RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180046
ทั้งหมด:13491278
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 230, 231, 232 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 10:34 am    Post subject: Reply with quote

TDRI จี้รัฐแก้ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสารพัดสี ราคาแพง-นั่งหลายต่อ ทะลุ 100 บาท/เที่ยว
อสังหาริมทรัพย์

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 21:11 น.

“ทีดีอาร์ไอ” กางข้อมูล “รถไฟฟ้าเมืองไทย” คาดเมื่อรถไฟฟ้าสารพัดสีทยอยเสร็จ ค่านั่งสูงทะลุ 100 บาท/เที่ยว นั่งสั้นแพงกว่าวิ่งยาว ทำนายพฤติกรรมคนเมือง-ชานเมืองอนาคตนิยมใช้รถไฟฟ้าหลายต่อ สะกิดรัฐบาลไม่รีบแก้วันนี้ วันหน้าลำบาก แนะ 3 มาตรการเร่งสางปัญหา

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “ค่าโดยสารรถไฟฟ้าหลากสีกับราคาที่ประชาชนต้องแบกรับ”


สายสีเขียวแค่ส่วนหนึ่งของปัญหา
โดยดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ประเด็นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศอัตราค่าโดยสารสูงสุด 104 บาท และจะจัดเก็บในวันที่ 16 ก.พ. 2564 นี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าประเทศไทยเท่านั้น

“และถ้าหากรัฐบาลไม่หาหนทางแก้ไขปัญหาอะไร อนาคตอันใกล้นี้จะเผชิญกับปัญหาค่ารถไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างแน่นอน เพราะจะมีรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ทยอยเปิดให้บริการ”

ปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายหลักๆที่เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นทาง สายสีน้ำเงินทั้งเส้นทาง, สายสีม่วงช่วงคลองบางไผ่ – เตาปูน ,แอร์พอร์ตลิ้งค์ช่วงพญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ และสายสีทองช่วงกรุงธนบุรี – คลองสาน

และในระยะเวลาอันใกล้นี้ จะมีรถไฟฟ้าอีก 2 สายเปิดให้บริการ ได้แก่ สายสีชมพูช่วงแคราย – มีนบุรี และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง ซึ่งทั้งสองสายมีกำหนดเปิดให้บริการปลายปี 2564 นี้

และรถไฟฟ้า 2 สายนี้จะเชื่อมต่อกับถนนที่มีปัญหาจราจรติดขัดเพิ่มเติมอีก 3 สาย คือ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และถนนศรีนครินทร์ สิ่งที่น่าคิดคือ เมื่อมีรถไฟฟ้ามากขึ้นแล้วอัตราค่าโดยสารจะเป็นอย่างไร

วิ่งสั้นแพงกว่าวิ่งยาว
ดร.สุเมธกล่าวต่อไปว่า อัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน คิดแบบแยกกันตามแต่ละสัญญาสัมปทานแต่ละสายจะกำหนด โดยรถไฟฟ้าที่มีเส้นทางยาวค่าโดยสารเฉลี่ยจะมีราคาถูก

ส่วนรถไฟฟ้าที่มีระยะทางสั้นค่าโดยสารเฉลี่ยก็จะแพง เช่น สายสีทองมีระยะทางเพียง 1.8 กม. เก็บค่าโดยสารที่ 15 บาทตลอดสาย คิดเป็นราคาเฉลี่ย 8 บาท/กม. แพงกว่าหลายๆเส้นที่มีเส้นทางเฉลี่ย 25-35 กม. และรัฐบาลมีการกำหนดกรอบค่าโดยสารไว้ไม่เกิน 42 หรือ 45 บาท ซึ่งจะมีราคาเฉลี่ย 2 บาท/กม.


คนส่วนใหญ่ไม่เดินทางต้นถึงสุดสาย
“พฤติกรรมผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่ได้เดินทางจากต้นทางไปสิ้นสุดถึงปลายทาง ของรถไฟฟ้าแต่ละสายเสียทีเดียว ส่วนใหญ่จะแล้วแต่จุดหมายปลายทางที่ไป อาจจะอยู่รถไฟฟ้าเส้นทางเดียวก็ได้ หรือหลายเส้นทางก็ได้ แต่จะเป็นไปในลักษณะเชื่อมต่อกันมากขึ้น” ดร.สุเมธกล่าว

อนาคตคนนิยมนั่งหลายต่อ
ดร.สุเมธกล่าวว่า เมื่อโครงข่ายรถไฟฟ้าขยายออกสู่ชานเมืองมากขึ้น แนวโน้มที่คาดว่าจะได้เห็นคือ การนั่งรถไฟฟ้าหลายๆต่อมากขึ้น เช่น ผู้คนจากโซนมีนบุรี เดินทางเข้ามาที่ย่านพระราม 9 ต้องนั่งรถไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ต่อจึงจะมาถึง

เริ่มต้นจากสถานีมีนบุรีของสายสีชมพูต่อที่ 1 เดินทางมาเปลี่ยนเป็นสายสีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นต่อที่ 2 และมาเปลี่ยนขบวนอีกครั้งที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว เพื่อโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจึงจะต้องไปถึงย่านพระราม 9 คำนวณคร่าวๆแล้วต้องเสียค่าโดยสารรวมๆ 109 บาท หรือตกวันละ 218 บาท/วัน มีราคาแพงกว่าระบบอื่น เช่น รถตู้ที่มีราคาเพียง 40-50 บาทเท่านั้น เป็นต้น


“ดังนั้น ปัญหาของรถไฟฟ้าสำคัญอยู่ที่สัญญาสัมปทาน ซึ่งมีมากกว่า 10 สัญญา และแต่ละสัญญามีการแยกเป็นอีกหลายๆสัญญา เช่น สายสีเขียว 3 สัญญา, สายสีน้ำเงิน 2 สัญญา เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นว่าแต่ละเส้นทางมีเงื่อนไขการจัดเก็บค่าโดยสารต่างกัน และแต่ละสัญญาก็ทำต่างกรรมต่างวาระกัน”

เสนอ 3 มาตรการแก้รถไฟฟ้าแพง
ทางออกของเรื่องนี้คือ 1.ต้องนำสัญญารถไฟฟ้าทุกสัญญาและทุกโครงการมาพิจารณาร่วมกันใหม่ แล้วกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดของแต่ละสายทางแทน ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆด้วย

2. ต้องแยกตัวค่าโดยสารออกจากสัญญาสัมปทาน เพื่อไม่ให้กลายเป็นเงื่อนไขที่มัดแน่นจนอาจจะแก้ปัญหานี้ไม่ได้เลย และให้เอกชนที่เข้ามาลงทุนหาแนวทางในการเฉลี่ยรายได้จากการประมูลในช่องทางอื่นแทนการเก็บค่าโดยสาร

เช่น นำรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือพื้นที่โฆษณามาอุ้มค่าโดยสาร หรือไม่รัฐควรนำแนวคิดภาษีลาภลอยของผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนารถไฟฟ้า มาอุ้มค่าโดยสารไม่ให้มีราคาแพง และ

3.ควรยกเว้นการเก็บค่าแรกเข้าหลายต่อ เพราะการโดยสารข้ามระบบในประเทศไทยต้องเสียค่าแรกเข้าหลายต่อมาก ตอนนี้มีเพียงสายสีน้ำเงินและม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่วประเทศไทย (รฟม.) เท่านั้นที่ไม่มีการเก็บค่าแรกซ้ำซ้อนกัน

ข้อเสนอทั้งหมด หากรัฐบาลไม่เริ่มติดตั้งแต่วันนี้ ค่าโดยสารที่มีราคาแตะหลัก100บาทต่อเที่ยวในหลายๆสายทาง จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตแน่นอน

Wisarut wrote:
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม บี้สุดฤทธิ์ใช้นโยบายระบบตั๋วร่วมรถไฟฟ้าปีหน้า
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
30 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:30 น.



Wisarut wrote:
"ชัชชาติ"แนะใช้รายได้ Non-Fare กดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ถูกลง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:20 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

“วิษณุ” ยัน ล้มประมูลรถไฟฟ้าส้ม-เขียว ไม่มีกฎหมายพิเศษ
หน้า Politics
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12:55 น.

