RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180490
ทั้งหมด:13491724
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟอินโดนิเซีย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟอินโดนิเซีย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 30, 31, 32 ... 72, 73, 74  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2020 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

ตอม่อรถไฟความไวสูงจาการ์ตา - บันดุงเริ่มงอกขึ้นมาแล้ว
https://www.facebook.com/groups/365528414183412/permalink/882947185774863/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 12:08 pm    Post subject: Reply with quote


เจาะอุโมงค์ที่ 1 (กม. 2+540 - กม. 4 + 410) รถไฟความไวสูงจาการ์ตา - บันดุง ทะลุถึงกันแล้ว เมื่อ 15 ธันวาคม 2020
https://finance.detik.com/infrastruktur/d-5295513/progres-kereta-cepat-64-terowongan-bawah-tanah-1885-meter-diresmikan
http://www.xinhuanet.com/english/2020-12/15/c_139591822_2.htm
https://www.youtube.com/watch?v=8el8xzFEvps


Last edited by Wisarut on 17/12/2020 11:37 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 11:36 am    Post subject: Reply with quote



ความก้าวหน้ารถไฟความไวสูงจาการ์ตา ไป บันดุง เมื่อตุลาคม 2020
https://www.youtube.com/watch?v=1B6-WpBWV2c
https://www.youtube.com/watch?v=i-kjQ5Hbky0

รางรถไฟชุดแรกสำหรับรถไฟความไวสูงจาการ์ตา ไป บันดุง มาถึงเมืองท่า Cilacap แล้ว
https://www.xinhuathai.com/inter/161182_20201216
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2020 1:40 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของอาเซียนที่อินโดนีเซียสร้างเสร็จแล้ว 63.9% คาดเปิดใช้งานได้ช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า
WorkpointTODAY
วันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 22:00 น.

วันที่ 17 ธ.ค. 2563 เว็บไซต์ The Jakarta Post สื่อท้องถิ่นภาษาอังกฤษของอินโดนีเซีย รายงานความคืบหน้าการสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองบันดุง ซึ่งถือเป็นรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของอาเซียนว่า ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว 63.9% โดยล่าช้าเพราะการระบาดของโรคโควิด-19
บริษัท KCIC ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างอินโดนีเซียและจีน ผู้ดำเนินการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ระบุว่า ในตอนนี้อยู่ระหว่างการเจาะอุโมงค์ ซึ่งหากเสร็จสิ้นกระบวนการนี้ การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะมีความคืบหน้ามากขึ้นเป็น 74.94%
รถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง มีระยะทางทั้งสิ้น 142.3 กิโลเมตร คาดว่าต้องใช้งบประมาณกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 179,000 ล้านบาท โดยรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งในเส้นทางนี้สามารถทำความเร็วได้ถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาเดินทางเพียง 45 นาที จากเดิมที่หากเดินทางด้วยรถยนต์จะต้องใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมง
การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ล่าช้ากว่าแผนก่อสร้างในตอนแรกไปไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยแผนก่อนหน้านี้คาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายน 2564 แต่จากการก่อสร้างที่ช้ากว่ากำหนดจากโรคโควิด-19 ทำให้กำหนดเปิดให้บริการเลื่อนออกไปอีกเป็นช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า
https://www.globalconstructionreview.com/news/jakarta-bandung-high-speed-railway-64-complete/
https://www.thejakartapost.com/news/2020/12/17/jakarta-bandung-high-speed-railway-progresses-by-64-completes-drilling-of-fifth-tunnel.html

รถไฟความไวสูงที่สั่งเข้ามาใช้ในสาย จาการ์ตา - บันดุง
https://www.facebook.com/groups/461729267900126/permalink/901437250595990/


