Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180280
ทั้งหมด:13491514
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 12:11 am    Post subject: Reply with quote

มี.ค.นี้ รฟม.เล็งเปิดประมูล "สายสีส้ม" รอบ 2

หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project

วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 12:30 น.

รฟม.เคลียร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดเปิดประมูล มี.ค.นี้ ล่าสุดกลับลำรอศาลปกครองไต่สวนไม่ไหว สั่งล้มประมูลยึดเกณฑ์ใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มว่า กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ชะลอการประมูลโครงการฯนั้น หากกระบวนการไต่สวนของศาลปกครองสูงสุดแล้วเสร็จ หลังจากนั้นใช้เวลาพิจารณาข้อเสนอของเอกชนทั้ง 2 ราย ประกอบด้วย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC คาดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้จะได้ผู้ชนะการประมูล และยืนยันว่าจะเปิดให้บริการตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะใช้ระยะเวลาน้อยกว่าที่คาด ทั้งนี้หลังจากได้ผู้ชนะการประมูลเราจะเจรจากับเอกชนผู้ชนะการประมูลโดยยึดอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท เพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น


นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานกรรมการคัดเลือกฯ มาตรา 36 กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบยกเลิกประมูลโครงการนี้หลังจากเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอเมื่อปลายปี 2563 เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในศาล และมีเวลาพิจารณานานเกินกว่าที่ รฟม.ประเมินไว้ ซึ่งหากรอการพิจารณาต่อไปอาจกระทบการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม “คณะกรรมการฯ พิจารณาเพียงว่าการล้มประมูลไปก่อนจะดีกว่า เพราะเริ่มประกวดราคาใหม่จะใช้เวลาไม่มาก เมื่อเทียบกับการรอพิจารณาตามกระบวนการศาล และ รฟม.ไม่อยากให้ภาพรวมโครงการต้องสะดุด” รายงานข่าวจากรฟม. ระบุว่า ขณะนี้จะเร่งออกประกาศยกเลิกการประมูลทันทีเพื่อเริ่มประมูลใหม่ โดยจากการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นกำหนดใช้หลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.ประกาศใช้สำหรับโครงการนี้ และเป็นหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับข้อดีและข้อเสียของการยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดังนี้ ข้อดี-รฟม.สามารถร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จได้กรณียกเลิกการคัดเลือกภายใน 6 - 8 เดือน-เริ่มกระบวนการ ลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดจากการดูแลบำรุงรักษา -เริ่มการคัดเลือกใหม่โครงสร้างโยธาส่วนตะวันออกที่แล้วเสร็จ-ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยอาจจะสามารถเจรจาให้ผู้ชนะการคัดเลือกเร่งรัดการดำเนินการงานได้อีก- สร้างความเชื่อมั่นของเอกชนในการร่วมลงทุนกับโครงการของรัฐ - ลดความเสียทางคดีที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถถอนอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับตามเกณฑ์การประเมินใหม่ในชั้นศาลปกครองสูงสุดและขอยุติคดีหรือจำหน่ายคดีหลักในชั้นศาลปกครองกลางได้ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการคัดเลือกใหม่- เกิตความชัตเจนในการดำเนินงานของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯเนื่องจากได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบก่อนการดำเนินการแล้ว- ลดความเสี่ยงในการถูกร้องเรียน หรือการตัตดานในกระบวนการคัตเลือกและเสนอผลคัดเลือก ส่วนข้อเสีย-การยกเลิกการคัดเลือกทำให้ รฟม.ต้องทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเปิดขายเอกสารประกวดราคาอีกครั้ง ทั้งนี้การยกเลิกประมูลโครงการฯ ถือเป็นแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและดีที่สุด สามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้โดยเร็วตามเป้าหมาย

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยแก้ปมสายสีส้มใน 45 วัน
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10:24 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 มีมติยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี หลังจากที่รอผลความคืบหน้าคดีข้อพิพาทมาแล้วระยะหนึ่ง แต่คดียังไม่สิ้นสุด ดังนั้นเพื่อไม่ทำให้ผลของคดี ล่าช้า กระทบไปทั้งโครงการ จึงได้ยกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นทางออกที่ดีที่สุด และจะไม่มีผลเชื่อมโยงกับคดีพิพาทที่อยู่ระหว่างรอคำพิพากษาของศาล เนื่องจากในเอกสารเชิญชวน รฟม.มีการสงวนสิทธิ์การยกเลิกไว้อยู่แล้ว หลังจากนี้ รฟม.จะเร่งยกร่างเอกสารเชิญชวนใหม่ ก่อนนำออกประกาศให้เอกชนที่สนใจทราบ ภายใน 45 วัน ก่อนเสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณาอีกครั้ง


นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการเสวนา “ค่าโดยสารรถไฟฟ้าหลากสี กับราคาที่ประชาชนต้องแบกรับ” ว่า รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาค่ารถไฟฟ้าโดยเร็ว เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีค่าโดยสารแพงแล้วในอนาคตเมื่อมีการเปิดบริการรถไฟฟ้าเส้นใหม่ใน 1-2 ปีข้างหน้า เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ก็จะเกิดปัญหาการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนอีกครั้ง


“การทำสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐและเอกชนที่แตกต่างกันของรถไฟฟ้าเส้นเก่าและรถไฟฟ้าสายใหม่ เช่น กรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มีการเก็บค่าแรกเข้า 16 บาท เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานในอดีต แต่รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่กำลังจะเปิดให้บริการและสายสีชมพูมีการกำหนดในสัญญาสัมปทานว่าเอกชนต้องยกเว้นค่าแรกเข้าหากเป็นการป้อนผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าเส้นอื่นเข้าสู่ระบบ ขณะที่เอกชนผู้ให้บริการเดินรถสองเส้นทางนี้เป็นคนละรายกัน ปัญหาจึงได้ตามมาชัดเจนเนื่องจากรถไฟฟ้า 2 เส้นนี้มีการเชื่อมต่อกันเช่น ที่ 4 แยกรัชดาฯ ตัดถนนลาดพร้าว เป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้คู่สัมปทาน 2 รายยกเว้นค่าแรกเข้าเหมือนกัน ซึ่งรัฐบาลต้องเจรจาให้ได้ข้อยุติ”

ทีดีอาร์ไออยากขอให้ภาครัฐเจรจากับเอกชนใน 2-3 ประเด็น เช่นให้ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารายเก่า และทั้งระบบยกเว้นไม่เก็บค่าแรกเข้า และมีการจัดทำราคาเพดานสูงสุด ฯลฯ เพื่อให้ประชาชน ได้ใช้รถไฟฟ้าอย่างมีความสุข ผ่านการเดินทางจากบ้านที่อยู่อาศัยไปยังที่ทำงานโดยใช้รถไฟฟ้าเดินทางเพียงสายเดียว.


Last edited by Wisarut on 06/02/2021 1:12 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 12:13 am    Post subject: Reply with quote

ล้มประมูล 1.4 แสนล้าน เพราะประโยชน์ไม่ลงตัว?
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:05 น.
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3651 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ กันทั้งปฐพี เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.42 แสนล้านบาท ที่มี นายกิตติกร ตัณเปาว์ รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธาน จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่ง วิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า อัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ประสิทธิ์ ศิริภากรณ์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด กนกรัตน์ ขุนทอง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และ กาจผจญ อุดมธรรมภักดี ผอ.ฝ่ายพัฒนาโครงการ มีมติให้ “ยกเลิกการประมูล” รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และดำเนินการ “เปิดประมูลใหม่”
“กิตติกร” บอกว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ไป คณะกรรมการมาตรา 36 จะรายงานให้คณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับทราบและพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2562 และพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่าง รฟม. และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC รวมทั้งให้รฟม.เริ่มกระบวนการเปิดประมูลใหม่ และนำเสนอรายละเอียดให้คณะกรรมการคัดเลือกฯพิจารณาต่อไป
โครงการรถไฟสายสีส้มนี้ถือเป็นไข่แดงของระบบการเดินทางในเมืองหลวงที่ จะเชื่อมต่อจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-ราชดำเนิน-บางขุนนนท์
การล้มการประมูลแล้วดำเนินการประมูลใหม่ของคณะกรรมการตามมาตรา 36 นั้น เป็นเพราะ “คณะกรรมการ มาตรา 36” ไปแก้หลักเกณฑ์การประมูลใหม่ ที่ไม่ยึดหลักข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนที่ยึดเอาการที่รัฐได้ผลประโยชน์สูสุดคือมีการขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันตํ่าที่สุดมาเป็นตัวตั้ง แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงหักการนี้กลางอากาศ และให้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาของคระกรรมการ มาตรา 36 อีก 10 คะแนน หลังจากที่ขายซองประมูลไปให้กับเอกชน 10 ราย จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง และยื่นฎีการ้องทุกข์ต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อขอความเป็นธรรม