"วิษณุ" ปัดตอบ ปมล้มประมูลรถไฟฟ้าสายส้ม-เขียว โยน คมนาคม - กทม. คุยกันเอง ยัน ไม่มีกฎหมายพิเศษจัดการปัญหา ลั่น ขึ้นค่าโดยสารต้องเลือกเบี้ยจากกระเป๋าใครระหว่างประชาชนหรือรัฐบาล

4 กุมภาพันธ์ 2564 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้ม มีการหาทางออกแล้วหรือไม่ว่า ตนไม่ทราบ เนื่องจากเป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคม และทางกรุงเทพมหานคร โดยเรื่องนี้ยังไม่ถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตนพอทราบรายละเอียดเพราะเคยประชุม ซึ่งรับทราบว่า ปัญหาคืออะไร โดยให้ไปแก้ไขจัดการปัญหากันเอง โดยให้อีกฝ่ายหนึ่งถามไปและให้อีกฝ่ายตอบกลับ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการถามตอบกันจนลุล่วงในทุกประเด็นซึ่งไม่ได้มีการวางกรอบระยะเวลาไว้เพื่อให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรี แต่เร็วหน่อยก็ดี

เนื่องจากเป็นการผูกประเด็นเรื่องการขึ้นค่าโดยสาร ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการหารือก่อนวันที่ 16 ก.พ.นี้ และตนก็คิดว่า ไม่น่าจะทัน พร้อมยืนยันว่า ไม่มีกฎหมายพิเศษ หรือ อำนาจพิเศษที่จะออกกฎหมายพิเศษ เพื่อจัดการปัญหา



นายวิษณุ ยังระบุอีกว่า คณะรัฐมนตรี สามารถปรับเปลี่ยนมติได้ แต่จะถอยกลับไปสู่ภาระที่รัฐบาลต้องแบกไว้ และขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเรื่องแล้ว ว่า จะต้องแก้ปมปัญหาใดก่อน พร้อมกับระบุว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 11 ก.พ.64 จะยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากยังถามตอบไม่แล้วเสร็จ ซึ่งในอดีตก็เคยมีปัญหาเรื่องการขึ้นค่าโดยสารมาก่อน แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆจะขึ้นค่าโดยสารแล้วขึ้นไม่ได้ แล้วไปชะลอ ซึ่งจะหมายความว่า ภาระจะถูกโยนไปที่ใดที่หนึ่ง หากขึ้นค่าโดยสารเป็นภาระของประชาชน แต่หากไม่ขึ้นภาระค่าโดยสารก็อยู่กับรัฐบาล เพียงแต่ต้องเลือกว่าจะเอาเบี้ยจากกระเป๋าใครเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อวานนี้ (3 กุมภาพันธ์) คณะกรรมการ (บอร์ด) มาตรา 36 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยนายกิตติกร ตัณเปาว์ รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรา 36 เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า เนื่องจากที่ผ่านมาบอร์ดมาตรา 36 ให้แนวทางว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือน หากถึงกำหนดการเลื่อนเปิดซองประมูลโครงการฯ แล้วยังไม่ได้ข้อสรุปจะส่งผลให้มีความล่าช้าต่อการดำเนินโครงการฯ ซึ่งบอร์ดมาตรา 36 ได้สั่งการให้เลขานุการจัดประชุมบอร์ดดังกล่าวเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มดังกล่าว กระทั่งนำมาสู่มติให้ยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มดังกล่าว "โครงการฯนี้มีไทม์ไลน์แน่นอนเราอยากให้การดำเนินการโครงการภาครัฐไม่สะดุด ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อโครงการ อีกทั้งเราไม่สามารถกำหนดระยะเวลาการพิจารณาตัดสินของศาลปกครองได้เลย ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการประกวดราคา การยืนราคา เพราะฉะนั้น การเริ่มประมูลโครงการใหม่เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ดีที่สุด" ส่วนกรณีที่ รฟม.จะถอนฟ้องศาลปกครองกรณียื่นอุทธรณ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มหรือไม่นั้น นายกิตติกร ให้ความเห็นว่า ต้องรอให้รฟม.ดำเนินการพิจารณาก่อนส่วนเอกชนมีสิทธิยื่นฟ้องหรือไม่นั้น เราไม่สามารถตอบได้เพราะบอร์ดมีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกประมูลเท่านั้น หลังจากนี้จะมีกระบวนการตรวจสอบขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 1:32 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'คจร.'เคาะเดินหน้า'ระบบทางด่วน'ขั้นที่ 3 สายเหนือดัน'รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล'
1 กุมภาพันธ์ 2564


เคาะแล้ว สร้างทางด่วนขั้น 3 กทพ.ลุยช่วง N2 เกษตรฯ-นวมินทร์
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 21:11 น. 19:52 น.

ผ่าทางตัน “ทางด่วนสายเหนือ” ลุยเฟสแรก “เกษตร-นวมินทร์-วงแหวน”
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:18 น.

Click on the image for full size

บอร์ดคจร.ไฟเขียว กทพ.สร้างทางด่วนขั้น 3 ช่วง N2 เกษตรฯ-นวมินทร์ เหตุม.เกษตรฯ ยื้อเจรจาสร้างช่วง N1 เตรียมชงครม.เห็นชอบ คาดเริ่มก่อสร้างปลายปี64 เล็งถกรฟม.สร้างฐานรากพร้อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบแก้มติ คจร.ให้ดำเนินการก่อสร้างช่วง N2 (เกษตรฯ-นวมินทร์) ไปก่อน เนื่องจากขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวมีความพร้อมเริ่มงานก่อสร้าง อีกทั้งรูปแบบการก่อสร้างมีความชัดเจนแล้ว โดยที่ผ่านมามติคจร.กำหนดให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และ N2 (เกษตรฯ-นวมินทร์) เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก พร้อมกันทั้ง 2 ช่วง ส่วนช่วงทดแทน N1 ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องรูปแบบการก่อสร้างกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนกรานไม่เอาทางด่วนลอยฟ้า นอกจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี)

ปัญหาดังกล่าวทำให้ “กทพ.” ต้องแบกภาระดอกเบี้ยปีละ 1,300 ล้านบาท จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) ที่ระดมเงินไว้ 14,382 ล้านบาท ตั้งแต่เมื่อปี 2560 สำหรับสร้างช่วง N2-วงแหวนตะวันออก แต่เป็นเพราะทางด่วนสายนี้เป็นเส้นทางเชื่อมโยงการเดินทางฝั่งตะวันออก-ตะวันตก จะเดินหน้าโครงการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติในภาพรวมทั้งโครงการ

ดังนั้นเมื่อยังก้าวข้ามปมคัดค้านของม.เกษตรศาสตร์ไม่ได้ จึงทำให้โครงการสะดุดตลอดหลายปีที่ผ่านมา

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น กทพ. จะทำเรื่องเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป หาก ครม.เห็นชอบให้ กทพ. ดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 แล้ว จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปลายปี 64 โดยจะใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 3 ปี จะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 67 ส่วนการก่อสร้างครั้งนี้ กทพ. จะก่อสร้างงานฐานรากของทางด่วนไปพร้อมกับฐานรากของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งอยู่ตามแนวก่อสร้างทางด่วน N2 ด้วย โดยหลังจากนี้จะมีการหารือกับ รฟม.ในรายละเอียดร่วมกันต่อไป

แบ่งสร้าง 2 เฟส เริ่มช่วงเกษตร-วงแหวนฯ
ล่าสุด “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุม คจร.อนุมัติแผนโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตามที่ กทพ.เสนอ แบ่งสร้าง 2 ระยะ (ดูกราฟิก) ระยะที่ 1 ช่วง N2 และ E-W Corridor ถ.เกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก ระยะทาง 11.3 กม. วงเงิน 16,960 ล้านบาท เนื่องจากมีความพร้อมดำเนินการก่อนจะใช้เงินกองทุน TFF สร้าง เปิดประมูลภายในปี 2564 ทำคู่ขนานกับขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ต้องทำเพิ่มเติม เพราะใช้โครงสร้างร่วมกับสายสีน้ำตาลประมาณ 7 กม.ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) คาดว่าจะได้รับอนุมัติเดือน ส.ค. 2564

“จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการ ก.พ.-มี.ค. คัดเลือกที่ปรึกษาควบคุมงาน เม.ย.-ส.ค. เปิดประมูล มิ.ย.-ต.ค. เริ่มสร้าง ธ.ค. 2564 แล้วเสร็จเปิดบริการ ธ.ค. 2567”