Last edited by Wisarut on 14/01/2021 10:27 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2021 9:44 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้าน Rammang-rammang, Salenrang Village,ผิดหวังที่ทางรถไฟสาย south Sulawesi railway ทำให้หมู่บ้านและท้องนาแยกออกจากกัน https://www.facebook.com/MongabayIndonesia/posts/5295889067095810
mongabay.co.id/2021/01/05/warga-rammang-rammang-gundah-lahan-tani-terkena-proyek-rel-kereta-api
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 7:01 pm    Post subject: Reply with quote

PT. MRT Jakarta เตรียมทำรถไฟฟ้ามหานครจาการ์ตา เฟส 3 และ เฟส 4
รายงานโดย: Wuri Setyaningsih
บรรณาธิการ : Maria Inggita |
6 มกราคม 2021 เวลา 15:03 น. WIB


PT. MRT Jakarta พร้อมก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) เฟส 3 (Ujung Menteng-Kalideres) ยาว 31 กิโลเมตร มูลค่า 51-55 ล้านล้านรูเปีย ที่ กระทรวงคมนาคม (Kemenhub) ออกแบบ โดยกะทำให้เสร็จในปี 2028
โดยหานักลงทุน โดยเริ่ม จากศึกษาความคุ้มทุนก่อน ตอนนี้ นักลงทุนและธนาคาร เล็งโครงการ รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) เฟส 3 (Ujung Menteng-Kalideres)

PT. MRT Jakarta ก็พร้อมก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) เฟส 4 (Fatmawati-TMII) ยาว 12 กิโลเมตร มูลค่า 25-28 ล้านล้านรูเปีย โดยกะจะสร้างปี 2022 และ เสร็จปี 2027 โดยศึกษาความคุ้มทุน และ หานักลงทุน และ หาเงินทุนจากพันธบัตรรัฐบาล

ตอนนี้ PT. MRT Jakarta กำลังก่อสร้างเฟส 2A จาก Bundaran HI ไป Kota และ จะทำเฟส 2B ไปโรงเก็บที่ Ancl Barat ที่ North Jakarta มี สถานีรถไฟใต้ดิน 8 สถานี ระยะทาง 7.8 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Jabodebek (Greater Jakarta) LRT เฟส 1
สาย 1 (Blue) => Cawang-Harjamukti
สาย 2 (Green) => Cawang - Jatimulya
สาย 3 (Orange) => Cawang - Dukuh Atas
สถานี Cawang (Gold) สถานีชุมทาง

Click on the image for full size
รถไฟฟ้าสายบาหลี

Airport Station
Bali Mandara Station
Graha Asih Hospital Station
Bali Galeria Station
TOD Check In AP1
TOD Centra Parking station Siloam
TSM Station
Soputan Station
Intermoda Station
RSKI Station
Tantular Station/21
Unud Station
Puputan Square Station
Renon Station
Sanur Station
https://radarbali.jawapos.com/read/2021/01/17/235812/bali-seriusi-proyek-kereta-api-studi-kelayakan-tuntas-dua-bulan-lagi
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 8:41 pm    Post subject: Reply with quote

อินโดฯ เปลี่ยน 'รถไฟ' เป็น 'ที่กักตัวผู้ป่วยโควิด-19'
สำนักข่าวซินหัว
28 มกราคม 2564 เวลา 18:40 น.

ทางการอินโดนีเซียทำการดัดแปลงรถไฟขบวนหนึ่ง ในเมืองมาดิอัน จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ให้กลายเป็นสถานที่กักตัวชั่วคราวสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียเผยเมื่อวันพุธ (27 ม.ค.) ว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึง 11,948 รายภายในวันเดียว ทำให้ขณะนี้มียอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 1,024,298 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 387 ราย ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 28,855 ราย
.
(บันทึกภาพวันที่ 27 ม.ค. 2021)
https://www.facebook.com/groups/461729267900126/permalink/931583627581352/


Last edited by Wisarut on 04/02/2021 11:30 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2021 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

รางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ซึ่งมีความยาวรวม 142.3กิโลเมตร ได้เชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายรางรถไฟที่มีอยู่เดิมของอินโดนีเซีย เมื่อวันพฤหัสบดี (28 ม.ค.) ซึ่งสร้างความก้าวหน้าสำคัญต่อการก่อสร้างขั้นต่อไป
รายงานระบุว่าซิโนไฮโดร (Sinohydro) ทีมดำเนินงานวางรางของโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ ได้ตระเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเพื่อรับรองว่าการใส่ประแจรางรถไฟจะเสร็จสมบูรณ์อย่างราบรื่น
การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 ด้วยเทคโนโลยีจีน โดยทางรถไฟจะเชื่อมระหว่างกรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุงในจังหวัดชวาตะวันตก วิ่งด้วยความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดระยะเวลาเดินทางจากกว่า 3 ชั่วโมงเหลือไม่ถึง 40 นาที
https://www.xinhuathai.com/vdo/173606_20210131
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2021 12:43 am    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย Jakarta-Bandung รถไฟความเร็วสูงสายแรกของอาเซียน 142 กิโลเมตร 4 สถานี เปิดให้บริการ ภายในปี 64!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วัน ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 20.43 น.

วันนี้ขอเอารายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูง ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงที่เปิดให้บริการเป็นสายแรกของอาเซียนมาให้เพื่อนๆรู้จักกันหน่อยครับ
ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ รองผู้จัดการของ โครงการได้มาให้ข้อมูลไว้ในงาน Asia Pacific Rail 2020 ปลายปีที่แล้ว ซึ่งผมเป็น Media Partner ของงานนี้ แต่เสียดายที่ประชุม Online แต่ก็ดีอีกด้านที่เปิดให้มีสัมมนา ออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางไปถึงงาน
ใครอยากจะดูคลิปสัมมนาเรื่องรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย เต็มๆ ดูได้จากลิงค์นี้ครับ
https://app.swapcard.com/event/asia-pacific-rail/planning/UGxhbm5pbmdfMjM0NTYz

ความเป็นมาของโครงการรถไฟความเร็วสูง Jakartar-Bandung
โครงการนี้เริ่มต้นจากทางญี่ปุ่น ได้มีการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซียสายแรกคือ Jakatar-Bandung-Surabaya โดยเน้นในช่วงแรก คือ Jakatar-Bandung ซึ่งศึกษาเสร็จในปี 2012
รายละเอียดผลการศึกษา โดย JETRO
https://www.jetro.go.jp/jetro/activities/contribution/oda/model_study/infra_system/pdf/h23_result03_en.pdf

