน้อยรายจะเดินทางไป-กลับตลอดสายเป็นประจำทุกวัน แต่ในทางกลับกัน เฉลี่ยจะขึ้น-ลงระหว่างทาง ที่ สยามแควร์เป็นส่วนใหญ่ และเชื่อมต่อไปกับระบบรถไฟฟ้าสายอื่น ในราคาค่าโดยสาร44-58บาทขณะราคา65บาทตลอดสาย กทม.ระบุชัดเจนว่า รอแก้ไขร่างสัญญาสัมปทานสายสีเขียวให้กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ที่คาดว่าจะเข้าครม.พิจารณาในเดือนหน้าหลังจากจัดเก็บค่าโดยสารไปแล้ว คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท
คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท

ทั้งนี้ เมื่อเทียบอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่2 ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต 158บาท ค่าโดยสาร 15-60บาท ลดเหลือ 104บาท 15-45บาท ส่วยหลัก(ส่วนตรงกลาง) หมอชิต-อ่อนนุช (คงเดิม) 16-44บาท ช่วงต่อขยายช่วงที่1 สายสีเขียวใต้ บางจาก(อ่อนนุช)-แบริ่ง ราคา15บาท (คงเดิม) ช่วงที่2สายสีเขียวใต้ สำโรง-เคหะสมุทรปราการ 15-39บาท อัตรา158บาท ส่วนนี้จะเสีย 69บาท แต่กรณีค่าโดยสารลดเหลือ 104บาท กทม.ได้รวมทั้งสองช่วง ตั้งแต่ บางจาก(อ่อนนุช)-เคหะสมุทรปราการ 15-45บาท คือสูงสุด45บาท ไม่คิดค่าแรกเข้าระหว่างสายหลักและส่วนต่อขยาย คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท
คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท

ตัวอย่างการคิดค่าโดยสาร เดินทางภายในส่วนหลัก(ตรงกลาง)และส่วนต่อขยาย ราคา 45บาทลดลง15บาท ส่วนหลักข้ามไป ต่อขยายห้าแยกลาดพร้าว-คูคต 30บาทลดลง30บาท ส่วนหลัก 44บาทคงเดิม กรณีเดินทางจากส่วนหลักข้ามไปห้าแยกลาดพร้าว-คูคต และอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ -ธนบุรี-บางหว้า 44บาทคงเดิม เรียกว่าเดินทางทั้งระบบเสีย44บาท เป็นต้น
เชื่อว่าหากคนใช้บริการเดิมในเส้นทางเดิม ไปกลับที่ทำงาน ที่อยู่อาศัยช็อปปิ้งในเส้นทางระหว่างบ้านกับออฟฟิศเชื่อว่าค่าโดยสารไม่น่าเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเส้นทางหลัก เว้นแต่ ผู้โดยสารใหม่ที่อยู่อาศัยปลายทางที่ยังใช้บริการฟรีมาโดยตลอดอาจจะรู้สึกกระทบ แต่ทั้งนี้ ยังเปิดหลายช่องทางเลือกในการเดินทาง อาจสลับวัน หรือ ใช้บริการสาะรณะอื่นบางช่วง แล้วต่อเส้นทางที่จำเป็นเร่งด่วนก็จะช่วยได้ แต่หาก ต้องการย่นระยะเวลาทำงาน หลีกหนีรถติด มองว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวน่าจะคุ้มสุด แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงการระบาด ผู้โดยสารอาจบางตาไปบ้าง สำหรับภาษีต้นทุนส่วนต่าง รัฐน่าจะแบกรับต่อหรือไม่ในที่สุดก็ถึงคิดต้องขยายสัมปทานให้เอกชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ออกหัวออกก้อยอย่างไรทุกฝ่ายต้องไม่เอาประชาชนผู้โดยสารเป็นเดิมพันในการหาเสียง!!!


