RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179844
ทั้งหมด:13491076
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 231, 232, 233 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดตไทม์ไลน์ ”รถไฟฟ้าหลากสี” ทยอยสร้างเสร็จเปิดบริการ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 - 17:29 น.

Click on the image for full size

กรมการขนส่งทางราง เผยไทม์ไลน์ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 14 สายสารพัดสี เปิดบริการแล้ว กำลังสร้าง เปิดประมูล เตรียมความพร้อม ดีเดย์ปีนี้มีเปิดสายสีแดง”ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต”ปักหมุดปี’70เปิดครบทุกสาย 553 กม.

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ได้เผยแพร่ความคืบหน้าโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จำนวน 14 สายทาง รวมระยะทาง 553.41 กม. 367 สถานี ที่อยู่ในแผนแม่บท(ดูแผนที่)


โดยมีเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว 6 สี 9 เส้นทาง ระยะทาง 170.38 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สี 6โครงการ ระยะทาง 150.76 กม. อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 สี 2 เส้นทาง ระยะทาง 37 กม.


อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 2 สี 5โครงการ 55.24 กม.และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม 10 สี 10 โครงการ ระยะทาง 140.03 กม.




ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC“ ถึงการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งล่าสุด ความคืบหน้า รถไฟฟ้าหลากสี เปิดให้บริการแล้ว 6 สาย และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 4 สาย พร้อมกำหนดระยะเวลา เปิดบริการ โดยระบุว่า
ปัจจุบัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโครงข่ายรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วจำนวน 6 สาย รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร 124 สถานี ประกอบด้วย
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (คูคต-หมอชิต-อ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ) ระยะทาง 55.80 กิโลเมตร 47 สถานี
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน-บางหว้า) ระยะทาง 14 กิโลเมตร 13 สถานี
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค) ระยะทาง 47 กิโลเมตร 38 สถานี
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.70 กิโลเมตร 8 สถานี (โครงข่ายสายหลัก)
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร 16 สถานี (โครงข่ายสายหลัก)
รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน) ระยะทาง 1.88 กิโลเมตร 3 สถานี (โครงข่ายสายรอง) (เป็นเส้นทางเพิ่มเติมนอกเหนือ M-Map ปี 2553)
สำหรับรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการทั้ง 6 สายทาง ได้ช่วยยกระดับการเดินทางของประชาชนให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว ปลอดภัย ทันเวลามากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มีโครงข่ายรถไฟฟ้า ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยแต่ละโครงข่ายรถไฟฟ้าแต่ละสาย มีรายละเอียด และความก้าวหน้า ในการดำเนินงาน ดังนี้
1. โครงข่ายรถไฟฟ้าฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต (สายสีแดงเข้ม) และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน (สายสีแดงอ่อน)
ระยะทางรวม 41.56 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ และจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีรังสิต ในทิศเหนือ และสถานีตลิ่งชัน ในทิศตะวันตก
ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จทุกสถานี พร้อมเปิดให้บริการในปี 2564 และในอนาคตจะดำเนินการส่วนต่อขยายเชื่อมต่อพื้นที่ด้านทิศเหนือ (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) กับทิศใต้ (หัวลำโพง) และพื้นที่ด้านทิศตะวันออก (หัวหมาก) กับทิศตะวันตก (ศาลายาและศิริราช)
2. โครงข่ายรถไฟฟ้าสายหลัก สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
เป็นระบบขนส่งมวลชนหลัก เชื่อมต่อพื้นที่ทิศตะวันตก กับทิศตะวันออก รองรับพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น และแหล่งพาณิชยกรรม ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีปัญหาการจราจรติดขัด
โครงการมีระยะทางรวมประมาณ 39.8 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2559 โดยมีระยะทางรวมประมาณ 22.6 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี
แนวเส้นทางเริ่มต้นจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ผ่านย่านพระราม 9 รามคำแหง ลำสาลี มีนบุรี ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์ ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 74% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567
3. โครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
เป็นเส้นทางสายรองที่มีแนวเส้นทางไปตามถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา เพื่อรองรับการเดินทางไปยังศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
โครงการมีระยะทางรวมประมาณ 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน และสิ้นสุดที่สถานีมีนบุรี บริเวณระหว่างถนนรามคำแหง ซอย 192 และคลองสองต้นนุ่น ซึ่งบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 67% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการบางส่วนในปี 2564
4. โครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
เป็นเส้นทางสายรองตามแนวถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นและพาณิชยกรรมเป็นจำนวนมาก
โครงการมีระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีเทา และสายสีส้มนอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 70% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565
เมื่อทั้ง 4 โครงการนี้แล้วเสร็จ จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 128.96 กิโลเมตร 83 สถานี ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถไฟฟ้าให้บริการถึง 11 สาย (เขียวเข้ม เขียวอ่อน น้ำเงิน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ม่วง ทอง แดงเข้ม แดงอ่อน ส้ม ชมพู เหลือง) ระยะทางรวม 299.34 กิโลเมตร 207 สถานี

https://www.thebangkokinsight.com/552176/


รู้ยัง..รถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแก่คนกรุง-ปริมณฑล ตอนนี้มีกี่สาย อนาคตจะมีเพิ่มอีกกี่สาย
หน้าข่าวทั่วไป
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 - 15:06 น.

รู้ยัง..รถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแก่คนกรุง-ปริมณฑล ตอนนี้มีกี่สาย อนาคตจะมีเพิ่มอีกกี่สาย
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันกรุงเทพและปริมณฑลมีรถไฟฟ้าให้บริการกี่เส้นทาง รวมระยะทางกี่กิโลเมตร และมีจำนวนทั้งหมดกี่สถานี แล้วในอนาคตโครงข่ายรถไฟฟ้าจะเพิ่มอีกกี่สาย เช็กได้ที่นี่

เกาะติดความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในขณะนี้และในอนาคต โดยข้อมูลจาก ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี - PMOC ได้เปิดเผยว่าปัจจุบันมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วจำนวน 6 สาย รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร 124 สถานี ได้แก่ สายสีเขียวเข้ม สายสีเขียวอ่อน สายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สายสีม่วง สายสีทอง นอกจากนั้นแล้วยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 สาย ได้แก่ สายสีแดง สายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโครงข่ายรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วจำนวน 6 สาย รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร 124 สถานี ประกอบด้วย
-รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (คูคต-หมอชิต-อ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ) ระยะทาง 55.80 กิโลเมตร 47 สถานี
-รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน-บางหว้า) ระยะทาง 14 กิโลเมตร 13 สถานี
-รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค) ระยะทาง 47 กิโลเมตร 38 สถานี
-รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.70 กิโลเมตร 8 สถานี (โครงข่ายสายหลัก)
-รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร 16 สถานี (โครงข่ายสายหลัก)
-รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน) ระยะทาง 1.88 กิโลเมตร 3 สถานี (โครงข่ายสายรอง) (เป็นเส้นทางเพิ่มเติมนอกเหนือ M-Map ปี 2553) ขณะที่รถไฟฟ้าอีก 4 สายอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบไปด้วย สายสีแดง สายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง


ปัจจุบันโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยแต่ละโครงข่ายรถไฟฟ้าแต่ละสายมีรายละเอียดและความก้าวหน้าในการดำเนินงานดังนี้
1.โครงข่ายรถไฟฟ้าฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต (สายสีแดงเข้ม) และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน (สายสีแดงอ่อน) มีระยะทางรวม 41.56 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี
โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ และจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีรังสิต ในทิศเหนือ และสถานีตลิ่งชัน ในทิศตะวันตก
ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จทุกสถานี พร้อมเปิดให้บริการในปี 2564 และในอนาคตจะดำเนินการส่วนต่อขยายเชื่อมต่อพื้นที่ด้านทิศเหนือ (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) กับทิศใต้ (หัวลำโพง) และพื้นที่ด้านทิศตะวันออก (หัวหมาก) กับทิศตะวันตก (ศาลายาและศิริราช)
2.โครงข่ายรถไฟฟ้าสายหลัก สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักเชื่อมต่อพื้นที่ทิศตะวันตกกับทิศตะวันออก รองรับพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นและแหล่งพาณิชยกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีปัญหาการจราจรติดขัด โดยโครงการมีระยะทางรวมประมาณ 39.8 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2559 โดยมีระยะทางรวมประมาณ 22.6 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี
โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ผ่านย่านพระราม 9 รามคำแหง ลำสาลี มีนบุรี ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์
ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 74% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567

3.โครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นเส้นทางสายรองที่มีแนวเส้นทางไปตามถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา เพื่อรองรับการเดินทางไปยังศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี โครงการมีระยะทางรวมประมาณ 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี
มีจุดเริ่มต้นที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน และสิ้นสุดที่สถานีมีนบุรี บริเวณระหว่างถนนรามคำแหง ซอย 192 และคลองสองต้นนุ่น ซึ่งบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 67% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการบางส่วนในปี 2564
4.โครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นเส้นทางสายรองตามแนวถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นและพาณิชยกรรมเป็นจำนวนมาก โดยโครงการมีระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี
มีจุดเริ่มต้นที่สถานีรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีเทา และสายสีส้มนอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9
ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 70% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565 เมื่อทั้ง 4 โครงการนี้แล้วเสร็จ จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 128.96 กิโลเมตร 83 สถานี ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถไฟฟ้าให้บริการถึง 11 สาย (เขียวเข้ม เขียวอ่อน น้ำเงิน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ม่วง ทอง แดงเข้ม แดงอ่อน ส้ม ชมพู เหลือง) ระยะทางรวม 299.34 กิโลเมตร 207 สถานี
Wisarut wrote:
โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:48 น.
14 สายทาง ระยะทาง 553.41 กม. 367 สถานี
🚝 เส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว 6 สี 9 เส้นทาง ระยะทาง 170.38 กม.
🚄 อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สี 6โครงการ ระยะทาง 150.76 กม.
🚅 อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 สี 2 เส้นทาง ระยะทาง 37 กม.
🚈 อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 2 สี 5โครงการ 55.24 กม.
🚋 อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม 10 สี 10 โครงการ ระยะทาง 140.03 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 2:07 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ปลุกระบบตั๋วร่วม EMV บีบลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 30%-กรุงไทยรับปรับหัวอ่าน-คุมบิ๊กดาต้า
หน้าคมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.59 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.59 น.



“ระบบตั๋วร่วม” ความหวังเดียวที่จะช่วยทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ แต่ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จ...ซึ่งปัญหาอุปสรรคคือนโยบายที่กลับไปกลับมา แม้ว่าจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานรัฐกับผู้ประกอบการเอกชน ทั้งบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เพื่อให้เกิดการเจรจาข้อตกลงทางธุรกิจเมื่อ มี.ค. 2563

โดยตั้งเป้าให้สามารถใช้เดินทางข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) หรือให้บัตรที่มีในปัจจุบัน บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถนำไปใช้บริการข้ามสายกันได้ในเดือน ต.ค. 2563

แต่ทว่า!!! เกือบ 1 ปีทุกอย่างนิ่งสนิท เหมือนถูกแช่แข็ง และคนไทยยังจ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงเหมือนเดิม

เนื่องจากต้องมีการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) เพื่อให้สามารถรองรับการใช้บัตรจากต่างค่ายได้ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ BEM มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงหัวอ่านรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สายสีน้ำเงินรวมกว่า 200 ล้านบาท ส่วน BTS มีค่าใช้จ่ายกว่า 120 ล้านบาท

ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์นั้น บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ได้ทำสัญญาจ้าง บริษัท สมาร์ทเทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนจากประเทศจีน ติดตั้งซอฟต์แวร์และหัวอ่านบัตรโดยสารร่วม (บัตรแมงมุม) วงเงิน 104 ล้านบาท สัญญาระหว่างเดือน พ.ย. 2561-เม.ย. 2562 แต่ไม่สามารถดำเนินงานได้ ล่าสุดอยู่ระหว่างการยกเลิกสัญญา

@กรุงไทย เสนอลงทุนปรับระบบปลดล็อกทุกปัญหา

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม กล่าวว่า รฟม.ได้รายงานต่อคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 ในการเร่งจัดทำระบบให้บัตรโดยสารที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถใช้บัตรข้ามระบบได้ ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน และส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระบบสูงขึ้น

ส่วนแผนระยะยาว คือการทำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) โดยใช้บัตร EMV Contactless (Europay Mastercard and Visa) โดย รฟม.มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับสถาบันการเงินที่มีระบบ EMV

ล่าสุดธนาคารกรุงไทยได้แจ้งว่ามีความพร้อมที่จะลงทุนในระบบ EMV ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ประกอบการมาใช้บริการของธนาคารกรุงไทยสำหรับสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน โดยตั้งเป้าหมายในเดือน ต.ค. 2564 จะใช้ได้ประมาณ 50% และจะใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือน ม.ค. 2565

โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติม 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีการออกตั๋วร่วม มาตรฐานเทคโนโลยีระบบงาน มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล มาตรฐานความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และมาตรฐานการดำเนินงานของระบบงาน

และคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการจัดเก็บค่าธรรมเนียม มาตรฐานการจัดสรรรายได้ มาตรฐานอัตราค่าโดยสารในกรณีใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และกรอบมาตรฐานค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการ

@รฟม.-BEM ผนึกนำร่อง EMV ใช้บัตรเครดิต-เดบิต จ่ายค่าโดยสาร

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าฯ รฟม. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการปรับหัวอ่านเพื่อให้รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยังมีข้อจำกัดเรื่องลิขสิทธิ์ของผู้ผลิตระบบเดิมที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายใช้อยู่ การปรับปรุงจำเป็นต้องให้ผู้ผลิตเดิมทำ เพราะก่อนหน้านี้เรื่องระบบตั๋วไม่มีมาตรฐานกลาง

ส่วนระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ ABT ซึ่งเป็นการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตนั้นมีมาตรฐานบัตรอยู่แล้ว ขณะที่ธนาคารกรุงไทยเสนอตัวที่จะลงทุนปรับปรุงระบบหัวอ่านเพื่อให้สามารถอ่านบัตรเครดิต หรือเดบิต ที่ออกโดยธนาคาร และสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ ในลักษณะเดียวกับการใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตชำระค่าสินค้า และบริการอื่นๆ โดยร้านค้าต้องสมัครเข้าใช้บริการตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น ผู้ให้บริการระบบขนส่งจะต้องสมัครใช้บริการกับธนาคาร ซึ่งขณะนี้ รฟม.และ BEM ได้สมัครเข้าร่วมเรียบร้อยแล้ว