ซึ่งหลังจากนั้น อินโดนีเซียมีการเปิดประมูลแข่งขันในโครงการช่วง Jakatar-Bandung ซึ่งสุดท้ายอย่างที่ทราบกันว่า จีนก็ได้โครงการไป ในปี 2015
ทำให้ญี่ปุ่นก็ฉุนอยู่เพราะเป็นคนศึกษาข้อมูลให้หมดแต่อินโดนีเซียมายกให้จีนไปทำง่ายๆแบบนี้
สุดท้าย ทางอินโดนีเซียได้มีการให้โครงการ ปรับปรุงรถไฟเดิม Jakarta-Surabaya ความเร็ว 140-160 กม/ชม ในเส้นทางริมชายทะเล (Costral Route) แทน เป็นการปลอบใจ ในปี 2017
—————————
รูปแบบการลงทุน
- กู้เงินลงทุนจากจีน (China Development Bank) 75% ของโครงการ
- ลงทุนจากบริษัทร่วมทุน จีน-อินโดนีเซีย (KCIC) แบ่งเป็น
จีน 40% เป็นกลุ่มผู้บับเหมาในโครงการ ได้แก่ CRIC, CREC, Sino Hydro, CRRC และ CRSC
อินโดนีเซีย 60% เป็นบริษัทผู้รับเหมาเช่นกัน
ซึ่งจะคล้ายกับรูปแบบของโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินของเรา
ผู้รับเหมาโครงการ
เป็นรูปแบบ EPC (Engineering-Procurement-Construction) เป็นผู้รับเหมาเจ้าเดียวทั้งโครงการ
ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน จีน-อินโดนีเซีย เช่นกัน โดยเป็น จีน 70% อินโดนีเซีย 30%
เว็บไซต์โครงการ
https://kcic.co.id
—————————
รายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง Jakartar-Bandung
โครงการมีระยะทาง 142 กิโลเมตร แบ่งเป็น
- ทางระดับดิน 42.7 กิโลเมตร
- ทางยกระดับ 82.7 กิโลเมตร
- อุโมงค์ 16.82 กิโลเมตร
มีสถานี 4 สถานีคือ
- สถานี Halim (ชานเมือง Jakarta) ห่างจากกลางเมือง 10 กิโลเมตร
- สถานี Karawang
- สถานี Walini
- สถานี Tagalluar (ชานเมือง Bandung) ห่างจากกลางเมือง 15 กิโลเมตร
ซึ่งในแต่ละสถานีจะมีการพัฒนา TOD รอบสถานีทุกสถานี ตามขนาดพื้นที่
มีศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ 1 จุดที่สถานี Tagalluar
—————————
ระบบรถไฟฟ้า ที่ใช้ในโครงการ
เป็นรถไฟความเร็วสูง Series FUXING HAO รุ่น CR400AF ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของ CR300 ที่เราจะมาใช้ในโครงการ กรุงเทพ-โคราช ของเรา
- ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- ความสูง 4.05 เมตร
- ความกว้าง 3.36 เมตร
- ความยาว 208 เมตร
- รับไฟฟ้า ผ่านระบบไฟฟ้าเหนือหัว (OCS) 25 kV 50 Hz
- วิ่งผมรางรถไฟ Standard Guage 1.435 เมตร
รองรับผู้โดยสารได้ 601 คน แบ่งเป็น 3 ชั้นคือ
- VIP 18 คน
- First Class 28 คน
- Second Class 555 คน
พร้อมด้วยพื้นที่ขายอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวก
รายละเอียด CR400AF
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/730949204010228/?d=n
ระบบอาณัติสัญญาณ CTCS-3 (ส่งสัญญาณผ่านระบบ ไร้สาย GSM-R) รองรับความเร็วสูงสุด 350 กม/ชม
—————————
ขบวนรถไฟตรวจเช็คราง/ระบบรถไฟความเร็วสูง (CIT) รุ่น CR400AF ขบวนแรกของโลก!!!
เนื่องจากว่า CR400 เป็นรถไฟ Series ล่าสุดของจีน จึงทำให้ รถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซีย ได้ขบวนตรวจทางซึ่ง พื้นฐานมาจาก CR400 ขบวนแรกของโลก
ขบวน CIT จะทำหน้าที่เช็คสภาพทางและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินรถไฟ สมบูรณ์ในขบวนเดียว ได้แก่
- ความสมบูรณ์ของราง
- สภาพทาง (ส่วนโยธา)
- ระบบจ่ายไฟฟ้า
- ระบบสื่อสาร
- ระบบอาณัติสัญญาณ
- Alignment ของราง
ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจไนการซ่อมบำรุงระบบรถไฟความเร็วสูงเลย