ตามแผนโครงการจะแล้วเสร็จปลายปี 2567 จะเก็บค่าผ่านทาง 20 บาท สำหรับรถ 4 ล้อ และ 40 บาท สำหรับรถ 6-10 ล้อโดยจะจำกัดการใช้งาน ไม่ให้รถมากกว่า 10 ล้อ ใช้บริการ ปีแรกเปิดบริการจะมีรถใช้บริการ 110,000 คันต่อวัน

ประมูลปีนี้ 1.7 หมื่นล้านแบ่ง 4 สัญญา
แหล่งข่าวจาก กทพ.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ปรับไทม์ไลน์ประมูลทางด่วนช่วง N2-วงแหวนตะวันออก ระยะทาง 11.3 กม. วงเงิน 16,960 ล้านบาท ให้เร็วขึ้น จากเดิมประมูลต้นปี 2565 เป็นปีนี้แทน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยกองทุน TFF โดยแบ่ง 4 สัญญา มีงานโยธา 3 สัญญา และงานระบบ 1 สัญญา อีกทั้งจะประมูลงานฐานรากสายสีน้ำตาล วงเงิน 1,470 ล้านบาท ไปพร้อม ๆ กันด้วย หลัง รฟม.ให้ กทพ.สร้างไปพร้อมตอม่อทางด่วน

“รูปแบบทางด่วนจะเป็นทางยกระดับ 4 ช่องจราจร สร้างบนเกาะกลาง ถ.เกษตร-นวมินทร์ จุดเริ่มต้นอยู่เลยอุโมงค์แยกเกษตร 1 กม. ก่อนถึงคลองบางบัว ไปเชื่อมทางด่วนฉลองรัช จากนั้นวิ่งตรงไปเชื่อมวงแหวนตะวันออก มีจุดขึ้นลงบริเวณแยกเกษตร นวลจันทร์ และถนนวงแหวนฯ การก่อสร้างจะใช้ตอม่อเดิม 281 ต้น ที่สร้างไว้เมื่อ 20 ปีก่อน และสร้างใหม่อีก 100 ต้น ส่วนช่วงทับซ้อนกับสายสีน้ำตาล โครงสร้างทางด่วนจะอยู่ด้านบน รถไฟฟ้าอยู่ด้านล่าง”


ส่วนระยะที่ 2 ช่วง N1 หลังม.เกษตรศาสตร์ ไม่ให้สร้างเป็นทางยกระดับผ่านหน้ามหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทางทดแทน ซึ่ง คจร.ให้ กทพ.เร่งหารูปแบบก่อสร้างที่เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึงด้านวิศวกรรม ค่าใช้จ่าย การเวนคืน ระยะเวลาสร้าง และความยากง่ายในการดำเนินการด้วย ขณะเดียวกันให้เร่งหาข้อสรุปกับม.เกษตรศาสตร์

“ที่ประชุม คจร.กังวลการสร้างช่วง N2 จะมีปัญหาจราจรเป็นคอขวด บริเวณแยกเกษตรเพิ่ม เพราะช่วง N1 ยังไม่ได้สร้างซึ่ง กทพ.ชี้แจงได้ออกแบบให้มีแลมป์รองรับการจราจร และปริมาณรถบริเวณนั้นไม่ได้เพิ่มมากนัก และทางด่วนจะช่วยระบายรถ ถ.เกษตร-นวมินทร์ ได้ดี” นายศักดิ์สยามย้ำ

รายงานข่าวจาก กทพ. แจ้งว่า สำหรับแนวเส้นทางช่วง N2 จะมีจุดเริ่มต้นโครงการ ทางขึ้น – ลงแห่งที่ 1 อยู่บริเวณถนนเกษตร – นวมินทร์ เลยทางลอดอุโมงค์เกษตรปัจจุบันมาราว 200 เมตร หรืออยู่ช่วงก่อนถึงตึก RS หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะคร่อมไปตามถนนเกษตร - นวมินทร์ ก่อนจะเป็นทางแยกเชื่อมไปยังทางต่างระดับฉลองรัช และไปสิ้นสุดโครงการเชื่อมเข้าสู่มอเตอร์เวย์ สาย 9 ขณะเดียวกันทางด่วนเส้นนี้เป็นโครงการสำคัญที่จะเชื่อมต่อการเดินทางฝั่งตะวันออก และตะวันตกของกรุงเทพฯ ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้

Click on the image for full size

ส่วนรูปแบบก่อสร้างช่วงหน้าม.เกษตรศาสตร์ หลังมหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยกับการทำโดมครอบทางด่วน ต้องศึกษาความเป็นไปได้โครงการใหม่ ใช้เงินศึกษาอีก 10 ล้านบาท ใช้โมเดลที่ออกแบบไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่

แบบที่ 1 ทางยกระดับผ่านหน้าม.เกษตรศาสตร์แบบเดิม ใช้แนว ถ.งามวงศ์วาน เลาะคลองเปรมประชากร-ทางด่วนศรีรัช ระยะทาง 7.1 กม. ลงทุน 20,910 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 7,810 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 13,100 ล้านบาท จะใช้พื้นที่ใน ม.เกษตรฯ 180 ตร.ม.

แบบที่ 2 อุโมงค์ทางด่วน ระยะทาง 4.8 กม. จากแยกรัชวิภาผ่านหลังเมเจอร์รัชโยธินเชื่อมต่อโครงการ Missing Link สิ้นสุดที่แยกเกษตร ลงทุน 31,545 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 21,545 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 10,000 ล้านบาท

และแบบที่ 3 อุโมงค์ทางด่วนผ่านหน้าม.เกษตรศาสตร์ แยกบางเขน สิ้นสุดแยกประชาชื่น ระยะทาง 11.3 กม. วงเงิน 109,400 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 44,000 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 65,400 ล้านบาท เนื่องจากต้องขุดอุโมงค์ลึกมาก เพราะมีอุโมงค์น้ำประปา

วัดใจ ม.เกษตรฯไฟเขียว
“แต่ละแบบจะมีต้นทุนต่างกัน แบบที่ 1 ลงทุนน้อย แต่ ม.เกษตรฯไม่เห็นด้วย ต้องเจรจาอีกครั้ง เพราะ คจร.สั่งมาแล้วต้องจบเพื่อแก้ปัญหารถติด ขณะเดียวกันต้องประเมินความคุ้มค่าการลงทุน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเวนคืนด้วย คาดว่าจะศึกษาเสร็จก.พ. 2565 ขออนุมัติ ครม. มี.ค. ทำ EIA ต.ค. ควบคู่กับออกแบบรายละเอียด คาดประมูล มิ.ย.ปี 2566 เริ่มสร้าง ก.พ. 2567 แล้วเสร็จเปิดใช้ปี 2570”

แม้ กทพ.จะปลดภาระไปได้เปลาะหนึ่ง หลัง “บิ๊กป้อม” ทุบเปรี้ยงให้เดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่ต้องวัดใจม.เกษตรศาสตร์ว่าจะโอเค หรือเซย์โน หลังเปิดโต๊ะเจรจารอบใหม่ สุดท้ายถ้าเจรจาไม่สำเร็จ รัฐจะยังเดินหน้าต่อหรือไม่ หากทางด่วนสายนี้ต้องสร้างด้วนอยู่แค่แยกเกษตรศาสตร์ ไม่เชื่อมโยงการเดินทางตะวันออก-ตะวันตกอย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“วิษณุ” ยัน ล้มประมูลรถไฟฟ้าส้ม-เขียว ไม่มีกฎหมายพิเศษ
หน้า Politics
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12:55 น.


'สีส้ม-สีเขียว' จะจบมั้ย?

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น.

เห็นข่าว รฟม. "ล้มประมูล".......

โครงการรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวาน (๓ ก.พ.๖๔)


เรื่องแรกที่นึกถึง คือ ที่ ป.ป.ช.แถลงวันก่อน

ผลสำรวจการจัดอันดับความโปร่งใสขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ที่ได้ประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓

จากจำนวน ๑๘๐ ประเทศ ทั่วโลก

คะแนนเต็ม ๑๐๐ ไทยได้ ๓๖ คะแนน ดำมืดอยู่อันดับ ๑๐๔ ของโลก และที่ ๕ ของอาเซียน คู่กับเวียดนาม

ในหัวข้อ "การติดสินบนและคอร์รัปชัน" คะแนนลดลง ๔ คะแนนด้วยซ้ำ

โดยผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่า.....

