RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179448
ทั้งหมด:13490680
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 46, 47, 48 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2021 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเหตุผล! ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์เดิม 'ดีกว่า' เกณฑ์ใหม่
9 กุมภาพันธ์ 2564

"ดร.สามารถ" ชำแหละ! ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์เดิม "ดีกว่า" เกณฑ์ใหม่
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์เฟซบุ๊คเช้านี้ (9 ก.พ.) ระบุว่า ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์เดิม "ดีกว่า" เกณฑ์ใหม่

คาดว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะใช้เกณฑ์ใหม่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งใหม่แทนการประมูลเดิมที่ถูก รฟม. ยกเลิกไป แต่ผมมั่นใจว่าเกณฑ์ใหม่สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ เพราะอะไร?

รฟม. อ้างว่าเหตุที่ต้องใช้เกณฑ์ใหม่เพราะการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เนื่องจากจะต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ยังคงเปิดให้บริการ จะต้องตัดเสาเข็มสะพานลอยโดยไม่ปิดการจราจร และที่สำคัญ จะต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ถือว่าเป็นการก่อสร้างที่ซับซ้อน มีความเสี่ยงสูง จะใช้เกณฑ์เดิมไม่ได้

เกณฑ์เดิมไม่ดีจริงหรือ?
ตามเกณฑ์เดิมเอกชนจะยื่นข้อเสนอ 4 ซอง ดังนี้
ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ
คณะกรรมการคัดเลือกจะประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติว่ามีครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ จะให้ผ่านหรือไม่ผ่าน หากไม่ผ่านก็ไม่ต้องเปิดซองที่ 2 แต่หากผ่านก็ต้องเปิดซองที่ 2 เพื่อพิจารณาต่อไป


ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค
มีคะแนนเต็ม 100% แบ่งเป็น 5 หมวด
ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 80% และจะต้องได้คะแนนรวมของทุกหมวดไม่น้อยกว่า 85% หากไม่ผ่านก็ไม่ต้องเปิดซองที่ 3 แต่หากผ่านก็ต้องเปิดซองที่ 3 เพื่อพิจารณาต่อไป

ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านผลตอบแทน
ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม.มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล แล้วจึงเปิดซองที่ 4 ของผู้ชนะการประมูลต่อไป

ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ รฟม.
แต่หลังจากปิดการขายเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) แล้ว รฟม.ประกาศเปลี่ยนการใช้เกณฑ์ประเมินเป็นเกณฑ์ใหม่ โดยอ้างว่าเกณฑ์เดิมคัดเลือกผู้ชนะโดยการดูเฉพาะคะแนนผลตอบแทนเท่านั้น หากเอกชนรายใดรายหนึ่งเสนอผลตอบแทนให้ รฟม.ต่ำกว่าอีกรายเพียงเล็กน้อย แต่เอกชนรายนั้นได้คะแนนด้านเทคนิคสูงกว่า จะทำให้ รฟม.เสียโอกาสในการได้เอกชนที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีเส้นทางใต้ดินผ่านศูนย์การค้าขนาดใหญ่ พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง


แต่ผมไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกณฑ์เดิมได้ให้ความสำคัญด้านเทคนิคไว้สูงสุดแล้ว เพราะให้คะแนนไว้เต็ม 100% พร้อมทั้งกำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้ 85% นั่นหมายความว่าผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้ไม่น้อยกว่า 85% จึงจะสอบผ่าน และจะต้องได้คะแนนในหมวดย่อยอีก 5 หมวด หมวดละไม่น้อยกว่า 80% ผู้ยื่นข้อเสนอที่สอบผ่านถือว่ามีความสามารถด้านเทคนิคสูงมาก สามารถทำการก่อสร้างงานประเภทไหนก็ได้

การกำหนดคะแนนรวมด้านเทคนิคไว้ 85% ถือว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจากหัวลำโพง-ท่าพระ มีเส้นทางผ่านเยาวราชซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ และต้องลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ รฟม.กำหนดคะแนนด้านเทคนิคไว้เพียง 70% เท่านั้น แม้กำหนดคะแนนสอบผ่านด้านเทคนิคไว้เพียง 70% แต่ผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลก็สามารถทำการก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงฟันธงว่าเกณฑ์เดิมดีมากอยู่แล้ว รฟม.ไม่ควรยกเลิกแล้วเปลี่ยนไปใช้เกณฑ์ใหม่
เกณฑ์ใหม่ดีจริงหรือ?