"รถไฟฟ้าสายสีเขียว" แพง 104 บาท "ศรีสุวรรณ" จี้คมนาคมรับผิดชอบ
หน้าข่าวทั่วไป
วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:58 น.

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย แถลงการณ์ เรียกร้อง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม รับผิดชอบ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพงสูงสุด 104 บาท ชี้ซ้ำเติมคนหาเช้ากินค่ำ

นายศรีสุวรรณ จรรยาเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ระบุว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่ออกมาว่ากรุงเทพมหานคร หรือกทม.จะได้กำหนดอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.2564 เป็นต้นไปแต่เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 กทม.จึงออกประกาศเมื่อวันที่ 15 ม.ค.64 ที่ผ่านมาโดยปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายมาอยู่ที่ 104 บาทนั้น


การปรับราคาดังกล่าวลงมาเหลือ 104 บาทตลอดสายก็ยังถือว่าแพงเกินไปสำหรับประชาชนที่หาเช้ากินค่ำอยู่ดี โดยเฉพาะในสถานการณ์การเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ กทม.กับเอกชนผู้รับสัญญาสัมปทานได้เคยตกลงกันได้แล้วโดยความเห็นชอบของ รมว.มหาดไทย ว่าจะกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ตลอดสายอยู่ที่ 65 บาท โดย กทม. ได้นำเสนอข้อตกลงการแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากมีการเห็นชอบแล้ว การแก้ไขสัญญาสัมปทานนี้จะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาท เป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และช่วยแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาทของ กทม. ได้ นอกจากนี้ เอกชนยังจะสามารถแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้ กทม. อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา


แต่ทว่ากระทรวงคมนาคม กลับมีหนังสือถึงคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2563 ไม่เห็นด้วยกับการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของเอกชนใน 4 ประเด็น อาทิ1.ความครบถ้วนตามหลักการของพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 25622.การคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ3.การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ4.ข้อพิพาททางกฎหมาย ทั้งๆที่โครงการดังกล่าวเป็นเรื่องของ กทม. และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ตกลงเจรจากันเรียบร้อยแล้วเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย แต่การที่กระทรวงคมนาคมสอดเข้ามาท้วงติงเช่นนี้ จึงเท่ากับว่าเป็นการผลักภาระค่าโดยสารที่ กทม.เพิ่งประกาศไปเมื่อวานเป็นภาระของประชาชนคนกรุงเทพฯโดยมิอาจเลี่ยงได้รมว.คมนาคมเป็นคนบุรีรัมย์ ไม่ได้ทุกข์ร้อนกับปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคนกรุงเทพฯจึงไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นการที่ กทม.ประกาศกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวใหม่ดังกล่าว 104 บาท ทั้งๆที่ควรจะเป็น 65 บาท จึงเป็นความรับผิดชอบของ รมว.กระทรวงคมนาคม และพรรคภูมิใจไทย ที่ต้องตอบคำถามกับคนกรุงเทพฯว่าท่านจะรับผิดชอบกับกรณีนี้อย่างไร เลือกตั้งครั้งหน้าคนกรุงเทพฯควรจะเลือกคนของพรรคภูมิใจไทยเข้ามาเป็นผู้แทนไหม ? และตลอดเวลาที่ร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์มา พรรคภูมิใจไทยเคยทำอะไรที่ประสพผลสำเร็จตามที่ได้เคยหาเสียงไว้แล้วหรือไม่ ขอคำตอบให้คนกรุงเทพและปริมณฑลด้วย


Last edited by Wisarut on 18/01/2021 11:01 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 1:07 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ติง กทม.ปล่อยบีทีเอสขึ้นราคาสีเขียว 104 บาท เพิ่มภาระประชาชน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:33 น.