"ยังมีปัญหาการให้และรับสินบนและการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ยอมรับสินบนในการลักลอบเปิดบ่อนการพนัน ปัญหาสินบนจากการลักลอบเข้าประเทศของแรงงานผิดกฎหมาย”

ในหัวข้อ "การแต่งตั้งโยกย้าย-การจ่ายใต้โต๊ะซื้อสัญญา สัมปทาน"

ผู้เชี่ยวชาญ EIU เห็นว่า ประเทศไทยคงมีปัญหาไม่แตกต่างปี ๒๕๖๒ ในเรื่องความโปร่งใสในการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณ

การใช้ทรัพยากรของราชการ, การแต่งตั้งข้าราชการจากรัฐบาลโดยตรง, การตรวจสอบการจัดการงบประมาณ

และปัญหาเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติในการให้สินบนเพื่อให้ได้สัญญาหรือสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ

ผลสำรวจนี้ เชื่อได้แค่ไหน ไม่ทราบ?

แต่การที่ รฟม.ในกำกับ "กระทรวงคมนาคม" ล้มประมูลสายสีส้ม ทำให้ผลสำรวจนี้ น่าเชื่อถึง ๙๙%

เฉพาะประเด็น "สินบนเพื่อให้ได้สัญญาหรือสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ"

"สีส้ม" กับ "สีเขียว" ดูมันจะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างไปแทบทุกเรื่อง ไม่แค่รถไฟฟ้า กับเรื่องการเมืองก็ยังเป็น!?

เขานินทากันทั้งเมือง เพราะคนการเมืองร่วมรัฐบาลด้วยกัน แบ่งผลประโยชน์กันไม่ลงตัว

"ผลประโยชน์ประชาชน" จึงถูกจับขึงพืด ในเกมต่อรอง

"นายกฯ ประยุทธ์" เสื่อมทางน่าเชื่อถือมาก ประเด็นเริ่มจากการต่อสัมปทานสายสีเขียวส่วนต่อขยายกับบีทีเอส ที่ยืดเยื้อมาแต่สมัย คสช.

ใช้ ม.๔๔ ก็แบะแฉะ ไม่จบ

จนมาเป็น "รัฐบาลพรรคผสม" ก็นั่งหัวโต๊ะ ถึงคราวจะทำโครงการสายสีส้ม มูลค่ากว่าแสนล้าน แต่ละค่ายต่างมุดมุ้งการเมือง

รฟม.เปิดประมูล แต่มาเปลี่ยนแปลง TOR หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว จนเกิดการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง

เรื่องก็ยังคาศาล ริมๆ จะมีคำวินิจฉัยอยู่รอมร่อ แล้วเมื่อวาน รฟม.ก็ชิง "ล้มประมูล"!

ล้มเพราะอะไร?

ก็สารพัดอ้างได้ แต่เด็กวานซืนก็ดูออก ถ้าไม่ล้ม ศาลให้ยึดตาม TOR เดิม รฟม.งานน่าจะไม่เข้าตา "ใครบางคน" แน่

เมื่อล้ม ปัญหาจะแตกลูก-แตกหน่อไปอีกมาก

และนั่น จะทำให้โครงการนี้หยุดชะงัก คือล่าช้าออกไปเป็นปี

เว้นแต่ "คนร่วม ครม." ยื่นหมู-ยื่นแมวกันได้ ในเรื่องข้าไม่ค้านเอ็งต่อสัญญาสัมปทานส่วนต่อขยายให้บีทีเอส

แล้วเอ็งก็ไปบอกให้พวกเอ็ง "หลีกทางให้พวกข้าชนะประมูลสายสีส้ม"!

เนี่ย...มันก็ประมาณนี้

ทุเรศหรือไม่ อยากรู้ไปถามนายกฯ เอง หรือไปถามพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย หรือนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ทั้ง ๒ คนนี้ อาจตอบได้

เพราะโครงการสีเขียว ของ BTS หรือ นายคีรี "กทม." เจ้าของ "พลเอกอนุพงษ์" รัฐมนตรีมหาดไทย ผู้กำกับเรื่องนี้

ส่วนสายสีส้ม ของ BEM หรือ ช.การช่าง "รฟม." เจ้าของ "นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีคมนาคม ผู้กำกับ

อันที่จริง แรกๆ เรื่องต่อสัญญาสัมปทานกับบีทีเอส ใน ครม.ไม่มีใครค้าน

แต่พอเปิดประมูลสายสีส้ม เหลือคู่แข่ง ๒ ค่ายหลักที่จะชิงกัน คือค่าย BEM ของ รฟม. กับค่าย BTS ของ กทม.

จู่ๆ รฟม.เกิดเปลี่ยน TOR กลางคัน แล้ว BTS ฟ้องศาลปกครอง จากนั้น จะด้วยข้อมูลใหม่อย่างไรก็ไม่ทราบ

"คมนาคม" ค้านต่อสัมปทานสีเขียวให้บีทีเอส!

จนลามไปสู่วันที่ ๑๖ กุมภาที่จะถึง...

กทม.ประกาศราคาค่าโดยสารสายสีเขียวใหม่ ตลอดสาย ๑๐๔ บาท

สรุปคือ รัฐบาลเขาตกลงผลประโยชน์ระหว่างพรรคกันยังไม่ลงตัว ความซวยลงที่หัวประชาชน!

๑๐๔ บาทนี่ ถือว่าราคาโควิด ต่อไปหมดโปร ตลอดสายจะเป็น ๑๕๘ บาท

อันที่จริง สรุปลงตัวกันแล้ว คือขณะนี้ สัญญาสัมปทานของบีทีเอส ยังเหลือ ๙ ปี

ถ้าขยายสัมปทานให้บีทีเอส ช่วง "หมอชิต-อ่อนนุช" และช่วง "สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน" ออกไป ๓๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๗๒-๒๖๐๒

บีทีเอสจะแบ่งรายได้ค่าโดยสารให้ กทม.ประมาณ ๒ แสนล้านบาท และจ่ายหนี้แทน กทม.ประมาณ ๖๘,๐๐๐ ล้านบาท

ที่สำคัญ....

บีทีเอส จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน ๖๕ บาท ลดลงจากอัตราเดิม ซึ่งตลอดสาย ๕๕ กม.จะเป็นค่าโดยสารสูงสุด ๑๕๘ บาท!

มหาดไทยเสนอต่อ ครม. แต่คมนาคมตีกลับ!

ถ้าจะแย้ง มันก็แย้งได้

แต่ถ้าบอก "สายสีเขียว" และส่วนต่อขยาย รัฐไม่ได้ช่วยเหลือเลยซักบาท!

ต้องใช้รายได้มาชำระต้นทุนการก่อสร้างเองทั้งหมดเป็นแสนล้าน แถมยังต้องแบ่งรายได้ให้ กทม.กว่าสองแสนล้านบาท

แล้วยังจะแย้งอีกมั้ย?

และส่วนต่อขยาย ค่าโดยสารตก ๑.๒๓ บาท/กม.เทียบกับสายอื่นๆ ของ รฟม.แล้ว เช่นสายสีม่วง สีน้ำเงิน รัฐบาลออกค่าก่อสร้างให้ทั้งหมด ทั้งระยะทางก็สั้นกว่า

แต่ค่าโดยสารแพงกว่าสายสีเขียว!

ทั้ง BEM ผู้รับสัมปทานเก็บค่าโดยสารแล้วไม่ต้องแบ่งให้ รฟม.ผู้เป็นเจ้าของโครงการ และทั้งไม่ต้องรับภาระหนี้สินแทน รฟม.

ต่างกับบีทีเอส แบ่งค่าโดยสารให้ กทม.แล้วยังไม่พอ ยังต้องรับใช้หนี้แทน กทม.ทั้งหมดด้วย

ว่าไปแล้ว การต่อสัมปทานให้บีทีเอส ก็สมเหตุ-สมผล ไม่ควรยกประเด็นหยุมหยิมมาคลุมเจตนาซับซ้อนแห่งจิตแล้วอ้างรักษาผลประโยชน์ชาติเป็นทองปิดหน้าผากจิ้งจอก!

จะอ้างว่า เหลืออีกตั้ง ๙ ปี ค่อยเปิดประมูลใหม่ หรือจะให้ รฟม.จัดการเดินรถก็ได้

พูดไปวันๆ เฉพาะหน้า ตามภาษาราชการและการเมืองว่าด้วยผลประโยชน์ทางการประมูลแต่ละครั้ง มันพูดง่าย

แต่ถึงเวลาทำ ระบบราชการและการเมือง เคยมีอะไรมั้ย ที่มันง่ายและเสร็จได้ตามปาก!?