เกณฑ์ใหม่พิจารณาซองที่ 1 (คุณสมบัติ) เช่นเดียวกับเกณฑ์เดิม แต่พิจารณาซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) และซองที่ 3 (ด้านผลตอบแทน) พร้อมๆกัน โดยให้คะแนนรวมซองที่ 2 และซองที่ 3 เท่ากับ 100% แบ่งเป็นคะแนนซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) 30% และคะแนนซองที่ 3 (ด้านผลตอบแทน) 70% สำหรับคะแนนด้านเทคนิคนั้น รฟม.ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้ นั่นหมายความว่าผู้ยื่นข้อเสนอจะได้คะแนนด้านเทคนิคต่ำเพียงใดก็ถือว่าสอบผ่าน อีกทั้ง การให้คะแนนด้านเทคนิคไว้เพียง 30% เป็นการลดความสำคัญด้านเทคนิคลงมา ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของ รฟม.ที่ต้องการใช้เกณฑ์ใหม่ โดยอ้างว่าจะทำให้ได้ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง เหมาะสมกับงานก่อสร้างที่มีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

เกณฑ์ใหม่ที่ รฟม. ต้องใช้เป็นเกณฑ์ที่ รฟม. เคยใช้มาแล้วในอดีตนานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ รฟม.คงเห็นว่าไม่เหมาะสมกับงานก่อสร้างที่ซับซ้อน จึงทำให้ รฟม.เลิกใช้เกณฑ์นี้หันมาใช้เกณฑ์เดิม (แยกซองเทคนิคออกจากซองผลตอบแทน) หรือเกณฑ์ที่ประกาศใช้ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งแรก

สรุป
เกณฑ์ใหม่ที่ รฟม .ต้องการใช้ไม่เหมาะสมกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟาสายสีส้มที่มีเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน วิ่งผ่านใต้สะพานลอย (ต้องตัดเสาเข็มที่รองรับสะพานลอย) ใต้ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
เกณฑ์เดิมจะทำให้ รฟม.คัดเลือกได้เอกชนที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงเหมาะสมกับงานก่อสร้างโครงการนี้ และจะทำให้ รฟม.ได้รับผลตอบแทนสูงสุดที่ควรจะได้อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ รฟม.จึงควรพิจารณาใช้เกณฑ์เดิมในการเปิดประมูลครั้งใหม่
https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347/2282528081892082/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2021 3:06 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกรถไฟฟ้า 2 สี…คือ ศึกศักดิ์ศรี นั่นเอง
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 - 13:15 น.

อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สีที่พันกันจนยุ่ง ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละสังกัด สายสีเขียวขึ้นตรง “กทม.-กรุงเทพมหานคร” และกระทรวงมหาดไทย มี “พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา” เป็นเจ้ากระทรวง ส่วน “คีรี กาญจนพาสน์” เป็นผู้รับสัมปทานบีทีเอส 23.5 กม. จะครบสัมปทาน 4 ธ.ค. 2572

ซึ่งกำลังลุ้นขยายสัญญาทั้งสายหลักและส่วนต่อขยาย 30 ปีถึง 4 ธ.ค. 2602 หลังยอมรับเงื่อนไขว่าจะหาเงินกว่า 1 แสนล้านมาชำระหนี้ค่าก่อสร้างช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต” ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายแทน กทม.ภายใต้ข้อสรุปเจรจาตามคำสั่ง ม.44 ที่ “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีเซ็นเมื่อ 11 เม.ย. 2562

การเจรจาจบไปเนิ่นนาน รอเพียง “ครม.-คณะรัฐมนตรี” อนุมัติ แต่มาติดหล่มที่กระทรวงคมนาคมกับ 4 ปมเรื่อง “ค่าตั๋วแพง” และข้อพิพาทค่าจ้างเดินรถ เรื่องยังค้างอยู่ที่ ป.ป.ช.ทำให้การอนุมัติถูกทอดยาวออกไปจน กทม.หักดิบขึ้นค่าโดยสาร 15-104 บาท (เริ่ม 16 ก.พ. 2564) เดิมจะเก็บ 15-65 บาท

สุดท้าย “สายสีเขียว” กลับมาพัวพันถึง “สายสีส้ม” ที่กำลังเปิด PPP ให้เอกชนร่วมลงทุน 1.28 แสนล้านช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย 30 ปี โดยมี 2 บิ๊ก “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” อาจจับมือกับอิตาเลียนไทยฯร่วมชิงดำกับกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ที่มีบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ผนึก บมจ.ซิโน-ไทยฯ

ถือเป็นบิ๊กโปรเจ็กต์ของ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ที่มี “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.กระทรวงคมนาคม กำกับดูแล

เท่ากับ “บีทีเอส” กำลังขยายพื้นที่การรับงานมากขึ้น จากโมโนเรล “สีชมพู-สีเหลือง” ทำให้คู่แข่งที่คาดหวังกับสายสีส้มเริ่มหวั่นไหว พร้อมตั้งการ์ดสูง

BTS รุกหนักหลังยื่นฟ้องศาลปกครองว่า “รฟม.” เปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือก

ปมเกิดขึ้นจาก “อิตาเลียนไทยฯ” หนึ่งในผู้ซื้อซองทำหนังสือขอไม่ให้พิจารณาผู้ชนะเป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุด แต่ควรพิจารณาถึงปัจจัยเรื่องเทคนิค ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ยื่นข้อเสนอด้วย