หลักเกณฑ์ใหม่ที่แก้ไขนั้นคือ จะนำซองเทคนิค (ซอง 2) และซองราคา (ซอง 3) มาพิจารณาให้คะแนนร่วมกัน ต่างจากหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้วิธีพิจารณาซองเทคนิคก่อน หากผ่านซองเทคนิคจึงจะเปิดซองราคา และการพิจารณาซองราคาที่มีน้ำหนักในการให้คะแนน 70 นั้นจะแบ่งออกเป็นการให้คะแนนขอกรับเงินจากรัฐตํ่าสุดแค่ 60 คะแนน อีก 10 คะแนนจะดูวามเหามะสม ความเป็นไปได้ ถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการเหนือราคาที่เรียกร้องจากรัฐ
เหนือกว่านั้น “มติการล้มการประมูล” เกิดขึ้นสวนทางคำสั่งศาลปกครองกลางที่พิจารณาและมีคำตัดสินทุเลาคำร้องของเอกชน ซึ่งก็คือกลุ่ม บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดยศาลปกครอง ระบุว่า
“เมื่อพิจารณาตามมาตรา 38 ของพรบ.ร่วมทุนฯแล้ว ก็มิได้บัญญัติให้อำนาจผู้ถูกฟ้องแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกแต่อย่างใด และการที่คณะกรรมการมาตรา 36 ที่เป็นถูกฟ้องอ้างว่า มีอำนาจพิจารณาดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนของโครงการร่วมทุนตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 38 (7) ศาลปกครองเห็นว่า อำนาจดังกล่าวเป็นเพียงการพิจารณาดำเนินการอื่นๆ ในส่วนที่มิใช่เป็นสาระสำคัญ”
โดยคณะกรรมการมาตรา 36 พลิกเกมไปใช้อำนาจตามหนังสือชี้เชิญการลงทุนในเงื่อนไชและหลักการเดืมที่ขายซองให้เอกชนไปแล้ว “ยํ้าว่าเงื่อนไขเดิมก่อนแก้ไขใหม่” ในข้อ 12 มาเป็นเหตุผลในการล้มการประมูล ประกาศหนังสือเชิญชวนดังกล่าวนั้น ลงนามโดย “ภัคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่า รฟม. ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ซึ่งระบุว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกาศเชิญชวน
12. การสงวนสิทธิ์ รฟม. สงวนสิทธิ์ ดังนี้
12.1 สงวนสิทธิ์ตามดุลพินิจที่จะยกเลิกการประกาศเชิญชวนข้อเสนอ หรือยกเลิกการคัดเลือก โดยไม่พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเลยหรือจะไม่คัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอผลประโยชน์สุทธิที่สูงสุดก็ได้ โดยที่ผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ จาก รฟม. ได้
12.2 สงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงลด หรือขยายระยะเวลาของการคัดเลือกตามประกาศเชิญชวนข้อเสนอฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ รฟม. และมติของคณะรัฐมนตรี
12.3 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ. 2562 มีสิทธิที่จะเจรจาต่อรองกับผู้ยื่นข้อเสนอที่ชนะการคัดเลือกเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ
12.4 สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข และ/หรือ เพิ่มเติมรายละเอียดในร่างสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอและผลการเจรจาต่อรองระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกตาม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 กับผู้ยื่นข้อเสนอรวมทั้งความเห็นและผลการตรวจพิจารณาร่างสัญญา (ถ้ามี) จากสํานักงานอัยการสูงสุดและ มติคณะรัฐมนตรี
โครงการนี้ จึงมีการป้องปากซุบซิบกันว่า “คนการเมือง” ร่วมรัฐบาลด้วยกัน มีการแบ่งผลประโยชน์กันไม่ลงตัว จึงมีการ “จับประชาชน” ที่จะได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรจากเงินลงทุนที่มาจากภาษีประชาชนเป็นตัวประกัน
วงการธุรกิจก่อสร้าง และข้าราชการในกระทรวงคมนาคมป้องปากซุบซิบกันว่า โครงการนี้เงินลงทุน 1.42 แสนล้านบาท นั้นแยกเป็นงานโยธาและการก่อสร้างราว 9.6 หมื่นล้านบาท -1 แสนล้านบาท งานระบบการเดินรถและงานเวณคืนประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาทนั้น “บรรดามืออาชีพทางวิศกรรมและการบริหารเงินบอกว่าถ้าทำดีๆ จะมีส่วนส่วนต่างของการควบคุมต้นทุนเพื่อสร้างกำไรอยู่ประมาณ 1-1.5 หมื่นล้านบาท”
แปลเป็นไทยว่า ถ้ามีคนเสนอราคาตํ่ากว่าราคากลาง 1 แสนล้านบาท ก็ย่อมทำได้ แต่เมื่อไปเพิ่มวิธีการคัดเลือการนำคะแนนเทคนิกและราคามารวมกัน แถมบวกด้วย “ดุลพินิจ” ของคณะกรรมการมาตรา 36 อาจทำให้คนที่เสนอราคาขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตํ่าที่สุดอาจไม่ใช่ผู้ชนะงานนี้ก็เป็นไปได้...
ผมไม่ทราบว่า ทุกท่าน รวมถึงนายกฯ ลุงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามทันวิธีคิดเขาหรือไม่ แต่เขาพูดกันเยี่ยงนี้จริงๆ ครับ
คำถามคือ คณะกรรมการมีอำนาจในการล้มการประมูลหรือไม่ และถ้าล้มการประมูลไปจะมีการกำหนดเงื่อนไขอย่างไรเพื่อรักษาประโยชน์ประเทศชาติ ประชาชน ให้ดีที่สุด
แต่เมื่อได้ฟังคำชี้แจงจาก คุณภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า รฟม.จะเริ่มต้นกระบวนการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รอบใหม่ ทันทีหลังคณะกรรมการคัดเลือกฯมีมติยกเลิกการประมูลในวันนี้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 1-2 เดือน เนื่องจากต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนในการร่างทีโออาร์ใหม่ เช่น เกณฑ์การพิจารณาคะแนนเทคนิค เป็นต้น

ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ชนะประมูลนั้น จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ คือ จะนำซองเทคนิค (ซอง 2) และซองราคา (ซอง 3) มาพิจารณาให้คะแนนร่วมกัน ต่างจากหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้วิธีพิจารณาซองเทคนิคก่อน หากผ่านซองเทคนิคจึงจะเปิดซองราคา
แปลว่า ล้มการประมูลในรอบที่แล้ว เพราะเอกชนร้องศาลปกครองและคัดค้านในเรื่องหลักเกณฑ์การประมูลที่ปรับปรุงใหม่ อันอาจจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเสนอราคาขอรับเงินจากรัฐในราคาตํ่าสุดแล้ว ทำการเปิดประมูลใหม่โดยใช้เงื่อนไขที่เอกชนคัดค้านนั่นแหละมากำหนดเป็น ทีโออาร์ใหม่ แล้วเปิดขายซองประมูลราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม....ผมละมึน
ผมไม่รู้ว่าทุกคนจะคิดอย่างไร แต่ผมว่าพิลึกเอามากๆ
พิลึกแรก เอกชนเขาค้านว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลังจากการขายซองไปแล้วนั้น ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ในเรื่องราคา และการดุลยพินิจ
พิลึกที่สอง เอกชนเขาร้องต่อศาลของทุเลา ศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งทุเลาว่า “เมื่อพิจารณาตามมาตรา 38 ของพรบ.ร่วมทุนฯแล้ว ก็มิได้บัญญัติให้อำนาจผู้ถูกฟ้องแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกแต่อย่างใด และการที่คณะกรรมการมาตรา 36 ที่เป็นถูกฟ้องอ้างว่า มีอำนาจพิจารณาดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนของโครงการร่วมทุนตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 38 (7) ศาลปกครองเห็นว่า อำนาจดังกล่าวเป็นเพียงการพิจารณาดำเนินการอื่นๆในส่วนที่มิใช่เป็นสาระสำคัญ” แต่ยังไม่ทันประมูลคณะกรรมการก็ล้มประมูล ก่อนที่ศาลจะตัดสิน เรียกว่าใช้อำนาจทางบริหารก่อนที่ศาลจะตัดสิน
พิลึกต่อมา คือ ไม่ว่าถูกว่าผิด อั๊วจะใช้วิธีประมูลแบบนี้ ส่วนเรื่องการฟ้องร้องคดีต่างๆ ก็ต้องเป็นหมันล้มไป เพราะฟ้องในหลักการเดิม...เงื่อนไขเดิม แต่นี้คือการประมูลใหม่..
เอาละไม่ว่าโครงการนี้จะเป็นเช่นไร หมูจะหามใครอย่าเอาคานมาสอด
ผมพามาดูหนังสือคัดค้านของผู้แทนจากสำนักงบประมาณ ที่ทำเรื่องคัดค้านการแก้ไขหลักเกณฑ์ทีโออาร์ภายหลังการซอง เพื่อประมูลโครงการ ต้องบอกว่าเธอกล้าหาญชาญชัยในการแสดงความคิดเห็นไว้จริงๆ ครับ
เรียน ประธานกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๒ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
“สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วม ลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๒ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ดิฉัน นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง กรรมการผู้แทนสํานักงบประมาณใน คณะกรรมการคัดเลือกฯได้กล่าวถึงประเด็นที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) นําเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้า แห่งประเทศไทยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการดําเนินโครงการ
โดยในรายละเอียดหนังสือ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค ๐๘๒๐.๑/๔๕๙๙ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒ (หน้า ๖ และ๗ หัวข้อ ๔.๖ รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนและหน้าที่ของรัฐและเอกชน) ได้กําหนดหลักการ ประเมินข้อเสนอการคัดเลือกเอกชนไว้ว่า “ผู้ยื่นข้อเสนอที่ขอรับเงินสนับสนุนรวมทั้ง ๒ ส่วนจากภาครัฐเมื่อคิดเป็น (มูลค่าปัจจุบัน (NPV) ต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการคัดเลือก” ซึ่งข้อความดังกล่าวมีเจตนาให้ประเมินข้อเสนอโดยใช้มูลค่า ปัจจุบัน (NPV) ที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐสูงสุดในการประเมินผู้ชนะการคัดเลือก
เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ (นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี) ได้ชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่ได้เป็นมติคณะกรรมการ PPP แต่เป็นการประมวล สาระสําคัญเพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการ PPP และคณะกรรมการคัดเลือกบางท่านมีความเห็นว่า การ กําหนดหลักเกณฑ์การประเมิน ข้อเสนอเพื่อคัดเลือกเอกชนเป็นอํานาจหน้าที่และดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกฯ นั้น
ดิฉัน นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง กรรมการผู้แทนสํานักงบประมาณขอยืนยันความเห็นว่า หลักการประเมินข้อเสนอการคัดเลือกเอกชนที่กล่าวไว้ในหนังสือคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน ที่ กค ๐๘๒๐.๑/๔๕๙๙ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นส่วนหนึ่งของหลักการที่คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติไว้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ เนื่องจากหลักการดังกล่าวเป็นไปตามผลการศึกษาและวิเคราะห์ โครงการฯที่การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้นําเสนอคณะกรรมการ PPP เมื่อคราวขออนุมัติการดําเนิน โครงการต่อคณะกรรมการ PPP และประเด็นดังกล่าวเป็นสาระสําคัญจึงได้มีการนําเสนอไว้ในหนังสือ คณะกรรมการ PPP ในการขออนุมัติโครงการต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติจากการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ อนุมัติการดําเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามที่ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ
ดังนั้น หากคณะกรรมการคัดเลือกฯจะปรับปรุง หลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนที่แตกต่างไปจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้ ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณแผ่นดิน “คณะกรรมการคัดเลือกฯจะต้องนําเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา อนุมัติการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวก่อน จึงจะดําเนินการได้”
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ ลงชื่อ นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ผู้แทนสํานักงบประมาณในคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.๒๕๖๒ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ประเทศนี้ต้องการคนแบบเธอครับ!