“คมนาคม” ออกโรงเรียกร้อง กทม.ชะลอขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทตลอดสาย ชี้เป็นภาระ ปชช.เกินไป ขอรอสรุปต่อสัญญาบีทีเอสก่อน เผย 1 เดือนยังไม่ได้ผลศึกษาต้นทุนจากมหาดไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 16 ม.ค. กระทรวงคมนาคมได้แจ้งถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงวันที่ 15 มกราคม 2564 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชนโดยขาดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยายระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กับ กรุงเทพมหานคร ที่ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนนั้น

กระทรวงคมนาคมจึงขอเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้ ในเรื่องการขอปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม.ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่นๆ เพื่อนำมาศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม.เสนอใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ. 2602 (38 ปี) ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท

แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป

“คมนาคม” เบรก “กทม.” ขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว 15-104 บาท
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:27 น.


หลบหน่อยพระเอกมา “คมนาคม”ขอ”กทม.”เบรกขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียวอัตราใหม่จนกว่าจะได้ข้อยุติจากทุกฝ่าย ชี้การขึ้นค่าโดยสารไม่เป็นไปตามมติครม.ปี 61 แฉ”มหาดไทย-กทม.”ไม่ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องสัมปทานให้ หลังทำเรื่องขอไปกว่า 1 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 16 มกราคม 2564 เวลา 15.54 น. กระทรวงคมนาคมได้ออกเอกสารข่างถึงสื่อมวลชน ความว่า กระทรวงคมนาคมเรียกร้องขอให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชะลอการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวจนกว่าจะได้ข้อยุติในข้อเท็จจริง เพื่อมิให้เป็นภาระของประชาชน

ขอกทม.ทำตามมติครม. ปี61
ตามที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีประกาศ เพื่อปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงวันที่ 15 ม.ค. 2564 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาท ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชนโดยขาดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยายระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ได้กำหนดให้ กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับกทม.ในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชน นั้น

กระทรวงคมนาคมจึงขอเรียกร้องให้ กทม. ชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ

แฉ “มหาดไทย-กทม.” ไม่ส่งข้อมูลเพิ่มตามขอ
ทั้งนี้ ในเรื่องขอการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม. ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และกทม. เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่น ๆ เพื่อนำมาศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม เสนอ ใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 (38ปี) ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท

แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป


แนบเอกสาร เลขาครม. ประกอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่า ในการออกเอกสารชี้แจงดังกล่าว กระทรวงคมนาคมได้แนบเอกสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จำนวน 2 ฉบับเป็นหลักฐานด้วย

ฉบับแรก เป็นเอกสารว่าด้วยขอความเห็นชอบการกู้เงินเพื่อใช้ในการรับโอนทรัพย์สิน และหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้สายสีเขียวช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต และช่วงแบวิ่ง – สมุทรปราการ ลงวันที่ 29 พ.ย. 2561 ทำถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


สาระสำคัญคือ แจ้งให้ว่าการประชุมครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 มีมติรับทราบการกู้เงิน
เพื่อใช้ในการรับโอนทรัพย์สิน และหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกทม.รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

และอีก 1 ฉบับเป็นเอกสารว่าด้วย การขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ
และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ -คูคต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงวันที่ 30 พ.ย. 2561 ทำถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

โดยมีสาระสำคัญในข้อ 4 ที่ระบุว่า ให้กระทรวงคมนาคมและ กทม. บูรณาการการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมทั้งการกำหนด
อัตราแรกเข้าและอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่ก่อให้กิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากเกินไป

และในข้อ 6.2 กำหนดว่า การบริหารจัดการสัญญาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้มีระยะสิ้นสุดพร้อมกันทุกช่วง เพื่อให้ กทม. สามารถเปิดให้เอกชนเข้าร่วมแข่งขันประมูลการให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ทั้งสาย อันจะเป็นการจูงใจให้มีเอกชนรายใหม่เข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและผู้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนต่อไป


คมนาคม หัก กทม.ชะลอขึ้นค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว104บาท
หน้า อสังหาริมทรัพย์ /

วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:01 น.
ว่าได้ข้อยุติในข้อเท็จจริง ไม่ให้เป็นภาระของประชาชนมาก ด้านกทม.สวนหมัด ออกประกาศแล้วเก็บ104บาทชั่วคราว เตรียมเสนอร่างขยายสัญญาสัมปทาน ให้บีทีเอส ค่าโโยสาร65บาท


ตามที่ กรุงเทพมหานครได้มีประกาศ เพื่อปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงวันที่ 15 มกราคม 2564 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชนโดยขาดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยายระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กับ กรุงเทพมหานคร ที่ได้กำหนดให้ กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชน นั้น


กระทรวงคมนาคมจึงขอเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานครชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ คมนาคม หัก กทม.ชะลอขึ้นค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว104บาท


ทั้งนี้ ในเรื่องขอการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม. ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้องเช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่น ๆ เพื่อนำมาศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม เสนอ ใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 (38ปี)
ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป ขณะกรุงเทพมหานคร โดยพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบเมื่อวันที่ 15ม.ค.64 มีผลจัดเก็บวันที่16ก.พ. 64 อัตรา สูงสุด104บาท เป็นการชั่วคราว และเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ในสถานการณ์โควิดจึงชะลอเก็บในอัตราสูงสุดที่158ไว้ก่อน อีกทั้งยังจัดทำร่างสัญญาขยายสัมปทาน สายสีเขียวให้กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี หากคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติคนกรุงเทพฯจะนั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ถูกลงเพดานสูงสุดไม่เกิน65บาทหรือ 15-65บาท ต่อเที่ยว/คน สำหรับค่าโดยสารสายสีเขียวตามที่ผู้ว่ากทม.ประกาศสรุปได้ดังนี้1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 - 45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
https://www.youtube.com/watch?v=-iaJPCGpP5U
https://www.facebook.com/MorningNewsTV3/videos/767071257499415/



'คมนาคม'เบรก กทม.ชะลอขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว สูงสุด 104 บาท จนกว่าได้ข้อยุติเรื่องสัมปทาน
หน้า โลกธุรกิจ
วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.23 น.


วันที่ 16 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าทางกระทรวงคมนาคมได้ออกแถลงการณ์ระบุว่าตามที่กรุงเทพมหานครได้มีประกาศ เพื่อปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงวันที่ 15 ม.ค.2564 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชนโดยขาดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยายระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กับ กรุงเทพมหานครที่ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการกำหนดอัตราแรกเข้าอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนนั้น ทางกระทรวงคมนาคมจึงขอเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานครชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้ในเรื่องขอการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม. ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่น ๆ เพื่อนำมาศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม เสนอ ใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 (38ปี) ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป

กระทรวงคมนาคม ฝากถึง กทม.ช่วยชะลอขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:13 น.


คมนาคม เรียกร้องขอให้ กทม. ชะลอการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว จนกว่าจะได้ข้อยุติในข้อเท็จจริง เพื่อไม่เป็นภาระของประชาชน


เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 63 รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หลังจากกรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ได้มีประกาศ ปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงวันที่ 15 ม.ค. 64 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย (ผู้ว่าฯ อัศวินร่ายยาวทำไมรถไฟฟ้าสายสีเขียวเก็บ 104 บาท หวังครม.เคาะเหลือ 65 บาท)



โดยเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชนโดยขาดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 61 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยายระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม กับ กทม. ที่ได้กำหนดให้ กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนนั้น



ทั้งนี้ ทางกระทรวงคมนาคมจึงขอเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานครชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม. ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่นๆ เพื่อนำมาศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม.เสนอ ใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 หรือ 38 ปี ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป


Last edited by Wisarut on 18/01/2021 9:08 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 1:51 am    Post subject: Reply with quote

'กรมราง'อัดซ้ำ!นั่งรถไฟฟ้า104บาท สร้างภาระประชาชน
เสาร์ที่ 16 มกราคม 2564 เวลา 20.20 น.