เมื่อเปลี่ยนประธานคณะกรรมการ มาตรา 36 ใหม่ “รฟม.” นำคำร้องของอิตาเลียนไทยฯขอเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือก จากเปิดซองคุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม เป็นแบบสูตรผสม ผ่านคุณสมบัติ เปิดซองเทคนิคพร้อมการเงิน และนำคะแนนเทคนิคพิจารณาร่วมการเงิน 30 : 70 คำนวณเป็นผลตอบแทนที่รัฐจะได้รับเป็นตัวชี้ขาด จากเดิมตัดเชือกที่ “ราคา”


งานนี้ “BTS” คงไม่ยื่นฟ้องหาก รฟม.ประกาศเกณฑ์ใหม่ก่อนเปิดขายซอง ไม่เปลี่ยนใจหลังปิดการขายไปแล้ว BTS มองว่าเป็นการใช้ดุลพินิจตัดสิน ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ



โดย “ศักดิ์สยาม” กล่าวย้ำว่า สายสีส้มมีความสำคัญมาก ทั้งเรื่องเทคนิคและการก่อสร้าง ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาจนได้รับความเสียหาย จ่ายกันเป็นพันล้านเหมือนสายสีน้ำเงิน

ยกแรกดูเหมือน BTS ชนะ “ศาลปกครองกลาง” มีคำสั่งให้ทุเลาบังคับตามเกณฑ์การประเมินใหม่ไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ขณะที่ รฟม.และคณะกรรมการ มาตรา 36 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลมีคำพิพากษากลับคำสั่ง ทำให้การประมูลสะดุดร่วม 3 เดือน

จึงน่าจับตา ยกที่สอง ว่าจะเกิดเกมพลิก หรือพลิกเกมอย่างไร

หลัง รฟม.ล้มประมูลสายสีส้ม เท่ากับยุติคดีที่ฟ้องร้อง

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า จะเปิดประมูลใหม่ตามกระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ คาดใช้เกณฑ์พิจารณาซองเทคนิคคู่กับราคา ถึงได้ล้มประมูล หากใช้เกณฑ์เดิมคงเปิดซองไปแล้ว

และจะทำหนังสือแจ้งเหตุผลยกเลิกประมูลให้ BTS และ BEM รับทราบ พร้อมคืนซองเอกสาร

จากนั้นจะเริ่มกระบวนการใหม่ รับฟังความคิดเห็นเอกชนเพื่อออกทีโออาร์ใหม่แบบชัด ๆ โดยไม่ต้องเสนอ ครม.อนุมัติ เนื่องจากเป็นอำนาจของคณะกรรมการ มาตรา 36

เกมงานประมูล นอกจากจะมีมูลค่ามหาศาลแล้ว ศักดิ์ศรีก็มีราคาแพงไม่ด้อยกว่ากัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2021 7:27 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้าสถานีมีนพัฒนา
https://www.youtube.com/watch?v=YlOQHczV_XQ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2021 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกคืบ 76% เปิดช้าติดปมสัมปทาน รัฐจ่าย 40 ล้าน/เดือน
เวนคืนอัพเดต
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 - 11:49 น.

ยังคงลูกผีลูกคนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วง “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” ระยะทาง 22.5 กม. จะเปิดบริการได้ภายในปี 2567 อย่างที่ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” วางไทม์ไลน์ไว้หรือไม่

ในเมื่อต้องรองานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ จัดหาขบวนรถและการเดินรถ ยังติดบ่วงประมูล PPP หาเอกชนมาร่วมลงทุน “สายสีส้มตะวันตก” ที่ รฟม.รวบงานก่อสร้างและเดินรถตลอดสายจากบางขุนนนท์ยิงยาวมีนบุรี เป็นสัญญาเดียวกัน ล่าสุดล้มและกำลังเปิดประมูลใหม่ให้จบในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2564

ปัจจุบันงานก่อสร้าง “สายสีส้มตะวันออก” ทั้ง 6 สัญญา ซึ่งรัฐใช้งบฯก่อสร้าง 79,221 ล้านบาท ผลงาน ณ เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา คืบหน้าไปแล้ว 76.09% สร้างเร็วกว่าแผน 0.84% (ดูกราฟิกประกอบ) ตามสัญญาจะแล้วเสร็จพร้อมกันในเดือน ต.ค. 2565



ตลอดเส้นทางมี 17 สถานี ได้แก่ 1.สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ อยู่ใต้ ถ.รัชดาภิเษก หน้าห้างเอสพลานาด เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน เจาะอุโมงค์ทะลุเข้าห้างเอสพลานาด คืบหน้า 95.83%

2.สถานี รฟม. อยู่บริเวณประตูติด ถ.พระราม 9 คืบหน้า 96.66% 3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม อยู่ใต้ ถ.พระราม 9 ปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก คืบหน้า 92.28%