—————————
รายละเอียดงานโยธา
- ส่วนทางยกระดับ
เป็นรูปแบบคานทางวิ่งแบบช่วงยาว เต็มช่วง (Box Girder) ซึ่งจะใช้เวลาประกอบเสา 1 ช่วงเสาเพียงแค่ 8 ชั่วโมง
ซึ่งต่างจากแบบ Segment ที่เราใช้ในโครงการรถไฟฟ้า ซึ่ง 1 ช่วงเสา ใช้เวลาประกอบอย่างน้อย 1 สัปดาห์
แต่จำเป็นต้องมีการทำโรงหล่งคานทางวิ่งอยู่ติดกับพื้นที่ก่อสร้างเป็นช่วงๆ ตลอดเส้นทาง ซึ่งในโครงการของอินโดนีเซีย มีโรงหล่อ 3 แห่ง และมีจฺดกองเก็บ 16 แห่ง
คลิปโรงหล่อ
https://youtu.be/rQoQSKyRdgw
หลังจากนั้นจะขนส่งจากพื้นที่เก็บไปที่จุดใช้งาน และประกอบด้วยเครน Luncher ขนาดใหญ่พิเศษ
ตัวอย่าง Luancher
https://youtu.be/vKGYs71N72c
ซึ่งการก่อสร้างแบบนี้เท่าที่ได้ยินมาเราจะเห็นในโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากเป็นรูปแบบสัญญาเดียว ทั้งโครงการ
- คันทางวิ่งระดับดิน
จะคล้ายกับที่ทำในโครงการรถไฟความเร็วสูง สายอีสานบ้านเราครับ ซึ่งมีคันทางทั้งหมด 6 ชั้นคือ
1 ชันดินเดิม (Foundation)
2 ชั้น Embankment Layer Group C Soil (เป็นดินลูกรัง)
3 ชั้น Bottom Layer Group A&B Soil (เป็นหินคลุก)
4 ชั้น Sand Cushion & Geo Membrane (เป็นชั้นอัดทราย และ ปิดหน้าด้วยแผ่น Geo Membrane เพื่อป้องกัน น้ำใต้ดินซึมขึ้นมาทำลายชั้นด้านบนซึ่งเป็นชั้นสำคัญในการรองรับน้ำหนักของ โครงสร้างและตัวรถไฟความเร็วสูง ซึ่งชั้นนี้จะมีสาย Ground ของทางรถไฟ ที่จะติดตามเสาทุกเสา ป้องกันไฟลง Ground
5 ชั้น Top Layer ซึ่งเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด และทางหลวงไม่มีหินเกรดนี้ ต้องมีการพัฒนาร่วมกับทางจีน ขอสูตรมาลองผสม โดยเป็นการผสมของหินคลุก กับสารประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นชั้นหินละเอียด ตอนเทต้องใช้รถเทยางมะตอย มาเทเป็นชั้น
แต่ข้อดีคือ มันแน่นและแข็งแรงมาก บดอัดแค่ 2 รอบ ก็สามารถให้รถบรรทุก วิ่งไปมาได้ โดยไม่เกิดการทรุดตัวแล้วครับ ซึ่งตรงนี้มีประโยชน์กับกรมทางหลวงมากๆ เพราะได้เป็นการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับ กรมทางหลวงเองด้วย
ในชั้นนี้จะเป็นชั้นวาง กล่องรับ Cable และสายส่งไฟฟ้าด้วย
6 ชั้นหินรองราง ซึ่งจะอยู่ในสัญญารถไฟความเร็วสูงของจีน ที่จะมาพร้อม หมอนรองราง, ราง, เสา OCS และ ตัวรถไฟ พร้อมระบบควบคุม
รายละเอียดในโพสต์เดิม
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470/?d=n
- อุโมงค์
ภายในโครงการมีอุโมงค์ 2 รูปแบบคือ
1. Evacuation Methods หรือการระเบิดหิน และสร้างผนังตาม เหมือนกับการก่อสร้างอุโมงค์ในทางคู่ของเรา ซึ่งใช้ในพื้นที่ภูเขา
รายละเอียดจากโพสต์เดิม
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/964190120686134/?d=n
2. Tunnels Boring Machine (TBM) เหมือนกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในบ้านเรา ซึ่งใช้ในพื้นที่เมืองชั้นใน
ขนาด Diameter 13.19 เมตร
รายละเอียดจากโพสต์เดิม
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/953949881710158/?d=n
—————————
ความคืบหน้าล่าสุด เดือนตุลาคม 63
- คืบหน้า 60%
- คาดว่าจะเปิดให้บริการ ปลายปี 64!!!
—————————
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 30, 31, 32 ... 72, 73, 74  Next
Page 31 of 74

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©