กรมฯรางอัดซ้ำ!! ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 104 บาท สร้างภาระให้ประชาชน แถมยังขัดมติ ครม.-เจตนารมณ์ ก.คมนาคม เตรียมส่งหนังสือขอให้ระงับปรับราคา ลั่นค่าโดยสารยังต่ำกว่า 65 บาทได้อีก บี้ กทม.-มท. ส่งข้อมูลให้ด่วนๆ สัปดาห์หน้านั่งหัวโต๊ะถกร่วมกัน

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รองอธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ขร. พิจารณาแล้วเห็นว่า อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศปรับในอัตราสูงสุดตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่สร้างภาระค่าเดินทางให้แก่ประชาชนที่ดำเนินการ และไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย.61 ที่กำหนดให้กระทรวงคมนาคม และ กทม. บูรณาการร่วมกันในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชน รวมถึงเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคมที่มอบทรัพย์สินในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ให้กับ กทม. ได้กำหนดให้กทม. กำหนดอัตราค่าแรกเข้าและอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ และไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากเกินไป
          
นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า ขร. เห็นสมควรให้ กทม. พิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ และรัดกุม เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมติ ครม. และกระทรวงคมนาคม อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ขร. ได้มีข้อเสนอแนะในการขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรณีอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวไว้อย่างชัดเจนว่า การคิดอัตราค่าโดยสารนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสม โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารสามารถกำหนดได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย และควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ  ซึ่งจะทำให้การจราจรใน กทม. เบาบางลง 
           
นายกิตติพันธ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันพบว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ  ดังนั้นการกำหนดอัตราค่าโดยสารควรวิเคราะห์จากต้นทุนที่แท้จริง  และเห็นว่าหากกำหนดราคาถูกลงจาก 65 บาทตลอดสาย ในอนาคตจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่านี้อีกด้วยทั้งนี้ ขร. เห็นควรให้ทุกฝ่ายหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสุขใจแก่สาธารณชน และไม่เป็นภาระกับรัฐจนเกินสมควร นอกจากนี้ยังมีแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราค่าโดยสารในช่วงก่อนสัมปทานส่วนหลักสิ้นสุดลงในปี 72 เช่น จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพยุงอัตราค่าโดยสาร และนำรายได้ในอนาคตมาชำระคืนกองทุนภายหลัง เป็นต้น 
          

นายกิตติพันธ์ กล่าวด้วยว่า ขร. เห็นว่ากระทรวงมหาดไทย (มท.) และ กทม. ควรเร่งดำเนินการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้กระทรวงคมนาคมตามที่ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปแล้วกว่า 1 เดือน ทั้งนี้ ขร. จะมีหนังสือถึง กทม. เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร และให้ดำเนินการตามมติ ครม. ข้างต้น พร้อมทั้งจะดำเนินการหารือกับ มท. และ กทม. เพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ขร. ขอยืนยันว่าการดำเนินการของ กทม.ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคม และ กทม. ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามมติของ ครม. ในการบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการพิจารณาอัตราค่าโดยสารด้วยความรอบรอบคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก และเห็นควรให้ชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายในสัปดาห์หน้า ซึ่ง ขร. จะได้เชิญประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนร่วมกันต่อไป..
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2817383518483148
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1115412352230576
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 11:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'กรมราง'อัดซ้ำ!นั่งรถไฟฟ้า104บาท สร้างภาระประชาชน
เสาร์ที่ 16 มกราคม 2564 เวลา 20.20 น.

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2817383518483148
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1115412352230576


กรมขนส่งทางราง ซัดกทม. ค่าโดยสารสายสีเขียว สร้างภาระ ประชาชน
หน้าอสังหาริมทรัพย์ /

17 มกราคม 2564 เวลา 03:00 น.

