Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179503
ทั้งหมด:13490735
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 121, 122, 123 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2021 11:10 am    Post subject: Reply with quote

จบอภิปรายลุ้นยุติศึกรถไฟฟ้า กทม.ลั่นให้สัมปทาน BTS แลกหนี้แสนล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 - 10:00 น.

จับตาสัมปทานรถไฟฟ้า 2 สาย หลังจบอภิปรายไม่ไว้วางใจ กทม.เผย ครม.เคาะแน่ขยาย 30 ปีให้ BTS เก็บค่าตั๋ว 15-65 บาท แลกปลดหนี้ 1.48 แสนล้าน รฟม.ถอนแล้วอุทธรณ์คำสั่งทุเลาสายสีส้ม รอตั้งต้นประมูลใหม่ สะพัดผุดแนวคิดใหม่จ้างตรง BEM เดินรถช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี รับเปิดหวูดปี’67 ด้าน “คีรี” ยังไม่ถอนฟ้อง เตรียมลุยต่อ

แหล่งข่าวจาก กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจจบ คาดว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณาอนุมัติขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว 30 ปี ให้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2602 และเก็บค่าโดยสาร 15-65 บาท

ตามที่ได้เจรจาได้ข้อสรุปร่วมกันตามคำสั่ง ม.44 ซึ่ง BTSC รับภาระหนี้ส่วนต่อขยาย ค่าเดินรถ และอื่น ๆ กว่า 1.48 แสนล้าน แทน กทม. ถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2572 หลังจากนี้ กทม.นำรายได้ที่ BTSC แบ่งให้มาชำระค่าโยธาส่วนต่อขยายและดอกเบี้ยคืน

“ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท คงลดเพดานไม่ได้ เพราะการเจรจา PPP จบไปแล้ว ต้องใช้ราคานี้ไปก่อนสักระยะ ซึ่งเอกชนคงมีการทำการตลาดสนับสนุน เช่น ตั๋วเที่ยวหรือตั๋วเดือน ที่ราคาต่อเที่ยวจะถูกลง ทำให้ราคาสูงสุดถูกลงตามไปด้วย อาจจะไม่ถึง 60 บาท”

แหล่งข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้ถอนอุทธรณ์คำสั่งทุเลาของศาลปกครองจากกรณี BTSC ยื่นฟ้อง รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี เป็นพิจารณาซองเทคนิคร่วมการเงินในสัดส่วน 30:70 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หลังคณะกรรมการมาตรา 36 ยกเลิกประมูล และให้ รฟม.ประมูลใหม่ได้เอกชน 6-8 เดือน เพื่อเปิดเดินรถช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีที่สร้างเสร็จปลายปี 2565 เปิดเดินรถภายปี 2567


สำหรับสายสีส้ม รฟม.เปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท มี 2 กลุ่มยื่นซอง คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และกลุ่ม BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทย-ราชกรุ๊ป) ขณะนี้กำลังเตรียมทีโออาร์ประมูลใหม่ ให้ยื่นข้อเสนอ มิ.ย. คาดว่ามี 2 รายเดิมยื่นซอง มีแนวโน้มจะใช้เกณฑ์เทคนิคพิจารณาร่วมการเงิน ดูผู้ที่ให้ผลประโยชน์รัฐดีที่สุดเป็นผู้ชนะ

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังล้มประมูลสายสีส้ม ซึ่ง รฟม.อยู่ระหว่างพิจารณาเกณฑ์ประมูลใหม่นั้น มีกระแสข่าวสะพัดออกมาว่า รฟม.อาจจะใช้แนวทางการเจรจาตรงกับ BEM เพื่อให้การเปิดบริการสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เป็นไปตามเป้า เหมือนก่อนหน้า รฟม.เคยเจรจาตรง BEM เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพื่อแก้ปัญหาสายสีน้ำเงินไม่เชื่อมกับสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน แต่การจะเดินหน้าแนวทางนี้อาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะต้องยกเลิกการ PPP

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังบอกไม่ได้จะสู้ต่อประมูลสายสีส้มอย่างไร จะปล่อยไปเลยก็ไม่ได้ เพราะลงทั้งกำลังกายกำลังเงินไปแล้ว ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นยังมองไม่ชัดและยังมองไม่เห็น เพราะ รฟม.เพิ่งจะยกเลิกประมูล คาดว่าอีกนานกว่าจะพิจารณากันใหม่ ต้องดูว่า รฟม.จะดำเนินการอย่างไร ถูกต้องไหม ส่วนคดีฟ้องร้องที่ศาลปกครอง จะถอนฟ้องหรือไม่ ทำไมต้องถอน ยังไม่จำเป็นต้องถอน ยืนยันผมไม่ถอยอะไรทั้งสิ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2021 11:30 am    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’เก็งข้อสอบรอตอบรถไฟฟ้าสาย’สีเขียว-ส้ม’

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10:12 น.