ถามปลัดมหาดไทย "นายฉัตรชัย พรหมเลิศ" ดูก็ได้ เขาอยู่ในระบบประมูลทางราชการมาช่ำชอง น่าจะตอบได้ตรง

เปลี่ยนสัมปทานการเดินรถไฟฟ้านั้น มันเปลี่ยนได้

แต่ที่จะไม่เกิดคำว่า "ขออภัยในความขัดข้อง" เป็นที่เดือดร้อนคนเป็นแสนๆ ต่อวัน ตอนช่วงเปลี่ยนผ่านนั่นน่ะ

ท่านรัฐมนตรีคมนาคมหรือท่านผู้ว่าการ รฟม.จะอยู่เพื่อเอาหัวเป็นประกันตอนนั้น ว่าจะไม่เกิดมั้ย?

"สายสีส้ม" มันมีอะไรนักหนา ถึงเป็นปัญหาขี้คาคอห่าน ครม.ผมก็สงสัยเหมือนกัน

ดูตามเส้นทาง มันวิ่งผ่าใจกลางเมือง เชื่อมตะวันออก-ตะวันตก กลายเป็นสายหลัก ที่สายใต้ดิน-บนดิน "ทุกสาย" มาเชื่อม

เรียกว่า "สายเดียว" เกี่ยวทุกสาย ไปได้ทั่วกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ-นนทบุรี-ปทุมธานี เผลอๆ ถึงสมุทรสาคร

ต้องเจาะอุโมงค์ ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา แถวๆ เกาะรัตนโกสินทร์

เพราะอย่างนี้ TOR ที่แก้กลางคัน ถึงเน้นให้เอาคะแนนเทคนิคมาควบคู่กับราคา ไม่รู้แก้เพื่อ "ล็อกสเปก" ให้เจ้าไหนหรือเปล่า?

ระหว่างเจ้า BTS ทีมคีรี กับเจ้า BEM ทีม ช.การช่าง

พูดถึง BTS ข้อเสนอที่ตกลงกันในการต่อสัมปทาน ฝ่ายไหนได้เปรียบ-เสียเปรียบก็ว่ากันไป

สำหรับผม การปักใจมั่นคงในการลงทุนของนายคีรี แรกๆ บีทีเอส สิบปีแรกขาดทุนยับ หุ้นเหลือ ๕๐ ตังค์หรือบาทกว่า

ทักษิณตอนเป็นนายกฯ บีบจะฮุบ แต่คีรีฮึด!

ผมนับถือใจเขาแต่ตอนนั้น

และนี่ เป็นแต้มต่อเล็กๆ ที่ผมพอใจเห็น BTS อยู่กับการเติบโตของประเทศน่ะ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2021 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:48 น.
14 สายทาง ระยะทาง 553.41 กม. 367 สถานี
🚝 เส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว 6 สี 9 เส้นทาง ระยะทาง 170.38 กม.
🚄 อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สี 6โครงการ ระยะทาง 150.76 กม.
🚅 อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 สี 2 เส้นทาง ระยะทาง 37 กม.
🚈 อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 2 สี 5โครงการ 55.24 กม.
🚋 อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม 10 สี 10 โครงการ ระยะทาง 140.03 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2021 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าแผนพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาค 7 หัวเมืองหลัก
Otpthailand
20 มกราคม 2564 เวลา 18:00 น.

มา Update ความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาค ทั้ง 7 จังหวัดกันครับ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:55 น.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้ศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดต่างๆ ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

1. ขอนแก่น ช่วง ท่าพระ-สำราญ
- ระยะทาง 26 กิโลเมตร
- เป็นรถไฟฟ้ารางเบา LRT
- ผู้รับผิดชอบ ท้องถิ่นทำเอง โดยบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง
** ความคืบหน้าล่าสุด กำลังปรับแบบ และขออนุญาตใช้พื้นที่กรมการข้าว

2. ภูเก็ต ช่วง สนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง
- ระยะทาง 42 กิโลเมตร
- เป็นรถไฟฟ้ารางเบา LRT/ล้อยาง/BRT (อันหลัง รมต. #แซ่รื้อ เค้าบอก)
- ผู้รับผิดชอบ รฟม.
สรุปรายละเอียดโครงการ

** ความคืบหน้าล่าสุด แก้ไขผลการศึกษาปรับรูปแบบโครงการ เป็นรถไฟฟ้าล้อยาง หรือ BRT
3. โคราช ช่วง เซฟวัน-บ้านนารีสวัสดี
- ระยะทาง 11 กิโลเมตร
- เป็นรถไฟฟ้ารางเบา LRT/ล้อยาง แบบ ไม่มีสายส่งไฟฟ้า (Catinary Free)
- ผู้รับผิดชอบ รฟม.

4. เชียงใหม่ ช่วง โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะ
- ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร
- เป็นรถไฟฟ้ารางเบา LRT
- ผู้รับผิดชอบ รฟม.

5. หาดใหญ่ ช่วง คลองแหวะ-สถานีรถตู้
- ระยะทาง 12.5 กิโลเมตร
- เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
- ผู้รับผิดชอบ อบจ. สงขลา
** ความคืบหน้าล่าสุด เอกสาร EIA และ PPP เสร็จแล้วเตรียมเปิดประมูล
6. พิษณุโลก ช่วง มหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัล
- ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร
- เป็นรถรางล้อยาง (Auto Tram)
- ผู้รับผิดชอบ รฟม.
** ความคืบหน้าล่าสุด ศึกษาเบื้องต้นโดย สนข. แล้วรอให้ รฟม ไปศึกษาในรายละเอียดต่อ
7. อุดรธานี ทั้งเมือง
- ระยะทาง 20 กิโลเมตร
- เป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV)
- ผู้รับผิดชอบ สนข. (ยังไม่ได้ส่งต่อให้ผู้รับผิดชอบ)
** ความคืบหน้าล่าสุด ศึกษาเบื้องต้นโดย สนข. แล้วรอส่งต่อให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2021 8:08 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”เร่งประมูลสีส้มใหม่ ชงครม.เคาะสีชมพู-มอเตอร์เวย์บ้านแพ้ว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 03:17 น.
ปรับปรุง: วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 03:17 น.

ผู้จัดการรายวัน360-“ศักดิ์สยาม”เดินหน้าประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มใหม่ เผย รฟม.เตรียมยื่นถอนอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลางภายในสัปดาห์นี้ พร้อมร่างทีโออาร์กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือก ยันทำตามระเบียบ และกฎหมายร่วมทุน ย้ำเทคนิคก่อสร้างสำคัญ เหตุงานใต้ดินมีผลกระทบเยอะ เตรียมชง ครม. วันนี้ ขออนุมัติรถไฟฟ้าสีชมพูส่วนต่อขยาย และมอเตอร์เวย์ “เอกชัย-บ้านแพ้ว” มูลค่า 1.97 หมื่นล้านบาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานกรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติยกเลิกการประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และเตรียมร่างทีโออาร์เพื่อเปิดประมูลใหม่ โดยภายในสัปดาห์นี้ รฟม.จะแจ้งเรื่องการยกเลิกประมูล พร้อมกับการถอนอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลาง ในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการมาตรา 36 ส่วนศาลจะมีคำสั่งอย่างไร เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาต่อไป ไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจศาลได้

โดยเหตุผลที่มีการยกเลิกประมูล เนื่องจากคณะกรรมการมาตรา 36 เป็นห่วงเรื่องระยะเวลา หากปล่อยไปเรื่อยๆ จะทำให้เวลาก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และจะกระทบจนไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานในปี 2568-2569 จึงยกเลิกประมูลเพื่อเริ่มดำเนินการใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลใหม่ได้ช่วงกลางปี 2564

ส่วนการจัดทำร่างทีโออาร์ใหม่ รฟม. รายงานว่า ขั้นตอนตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ จะนำร่างทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์รับฟังความเห็น โดยคณะกรรมการมาตรา 36 จะนำความเห็นต่างๆ มาพิจารณา เพื่อประโยชน์สาธารณะสูงสุด ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 36 ว่าจะพิจารณารับความเห็นนั้นหรือไม่ ซึ่งต่างกับโครงการลงทุนตามพ.ร.บ.งบประมาณ ที่นำร่างทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์ประชาพิจารณ์ เพื่อนำความเห็นมาปรับร่างทีโออาร์

