Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180403
ทั้งหมด:13491637
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 168, 169, 170 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2021 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์หมายเลข 7 : ผู้ว่าฯ รฟท. สั่งย้ายสารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี
[15 ม.ค. 2564]
...“ผู้ว่า รฟท. สั่งย้ายสารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี เพื่อสอบข้อเท็จจริงการปฏิบัติหน้าที่หลังถูกร้องเรียนมีพฤติกรรมคุกคามประชาชน”
*ข้อร้องเรียนของชาวจังหวัดกาญจนบุรี ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผ่านศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงคมนาคม วันที่ 28 ธันวาคม ปีที่แล้ว เพื่อขอความเป็นธรรม กรณีได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี กรณีจัดทำซุ้มร้านค้า 100 ซุ้ม อ้างนโยบายจัดระเบียบร้านค้าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย
*โดยพ่อค้าแม่ค้ายินดีให้ความร่วมมือต่อนโยบายนี้และร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อความสวยงามของสถานที่นี้ แต่วิธีดำเนินการนี้กลับมีการเก็บเงินค่าซุ้มๆ ละ 15,000 บาท โดยไม่มีหลักฐานใดๆ หรือใบเสร็จรับเงินมอบให้พ่อค้าแม่ค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงสั่งการให้การรถไฟตรวจสอบเรื่องนี้ โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตการรถไฟ ลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องนี้แล้วพบว่ามีมูล จึงเสนอผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหา นายสมคิด น้อยนรินทร์ สารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี มีพฤติกรรมขัดระเบียบและข้อบังคับการรถไฟ โดยให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นเป็นการชั่วคราวระหว่างที่รอผลการสอบสวน 90 วัน ขณะนี้นายสมคิด จึงยังไม่มีความผิด
*นายพีระเดช หนูขวัญ รองผู้ว่าการการรถไฟ ยังยืนยันต้องเดินหน้านโยบายจัดระเบียบร้านค้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว โดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ก่อนหน้านั้นวันที่ 9 และ 14 ธันวาคม ปีที่แล้ว คอลัมน์หมายเลข 7 อดีตผู้ว่า สตง. และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. เขต 7 พร้อมทีมงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องนี้ตามที่ได้รับร้องเรียน จึงขยายผลจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พบข้อพิรุธหลายอย่างตรงกับที่การรถไฟได้รับ ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยอมคืนเงินทั้งหมดให้พ่อค้าแม่ค้า 8 ราย ที่จ่ายค่าซุ้มร้านค้า
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3724734164240168
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. กุมขมับ ประมูลที่ดิน สถานีกลางบางซื่อ หมื่นล้าน แปลงเอ หงอย ไร้เงาเอกชนซื้อซอง
เศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:20 น.

รฟท. กุมขมับ ประมูลที่ดิน สถานีกลางบางซื่อ มูลค่าหมื่นล้าน หงอย ไร้เงาเอกชนซื้อซอง เล็งปรับแผนสร้างเป็นสำนักงานใหญ่การรถไฟแทน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบพีพีพี โครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชย์บริเวณ สถานีกลางบางซื่อ แปลง A จำนวน 32 ไร่ มูลค่า 11,500 ล้านบาท ว่า รฟท.ได้เปิดขายซองประมูลไปตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 2563 และจะสิ้นสุดระยะเวลาขายซองวันที่ 29 ม.ค. 2564
แต่ล่าสุดพบว่ายังไม่มีเอกชนรายใดเข้ามาซื้อซองประกวดราคาเลย แม้ว่าจะเหลือเวลาอีกเพียง 10 วันเท่านั้น ซึ่งการเปิดประมูล แปลง A ครั้งนี้ถือเป็นการประมูลเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เปิดประมูลครั้งแรกไป ช่วงเม.ย.2562และต้องยกเลิกไปเนื่องจากไม่มีเอกชนยื่นเสนอราคา แม้ว่าจะมีการซื้อซองไปจำนวน 3 ราย
รายงานข่าวแจ้งว่าสาเหตุที่เอกชนไม่สนใจซื้อซองประมูล อาจเป็นเพราะภาวะปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เอกชนชะลอการลงทุน รวมทั้งที่ดินผืนดังกล่าวยังตั้งอยู่ในพื้นที่ที่นำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ยาก เพราะมีทางพิเศษศรีรัชคร่อมผ่านด้านบน และยังมีทางเข้าออกไม่ค่อยสะดวก
“ หาก รฟท.ปิดขายซองประมูลในวันที่ 29 ม.ค. 64 แล้ว พบว่ายังไม่มีเอกชนมาซื้อซองประมูล รฟท. ก็คงต้องยกเลิกประมูล ซึ่งเป็นการยกเลิกครั้งที่ 2 แล้ว โดยหลังจากนี้ รฟท.จะไม่มีการเปิดประมูลให้เอกชนร่วมทุนในแปลง A อีก เบื้องต้น มีแนวคิดที่จะนำโมเดลอื่นมาใช้แทน เพื่อให้การใช้ประโยชน์ในที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะพิจารณาให้ใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างออฟฟิศสำนักงานใหญ่ของ รฟท. หรือให้หน่วยงานราชการเช่าพื้นที่ดินแทน ถือเป็นการเช่าที่ดินซึ่งจะไม่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนพีพีพี ”
รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้านี้ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท.เคยออกมาระบุว่า การเปิดประมูลที่ดินแปลง A ไม่ใช่เรื่องสำคัญเร่งด่วนของ รฟท. เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่กรุงเทพเกิดขึ้นจำนวนมาก อาจทำให้ความต้องการในการประมูลน้อย แต่สุดท้าย รฟท. ก็ได้ดำเนินการขายซองประมูลในที่สุดในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา
สำหรับที่ดินแปลง Aนั้น อยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อทางทิศใต้ มีระยะห่างประมาณ 140 เมตร มีขนาดที่ดิน 32 ไร่ ทิศเหนือติดถนนสายหลักของอาคารสถานีกลางบางซื่อ เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับแปลง A ทิศใต้ติดแนวคลองบางซื่อและถนนกำแพงเพชร ทิศตะวันออกติดแนวรั้วทางด่วนศรีรัช
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 8:29 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ลดค่าเช่า 50% ขยายสัญญาเช่าแผง 1 ปี ให้ผู้ค้าตลาดรวมจตุจักร
อสังหาริมทรัพย์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:17 น.