กรมขนส่งทางราง ซัดกทม. ค่าโดยสารสายสีเขียว สร้างภาระ ประชาชน ตามประกาศ อัตรา15-104บาท ต่อเที่ยว

ตามที่กรุงเทพมหานคร(กทม.)ประกาศอัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบ เมื่อวันที่15 มกราคม2564 และจัดเก็บจริง 16กุมภาพันธ์ 2564 นั้น นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รองอธิบดีกรมทางหลวง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางกรุงเทพมหานครได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท โดยมีการแบ่ง 4 ช่วงดังนี้
1.ช่วงสัมปทานของบีทีเอส (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) ค่าโดยสาร 16-44 บาท
2.ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)
3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)
4.ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า 15-33 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท) กรมขนส่งทางราง ซัดกทม. ค่าโดยสารสายสีเขียว สร้างภาระ ประชาชน
กรมขนส่งทางราง ซัดกทม. ค่าโดยสารสายสีเขียว สร้างภาระ ประชาชน


พร้อมทั้งให้เหตุผลไว้ว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้เปิดให้บริการเดินรถ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2561 และเปิดให้บริการเต็มทั้งระบบในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นระยะเวลา 3 ปี ที่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และปัจจุบันได้เปิดให้บริการครบทุกเส้นทาง จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการเริ่มเก็บค่าโดยสารในอัตราดังกล่าว ประกอบกับ กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564กรมขนส่งทางราง ซัดกทม. ค่าโดยสารสายสีเขียว สร้างภาระ ประชาชน
กรมขนส่งทางราง ซัดกทม. ค่าโดยสารสายสีเขียว สร้างภาระ ประชาชน

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) พิจารณาแล้วเห็นว่า อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่กทม.ประกาศมานั้น เป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่สร้างภาระค่าเดินทางให้แก่ประชาชนที่ดำเนินการและไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เนื่องจาก กทม. ได้เคยมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันความพร้อมในการรับโอนทรัพย์สิน หนี้สินของโครงการฯ แล้ว ก่อนที่ ครม. จะมีมติให้โอนทรัพย์สิน หนี้สินระหว่าง กทม. และกระทรวงคมนาคม (คค.) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 โดย ขร. เห็นสมควรให้ กทม. พิจารณาอย่างรอบคอบ รัดกุม เพื่อให้ไม่เป็นภาระแก่ประชาชน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมติ ครม. ดังกล่าว ที่กำหนดให้ คค. และ กทม. บูรณาการร่วมกันในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชน รวมถึงเจตนารมณ์ของ คค. ที่มอบทรัพย์สินในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ให้กับ กทม. ได้กำหนดให้กทม. กำหนดอัตราค่าแรกเข้าและอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ และไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากเกินไป โดยที่ผ่านมา ขร. ได้มีข้อเสนอแนะในการขยายสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรณีอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวไว้อย่างชัดเจนว่า การคิดอัตราค่าโดยสาร นั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสม โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารสามารถกำหนดได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย และควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ ซึ่งจะทำให้การจราจรใน กทม. เบาบางลง ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้น การกำหนดอัตราค่าโดยสารควรวิเคราะห์จากต้นทุนที่แท้จริง และเห็นว่าหากกำหนดราคาถูกลงจาก 65 บาทตลอดสาย ในอนาคตจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่านี้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ขร. เห็นควรให้ทุกฝ่ายหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสุขใจแก่สาธารณชน และไม่เป็นภาระกับรัฐจนเกินสมควร นอกจากนี้ยังมีแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราค่าโดยสารในช่วงก่อนสัมปทานส่วนหลักสิ้นสุดลงในปี 2572 เช่น จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพยุงอัตราค่าโดยสาร และนำรายได้ในอนาคตมาชำระคืนกองทุนภายหลัง เป็นต้น ขร. เห็นว่ากระทรวงมหาดไทย (มท.) และ กทม. ควรเร่งดำเนินการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ คค. ตามที่ คค. ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปแล้วกว่า 1 เดือน ทั้งนี้ ขร. จะมีหนังสือถึง กทม. เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร และให้ดำเนินการตามมติ ครม. ข้างต้น พร้อมทั้งจะดำเนินการหารือกับ มท. และ กทม. เพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ สุดท้ายนี้ทาง ขร. ขอยืนยันว่าการดำเนินการของ กทม.ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคม และ ขร.ขอยืนยันว่า กทม. ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามมติของคณะรัฐมนตรีในการบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการพิจารณาอัตราค่าโดยสารด้วยความรอบรอบ คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก และเห็นควรให้ชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายในสัปดาห์หน้า ซึ่งกรมการขนส่งทางรางจะได้เชิญประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนร่วมกัน