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า สำหรับการใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก กรณีรวมคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคานั้น รถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ใช่โครงการแรกที่ใช้ ก่อนหน้านี้ การประมูลโครงการทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ก็ใช้หลักการคัดเลือกแบบนี้ ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีโครงสร้างใต้ดิน เช่น ช่วงลอดบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านล่างจะต้องระวังและออกแบบอย่างรอบคอบ หรือกรณีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก่อนหน้านี้ มีกรณีที่ทำให้อาคารใกล้เคียงมีผลกระทบ เกิดการร้าว ดังนั้น เรื่องเทคนิคการออกแบบและก่อสร้าง จึงมีความสำคัญอย่างมาก ผู้ก่อสร้างจะต้องมีความสามารถ

อย่างไรก็ตาม รฟม.แจ้งว่า จะมีการปรับเงื่อนไข เช่น ปรับระยะเวลาการก่อสร้างสั้นลง รวมถึงการแบ่งเฟสในงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และการจัดหาส่งมอบขบวนรถสายสีส้มด้านตะวันออก เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการสายสีส้มด้านตะวันออกได้ก่อนตามแผน โดยปัจจุบันงานโยธาสายสีส้มด้านตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร (กม.) คืบหน้า 73% ซึ่งยังเป็นไปตามแผนงาน

“ผมมองเรื่องการทำงานตามไทม์ไลน์ และต้องเกิดประโยชน์สูงสุดกับรัฐและประชาชน โดยเชื่อว่าการยกเลิกประมูลครั้งนี้ ไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราห่วงเรื่องเวลา แต่หากก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการได้ตามแผน จะเป็นดีกว่า และยังได้ให้ทำข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงกรณีมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วย ซึ่งผมได้เตรียมข้อมูลต่างๆ ที่คิดว่าจะเป็นข้อสงสัยของสังคม ซึ่งฝ่ายค้านได้ยื่นมาเป็นกรอบกว้างๆ แต่ผมพร้อมชี้แจงเพราะการทำงานที่ผ่านมา ยึดตามข้อกฎหมายและระเบียบ”นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (9 ก.พ.) จะมีการพิจารณาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) จากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี หลังจาก รฟม. ได้ส่งหนังสือของ สำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้ตอบยืนยันความเห็นกรณีตรวจพิจารณาให้ความเห็นชอบรางสัญญาสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถฟ้าสายสีชมพูฉบับแก้ไข กรณีส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานีแล้ว โดยเอกสารแนบท้ายดังกล่าวเป็นเอกสารทางเทคนิคในสาระสำคัญ มิใช่เอกสารทางกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด จึงมิอาจตรวจพิจารณาให้ได้ กรณีจึงเป็นหน้าที่ของ รฟม. ที่จะต้องตรวจสอบเอกสารแนบท้ายดังกล่าวมิให้ขัดหรือแย้งกับร่างสัญญาที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาให้ รวมถึงตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารแนบท้ายสัญญาต่างๆ เพราะสำนักงานอัยการสูงสุดก็ไม่มีข้อขัดข้องแต่อย่างใด

นอกจากนี้ จะเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 19,700 ล้านบาท โดยหาก ครม. เห็นชอบกรมทางหลวง (ทล.) จะเข้าสู่ขั้นตอนการประมูลได้ในกลางปี 2564 และจะใช้เงินกองทุนค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์ในการดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2021 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งตั๋วร่วม ตัดค่าแรกเข้าลดราคา 30% นำร่อง “น้ำเงิน-ม่วง” ใช้ต้นปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:51 น.
ปรับปรุง: 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:51 น.



“คมนาคม” เร่งระบบตั๋วร่วม ไม่คิดค่าแรกเข้า ช่วยค่าโดยสารลดลง 30% นำร่อง “น้ำเงิน-ม่วง” ใช้ต้นปี 65 พร้อมตั้งอนุฯ ตั๋วร่วมเร่งทำโครงสร้างค่าโดยสารร่วม ให้ รฟม.ร่วมกรุงไทยพัฒนาระบบ EMV

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคมและโฆษกกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่สภาองค์กรของผู้บริโภคได้แถลงข่าวกรณีปัญหาราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายซึ่งถูกวิจารณ์ว่ามีราคาสูงเกินไป โดยเรียกร้องภาครัฐบริหารจัดการค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั้งระบบ และมีข้อเสนอแนะให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดใช้ระบบตั๋วร่วมของบริการขนส่งมวลชนทุกประเภท และการกำหนดค่าโดยสารสูงสุดต่อวันของขนส่งมวลชนทั้งระบบนั้น

กระทรวงคมนาคมขอชี้แจงว่า แนวทางที่สามารถคุมค่าโดยสารได้ คือการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้กับการบริการขนส่งสาธารณะทุกประเภทตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม เนื่องจากการใช้ระบบตั๋วร่วมในการเชื่อมต่อระบบจะไม่คิดค่าแรกเข้าจะทำให้ค่าโดยสารระบบรางถูกลงกว่า 30% ซึ่งขณะนี้กระทรวงฯ อยู่ระหว่างการเร่งรัดการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

1. การดำเนินงานระยะสั้น โดยการเร่งพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection : AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อทำให้บัตรโดยสารที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus บัตร MRT และบัตร Rabbit ให้สามารถใช้เดินทางข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) หรือใช้โดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (สายสีเขียว) และส่วนต่อขยายได้

และจะเป็นไปตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรุงเทพมหานคร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ให้สามารถใช้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus บัตร MRT และบัตร Rabbit เดินทางข้ามระบบกันได้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน และส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระบบสูงขึ้น

ปัจจุบันมีจำนวนผู้ถือบัตรแมงมุม จำนวน 0.2 ล้านใบ บัตร MRT Plus และบัตร MRT รวมจำนวน 2 ล้านใบ และบัตร Rabbit จำนวน 14.2 ล้านใบ ที่จะได้รับประโยชน์

ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้ได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยระยะแรกจะใช้ได้กับระบบรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันภายใต้การกำกับของ รฟม. รฟท. และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ก่อน (รถไฟฟ้า MRT รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) และในอนาคตจะดำเนินการขยายการให้บริการเพื่อให้ครอบคลุมทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง ระบบทางพิเศษ และเรือโดยสารต่อไป

2. การดำเนินงานระยะยาว ได้แก่ การเร่งพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Account Based Ticketing (ABT) ซึ่งเป็นการใช้บัตรผ่านระบบบัญชี โดยจะขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง ระบบทางพิเศษ และเรือโดยสาร

รฟม. และธนาคารกรุงไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบตั๋วร่วมด้วยการนำบัตรเครดิตชนิด EMV (Europay Mastercard and Visa) มาใช้เป็นตั๋วร่วมสำหรับระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นเพราะสามารถเดินทางก่อน แล้วชำระเงินภายหลังพร้อมรอบการชำระบัตรเครดิต

ซึ่งมีแผนงาน คือ
1. เริ่มทดลองนำมาใช้กับทางด่วนหรือทางพิเศษในบางเส้นทาง เช่น ทางด่วนกาญจนาภิเษก ทางด่วนอุดรรัถยา ทางด่วนศรีรัชวงแหวนรอบนอก เป็นต้น และจะขยายให้ครอบคลุมทางด่วนหรือทางพิเศษอื่นๆ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564

2. นำร่องเพื่อนำมาใช้กับระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ภายในเดือนมกราคม 2565

3. ปัจจุบันได้มีการใช้งานบนรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และมีแผนจะขยายให้ครอบคลุมรถโดยสารของเอกชนร่วมบริการต่อไป

4. เริ่มโครงการนำร่องเพื่อนำมาใช้กับเรือไฟฟ้าโดยสาร (MINE Smart Ferry)

X

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม จำนวน 2 คณะ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย มาตรการ หลักเกณฑ์ กลไกและแนวทางการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม รวมถึงโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียมในการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรม

ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีการออกตั๋วร่วม มาตรฐานเทคโนโลยีระบบงาน มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล มาตรฐานความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และมาตรฐานการดำเนินงานของระบบงาน

2) คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการจัดเก็บค่าธรรมเนียม มาตรฐานการจัดสรรรายได้ มาตรฐานอัตราค่าโดยสารในกรณีใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และกรอบมาตรฐานค่าธรรมเนียมการชำระเงินและการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการ

ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะเร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายสูงสุดในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 11:20 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า “สายสีน้ำตาล” ป่วน คอนโดใหม่ทับแนวศูนย์ซ่อม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 - 09:03 น.