“ดร.มานะ”เตือนอย่าเอาผลประโยชน์ชาติเป็นเกมล้ม“รถไฟสายสีส้ม
หน้า Politics /
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:39 น.

“องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน”ย้ำอย่าเอาผลประโยชน์ชาติมาเป็นเกม “ล้มประมูลรถไฟสายสีส้ม” ขอส.ส.-ผู้มีอำนาจทำสิ่งที่ถูกต้องเห็นผลประโยชน์ชาติเป็นสำคัญ

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์การต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวผ่านรายการ “เนชั่นทันข่าวเช้า” ถึงกรณียกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่า ในอดีตที่ผ่านมาโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้าน ไม่เคยพบว่ามีพฤติการณ์แบบนี้ให้เห็นมาก่อน รวมถึงการแก้ไขทีโออาร์ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการประมูล ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากเปิดขายซองประมูลไปแล้ว ประเด็นเหล่านี้สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับประชาชน
ADVERTISEMENT

ดร.มานะ กล่าวว่า แม้เรื่องนี้รัฐมนตรีคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ จะออกมาระบุว่า เป็นอำนาจของคณะกรรมการคัดเลือก ม.36 ที่สามารถยกเลิกการประมูลได้ แต่ปัญหาที่เราพบเจอ ผู้มีอำนาจมักใช้อำนาจแบบมีประเด็นซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่ ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัย อย่างไรก็ตาม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นสมบัติของประชาชน ไม่ใช่สมบัติของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่สมบัติของพรรคใด หากจะทำอะไรต้องรักษากติกาประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของคนไทย เชื่อว่าหากประมูลอย่างตรงไปตรงมา ให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะมีอีกมาก และจะประหยัดงบประมาณได้เป็นหมื่นล้าน เงินเหล่านี้สามารถนำไปซื้อวัคซีนโควิด หรือนำเงินไปเยียวยาประชาชนได้ ดังนั้น เราทุกคนคนไทยต้องช่วยกันส่งเสียงท้วงติง เพื่อศักดิ์ศรีของประเทศ ส่วนคนที่เป็น ส.ส. อยากให้คำนึงว่าตนเป็นผู้แทนของประชาชน ต้องช่วยกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง


เมื่อถามว่าหากสุดท้ายจบที่มีการแบ่งเค้กกัน คือต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวแลกกับการยกเลิกประมูลรถไฟสายสีส้ม ดร.มานะ กล่าวว่า ต้องรู้สึกสึกเสียใจ เพราะหากเป็นเชื่นนั้นจริงจะถือเป็นบาปกรรมที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองอย่างไรก็ตาม ยังหวังว่าการประมูลที่จะเกิดขึ้นในโครงการต่อๆ ไปจะโปร่งใสและเกิดประโยชน์กับประเทศกันอย่างแท้จริง ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 1:13 am    Post subject: Reply with quote

เปิดไทม์ไลน์ประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” หลัง รฟม.ออกประกาศล้มประมูล
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:14 น.


รฟม.เผยไทม์ไลน์รื้อเกณฑ์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุดสั่งล้มเดินหน้าออกปะกาศล้มประมูลโครงการฯ เหตุไม่รอศาลปกครองตัดสินคดี คาดใช้เวลานาน

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการฯ) ในการพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ดังนี้


1) รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และได้ขายซองเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ระหว่างวันที่ 10 – 24 กรกฎาคม 2563 โดยมีผู้สนใจซื้อซองเอกสาร RFP รวม 10 ราย ต่อมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 รฟม. ได้นำส่งเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) ให้เอกชนผู้ซื้อซองเอกสาร RFP ทุกราย แจ้งปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอจากรูปแบบเดิมที่พิจารณาซองเทคนิคและซองการลงทุนและผลตอบแทนแยกจากกัน (เกณฑ์การประเมินเดิม) เป็นวิธีการประเมินโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (เกณฑ์การประเมินใหม่) พร้อมทั้งขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 2) เอกชนผู้ซื้อซองเอกสาร RFP รายหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 และได้ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์การประเมินใหม่ ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2563 โดยสรุปให้ทุเลาการบังคับตามเกณฑ์การประเมินใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ รฟม. และคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันยื่นคำอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 โดยสรุปขอให้ศาลมีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น พร้อมยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดี และคำขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลปกครองชั้นต้น




3) ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นกำหนดวันรับซองเอกสารข้อเสนอ มีเอกชนยื่นซองเอกสารข้อเสนอฯ รวม 2 ราย ทั้งนี้ก่อนถึงกำหนดเปิดซองเอกสารข้อเสนอในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 รฟม. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือถึงเอกชนผู้ยื่นซองเอกสารข้อเสนอทั้ง 2 ราย แจ้งเลื่อนกำหนดเปิดซองเอกสารข้อเสนอจากกำหนดเดิมออกไปก่อน จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นประการใด อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ในระยะเวลา 1 เดือน คณะกรรมการฯ ได้มอบให้ รฟม. จัดเตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป 4) ในการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมการฯ และ รฟม. ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ โดยประเมินกรอบระยะเวลาดำเนินการ ผลกระทบ รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย อย่างรอบด้านแล้ว มีความเห็นโดยสรุปว่า จนถึงปัจจุบันระยะเวลาได้ล่วงเลยมามากแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าและข้อสรุปทางคดี ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานออกไป ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ จนแล้วเสร็จที่ชัดเจนได้ ประกอบกับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย มีอายุ 270 นับจากวันยื่นซองข้อเสนอ หากยังคงรอข้อสรุปทางด้านคดีก่อนแล้วจึงดำเนินการคัดเลือกต่อไป อาจส่งผลให้ซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย ดังกล่าว สิ้นอายุลงก่อนที่กระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ จะแล้วเสร็จ ซึ่งอาจนำไปสู่การยกเลิกการคัดเลือกและเริ่มการคัดเลือกเอกชนฯ ใหม่ ในภายหลัง จึงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ล้วนส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
ขณะที่กรณียกเลิกการคัดเลือกและเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ ใหม่ จะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6 – 8 เดือน กรอบระยะเวลาดำเนินการมีความชัดเจน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าว โดยมอบให้ รฟม. พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 5) รฟม. ได้ออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามประกาศดังกล่าว โดยติดประกาศ ณ ที่ทำการ รฟม. และเผยแพร่ทางหน้าเว็บไซต์ www.mrta.co.th เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 แล้ว ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 1:31 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กบีทีเอส” จ่อฟ้อง รฟม.ทำเสียโอกาสประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์

วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:18 น.