กรมราง ตื่น เบรกขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว
17 มกราคม 2564 เวลา 10:07 น.

กรมราง เบรก กทม.ขึ้นค่าโดยสารสายรถไฟฟ้าสีเขียว นัดถกทุกฝ่าย สัปดาห์หน้า

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รองอธิบดีกรมทางหลวง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.)ได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายอยู่ที่ 104 บาทนั้น กรมฯ จะมีหนังสือถึง กทม. เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่สร้างภาระค่าเดินทางให้แก่ประชาชนที่ดำเนินการและไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561


เนื่องจาก กทม. ได้เคยมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันความพร้อมในการรับโอนทรัพย์สิน หนี้สินของโครงการฯ แล้ว ก่อนที่ ครม. จะมีมติให้โอนทรัพย์สิน หนี้สินระหว่าง กทม. และกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561

โดย กรมฯ เห็นสมควรให้ กทม. พิจารณาอย่างรอบคอบ รัดกุม เพื่อให้ไม่เป็นภาระแก่ประชาชน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมติ ครม. ดังกล่าว ที่กำหนดให้กระทรวงคมนาคม และ กทม. บูรณาการร่วมกันในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชน รวมถึงเจตนารมณ์ของ กระทรวงคมนาคม ที่มอบทรัพย์สินในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ให้กับ กทม. ได้กำหนดให้กทม. กำหนดอัตราค่าแรกเข้าและอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ และไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากเกินไป พร้อมทั้งจะดำเนินการหารือกับกระทรวงมหาดไทย และ กทม. เพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ โดยมท.และกทม. ควรเร่งดำเนินการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้กระทรวงคมนาคมตามที่ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปแล้วกว่า 1 เดือน เนื่องจากการดำเนินการของ กทม.ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคม และ กรมฯ ขอยืนยันว่า กทม. ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามมติของครม.ในการบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการพิจารณาอัตราค่าโดยสารด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก และเห็นควรให้ชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายในสัปดาห์หน้า ซึ่งกรมการขนส่งทางรางจะได้เชิญประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนร่วมกัน อย่างไรก็ดี กรมฯ เห็นควรให้ทุกฝ่ายหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสุขใจแก่สาธารณชน และไม่เป็นภาระกับรัฐจนเกินสมควร นอกจากนี้ยังมีแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราค่าโดยสารในช่วงก่อนสัมปทานส่วนหลักสิ้นสุดลงในปี 2572 เช่น จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพยุงอัตราค่าโดยสาร และนำรายได้ในอนาคตมาชำระคืนกองทุนภายหลัง เป็นต้น
ที่ผ่านมา กรมฯ ได้มีข้อเสนอแนะในการขยายสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรณีอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวไว้อย่างชัดเจนว่า การคิดอัตราค่าโดยสาร นั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสม โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารสามารถกำหนดได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย และควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ ซึ่งจะทำให้การจราจรใน กทม. เบาบางลง ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้น การกำหนดอัตราค่าโดยสารควรวิเคราะห์จากต้นทุนที่แท้จริง และเห็นว่าหากกำหนดราคาถูกลงจาก 65 บาทตลอดสาย ในอนาคตจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่านี้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 115, 116, 117 ... 155, 156, 157  Next
Page 116 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©