4.สถานีรามคำแหง 12 อยู่หน้าห้างเดอะมอลล์ คืบหน้า 69.68% 5.สถานีรามคำแหง อยู่หน้า ม.รามคำแหง คืบหน้า 71.90% 6.สถานีราชมังคลา (กทท.) ด้านหน้าสนามกีฬาหัวหมาก คืบหน้า 69.70%

7.สถานีหัวหมาก ด้านหน้าโรงพยาบาลรามคำแหง คืบหน้า 65.18% 8.สถานีลำสาลี บริเวณแยกลำสาลี คืบหน้า 62.18% 9.สถานีศรีบูรพา แยกรามคำแหง ตัด ถ.ศรีบูรพา หน้าห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 คืบหน้า 60.55%

10.สถานีคลองบ้านม้า ระหว่างซอยรามคำแหง 92-94 คืบหน้า 64.92% 11.สถานีสัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร คืบหน้า 44.46%

12.สถานีน้อมเกล้า อยู่หน้า ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า คืบหน้า 43.55% 13.สถานีราษฎร์พัฒนา หน้าบริษัทมิสทิน คืบหน้า 41.21%


14.สถานีมีนพัฒนา ทางเข้าวัดบางเพ็งใต้ คืบหน้า 44.18% 15.สถานีเคหะรามคำแหง ปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง คืบหน้า 45.20%

16.สถานีมีนบุรีบริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น ซอยรามคำแหง 192 เชื่อมสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) คืบหน้า 40.52% และ 17.สถานีสุวินทวงศ์ ใกล้แยกสุวินทวงศ์ คืบหน้า 47.17% ขณะที่งานศูนย์ซ่อมบำรุงคืบหน้า 91.02% และอาคารจอดแล้วจร คืบหน้า 16.06%

ในแผนงานของ รฟม.จะเปิดให้บริการภายในปี 2567 และเปิดตลอดสายพร้อมกับสายสีส้มตะวันตกภายในปี 2569 แล้วช่วง 2 ปีงานก่อสร้างที่แล้วเสร็จ รอผู้รับสัมปทานนำรถมาวิ่ง “รฟม.” จะดำเนินการอย่างไร




แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า ตามกรอบเวลา หากได้เอกชนผู้รับสัมปทาน จะเร่งให้ติดตั้งระบบและจัดหารถก่อน ใช้เวลา 3 ปีเร็วขึ้น จากเดิมจะใช้เวลา 3 ปี 6 เดือน หากได้เอกชนปลายปี 2564 หรืออย่างช้าต้นปี 2565 การเปิดบริการยังคงอยู่ในปี 2567 หรือถ้าช้าก็ขยับไปเป็นต้นปี 2568

“ต้องมีการดูแลรักษาหรือค่า care of work โครงสร้างงานโยธาที่สร้างเสร็จ รวมถึงระบบลิฟต์ บันไดเลื่อน อุปกรณ์ต่าง ๆ ประเมินคร่าว ๆ จะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 40 ล้าน หรือปีละ 480 ล้านบาท ถ้ารอ 2 ปีก็อยู่ที่ 960 ล้านบาท รฟม.ต้องของบประมาณจากรัฐบาล”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า คงเร่งให้เร็วกว่านี้ไม่ได้ เพราะเป็นการก่อสร้างออกแบบไปก่อสร้างไป ซึ่งเอกชนที่มารับสัมปทานเดินรถต้องออกแบบงานระบบกับงานโยธาช่วงตะวันตกให้สอดรับกับช่วงตะวันออกด้วย ยังไงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป เพราะต้องออกแบบ สั่งผลิต ทดสอบระบบให้ครบถ้วนก่อนเปิดให้บริการ

“หากได้เอกชนที่รับสัมปทานเดินรถ ต้องเร่งงานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับระบบรถไปก่อน เช่น ติดตั้งฉากกั้นชานชาลา ห้องขายตั๋ว ระบบควบคุมเดินรถ”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ยกเว้นได้เอกชนรายเดิม คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน มีประสบการณ์อยู่แล้ว อาจจะทำให้การเปิดบริการเร็วขึ้น อาจจะไม่ต้องเสียค่าดูแลรักษานาน 2 ปี อยู่ที่ว่า BEM จะใช้ระบบของอะไรในการเดินรถสายสีส้ม หากเป็นระบบเดียวกับสายสีน้ำเงินก็ยิ่งดี

ถ้าสัมปทานไม่จบ ทำให้โครงการยิ่งช้า ยิ่งเสียหาย ทุกอย่างเป็นต้นทุนหมด รฟม.ไม่มีงบฯที่จะมารับภาระตรงนี้ และไม่สามารถนำค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดมาใช้ได้ เพราะไม่ใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นการบริหารงานบกพร่องที่ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผน จะขยายเวลาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาคงไม่ได้ เพราะงานก่อสร้างเป็นไปตามแผน และมีนโยบายไม่ให้ต่อเวลา เนื่องจากต้องจ่ายค่าเคลมให้ผู้รับเหมาอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2021 7:41 pm    Post subject: Reply with quote