17 ก.พ.64- นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความพร้อมชี้แจงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เป็นปัญหาอยู่ว่า ต้องรอให้ผู้อภิปรายได้อภิปรายก่อน เพื่อดูว่าประเด็นอภิปรายเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครและกระทรวงมหาดไทย เดี๋ยวรอให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อธิบาย

เมื่อถามว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาจะถือโอกาสพูดให้ประชาชนเข้าใจไปในคราวเดียวกันหรือไม่ นายศักดิ์สยาม ตอบว่า ขณะนี้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม หารือ เดี๋ยวต้องรอดู โดยกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อถามอีกว่า มีกรอบเวลาในการหารือให้เสร็จสิ้นเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาหรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า อยู่ที่กรุงเทพมหานครและกระทรวงมหาดไทย จะเป็นผู้นัด ไม่ใช่กระทรวงคมนาคม

เมื่อถามว่า เรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีปัญหาจะเตรียมข้อมูลชี้แจงหรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ได้เตรียมข้อมูลไว้แล้ว ซึ่งการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบกฎหมาย ซึ่งต้องรอดูว่าการอภิปรายจะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหรือไม่ ตนก็พร้อมอธิบายและได้เตรียมคำตอบไว้หลายเรื่อง ซึ่งการดำเนินการต่างๆตามระเบียบกฎหมายและยึดมติ ครม.

เมื่อถามว่าประเมินการอภิปรายวันแรกของฝ่ายค้านอย่างไร นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เรียบร้อยดี ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายก็ชี้แจง ได้ค่อนข้างชัดเจน มีข้อมูลหลักฐาน นายกฯ ค่อนข้างอธิบายได้ละเอียด เพราะท่านทราบทุกเรื่องและเป็นผู้ปฏิบัติ และโดยส่วนตัวที่ถูกอภิปรายจากฝ่ายค้านด้วยในครั้งนี้หนักใจหรือไม่ คงต้องฟังฝ่ายค้าน ขอยืนยันว่าสิ่งใดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบอธิบายได้ทุกเรื่อง


นายศักดิ์สยาม-ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็น รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีส้ม นายศักดิ์สยาม-ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็น รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีส้ม นายศักดิ์สยาม-ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม การอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็น รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีส้ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

โฆษณาดาบพิฆาตอสูรภาครถไฟนิรันดร์ พากย์ไทย บรถไฟฟ้าบีทีเอส จัดโดยไลน์ทีวี และ Cartoon club
https://www.facebook.com/CartoonClubChannel/posts/5283090781731055
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 9:05 am    Post subject: Reply with quote

ฝ่ายค้านไม่ไว้วางใจ สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว “ประยุทธ์” ตอบยาว
สังหาริมทรัพย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 12:07 น.


ฝ่ายค้าน อภิปรายไม่ไว้วางใจ สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว “ประยุทธ์” ใช้อำนาจ เลี่ยงกฏหมาย-ขัดมติคณะรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลวันที่ 2 นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายถึงสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยใช้ชื่อการอภิปรายครั้งนี้ว่า “มหากาพย์การโกงข้ามศตวรรษ จากบ้านหลวงสู่ ม.44 ยกสัมปทานรถไฟฟ้าให้เจ้าสัว”

เนื่องจากการดำเนินการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เป็นการกระทำที่หลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 โดยใช้คำสั่งคสช.ตามมาตรา44 และขัดมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561

ม.44 เคยแก้รถไฟฟ้าฟันหลอมาแล้ว ไม่ใช่แค่สายสีเขียว
หลังอภิปรายจบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งการดำเนินงาน 3 ช่วง สายสุขุมวิท และสายสีลม ช่วงแรกให้สัญญาสัมปทานเอกชนไว้ตั้งแต่ปี 2535 สัญญา 30 ปี สิ้นสุดปี 2572 ช่วงต่อไปเป็นช่วงสัญญาที่ 2 เดิมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นผู้ก่อสร้าง

ต่อมามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี2561 เห็นชอบให้โอนช่วงดังกล่าวให้กทม.รับมาบริหารจัดการแทน รวมถึงรับภาระหนี้ต่างๆ มาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ด้วย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีสัญญาดำเนินการแตกต่างกันในแต่ละช่วง อาจจะทำให้เกิดปัญหาการบูรณาการ การบริหารจัดการโครงการ และการบริหารจัดการสัญญา ที่ไม่มีความเป็นเอกภาพ หากต้องดำเนินการตามขั้นนตอนกฏหมายร่วมทุน ภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาดังกล่าวอาจจะทำให้การแก้ปัญหาล่าช้าไปอีก 2-3 ปี รัฐบาลไม่อยากให้เกิดปัญหาการเดินรถอาจจะไม่เกิดความต่อเนื่อง ดังเช่นบางโครงการในอดีตที่ผมใช้ ม.44 แก้ปัญหาไปในช่วงฟันหลอ 1 กิโลเมตร