“บิ๊กบีทึเอส” มอบทนายบริษัทศึกษาข้อกฎหมาย ผลกระทบ ฟ้องกลับ รฟม.ล้มประมูลสายสีส้ม 1.28 แสนล้าน ทำให้เสียโอกาส เวลา จับตาทีโออาร์ใหม่ ใช้เกณฑ์เก่า หรือเกณฑ์ใหม่ เปิดแข่งขันเป็นธรรมแค่ไหน ก่อนตัดสินใจยื่น/ไม่ยื่นซอง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทรอหนังสือแจ้งยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง “บางขุนนนท์-มีนบุรี” อย่างเป็นทางการจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 มีมติให้ยกเลิกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564

“รอดูเหตุผลที่ยกเลิกว่าเพราะอะไร และจะใช้หลักเกณฑ์ไหนในการพิจารณาผู้ชนะประมูล ทั้งนี้บริษัทไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว หาก รฟม.จะเปิดซองเทคนิกและข้อเสนอการเงินพร้อมกัน และนำคะแนนเทคนิก 30% พิจารณาร่วมพร้อมกับข้อเสนอการเงิน 70% ขอดูทีโออาร์ที่ รฟม.จะออกมาใหม่ เปิดกว้าง ให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือไม่ ถ้าเปิดกว้าง เราพร้อมเข้าประมูล”

อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้ฝ่ายกฎหมายของบริษัทตรวจสอบว่าการล้มประมูลในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทหรือไม่ เนื่องจากเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจและเสียเวลา

รวมถึงดูว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดกับข้อกฎหมาย และคดีที่มีการยื่นอุทธรณ์ต่อกันเรื่องการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลใหม่ที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบีทีเอส ให้ รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิมประมูล คือเปิดพิจารณาทีละซอง ด้านคุณสมบัติ เทคนิก การเงินและข้อเสนออื่น ๆ เพิ่มเติม แต่ รฟม.ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลาง มีการไต่สวนเสร็จแล้ว เหลือเพียงรอศาลนัดฟังคำวินิจฉัย แต่คณะกรรมการคัดเลือกได้ยกเลิกประมูลก่อน


สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทาง รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP net cost 30 ปี


เงินลงทุน 128,128 ล้านบาท ก่อสร้างช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ” กับจัดหาระบบ ขบวนรถไฟฟ้า แลกกับการรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย โดย รฟม.ออกค่าเวนคืน 14,621 ล้านบาท สนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท

โดยเปิดยื่นซองเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 มีผู้ยื่นข้อเสนอ 2 กลุ่ม ได้แก่
1.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ
2.กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น โดยทั้ง 2 กลุ่ม ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิก การเงิน และข้อเสนออื่น ๆ เพิ่มเติม

ปัจจุบัน รฟม.กำลังก่อสร้างช่างศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีความคืบหน้างานก่อสร้างกว่า 74% ตามแผนจะเปิดบริการในปี 2567 ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม จะเปิดบริการในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“บิ๊กบีทีเอส” จ่อฟ้อง รฟม.ทำเสียโอกาสประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์


ล้มสายสีส้ม จบที่ครม.-ศาล ยึดเกณฑ์เทคนิค+ราคา บีทีเอสจ่อฟ้องอีกรอบ
หน้า เศรษฐกิจมหภาค /

ออนไลน์เมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 02:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,651 วันที่ 7 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ล้มสายสีส้ม จบที่ครม.-ศาล ยึดเกณฑ์เทคนิค+ราคา บีทีเอสจ่อฟ้องอีกรอบ
รฟม.-คณะกรรมการคัดเลือก มาตรา 36 เอื้อสุดลิ่ม ชิงล้มประมูลสายสีส้ม มูลค่า 1.4 แสนล้าน ไม่สนผู้แทนจากสำนักงบค้าน เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทีโออาร์ เรื่องใหญ่ต้องเข้าครม. ด้านบีทีเอส รอคำสั่งศาลก่อนฟ้องอีกรอบ

มติคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มี นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธาน พิจารณา วาระด่วน ยกเลิกการประมูลสายสีส้มระยะทาง35.9กิโลเมตร มูลค่า 1.42 แสนล้านบาท ออกไป โดยไม่รอคำสั่งศาลปกครอง เมื่อวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมาที่ประชุม ให้เหตุผลว่าเนื่องจากยังไม่มีความคืบหน้าทางคดีหากรอการตัดสินโดยไม่ทราบเวลาแน่นอน อาจส่งผลให้ การดำเนินโครงการสายสีส้มเกิดความล่าช้า จึงเป็นที่มาของการล้มประมูล แบบสายฟ้าฟาด ซึ่ง หลายคนไม่คาดคิดว่าผลจะออกมาในลักษณะเช่นนี้ ตัดหน้าศาลล้มสายสีส้ม ทั้งนี้ นักวิชาการมีการตั้งข้อสังเกตว่า การล้มประมูลครั้งนี้ อาจเป็นเพราะคณะกรรมการฯ ทราบล่วงหน้าว่าศาลปกครองใกล้ พิจารณาคดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูล แล้วเสร็จในเร็วนี้ ซึ่งศาลอาจให้ยึดเงื่อนไขหลักเกณฑ์เดิมในการประมูลนั่นคือยึดซองราคาที่เอกชนให้ประโยชน์ต่อรัฐ เพราะก่อนหน้านี้ ศาลได้มีคำสั่งทุเลาให้ใช้เกณฑ์ทีโออาร์เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้หากคำสั่งศาลออกมาจะเป็นบรรทัดฐานให้ทุกโครงการต้องยึดถือปฎิบัติตามที่สำคัญตัวแปรของการล้มประมูลออกไปเท่ากับยุติคดี ที่มีระหว่างรัฐกับเอกชนและ ตามมาถึงการจำหน่ายคดีของศาล ทั้งนี้ ปมร้อนคดีหมายเลขหมายเลขดำที่ 2280/2563 เกิดจาก คู่กรณี บริษัท ระบบขนส่งกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เป็นโจทย์ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกฯ ตามมาตรา36 ในฐานะจำเลย เมื่อวันที่17กันยายน 2563 กรณี เปลี่ยนหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประมูล สายสีส้ม นำซองเทคนิคพิจารณาร่วมกับซองการเงิน สัดส่วน ซองเทคนิค 30% ซองการเงิน 70% จากเงื่อนไขเดิมพิจารณาซองราคาเป็นเกณฑ์ภายหลังเอกชน10รายร่วมซื้อซองซึ่งมองว่าไม่ชอบธรรมและอาจเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบคู่แข่งขัน


ยึดเกณฑ์เทคนิค+ราคา ขณะเดียวกันเกณฑ์ใหม่ ที่รฟม. ต้องเตรียม ออกประกาศและระเบียบหลักเกณฑ์การประมูลขึ้นใหม่ รฟม.ยืนยันว่ายังจะยึดหลักเกณฑ์ ที่แก้ไขไว้เดิม คือพิจารณาซองเทคนิคร่วมกับซองราคา แต่ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตของเอกชนว่า หากผ่านคะแนนเทคนิคแล้ว ยังมีการแบ่ง คะแนน ราคา 70% เป็น 60%+10% นั่นหมายถึง 10% อาจเปิดช่องให้กับคณะกรรมการฯสามารถใช้ดุลยพินิจ ชี้ขาดว่า สถานะความมั่นคงของบริษัทคู่แข่ง มีจุดด้อยกว่าจนทำให้เกิดการเสียเปรียบ หรือไม่ ค้านต้องเข้าครม. หากย้อนไปก่อนหน้าที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์ ตามที่ เอกชนเสนอ คือ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล็อปเม้นท์จำกัด(มหาชน) ITD ว่าสายสีส้มต้องใช้เทคนิคชั้นสูงเพราะเส้นทางส่วนใหญ่เป็นงานใต้ดินดังนั้นต้องให้เอกชนที่มีศักยภาพสูงมาดำเนินการ มากกว่าเน้นเรื่องราคาเพื่อความปลอดภัยผู้โดยสารและ ลดภาระการซ่อมสร้างรถไฟฟ้าในระยะยาว และนำไปสู่การแก้ไขทีหลักเกณฑ์การประมูล สายสีส้ม ใหม่ ก่อนประกาศให้เอกชนผู้ซื้อซองทราบในวันที่27สิงหาคม 2563 นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง กรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณในคณะกรมการคัดเลือกฯ ไม่เห็นด้วย และมีหนังสือคัดค้านเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 โดยสรุปว่า เนื่องจากประเด็นการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลสายสีส้ม เป็นเรื่องใหญ่ต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพราะก่อนหน้านี้ได้ผ่านการอนุมัติ หลักเกณฑ์มาจากคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) และผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมครม.ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรให้ครม.รับทราบก่อน ล้มประมูลไร้เหตุผล อย่างไรก็ตามยังท้วงติงว่า การล้มประมูลสายสีส้มในครั้งนี้ ไร้เหตุผลรองรับ เมื่อเทียบกับ โครงการอื่น เพราะ 2.มีเอกชนซื้อซองและพร้อมแข่งขัน ชิงประมูล 2.ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยร้ายแรง 3. ไม่ใช้เกิดปัญหาเรื่องงบประมาณ 4. รัฐบาลไม่สั่งยกเลิกเส้นทางสายสีส้มเป็นต้น แม้คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 จะยืนยันว่ มีอำนาจตามพรบ. ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน มาตรา 38 (7) แต่ในทางปฏิบัติเป็นการใช้อำนาจเกิดจริง ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 จึงใช้ ระเบียบการออก หลักเกณฑ์ทีโออาร์ ของรฟม.หรือ RFP ข้อ 12 แทน เพื่อล้มประมูลครั้งนี้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเมินว่าไม่ใช่เรื่องเล็กแน่นอน