กทม.ออกมาตรการเยียวยาผู้ค้าในตลาดจตุจักร-ตลาดชุมชน ที่ได้รับผลกระทบโควิด ยกเว้นค่าเช่า ขยายสัญญาเช่า 1 ปี ผ่อนชำระได้ 5 เดือน

นางวัลยา วัฒนรัตน์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ได้มอบนโยบายให้สำนักงานตลาดกำหนดมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ค้าและผู้เช่าในตลาดของสำนักงานตลาด กทม. ที่ได้รับผลกระทบจากการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19)

คณะกรรมการบริหารสำนักงานตลาด กทม.ได้จัดประชุมในวาระเร่งด่วน มีนายธนูชัย หุ่นนิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานตลาด เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติให้ช่วยเหลือและเยียวยาผู้ค้าและผู้เช่าในตลาด

ประกอบด้วย มาตรการสำหรับตลาดนัดจตุจักรและตลาดนัดมีนบุรี มาตรการสำหรับตลาดธนบุรี และมาตรการสำหรับตลาดชุมชน 7 แห่ง ได้แก่ ตลาดประชานิเวศน์ 1 ตลาดบางกะปิ ตลาดหนองจอก ตลาดพระเครื่องวงเวียนเล็ก ตลาดรัชดาภิเษก ตลาดเทวราช และตลาดสิงหา



โดยมีรายละเอียด มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ค้าและผู้เช่าตลาดนัดจตุจักรและตลาดนัดมีนบุรี 1.ขยายอายุสัญญาเช่าแผงค้าภายในตลาดนัดจตุจักรและตลาดนัดมีนบุรีต่อไปอีก 1 ปี

2.ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าแผงค้าที่ถูกสั่งปิดกิจการตามประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 15) และ (ฉบับที่ 16) จนกว่าจะยกเลิกประกาศปิด หากมีการเปิดสถานที่ก่อนวันที่ 31 ส.ค. 2564 ให้ชำระค่าเช่าในอัตรา 50% (ตามข้อ 3)

3.กรณีผู้เช่าที่ไม่ได้ถูกสั่งปิดกิจการตามประกาศฯ และสัญญาเช่าอื่น ๆ ให้ปรับลดค่าเช่าจำนวน 50% เป็นระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 ส.ค. 2564

4.ให้ผู้ค้าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าอื่น ๆ ที่มีหนี้ค้างชำระถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2563 ให้เริ่มผ่อนชำระหนี้ค้างเป็นระยะเวลา 5 เดือน ๆ ละ 20% ของหนี้ค้างทั้งหมด โดยเริ่มชำระตั้งแต่เดือน ก.ย.2564 – ม.ค. 2565 และงดเว้นค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี)

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ค้าและผู้เช่าตลาดธนบุรี 1.ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าและค่าบริการส่วนกลางจากผู้เช่าแผงค้าที่ถูกสั่งปิดกิจการ ตามประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 15) และฉบับที่ (16) จนกว่าจะยกเลิกคำสั่งปิด หากมีการเปิดสถานที่ก่อนวันที่ 31 ส.ค. 2564 ให้ชำระค่าเช่าในอัตรา 50% (ตามข้อ 2)


2.กรณีผู้เช่าที่ไม่ได้ถูกสั่งปิดตามประกาศฯ และสัญญาเช่าอื่น ๆ ให้ปรับลดค่าเช่าจำนวน 50% เป็นระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 ส.ค. 2564

3.ให้ผู้ค้าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าอื่น ๆ ที่มีหนี้ค้างชำระตั้งแต่เดือน มี.ค. – 31 ธ.ค. 2563 ให้เริ่มผ่อนชำระหนี้ค้างเป็นระยะเวลา 5 เดือน ๆ ละ 20% ของหนี้ค้างทั้งหมด เริ่มชำระตั้งแต่เดือน ก.ย.2564 – ม.ค. 2565 โดยงดเว้นค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี)

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ค้าและผู้เช่าตลาดชุมชน 1.กรณีสัญญาเช่าแผงค้าและสัญญาเช่าอื่น ๆ ที่หมดอายุสัญญาภายในปี 2564 ให้ขยายการชำระเงินค่าต่ออายุสัญญา ต่อไปอีก 6 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดสัญญา เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการต่ออายุสัญญาเช่า

2.ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าหรือค่าบริการรายวัน และค่าบริการส่วนกลาง (ถ้ามี) จากผู้เช่าแผงค้าที่ถูกสั่งปิดกิจการ ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 15) และ(ฉบับที่ 16) จนกว่าจะยกเลิกคำสั่งปิด หากมีการเปิดสถานที่ก่อนวันที่ 31 ส.ค. 2564 ให้ชำระค่าเช่าหรือค่าบริการรายวันในอัตรา 50% (ตามข้อ 3)


3. กรณีผู้เช่าที่ไม่ได้ถูกสั่งปิดตามประกาศฯ และสัญญาเช่าอื่นๆ ให้ปรับลดค่าเช่าจำนวน 50% เป็นระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 ส.ค. 2564 กรณีตลาดชุมชนที่จัดเก็บค่าบริการเป็นรายวันให้ปรับลดค่าบริการรายวัน จำนวน 50% ตั้งแต่วันประกาศจนถึงวันที่ 31 ส.ค. 2564

4.ให้ผู้ค้าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าอื่น ๆ ที่มีหนี้ค้างชำระตั้งแต่เดือน มี.ค. – 31 ธ.ค. 2563 ให้เริ่มผ่อนชำระหนี้ค้างเป็นระยะเวลา 5 เดือน ๆ ละ 20% ของหนี้ค้างทั้งหมด โดยเริ่มชำระตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 – ม.ค. 2565 และงดเว้นค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี)

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่สาธารณะหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่ประชาชนมักมาจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคเป็นประจำ

สำนักงานตลาดได้เข้มงวดการปฏิบัติมาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตามประกาศของกรุงเทพมหานครอย่างเคร่งครัด

ประกอบด้วย ให้ผู้ค้าและผู้มาซื้อสินค้าต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเสมอ การจัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล การเว้นระยะห่างระหว่างแผง การควบคุมการเข้าสถานที่ไม่ให้แออัด การควบคุมทางเข้าออก รวมทั้งจัดให้มีมาตรการคัดกรองอาการป่วยไข้ งดการให้บริการเครื่องเล่นสำหรับเด็ก และการทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อย ๆ และการกำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2021 9:11 am    Post subject: Reply with quote

เปิดขุมทรัพย์รฟท.186 ไร่ 3.7 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

รื้อสัญญาค่าเช่าริมถนนรัชดาฯใหม่

สัญญาใหม่30ปีปรับค่าเช่า

สแกนขุมทรัพย์ที่ดินรัชดาฯของ รฟท. รื้อใหญ่ปรับค่าเช่า 186 ไร่ 124 แปลง 124 สัญญา มูลค่า 3.7หมื่นล้าน ลากยาวจาก SCB สำนักงานใหญ่ วิภาวดี-รัชวิภา ไปจดศูนย์การค้า เดอะสตรีท ลุยต่อสัญญาโพไซดอน ยาวปี 2597 จ้างที่ปรึกษาประเมินค่าเช่ารูปแบบเดียวกับแปลงเซ็นทรัลลาดพร้าว