บูรณาการเดินรถต่อเนื่องค่าโดยสารเป็นธรรม
ดังนั้น จึงได้มีการหารือซึ่งกันและกัน มีคณะทำงาน ได้ออกคำสั่งคสช. และผมลงนาม มาเพื่อให้เกิดการบูรณาการ การบริหารจัดการโครงการและสัญญาที่เกี่ยวข้องของสายสีเขียวทั้ง 3 ช่วง ให้เกิดเอกภาพ สามารถเดินรถอย่างต่อเนื่อง เป็นโครงข่ายเดียวกัน อำนวยความสะดวกสบาย ของประชาชน และกำหนดอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม และเป็นธรรม ไม่เป็นภาระของประชาชน ซึ่งยังไม่มีการดำเนินนการใดๆ ในเรื่องของราคาที่ว่า (104 บาท) อยู่ในขั้นตอนการการหรือการดำเนินการในขณะนี้ มีการชะลอไปแล้ว ตามที่กทม.ได้แจ้งให้รับทราบ


ตั้งคณะทำงานเหมือน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
และการดำเนินการนั้น ตาม ม.44 มีการตั้งกรรมการมาดูเรื่องนี้ และมีองค์ประกอบเดียวกันกับกฏหมายร่วมลทุน ภาครัฐและเอชน ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ ผลประโยชน์ ในการกำหนดอัตราค่าโดยสาร รวมถึงประโยชน์อื่นเพื่อในการรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่1 และส่วนต่อขยายที่2 ให้ดำเนินการเจรจากับผู้รับสัปมทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

เพื่อให้เกิดการบูรณาการ บริหารจัดการโครงการ สามารถเดินรถต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน อำนวยความสะดวกสบายการเดินทางของประชาชน ผู้โดยสาร และมีอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมเป็นธรรม ไม่เป็นภาระ หากมีการเจรจาจนได้ข้อยุติและได้ร่างสัญญาร่วมทุนฉบับแก้ไขแล้ว ก็ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมายร่วมทุนภาครัฐและเอกชน ในส่วนของการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนแล้ว หลังจากขั้นตอนอื่นๆ ให้หน่วยงานดำเนินการต่อไป

เจรจา BTSC เพราะสัมปทานให้รายเดิมก่อน
อนึ่ง คำสั่ง คสช.ไม่ได้บังคับให้ต่อสัมปทานให้ BTSC ซึ่งเป็นรายเดิมออกไปถึง 40 ปี อย่างที่กล่าวหา หากย้อนไปดูในสัญญาสัมปทานเดิมที่จะหมดปี 2572 กำหนดให้สิทธิ์รายเดิมเจรจาก่อนเป็นรายแรกเจรจากับกทม.ก่อน ดังนั้นถ้าไม่เจรจารายเดิม จะโดนฟ้องภายหลังว่าไม่ทำตามเงื่อนไขสัญญาได้


ทั้งนี้เพื่อให้โปร่งใสมากยิ่งขึ้น ในคำสั่ง ม.44 ได้นำประกาศการให้ความร่วมมือการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์มาใช้ในการดำเนินการตามคำสั่งคสช.ด้วย รวมถึงค่าโดยสาร ตามกฎหมายแล้วอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯกทม.คำสั่งคสช.ที่กล่าวถึงนั้นมีสาระสำคัญเพียงเท่านี้ ผลการดำเนินการเจรจาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ


ครม.ยังไม่พิจารณาอย่าจินตานาการไปก่อน
แต่ผมยืนยันการพิจารณาผลเจรจาดังกล่าวยังไม่ได้นำสู่การพิจารณาของ ครม. เป็นขั้นตอนการเจรจาอยู่ อย่าพูดเกินเลย เลยเถิดไปว่าให้ไปแล้ว จะขึ้นราคาเท่านั้นเท่านี้ อย่าเพิ่งจินตนาการไปขนาดนั้น

“ในส่วนของกฎหมายอ้างว่าผมผิดรัฐธรรมนูญ ผมก็ไม่ใช่ศาล แต่ผมปรึกษาฝ่ายกฎหมายว่าเป็นอย่างไร ในเรื่องการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 157 อันนี้สุดแล้วแต่ศาลเข้าสู่กระบวนการ คำสั่งคสช.กำหนดให้กำหนดค่าโดยสารในอัตราที่เหมาะสม ระบุไว้ด้วยว่ารักษาวินัยการเงินการคลัง ให้มีคณะกรรมการมาสังเกตุการณ์การข้อตกลงคุณธรรมด้วย ไม่ผูกขาดเพราะสัญญาสัมปทานเดิมให้เจรจารายเดิมก่อน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 9:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ฝ่ายค้านไม่ไว้วางใจ สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว “ประยุทธ์” ตอบยาว

อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 12:07 น.


ศักดิ์สยาม เปิดสูตรกำหนดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถูกกว่าสีเขียวมาก

อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 21:04 น.

“ศักดิ์สยาม” แจงปมสายสีเขียว ชี้กรณีสัมปทานเน้นย้ำให้ทำถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ก่อนทวนความเห็น 4 ข้อ เผยค่าโดยสารสายสีน้ำเงินมีสูตรคำนวณ ยันยาว 48 กม. ไม่ใช่ 26 กม. จิกกลับ “มหาดไทย” รฟม.ไม่ได้ศึกษาค่าราคา 158 บาท ยันรัฐไม่เคยปั้นตัวเลข โครงการรถไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 เป็นวันที่ 3 ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงกรณีการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า เป็นการดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

1.ส่วนหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน 2.ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า และ 3.ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ



ย้อนที่มาสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2551 และปี 2556 ที่มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างต่อเนื่องนั้น

เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร). มีมติเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2558 มอบหมายให้ กทม. เป็นผู้ดำเนินการเดินรถส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเจรจากับ กทม. ในส่วนการบริหารจัดการการเดินรถ รวมถึงเจรจาหาข้อสรุปเงื่อนไขด้านการเงิน ระหว่างกระทรวงการคลัง, กทม. และ รฟม.

