Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180637
ทั้งหมด:13491872
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 117, 118, 119 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2021 2:15 pm    Post subject: Reply with quote

ราคา กทม.ถูกกว่าคมนาคม เขียว 1.23 น้ำเงิน 1.61-เผยโอนกลับ รฟม.ไม่ง่าย
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:33 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณี กรุงเทพมหานครออกประกาศอัตราค่าโดยสารถรถไฟฟ้าสายสีเขียว(บีทีเอสและส่วนต่อขยาย) ทั้งระบบใหม่ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 ซึ่งอัตราค่าโดยสารตามระยะทางสูงสุดที่ 104 บาทนั้น


แหล่งข่าวบริหาร กทม.ชี้แจงว่า 1.การกำหนดอัตราค่าโดยสารดังกล่าว ผู้ว่าฯ กทม.ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม.ปี 2528 ที่ให้อำนาจผู้ว่าฯ กทม.เป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งปฏิบัติตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ย.61 ที่กำหนดให้ กทม.ดำเนินการโดยใช้รายได้ของโครงการมาบริหารจัดการให้เพียงพอต่อการใช้หนี้ และต้องไม่เป็นภาระต่อประชาชนจนเกินไป 2.อัตราค่าโดยสาร 65 บาทที่ กทม.เสนอใช้หลังแก้ไขสัมปทาน ไม่ได้แพงกว่ารถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม โดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเดินทางไกลสุด 53 กม. อัตราสูงสุด 65 บาท เฉลี่ย กม. ละ 1.23 บาท ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. แต่เป็นเส้นทางวงกลม จึงเดินทางไกลสุดได้ 26 กม. อัตราสูงสุด 42 บาท เฉลี่ย กม.ละ 1.61 บาท และเมื่อต่อเชื่อมกับสายสีม่วง อัตราสูงสุด 70 บาท เฉลี่ย กม.ละ 1.43 บาท

ข่าวแนะนำ
หนุ่มมะกันไม่ได้กลับบ้าน ตายคาโรงแรมกระบี่ โควิดทำติดอยู่ไทยนานเกือบปี

“โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งส่วนหลักและส่วนต่อขยาย รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธากว่าหนึ่งแสนล้านบาท ขณะที่สายสีเขียวและส่วนต่อขยาย รัฐไม่ได้ให้การสนับสนุนใดๆ โครงการต้องใช้รายได้มาชำระต้นทุนการก่อสร้างเองทั้งหมด นอกจากนี้สายสีน้ำเงินมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมไม่มีการแบ่งรายได้ให้รัฐ ในขณะที่สายสีเขียวมีการแบ่งรายได้ให้กทม.จำนวนกว่าสองแสนล้านบาท ดังนั้นหากสีเขียวไม่ต้องรับภาระเช่นสายสีน้ำเงิน ก็จะกำหนดค่าโดยสารได้ต่ำกว่านี้” แหล่งข่าว กทม.ระบุ


ทางด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการที่ รฟม.โอนให้ กทม.และมีปัญหาค้างค่าจ้างเดินรถเอกชนนั้น หากรัฐบาลมีนโยบายให้ส่งคืน ทาง รฟม. เป็นหน่วยปฏิบัติก็ยินดีปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้เวลาดำเนินการ เพราะมีสัญญาสัมปทาน และสัญญาจ้างค้างอยู่ จะยกเลิกทันทีไม่ได้ซึ่งมีแนวทางแก้ไขปัญหาหลายวิธี เช่น การเจรจายกเลิกจ้างเดินรถโดยจ่ายค่าชดเชย หรือ รอให้หมดสัญญาก่อนค่อยเริ่มใหม่ ทั้งนี้ รฟม.จะดำเนินการได้เฉพาะส่วนต่อขยายเท่านั้น เพราะเส้นทางหลักเอกชนนำเข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท หากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขต้องเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของกองทุนฯ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2021 7:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
เปิดใช้ ก.พ.64 BTS สถานี ศึกษาวิทยา รับตึกหรูพรึบ
เผยแพร่: 8 มกราคม 2564 เวลา 12:53


มีข่าวว่าเปลี่ยนชื่อสถานี S4 จากศึกษาวิทยาเป็นเซนต์หลุยส์ ตามชื่อวัดเซนต์หลุยส์ ที่เป็นโบสถ์แคทอลิก เพราะ คนคุ้นเคยกะชื่อนี้มากกว่า ตามข่าวนี้:

ข่าวด่วน ! Breaking new ลาก่อน...ศึกษาวิทยา
กรุงเทพต้องมาก่อน KTMK
20 มกราคม 2564 เวลา 00:00 น.

Next Station is Saint Louis
https://www.facebook.com/krungthepMK/posts/746562482650066




มาดูสถานีเซนต์หลุยส์ S4 ดีกว่า

https://www.youtube.com/watch?v=coBv0pxpwOA
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2021 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

‘กมธ.คมนาคม’ มีมติเอกฉันท์ ค้านต่อสัมปทาน-ชะลอขึ้นค่ารถไฟ 104 บาท รฟฟ.สายสีเขียว
วันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 13.50 น.
เมื่อเวลา 13.13 น. วันที่ 21 มกราคม ที่รัฐสภา นาย โสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การคมนาคม แถลงผลการประชุมกมธ. กรณีการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า หลังจากที่กมธ. ได้เชิญส่วนข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมาชี้แจง 2 ครั้ง กมธ. ได้ข้อสรุป 5 ประเด็น คือ