ที่ดินแปลงยาวตลอดแนวถนนรัชดาภิเษกกลายเป็นขุมทอง สร้างมูลค่ามหาศาลให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เพราะ นอกจาก มีเส้นทางรถไฟฟ้าพาดผ่าน นักลงทุน ปักหมุดสร้างโครงการกันมากแล้ว ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ยังกำหนดให้ ย่านดังกล่าวเป็น ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ต่อขยายมาจากกรุงเทพชั้นในอย่างสุขุมวิทสีลม สาทร ส่งผลให้ การติดต่อขอเช่าพื้นที่และการต่อสัญญาในระยะยาว กับรฟท.ยังคงมีอยู่อย่างเหนียวแน่น เนื่องจาก เดินทางสะดวก อัตราค่าเช่า ไม่สูง เมื่อเทียบกับกำไรต่อปีจากการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน สถานบริการ โรงแรม ศูนย์การค้า ที่จอดรถ อาคารพาณิชย์ ตลาดนัด และแม้แต่ทางเข้า-ออกเชื่อมต่อพื้นที่อาคารบริเวณด้านใน ซึ่งรฟท.ยอมรับว่า ที่ดินเป็นมรดกตกทอด โดยไม่มีต้นทุนมาจากอดีต แต่ปัจจุบันกลับสร้างมูลค่าจากความเจริญ โดยเทียบจากราคาประเมินของกรมธนารักษ์ และราคาซื้อขายตลาดของภาคเอกชน ในย่านเดียว ที่ขยับสูงสวนทางเศรษฐกิจจากการมาของโควิดสูงสุดราคาตารางวาละ 1-1.4 ล้านบาท บริเวณสถานี MRTศูนย์วัฒนธรรม โดยเฉพาะเซ็นทรัลพระราม9 และจะขยับต่อเนื่อง เมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม เปิดให้บริการ

รื้อ 124 สัญญา

แหล่งข่าวจากรฟท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ปัจจุบันรฟท.มีสัญญาเช่าที่ดินย่านรัชดาภิเษก ทั้งหมด 124 แปลง (124สัญญา) 186 ไร่ โดยสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเริ่มตั้งแต่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ตลอดจนถึงศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดาภิเษก ใกล้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้รฟท.มีรายได้จากค่าเช่าที่ดินบริเวณย่านถนนรัชดาภิเษก กว่า 200 ล้านบาทต่อปี และมีแผนปรับรายได้เพิ่ม

อย่างไรก็ตามขณะนี้ที่ดินหลายแปลงเริ่มทะยอยหมดสัญญาซึ่งแบ่งเป็น2กลุ่มได้แก่กลุ่มสัญญาเช่า ระยะสั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ และระยะยาว 30 ปี ซึ่งสัญญาที่จะต่อใหม่ให้กับเจ้าของกิจการ จะว่าจ้างทีมที่ปรึกษา และนำเสนอต่อคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.)พิจารณาเห็นชอบเป็นรายๆไป มองว่า โดยจะใช้ราคาตลาดเป็นเกณฑ์เช่นทำเล ห้วยขวาง , ดินแดง เฉลี่ย ราคาตารางวาละ 3แสนบาทสูงกว่าราคาประเมินราว 5หมื่น-1แสนบาทต่อตารางวาเช่นเดียวกับ บางกอกไนท์บาซาหัวมุมถนนรัชดาฯตัดลาดพร้าว ราคาค่อนข้างสูง 5แสนบาทต่อตารางวา ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง เช่นเดียวกับแปลง ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์หรือ SCB จุดตัดถนนวิภาวดีรังสิตรัชโยธินที่ราคาที่ดิน ไม่เกิน 5-6 แสนบาทต่อตารางวา

ที่โพไซดอนพุ่ง

ขณะอาคารโพไซดอน เขตดินแดงเจ้าของกิจการจะปรับธุรกิจ จากสถานบริการอาบอบนวดเป็นโรงแรม 3 ดาว และ ขอต่อสัญญา ที่จะหมดอายุลง ปี 2567ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถ ทำได้ และต้องปรับค่าเช่าขึ้นรวมมูลค่าและผลตอบแทนในอนาคตที่รฟท.จะได้รับให้

เหมือนกับที่ดินแปลงสามเหลี่ยม เซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ต่อสัญญาใหม่จาก 3,000ล้านบาทต่อปีเป็นกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปีเป็นต้น

เบื้องต้นรฟท.อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินมูลค่าทรัพย์ สินสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว ราว 753 ล้านบาท แบ่งเป็นที่ดิน 611 ล้านบาท และอาคาร 41 ล้านบาท โดยจัดจ้างที่ปรึกษาความเหมาะสมและค่าตอบแทนที่รฟท.จะได้รับตลอดอายุสัญญา เพื่อพิจารณาในการต่อสัญญา เนื่องจากจะหมดอายุสัญญาภายในปี 2567 คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าวภาย ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อที่ประชุม (บอร์ด) รฟท.พิจารณาเพื่อเห็นชอบภายใน 2-3 เดือน

โดยสัญญาเช่าที่ดินแปลงโพไซดอน มีเพียงสัญญาเดียว ซึ่งเป็นสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีอาคาร จำนวน 11 ชั้น เป็นสถานที่อาบอบนวด อาคารพาณิชย์ 7 ชั้น 3 คูหา และอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 32 คูหา

ตอบแทน 200ล้าน

สำหรับสัญญาเช่าที่ดินของรฟท.ย่านถนนรัชดาฯ แปลงโพไซดอน สัญญาเริ่มตั้งแต่ปี 2537-2567 ระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมาบริษัทชำระค่าเช่าอยู่ที่ กว่า4แสนบาท ในการลงทุนครั้งแรกเป็นที่ดินเปล่า ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องลงทุนก่อสร้างอาคาร

ขณะเดียวกันในระเบียบของรฟท.หากมีการต่อสัญญาในพื้นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกจำเป็นต้องจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ ซึ่งจะทำให้ที่ดินดังกล่าวมีราคาแพงขึ้น เบื้องต้นจากผลการศึกษาหากต่ออายุสัญญาออกไปอีก 30 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2567-2597 ระยะเวลา 30 ปี ทางบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนให้รฟท.ราว 200 กว่าล้านบาท โดยในปีแรกบริษัทต้องชำระค่าเช่าให้รฟท.ราว 40 ล้านบาทต่อปี หลังจากนั้นจะมีการปรับอัตราค่าเช่าที่ดิน 10% ทุกๆ 3 ปี ซึ่งรฟท.มีหลายแนวทางศึกษารูปแบบการต่ออายุสัญญา หลายปนวทาง เช่น แบบ 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี

ต่อ"ทวนทาวเวอร์"

ทั้งนี้รฟท.จะให้สิทธิผู้เช่ารายเดิมในการต่ออายุสัญญาก่อน หากผู้เช่ารายเดิมไม่สนใจที่จะต่อสัญญา รฟท.จะดำเนินการเปิดประมูลโครงการในพื้นที่เช่านั้นๆ นอกจากนี้มีโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง เขตปทุมวัน ของ บจ.โกลเด้น แอสเซ็ท ที่จะหมดสัญญา 20 ปี ภายในปี 2565-2566 ก่อนสัญญาเช่ารัชดาภิเษก แปลงโพไซดอน

แหล่งข่าวจากสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า อาคารโพไซดอน หากจะเปลี่ยนใบอนุญาตเป็นโรงแรม 3ดาวไม่จำเป้นต้องทุบทั้งอาคาร อย่างไรก็ตาม ที่ดินของรฟท.ในเขตดินแดงจะคลอบคลุม ที่ดินเอสพานาดบางส่วน บิ๊กซี เดอะสตีท เต็มพื้นที่ 16 ไร่

บิ๊กทุนจองเต็มพื้นที่

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์จำกัด บริษัทประเมินทุนทรัพย์ที่ดินระบุว่าที่ดินของรฟท.ย่านรัชดาฯเป็นทำเลทองที่เอกชนให้ความสนใจและเต็มทั้ง124แปลงส่วนใหญ่จะต่อสัญญาระยะยาว เพราะเป็นกิจการใหญ่อย่างสำนักงานใหญ่ไทยพาณิชย์ จุดตัดถนนวิภาวดีราคาที่ดิน ประมาณ 5แสนบาทต่อตารางวา เช่นเดียวกับบางกอกไนท์บาซา รัชดาฯตัดลาดพร้าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2021 9:14 am    Post subject: Reply with quote

'รฟท.'เร่งประมูลที่ดินบางซื่อ พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์570ไร่
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

คาดเปิด "พีพีพี" ภายในปีนี้

กรุงเทพธุรกิจ "ศักดิ์สยาม" สั่ง ร.ฟ.ท. ปั๊มรายได้ ลุยประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ 5 แปลงกว่า 570 ไร่ ภายในปีนี้ พร้อมเร่งดึงร้านค้า-โอท็อป รับเปิดสายสีแดง พ.ย.64 ระบุต้องมีรายได้ มากกว่าปีละ 400 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังติดตามความพร้อมโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อนเปิดให้บริการเดือน พ.ย.2564 โดยระบุว่า ขณะนี้ได้ มอบนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดหารายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบดังกล่าวมี ค่อนข้างมาก มีศักยภาพและสามารถสร้างรายได้ให้ ร.ฟ.ท.ได้

เบื้องต้นทราบว่าพื้นที่พร้อมพัฒนาในขณะนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.แปลงที่มีความพร้อมของพื้นที่ ประกอบด้วย แปลง A แปลง B แปลง D แปลง E และแปลง G และ
2.แปลงที่ยังติดปัญหาต้องรื้อย้าย ประกอบด้วยแปลง C แปลง F แปลง H และแปลง I

อย่างไรก็ดี ขอให้ ร.ฟ.ท.เร่งนำพื้นที่ที่มีความพร้อมแล้วจัดเตรียมข้อมูลและเปิดประกาศเชิญชวนให้เอกชน ร่วมลงทุน (พีพีพี) ภายในปีนี้ ส่วนพื้นที่ อื่นที่ยังติดปัญหา อาทิต้องรื้อย้ายโรงซ่อม พวงรางรถไฟ ตลอดจนพื้นที่ที่ยังมีหน่วยงานอื่นใช้อยู่ อย่างบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ขอให้ประสานและหารือการจัดสรรพื้นที่ร่วมกัน ทำแผนให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ และเร่งรัดเปิดประมูลเพื่อพัฒนาที่ดินทั้งหมด ให้พร้อมเปิดให้บริการในระยะเวลา ใกล้กัน เพราะไม่ต้องการให้ ร.ฟ.ท. จัดทำแผนที่ต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 10 ปีแล้ว เนื่องจากขณะนี้สถานีกลางบางซื่อกำลังจะเปิดให้บริการ และสถานีนี้ ยังมีระบบขนส่งทางรางใช้บริการถึง 4 ระบบ

"วันนี้ 5 แปลงที่มีความพร้อมแล้วต้องเร่งนำมาเปิดประมูลให้ได้ภายใน ปีนี้ จะทำอย่างไรก็ขอให้การรถไฟฯ ไปดำเนินการจัดทำแผน แต่มีโจทย์ เพียงว่าต้องสร้างรายได้มากพอกับ ค่าใช้จ่าย และขอให้ทำแผนแต่ละพื้นที่พัฒนาด้วย จะต้องมีทั้งที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย และการอุปโภคบริโภค ส่วนแปลงที่เหลือให้เร่งแก้ไขและกำหนดเปิดไล่เลี่ยกัน"

นายศักดิ์สยามยังกล่าวด้วยว่า เนื่องจากรถไฟชานเมืองสายสีแดงกำลังจะเปิดทดสอบระบบ รวมการเดินรถเสมือนจริงในเดือน มี.ค.2564 เปิดให้บริการประชาชนทดลองใช้ในเดือน ก.ค.2564 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย.2564 ดังนั้นพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อต้อง เตรียมพร้อมในการรองรับผู้โดยสารใช้บริการ

โดยเฉพาะพื้นที่เชิงพาณิชย์ร้านค้า ต่างๆ ซึ่งทราบว่าปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีแผน จัดสรรพื้นที่ดังกล่าวแล้ว และจะ สามารถสร้างรายได้ปีละ 267 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอ หากเทียบกับค่าใช้จ่ายช่วงการบริหารระยะ 4 ปีที่ประเมินว่า ต้องมีต้นทุนรวม 1,400 ล้านบาท จึงให้ ร.ฟ.ท.กลับไปทบทวนแผนภายใน 7 วันโดยมีโจทย์ต้องหารายได้ปีละ ไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท

ทั้งนี้ จากการรับฟังแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีกลางบางซื่อมีการจัดสรรพื้นที่เชิงพาณิชย์น้อยเกินไป อาทิ มีการสร้างตู้จำหน่ายบัตรโดยสารขนาดใหญ่ ซึ่งตนมองว่าสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นตู้จำหน่ายบัตรโดยสารแบบอัตโนมัติได้

ดังนั้นจึงมอบให้ ร.ฟ.ท.กลับไปจัดทำแผนจัดสรรพื้นที่อีกครั้ง โดยขอให้เตรียมพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ มากขึ้น นอกจากนี้ให้หารือร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อนำหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หรือ OTOP ที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่ามา จัดจำหน่าย โดยอาจจะเจรจาให้พื้นที่และแบ่งรายได้ให้ ร.ฟ.ท.ตาม ตกลง

"ตามแผนเราจะเปิดพีพีพีหาเอกชนเข้ามาบริหารสถานีกลางบางซื่อและรถไฟสายสีแดงอยู่แล้ว แต่ในระหว่างนี้ ที่การรถไฟฯ ต้องบริหาร มีค่าใช้จ่ายอยู่รวม 4 ปี กว่า 1,400 ล้านบาท ดังนั้นก็ต้อง หารายได้ให้เพียงพอ หรือมากกว่า ซึ่งพื้นที่เชิงพาณิชย์จะทำแบบไหนก็ให้ไปศึกษามารูปแบบจะจ้างเอาท์ซอร์ส ก็ได้ ขอให้ศึกษาทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดขุมทรัพย์รฟท.186 ไร่ 3.7 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:00 น.