จากนั้น วันที่ 1 มี.ค. 2559 ที่ประชุม ครม. มีมติมอบหมายให้ กทม. บริหารจัดการเงินรายได้ และตั้งงบประมาณเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมทั้งกำหนดค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และได้มีการเจรจาแล้วเสร็จ

พร้อมนำเสนอ ครม. เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 เพื่อขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 52,904.75 ล้านบาท ในส่วนของงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 2 ช่วง และ ครม.ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

ขณะเดียวกันได้มีมติให้ กทม. และ กระทรวงคมนาคม บูรณาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าโดยสาร และค่าแรกเข้าให้เหมาะสมเป็นธรรม ไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งเร่งรัดให้เร่งรัดดำเนินการระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

“ยังให้ กทม.พิจารณากำหนดอัตราค่าแรกเข้า และระบบตั๋วร่วม ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ตามความเห็นของการทรวงการคลังด้วย”

ย้ำความเห็น 4 ประเด็น
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้เคยมีหนังสือตอบความเห็นในเรื่องดังกล่าวไปแล้ว 4 ครั้ง รวมทั้งได้เสนอได้มีความเห็นเพิ่มเติม เพื่อชี้แจงต่อเลขาธิการ ครม. เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย

1.ประเด็นครบถ้วนตามหลักการของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562


2.การคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ 3.การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 4.ประเด็นข้อพิพาททางด้านกฎหมาย ซึ่งยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกัน และกราบกรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

เปิดสูตรคิดค่าโดยสาร
ในส่วนของการพิจารณาอัตราค่าโดยสาร ตามที่มีการเปรียบเทียบระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน การคิดอัตราค่าโดยสารของ รฟม. จะพิจารณาจาก Standardization ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ได้พิจารณาจากอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะของไทย และสากล

โดยมีหลักการอ้างอิงจากค่าโดยสารรถปรับอากาศ ปี 2544 ที่เริ่มต้น 8 บาท โดยปรับขึ้น 2.5% เป็นอัตราค่าแรกเข้า 10 บาท ซึ่งถือเป็นอัตราเริ่มต้นที่ประชาชนยอมรับได้

ทั้งนี้ ค่าโดยสารในปี 2564 ตามค่าเงินเฟ้อ อัตราค่าแรกเข้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5% หรือเป็น 14 บาท บวกกับค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาทต่อกิโลเมตร


“อัตราค่าโดยสารของ รฟม.นั้น ได้กำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุด 12 สถานี ซึ่งในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รฟม. ได้กำหนดอัตราค่าโดยสารเมื่อปี 2545 อยู่ที่ 14-36 บาท และในปี 2564 ปรับขึ้นราคา 18% อ้างอิงตามดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออยู่ที่ 17-42 บาท “

โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้นพบว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีอัตราค่าโดยสารที่ต่ำมาก กล่าวคือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. ราคาสูงสุดอยู่ที่ 42 บาท คิดเป็นค่าโดยสาร 0.88 บาทต่อ กม. แต่ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทางรวม 68 กม. ราคาสูงสุดอยู่ที่ 104 บาท คิดเป็นค่าโดยสาร 1.53 บาทต่อ กม.

ปัด รฟม. ศึกษาค่าโดยสาร 158 บาท
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องของการศึกษาให้เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP) ประเด็นที่อ้างว่า ค่าโดยสารสายสีเขียวทั้งโครงข่ายสูงสุด 158 บาท เป็นผลการศึกษาของ รฟม. ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง

ทั้งนี้ รฟม. ได้เคยศึกษารายงาน PPP เบื้องต้นเฉพาะส่วนต่อขยายสายเหนือ และสายใต้เท่านั้น ไม่เคยศึกษาสายสีเขียวรวมทั้งโครงข่าย ซึ่งเป็นการศึกษาก่อนรัฐบาลชุดนี้ และยังไม่เคยนำเสนอขออนุมัติผลการศึกษาดังกล่าว

ขณะเดียวกัน การคิดค่าโดยสารตาม MRT Assessment Standardization บนหลักการการคิดค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทางจริง และคิดค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว มีราคาค่าโดยสารสูงสุด แบ่งเป็น สีเขียวเหนือ ราคา 52 บาท และสีเขียวใต้ ราคา 36 บาท

รวมทั้งการใช้บริการรถไฟฟ้าโครงข่ายของ รฟม. เช่น สายสีน้ำเงิน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะคิดค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และไม่มีความซ้ำซ้อน อีกทั้งการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ อาทิ สายสีแดง สายสีชมพู และสายสีเหลืองในอนาคต จะยังคงหลักการดังกล่าวเช่นเดียวกัน