Click on the image for full size

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลป่วน รฟม.วิ่งหาที่สร้างอู่จอด-ศูนย์ซ่อม จุดเดิม 33 ไร่ติดสถานีลำสาลี มีคอนโดฯ ใหม่ทุนฮ่องกง สร้างทับแนวก่อสร้างโปรเจ็กต์รัฐ เผยนักการเมืองดังเจ้าของแลนด์ลอร์ดชิงขายที่รับทำเลชุมทางรถไฟฟ้า รัฐต้องรื้อแบบอาจเจรจา “เจ้าสัวเจริญ” ใช้แลนด์แบงก์ย่านเกษตร-นวมินทร์

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 รับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี 22.1 กม. ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษา ล่าสุดอยู่ระหว่างพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน PPP

ไม่มีที่สร้างเดโป้
“ตอนนี้กำลังหาพื้นที่สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร หรือเดโป้ เดิมกำหนดที่ว่างเป็นสถานีลำสาลี 33 ไร่ ปรากฏว่าเจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบันขายต่อให้บริษัทอสังหาฯทำคอนโดฯเดอะ ลิฟวิ่ง รามคำแหง ทำให้แผนสร้างเดโป้มีปัญหา แต่ไม่มีใครผิด เพราะยังไม่มี พ.ร.ฎ.เวนคืน”

ล่าสุด สนข.และ รฟม.ยังไม่ได้หารือจะสร้างเดโป้บนที่ใหม่หรือที่เดิม หากเลือกที่เดิม รัฐต้องจ่ายค่าเวนคืนเพิ่ม เฉพาะเดโป้ 1,990 ล้านบาท หากเลือกที่ใหม่ โดยเจรจาเจ้าของที่ดินตามแนวเส้นทางเกษตร-นวมินทร์ที่ว่างอยู่หลายแปลงก็สามารถทำได้ เช่น ที่ข้างโรงเรียนสตรีวิทยา ที่ดินของ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี หรือไม่ก็ต้องปรับแนวใหม่สร้างต่อไปทางแยกนวมินทร์ แถวช็อกโกแลตวิลล์

“เดิมที่ปรึกษากำหนดให้สร้างเดโป้ 44.3 ไร่ ตรงจุดตัดทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ (มุ่งหน้าไปนวมินทร์อยู่ขวามือ) เวนคืน 4,000 ล้านบาท แต่เจ้าของโครงการ CDC มีแผนเตรียมที่ดิน 27 ไร่ให้ กทม.สร้างเดโป้สายสีเทาแล้ว จึงย้ายไปสถานีลำสาลีแทน”

ใช้เงินเวนคืน 7 พันล้าน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สายสีน้ำตาลเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เริ่มจากแยกแคราย ไปตามถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางด่วน แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ไปตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ ถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ข้ามคลองแสนแสบ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง ระยะทาง 22.10 กม. มี 20 สถานี

มีจุดเชื่อมรถไฟฟ้า 7 สาย ได้แก่ สีม่วง ชมพู แดง เขียว เทา ส้ม และเหลือง ซึ่งสถานีลำสาลีจะเป็นชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย ทั้งสีส้มมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ สีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง และสีน้ำตาลเกษตร แคราย

ทั้งโครงการต้องเวนคืน 7,228.72 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 79 ไร่ 6,115.29 ล้านบาท นอกนั้นเป็นอาคาร 268 หลัง วงเงิน 1,113.42 ล้านบาท เช่น 1.แนวเส้นทางรถไฟฟ้า 1,559.43 ล้านบาท มีที่ดิน 14 ไร่ วงเงิน 1,436.77 ล้านบาท อาคาร 54 หลัง วงเงิน 122.65 ล้านบาท 2.ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 2,406.55 ล้านบาท เป็นที่ดิน 33 ไร่เศษ วงเงิน 1,990.82 ล้านบาท อาคาร 80 หลัง วงเงิน 415.72 ล้านบาท และ 3.ทางขึ้น-ลงสถานี 3,262.73 ล้านบาท มีที่ดิน 28 ไร่เศษ วงเงิน 2,687.69 ล้านบาท อาคาร 134 หลัง วงเงิน 575.04 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

เปิด PPP 4.8 หมื่นล้าน
แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า รับทราบถึงปัญหาพื้นที่เดโป้สายสีน้ำตาลแล้ว รฟม.คงต้องรีวิวขนาดและตำแหน่งจากที่เดิมก่อน แม้พื้นที่บางส่วนเอกชนจะใช้สร้างคอนโดฯไปแล้ว ต้องดูว่ายังมีพื้นที่เหลือพอสร้างเดโป้หรือไม่

ถ้าไม่ได้ต้องหาที่ใหม่ และยังมีปัญหาประชาชนร้องปรับจุดขึ้นลงแต่ละสถานีด้วย คงพิจารณาในคราวเดียวหลังผ่าน EIA แล้ว ส่วนแนวผ่านหน้า ม.เกษตรศาสตร์ ได้ข้อยุติแล้ว โดยใช้บริเวณรั้วมหาวิทยาลัยแทน

“สายสีน้ำตาลลงทุน 48,386 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 7,257 ล้านบาท งานโยธา 20,564 ล้านบาท ระบบ 19,013 ล้านบาท ปีนี้ต้องจ้างที่ปรึกษาศึกษา PPP น่าจะเป็น net cost 30 ปี เหมือนสีชมพู เหลือง คาดขออนุมัติคณะรัฐมนตรีประมูลปี 2565”

ลำสาลีชุมทางรถไฟฟ้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณเดโป้และสถานีลำสาลี สายสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เป็นตึกแถวเก่า ขนาบข้างคอนโดมิเนียม “เดอะลิฟวิ่ง รามคำแหง” ที่อยู่ติดถนน ด้านหน้าเป็นสำนักงานโครงการ ซึ่งเป็นที่ดินแปลงลึกยาวติดคลองแสนแสบ มีเนื้อที่ 8 ไร่ เป็นคอนโดฯสูง 42 ชั้น 1,938 ยูนิต เปิดขายปีที่แล้ว ราคายูนิตละ 1.59 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 4,900 ล้านบาท พัฒนาโดย บจ.ริชแลนด์ (ประเทศไทย) ซึ่งกำลังล้อมรั้วก่อสร้าง


ถัดไปเป็นที่ว่างผืนใหญ่กำลังถมดิน ฝั่งตรงข้ามมีคอนโดฯ LPN รามคำแหง, แบงค็อก ฮอไรซอน รามคำแหง ส่วนแยกลำสาลีจุดสถานีสายสีเหลือง จะมีคอนโดฯหลายแบรนด์ เช่น ไอดีโอ, ไนท์บริดจ์ คอลลาจ ของออริจิ้นฯ

จับตาสายสีเขียว-สีส้ม
นอกจากสายสีน้ำตาลที่มีปัญหาแล้ว ขณะนี้ยังมีสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่เจรจากับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จบแล้ว รอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติขยายสัญญา 30 ปี ถึง 4 ธ.ค. 2602 ทั้งสายหลักและส่วนต่อขยาย

ค่าโดยสารจะเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 65 บาท โดย BTSC รับภาระเงินลงทุน หนี้ส่วนต่อขยาย ค่าเดินรถรวม 148,716 ล้านบาท แต่ติดที่กระทรวงคมนาคมให้ กทม.ชี้แจงข้อมูลเพิ่ม เช่น ค่าโดยสาร คดีจ้างเดินรถที่อยู่ใน ป.ป.ช. ขณะที่ BTSC ทำหนังสือทวงหนี้ค่าเดินรถกว่า 3 หมื่นล้าน ที่ค้างมานานกว่า 3 ปี โดยให้ กทม.ชำระหนี้ใน 60 วัน หรือวันที่ 1 เม.ย. 2564

ขณะที่ กทม.ออกประกาศเก็บค่าโดยสารใหม่ 15-104 บาทชั่วคราว ในระหว่างรออนุมัติสัมปทาน ขณะที่ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ยื่นศาลปกครองให้ กทม.ชะลอเก็บค่าโดยสารออกไปก่อน เพื่อลดภาระช่วงโควิด

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ล่าสุดได้เปิดใช้ฟรีสำหรับส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต จนกว่าสัมปทานจะได้รับอนุมัติ ถึงจะเก็บ 15-65 บาท พร้อมเจรจาลดเพดานลงมาอีก ตามนโยบายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ทบทวนโครงสร้างราคา ซึ่งขึ้นอยู่กับเอกชนคู่สัญญา