ทางรถไฟฟ้าสายสีส้มแถวสัมมากร
https://www.youtube.com/watch?v=OdRQcO3Z8xA&t=400s
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2021 9:48 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ถอนอุทธรณ์”สีส้ม”แล้ว เร่งเปิดประมูลใหม่ ด้านบีทีเอสไม่ถอย คาดศาลพิจารณาคดีหลักเร็วๆนี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 - 20:41 น.
ปรับปรุง: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 - 20:41 น.


รฟม.ถอนอุทธรณ์ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”แล้ว กรณีศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว”บีทีเอส” ที่ยื่นฟ้องปมแก้เกณฑ์รวมคะแนนเทคนิคและราคา ขณะที่เตรียมรายงานบอร์ด 25 ก.พ. เร่งขั้นตอนเปิดประมูลใหม่ ด้าน บีทีเอส ยันไม่ถอนฟ้องคดี คาดศาลจะพิจารณาตัดสินเร็วๆนี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา รฟม.โดยอัยการ ได้ยื่นขอถอนอุทธรณ์ ในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด( BTSC) ยื่นฟ้อง รฟม.และ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยศาลปกครองได้รับพิจารณาทันทีและมีคำสั่งให้ถอนอุทธรณ์แล้ว

ทั้งนี้ รฟม.จะสรุปความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กรณีที่คณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 มีมติยกเลิกการประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และเตรียมร่างTOR เพื่อออกประกาศเชิญชวนใหม่ พร้อมทั้งการยื่นถอนอุทธรณ์ รายงานต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ในการประชุมวันที่ 25 ก.พ. ในขณะที่คณะกก.มาตรา 36 จะทำงานคู่ขนานตามขั้นตอนเพื่อเปิดประมูลใหม่ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนงาน

รายงานข่าวแจ้งว่า การถอนอุทธรณ์ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับคดีหลักที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (มหาชน) หรือ BTS ได้ยื่นฟ้องในหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง BTSC ในฐานะผู้ฟ้องคดี กับคณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ ปี 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอน มติคณะกรรมการมาตรา 36 และ รฟม. ที่เห็นชอบปรับปรุงวิธีและเงื่อนไขการประเมินการคัดเลือกเอกชน ร่วมลงทุนโครงการ เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา ภายหลังจากที่ รฟม.ปิดขายเอกสารประกวดราคาไปแล้ว และขอให้คุ้มครองฉุกเฉินให้ระงับการประมูล

และวันที่ 20 ต.ค. 2563 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดย”ให้รฟม. ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุน ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน และต่อมา รฟม.ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จนล่าสุด รฟม. ได้ยื่นถอนอุทธรณ์

ด้าน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ BTSC กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการยื่นถอนคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ที่ยื่นคัดค้านกรณีที่รฟม. มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องการให้ศาลพิจารณาตัดสินคดีให้สิ้นสุดมากกว่า ซึ่งคาดว่าศาลจะมีการพิจารณาเร็วๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2021 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อลากยาวศึกรถไฟฟ้า 2 สี สายสีส้ม ปะทะ สายสีเขียว
หน้า อสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 02:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,652 วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สายสีส้ม-สายสีเขียว ระอุ จ่อลากยาว ล้มประมูล-ยื้อขยายสัญญาสัมปทาน “สามารถ” ติง รฟม. ควรยึดหลักเกณฑ์เดิมหากเปิดประมูลใหม่ เชื่อไม่แฟร์ต่อเอกชนรายอื่นหลังรื้อเกณฑ์ทีโออาร์ เผยเอกชนมีสิทธิฟ้องศาลแพ่ง-อาญา หากได้รับความเสียหาย ด้านบีทีเอส ย้ำ รอคำชี้แจงรฟม. เตรียมสั่งฝ่ายกฎหมายตรวจสอบความชัดเจน

รถไฟฟ้า 2 เส้นทางยังคงร้อนระอุ สำหรับ การล้มประมูลสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน นับหนึ่งประมูลใหม่ ก่อนศาลปกครองชี้ขาด เช่นเดียวกับสายสีเขียว ปมยื้อขยายสัมปทาน ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนการท้วงติงอัตราค่าโดยสาร 104 บาท ซึ่งอาจนำมาถึงค่าครองชีพประชาชนในระยะยาว แม้กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศขยายเวลาจัดเก็บค่าโดยสารจากวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ออกไปแล้วก็ตาม มองว่า ศึกนี้ไม่น่าจะจบลงโดยง่าย


นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” กรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มีมติเห็นชอบล้มประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า หากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะดำเนินการเปิดประมูลโครงการฯ ใหม่ เบื้องต้นรฟม.ควรกำหนดหลักการเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคา (TOR) ให้ชัดเจนและไม่ควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลโครงการฯหลังจากออกประกาศแล้ว ขณะเดียวกันเมื่อ รฟม. เปิดประมูลใหม่ต้องเปิดประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน ในกรณีที่เอกชนรายใดทักท้วงการประมูลของโครงการฯ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดความเสียหายต่อเอกชนรายอื่น “การเปิดประมูล เราอยากให้รฟม.ใช้หลักเกณฑ์เดิมคือพิจารณาซองข้อเสนอด้านเทคนิค และพิจารณาซองข้อเสนอด้านราคา 100% แยกกัน อีกทั้งควรกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขทีโออาร์ผ่านซองข้อเสนอด้านเทคนิคว่าเป็นอย่างไร ซึ่งปัจจุบันที่กำหนดเงื่อนไขซองข้อเสนอด้านเทคนิค 85% ถือว่าสูงมาก แต่ที่ผ่านมารฟม.กลับใช้หลักเกณฑ์การประมูลเงื่อนไขใหม่โดยนำซองข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน รวมกับซองข้อเสนอด้านราคา 70 คะแนน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อรฟม.ในกรณีที่เอกชนเสนอผลตอบแทนต่ำ ส่งผลให้รฟม.ได้ผลตอบแทนน้อยและเสียหายต่อประเทศชาติ

ขณะเดียวกันเกณฑ์การประมูลใหม่โดยกำหนดซองข้อเสนอด้านราคา 70 คะแนน นั้น ได้แบ่งสัดส่วนคะแนนไว้ 10 คะแนน สำหรับความน่าเชื่อถือผลประกอบการของเอกชนที่เดินรถไฟฟ้าเพื่อเสนอต่อรฟม. หากเอกชนรายใดที่ไม่ได้เดินรถไฟฟ้าจะได้รับความน่าเชื่อถือน้อยและได้รับคะแนนน้อยหรือไม่ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่น หากรฟม.กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการประมูลโครงการฯ ควรเป็นธรรมกับทุกฝ่าย “อย่าให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการเอื้อให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง รฟม.ต้องทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ที่ผ่านมารฟม.ยกเลิกการประมูล ก็พยายามหาข้อกฎหมายหรือการสงวนสิทธิในเอกสารทีโออาร์สามารถยกเลิกได้ แต่สังคมไม่คิดแบบนั้น แต่มองว่าทำไมรฟม.ถึงเลือกดำเนินการในลักษณะนี้ เรามองว่า รฟม.ต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับมา รวมทั้งการประมูลในอนาคตอย่าให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก” สำหรับค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.ควรกำหนดอัตราค่าโดยสารให้ชัดเจนในเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) และควรใช้เรทราคาเดียวกัน ตามที่รฟม.ประกาศกำหนดอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง อยู่ที่ 14-42 บาททั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาดำเนินการโครงการดังกล่าวระหว่างการรอศาลปกครองตัดสินพิจารณาคดีหรือล้มประมูลโครงการฯ และเปิดประมูลใหม่ จะเห็นว่าเมื่อปลายเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมารฟม.เผยว่า อยู่ระหว่างรอคำวินิจฉัยจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดพิจารณาตัดสินคดี โดยคาดว่าภายใน 2 เดือน จะได้ผู้ชนะการประมูลโครงการฯ และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เท่ากับว่าใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่นาน แต่เหตุใดรฟม.ถึงตัดสินใจล้มประมูลโครงการฯ กะทันหัน อีกทั้งอ้างว่าเสียเวลาและไม่รู้ว่าศาลปกครองสูงสุดจะวินิจฉัยแล้วเสร็จเมื่อไร