รัฐไม่เคยเป็นปั้นตัวเลข-ปั้นโครงการ
“ผมขอชี้แจ้งกรณีที่บอกว่า รัฐบาลมีการปั้นตัวเลข ปั้นโครงการ เพื่อนำไปสู่เรื่องผลประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ นั้น ต้องเรียนว่า การดำเนินการทุกอย่างมีเหตุผล มีที่มา มีขั้นตอน ซึ่งขจัดปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่ในอดีต โดยรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ทั้งการจราจรติดขัด และฝุ่น PM 2.5 โดยการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า และระบบ Feeder จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในโลก ที่ได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเข้ามาแก้ปัญหา” นายศักดิ์สยาม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 11:31 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” แจงปมถูกพาดพิงต่อสัมปทานสีเขียว ยัน รฟม.ไม่เคยศึกษาค่าโดยสาร 158 บาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:27 น.
ปรับปรุง: 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:27 น.


“ศักดิ์สยาม” แจง รฟม.ไม่เคยศึกษาค่าโดยสารสายสีเขียวทั้งโครงข่าย 158 บาทตามที่ถูกพาดพิง ระบุเทียบตามระยะทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินค่าโดยสาร “ต่ำกว่า” ย้ำ! คมนาคมมีความเห็น 4 ครั้งต่อสัมปทานสีเขียวต้องทำตามกฎหมายให้ครบ และค่าโดยสารเป็นธรรมต่อประชาชน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. ส่วนหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน 2. ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า และ 3. ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2551 และปี 2556 ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างเพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร). มีมติเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2558 มอบหมายให้ กทม.เป็นผู้ดำเนินการเดินรถส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเจรจากับ กทม.ในส่วนการบริหารจัดการการเดินรถ รวมถึงเจรจาหาข้อสรุปเงื่อนไขด้านการเงินระหว่างกระทรวงการคลัง, กทม. และ รฟม.

จากนั้นวันที่ 1 มี.ค. 2559 ที่ประชุม ครม.มีมติมอบหมายให้ กทม.บริหารจัดการเงินรายได้ และตั้งงบประมาณเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมทั้งกำหนดค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และได้มีการเจรจาแล้วเสร็จ พร้อมนำเสนอ ครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 เพื่อขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์จำนวน 52,904.75 ล้านบาท ในส่วนของงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 2 ช่วง และ ครม.ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันได้มีมติให้ กทม. และกระทรวงคมนาคมบูรณาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าโดยสาร และค่าแรกเข้าให้เหมาะสมเป็นธรรม ไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งเร่งรัดให้ดำเนินการระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้ กทม.พิจารณากำหนดอัตราค่าแรกเข้า และระบบตั๋วร่วมให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลตามความเห็นของกระทรวงการคลังด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้เคยมีหนังสือตอบความเห็นในเรื่องดังกล่าวไปแล้ว 4 ครั้ง รวมทั้งได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมเพื่อชี้แจงต่อเลขาธิการ ครม. เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย
1. ประเด็นครบถ้วนตามหลักการของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

2. การคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

3. การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

และ 4. ประเด็นข้อพิพาททางด้านกฎหมาย ซึ่งยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ในส่วนของการพิจารณาอัตราค่าโดยสาร ตามที่มีการเปรียบเทียบระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า การคิดอัตราค่าโดยสารของ รฟม.จะพิจารณาจาก Standardization ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ได้พิจารณาจากอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะของไทย และสากล โดยมีหลักการอ้างอิงจากค่าโดยสารรถปรับอากาศ ปี 2544 ที่เริ่มต้น 8 บาท โดยปรับขึ้น 2.5% เป็นอัตราค่าแรกเข้า 10 บาท ซึ่งถือเป็นอัตราเริ่มต้นที่ประชาชนยอมรับได้ ทั้งนี้ ค่าโดยสารในปี 2564 ตามค่าเงินเฟ้อ อัตราค่าแรกเข้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5% หรือเป็น 14 บาท บวกกับค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาทต่อกิโลเมตร (กม.)


X


ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารของ รฟม.นั้นได้กำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุด 12 สถานี ซึ่งในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รฟม.ได้กำหนดอัตราค่าโดยสารเมื่อปี 2545 อยู่ที่ 14-36 บาท และในปี 2564 ปรับขึ้นราคา 18% อ้างอิงตามดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออยู่ที่ 17-42 บาท โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้นพบว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีอัตราค่าโดยสารที่ต่ำมาก กล่าวคือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. ราคาสูงสุดอยู่ที่ 42 บาท คิดเป็นค่าโดยสาร 0.88 บาทต่อ กม. แต่ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทางรวม 68 กม. ราคาสูงสุดอยู่ที่ 104 บาท คิดเป็นค่าโดยสาร 1.53 บาทต่อ กม.