หลังจากนี้กรุงไทยจะเข้ามาทำการปรับระบบหัวอ่านที่สถานีรถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงินและสีม่วง เพื่อให้สามารถทำการบันทึกเมื่อมีการแตะบัตรเครดิต/เดบิต ผ่านเข้าและออกจากระบบ เพื่อคำนวณอัตราค่าโดยสารในการเดินทางออกมา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบตั๋วร่วมโดยภาคธนาคาร ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป

@นำร่องทดสอบกลางปี 64 ใช้ได้เต็มระบบ ม.ค. 65

ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า ได้กำหนดแผนงานแล้ว จะนำร่องใช้ระบบ EMV ที่ MRT สีน้ำเงินและสีม่วงภายในกลางปี 2564 ซึ่งกรุงไทยจะปรับปรุงระบบหัวอ่านทุกสถานี โดยจะเริ่มจากประตูช่องทางเข้าที่อยู่ติดกับห้องจำหน่ายบัตรโดยสารก่อน 1 จุดเพื่อจะทดสอบระบบ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จากนั้นภายใน ต.ค. 2564 จะขยายการติดตั้งหัวอ่านบัตร EMV ให้ได้ครึ่งหนึ่งของประตูทางเข้า (gate) แต่ละสถานี และจะครบทั้ง 100% ใน ม.ค. 2565

รูปแบบนี้มั่นใจว่าจะทำให้ระบบตั๋วร่วมสำเร็จเร็วและง่ายขึ้นเพราะวิน...วินกันทุกฝ่าย โดยกรุงไทยจะเข้ามาลงทุนปรับปรุงระบบแทนทั้งหมด

ในส่วนของผู้ประกอบการรถไฟฟ้าเอง นอกจากจะประหยัดค่าลงทุนปรับปรุงระบบหัวอ่านแล้ว ยังไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการออกบัตรโดยสารอีกด้วย เนื่องจากเป็นการใช้งานผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต ซึ่งธนาคารเป็นผู้ออกให้ลูกค้าอยู่แล้ว

@กรุงไทยคิดค่าธรรมเนียมเป็นเรื่องปกติ ตามกติกาแบงก์ชาติ

เบื้องต้นธนาคารกรุงไทยจะหักค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการรถไฟฟ้า กรณีที่มีการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรของกรุงไทย โดยบัตรเครดิต คิดอัตรา 0.8% บัตรเดบิตคิดอัตรา 0.5% ส่วนกรณีใช้บัตรจากธนาคารอื่นจะมีข้อตกลงระหว่างธนาคารกับธนาคารในการหักค่าธรรมเนียมระหว่างกัน ซึ่งมีกติกาข้อตกลงของแบงก์ชาติกำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งรูปแบบเป็นเหมือนกับการชำระค่าสินค้าและบริการตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิต

สำหรับผู้โดยสารนั้นจะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะสามารถเลือกชำระค่าโดยสารได้หลายวิธี ทั้งการใช้เหรียญโดยสาร การใช้บัตร MRT บัตรแมงมุม บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรเครดิต/เดบิต

ผู้ว่าฯ รฟม.ยืนยันว่า ธุรกรรมทางการเงินไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เช่น ปัจจุบันผู้ถือบัตร MRT ต้องการเติมเงินโดยใช้บัตรเครดิต BEM จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตอัตรา 0.8%

หรือกรณีเติมเงินโดยใช้เงินสด จะมีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเงินสด ซึ่งจะมีบริษัทที่ทำหน้าที่ดูแลเงินสดให้ ซึ่งอัตราสูงถึง 1-2%

@ทางด่วนใช้แล้ว บัตรเครดิต-เดบิต “แตะผ่านด่าน” แสนสะดวก

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 BEM ได้เปิดทดลองใช้ระบบการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต VISA PayWave และ MASTERCARD Paypass ที่ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ และทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด)

ผู้ใช้บริการทางพิเศษสามารถชำระค่าผ่านทางด้วยวิธีดังกล่าว โดยมีขั้นตอนที่ง่ายและสะดวก คือ ขับเข้าช่องเงินสดทุกช่อง ลดกระจก และแตะบัตรที่มีสัญลักษณ์ Contactless รูปใบพัดคล้ายสัญลักษณ์คลื่น Wi-Fi หันทางด้านขวาที่เครื่องจ่ายเงินแบบระบบ Contactless Payment ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินด้วยบัตรแบบไร้สัมผัสที่สะดวกสบาย และปลอดภัย เพียงแค่ “แตะ สแกน จ่าย” โดยบัตรเดบิตและบัตรเครดิต VISA PayWave และ MASTERCARD Paypass

ทุกวันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ตั๋วร่วม EMV มีข้อดีที่ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนเพิ่ม หรือซ้ำซ้อนกัน ผู้โดยสารไม่ต้องพกบัตรหลายใบ ในอนาคตจะขยายไปยังรถเมล์ เรือโดยสาร หรือขนส่งสาธารณะอื่นได้ง่าย เพียงแค่ผู้ประกอบการสมัครเข้าใช้บริการตามประกาศแบงก์ชาติ


X


ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรแมงมุมจำนวน 0.2 ล้านใบ บัตร MRT Plus และบัตร MRT รวมจำนวน 2 ล้านใบ และบัตร Rabbit ของ BTS จำนวน 14.2 ล้านใบ ซึ่งคาดหวังว่าเมื่อค่าโดยสารถูกลงจะทำให้มีผู้ใช้บริการระบบรางเพิ่มขึ้น

อีกทั้งในอนาคตจะดำเนินการขยายการให้บริการเพื่อให้ครอบคลุมทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทางระบบทางพิเศษ และเรือโดยสาร รวมถึงรถไฟฟ้าที่กำลังจะเปิดให้บริการ เช่น สายสีแดง สายสีเหลือง สายสีชมพู สายสีส้ม และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คนไทยจะลดการใช้เงินสด และประเทศไทยจะเปลี่ยนสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) ต่อไป

กระทรวงคมนาคมมั่นใจว่าเมื่อนำระบบตั๋วร่วม (Common Ticket) มาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบแล้ว จะไม่คิดค่าแรกเข้า หรือเป็นระบบค่าโดยสารร่วม (Common Fair) ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารระบบรางถูกลงกว่า 30%

ซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตั๋วร่วมจะกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียมในการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม และจะสามารถคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ถูกลงได้จริงหรือไม่.[/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 8:39 am    Post subject: Reply with quote

ก้าวไกล ซัด 3 ป. ทำรถไฟฟ้าแพง “อนุพงษ์” ย้ำ ม.44 ใช้แก้ปัญหาสายสีเขียว
อสังหาริมทรัพย์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10:23 น.