1.กรอบเวลาในการต่ออายุสัมปทาน เหลือเวลาอีก 9 ปี จึงจะกลายเป็นของรัฐ ซึ่งมีแนวคิดให้กทม.ต่ออายุสัมปทานออกไปอีก โดยเรื่องนี้ยังมีเวลาเพียงพอที่จะหาความชัดเจนและชี้แจงให้กับสังคมได้รับทราบว่าโครงการนี้ยังเป็นโครงการที่มีกำไร แต่ยังไม่คืนทุน
2. ความโปร่งใสในการต่ออายุสัมปทาน มีการอาศัยอำนาจตามตรา 44 ยกเว้นตามกระบวนการพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ ซึ่งกมธ. เห็นว่าแม้จะใช้มาตรา 44 ยกเว้นได้แต่เงื่อนไขเวลายังเหลืออยู่ จึงไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอะไรจะใช้มาตรา 44 ในการยกเว้นตามพ.ร.บ. ร่วมทุนดังกล่าว
3. ระบบวินัยการเงินการคลัง กระบวนการต่อสัมปทานไม่ได้ยื่นผ่านตามกระบวนการวินัยการเงินการคลังของรัฐ ยิ่งเมื่อเป็นโครงการขนาดใหญ่ ยิ่งควรจะตรวจสอบได้
4. อัตราค่าโดยสาร ขณะนี้ความเห็นยังไม่ตรงกัน เพราะข้อมูลที่ได้จากการชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลคือไม่สามารถเอาข้อมูลมาแสดงต่อกมธ. ได้ว่า เหตุใดจึงไปจบที่ราคา 65 บาท และ 5. ความคุ้มทุนและประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนและรัฐจะได้รับ จากการที่เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ตอบไม่ได้ว่าถ้าเราไม่ต่ออายุสัมปทานเราจะเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์อย่างไร
“กมธ. จึงมิติเป็นเอกฉันท์ 2 มติ คือ
1.ไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุสัมปทานครั้งนี้ และ
2.กมธ. ขอให้กทม.มีการชะลอการขึ้นค่าโดยสาร 104 บาท ที่จะมีผลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 64 ออกไปก่อน” นาย โสภณ กล่าว

https://www.matichon.co.th/politics/news_2540148
https://www.thebangkokinsight.com/533946/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2021 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘กมธ.คมนาคม’ มีมติเอกฉันท์ ค้านต่อสัมปทาน-ชะลอขึ้นค่ารถไฟ 104 บาท รฟฟ.สายสีเขียว
วันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 13.50 น.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2540148
https://www.thebangkokinsight.com/533946/



ภูมิใจไทย-กทม.ฉะกันเดือด สัมปทานสายสีเขียว “อัศวิน” ท้าฟ้อง ป.ป.ช.
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 17:00 น.



“กรรมาธิการคมนาคม” ยันค้านสัมปทานสายสีเขียว เหตุเวลาเหลือ 9 ปี ไม่ทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ขาดวินัยการคลัง ราคาค่าโดยสาร 65 บาทไร้ที่มา

การโต้แย้งระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ กทม. ยังคงเดินหน้า ทุกประเด็น ทั้งการไม่เปรียบเทียบข้อมูลให้เห็น จ่อชง ครม.-คมนาคม-มหาดไทย ทราบ เล็งยื่น ป.ป.ช. ขอให้เลื่อนเก็บค่าตั๋วใหม่ 15-104 บาทไปก่อน คนเดือดร้อนเยอะ ผู้ว่ากทม. “อัศวิน” ลั่นเก็บค่าโดยสารแน่ 16 ก.พ.นี้ เว้น ครม.สั่งเบรก ซัด “คมนาคม” จุ้น ไล่ไปฟ้อง ป.ป.ช. ถ้าเห็นว่าผิดกฎหมาย

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 เวลา 13.13 น. ที่รัฐสภา นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุม กมธ. กรณีการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า กรรมาธิการมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) โดยมีข้อสังเกต 5 ประเด็น คือ

แจง 5 เหตุผลค้าน
1.กรอบเวลาในการต่ออายุสัมปทานยังเหลือเวลาอีก 9 ปี จึงจะกลายเป็นของรัฐ ซึ่งถือว่ายังมีเวลาอีกมากพอที่จะหาความชัดเจนและชี้แจงให้กับสังคมได้รับทราบว่าโครงการนี้ยังเป็นโครงการที่มีกำไร แต่ยังไม่คืนทุน

2.ความโปร่งใสในการต่ออายุสัมปทาน มีการอาศัยอำนาจตามตรา 44 ออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2562 เรื่อง การดําเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยกเว้นกระบวนการ พ.ร.บ. ร่วมทุน 2562 ซึ่งกรรมาธิการเห็นว่า แม้จะใช้มาตรา 44 ยกเว้นได้แต่เงื่อนไขเวลายังเหลืออยู่ จึงไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอะไรจะใช้มาตรา 44 ในการยกเว้นตาม พ.ร.บ. ร่วมทุน 2562

ชี้ช่องไม่ทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน
ดังนั้น กทม.สามารถนำเรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ตามคำสั่ง คสช.มอบอำนาจให้กำกับหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวได้ แม้จะยึดคำสั่ง ม.44 แต่ต้องคิดด้วยว่า การทำตามคำสั่งนี้ จะทำให้รัฐคุ้มกับประโยชน์ที่จะได้หรือไม่ ถ้ารัฐเสียประโยชน์ก็ไม่ควรทำ และการไม่ทำตามคำสั่งก็ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะ กทม.สามารถเลือกได้ว่า จะทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 แทนก็ได้

3.ระบบวินัยการเงินการคลัง กรรมาธิการเห็นว่า กระบวนการต่อสัมปทานไม่ได้ยึดตามผ่านตามกระบวนการวินัยการเงินการคลังของรัฐที่มี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 กำกับไว้ และยิ่งเมื่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นโครงการขนาดใหญ่ ยิ่งควรจะตรวจสอบได้

4.อัตราค่าโดยสาร ขณะนี้ความเห็นยังไม่ตรงกัน เพราะข้อมูลที่ได้จากการชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลคือไม่สามารถเอาข้อมูลมาแสดงต่อกรรมาธิการได้ว่า เหตุใดจึงไปจบที่ราคา 65 บาท และ 5.ความคุ้มทุนและประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนและรัฐจะได้รับ จากการที่เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ไม่สามารถชี้แจงได้ว่า ถ้าไม่ต่ออายุสัมปทาน รัฐจะเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์อย่างไร




ชงทุกหน่วยงาน เล็งยื่น ป.ป.ช.ด้วย
หลังจากนี้ คณะกรรมาธิการจะนำมติดังกล่าวนำเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) และอาจจะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ช่วยตรวจสอบในทางหนึ่งด้วย