นายศักดิ์สยามกล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องของการศึกษาให้เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP) ประเด็นที่อ้างว่าค่าโดยสารสายสีเขียวทั้งโครงข่ายสูงสุด 158 บาท เป็นผลการศึกษาของ รฟม. ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ รฟม.ได้เคยศึกษารายงาน PPP เบื้องต้นเฉพาะส่วนต่อขยายสายเหนือ และสายใต้เท่านั้น (ไม่เคยศึกษาสายสีเขียวรวมทั้งโครงข่าย) ซึ่งเป็นการศึกษาก่อนรัฐบาลชุดนี้ และยังไม่เคยนำเสนอขออนุมัติผลการศึกษาดังกล่าว

ขณะเดียวกัน การคิดค่าโดยสารตาม MRT Assessment Standardization บนหลักการการคิดค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทางจริง และคิดค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว มีราคาค่าโดยสารสูงสุด แบ่งเป็น สีเขียวเหนือ ราคา 52 บาท และสีเขียวใต้ ราคา 36 บาท รวมทั้งการใช้บริการรถไฟฟ้าโครงข่ายของ รฟม. เช่น สายสีน้ำเงิน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะคิดค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และไม่มีความซ้ำซ้อน อีกทั้งการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ เช่น สายสีแดง สายสีชมพู และสายสีเหลืองในอนาคต จะยังคงหลักการดังกล่าวเช่นเดียวกัน

“กรณีที่บอกว่ารัฐบาลมีการปั้นตัวเลข ปั้นโครงการ เพื่อนำไปสู่เรื่องผลประโยชน์ในโครงการต่างๆ นั้น ต้องเรียนว่า การดำเนินการทุกอย่างมีเหตุผล มีที่มา มีขั้นตอน ซึ่งขจัดปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่ในอดีต โดยรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ทั้งการจราจรติดขัด และฝุ่น PM 2.5 โดยการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า และระบบ Feeder จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อื่นๆ ในโลกที่ได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเข้ามาแก้ปัญหา” นายศักดิ์สยามกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 10:35 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดตัวเลข 2 เดือน รถไฟฟ้าสายสีเขียว-สายสีทอง
*สถานีลาดพร้าว-สถานีกรุงธนบุรีพีคสุด
*แต่ผู้โดยสารหายวับวันละกว่าแสนคน!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2843812025840297
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 11:09 pm    Post subject: Reply with quote

ละเอียดยิบ “คมนาคม” ชำแหละสูตรคำนวณค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 -14:02 น.


ละเอียดยิบ “คมนาคม” ชำแหละสูตรคำนวณค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว
“คมนาคม” ย้อนไทม์ไลน์ปมขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ วอนกทม.ดึงร่วมหารือผลการศึกษา-ประเด็น 4 ข้อ พร้อมเปิดสูตรค่าโดยสารแบบละเอียด

นายชยธรรม พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า หลังจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงอภิปรายไม่ไว้วางใจในโครงการดังกล่าว เบื้องต้นได้สั่งการให้ทางกระทรวงคมนาคมชี้แจงความคิดเห็นของกระทรวงคมนาคมต่อการขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมทั้งการขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อให้เกิดความชัดเจนอีกครั้ง
ADVERTISEMENT

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทางกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ประชาชนเข้าถึงอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้โครงการดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

1.เอกชนได้รับการต่อสัญญาสัมปทานในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว
2.การดำเนินงานภายใต้กรุงเทพมหานคร (กทม.)
3.ส่วนต่อขยายของโครงการฯ ที่ผ่านมาเมื่อปี 2551 และปี 2556 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติมอบหมายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 ช่วง ประกอบด้วย

1.ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
2.ช่วงหมอชิต-คูคต
โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้สำรวจออกแบบศึกษาตามมติครม. ให้ดำเนินการมาตลอด ต่อมาในปี 2558 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานครไปเจรจาดำเนินการเดินรถส่วนต่อขยายที่ 3 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต ที่รฟม.เคยดำเนินการ เพื่อหาข้อสรุปและแก้ไขปัญหาด้านการเงิน ทั้งกระทรวงการคลัง รฟม. และกทม.ได้รายงานครม. ซึ่งเมื่อปี 2559 ครม.มีมติมอบหมายให้กทม.ตั้งงบประมาณให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ให้กับรฟม. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ รวมทั้งกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม โดยการเจรจาใช้เวลา 2 ปี จนล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 61 ครม.มีมติให้จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 52,904.75 ล้านบาท ทั้ง 2 ช่วงให้กับกทม.โดยบูรณาการการเชื่อมต่อโครงการฯ รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าแรกเข้าเหมาะสมเป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนโดยเร่งรัดดำเนินการระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยให้กทม.กำหนดค่าแรกเข้าและระบบตั๋วร่วมให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล




นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลการเจรจาการต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทางกระทรวงคมนาคมได้มีความคิดเห็นถึง 4 ครั้ง ซึ่งพบว่าเมื่อเดือน ต.ค.62 ทางกระทรวงฯเห็นชอบแต่ต้องดำเนินการปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย มติครม. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่อเกิดความชัดเจน โปร่งใส ในการดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. และ 9 มี.ค. 63 ทางกระทรวงฯ ยืนยันตามความเห็นเดิม และวันที่ 16 พ.ย.63 กระทรวงฯให้ความเห็นเพิ่มเติมทั้ง 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ความครบถ้วนตามหลักการพ.ร.บ.ร่วมลงทุนปี 62 2.กาคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ 3.การใช้สินทรัพย์ของรัฐทีได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4.ข้อพิพาททางกฎหมาย “ยืนยันว่าเจตนารมณ์ของกระทรวงต้องการให้ปฏิบัติตามมติครม. อย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันเรายังรอกทม.ส่งหนังสือตอบกลับและผลการศึกษาต่างๆ รวมทั้งที่มาของการกำหนดอัตราค่าโดยสารอีกทั้งเชิญกระทรวงฯเข้าไปร่วมหารือด้วยเช่นกัน” ส่วนการคำนวณเพื่อเปรียบเทียบอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ด้านผลการศึกษาของรฟม.กำหนดอัตราค่าโดยสารในปี 2544 ราคา14-36 บาท ใช้ค่า CPI (Non Food & Berverages) ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2544-2562 เท่ากับ +18% อัตราค่าโดยสารในปี 63 เท่ากับ16-42 บาท ขณะที่ผลการศึกษาของกทม.กำหนดอัตราค่าโดยสารในปี 2544 ราคา14-36 บาท ใช้ค่า CPI (ALL) ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2544-2562 เท่ากับ +39% อัตราค่าโดยสารในปี 63 เท่ากับ 14-56 บาท ส่วนต่อขยาย 15 บาท โดยกทม.ขอกำหนดอัตราอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท เพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทานโครงการฯ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการอนุมัติจากครม.
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การคิดอัตราค่าโดยสารทั่วโลกมีทั้งหมด 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.การใช้อัตราค่าโดยสารราคาเดียว 2.การใช้อัตราค่าโดยสารโดยคิดตามระยะทาง 3.การใช้อัตราค่าโดยสารโดยคิดตามพื้นที่ เช่น กรณีที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน อัตราค่าโดยสารมีราคาแพง หากอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นนอกอัตราค่าโดยสารจะมีราคาถูก ซึ่งคิดจากรายได้ประชาชนในเขตพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้การคิดอัตราค่าโดยสารตามผลการศึกษาของรฟม.กำหนดจาก MRT Standardization ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งได้พิจารณาจากอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะของไทยและสากล โดยมีหลักการสรุปดังนี้ คือการอ้างอิงจากค่าโดยสารรถปรับอากาศปี 2544 เริ่มต้น 8 บาท โดยปรับขึ้น 25% เป็น 10 บาท ซึ่งถือเป็นอัตราค่าโดสารเริ่มต้นที่ประชาชนยอมรับได้ และการสอบทานอัตราค่าโดยสารข้างต้นกับค่าบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ที่ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่ (fixed cost) + ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost) ส่วนวิธีคำนวณอัตราค่าโดยสาร ยึดสูตรโดยนำค่าแรกเข้า+ค่าโดยสารตามระยะทาง กำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุด 12 สถานี ดังนี้ ในปี 2544 ค่าแรกเข้า 10 บาท + ค่าโดยสารตามระยะทาง 1.8 บาทต่อกิโลเมตร ขณะที่ในปี 2564 ค่าแรกเข้า 14 บาท + ค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาทต่อกิโลเมตร โดยปรับอัตราค่าโดยสารด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 1.8% ต่อปี โดยใช้ค่า CPI (Non Food & Berverages) เป็นดัชนีที่ไม่รวมค่าอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่มาการคิดอัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน “การคิดอัตราค่าโดยสารตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมต้องมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่มีกรอบเพดานสูงสุด ไม่เช่นนั้นการคิดค่าโดยสารตามระยะทางจะเป็นปลายเปิด ซึ่งประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯและประชาชนที่มีรายได้ไม่มาก และอยู่แถบชานเมืองต้องการเดินทาง อาจจะเป็นภาระการเดินทางตามระยะทางต่อประชาชนในกรณีที่ไม่มีกรอบเพดานสูงสุด ส่งผลให้อัตราค่าโดยสารสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันการพิจารณาค่าแรกเข้าตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมกำหนดให้คิดค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน”

Wisarut wrote:
ฝ่ายค้านไม่ไว้วางใจ สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว “ประยุทธ์” ตอบยาว

อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 12:07 น.

ศักดิ์สยาม เปิดสูตรกำหนดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถูกกว่าสีเขียวมาก

อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 21:04 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2021 10:42 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” แถลงรายละเอียดขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 01:37 น.
ปรับปรุง: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 01:37 น.


“คมนาคม” แถลงรายละเอียดขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยืนยันหนังสือตอบกลับความเห็นจากคมนาคม 3 ครั้งแรก เห็นชอบแบบมีเงื่อนไข แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใสในการดำเนินงาน เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย, นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม, นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม, นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และ นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมแถลงข่าวชี้เเจงเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรณีฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ณ รัฐสภา ห้อง 203 ห้องแถลงข่าวคมนาคมการ กล่าวว่า นายสรพงศ์ ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว นั้น แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหลัก คือจากหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ให้สัญญาสัมปทานแก่เอกชน เปิดให้บริการระหว่างปี พ.ศ. 2542-2572 และต่อมาเมื่อปี 2555 ได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างเดินรถต่อระยะเวลาระหว่างปี 2572-2585

นายสรพงศ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนที่สอง คือ ส่วนอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ในส่วนนี้ กรุงเทพมหานคร ได้มีการมอบหมายให้ บริษํท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นเทศวิสาหกิจของ กทม. รับไปดูแลและว่าจ้างเอกชนเดินรถ สัญญาหมดสิ้นปี 2585 เช่นเดียวกับส่วนหลัก และในส่วนที่สาม คือ ส่วนต่อขยาย ที่มีปลายสายทางอยู่นอกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ ช่วงหมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ คณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2551 และ 2556 จึงได้มอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งวมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้รับดำเนินการก่อสร้าง

รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ในปี 2558 เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการโดยสารรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 มอบหมายเห็นชอบในหลักการให้ กทม. เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมอบหมายให้ คค. เจรจากับ กทม. ในส่วนการบริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าส่วนที่สามดังกล่าว พร้อมทั้งเจรจาและหาข้อสรุปเกี่ยวกับเงื่อนไขด้านการเงิน ระหว่าง กระทรวงการคลัง กรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และเมื่อได้รายงานเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ กทม. บริหารจัดการเงินรายได้ และตั้งงบประมาณให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ดังกล่าว รวมทั้งกำหนดค่าโดยสารให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับค่าครองชีพ

จนกระทั่ง ทั้งสามหน่วยงาน คือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และกรุงเทพมหานคร ได้เจรจากันเรียบร้อยจบสิ้นจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 52,904.75 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งสองช่วงดังกล่าว ซึ่ง ครม. ก็ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แต่ก็ได้กรุณา กำชับ ให้กระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร บูรณาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าแรกเข้า และอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากเกินไป รวมทั้งให้เร่งรัดดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้ กทม. พิจารณากำหนดอัตราค่าแรกเข้าและระบบตั๋วร่วม ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตามเห็นของกระทรวงการคลัง ด้วย

สำหรับกรณีที่ กระทรวงมหาดไทยเสนอ เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 ลงวันที่ 11 เมษายน 2562 ได้มีการนำเข้าพิจารณาใน ครม. มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งกระทรวงคมนาคม ได้มีหนังสือตอบกลับความเห็นของกระทรวงทั้งหมด 4 ครั้ง โดยใน 3 ครั้งแรก ได้แก่ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563

และครั้งที่สาม คือเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563

“ทั้ง 3 ครั้งแรก กระทรวงคมนาคมได้สนอความเห็นว่า สมควรเห็นชอบ แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใสในการดำเนินงาน เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ”

นายสรพงศ์ กล่าวว่า ต่อมา กรมการขนส่งทางราง รฟม. และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรถไฟฟ้าต่างๆ ได้มีการประชุมหารือกัน และได้มีหนังสือของกรมการขนส่งทางราง รายงานมาที่กระทรวงคมนาคม และกระทรวงคมนาคม ได้มีประเด็นความเห็นเป็นครั้งที่ 4 เป็นการขยายความตามความเห็นทั้ง 3 ครั้ง ของกรมการขนส่งทางราง รฟม. และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรถไฟฟ้าต่างๆ รายงานไปยัง คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ได้รายงานว่าได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงแล้ว สมควรให้ความเห็นเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ใน 4 ประเด็น ดังนี้

1. ประเด็นเรื่องความครบถ้วนตามหลักการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 2. ประเด็นเรื่องการคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ 3. ประเด็นเรื่องการใช้สินทรัพย์ของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. ประเด็นเรื่องข้อพิพาททางกฎหมาย ทั้งนี้ ก็เพื่อความรอบคอบ และเป็นประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชน และสอดคล้องตามที่คณะรัฐมนตรีได้กรุณามีมติมอบหมายไว้เท่านั้น กระทรวงคมนาคม จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันบูรณาการการทำงาน โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนารถไฟฟ้าในราคาที่เหมาะสมและเอื้อต่อการใช้บริการเพื่อให้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นบริการที่ทุกคนเข้าถึงได้ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส "เราชนะ" รองรับการเดินทางเชื่อม 3 จังหวัด
รถไฟฟ้าบีทีเอส
เผยแพร่: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:00 น.

สามารถชำระค่าโดยสารผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ใช้งานได้แล้ว วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2564 นะครับ
ซึ่งประเภทบัตรโดยสารที่รับชำระผ่าน “เราชนะ” ได้แก่ บัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Card)
สามารถมาติดต่อขอรับสิทธิได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี สำหรับกลุ่มผู้ได้สิทธิในการใช้ “เราชนะ” เพื่อชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า มีดังนี้
1.ผู้โดยสารถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
2.ผู้โดยสารที่ โหลดแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง และร่วมโครงการเราชนะ
📌 ในกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการฯ พบปัญหาการใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือ สอบถามเกี่ยวกับโครงการ “เราชนะ” สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารกรุงไทย โทร. 0 2111 1111 หรือ 0 2111 1144
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 121, 122, 123 ... 155, 156, 157  Next
Page 122 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©