บีทีเอสรอศาล อย่างไรก็ตาม มีกระแสออกมามายมายว่าเรื่องนี้ ยังไม่จบแค่เพียง รฟม.จะออกระเบียบเงื่อนการประมูลใหม่ แต่จะจบที่ศาลปกครองต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อบีทีเอสซีออกมาให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า รอคำสั่งศาลปกครองพิจารณา ต่อคำถามที่ว่าจะฟ้องหรือไม่ นั้นต้องรอผลของศาลว่าออกมาอย่างไร ต่อเรื่องนี้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยว่า กรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีมติให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงรฟม.หลังจากนี้ต้องรอฝ่ายกฎหมายพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบีทีเอส ว่าการยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้นจะขัดกับข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง ส่วนกรณีที่ศาลปกครองอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวนถือว่าสิ้นสุด โดยรฟม.ต้องถอนฟ้องจากศาลปกครองหลังจากที่มีการยื่นอุทธรณ์ในช่วงที่ผ่านมา หากมีการประกาศเชิญชวนให้ประกวดราคาใหม่นั้นบีทีเอสก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขรายละเอียดการประมูล (TOR) ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2021 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม เผยคาดเปิดประมูลรถไฟสายสีส้มรอบใหม่ มิ.ย.นี้
เศรษฐกิจ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:58 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มารายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างสายตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กม. โดยมีความคืบหน้าการก่อสร้างแล้วประมาณ 76.09% เร็วกว่าแผนงาน 0.84% ส่วนสายตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. เวลานี้คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีมติยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามประกาศดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องยกเลิก เพราะกังวลเรื่องกรอบเวลาการก่อสร้างที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้ว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ประมาณปี 2568-2569 ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการดังกล่าวในรอบใหม่ได้ประมาณเดือน มิถุนายน 2564 โดยในระหว่างนี้ รฟม. กำลังเร่งจัดทำรายละเอียดร่างเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) จากนั้นจะนำไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ม.36 แต่ในฐานะที่ตนมีอำนาจกำกับดูแล รฟม. เมื่อทาง รฟม. นำร่างทีโออาร์มารายงาน ก็จะพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมาย ซึ่งส่วนตัวมองว่าควรจะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาแบบปกติ


นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ รฟม. จะนำมติของคณะกรรมการ ม.36 ไปแจ้งต่อศาลปกครองสูงสุด พร้อมทั้งขอถอนเรื่องอุทธรณ์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนฯ ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าขณะนี้โครงการมีความล่าช้ามากว่า 6-7 เดือนแล้ว โดยในการประมูลรอบใหม่นี้ รฟม. จะปรับกรอบเวลาการก่อสร้างให้สั้นลง ดังนั้น ผู้ที่จะเข้าประมูลก็ต้องมีความสามารถในงานก่อสร้างอย่างดี เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ตามแผนในปี 2568-2569 เพราะเวลานี้เสียโอกาสมามากแล้ว ไม่อยากให้เหมือนกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ก่อสร้างเสร็จเกือบ 10 ปี แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้

ศักดิ์สยาม ลั่น มิ.ย. เปิดประมูลรถไฟฟ้าสีส้มรอบ 2-พรุ่งนี้ ชง ครม.อนุมัติ รถไฟฟ้าชมพูและมอเตอร์เวย์บ้านแพ้ว
เศรษฐกิจ
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:26 น.

ศักดิ์สยาม ลั่น มิ.ย.นี้ เปิดประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2 – ชง ครม. พรุ่งนี้ อนุมัติ รถไฟฟ้าสายสีชมพูต่อขยาย เข้าเมืองทองธานี และมอเตอร์เวย์ เอกชัย-บ้านแพ้ว วงเงินลงทุนรวม 2.4 หมื่นล้านบาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มีมติยกเลิกการประกวดราคาว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย( รฟม. )ได้รายงานกรณีดังกล่าวให้ตนรับทราบแล้ว โดยระบุว่าในสัปดาห์นี้คณะกรรมการฯจะแจ้งให้ศาลปกครองรับทราบว่าได้มีมติให้ยกเลิกประมูลแล้ว รวมทั้งขอศาลถอนอุทธรณ์ กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ให้ รฟม.กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนแบบเดิม การพิจารณาเฉพาะเกณฑ์ด้านราคา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะพิจารณาตัดสินอย่างไร ซึ่งไม่สามารถไปคาดการคำตัดสินของศาลได้


“ระหว่างที่รอศาลพิจารณาตัดสินเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการมาตรา 36 จะดำเนินการคู่ขนานไปเลย คือ จัดทำทีโออาร์เปิดประมูลรอบใหม่ โดยตามพ.ร.บ.ร่วมทุน กำหนดให้ คณะกรรมการมาตรา 36 ต้องนำทีโออาร์ประกาศผ่านทางเวปไซต์ เพื่อขึ้นรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหากไม่ประเด็นปัญหา จากนั้นจะต้องนำทีโออาร์มาเสนอให้ตนพิจารณาผมในฐานะกำกับ รฟม.จะต้องดูให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งควรใช้เกณฑ์แบบปกติ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในช่วงกลางปี หรือราวเดือน มิ.ย. มั่นใจว่าจะเปิดว่าจะเปิดให้บริการได้ทันตามกรอบเวลาเดิมคือราว ปี 68-69 แน่นอน โดยในทีโออาร์ใหม่จะมีการบีบเวลาก่อสร้างให้สั้นลง เพื่อชดเชยความล่าช้าการดำเนินโครงการที่เกิดขึ้นจากข้อพิพาทกับเอกชน”

นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า วันที่ 9 ก.พ. กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอโครงการ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ส่วนต่อขยาย ช่วง(ศรีรัช-เมืองทองธานี) ระยะทาง 2.8 กม. วงเงิน 3.3 พันล้านและโครงการมอเตอร์เวย์ เอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 16 กม. วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ


รมว.คมนาคมคาดเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มใหม่ในกลางปี 64
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
โดย เสาวลักษณ์ อวยพร โทร.02-2535000 ต่อ 353 อีเมล์: saowalak@infoquest.co.th--
ข่าวหุ้น-การเงิน
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา18:29 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมกล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานกรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มีมติยกเลิกการประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการฯแล้ว และเตรียมร่างTOR เพื่อเปิดประมูลใหม่ โดย ภายในสัปดาห์นี้ รฟม.จะแจ้งเรื่องการยกเลิกประมูล พร้อมกับการถอนอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองกลาง ในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด( BTSC) ยื่นฟ้อง รฟม.และคณะกก.มาตรา 36 ฯ ส่วนศาลจะมีคำสั่งอย่างไร เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาต่อไป

โดยเหตุผลที่มีการยกเลิกประมูล เนื่องจาก คณะกก.มาตรา 36 เป็นห่วงเรื่องระยะเวลา หากปล่อยไปเรื่อยๆ จะทำให้เวลาก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และจะกระทบจนไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานในปี 2568-2569 จึงยกเลิกประมูลเพื่อเริ่มดำเนินการใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลใหม่ได้ช่วงกลางปี 2564

สำหรับการจัดทำร่างทีโออาร์ใหม่นั้น ขั้นตอนตามพ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จะนำร่างทีโออาร์ขึ้นเวปไซด์รับฟังความเห็น โดยคณะกก.มาตรา 36 จะนำความเห็นต่างๆ มาพิจารณา เพื่อประโยชน์สาธารณะสูงสุด ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกก.มาตรา 36 ว่าจะพิจารณารับความเห็นนั้นหรือไม่

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า เกณฑ์การรวมคะแนนเทคนิคและราคานั้น รถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ใช่โครงการแรกที่ใช้ ก่อนหน้านี้ การประมูลโครงการทางด่วนสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ได้ใช้หลักเกณฑ์นี้ ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีโครงสร้างใต้ดิน เช่น ช่วงลอดบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านล่างจะต้องระวังและออกแบบอย่างรอบคอบ หรือกรณีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก่อนหน้านี้ มีกรณีที่ทำให้อาคารใกล้เคียงมีผลกระทบ เกิดการร้าว ดังนั้นเรื่องเทคนิคการออกแบบและก่อสร้างจึงมีความสำคัญ

นอกจากนี้ รฟม.แจ้งว่า จะมีการปรับเงื่อนไข เช่น ปรับระยะเวลาการก่อสร้างสั้นลง รวมถึงการแบ่งเฟสในงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และการจัดหาส่งมอบขบวนรถ สายสีส้มด้านตะวันออก เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการสายสีส้มด้านตะวันออกได้ก่อนตามแผน โดยปัจจุบัน งานโยธาสายสีส้มด้านตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ ? มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กม. คืบหน้า 73 % นอกจากนี้ ให้ทำข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงกรณีมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้วย

รฟม.กางไทม์ไลน์ เปิดประมูลรถไฟฟ้า “สีส้ม” รอบใหม่ คัดเลือกเสร็จใน 6-8 เดือน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.