ขอ กทม.ชะลอเก็บค่าโดยสารใหม่
นอกจากนี้ กรรมาธิการมีมติให้ กทม.ชะลอการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวในอัตราใหม่ 15-104 บาท ซึ่งมีกำหนดจะเก็บในวันที่ 16 ก.พ. 2564 นี้ออกไปก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน

“ผมบอกเขาแล้วว่า ตอนนั้นจะเก็บ 65 บาท ทำไมตอนนี้มาเก็บ 104 บาท เขาให้เหตุผลว่าเป็นการบูรณาการตลอดเส้นทาง การกำหนดค่าโดยสารเป็นเรื่องที่กำหนดในสัญญาสัมปทานอยู่แล้ว แต่กรรมาธิการไม่ได้ระบุว่าควรเก็บเท่าไหร่นะ แต่ให้ชะลอค่าโดยสารใหม่ไปก่อน” นายโสภณกล่าว

ซัด กทม.ไม่ให้ความสำคัญกับสภา
“กทม.ไม่ให้ความสำคัญกับงานสภาเลย ส่งแต่ ผอ.กองมาตอบคำถาม ไม่ได้ส่งระดับนโยบายมา ทำให้การตอบคำถาม ตอบได้ไม่ครบ ฉะนั้น มันต้องเอาผู้บริหารระดับนโยบายมาตอบ ถ้าได้ผู้บริหารมาตอบข้อมูลน่าจะดีกว่านี้” นายโสภณกล่าว


“อัศวิน” ไม่ถอย เว้น ครม.สั่งชะลอ
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู่ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังไม่มีแนวคิดจะชะลอการเก็บค่าโดยสาร 15-104 บาทออกไป ยืนยันว่า 16 ก.พ. 2564 นี้ เก็บแน่ แต่จะชะลอได้รัฐบาลต้องสั่งลงมา

“กระทรวงคมนาคมทำหนังสือให้ชะลอจริง ซึ่งเขามีเหตุผลของเขา ผมก็มีเหตุผลของผม ถ้าชะลอไปอีก ผมจะเอาเงินที่ไหนจ่ายเขา (BTSC) นี่คือเหตุผลของผม แต่ถ้า ครม.อนุมัติสัมปทานก็จบ” พล.ต.อ.อัศวินกล่าว

ส่วนการพิจารณาสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เมื่อไหร่ ไม่ทราบ รอครม.ตัดสินใจ

เดือด “คมนาคม” ไม่มีอำนาจสั่ง กทม.
ส่วนที่มีการติติงถึงค่าโดยสารที่มีราคาแพงและกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่บอกได้เลย สายอื่น เทียบ กม./กม.กับสายสีเขียวแล้วไม่ได้ถูกกว่ากันเลย สายสีน้ำเงินค่าโดยสารอยู่ที่ 1.60 บาท/กม. ส่วนสายสีเขียวอยู่ที่ 1.23 บาท/กม. แล้วสายทางพวกนั้น รัฐบาลอุ้มออกค่าก่อสร้างให้ ส่วนสายสีเขียว รัฐบาลไม่ออกค่าโดยสารให้แม้แต่สลึงเดียว ซึ่งกระทรวงคมนาคม คุณไม่มีอำนาจมาสั่ง กทม.นะ

ไล่ “คมนาคม” ไปฟ้อง ป.ป.ช.ถ้าเห็นว่าผิด
“เรื่องค่าโดยสารที่เขาเสนอเป็นเรื่องของเขา (กระทรวงคมนาคม) ไม่ใช่เรื่องของผม แล้วเรื่องสายสีเขียวเป็นเรื่องของผม ไม่ใช่เรื่องของเขา ของผมถูกกว่าเองอย่างนี้แล้วกัน ส่วนที่อ้างว่าสายสีน้ำเงินเชื่อมสายสีม่วงราคาสูงสุดไม่เกิน 54 บาท ถามว่าของเขาระยะทางกี่กิโลเมตร? และรัฐบาลออกเงินก่อสร้างให้เขา เขาเลยกำหนดค่าโดยสารที่ถูกกว่าได้ และขั้นตอนที่ผมทำตามคำสั่ง คสช.ถูกต้องแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องไปฟ้อง ป.ป.ช.เลย” พล.ต.อ.อัศวิน ทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2021 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

104บาทไม่แพง! ผู้ว่าฯกทม.ลุยเก็บค่าโดยสารสายสีเขียว
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 17.45 น.

เตรียมจ่าย! ‘อัศวิน’ ยันราคาบีทีเอส 104 บาทตลอดสาย เริ่ม 16 ก.พ.นี้
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 18:46 น.


"ผู้ว่าฯ อัศวิน" ระบุ 16 ก.พ.นี้ เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามประกาศ ลั่นหากชะลอจะเอาเงินที่ไหนจ่ายให้เอกชน ยกเว้นรัฐบาลสั่งให้ชะลอก็จะหยุดยังไม่เก็บ 

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ศาลาว่าการ กทม. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยกรณีที่ประชุมคณะกรรมาธิการคมนาคม ที่มีนายโสภณ ซารัมย์ เป็นประธาน มีมติให้ กทม.ชะลอการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียว 104 บาท วันที่ 16 ก.พ. 64 นี้ออกไปก่อนนั้น ว่า กทม.ยืนยันจะเก็บค่าโดยสารตามที่ประกาศวันที่ 16 ก.พ. 64 หากจะชะลอได้มีกรณีเดียวคือ รัฐบาลสั่งให้ชะลอ ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคม มีหนังสือให้ กทม.ชะลอการเก็บค่าโดยสารออกไปก่อนนั้น เขาก็มีเหตุผลของเขา แต่ กทม.ก็มีเหตุผลเหมือนกัน เพราะถ้าชะลอออกไปอีก จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายให้เอกชน ทั้งนี้ ถ้า ครม.อนุมัติตามที่ กทม.เสนอทุกอย่างก็จบ ส่วน ครม.จะพิจารณาเมื่อไหร่ตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตาม กทม.ยืนยัน วันที่ 16 ก.พ. นี้จะเก็บค่าโดยสารแน่นอน


ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ราคา 104 บาท ตลอดสาย ไม่ได้แพงเกินไป และรถไฟฟ้าสายอื่น ก็เก็บค่าโดยสารไม่ได้ถูกกว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวแต่อย่างใด สามารถเปรียบเทียบกันได้แบบ กม.ต่อ กม. โดยสายสีน้ำเงิน ค่าโดยสาร 1.62 บาทต่อ กม. ส่วนสายสีเขียว 1.23 บาทต่อ กม. นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายอื่น รัฐบาลออกค่าก่อสร้างให้ทั้งหมดแสนกว่าล้านบาท แต่รถไฟฟ้าสายสีเขียว รัฐบาลไม่ได้ออกค่าก่อสร้างให้แม้แต่สลึงเดียว กทม.ยืนยันค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่า และทำถูกต้องตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หากไม่ถูกต้องให้ยื่นฟ้องต่อ ป.ป.ช.ได้เลย.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2820941354794031


กทม.ยื้อค่าตั๋ว "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" 104บาท
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:00 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,646
วันที่ 21 - 23 มกราคม พ.ศ. 2564



กทม.-บีทีเอส ยืนยัน เก็บค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุด 104 บาทวันที่ 16 ก.พ.64 ตามประกาศเดิมหลังกระทรวงคมนาคม-กรมรางร่อนหนังสือค้าน


กรุงเทพมหานคร(กทม.)ประกาศอัตราจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทุกเส้นทางสูงสุด 104บาท นับตั้งแต่วันที่16กุมภาพันธ์ 2564เป็นต้นไป ท่ามกลางเสียงคัดค้าน รอบด้าน โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ตลอดจนประชาชนผู้ใช้บริการ ว่า ควรทบทวน และหาทางออกรวมกัน ทั้งนี้ นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดถึงปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามประกาศ ดังกล่าว เนื่องจาก ขร. พิจารณาแล้วเห็นว่า อาจส่งผล
กระทบต่อสาธารณชนจึงขอให้ กทม.พิจารณาอย่างรอบคอบและรัดกุมและขอให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย.61 ที่กำหนดให้กระทรวงคมนาคม และกทม. บูรณาการร่วมกันในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชน ทั้งนี้ขร.จะเสนอกระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่ ครม. มอบหมาย หารือร่วมกับกทม.ต่อไป เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ


ขณะแหล่งข่าวกทม.ยืนยันที่ผ่านมากทม.ได้ประกาศค่าโดยสารแจ้งต่อบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี ในฐานะเอกชนผู้รับจ้างเดินรถ ไปก่อนหน้านี้ ปัจจุบันยังคงยึดตามประกาศเดิม อีกทั้งอยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาสัมปทานสายสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาทเป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาท ของกทม. ประกอบด้วย ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดจากการรับโอนส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯ ทั้งนี้ส่วนเงินต้นค่างงานโยธา ประมาณ 55,000 ล้านบาท และภาระดอกเบี้ยในอนาคต ประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าลงทุนงานระบบใน E&M ในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯประมาณ 20,000 ล้านบาท ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่าย 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้เอกชนต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้กทม.อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา “กทม.ยืนยันว่าภายใต้อำนาจ กทม.พยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุด เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยกทม.จะอธิบายเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อสามารถปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลงเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด” สอดคล้องกับนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า กรณีที่กทม.ประกาศอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ 104 บาท นั้น ขณะนี้กทม.ยังไม่ได้นัดเจรจากับบีทีเอสเพิ่มเติมถึงเรื่องดังกล่าว ถึงแม้ว่าทางกระทรวงคมนาคและกรมการขนส่งทางรางจะออกมาคัดค้านก็ตาม
“ปัจจุบันเรายืนยันจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามประกาศของกรุงเทพ มหานคร กรุงเทพมหานครให้เราดำเนินการอย่างไร เราก็ปฏิบัติไปตามที่กรุงเทพมหานครแจ้งมาเท่านั้น” สำหรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวชั่วคราว 104 บาท แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย

1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท
2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 - 45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2021 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส" เปลี่ยนชื่อ" สถานีศึกษาวิทยา" เป็น"เซนต์หลุยส์"
ฐานเศรษฐกิจ 23 Jan 2021 14:52 น.

"บีทีเอส" เปลี่ยนชื่อ" สถานีศึกษาวิทยา" เป็น"เซนต์หลุยส์"
บีทีเอสเปลี่ยนชื่อสถานี ศึกษาวิทยา เป็น"เซนต์หลุยส์" ตามชื่อโรงพยาบาล-โรงเรียน ในพื้นที่ ปลุกย่านสาทรคึกคัก ดีเดย์ พร้อมเปิดสถานี ให้บริการประชาชน เดือนก.พ.นี้

บริษัทระบบขนส่งกรุงเทพจำกัด(มหาชน )หรือบีทีเอสซีผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว เตรียมความพร้อมเปิดให้บริการสถานีศึกษาวิทยา(S4)บนถนนสาทรใต้ ในเดือนหน้าหรือ เดือนกุมภาพันธ์ 2564ที่จะถึงนี้ เพื่อรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาตึกสูงอาคารสำนักงานสูงใหญ่ คอนโดมิเนียม ตลอดจนแหล่งช็อปปิ้งชั้นนำที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง ในย่านใจกลางธุรกิจแห่งนี้ และเพื่อให้เกิดความคุ้นชิน สร้างความจดจำสำหรับคนพื้นที่ บีทีเอสและ AIA ในฐานะผู้ร่วมลงทุน จึงเปลี่ยนจากสถานีศึกษาวิทยา(ชื่อซอยเดิม)เป็น เซนต์หลุยส์ ตามชื่อโรงพยาบาลและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่บริเวณสถานี

สำหรับสถานีศึกษาวิทยาหรือสถานีเซนต์หลุย์ตั้งอยู่บริเวณซอยสาทร11 กึ่งกลางระหว่างสถานี ช่องนนทรีและสถานีสุรศักดิ์ซึ่งปัจจุบันมีชุมชนขยายตึกสูงใหญ่แหล่งงาน ที่อยู่อาศัยแนวสูง เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจการเงินมีธนาคารชั้นนำตั้งอยู่