Powered by Streamlyn
“สุรเชษฐ์ ก้าวไกล” ซัดรัฐบาลสร้างรถไฟฟ้าไม่มองภาพรวม เน้น กทม.ละเลยต่างจังหวัด ติงอย่าอนุมัติโครงการมั่วซั่ว ก่อนระบุ 3 ป.ทำรถไฟฟ้าแพง “ปั้นตัวเลขผลการศึกษาเกินจริง-เร่งอนุมัติโครงการหวังกินหัวคิว-ปันผลประโยชน์กลุ่มทุน”ตีสายสีเขียว-ส้มไม่โปร่งใส ด้าน “อนุพงษ์ เผ่าจินดา” มานิ่ม ย้ำ ม.44 แก้ปัญหาโปร่งใสไร้ทุจริต ชี้รัฐอุดหนุน-ลงทุนเองหทมดไม่ได้

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ก.พ.) นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม, พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีค่ารถไฟฟ้าแพงโดยเฉพาะกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้ม

ลงทุนรถไฟฟ้าไม่มองภาพรวม
นายสุรเชษฐ์ เริ่มต้นว่า เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ แต่ไม่เห็นด้วยกับหลายสิ่งที่รัฐบาลทำ ซึ่งเป็นผลทำให้รถไฟฟ้ามีราคาแพง เพราะรัฐบาลสร้างแบบไม่คิด มองแบบเป็นสาย ๆ แบ่งเค้กเป็นแต่ละสายไปแล้วแต่การเจรจา ทำให้ค่าโดยสารในเมืองไทยแพง มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน อย่างกรณีสายสีเขียวไม่ควรมองเฉพาะสายสีเขียวที่มี 3 คอน แต่ควรพูดถึงการเกิดค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เมื่อเดินทางต่อในสายทางอื่น ๆ

เช่น การต่อกับสายสีชมพู เหลือง และแดง เป็นต้น และไม่ได้คิดถึงการพาคนมาสถานีรถไฟฟ้าเลย ระบบฟีดเดอร์ไม่ได้คิด แล้วแต่ละสัญญาก็เปลี่ยนแปลงยาก เพราะสัญญาผูกไว้ด้วยการลงทุนแบบ PPP Net Cost มีระยะสัญญา 30 ปี

“รถไฟฟ้าแต่ละสายใช้เงินลงทุนสูงระดับแสนล้านบาท ตกกิโลเมตรละ 2-9 พันล้านบาท ผิดกับรถเมล์ไฟฟ้าตกคันละ 3-10 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลพลเอกประยุทธ์อนุมัติลงทุนรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลไปแล้ว 508,609 ล้านบาท

ละเลยหัวเมืองอื่นทั่วประเทศทั้งขอนแก่น นครราชสีมา เชียงใหม่ ภูเก็ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, อุดรธานีและอุบลราชธานี เป็นต้น ซ่างควรมีระบบขนส่งสาธารณะได้แล้ว และการบริหารระบบสาธารณะล้มเหลวคนใช้น้อย ภาระตกอยู่กับประชาชน” นายสุรเชษฐ์กล่าว

ติงอย่าอนุมัติมั่วซั่ว
นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า การบริหารที่ขาดการวางแผนเป็นระบบทั้งการไม่คิดว่าจะทำโครงการใดก่อน-หลัง, ไม่ลงทุนในระบบรอง และการมองปัญหาเป็นสายๆรายๆไม่ได้เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้ค่ารถไฟฟ้ามีราคาแพง จึงขอให้อย่าเร่งอนุมัติมั่วซั่วแล้วทิ้งปัญหา

ส่วนการอุดหนุนของรัฐก็มีผล อย่างสายสีเขียวที่รัฐไม่อุดหนุนการก่อสร้างเลย ก็ทำให้ค่ารถไฟฟ้าแพงมาก รัฐบาลจึงควรสร้างสมดุลให้ดีระหว่างการลงทุนและการอุดหนุนโครงการให้ดี ซึ่งการเลือกระบบขนส่งสาธารณะจึงมีผลมาก หากเลือกระบบขนส่งใหญ่ไป ราคาก็แพง และอุดหนุนน้อยไป ราคาก็แพงเช่นกัน

ขณะที่ประเด็นตั๋วร่วมก็ยังไม่เกิดจริง ซึ่งต้องคิดทั้งการเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว และค่าโดยสารข้ามสายทาง เรื่องานระบบไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่น่าจะมาจากการที่รัฐบาลเกรงใจขาใหญ่บางรายมากกว่า จึงไม่กล้าทำ เหลือเพียงซากอารยธรรมที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงทุนไป 648 ล้านบาท แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

ผลการศึกษาไม่เป็นจริง-รีบอนุมัติโปรเจ็กต์หวังกินหัวคิว
นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการ 3 ป.ที่ทำให้ค่าโดยสารแพง ป.แรกคือ ป.ปั้นตัวเลข ผลการศึกษาในหลาย ๆโครงการไม่เป็นไปตามจริง ค่าต่างๆ เช่น EIRR FIRR ต่ำกว่าผลการศึกษาเดิมที่ทำไว้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้รัฐบาลต้องแบกรับปัญหาที่ตามมา

ป.ที่ 2 การปั่นโครงการ มีความเร่งรีบ ต้องการสร้างจนมองว่ามีการกินหัวคิวหรือไม่ ซึ่งนอกจากค่าโดยสารแพงแล้ว ปัญหามลพิษและจราจรติดขัดก็จะตามมา ทำให้คนอนุมัติรวย แต่ประชาชนลำบาก และจังหวัดอื่นไม่ได้รับการจัดสรรงบไปทำระบบขนส่งด้วย


ซัดสายสีเขียวคุยเงียบ ไม่เปิดเผย
และ ป.สุดท้าย ปันผลประโยชน์ ยกตัวอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว การแบ่งเป็น 3 ส่วน แบ่งตามออร์ปอเรเตอร์ ไม่ได้เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง แล้วใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2562 ซุกปัญหา แอบเจรจาไม่เปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการที่เจรจากัน แถมผลการเจรจาที่มีขอหลักฐานอะไรไป ก็ไม่เปิดเผยให้รับรู้เลย ส่วนราคาค่าโดยสารสูงสุด 65 บาทก็แพงอยู่ดี ทำไมจึงเป็นราคานี้ ควรเอารายละเอียดมากางดูกัน เชื่อว่าถูกกว่า 65 บาททำได้ถ้ารัฐอุดหนุน

ดักคอ”ศักดิ์สยาม”เล่นใหญ่อย่ากลับลำ
และอยากถามไปยังนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย เพราะประเด็นนี้เล่นใหญ่มาก ทั้งการเสนอความเห็นเพิ่มเติมในที่ประชุม ครม. หรือการที่ลูกพรรคไปฟ้องศาลปกครอง และการที่ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีประธานคณะเป็นคนของพรรคภูมิใจไทย เรียกกทม.มาชี้แจงประเด็นนี้ ไม่เห็นด้วยกับกรณี จะคอยดูว่านายศักดิ์สยามจะว่าอย่างไร เล่นใหญ่แล้วอย่ากลับลำ

สายสีส้ม ศึกใหญ่กลุ่มทุน
และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นสายที่เอกชนแย่งกันเยอะมาก เพราะรัฐช่วยอุดหนุนค่อนข้างมาก งานก่อสร้างอุดหนุนถึง 100% ซึ่งมีโอกาสกำไรงาม จนเกิดศึกประมูลรถไฟฟ้าระหว่าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ร่วมกับบมจ.อิตาเลี่ยนไทย (ITD) และ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) ช่วงแรก ๆ ยังใช้เกณฑ์ราคาในการพิจารณาโครงการ

ต่อมาหลังจากออกประกาศเชิญชวนแล้ว ITD มีหนังสือเรียนถึงคณะกรรมการคัดเลือกขอให้ปรับปรุงการประเมินข้อเสนอ แล้วสุดท้ายก็เปลี่ยนเกณฑ์การพิจารณาจริง ๆ ซึ่งเกณฑ์นี้ไม่เคยใข้กับโครงการใดมาก่อนจน BTS นำเรื่องนี้ยื่นฟ้องศาลปกครอง จนชนะมาแล้วรอบหนึ่ง แต่รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกอุทธรณ์ต่ออีก ลามถึงการถวายฎีกา จนในที่สุด รฟม.ก็ตัดสินใจยกเลิกการประมูล เชื่อว่าการเปลี่ยนเกณฑ์ดังกล่าวมีใบสั่งแน่นอน


เพราะเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดสัดส่วนเอาคะแนนเทคนิคมาเพิ่ม 30% ลดสัดส่วนการเงินเหลือ 70% แถมในการเงินมี 10% เป็นคะแนนที่จะให้จากความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนและถูกต้อง เหมือนเป็นคะแนนจิตพิสัย วัดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของการให้คะแนน และศาลปกครองกลางก็ระบุว่า การใช้หลักเกณฑ์นี้มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ซัดเขียว-ส้มรอ”ประยุทธ์”เคลียร์
หากนำทั้ง 2 สายนี้มาเทียบกัน จึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า จากการที่ BTS มีประเด็นกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำให้กระทรวงคมนาคมที่เคยมีความเห็นให้ผลักดันสัมปทานสายสีเขียวถึง 3 ครั้งเมื่อมีการสอบถามความเห็น กลับลำขวางไม่เห็นด้วยเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ซึ่งท้ายสุดเป็นการรอให้พลเอกประยุทธ์ลงมาเคลียร์นั่นเอง

“อนุพงษ์” ชี้รัฐอุ้มหมดไม่ได้
ด้านพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียวถือว่าผู้อภิปรายเข้าใจเหตุผลทั้งหมด แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้คำสั่งม.44 เพราะไม่เห็นรายละเอียดการเจรจา เกรงไม่โปร่งใสนั้นก็ว่าไป ส่วนเรื่องอื่นเป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนโครงการต่างๆที่เสมอมา รฟม. ควรทำเองทั้งหมดเพียงผู้เดียว ซึ่งก็น่าจะการทำให้ตั๋วร่วมเกิดง่ายขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลพยายามทำระบบตั๋วร่วมที่เป็น Euro-VISA-Master Card อยู่ แต่ปัญหาคือ ประเทศไทยยังตกลงเรื่องเคลียร์รื่งเฮ้าส์ไม่ได้ เพราะค่าโดยสารแต่ละสายทางมีราคาไม่เท่ากัน ต้องเคลียร์ว่าใครมีระบบอย่างไร แล้วแบ่งประโยชน์กัน

กลับมาเรื่อง การลงทุน หากรัฐบาลอุดหนุนโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย แล้วรัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนไปขุดคลองให้ชาวนา ท่านก็พูดเองว่า ไม่ให้เน้นเฉพาะคนกทม. ดังนั้น หากทำอย่างที่ท่านกล่าว คนที่ต้องการท่อระบายน้ำทำอย่างไร? แล้วยิ่งไปลงทุนในต่างจังหวัด ผลขาดทุนเกิดขึ้นแน่ 100% ไม่มีทาง หายากมากที่จะลงทุนแล้วรอด จังหวัดที่มีความพยายามจะทำเองอย่าง จ.ขอนแก่น ก็ต้องใช้สูตรเหมือน กทม. คือวางแผนก่อสร้างก่อน 1 สาย เป็นสายเดียวและเป็นสายหลักเหมือนสายสีเขียวและสายสีส้มใน กทม.

ยันใช้ม.44 แก้ปัญหา
“รถไฟฟ้าลงทุนหนักจริงๆ แต่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในอนาคต โจทย์ของท่านเป็นสเกลใหญ่ ซึ่ง คจร.ทำอยู่ แต่ผมไม่แน่ใจจะทำได้ไหม โดยเฉพาะการให้รัฐลงทุนและอุดหนุนให้มาก แบกทั้งหมดแทน รัฐทำไม่ไหวจึงให้เอกชนทำแทน มันยจึงต้องมีตั๋วร่วม ผมคิดว่าถ้ารัฐทำตั๋วร่วมแล้วจะซับซิไดร์ให้ ก็ทำได้ในความคิดเห็นผม

ส่วนการออกไปต่างจังหวัดก็คิดอีกแบบ เพราะไปแล้วขาดทุนแน่นอน ส่วนสายสีเขียวตอนเริ่มนั้นไม่มี รฟม. เขาให้กทม.ดูแล ผมกำกับ กทม.ก็มาดู เกิดปัญหา ท่านนายกฯก็ใช้ ม.44 แก้ให้หมดแล้ว ด้วยความที่ต้องการแก้ปัญหาและไม่มีทุจริต ผมเรียนได้เต็มปาก เหลือการเจรจาที่ท่านสงสัยเท่านั้นว่าจะเป็นอย่างไร”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564 ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้ (23 ก.พ.) ว่า
คณะกรรมการ PPP เห็นชอบ การปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 – 2570 (แผนการจัดทำโครงการ PPP) ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะ และความพร้อมของแต่ละโครงการ รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบัน
ในแผนการจัดทำโครงการ PPP ฉบับข้างต้น มีรายการโครงการที่ประสงค์จะร่วมลงทุนทั้งหมดรวม 77 โครงการจาก 9 กระทรวง มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยเป็นโครงการร่วมลงทุนในกลุ่มที่มีความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน (High Priority PPP Project) จำนวน 20 โครงการ มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 503,153 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนการจัดทำโครงการ PPP ข้างต้น จะช่วยสร้างความสนใจและดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนภายใต้แผนดังกล่าว ลดข้อจำกัดการลงทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกู้จากภาครัฐ ตลอดจนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะแก่ประชาชนจากความรู้ ความเชี่ยวชาญ และนวัตกรรมของเอกชนอีกด้วย
นางปานทิพย์กล่าวต่อว่า คณะกรรมการ PPP ยังได้ผลักดันโครงการในกลุ่ม High Priority PPP Project ที่อยู่ระหว่างการจัดทำหลักการของโครงการและรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ให้ดำเนินการตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562
โดยการตั้งคณะทำงานเพื่อให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว เพื่อให้โครงการมีความพร้อมในการเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ PPP ได้ตามแผนงาน จำนวน 4 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 163,052 ล้านบาท ได้แก่
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มูลค่า 124,791 ล้านบาท
โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน – นครราชสีมา ของกรมทางหลวง (ทล.) มูลค่า 1,606 ล้านบาท
โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ของ ทล. มูลค่า 1,454 ล้านบาท
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ของ รฟม. จำนวน 35,201 ล้านบาท
รวมทั้งได้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการที่ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น ตลอดจนการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ PPP ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาความสำคัญของโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 – 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินโครงการในกลุ่มข้างต้นภายใต้ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 มีกรอบแนวทางในการพิจารณาที่มีความชัดเจน และช่วยให้การดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะมีความคล่องตัว และเป็นไปตามแผนที่กำหนด
https://www.thebangkokinsight.com/559043/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2021 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“คมนาคม” ปลุกระบบตั๋วร่วม EMV บีบลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 30%-กรุงไทยรับปรับหัวอ่าน-คุมบิ๊กดาต้า
หน้าคมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.59 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.59 น.



กรุงไทยลงทุน “ระบบตั๋วร่วม” สายสีม่วง-น้ำเงิน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 - 16:15 น.