ปฏิบัติการรื้อขุมทรัพย์ที่ดินรถไฟ

หน้า THAN Digital

27 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:00 น.


เป็นอย่างไรติดตามได้จากคลิป.รายการ THAN TALK : ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00-11.50 น.
https://www.youtube.com/watch?v=Ov7d5l2B-Fs


นำร่องรื้อสัญญาเช่าที่ย่านถนนรัชดา 124 แปลง
หน้า THAN Digital /
27 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:00 น.


เป็นอย่างไรติดตามได้จากคลิป.รายการ THAN TALK : ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00-11.50 น.


https://www.youtube.com/watch?v=KhV-5N3pKEg


จับตาต่อสัญญา "โสภณพนิช-จิราธิวัฒน์-ภิรมย์ภักดี"
หน้า THAN Digital /
27 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:00 น.


เป็นอย่างไรติดตามได้จากคลิป.รายการ THAN TALK : ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00-11.50 น.
https://www.youtube.com/watch?v=23ypv0gB1Ag
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2021 3:00 am    Post subject: Reply with quote

ไขข้อข้องใจ ที่มาของ ที่ดินรถไฟ ย่านรัชดาฯ
หน้าอสังหาริมทรัพย์ /

30 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:09 น.

ไขข้อข้องใจ ที่มาของที่ดินรถไฟ ย่านรัชดาฯ 186ไร่124แปลง124สัญญา ปล่อยเช่าสร้างตึกสูงใหญ่ โรงแรม -สถานบริการอาบอบนวด โพไซดอน ก่อนต่อสัญญาเปลี่ยนรูปแบบเป็นโรงแรม3ดาว


ADVERTISEMENT

หลายคนอาจสงสัย เหตุใดการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จึงเป็นจ้าวแลนด์ลอร์ด มีที่ดิน186ไร่124แปลง ติดถนนรัชดาภิเษกทั้งๆที่ ไม่ใช่เขตทางรถไฟ “ฐานเศรษฐกิจ”สอบถาม นาย วราวุธ มาลา อดีตรองผู้ว่าการ รฟท. ไขปมข้อสงสัย ถึงที่มาที่ไปของแปลงที่ดิน ทำเลทองผืนนี้ว่า ก่อนปี2521 หรือก่อนที่พระราชบัญญัติ(พรบ.)เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ประกาศใช้ รฟท. ต้องการสร้างทางรถไฟสายใหม่เส้นทางลัดผ่านเขตเมือง ไปภาคตะวันออก ของประเทศ จากสถานีบางซื่อ เชื่อมไปสถานีคลองตัน ระหว่างทางได้เวนคืน ที่ดินตั้งแต่ วิภาวดี-รังสิต ผ่านห้วยขวาง ดินแดง เข้าศูนย์วัฒนธรรม ออกบริเวณด้านข้างกรมการผังเมือง(กรมโยธาธิการและผังเมือง) ทะลุถนนพระราม9 อาร์ซีเอ (ปัจุบัน)ก่อนไปบรรจบที่สถานีคลองตันแต่ ยังไม่ทันได้ลงมือก่อสร้าง รัฐบาลในสมัยนั้นให้ความสำคัญกับการขนส่งทางบกมากกว่าระบบราง จึงเปลี่ยน จากการก่อสร้างทางรถไฟ เป็น การก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกแทน( ถนนวงแหวนรอบใน) ตอนพระราม9-ลาดพร้าว-วิภาวดีฯ ใช้สัญจรมาจนถึงปัจจุบัน ปลุกความเจริญนับจากนั้นเป็นต้นมา