รฟม.แจงยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นแนวทางเหมาะสมที่สุดที่จะทำให้โครงการเดินหน้าและสำเร็จตามเป้าหมาย โดย กก.มาตรา 36 และ รฟม.ประเมินข้อดี-ข้อเสียรอบด้าน ประมูลใหม่กรอบเวลาชัดเจน เร่งร่าง TOR คัดเลือกเอกชนเสร็จใน 6-8 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (5 ก.พ.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการฯ) ในการพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ว่า รฟม.ได้ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และได้ขายซองเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ระหว่างวันที่ 10-24 กรกฎาคม 2563 โดยมีผู้สนใจซื้อซองเอกสาร RFP รวม 10 ราย

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 รฟม.ได้นำส่งเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) ให้เอกชนผู้ซื้อซองเอกสาร RFP ทุกราย แจ้งปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอจากรูปแบบเดิมที่พิจารณาซองเทคนิคและซองการลงทุนและผลตอบแทนแยกจากกัน (เกณฑ์การประเมินเดิม) เป็นวิธีการประเมินโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (เกณฑ์การประเมินใหม่) พร้อมทั้งขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

วันที่ 17 กันยายน 2563 มี เอกชนผู้ซื้อซองเอกสาร RFP รายหนึ่งได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง และได้ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์การประเมินใหม่

ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2563 โดยสรุปให้ทุเลาการบังคับตามเกณฑ์การประเมินใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ รฟม. และคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันยื่นคำอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 โดยสรุปขอให้ศาลมีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น พร้อมยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดี และคำขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลปกครองชั้นต้น

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นกำหนดวันรับซองเอกสารข้อเสนอ มีเอกชนยื่นซองเอกสารข้อเสนอฯ รวม 2 ราย และในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 (ก่อนถึงกำหนดเปิดซองเอกสารข้อเสนอ) รฟม. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือถึงเอกชนผู้ยื่นซองเอกสารข้อเสนอทั้ง 2 ราย แจ้งเลื่อนกำหนดเปิดซองเอกสารข้อเสนอจากกำหนดเดิมออกไปก่อน จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นประการใด อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ในระยะเวลา 1 เดือน คณะกรรมการฯ ได้มอบให้ รฟม.จัดเตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป

และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมการฯ และ รฟม.ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ โดยประเมินกรอบระยะเวลาดำเนินการ ผลกระทบ รวมถึงข้อดี-ข้อเสียอย่างรอบด้านแล้ว มีความเห็นโดยสรุปว่า จนถึงปัจจุบันระยะเวลาได้ล่วงเลยมามากแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าและข้อสรุปทางคดี ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานออกไปทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาดำเนินการคัดเลือกเอกชนจนแล้วเสร็จที่ชัดเจนได้

ประกอบกับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย มีอายุ 270 นับจากวันยื่นซองข้อเสนอ หากยังคงรอข้อสรุปทางด้านคดีก่อนแล้วจึงดำเนินการคัดเลือกต่อไป อาจส่งผลให้ซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 รายดังกล่าว สิ้นอายุลงก่อนที่กระบวนการคัดเลือกเอกชนจะแล้วเสร็จ ซึ่งอาจนำไปสู่การยกเลิกการคัดเลือกและเริ่มการคัดเลือกเอกชนใหม่ในภายหลัง จึงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ล้วนส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ

ขณะที่กรณียกเลิกการคัดเลือกและเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนใหม่จะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6-8 เดือน กรอบระยะเวลาดำเนินการมีความชัดเจน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว โดยมอบให้ รฟม.พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

โดย รฟม.ได้ออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามประกาศดังกล่าว โดยติดประกาศ ณ ที่ทำการ รฟม. และเผยแพร่ทางหน้าเว็บไซต์ www.mrta.co.th เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 แล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)


สายสีส้ม รฟม.จ่อเปิดประมูลรอบใหม่ มิ.ย.นี้

หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:49 น.

สายสีส้ม รฟม.จ่อเปิดประมูลรอบใหม่ มิ.ย.นี้
“คมนาคม” เผยรฟม.เตรียมร่างทีโออาร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท หลังบอร์ดมาตรา 36 สั่งล้มประมูล คาดเปิดประมูลภายในเดือน มิ.ย.นี้ ลั่นจ่อถอนฟ้องศาลปกครองสูงสุดภายในสัปดาห์นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีมติยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 3 ก.ค.63 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามประกาศดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องยกเลิก เนื่องจากกังวลเรื่องกรอบเวลาการก่อสร้างที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้ว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ประมาณปี 68-69 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการดังกล่าวในรอบใหม่ได้ประมาณเดือน มิ.ย.64


“ขณะนี้ รฟม. กำลังเร่งจัดทำรายละเอียดร่างการประมูลฯ (ทีโออาร์) จากนั้นจะนำไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ม.36 แต่ในฐานะที่ตนมีอำนาจกำกับดูแล รฟม.หาก รฟม. นำร่างทีโออาร์มารายงาน ก็จะพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมาย ซึ่งส่วนตัวมองว่าควรจะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาแบบปกติ” อย่างไรก็ตามภายในสัปดาห์นี้ รฟม. จะนำมติของคณะกรรมการ ม.36 ไปแจ้งต่อศาลปกครองสูงสุด พร้อมทั้งขอถอนเรื่องอุทธรณ์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนฯ ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าขณะนี้โครงการมีความล่าช้ามากว่า 6-7 เดือนแล้ว โดยในการประมูลรอบใหม่นี้ รฟม. จะปรับกรอบเวลาการก่อสร้างให้สั้นลง ดังนั้นผู้ที่จะเข้าประมูลก็ต้องมีความสามารถในงานก่อสร้างอย่างดี เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ตามแผนในปี 68-69
สำหรับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

เปิดประมูลใหม่ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ดีเดย์กลางปีนี้
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 - 20:24 น.

“ศักดิ์สยาม” เผย รฟม.รายงานการล้มประมูลสายสีส้ม ชี้บอร์ดคัดเลือก หวั่นยื้อนานกระทบไทม์ไลน์เปิดปี’68-69 กลางปีประมูลใหม่ อุบใช้เกณฑ์”เทคนิคควบการเงิน”หรือไม่ ขอให้บอร์ดคัดเลือกพิจารณาก่อน เตรียมถอดคดีอุทธรณ์ปมร้องเปลี่ยนเกณฑ์สัปดาห์นี้

เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้เรียกการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มารายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยงานโยธาฝั่งตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) คืบหน้าแล้ว 76% แต่ รฟม. ไม่ได้นำข้อมูลมาแสดงว่าช้าหรือเร็วกว่าแผน จึงให้กลับไปทำข้อมูลมานำเสนอใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะไม่ข้ากว่าแผน

คาดกลางปี 64 ได้ประมูลใหม่
ส่วนฝั่งตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ คณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ของโครงการมีมติยกเลิกการประมูลโครงการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะเกรงว่า หากปล่อยต่อไปจะส่งผลต่อการก่อสร้างงานโยธาที่จะเสร็จไม่ทันกำหนดเปิดให้บริการที่วางไว้คือช่วงปี 2568-2569 ซึ่งก็ได้ให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายให้ถูกต้อง

“จะประมูลอีกรอบได้เมื่อไหร่ คาดว่าประมาณกลางปี 2564 นี้จะเปิดประมูลโครงการได้อีกครั้ง อาจจะลดเวลาก่อสร้างลง ซึ่งกำหนดเปิดใช้บริการในปี 2568-2569 ก็ไม่อยากให้ซ้ำรอยกับสายสีแดง ทั้งนี้ ต้องดูขั้นตอนการร่าง TOR ด้วยว่าจะใช้เวลานานหรือไม่ ซึ่งในพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 มีกำหนดไว้ “