นายสุรพงษ์เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ที่ผ่านมา บีทีเอส ตอกตอม้อ สถานีดังกล่าวทิ้งไว้ เดิมเคยจะก่อสร้างแต่มองว่า การพัฒนาตึกขนาดใหญ่ยังมีไม่มาก แต่เมื่อความต้องการพื้นที่มากขึ้น จึงก่อสร้างตัวสถานีเพิ่มสำหรับการก่อสร้างได้ รับอนุมัติจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและร่วมกับ AIAลงทุน สร้างความเจริญให้กับถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ ที่ได้มีสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มอำนวยความสะดวกประชาชน โดยสถานี ศึกษาวิทยาหรือ สถานีเซนต์หลยส์ เดิมเป็นสถานีในอนาคตของรถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีลม ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างสถานีช่องนนทรีและสุรศักดิ์ โดยมีระยะห่างจากสถานีช่องนนทรีประมาณ 610 เมตร และห่างจากสถานีสุรศักดิ์ 570 เมตรจะอยู่ตรงข้ามกับอาคาร AIA สาทรทาวเวอร์และอาคารธนาคาร UOB (ตึกหุ่นยนต์) ทั้งนีหากเปิดให้บริการบีทีเอสประเมินก่อนเกิดสถานการณ์โควิดว่า เที่ยวการเดินทางเพิ่มขึ้นประมาณ 9,500 – 12,000 เที่ยว/วันในวันธรรมดา ซึ่งจะทำให้รายได้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 94ล้านบาท/ปี รายได้ค่าโดยสารหลังหักค่าใช้จ่ายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบาท/ปี

“ฐานเศรษฐกิจ “สำรวจอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมหรู ติดสถานีศึกษาวิทยา พบว่าขณะนี้มีโครงการ ไลฟ์ แอท สาทร 10 คอนโดมิเนียมของบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ บริษัท เอพี(ไทยแลนด์ ) จำกัด(มหาชน) ตั้งอยู่ ซอย ศึกษาวิทยา แขวง สีลม เขต บางรัก ขณะ อาคารสำนักงานใหญ่มีคนเข้าออกนับหมื่นคนในแต่ละวันได้แก่ เอไอเอสาทร (AIA Sathorn Tower),ตึกหุ่นยนต์ อาคารสำนักงานใหญ่ของยูโอบี สาทร ซึ่งมีการกล่าวขานกันว่า เป็นการยกระดับงานสถาปัตยกรรมไทยให้ได้รับความจดจำไปทั่วโลก
นอกจากนี้ยังมีอาคารสำคัญอย่าง ดั๊บเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ (Double A Book Tower) ซึ่งเคยเป็นอาคารที่จำหน่ายหนังสือเป็นหลักและเป็นที่ตั้งของสำนักงานของบริษัท Double A ตั้งอยู่ริมถนนสาทรเหนือ ปากซอยสาทร อาคารสำนักงานแอทสาทร เป็นต้น

เรียกว่าอาคารเหล่านี้ได้ประโยชน์จากการที่มีสถานีศึกษาวิทยามากที่สุด ส่วนอาคารสำนักงานที่ห่างออกไปเพียงเล็กน้อย แต่นับว่ายังอยู่ในย่านเดียวกัน คือ สาทร สแควร์ และ เอ็มไพร์ทาวเวอร์ เป็นกลุ่มอาคารสำนักงานในประเทศไทย ตั้งอยู่บนมุมถนนสาทรใต้ตัดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เชื่อมต่อกับสกายวอล์กช่องนนทรี แขวงยานนาวา เขตสาทร โดยอาคารที่ 1 ความสูง 227 เมตร มีความสูงเป็นอันดับที่ 15 ของอาคารในกทม. และใกล้ กับสถานีช่องนนทรีหากมีสถานีศึกษาวิทยาเติมเข้ามา บีทีเอสจะได้ผู้โดยสารจากอาคารเหล่านี้จำนวนมาก

ยังไม่รวม โรงเรียนในย่านนี้มีตั้งแต่อนุบาล ได้แก่ อนุบาลชวนชื่น ไปจนถึงแผนกประถม ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และโรงเรียนชายล้วน กรุงเทพคริสเตียน เป็นต้น เรียกได้ว่าครอบครัวที่อยู่อาศัยในทำเลนี้ ส่วนใหญ่ก็จะให้ลูกเข้าโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน โรงเรียนในทำเลนี้ก็ล้วนเป็นโรงเรียนชั้นนำแทบทั้งสิ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2021 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. งง BTS มาเกี่ยวการกำหนดค่าโดยสารได้ยังไง?
วันที่ 25 มกราคม 2564 - 10:50 น.

อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. งง BTS มาเกี่ยวการกำหนดค่าโดยสารได้ยังไง?
เมื่อวันที่ 24 มกราคม นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์ แสดงความเห็นปัญหาการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่กำลังมีการตั้งคำถามขณะนี้ โดย ระบุว่า

จำได้ว่า คสช. ให้ กทม. ไปว่าจ้าง BTS เดินรถไฟฟ้าจากแบริ่ง-ปากน้ำและคูคต-หมอชิตเพื่อไม่ต้องดำเนินการตามพรบ.ร่วมทุน…แล้วเหตุใด BTS ซึ่งได้รับค่าจ้างเดินรถตามสัญญาจ้างจากกทม. มาเกี่ยวกับการกำหนดค่าโดยสารได้อย่างไร ????