รฟม.รายงานบอร์ด 25 ก.พ. ผลล้มประมูลสายสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” 1.28 แสนล้าน พร้อมไทม์ไลน์เปิดบิดใหม่ ได้เอกชน 6-8 เดือน จับตาหั่นการลงทุนรถไฟฟ้าภูเก็ตเป็นรถล้อยางไฟฟ้า ลดต้นทุนเหลือ 1.7 หมื่นล้าน ปัดฝุ่นระบบตั๋วร่วมหลังกรุงไทยยื่นเสนอลงทุนพัฒนาระบบ EMV สายสีน้ำเงิน สีม่วง เข็นใช้ ต.ค.นี้

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 25 ก.พ.จะมีประชุมบอร์ด รฟม. คาดว่านายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. จะรายงานการล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ตามที่คณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ มีมติยกเลิกและเปิดประมูลใหม่เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา

“บอร์ดคงไม่มีการตัดสินใจ ยังไม่ถึงเวลา เป็นอำนาจของคณะกรรมการ มาตรา 36 ในการพิจารณาเดินหน้าโครงการใช้เกณฑ์ไหนในการเริ่มต้นใหม่ และต้องเสนอคณะรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะตอนนี้อยู่ในความสนใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์ไหนต้องรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนในการยกร่างทีโออาร์ และเร่งให้ได้เอกชนตามที่กำหนดไทม์ไลน์ไว้ 6-8 เดือน”

นอกจากนี้ มีเรื่องระบบตั๋วร่วมที่นำมาปัดฝุ่นใหม่ หลังกระทรวงคมนาคมเร่งรัดให้ใช้ภายในปี 2564 โดยใช้บัตรโดยสารไม่ว่าจะเป็นบัตรแรบบิท บัตร MRT บัตรแมงมุม สามารถใช้บัตรใดบัตรหนึ่งแตะข้ามระบบกันได้ทั้งสายสีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง ปัจจุบัน บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ลงทุน 120 ล้านบาท ปรับปรุงระบบไว้รอแล้ว ยังเหลือสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงที่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ต้องการให้ รฟม.เป็นผู้ลงทุน วงเงิน 225.4 ล้านบาท ทำให้ที่ผ่านมาบอร์ดจึงยังไม่มีการพิจารณา


สำหรับการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในระยะยาว รฟม.มีแนวคิดจะพัฒนาเป็นแบบ Account Based Ticketing (ABT) เป็นระบบเปิด เป็นการใช้บัตรผ่านระบบบัญชีบัตร ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือโดยสาร ทางด่วน ร้านสะดวกซื้อ ด้วยบัตรใบเดียว คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี หรือภายในปี 2566 ล่าสุดธนาคารกรุงไทยจะพัฒนาระบบ EMV ที่รองรับบัตรกรุงไทย ที่ปัจจุบันมีการให้บริการอยู่แล้วเป็นแบบ EDC โดยจะลงทุนให้ รฟม.ทั้งหมดสำหรับสายสีน้ำเงินและสีม่วง ตั้งเป้าจะใช้ได้บางส่วนในเดือน ต.ค.นี้ และเต็มรูปแบบภายในเดือน ม.ค. 2565

“บัตรโดยสารแตะข้ามระบบที่คมนาคมกำลังผลักดัน มีบีทีเอสที่ทำรายเดียว ที่เหลือยังไม่มี ขณะที่ระบบ EMV มีแนวโน้มที่กรุงไทยจะมาดำเนินการให้ แต่จะเริ่มพัฒนาสายสีม่วงก่อน ส่วนสายสีน้ำเงินทาง รฟม.หรือ BEM ต้องลงทุนเอง เงินลงทุนน่าจะเป็นหลัก 100 ล้านบาท ก็ไม่รู้ว่าจะเดินหน้าได้อย่างที่ตั้งเป้าได้หรือไม่”


อีกทั้งจะมีรายงานความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต เฟสแรกสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 42 กม. วงเงิน 35,201 ล้านบาท ซึ่งนโยบายกระทรวงคมนาคมให้ปรับรูปแบบจากระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อเหล็ก (tram) เป็นระบบล้อยางไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุนโครงการ คาดว่าหากเป็นรูปแบบใหม่จะใช้เงินลงทุนประมาณ 17,754 ล้านบาท เนื่องจากระบบที่ใช้เป็นรถโดยสารประจำทางระบบไฟฟ้า หรือ ART และปรับรูปแบบการก่อสร้างด้วย

ซึ่ง รฟม.เคยเสนอบอร์ดไปแล้วว่าสามารถปรับลดได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท เหลือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ในครั้งนี้จะมีรายละเอียดของโครงการเสนอให้บอร์ดพิจารณาหลังปรับลดต้นทุนได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเดินหน้าโครงการต่อไป จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 30 ปีก่อสร้าง จัดหาระบบและรับสัมปทานเดินรถ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2021 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งประมูล “สีส้ม” เม.ย.นี้-เจรจาสีเหลืองต่อขยายถึงทางตัน BTS ลั่นไม่ชดเชยทุกกรณี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:04 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:04 น.




เจรจาสีเหลืองต่อขยายถึงทางตัน EBM ยืนกรานไม่ชดเชย BEM ทุกกรณี บอร์ด รฟม.ให้ประเมินตัวเลขใหม่ ส่วนสีส้มเดินหน้า Market Sounding 1 ก.พ. เปิดประมูลใหม่ใน เม.ย. บอร์ดเคาะแผนเงินกู้ปี 65 วงเงิน 2.9 หมื่นล้าน ชำระหนี้ค่าก่อสร้าง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน วันนี้ (25 ก.พ.) ว่า บอร์ดรับทราบผลเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายฯ จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 กับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง กรณีผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ โดยทาง EBM ได้ทำหนังสือเมื่อ 18 ธ.ค. 2563 ยืนยันว่าไม่สามารถรับภาระกรณีที่ BEM ขาดรายได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ

บอร์ดให้ รฟม.ศึกษาตัวเลขเพิ่มเติมกรณีที่ต้องทำส่วนต่อขยายสายสีเหลืองว่าจะมีภาระค่าชดเชยให้สายสีน้ำเงินเท่าไร และนำเสนอบอร์ดในครั้งหน้า ทั้งนี้ รฟม.ยังอยากเจรจากับ EBM เพื่อให้รับเงื่อนไขการเจรจาตามสิทธิ์ ซึ่งการจะชดเชยหรือไม่ ทาง BEM ต้องพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจริง โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ประเมินว่าสีเหลืองต่อขยายเปิดปีแรกจะกระทบทำให้ผู้โดยสาร MRT สีน้ำเงินลดลงราว 9,000 คน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นในปีท้ายๆ ซึ่งคิดเป็นรายได้ที่กระทบเฉลี่ย 20 บาทต่อคน

@ 1 ก.พ.รับฟังความเห็นเอกชน ทำร่าง RFP ประมูลสีส้มใหม่

นายภคพงศ์กล่าวว่า บอร์ดยังได้สอบถามถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งได้รายงานว่า กรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ยกเลิกการประกาศคัดเลือกเดิม และจะเริ่มดำเนินการคัดเลือกใหม่ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 ทั้งนี้ บอร์ดได้กำชับให้ รฟม.ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

สำหรับขั้นตอนในการคัดเลือกใหม่นั้น จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) โดยจะประกาศในเว็บไซต์ รฟม. ในวันที่ 1 มี.ค. เป็นเวลา 15 วัน และให้เวลาเอกชนเสนอความเห็น ประมาณ 3 วัน จากนั้น รฟม.จะประมวลความเห็นและสรุปร่างเอกสารประกาศเชิญชวน (Request for Proposal : RFP) เพื่อเสนอคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เห็นชอบร่าง RFP โดยคาดว่ากก.มาตรา 36 จะมีการประชุมในช่วงครึ่งหลังของเดือน มี.ค. และประกาศขายเอกสารได้ช่วงเดือน เม.ย. นี้