“เรามองว่าข้ออ้างของรฟม.ดูย้อนแย้ง หากจะสู้แล้วต้องสู้ให้สุดซอยในเมื่อรฟม.เดินหน้ายื่นอุทธรณ์ทุเลาคำสั่งการบังคับใช้หลักเกณฑ์ใหม่ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นคำสั่งของศาลปกครองกลาง หากสู้ไปเลยจะได้รู้ใครแพ้ชนะ ขณะเดียวกันจะได้รู้ว่าหลักเกณฑ์ในลักษณะนี้ไม่ควรดำเนินการต่อไปในอนาคต เรามองว่าใครกันที่ทำให้เกิดความล่าช้า หลังจากที่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ทำให้เอกชนไม่ได้รับความเป็นธรรมถึงขั้นต้องฟ้องศาลปกครอง”หากมีการล้มประมูลสายสีส้ม เอกชนมีสิทธิฟ้องรฟม.หรือไม่ เบื้องต้นด้านเอกชนคงต้องดูความเสียหายก่อนว่าเป็นอย่างไร หากได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องศาลแพ่งหรือศาลปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ อีกทั้งต้องตรวจสอบว่าสามารถดำเนินการฟ้องคดีอาญาได้หรือไม่ ขณะเดียวกันการยกเลิกที่สงวนสิทธิไว้ในเอกสารทีโออาร์มีการสงวนสิทธิจริงแต่เป็นการสงวนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีการเปิดประมูลใหม่จะมีเอกชนให้ความสนใจโครงการฯ หรือไม่ เชื่อว่ามีเอกชนรายเดิมทั้ง 2 ราย ที่ให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรถไฟฟ้าเหมือนกันและสามารถแข่งขันกันได้ ส่วนเอกชนรายอื่นที่ซื้อซองเอกสารโครงการฯสามารถเข้าไปร่วมดำเนินการซับคอนแทคเตอร์ได้ ทั้ง 2 ฝ่าย หากเอกชนรายใดได้เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะทำให้ได้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น เพราะเป็นการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ ทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ซึ่งผ่านพื้นที่ที่มีความหนาแน่น คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารมากขึ้นนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กล่าวว่า กรณีล้มประมูลสายสีส้ม ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงจากรฟม. หลังจากนี้ต้องรอฝ่ายกฎหมายพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบีทีเอส ว่าการยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้นจะขัดกับข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง ส่วนกรณีที่ศาลปกครองอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวนถือว่าสิ้นสุด โดยรฟม.ต้องถอนฟ้องจากศาลปกครองหลังจากที่มีการยื่นอุทธรณ์ในช่วงที่ผ่านมา หากมีการประกาศเชิญชวนให้ประกวดราคาใหม่นั้นบีทีเอสก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขรายละเอียดการประมูล (TOR) ก่อนขณะที่ความคืบหน้าสายสีเขียว ก่อนหน้าที่ กทม.จะมีหนังสือ สั่ง ขยายเวลา จัดเก็บค่าโดยสารทั้งระบบ ออกไป ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุกทม. ได้ออกประกาศกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวชั่วคราว ที่ 104 บาท รวมทั้งกทม.ส่งหนังสือตอบกลับมาที่กระทรวงคมนาคม เพียง 2 ประเด็นนั้น เบื้องต้นได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมทำหนังสือขอข้อมูลทุกๆ 15 วัน จนกว่ากทม. จะส่งข้อมูลที่เหลือจนครบถ้วนตามที่กระทรวงเคยแจ้งไว้ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และ กทม. ตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อขอข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องถึงกรณีสายสีเขียว เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่นๆ เพื่อนำมาศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการลดค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท จากเดิมที่กำหนดค่าโดยสารไว้ 158 บาท เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน ขณะเดียวกันต้องไม่เกินอัตราค่าโดยสารตามแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

“จิรายุ” แฉปฏิบัติการ 16 วันทันใจนาย ตกรางวัลที่ปรึกษา ม.36 ล้มประมูลสายสีส้ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:31 น.
ปรับปรุง: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:31 น.






ส.ส.พท.ซักฟอก รมว.คมนาคม แฉกลางสภา “ปฏิบัติการ 16 วันทันใจนาย” ปูดที่ปรึกษา ม.36 ตัวแปรสำคัญเปลี่ยนเงื่อนไขประกวดราคา สู่ล้มประมูลสายสีส้ม ก่อนได้ดีเป็นใหญ่ใน ทอท.

วันนี้ (18 ก.พ.) เวลา 12.10 น. ที่รัฐสภา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.2 แสนล้านบาทว่า การประมูลโครงการดังกล่าวมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ โดยมีการตั้งคณะกรรมการ 8 อรหันต์ ตามมาตรา 36 ส่วนใหญ่เป็นคนในกระทรวงคมนาคม และมีอำนาจสามารถแก้ไข้เปลี่ยนแปลงการประกวดราคาได้ โดยมีการจัด “ตามปฏิบัติการ 16 วันทันใจนาย” เดิมพันที่เป็นผลประโยชน์ พร้อมใช้ทฤษฎีสมคบคิด แบ่งงานกันทำมีเจตนาพิเศษ โดย 7 ส.ค. บริษัท อิตาเลียนไทย ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเปิดประมูลว่าทำไม่ได้ ต่อมาวันดีเดย์ในวันที่ 21 ส.ค. 63 จึงมีการแก้ไขเงื่อนไขการเปิดประมูล และได้มีการเชิญนายภคพงษ์ ศิริกันธรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม.มาร่วมประชุมด้วย ซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการตามมาตรา 36 และจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคาสายสีส้มในเวลาต่อมา