อุบใช้เกณฑ์ไหนพิจารณา
ส่วนจะใช้เกณฑ์ใดในการพิจารณา คงต้องรอให้คณะกรรมการตามมาตรา 36 ประชุมหารือกันก่อน เพราะเป็นอำนาจของคณะกรรมการชุดนี้โดยเฉพาะ จากนั้นจึงจะนำเสนอตนในฐานะกำกับดูแลตามลำดับ


“โครงการนี้ไม่ใช่โครงการแรกที่เอาเกณฑ์เทคนิคมาพิจารณาร่วม ทางด่วนพระราม 3 ก็เคยใช้เกณฑ์นี้มาแล้วเช่นกัน และงานโยธาด้านตะวันตกผ่านสถานที่สำคัญของประเทศ อาทิ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นต้น และการลอดอุโมงค์เคยทำให้อาคารบนดินร้าวมาแล้ว จึงกำชับให้ รฟม. ระมัดระวัง เชื่อว่าการเริ่มต้นใหม่ดังกล่าวไม่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน ” นายศักดิ์สยามกล่าวและว่า

ถอนอุทธรณ์ภายในสัปดาห์นี้
ส่วนกรณีเอกชนบางรายจะฟ้องศาลปกครองกรณีที่ล้มประมูลนั้น นายศักดิ์สยามตอบว่า ยังไม่มีการรายงานจากรฟม. แต่ตอนนี้ รฟม.จะเข้าไปยื่นถอนการอุทธรณ์คำสั่งทุเลากับศาลปกครองสูงสุดก่อนภายในสัปดาห์นี้ เพราะได้ยกเลิกการประมูลแล้ว แต่ศาลจะให้ถอนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับศาล
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2834496053438561


Last edited by Wisarut on 08/02/2021 10:39 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2021 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

‘ล้มประมูล’สายสีส้ม ถ่วงหุ้น BTS-BEM
หน้า การเงิน-การลงทุนจันทร์ 8 กุมภาพันธ์ 2564

8 กุมภาพันธ์ 2564

เรียกว่าเป็นข่าวใหญ่ที่เกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
มีมติสายฟ้าผ่าสั่ง “ล้มประมูล” โดยไม่รอคำตัดสินของศาล ทั้งๆ ที่ยังมีคดีความฟ้องรองกันอยู่ ทำให้เกิดคำถามตามมาทันทีว่า เกิดอะไรขึ้นกับบิ๊กโปรเจคมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ทำไมถึงยกเลิกประมูลกลางคันแบบนี้? โครงการก็ไม่ใช่โครงการเล็กๆ ที่จะมาเปลี่ยนใจกันง่ายๆ อยากทำก็ทำ อยากเลิกก็เลิก

คณะกรรมคัดเลือกฯ มีอำนาจหรือไม่? และเมื่อยกเลิกแล้วจะดำเนินการอย่างไรต่อไป? เอกชนที่เข้าประมูลจะยอมหรือไม่? เรียกว่ามีสารพัดคำถามตามมามากมาย ซึ่งต่อมา “กิตติกร ตันเปาว์” รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานกรรมการคัดเลือกฯ ออกมาชี้แจงว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีสิทธิล้มประมูล โดยได้ระบุไว้ในเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP)

ส่วนที่ต้องยกเลิกเพราะยังไม่ชัดเจนว่ากระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ หลังกลุ่มบีทีเอสยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดลือกฯ กรณีเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลทั้งๆ ที่ขายเอกสารประกวดราคาไปแล้ว โดยให้นำข้อเสนอด้านเทคนิคมาพิจารณาควบคู่กับข้อเสนอด้านราคาในสัดส่วน 30 คะแนน และ 70 คะแนน จากเดิมใช้เกณฑ์ราคาอย่างเดียว 100 คะแนน เป็นตัวชี้ขาด

ซึ่งต่อมาศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินให้กลับไปใช้เกณฑ์เดิมจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาล สุดท้ายมีเอกชนเข้ายื่นประมูลเพียงแค่ 2 กลุ่ม จากที่ซื้อซองประกวดราคาไปทั้งหมด 10 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS

โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ มองว่าหากต้องรอคำตัดสินของศาลโครงการจะยิ่งล่าช้า ขณะนี้กรอบเวลาในการพิจารณานานเกินกว่าที่ รฟม. ประเมินไว้ ส่งผลต่อการเปิดให้บริการส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2565 และมีกำหนดการเปิดให้บริการในเดือน มี.ค. 2567 ทำให้ รฟม. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษางานโยธาของส่วนตะวันออกเพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการล้มประมูลจะเป็นสิทธิของคณะกรรมการคัดเลือกฯ แต่ในมุมเอกชนก็มีสิทธิที่จะยื่นฟ้องได้เช่นกัน ทั้งการฟ้องแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการยกเลิกประมูล, ฟ้องอาญาเพื่อเอาผิดคณะกรรมการคัดเลือกฯ และรฟม. และยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนคำสั่งล้มประมูล

โดยขณะนี้เอกชนทั้ง 2 กลุ่ม ยังสงวนท่าทีว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยต้องการคำชี้แจงอย่างเป็นทางการจาก รฟม. แต่ถ้าในที่สุดแล้วเอกชนตัดสินใจยื่นฟ้องศาลจริง น่าจะทำให้โครงการล่าช้าออกไปอีก เพราะต้องมาต่อสู้กันในชั้นศาล

ส่วนในมุมของ รฟม. เร่งเดินหน้ากระบวนการประมูลใหม่ทันที หวังว่าจะออกประกาศเชิญชวนในช่วงเดือน มี.ค. นี้ และเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอโครงการราวๆ เดือน มี.ค.-พ.ค. 2564 หวังทราบผลผู้ชนะการประมูลในเดือน ส.ค. 2564

แต่สิ่งสำคัญที่สุดหากต้องเริ่มต้นประมูลใหม่คือ เกณฑ์ที่จะนำมาใช้ซึ่ง รฟม. ยังไม่ได้ประกาศว่าจะใช้เกณฑ์อะไร จะเป็นเกณฑ์เดิมที่พิจารณาจากข้อเสนอด้านราคาอย่างเดียว หรือ จะนำข้อเสนอด้านเทคนิคมาพิจารณาด้วย

หากดูจากเหตุผลที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ หยิบยกขึ้นมาเพื่อล้มประมูล หลักๆ แล้วคือเรื่องของระยะเวลาที่ล่าช้า เนื่องจากต้องรอผลการตัดสินของศาล ดังนั้นถ้าหากกังวลเรื่องของระยะเวลาจริงๆ คณะกรรมคัดเลือกฯ ควรจะยึดเกณฑ์เดิม คือ เอกชนรายใดเสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล

เพราะเป็นหลักเกณฑ์ที่ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคมและ ครม. มาแล้ว รวมทั้งใช้ประมูลงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในประเทศไทยมาโดยตลอด ดังนั้นหาก รฟม. จะเริ่มต้นขายซองประมูลใหม่น่าจะใช้เวลาไม่นาน

แต่ถ้าหากใช้เกณฑ์ใหม่ดูคะแนนเทคนิคควบคู่กับคะแนนด้านราคา น่าจะยิ่งทำให้โครงการล่าช้า เพราะต้องจัดทำร่างทีโออาร์ใหม่ เปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนที่จะเสนอร่างกลับมาที่กระทรวงคมนาคม และส่งต่อให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากกว่าการใช้เกณฑ์ราคาอย่างเดียว

แน่นอนว่าเมื่อโครงการยังไม่มีความชัดเจน ย่อมส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อเอกชนที่ตัดสินใจเข้าประมูล จะเห็นว่าราคาหุ้นทั้ง BTS และ BEM ปรับตัวลงเล็กน้อยในวันที่มีมติออกมา จากนั้นก็แกว่งตัวในกรอบแคบๆ แทบไม่ไปไหน สวนทางตลาดหุ้นไทยที่ดีดตัวแรง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2021 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ วันที่ 31 มกราคม 2564 🔛 ดังนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 21:36 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 76.09%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-orangelineeast.com
โดยสัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 85.16%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 74.41%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 74.17%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วง คลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 65.04%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 78.40%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 71.65%

อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @OrangeLine
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 75.57% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 68.16% ความก้าวหน้าโดยรวม 72.35%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://mrta-yellowline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: mrtyellowline
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 72.23% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 65.94% ความก้าวหน้าโดยรวม 69.51%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-pinkline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @mrtpinkline
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2021 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”สั่งเตรียมข้อมูล”สีส้ม”รับศึกอภิปราย- รฟม.ถอนอุทธรณ์สัปดาห์นี้ เร่งประมูลใหม่กลางปี 64
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:44 น.
ปรับปรุง: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:44 น.