ด้วยเหตุนี้ จึงเหลือเขตทางรถไฟเวนคืนตลอดแนวฝั่งตะวันตกของถนนรัชดาฯ วัดจากถนนเข้าหาแผ่นดิน40เมตร กลายเป็นทำเลทอง ติดถนนสายหลักแนวรถไฟฟ้ามีผู้เช้าเหนียวแน่น ตั้งแต่จุดตัดของถนนวิภาวดีฯ ผ่านสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) รัชโยธิน ข้ามถนนพหลโยธินบริเวณสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน (สน.พหลโยธิน) ผ่านกลุ่มศาลอาญา บริเวณนี้มีชุมชนหนาแน่น มหาวิทยาลัยคอนโดมิเนียม ( อนาคตมีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายพาดผ่านเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่านเส้นพหลโยธิน ) จากนั้น ผ่านแยกถนนลาดพร้าง-รัชดาฯ โรงแรมเดอะบาซาร์ แบ็งคอก โรงแรมเจ้าพระยา โรงแรมดิเอมเมอรัล ไปจนถึงศูนย์การค้าเดอะสตรีท แยกศูนย์วัฒนธรรมไปถึงอาร์ซีเอ พระราม9และ รฟท. สามารถ ปล่อยเช่า หารายได้เข้าองค์กร ได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายเวนคืน เพราะได้ที่ดินมาก่อนมีกฎหมายเวนคืนดังกล่าวที่มีข้อห้ามนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ที่ผ่านมา แบ่งซอย แปลงที่ดินตามความต้องการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เช่าเต็มทั้ง124แปลง124สัญญา186ไร่ โดยเฉพาะแปลงที่กำลังขอต่อสัญญา 30ปี (หมดสัญญาปี2567 )พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ จากสถานบริการอาบ-อบ-นวด โพไซดอนเป็นโรงแรม3ดาว ของนางพรทิวา นาคาศัย หรือ นางพรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล อดีตนักการเมืองชื่ดัง โดยให้เหตุผลว่าจากสถานการณ์โควิด-19คนให้ความสนใจลดลง จึงขอรฟท.เปลี่ยนแปลงการใช้ดังกล่าว
ขณะ รฟท. ยืนยันว่า อยู่ระหว่างพิจารณาและประเมินมูลค่าทรัพย์สินสัญญาเช่าที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก 124 แปลง (124 สัญญา) ตั้งแต่แยกศูนย์การค้าเดอะสตรีท ไปตลอดแนวจนถึงสำนักงานใหญ่ SCB และจุดตัดถนนวิภาวดีรังสิต ที่ทยอยหมดสัญญาเช่าในปี 2563-2567 อาทิพื้นที่ลานจอดรถของศูนย์การค้าเดอะสตรีท ที่จอดรถโรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ สถานบริการอาบอบนวดโพไซดอน สถานีตำรวจสุทธิสาร สถานีตำรวจพหลโยธิน ศาลอาญา บางกอกไนซ์บาซาร์ เป็นต้น ที่ผ่านมา รฟท.มีรายได้จากค่าเช่าย่านถนนรัชดาฯเฉลี่ยปีละ 200 กว่าล้านบาท หากมีการเจรจาต่อสัญญาใหม่จะทำให้ ร.ฟ.ท.ได้ค่าเช่าเพิ่มปัจจุบันผู้เช่าหลายแปลงแจ้งความประสงค์จะต่อสัญญาเช่า บางรายอนุมัติไปแล้ว บางรายขอดัดแปลงอาคารใหม่ให้สอดรับกับเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่วนที่คณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติต่อสัญญาแล้ว อาทิ บริษัทแบงค์ค็อกไนท์บาซาร์ เจ้าของโครงการบางกอกไนท์บาซาร์ แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว เนื้อที่ 9 ไร่ โดยต่อให้อีก 30 ปี ตั้งแต่ปี 2562-2592 รฟท.ได้ผลตอบแทน 5,000 ล้านบาท และต่อสัญญาเช่าที่ดิน 7 ไร่ ให้กับ บริษัทไทยวัฒน์เคหะ อีก 20 ปี เริ่มปี 2565-2585 ได้ค่าตอบแทน 83 ล้านบาท ส่วนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาต่อสัญญา อย่างที่ดินแปลง บริษัท โพไซ ดอน เนื้อที่ 15.4 ไร่ เมื่อเดือน มิถุนายน 2559ที่ผ่านมา ได้ยื่นหนังสือขอต่อสัญญาอีก 30 ปี จากเดิมจะสิ้นสุดวันที่ 29กุมภาพันธ์2567 พร้อมกับขอปรับปรุงดัดแปลงอาคารสูง 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,656 ตร.ม. ปัจจุบันประกอบธุรกิจอาบอบนวด สู่ธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว วงเงิน 200 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจเข้าสู่ช่วงขาลง ประกอบกับมีภาระต้นทุนมากขึ้น ล่าสุดยังมีปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว ทั้งนี้การเช่ามี 2 สัญญา คือ สัญญาสร้าง 4 ปี วันที่ 1 มี.ค. 2533-วันที่ 28 ก.พ. 2537 และสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2537-29 ก.พ. 2567 มีอาคาร 11 ชั้น เป็นสถานที่อาบอบนวดโพไซดอน 1 อาคาร และอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 32 คูหา และ 7 ชั้น 3 คูหาเป็นต้น ข่าวที่เกี่ยวข้องเปิดขุมทรัพย์รฟท.186 ไร่ 3.7 หมื่นล้าน รื้อสัญญาค่าเช่าริมถนนรัชดาฯใหม่เจาะ 6 ขุมทรัพย์กลางเมือง บิ๊กโปรเจ็กต์ขึ้นพรึบรฟท. ศึกษาแผนเดินรถ-ใช้ประโยชน์สถานีหัวลำโพงส่องสัญญาเช่าที่ดิน “โพไซดอน” มูลค่า 753 ล้านบาทพิษโควิด ‘โพไซดอน’ ทุบอ่าง สร้างโรงแรม3ดาวทุนยักษ์แข่งปักหมุด! ทำเลเวิลด์คลาส แยกพระราม 9-รัชดา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2021 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งตั้ง บ.ลูกทรัพย์สินใน 2 เดือน-ประมูลแปลง A ล่ม รื้อแผนพัฒนาย่านพหลฯ ใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:19 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:19 น.




รฟท.เร่งแบ่งกลุ่มที่ดินและสัญญาเช่า เตรียมโอนงานให้บริษัทลูกทรัพย์สิน คาดจดทะเบียนจัดตั้งได้ใน 2 เดือน ส่วนแปลง A ต้องล่มรอบ 2 หลังไร้เงาเอกชนซื้อซอง “นิรุฒ” รับลูก “ศักดิ์สยาม” ปรับแนวคิดออกแบบ รื้อแผนประมูลที่ดิน 9 แปลงย่านพหลโยธิน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สิน รฟท.ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายชื่อกรรมการเพื่อดำเนินการยื่นจดทะเบียนจัดตั้ง จำนวน 9 คน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งตามขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดสรรบุคคลเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถจดทะเบียนได้ภายใน 2 เดือน โดยใช้ชื่อบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หลังจัดตั้งบริษัทลูกทรัพย์สินแล้วจะมีการสรรหากรรมการผู้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ซีอีโอ) ต่อไป

ในระหว่างนี้ รฟท.ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องข้อมูลสำหรับการโอนงานให้บริษัทลูกทรัพย์สิน เช่น จำแนกที่ดินและสัญญาแต่ละประเภทเป็นหมวดหมู่ สถานะของแต่ละสัญญา ซึ่งข้อมูลเรื่องที่ดิน สัญญาเช่าต่างๆ ของ รฟท.มีจำนวนมาก ต้องจัดกลุ่มให้ชัดเจนรวมถึงระยะเวลาหรือไทม์ไลน์ในการถ่ายโอนไปยังบริษัทลูกซึ่งจะต้องมีแผนปฏิบัติ (Action Plan) แต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน เบื้องต้นมีประมาณ 5-6 กลุ่ม เช่น ที่ดินที่ไม่มีปัญหา มีสัญญาเช่าและชำระค่าเช่าครบ, ที่ดินสัญญาใกล้หมดอายุ, ที่ดินหมดอายุแล้วแต่ยังไม่ต่อสัญญา, ที่ดินบุกรุก, ที่ดินมีคดีการฟ้องร้อง, ที่ดินพิพาทหรือทับซ้อนหรือต้องพิสูจน์ เป็นต้น

“ที่ดินรถไฟและสัญญาต่างๆ จะต้องโอนให้บริษัทลูกทั้งหมด เพราะวัตถุประสงค์ในการตั้งบริษัทลูกเพื่อต้องการให้มืออาชีพเข้ามาบริหารทรัพย์สินของรถไฟเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ รฟท. เพราะที่ผ่านมาการบริหารของ รฟท.อาจจะมีติดขัดเรื่องกระบวนการภายใน ขณะที่บริษัทลูกจะมีความคล่องตัวมากกว่า”