แผนงานใหม่นั้น รฟม.คาดว่าจะสรุปผลการประมูลและได้ตัวเอกชนในเดือน ส.ค. 2564 และนำเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป ซึ่งการลงนามสัญญากับเอกชนนั้นจะต้องรอให้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม (EIA) ได้รับการอนุมัติก่อนด้วย ซึ่งขณะนี้ รฟม.ได้เสนอรายงาน EIA ไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว ตั้งเป้าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้

@เห็นชอบพัฒนาเชิงพาณิชย์ท่าเรือพระนั่งเกล้าเชื่อมสีม่วง

มีมติเห็นชอบให้ รฟม.นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการให้เช่าหรือให้สิทธิ์ใดๆ ในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและเชิงพาณิชย์ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีพระนั่งเกล้า บริเวณท่าเรือฯ ใต้สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง คลองบางไผ่-บางซื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อ ล้อ ราง เรือ

ประกอบด้วย ท่าเรือฝั่งสะพานพระนั่งเกล้าและฝั่งไทรม้า พื้นที่ประมาณ 2,100 ตร.ม. มูลค่า 33 ล้านบาท ซึ่งตาม พ.ร.บ.รฟม. มาตรา 45 (6) ถ้าการให้เช่าสิทธิ์เกิน 10 ล้านบาทต้องเสนอ ครม.เห็นชอบ ส่วนการก่อสร้างท่าเรือจะแล้วเสร็จเดือน เม.ย. เปิดใช้งานไม่เกินต้นเดือน พ.ค. 64



นอกจากนี้ บอร์ดเห็นชอบร่างข้อบังคับ รฟม. เรื่องการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .. ต้องเสนอ ครม.เห็นชอบก่อนจึงมีผลบังคับใช้เพื่อทดแทนข้อบังคับเดิมซึ่งจัดทำเป็นตารางกำหนดค่าจอดรถซึ่งใช้จนหมดแล้ว จำเป็นต้องทำตารางใหม่เพื่อใช้ในการประกาศปรับอัตราค่าจอดรถใหม่ และรองรับรถไฟฟ้าสายใหม่ในอนาคต สำหรับอัตราค่าจอดรถจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ในเมืองจะสูงกว่าย่านเมือง ทั้งนี้ หลังจาก ครม.เห็นชอบแล้วจะต้องเสนอบอร์ดพิจารณาการเลือกใช้ตารางอัตราค่าจอดรถแต่ละแนวสายทางรถไฟฟ้าอีกครั้ง

นอกจากนี้ บอร์ด รฟม.ได้มีมติเห็นชอบแผนกู้เงินของ รฟม.ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อบรรจุในแผนบริหารหนี้สาธารณะกระทรวงการคลัง วงเงิน 29,821.24 ล้านบาท แบ่งเป็น กู้เพื่อนำมาชำระหนี้ค่าก่อสร้างที่ครบกำหนด 18,791.03 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษา จำนวน 11,030.21 ล้านบาท และเห็นชอบขยายเวลาชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบและก่อสร้าง ค่าจ้างที่ปรึกษา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ จากปี 2567 ไปถึงปี 2583 โดยมีวงเงินต้นและดอกเบี้ย 43,000 ล้านบาท โดยจะนำเสนอ ครม.เพื่อเห็นชอบกรอบดำเนินงาน


EBM เสียงแข็ง!! ไม่จ่ายค่าชดเชยหลังเปิดสีเหลืองต่อขยาย
*รถไฟฟ้าสีส้มดีเดย์ 1 มี.ค. รับฟังทำร่าง RFP
*ลุยเปิดเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีพระนั่งเกล้า
*เตรียมเจาะผนังสถานีบางซื่อเชื่อมสถานีกลางฯ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2846730012215165


Last edited by Wisarut on 01/03/2021 11:45 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2021 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

“ภูมิใจไทย” เปิดเวทีระดมความเห็น “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” 4 มี.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12:19 น.
ปรับปรุง: อาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12:19 น.




“ภูมิใจไทย” จัดเวทีเสวนาระดมความคิด “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” 4 มี.ค.นี้ หวังแก้ปัญหาค่าครองชีพ เชิญกรมราง รฟม. ทีดีอาร์ไอ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วม แบบ New Normal ติดตามร่วมแสดงความเห็นได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ฉันเชียร์ภูมิใจไทย” และแอปคลับเฮาส์

นายภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทยจะมีการจัดเสวนาเรื่อง “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” ในวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมพรรคภูมิใจไทย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงชาวต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานในพื้นที่เมืองหลวง สามารถเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน

“ค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะมีราคาค่อนข้างสูง ประชาชนเข้าถึงบริการได้ยาก บางเส้นทางมีการประกาศออกมาตลอดทั้งเส้น เป็นหลักร้อย ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในเขต กทม.ได้รับแค่ 331 บาท หากค่าโดยสารไป-กลับ 200 กว่าบาท แล้วจะเอาอะไรรับประทาน เมื่อเขาเหลือเงิน 133 บาท มันเป็นปัญหาที่ระบบราชการกับเอกชน ปัญหาเชิงโครงสร้าง หรืออะไรกันแน่ พรรคภูมิใจไทยจึงต้องการหาทางออกในเรื่องนี้ให้กับพี่น้องประชาชน ตามนโยบาย ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย” โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าว

นายภราดรกล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้จะมีวิทยากร ประกอบไปด้วย
1. นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)
2. นายภคพงศ์ ศิริ กันทรมาศ ผู้ว่าการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
3. ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
4. นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการรถโดยสารปลอดภัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
5. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
6. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย

โดยมีนายสุริยงค์ หุณฑสาร รองผู้อำนวยการพรรค เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งการเสวนาครั้งนี้จะทำในระบบ New Normal ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด โดย ประชาชนสามารถติดตาม ฝากข้อคิดเห็น และตั้งคำถามได้ โดยผ่านทางแฟนเพจ เฟซบุ๊ก “ฉันเชียร์ภูมิใจไทย” และแอปพลิเคชันคลับเฮาส์

4 มี.ค."ภูมิใจไทย"ระดมกึ๋น"ชำแหละค่ารถไฟฟ้าแพงง!!
*ผู้ว่ารฟม.-กรมราง-ทีดีอาร์ไอ-มูลนิธิผู้บริโภค
*ตัวจี๊ดๆทั้งนั้นมาร่วมเวทีชี้ทางออกที่เหมาะสม
*รอดูอย่างใจจดใจจ่อทีเดียวจะแก้ได้!!ไม่ได้??
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2848712585350241


Last edited by Wisarut on 01/03/2021 10:13 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2021 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

EBM เสียงแข็ง!! ไม่จ่ายค่าชดเชยหลังเปิดสีเหลืองต่อขยาย
*รถไฟฟ้าสีส้มดีเดย์ 1 มี.ค. รับฟังทำร่าง RFP
*ลุยเปิดเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีพระนั่งเกล้า
*เตรียมเจาะผนังสถานีบางซื่อเชื่อมสถานีกลางฯ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2846730012215165
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2021 7:57 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผน'W-MAP'นั่งเรือต่อรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564

ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 มอบหมายกระทรวงคมนาคมร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้เพิ่มบริการการขนส่งในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน รวมทั้งพิจารณาจัดบริการขนส่งทางน้ำในคลองอื่น ๆ ที่ขนานกับถนนสายหลักเพื่อลดปริมาณการจราจรบนถนน