2.ถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาลจะต้องหันมาพิจารณาเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้าอย่างจริงจังและละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะประเด็นการเพิ่มของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจากการต่อเชื่อมกับสายอื่นๆและการขยายเส้นทางที่ทำให้การเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารเป็นไปอย่างก้าวกระโดดและรายได้เชิงพาณิชย์

3.ที่เพิ่มมากขึ้นจากการโฆษณาในตัวรถและภายนอกตัวรถ ที่ visual coverage ของโฆษณาเหล่านั้นครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นและที่ละเลยไม่ได้เลยคือการขอต่อเชื่อมของอาคารพาณิชย์และที่อยู่อาศัยตามเส้นทางกับสถานีรถไฟฟ้าเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาคิดเป็นรายได้อื่นๆที่นำมา


4.ลดค่าจ้างเดินรถได้อย่าลืมสัญญาจ้างเดินรถไม่ใช่สัญญาสัมปทานที่ BTS จะนำมาเป็นเหตุอ้างกำหนดค่าโดยสารและ/หรือต่อสัญญาสัมปทานเดิมที่ยังเหลืออายุสัมปทานอีกเกือบ 10 ปี… กทม.ในฐานะคู่สัญญาน่าจะรู้ดีว่า สัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถมันมีกม.ที่รองรับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง..

5.ไม่ว่าจะเป็นหลักการ เหตุผล ขั้นตอนการดำเนินการ คณะกรรมการ ความหลากหลายของประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความรอบคอบ โปร่งใสและที่สำคัญที่สุดเป็นธรรมกับทุกฝ่ายซึ่งรวมถึงประชา
ชนผู้เสียภาษีและเปิดเผยสัญญาทั้งหมดให้สังคมตรวจสอบได้…. อย่าหลงครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2021 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"บีทีเอส" เปลี่ยนชื่อ" สถานีศึกษาวิทยา" เป็น"เซนต์หลุยส์"
ฐานเศรษฐกิจ 23 Jan 2021 14:52 น.


นับถอยหลังการเปิดทดลองให้บริการสถานี "เซนต์หลุยส์ (S4)"
รถไฟฟ้าบีทีเอส
วันที่ 25 มกราคม 2564 - 16:23 น.

เตรียมพบกับการเดินทางที่รวดเร็ว สะดวกสบายในบริเวณสาทรใต้ ลดปัญหาจราจรติดขัด ไม่ก่อให้เกิด PM2.5 กับสถานี "เซนต์หลุยส์ (S4)"
🥳บีทีเอสขยายเส้นทางเชื่อมโยงความสุขมอบความสะดวกสบายให้กับทุกการเดินทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 3:09 pm    Post subject: Reply with quote

“วิษณุ” แจง “อัศวิน” ปมขึ้นค่าโดยสายรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 มกราคม 2564 - 18:00 น.



วิษณุ-รองนายกฯ แจง เหตุผลครม.ยังไม่เคาะต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ติด 3-4 ข้อกังขา ทั้งคมนาคม-คลัง-ป.ป.ช. ต้องเคลียร์ให้จบ รวมถึงประเด็นขึ้นราคาเป็น 104 บาท ตลอดสาย ปัดหวั่นตกเป็นเป้า “ซักฟอก” โอด ทุกรัฐบาลเป็นแพะ พลิ้ว รับบาปหรือไม่ ไม่รู้

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)มาพบเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมาว่า ยืนยันว่าไม่ได้หารือเรื่องการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่อยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

แต่พล.ต.อ.อัศวินมาอวยพรรองนายกรัฐมนตรีทุกคน แต่ตนก็ได้ถามขึ้นมาเองเรื่องการขึ้นค่าโดยสาร 104 บาทตลอดสายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งพล.ต.อ.อัศวินอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมต้องขึ้นราคา ซึ่งตนไม่ได้แนะนำอะไรไป แต่ก่อนหน้านี้เคยประชุมอัพเดตว่าไปถึงไหนแล้วและวันเดียวกันนั้นก็มีข่าวประกาศขึ้นราคา

นายวิษณุ กล่าวว่า เสียงเรียกร้องให้ชะลอการขึ้นราคา 104 บาท ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์เป็นต้นไปนั้น ตนไม่กล้าตอบ เป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทย กทม.และเอกชน (BTS) ต้องไปหารือกัน แต่เรื่องนี้จะยังไม่นำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมครม. และตนรู้ดีว่าเพราะอะไร เนื่องจากยังมี 3-4 ข้อที่ติดปัญหาอยู่ แต่ยังไม่ตอบและไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร แต่ไม่ควรพูด


เมื่อถามว่าเหตุผลที่ยังไม่นำเรื่องการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าครม.ในช่วงนี้ เพราะกลัวจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่ 3-4 ข้อเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องเคลียร์ให้ได้ก่อน แต่ไม่เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้า 3-4 ข้อนี้เคลียร์ได้เสร็จก่อนก็อาจนำเข้า ครม.ก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ได้

“3-4 ข้อนี้เป็นข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งของนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย 6 ข้อ ซึ่งมีบางข้อซ้ำกับกระทรวงคมนาคม และบางข้อเคลียร์ไปแล้ว ขอยืนยันอีกครั้งว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจเลย เพราะหากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วแต่ 3-4 ข้อนี้ยังไม่เคลียร์ก็ยังยากที่จะนำเข้าครม. แต่ถ้านำเข้าครม. ช้าก็ยุ่งเกี่ยวกับการขึ้นราคา 104 บาท และหากในช่วงนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น วันที่ 16 กุมภาพันธ์ก็ต้องขึ้นราคาตามนั้น”


เมื่อถามว่า หากนำเข้าครม. ไม่ทันและส่งผลให้ต้องขึ้นค่าโดยสาร 104 บาท รัฐบาลจะกลายเป็นแพะรับบาปหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า รัฐบาลทุกชุดของทุกประเทศแปลว่าแพะ แต่บาปหรือเปล่า ไม่รู้

ลากยาวสัมปทาน สีเขียว-สีส้ม เดิมพันแสนล้าน ภูมิใจไทย VS กทม.
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 มกราคม 2564 - 17:45 น.