“หนี้ที่ BTS ยื่นโนติสให้จ่าย 60 วัน เรายังไม่มีจึงยังไม่จ่าย เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ขอสภา กทม.ดึงเงินสะสม 50,000 ล้านบาท มาจ่ายหนี้บางส่วน แต่สภาไม่อนุมัติ เพราะมีภารกิจด้านอื่น ๆ ที่ต้องใช้เงิน แต่ให้แนวทางให้สัมปทานเอกชนแทน ถ้าถึงเวลาแล้ว ครม.ไม่อนุมัติก็ต้องขอรัฐสนับสนุนเหมือนสายอื่น ๆ”

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สายสีส้ม บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ถึงประมูลไปแล้วก็ยังมีปัญหา เพราะต้องเปิดประมูลใหม่ หลัง รฟม.เปิด PPP net cost วงเงิน 128,218 ล้านบาท ก่อสร้าง จัดหาระบบรถ รับสัมปทานเดินรถตลอดสาย 30 ปี มียื่นซอง 2 ราย ได้แก่ กลุ่ม BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) แต่ รฟม.ยกเลิกประมูลหลังโครงการล่าช้ามาร่วม 3 เดือน หลังบีทีเอสยื่นฟ้องศาลกรณี รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะใหม่หลังปิดขายซองไปแล้ว จากเดิมพิจารณาคุณสมบัติ เทคนิค การเงินและข้อเสนออื่น ๆ เป็นเปิดซองเทคนิคพร้อมการเงินและพิจารณาคะแนนเทคนิคร่วมกับการเงินสัดส่วน 30 : 70

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า แจ้งยกเลิกประมูลและให้ BTS และ BEM มารับซองคืนแล้ว ส่วนการประมูลใหม่จะประกาศ TOR ในเดือน เม.ย.เป็นเกณฑ์ใหม่ พิจารณาซองเทคนิคและการเงินร่วมกันสัดส่วน 30 : 70 แต่ครั้งนี้จะกำหนดการให้คะแนนเทคนิคและการเงินไว้ชัดเจนมากขึ้น จะเปิดยื่นซองเดือน มิ.ย. และได้ผู้ชนะเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รฟม.รายงานยกเลิกประมูลสายสีส้มแล้ว เตรียมจะเปิดประมูลใหม่กลางปีนี้ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เพราะหากรอศาลจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี 2568-2569 โดยช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีสร้างคืบกว่า 76% พร้อมเปิดปลายปี 2567 เมื่อได้เอกชนแล้ว รฟม.จะปรับลดเวลาก่อสร้างสั้นลง แบ่งทยอยติดระบบอาณัติสัญญาณ จัดหาขบวนรถให้เร็วขึ้น เพื่อเปิดช่วงตะวันออกตามเป้า ไม่อยากให้ซ้ำรอยสายสีแดง

“เกณฑ์ประมูลอยู่ที่คณะกรรมการมาตรา 36 ร่าง TOR งานก่อสร้างช่วงตะวันตกผ่านสถานที่สำคัญ อาทิ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องระมัดระวัง แต่เชื่อว่าเปิดประมูลใหม่ ไม่กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน”

จากความเคลื่อนไหวของสายสีเขียวและสีส้ม รายงานข่าวแจ้งว่า หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลวันที่ 16-20 ก.พ.นี้ น่าจะมีความชัดเจนขึ้น สายสีเขียวอาจจะมีการพิจารณาที่ประชุม ครม. และเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท หรืออาจจะลดราคาได้อีกช่วงส่วนต่อขยาย สายสีส้มให้เปิดประมูลตามเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.ต้องการ จะมี BTS และ BEM ที่ยื่นประมูลรอบใหม่

รื้อประมูลสถานีบางซื่อ
อีกโครงการน่าจับตาคือการพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ จะเปิดเชิงพาณิชย์พร้อมสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ในเดือน พ.ย.นี้ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยกเลิก PPP แปลง A 32 ไร่ วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่ไม่มีเอกชนสนใจซื้อประมูล

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ให้ ร.ฟ.ท.เร่งหารายได้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ ร่วม 2,000 ไร่ แบ่งเป็น 9 แปลงย่อย ให้นำแปลงที่พร้อมเปิดประมูลให้เอกชนร่วม PPP ในปีนี้ รวมถึงพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทาง บมจ.ท่ากาศยานไทย (ทอท.) ทำการศึกษาให้เน้นหารายได้เชิงพาณิชย์ ได้แก่ ค่าเช่าร้านค้า ร้านอาหาร โฆษณา บริการที่จอดรถ ในต้นเดือน มิ.ย.นี้จะเปิดประมูล PPP พัฒนาเชิงพาณิชย์ และได้เอกชนมาบริหารพื้นที่ในเดือน ก.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 11:23 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมเร่งตั๋วร่วม ตัดค่าแรกเข้าลดราคา 30% นำร่อง “น้ำเงิน-ม่วง” ใช้ต้นปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:51 น.
ปรับปรุง: 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:51 น.



ระบบตั๋วร่วม 14 ปีไปไม่ถึงไหน
คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 - 18:47 น.




ระบบตั๋วร่วม ถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง หลังนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะผลักดันตั๋วรถไฟฟ้าหลากสี ตามแนวคิด common ticketing system ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการ แนวทางการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่พงมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่กระทรวงคมนาคมเสนอตั้งแต่ 7 พ.ย. 2549 หรือเมื่อ 14 ปีก่อน แต่ถูกเก็บใส่ลิ้นชักมานาน

ครั้งนี้แม้ไม่มีหลักประกันว่าจะทำได้สำเร็จ แต่เจ้ากระทรวงหูกวางประกาศชัด จะนำระบบตั๋วร่วมมาใช้กับบริการขนส่งสาธารณะทุกประเทศ ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ เรือโดยสาร ฯลฯ โดยเฟสแรกภายในสิ้นปีนี้จะนำร่องใช้กับรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

รมว.คมนาคมระบุว่า การนำตั๋วร่วมมาใช้จะสามารถควบคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการทุกระบบได้ แม้ปัจจุบันบางระบบไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของคมนาคม อย่างไรก็ตาม จะนำตั๋วร่วมมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่าค่าบริการขนส่งระบบรางในปัจจุบันสูงเกินไป

จุดประกายความหวังนำระบบตั๋วร่วมมาช่วยบรรเทาภาระคนกรุง ท่ามกลางประเด็นร้อนปมปัญหาการต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กับกลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ผู้ได้รับสัมปทานและรับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ ครม.ให้ กทม.นำกลับไปทบทวน หลังคมนาคมท้วงติง


ถมถูกเบรกซ้ำไม่ให้ปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารตามที่ กทม.เสนอ จากสูงสุด 65 บาท เป็น 104 บาท ตั้งแต่ 16 ก.พ. 2564 แม้จริง ๆ แล้วนอกจากรถไฟฟ้าส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของคมนาคม อย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบางซื่อ-หัวลำโพง, บางซื่อ-ท่าพระ, หัวลำโพง-บางแค สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ กับรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่จะเปิดประมูลใหม่ อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดง, ชมพู, เหลือง ฯลฯ โอกาสที่จะได้ใช้ตั๋วร่วมกับระบบอื่นอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม.ยังลูกผีลูกคน ต้องเคลียร์ทั้งปมขัดแย้งและประสานประโยชน์ให้ลงตัว


ปัญหาไม่ได้มีแค่รถไฟฟ้าต่างระบบ ผู้รับผิดชอบดูแลต่างหน่วยงานเท่านั้น แต่ปมใหญ่อยู่ที่การแบ่งปันผลประโยชน์ รายได้ ระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคเอกชน และเอกชนกับเอกชนที่เข้ามาร่วมลงทุน ทั้งรับสัมปทานโครงการ รับสัมปทานเดินรถ รับจ้างเดินรถ ฯลฯ

ทำให้การเจรจาต่อรองหาข้อสรุปให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะเอกชน หากไม่ถอยคนละก้าว ระบบตั๋วร่วม บัตรโดยสารอัจฉริยะคงเป็นได้แค่ฝัน ทั้งที่น่าจะทำให้เป็นจริงตั้งแต่ปีมะโว้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 230, 231, 232 ... 277, 278, 279  Next
Page 231 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©