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ใช้งบประมาณ 33 ล้านบาทดำเนินการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำ (W-MAP) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขต กทม. และปริมณฑล รวมถึงเพิ่มเส้นทางการเดินทางทางน้ำและเป็นอีกทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน ช่วยลดค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตามปัจจุบันการเดินทางโดยเรือ มีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดที่สุด มีความสะดวก และตรงเวลา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวด้วย พร้อมกันนี้จะเป็นอีกระบบขนส่งที่จะใช้ระบบตั๋วร่วม

สำหรับโครงการนี้ใช้เวลาศึกษา 14 เดือน เริ่มตั้งแต่ ก.ย. 2563 จะแล้วเสร็จ พ.ย. 2564 เมื่อศึกษาแล้วเสร็จจะเสนอแผนฯให้กระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอที่ประชุมคณะกรรมการการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณา จากนั้นคาดว่าภายในปี 2564 จะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. ระบุว่า หลังจาก ครม. อนุมัติแผน W-MAP จะนำมาพัฒนาคลองขุด มหาสวัสดิ์ เป็นโครงการนำร่องระยะทางรวม 28 กม. แบ่งเป็น ด้านตะวันตกเชื่อมแม่น้ำท่าจีน 20 กม. และด้านตะวันออกเชื่อมถึงคลองบางกอก น้อย 8 กม. จะพัฒนาจากประตูน้ำมหาสวัสดิ์-วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร ซึ่งเส้นทางนี้มีประชาชนอาศัยหนาแน่น ทั้งชุมชน ต่าง ๆ รวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ที่ทำงานอยู่ใน กทม. แต่อาศัยอยู่ที่จังหวัดปริมณฑล จะเพิ่มทางเลือกการเดินทางระหว่าง จ.นครปฐม-กทม. ช่วยลดปริมาณการจราจรติดขัดบริเวณถนนบรมราชชนนี พระราม 8 ก่อนเข้าสู่ กทม. ได้

นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางที่เชื่อมการขนส่งสาธารณะระบบราง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันอีกด้วย ซึ่งมีระยะทาง 15 กิโลเมตร รวม 3 สถานี ได้แก่สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ในระหว่างการทดสอบการเดินรถ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณเดือน ก.ค. 2564

โครงข่ายการเดินทางทางน้ำ (W-MAP) เกิดจากการ เชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองจำนวน 31 คลอง ระยะทางรวม 492.2 กม. ซึ่งเป็นทั้งคลองในการกำกับดูแลของ กทม., กรมเจ้าท่า (จท.) และกรมชลประทาน ปัจจุบันมีเรือโดยสารสาธารณะให้บริการในเขต กทม.และปริมณฑล 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 77 กม. ประกอบด้วย 1.เส้นทางของเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือไฟฟ้าให้บริการในแม่น้ำเจ้าพระยา 34.8 กม. 2.เส้นทางในคลองแสนแสบ 17.2 กม. 3.เส้นทางในคลองผดุงกรุงเกษม 4.4 กม. 4.เส้นทางในคลองภาษีเจริญ 11.5 กม. และ 5.เส้นทางในคลองประเวศบุรีรมย์ (คลองพระโขนง) 9 กม. มีจำนวนท่าเรือทั้งหมด 119 ท่าเรือ มีจุดเชื่อมต่อเดินทาง ล้อ-ราง-เรือ 12 จุด และมีผู้โดยสารใช้บริการทั้งหมด 200,000 คนต่อวัน หรือ 70 ล้านคนต่อปี

อย่างไรก็ตามตัวเลขการใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ แยกออกมาดังนี้ ใช้บริการเรือคลองแสนแสบเฉลี่ย 40,000-50,000 คนต่อวัน ขณะที่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 8 แสนคนต่อวัน รถไฟฟ้าสายสีม่วงประมาณ 70,000 คนต่อวัน ส่วนแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ประมาณ 8 หมื่นคน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเฉลี่ยประมาณ 4 แสนคนต่อวัน และคาดว่าเมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดให้บริการจะมีผู้ใช้บริการประมาณ 3 แสนคนต่อวัน

รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดการเดินทางไร้รอยต่อ สอดคล้องแผนปฏิรูปของ ขสมก.ที่จะปรับให้รถเมล์เป็นระบบฟีดเดอร์ขนส่งคนเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะ และเส้นทางการเดินทางทางน้ำจะเป็นฟีดเดอร์สำคัญที่ขนคนมายังสถานีรถไฟฟ้า

ปัจจุบันมี 5 เส้นทางที่เปิดให้บริการเดินเรือมีท่าเรือ ที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันในรัศมี 500 เมตร จำนวน 12 จุด ประกอบด้วย ท่าเรือที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) จำนวน 10 สถานี ได้แก่ สถานีอโศก, สถานีหัวลำโพง, สถานีบางไผ่, สถานีบางหว้า, สถานีเพชรเกษม 48, สถานีภาษีเจริญ, สถานีสะพานพระนั่งเกล้า, สถานีบางโพ, สถานีสนามไชย, สะพานตากสิน รวมถึงท่าเรือที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส (สายสีเขียว) 2 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี, สถานีบางหว้า และท่าเรือที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) 2 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน, สถานีรามคำแหง

อนาคตเมื่อทำตาม W-MAP จะเพิ่มจุดเชื่อมต่อทางเรือกับระบบรถไฟฟ้าอีก 15 จุด รวมทั้งสิ้นเป็น 27 จุด

เท่ากับจะมีจุดเส้นทางทางเรือเพิ่ม โดยแผนการบริหารจัดการได้วางระบบให้เบื้องต้น ประเมินว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2565 โดยจะพิจารณาใบอนุญาตให้เอกชนมาเดินเรือ พร้อมทั้งพิจารณาการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ในส่วนการพัฒนาท่าเรือ และพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์

ความหวังกรุงเทพฯ จะเบาบางเรื่องรถติดลงได้ W-MAP น่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญ แต่ต้องตามติดว่าเมื่อมีการเดินเรือ เพิ่มขึ้นจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ขนาดไหน ประเด็นสำคัญเรื่องค่าโดยสารต้องยืนอยู่บนจุดที่ถูกและตรงเวลาที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางจับมือ JICA พัฒนาโครงข่ายระบบราง M-Map 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:56 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:56 น.




กรมขนส่งทางราง ร่วมมือทางวิชาการกับ JICA พัฒนาแผนแม่บทระบบราง (M-Map 2) เพิ่มเส้นทางเติมโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงครอบคลุมพื้นที่ แก้จราจรอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 1 มี.ค. 2564 นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้การต้อนรับ Mr. Takahiro MORITA, Chief Representative และเจ้าหน้าที่จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) โดยได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” ของ JICA ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ของ ขร.

โดย ขร. และ JICA ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ Record of Discussion (R/D) ภายใต้การดำเนินโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ JICA ได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินการโครงการ M-MAP2 ของ JICA (ฝ่ายญี่ปุ่น) รวมถึงการหารือเพื่อเตรียมการศึกษาเรื่อง “Data Collection Survey on Railway Electrification (SRT)” ที่ JICA จะดำเนินการร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่ง ขร.พร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมในการศึกษาในเรื่องของรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ รวมถึงให้คำแนะนำ วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย



สำหรับโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพื่อลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคตซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 231, 232, 233 ... 277, 278, 279  Next
Page 232 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©