ในส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 2,325 ไร่ ซึ่งมีแบ่งออกเป็น 9 แปลงนั้น นายนิรุฒกล่าวว่า มีการศึกษาโดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) หากเป็นไปได้จะให้บริษัทลูกดำเนินการ ซึ่งนโยบาย รมว.คมนาคมให้เร่งดำเนินการพร้อมกันทั้ง 9 แปลง ต่างจากแผนเดิมที่จะแบ่งการพัฒนาเป็นเฟส ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาความเหมาะสม เนื่องจากการประมูลโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A เนื้อที่ 32 ไร่ มูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ล่าสุดปิดขายซองเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 ไม่มีเอกชนมาซื้อซองเลย โดยต้องพิจารณาแนวคิดการออกแบบ การใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้ ตามมติ ครม.กำหนดบริษัทบริหารทรัพย์สินมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ รฟท.กู้ยืมเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียนโดยที่ รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงิน รวมถึงพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม

ปัจจุบัน รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถจำนวน 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1% ของมูลค่าสินทรัพย์

https://youtu.be/HTbNZ6zuYNk

https://www.naewna.com/business/549695
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ตลาดนัดจตุจักร หนี้สงสัยจะสูญ ‘กทม.-รถไฟ’
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 - 15:45 น.

โดย ประเสริฐ จารึก
คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ

นับจากวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ส่งมอบพื้นที่ “ตลาดนัดจตุจักร” เนื้อที่ 68 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา กลับสู่อ้อมกอดของกรุงเทพมหานคร (กทม.) อีกครั้ง ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561

ถึงขณะนี้ล่วงเลยมากว่า 2 ปี ยังไม่มีการเซ็นสัญญาผูกพันกันทางกฎหมายแต่อย่างใด นอกจากสัญญาปากเปล่าและสัญญาใจที่ให้ไว้ต่อกัน

การโอน “ตลาดนัดจตุจักร” จาก ร.ฟ.ท.ให้กับ กทม.ผ่านการผลักดันจากคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 มี “บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ” เป็นประธานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้ารายย่อยหลัง ร.ฟ.ท.ปรับขึ้นค่าเช่าแผง ขึ้นเท่าตัว

โดยมองว่า “กทม.” มีความพร้อมในการเข้าบริหารจัดการ “ตลาดนัดจตุจักร” ในเรื่องการจัดระเบียบแผงค้า รักษาความปลอดภัย ความสะอาด ได้ดีกว่า ร.ฟ.ท.

ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 จึงได้สั่งการให้ “ร.ฟ.ท.” สังกัดกระทรวงคมนาคม ประสานงานกับ “กทม.” สังกัดกระทรวงมหาดไทย เร่งรัดการดำเนินการโอนความรับผิดชอบการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร

จนนำมาสู่การมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ให้กระทรวงคมนาคมโอนความรับผิดชอบการบริหารจัดการ “ตลาดนัดจตุจักร” ไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของ “กทม.”

โดย “กทม.” ต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินในอัตราปีละ 169.42 ล้านบาท ระยะเวลาให้เช่า 10 ปี หรือไม่เกินในปี 2571 และให้ “ร.ฟ.ท.” ทบทวนค่าเช่าโดยรวมทุก ๆ 3 ปี โอนสัญญาเช่าต่าง ๆ จำนวน 32 สัญญาให้ “กทม.” และกำหนดค่าเช่า 1,800 บาท/แผง/เดือน ลดจากราคาเดิมที่ ร.ฟ.ท.เก็บ 3,175 บาท/แผง/เดือน

ขณะที่ “กทม.” จะรับโอนสิทธิและหน้าที่ในสัญญาว่าจ้างบริการงานรักษาความปลอดภัยจนสิ้นสุดสัญญาวันที่ 13 พฤษภาคม 2561 สัญญาว่าจ้างงานทำความสะอาดและจัดเก็บขยะแบบครบวงจรจะสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ปัจจุบัน “กทม.” เข้าครอบครอง “ตลาดนัดจตุจักร” ยังไม่จ่ายค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้แม้แต่สลึงเดียวรวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 338 ล้านบาท

เนื่องจากสัญญาที่จะเซ็นร่วมกันยังไม่เรียบร้อย อยู่ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา ซึ่งการจ่ายค่าเช่าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสัญญาเกิด

ถามว่า…ทำไมถึงปล่อยเวลามาเนิ่นนานขนาดนี้

ต้นสายปลายเหตุ เนื่องจาก “กทม.และ ร.ฟ.ท.” มีความเห็นไม่ตรงกัน จึงทำให้การรันสัญญาล่าช้า


ไม่ว่า ค่าเช่า การรับมอบสัญญาทั้ง 32 สัญญา จำนวนแผงค้าที่ตีทะเบียนและไม่ตีทะเบียน ส่วนแบ่งรายได้ที่ ร.ฟ.ท.จะต้องได้นอกจากค่าเช่าที่ดินแล้ว

ขณะที่สถานะ “ตลาดนัดจตุจักร” ก็ไม่เหมือนเดิม เมื่อปี 2562 “กทม.” นำไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ “สำนักงานตลาดฯ” จากเดิมเป็นเอกเทศ มีรายได้อู้ฟู่ไม่ขึ้นอยู่กับใคร

สำหรับ “สำนักงานตลาดฯ” เป็นหน่วยงานการพาณิชย์ของ กทม. ที่สามารถหารายได้เองจากตลาดนัดขนาดใหญ่ ตลาดชุมชนที่ดูแลอยู่ 12 แห่งทั่วกรุง แต่ละปีมีรายได้หมุนเวียนประมาณ 400-500 ล้านบาท

แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งระลอกเก่า ระลอกใหม่ ทำให้รายได้หายไปร่วม 310 ล้านบาท จากการออกมาตรการลดและยกเว้นค่าเช่าให้ผู้ค้าในตลาด เพื่อเป็นการลดภาระท่ามกลางบรรยากาศการค้าการขายซบเซา

จากข้อมูลพบว่า หลังเกิดการระบาดของโควิด ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ ทำให้ลูกค้าใน “ตลาดนัดจตุจักร” หายไปมากกว่า 50%


ก่อนเกิดโควิดอยู่ที่ 100,000 คน ช่วงโควิดระบาดรอบแรกลดเหลือ 10,000 คน จากนั้นค่อย ๆ ตีตื้นขึ้นมาอยู่ที่ 60,000-70,000 คน ล่าสุดเกิดการระบาดรอบสองวูบเหลือ 40,000 คน

ปัจจุบันปัญหาของ “ตลาดนัดจตุจักร” ไม่ใช่แค่รายได้ที่หายไป ยังมีเรื่องสภาพคล่องและอีกสารพัดปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรม

หลัง “กทม.” นำมาควบรวมกับ “สำนักงานตลาดฯ” แล้ว ทำให้ “สำนักงานตลาดฯ” ตกอยู่ในสภาพ “เอาเนื้อหมูไปปะเนื้อช้าง”

ต้องนำรายได้จากตลาดอื่นมาจุนเจือ “ตลาดนัดจตุจักร” ที่ดูภายนอกเหมือนรวย แต่จริง ๆ แล้วข้างในไม่เป็นอย่างที่คิด เป็นเพราะอะไร ผู้บริหาร กทม.น่าจะรู้ดี

หากวันที่ต้องจับปากกาเซ็นสัญญากับ “ร.ฟ.ท.” อย่างเป็นทางการ “กทม.” จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายหนี้เก่าและค่าเช่าใหม่

ถ้าหากไม่มี “ร.ฟ.ท.” จะขอคืนกลับมาดูแลเหมือนเดิมหรือไม่ ก็น่าติดตาม

เพราะ “ตลาดนัดจตุจักร” มีมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 15,292 ล้านบาท หากบริหารดี ๆ น่าจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำมาปลดแอกหนี้ที่ ร.ฟ.ท.แบกอยู่กว่า 1 แสนล้านได้ ไม่มากก็น้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

“ทวี” อัด “ศักดิ์สยาม” มีบ้านเขากระโดงในที่สงวน พาดพิง “ปู่ชัย” เจอสวนทายาทอาจฟ้อง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 15:48 น.
ปรับปรุง: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 15:48 น.


ส.ส.ประชาชาติ ซักฟอก รมว.คมนาคม ปมบ้านพักในที่ดินเขากระโดง เหตุใดออกโฉนดได้ หลังศาลฎีกาเคยตัดสินให้เป็นที่สงวนหวงห้าม แถมพาดพิง “ปู่ชัย” เจ้าตัวบอกไม่โกรธ แต่ไม่รู้ทายาทคนอื่นโกรธไหมรอรับหมายศาลได้เลย

วันนี้ (18 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชาติ อภิปรายกรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายร่วมกันถือครองบุกรุก และพักอาศัยในพื้นที่สมบัติของแผ่นดิน หรือที่สงวนหวงห้ามที่มีไว้เพื่อประโยชน์ประชาชนโดยรวม ที่รถไฟเขากระโดง จ.บุรีรัมย์

โดย พ.ต.อ.ทวีกล่าวถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยที่ดินทั้งแปลง ระบุว่า หลังปี 2560 สถานะของที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่สงวนหวงห้ามไว้เป็นที่รถไฟ ใครที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่นี้จะต้องมีการขับไล่ และเพิกถอนสิทธิ ไม่สามารถมีใครมีเอกสารสิทธิที่ดินส่วนนี้ได้ แต่บ้านพักของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ สิ่งที่รัฐมนตรีเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และเป็นเรื่องสำคัญ คือ ทุกคนต้องถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม แต่หลังจากศาลฎีกาตัดสินแล้ว การรถไฟฯ ได้ไปฟ้องให้เพิกถอนโฉนดชาวบ้าน ซึ่งศาลก็สั่งให้เพิกถอน ดังนั้น วันนี้ รมว.คมนาคม และหน่วยงานของรัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ควรฟ้องทุกคนไม่ใช่ฟ้องเฉพาะคนใดคนหนึ่ง และเมื่อได้ข้อยุติแล้วจะต้องทำห้ถูกต้องตามคำพิพากษา และทำอย่างไรที่จะเอาที่ดินสงวนหวงห้ามที่เป็นที่ดินสาธารณสมบัติกลับมา เป็นหน้าที่ของการรถไฟฯ และรัฐมนตรีที่มีหน้าที่ต้องเอาที่ดินคืนให้การรถไฟฯ ในฐานะ รมว.คมนาคม แต่กลับไม่ดำเนินการใดๆ นี่คือการกระทำที่ผิดหลักนิติรัฐ นิติธรรม และจริยธรรมนักการเมืองหรือไม่

พ.ต.อ.ทวีกล่าวอีกว่า ในส่วนของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะดูแลกรมที่ดิน เมื่อศาลฎีกามีคำตัดสินสิ้นสุดแล้วต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวภายใน 60-90 วัน แต่ท่านกลับปล่อยเรื่องนี้มาตลอด หรือท่านนำเรื่องนี้เป็นข้อสมประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทำความจริงให้ปรากฏ

ด้าน รมว.คมนาคม ชี้แจงว่า ภาพรวมที่ดินการรถไฟแห่งประเทศทั่วประเทศกว่า 2.4 แสนไร่ มีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของที่ดิน 2 ช่องทาง คือ จากการเวนคืน และได้มาโดยเหตุอื่นๆ ตนไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งกรณีที่ดินเขากระโดง การรถไฟฯ ได้สำรวจผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เมื่อปี 2550 พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มากกว่า 35 ราย เอกสาร น.ส.3 ประมาณ 500 ราย เอกสารครอบครองที่ดินเป็นโฉนด และหน่วยงานราชการจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันที่ดินแยกเขากระโดงมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์หลายรายซึ่งการรถไฟดำเนินการอยู่

รมว.คมนาคมกล่าวอีกว่า ที่ดินดังกล่าวที่อ้างถึงเป็นที่ดินที่มีโฉนดเลขที่ 3466 มีการซื้อขายกันมาจนออกเป็นโฉนด มีการชี้แนวเขตโดยวิศวกรการรถไฟ และมีประชาชนอยู่ในที่ดินบริเวณดังกล่าวมานานขนาดที่ว่าเราเกิดกันไม่ทัน ตนในฐานะ รมว.คมนาคม ดำเนินการและสั่งการให้ยึดหลักธรรมภิบาล คุณธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้ ยืนยันว่าไม่เคยแทรกแซงสั่งการใดๆ ในที่ดินดังกล่าว ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าคนใกล้ชิดหรือไม่ใกล้ชิด ต้องยึดหลักภายใต้หลักกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการอภิปรายของ พ.ต.อ.ทวีนั้น ส.ส.พรรคภูมิใจไทยได้ลุกขึ้นประท้วงการอภิปรายดังกล่าวเป็นระยะ ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี ใช้สิทธิพาดพิงโดยกล่าวตอนหนึ่งว่า “มีในบันทึกด้วยว่า พ่อชัย ชิดชอบ ได้เข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟด้วย” ทำให้นายศักดิ์สยามลุกขึ้นกล่าวตอนหนึ่งว่า “เรื่องที่พาดพิงถึงบิดาของผมนั้น ผมไม่โกรธ แต่ไม่แน่ใจว่าทายาทคนอื่นจะโกรธหรือไม่ หากเขาโกรธขอให้ท่านเตรียมรับหมายศาล”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 168, 169, 170 ... 197, 198, 199  Next
Page 169 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©