ดูท่าจะลากยาวสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” กำลังรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคาะขยายสัญญาสัมปทานให้ “BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” อีก 30 ปี นับจากปี 2572-2602 พร้อมเขย่าโครงสร้างค่าโดยสารใหม่ เสียค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มต้น 15-65 บาท

คาด ครม.เคาะหลังอภิปราย
แนวโน้มดีลนี้คงไม่ปิดในเร็ววัน รอให้พ้นศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ “ครม.” ถึงหยิบเผือกร้อนมาพิจารณา หาก “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีผลีผลามจะกลายเป็นสายล่อเป้า

ระหว่างรอ ครม.ทุบโต๊ะ ผู้ว่าฯ กทม. “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ชิงประกาศอัตราค่าโดยสารใหม่จะเริ่มใช้วันที่ 16 ก.พ. 2564 หลังหมดเวลาให้นั่งฟรี 2 ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ หวังนำรายได้โปะหนี้ค่าจ้างบีทีเอสเดินรถ 9,200 ล้านบาท

ค่าโดยสารใหม่เป็นราคาชั่วคราว จะปรับขึ้นสถานีละ 3 บาท เริ่มต้น 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 104 บาท แยกเป็นส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ราคา 15-45 บาท

ช่วงสัมปทานสถานีหมอชิต-อ่อนนุช และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน และกรุงธนบุรี-วงเวียนใหญ่ เก็บปกติ 16-44 บาท เนื่องจากสัมปทานยังไม่สิ้นสุด ส่วนต่อขยายช่วงสถานีบางจาก-สถานีแบริ่ง-สมุทรปราการ ราคา 15-45 บาท และช่วงสถานีโพธิ์นิมิตร-บางหว้า 15-24 บาท

บีทีเอส
กทม.แจงเก็บค่าตั๋วใหม่
โดย กทม.แจงเก็บค่าโดยสารใหม่ส่วนต่อขยายเพราะไม่ได้เก็บ 3 ปี แต่เมื่อสายสีเขียวเปิดเต็มทั้งระบบแล้ว จำเป็นต้องเก็บ และราคาสูงสุด 104 บาท โดยปรับลดจากเดิม 158 บาท และมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564-2572 จะขาดทุนประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท

ขณะที่การต่อสัญญาสัมปทาน เห็นว่า PPP เหมาะสมให้เอกชนรับภาระหนี้ 120,000 ล้านบาท ทำให้ กทม.สามารถกำหนดค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนจนเกินสมควร หาก ครม.เห็นชอบจะเก็บค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท

สัมปทานใหม่ จะปลดภาระให้ กทม. หนี้สินค่างานโยธา 55,000 ล้านบาทดอกเบี้ย 10,000 ล้านบาท งานระบบ 20,000 ล้านบาท ค่าจ้างเดินรถ 9,000 ล้านบาท ผลขาดทุนส่วนต่อขยายปี 2564-2572 อีก 30,000-40,000 ล้านบาท และ กทม.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้หลังปี 2572 จนสิ้นสุดสัญญากว่า 200,000 ล้านบาท และส่วนแบ่งเพิ่มเติมอีก

คลอดตั๋วเที่ยวสีม่วง-สีน้ำเงิน
พลันที่ “กทม.” ออกประกาศ วันรุ่งขึ้น “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” สั่ง “คมนาคม” เรียกร้อง กทม.ชะลอการเก็บค่าโดยสารสายสีเขียว พุ่งเป้าขย่มราคาสูงสุดที่แพงเมื่อเทียบค่าแรง ซึ่งก็ตรงใจประชาชน จากนั้นอีกไม่กี่วันสั่ง “รฟม.” ผุดตั๋วเที่ยว หลังยกเลิกเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ออกมาข่มบีทีเอส โดยวาระนี้ถูกพิจารณาในบอร์ด รฟม.วันที่ 20 ม.ค.แบบไม่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองวาระเหมือนทุกครั้ง




ครั้งนี้ รฟม.ผนึก “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน หั่นสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) เริ่ม 1 ก.พ. 2564 มีตั้งแต่ 15-60 เที่ยว ราคา 450-1,200 บาท เฉลี่ย 20-30 บาทต่อเที่ยว สายสีน้ำเงิน มี 15-50 เที่ยว 30 วัน ราคา 450-1,250 บาท เฉลี่ย 25-30 บาทต่อเที่ยว และบัตร Multiline Pass เดินทางข้ามระบบสีน้ำเงินกับสีม่วง มี 15-50 เที่ยว 30 วัน ราคา 810-2,250 บาท เฉลี่ย 45-54 บาทต่อเที่ยว

โดย รฟม.รับภาระค่าแรกเข้าแทนประชาชน 14 บาท และไม่คิดค่าแรกเข้าเมื่อซื้อตั๋วเที่ยวนั่งข้ามระบบ พร้อมเคลมตั๋วเที่ยวของสีน้ำเงินถูกกว่าบีทีเอส 1 บาท และใช้เดินทางได้ตลอดสาย แต่ของบีทีเอสใช้ได้เฉพาะสัมปทานเดิมเท่านั้น

คมนาคม-กทม.ซัดกันนัว
นอกจาก “คมนาคม” จะงัด 4 ข้อบีบให้ กทม.แจง ครม.ให้ครบ 1.ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 2.เสียประโยชน์ในการใช้ทรัพย์สินจะต้องตกเป็นของรัฐในปี 2572 3.ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาทแพงกว่าสายสีน้ำเงิน และ 4.ข้อพิพาทสัญญาจ้างเดินรถหมดปี 2585 ถูกยื่นไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังแตะมือ “โสภณ ซารัมย์” ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการ บีบ กทม.แจงปมขยายสัมปทานและให้ชะลอเก็บค่าโดยสารใหม่จนกว่าจะได้ข้อยุติสัมปทาน


“การเสนอความเห็นดังกล่าวไม่ได้ขัดแย้งกับกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เป็นการเสนอประเด็นคำถามเพิ่มเติมที่อาจตกหล่นไปเท่านั้น เป็นการทำหน้าที่ปกติ” นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำ

ฝั่ง “บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” พ่อเมืองเสาชิงช้าก็ตอกกลับดุเดือด “ตอบคำถาม 4 ประเด็นต่อเลขาฯ ครม.แล้ว ไม่ใช่เป็นการตอบคำถามไปที่คมนาคม กทม.ไม่เคยยุ่งกับคมนาคม แล้วคมนาคมมายุ่งกับ กทม.ทำไม ถ้าเห็นว่าค่าโดยสารควรถูกกว่านี้ กทม.ก็คิดบ้างได้ไหมว่า การประมูลพื้นที่ดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิก็ควรจะได้ราคาที่ดีกว่านี้หรือไม่ บ้านคุณเก็บกวาดหรือยัง ถึงมาเก็บกวาดบ้านคนอื่น”