“ศักดิ์สยาม”สั่งรฟม.เตรียมข้อมูลประมูล “สีส้ม”รับศึกอภิปราย เผยเตรียมยื่นศาลถอนอุทธรณ์ ในสัปดาห์นี้ มั่นใจทำตามระเบียบ และกม.ร่วมทุนฯ และประโยชน์สาธารณะสูงสุด ยันเทคนิคก่อสร้างสำคัญ คาดประมูลใหม่กลางปี 64 เล็งลดเวลาก่อสร้างเร่งเปิดส่วนตะวันออกตามแผนปี 68-69

นนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานกรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.2 แสนล้านบาทมีมติยกเลิกการประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการฯ และเตรียมร่างTOR เพื่อเปิดประมูลใหม่ โดย ภายในสัปดาห์นี้ รฟม.จะแจ้งเรื่องการยกเลิกประมูล พร้อมกับการถอนอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองกลาง ในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด( BTSC) ยื่นฟ้อง รฟม.และคณะกก.มาตรา 36 ฯ ส่วนศาลจะมีคำสั่งอย่างไร เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาต่อไป ไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจศาลได้

ซึ่งเหตุผลที่มีการยกเลิกประมูล เนื่องจาก คณะกก.มาตรา 36 เป็นห่วงเรื่องระยะเวลา หากปล่อยไปเรื่อยๆ จะทำให้เวลาก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และจะกระทบจนไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานในปี 2568-2569 จึงยกเลิกประมูลเพื่อเริ่มดำเนินการใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลใหม่ได้ช่วงกลางปี 2564

ส่วนการจัดทำร่างทีโออาร์ใหม่นั้นรฟม.รายงานว่า ขั้นตอนตามพ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จะนำร่างทีโออาร์ขึ้นเวปไซด์รับฟังความเห็น โดยคณะกก.มาตรา 36 จะนำความเห็นต่างๆ มาพิจารณา เพื่อประโยชน์สาธารณะสูงสุด ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกก.มาตรา 36 ว่าจะพิจารณารับความเห็นนั้นหรือไม่ ซึ่งต่างกับโครงการลงทุน ตามพ.ร.บ.งบประมาณ ที่นำร่างทีโออาร์ขึ้นเวปไซด์ ประชาพิจารณ์เพื่อนำความเห็นมาปรับร่างทีโออาร์

ส่วนการใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก กรณีรวมคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคานั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ใช่โครงการแรกที่ใช้ ก่อนหน้านี้ การประมูลโครงการทางด่วนสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ก็ใช้หลักการคัดเลือกแบบนี้ ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีโครงสร้างใต้ดิน เช่น ช่วงลอดบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านล่างจะต้องระวังและออกแบบอย่างรอบคอบ หรือกรณีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก่อนหน้านี้ มีกรณีที่ทำให้อาคารใกล้เคียงมีผลกระทบ เกิดการร้าว ดังนั้นเรื่องเทคนิคการออกแบบและก่อสร้างจึงมีความสำคัญอย่างมาก ผู้ก่อสร้างจะต้องมีความสามารถ

@เล็งลดเวลาเร่งก่อสร้าง แยกงานระบบเร่งส่งมอบรถเปิดสายตะวันออกตามแผน

โดยรฟม.แจ้งว่า จะมีการปรับเงื่อนไข เช่น ปรับระยะเวลาการก่อสร้างสั้นลง รวมถึงการแบ่งเฟสในงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และการจัดหาส่งมอบขบวนรถ สายสีส้มด้านตะวันออก เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการสายสีส้มด้านตะวันออกได้ก่อนตามแผน โดยปัจจุบัน งานโยธาสายสีส้มด้านตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กม. คืบหน้า 73 % ซึ่งยังเป็นไปตามแผนงาน

“ผมมองเรื่องการทำงานตามไทม์ไลน์ และต้องเกิดประโยชน์สูงสุดกับรัฐและประชาชน ซึ่งเชื่อว่าการยกเลิกประมูลครั้งนี้ ไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราห่วงเรื่องเวลา ตอนนี้ล่าช้าแล้ว 6-7 เดือน ดังนั้นหากก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการได้ตามแผนจะเป็นดีกว่า ซึ่งรฟม.จะดำเนินการขั้นตอนประมูลใหม่คู่ขนานไปกับการถอนอุทธรณ์"นายศักดิ์สยามกล่าว

นอกจากนี้ ได้ให้ทำข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงกรณีมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วย ซึ่งผมได้เตรียมข้อมูล ต่างๆ ที่คิดว่าจะเป็นข้อสงสัยของสังคม ซึ่งฝ่ายค้านได้ยื่นมาเป็นกรอบกว้างๆ แต่ผมพร้อมชี้แจงเพราะการทำงานที่ผ่านมายึดตามข้อกฎหมายและระเบียบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2021 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม”สั่งเตรียมข้อมูล”สีส้ม”รับศึกอภิปราย- รฟม.ถอนอุทธรณ์สัปดาห์นี้ เร่งประมูลใหม่กลางปี 64
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:44 น.
ปรับปรุง: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:44 น.



รฟม.ชิงล้มประมูล ”สายสีส้ม” ไม่รอศาล หนี BTS ฟ้องเปลี่ยนเกณฑ์”เทคนิคพ่วงราคา”
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 - 18:15 น.

รฟม.ล้มประมูล PPP รถไฟฟ้าสายสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” วงเงิน 1.28 แสนล้าน ไม่รอศาลอ่านคำวินิจฉัย ปมเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาเทคนิคพ่วงราคา ตีกรรเชียงปิดจ็อบคดีฟ้องร้อง คาดศาลฯไม่พิจารณาต่อ รอจำหน่ายคดี เว้นบีทีเอสร้องปมใหม่

วันที่ 7 ก.พ.2564 มีรายงานข่าว เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ล้มประมูลPPP net cost 30 ปี ก่อสร้างและสัมปทานเดินรถโครงการรถไฟฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 1.28 แสนล้านบาทมีเอกชน 2 รายยื่นข้อเสนอ ได้แก่ กลุ่มบีทีเอส-ซิโนไทยฯและบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) โดยไม่รอให้ศาลปกครองมีคำวินิจฉัย เท่ากับเป็นการยุติคดีฟ้องร้องที่ยังค้างอยู่ที่ศาลฯ

เนื่องจากเป็นดุลพินิจของศาลฯจะไม่พิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าการโต้แย้งสิทธิระหว่างกันสิ้นสุดไปแล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไปก็จะสั่งจำหน่ายคดี แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานในเรื่องนี้แม้ว่าจะมีการยกเลิกการประมูลไปแล้ว ก็สามารถที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไป

“หากยกเลิกประมูลแล้ว เพราะไม่มีมูลเหตุที่ศาลต้องพิจารณา ยกเว้นบีทีเอสจะยื่นฟ้องประเด็นใหม่ หากบีทีเอสตัดสินใจฟ้องร้อง ก็ไม่จบ”

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า การเดินหน้าโครงการหลังล้มประมูล ทางรฟม.จะเปิดประมูลใหม่ ตามกระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และข้อกำหนดในประกาศ ส่วนจะใช้เกณฑ์ตัดสินแบบไหนอยู่ที่รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ แต่คาดว่าจะใช้เกณฑ์ใหม่ คือ พิจารณาซองเทคนิคควบคู่กับราคา

จึงทำให้รฟม.ชิงล้มประมูล เนื่องจากหากจะใช้เกณฑ์เดิมคงเปิดซองไปตั้งแต่ศาลมีคำสั่งทุเลาบีทีเอสให้รฟม.ชะลอการใช้เกณฑ์ใหม่ออกไปจนกว่าศาลฯจะมีคำสั่งเป็นอื่น เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2563 ที่ผ่านมา


“เกณฑ์ใหม่รฟม.คาดว่าจะทำให้การพิจารณาคัดเลือกเอกชนแล้วเสร็จใน 6-8 เดือน ซึ่งการเปิดซองเทคนิคควบคู่ราคาจะทำให้เร็วกว่าเกณฑ์เดิมเปิดทีละซอง ประมาณ 15-30 วัน “รายงานข่าวกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม สำหรับคดีฟ้องร้องสืบเนื่องจากที่รฟม.ปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินข้อเสนอใหม่ จากรูปแบบเดิมที่พิจารณาซองเทคนิคและซองการลงทุนและผลตอบแทนแยกจากกัน เป็นวิธีการประเมินใหม่โดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา


ต่อมาบีทีเอสยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2563 และได้ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์การประเมินใหม่ ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ลงวันที่ 19 ต.ค. 2563 โดยสรุปให้ทุเลาการบังคับตามเกณฑ์การประเมินใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ รฟม. และคณะกรรมการมาตรา 36 ได้ร่วมกันยื่นคำอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563 โดยสรุปขอให้ศาลมีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น พร้อมยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดี และคำขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลปกครองชั้นต้น

โดยศาลมีการไต่สวนแล้ว รอฟังคำวินิจฉัย จนมาถึงวันที่ 3 ก.พ.2564 คณะกรรมการ 36 ได้ประชุมและมติให้เปิดประมูลใหม่เนื่องจากมองว่าเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้วและใกล้วันที่จะครบกำหนดให้เอกชนทั้ง 2 ราย ยืนราคา 270 วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 89, 90, 91  Next
Page 46 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©