อัศวินไม่ถอยเก็บ 15-104 บาท
ล่าสุดปมค่าโดยสารแพง “ผู้ว่าฯอัศวิน” ออกมาโต้ “จำเป็นต้องเก็บวันที่ 16 ก.พ.นี้แน่นอน หากจะให้ชะลอ ครม.ต้องสั่ง เพราะถ้าไม่เก็บไม่รู้จะทำอย่างไร ยืนยันสิ่งที่ทำถูกต้องตามกฎหมาย หากเห็นว่าไม่มีความจริง ไปยื่น ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดได้เลย ส่วนสัมปทานสายสีเขียวจะผ่าน ครม.เมื่อไหร่ ยังไม่ทราบ รอ ครม.ตัดสินใจ”

จากปฏิบัติการออกโรงค้านของ “คมนาคม” หลายคนมองว่าอาจจะเป็นศึกคุกรุ่นจากปมประมูล PPP สายสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ระหว่างเจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด กรณี “รฟม.” เปลี่ยนเกณฑ์ชี้ขาดผลประมูลกลางคัน จนทำให้โครงการไม่สามารถเดินหน้าต่อ ต้องรอคำตัดสินจากศาลปกครอง

ในเมื่อเดิมพันสัมปทานสายสีเขียว-สีส้มนั้นสูง จึงยากที่จะลงเอยได้ง่าย แต่ไม่ว่าจะออกหัวหรือก้อย อย่าผลักภาระให้ประชาชน เพราะถึงค่าตั๋วรถไฟฟ้าจะถูกลง แต่ถ้านั่งหลายสายก็ต้องควักหลายต่อกว่าจะถึงจุดหมาย คงถึงเวลาที่ “คมนาคม” ต้องโชว์ทำคลอด “ระบบตั๋วร่วม” ให้เกิดซักที หลังแท้งแล้วแท้งอีกตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส"ใจดี! ต่ออายุ&คืนเที่ยวบัตรโดยสาร
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา17.46 น.


“บีทีเอส” ขยายเวลา-คืนเที่ยวบัตรโดยสารได้ถึง ก.ค. 2564
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 17:42 น.

“รถไฟฟ้าบีทีเอส” ดูแลผู้โดยสาร ขยายอายุเวลาและคืนเที่ยวบัตรโดยสารได้ถึง ก.ค. 2564 เข้มมาตรการโควิดต่อเนื่อง

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า ขณะนี้ บีทีเอส และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ได้ร่วมกันหารือ เพื่อช่วยบรรเทา และลดความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่

ซึ่งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 เรื่อง การเปิดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ จะเปิดการเรียนการสอนตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

โดยบริษัทฯ ได้ออกมาตรการดูแลผู้โดยสาร ด้วยการขยายเวลาและคืนเที่ยวเดินทางบัตรที่หมดอายุในช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2564 ผู้โดยสารสามารถทยอยนำบัตรโดยสาร มาติดต่อขอรับสิทธิ์ขยายเวลาและคืนเที่ยวเดินทาง ได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564

นายคีรีกล่าวว่า การจัดมาตรการดูแลผู้โดยสารในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งแรกได้ดูแลผู้โดยสารมาตั้งแต่ช่วงแรกของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2563 ที่ผ่านมา เพราะได้เล็งเห็นถึงความเดือดร้อน และเห็นใจประชาชนทุกท่านที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ออกมาตรการดูแลนี้ขึ้นมา

นอกจากนี้ ยังนำขบวนรถไฟฟ้าออกวิ่งให้บริการมากที่สุดทั้ง 98 ขบวน ด้วยความถี่สูงสุดเป็น 2 นาที 25 วินาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อช่วยส่งเสริมมาตรการ Social Distancing ถึงแม้ในขณะนี้การเดินทางของผู้โดยสารจะลดลง เราก็ทำเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นใจ และปลอดภัยในการเดินทาง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยึดมั่นในมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเข้มงวด เพื่อต้อนรับการกลับมาเปิดเรียนอีกครั้ง ดังนี้

1.เน้นย้ำให้ผู้โดยสารทุกท่านต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้ง ไม่นำหน้ากากลงมาไว้ใต้คางเด็ดขาด งดการพูดคุยในขบวนรถไฟฟ้า พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากัน


2.คัดกรองอุณหภูมิของผู้โดยสารก่อนเข้าใช้บริการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส อุณหภูมิต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส และคัดกรองสุขภาพของเจ้าหน้าที่ทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่

3.เพิ่มความถี่ในการฉีดพ่น และเช็ดทำความสะอาดภายในขบวนรถไฟฟ้า และจุดสัมผัสร่วม


4.จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ ทุกทางเข้า-ออกสถานี และจัดบริการแอลกอฮอล์เคลื่อนที่ บนชั้นชานชาลา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร

5.ขอความร่วมมือผู้โดยสารทุกท่านลงทะเบียน “ไทยชนะ” เมื่อเข้าและออกจากขบวนรถไฟฟ้าขบวนนั้น ๆ ด้วยการพิมพ์หมายเลขรถไฟฟ้า 4 หลัก ลงใน Application ‘BTS SkyTrain’ หรือ Line official : @btsskytrain

นายคีรีกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนของผู้โดยสาร มีความเห็นใจ และเข้าใจผู้โดยสารต้องการช่วยแบ่งเบา ลดภาระการเดินทางให้กับผู้โดยสารทุกท่าน จึงได้ขยายเวลาอายุบัตรและคืนเที่ยวโดยสารในช่วงเวลาดังกล่าวให้ท่าน ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ร่วมกันเผชิญสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าใจ และให้ความร่วมมือกับมาตรการต่าง ๆ ด้วยดีเสมอมา ถึงแม้ในขณะนี้ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ บริษัทฯ ตั้งมั่นที่จะสู้ไปด้วยกัน พร้อมเคียงข้างประชาชน”


Last edited by Wisarut on 28/01/2021 6:56 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 117, 118, 119 ... 155, 156, 157  Next
Page 118 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©