นายจิรายุอภิปรายต่อว่า จากบันทึกการประชุมในวันที่ 21 ส.ค. 63 โดยมีเนื้อหาว่าคณะกรรมการบางคนมีการทักว่าทำได้หรือไม่ และจะเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำ และมีคณะกรรมการบางคนท้วงติงว่าเมื่อแก้ไขการประกวดราคา และเปิดประมูลไปแล้วจะขัดกฎหมายหรือไม่ แต่ผู้ว่าฯ รฟม.บอกว่าเราสงวนสิทธิ์ไปแล้วว่าเปลี่ยนแปลงได้ และการแก้ไขแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและเอกชน แต่ไฮไลต์สำคัญ คือ ตัวแทนจากบริษัทที่ปรึกษาเป็นตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ตอบว่าเปลี่ยนเงื่อนไขการประกวดราคาได้ กระทั่งที่ประชุมมีมติแก้ไขเงื่อนไขการประมูล เว้นแต่ผู้แทนจากสำนักงบประมาณเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย ตนอยากถามว่าทำไมผู้ว่าฯ รฟม.เพิ่งมาคิดเปลี่ยนแปลง มีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่

นายจิรายุกล่าวต่อว่า ต่อมามีบีทีเอส เอกชนที่ซื้อซองประมูลไปแล้วได้ฟ้องศาลปกครอง ต่อมาคณะกรรมการทั้ง 8 คนก็ล้มประมูลโดยไม่รอการตัดสินของศาล ตนขอบอกว่าคณะกรรมการฯ ได้ใช้เทคนิคทางการกฎหมายขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกซึ่งไม่มีใครเขาทำกัน และตนจะบอกว่าตัวแทนจากบริษัทที่ปรึกษาที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา ได้ลาออกจากบริษัทที่ปรึกษาในโครงการสีส้ม กระทั่งต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม ได้เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท.คุมสายงานวิศกรรมการก่อสร้าง และโดยบอร์ด ทอท.ตั้งเป็นวาระลับ

“ถือเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เพราะโครงการสีส้มเป็นโครงการใหญ่ แล้วทำกันอย่างนี้หรือ นักลงทุนที่ไหนจะกล้ามาลงทุน เพราะเปิดประมูลไม่ตรงไปตรงมา แบ่งงานกันทำ และเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องโดยไม่เห็นประโยชน์ของประเทศชาติและพี่น้องประชาชนใช่หรือไม่ และอยากเตือนเอาไว้ว่า ก่อนหน้านี้ศาลก็ได้ตัดสินจำคุก 6 ปี อดีตผู้ว่าฯ รฟท.คดีแอร์พอร์ตลิงก์เอาไว้เป็นอุทาหรณ์ จึงเป็นเหตุให้ผมไม่ไว้วางใจนายกฯ และ รมว.คมนาคม” นายจิรายุกล่าว
“ศักดิ์สยาม” ยันสายสีส้มยึดมติ ครม. สวน “จิรายุ” อย่าจินตนาการ ยกเลิกประมูลเซฟเวลา 1 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:59 น.
ปรับปรุง: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:59 น.


รมว.คมนาคม แจงรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำตามมติ ครม. เดินหน้าตามระเบียบ กม.-ธรรมาภิบาล สวน “จิรายุ” เอื้อประโยชน์ใคร อย่าจินตนาการปะติดปะต่อข่าว ชี้ยกเลิกประมูลก่อนรอข้อพิพาทถึงที่สุด เซฟเวลา 1 ปี กำหนดแผนเปิดให้บริการฝั่งตะวันออก ปี 67-ตะวันตก ปี 70

วันนี้ (18 ก.พ.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.28 แสนล้าน หลังจากมีการปรับเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (เกณฑ์การประเมินใหม่) และยกเลิกการประมูลเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมาว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) โดยในขณะนี้มีความก้าวหน้า 76% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 เปิดให้บริการช่วง ต.ค. 2567

2. ส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ในขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชน ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2563 ที่ให้ดำเนินการโครงการรูปแบบ PPP Net Cost รอหาเอกชนมาร่วมลงทุน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการ เม.ย. 2570 อย่างไรก็ตาม ในส่วนตะวันออกจะเป็นสัญญาก่อสร้างงานโยธาเป็นหลัก แต่ขณะที่ส่วนตะวันตกจะรวมการเดินรถเข้าไปด้วย ทั้งนี้ หากส่วนตะวันตกไม่สามารถดำเนินการได้จะส่งผลให้ส่วนตะวันออกจะยังไม่เปิดให้บริการ

นายศักดิ์สยามกล่าวถึงประเด็นการคัดเลือกเอกชนว่า ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562 โดยเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีคำสั่งที่ 67/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนตามมติ ครม.ที่อนุมัติโครงการฯ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมจึงได้ทำหนังหารือไปยังสำนักเลขาธิการ ครม. โดยเป็นการอนุมัติหลักการโครงการเท่านั้น ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และตามหลักธรรมภิบาล

“ผมยืนยันว่าการดำเนินการโดยใช้ราคาและคุณภาพนั้น เพราะเป็นเรื่องการขุดอุโมงค์ และที่ผ่านมาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก็มีปัญหาเรื่องสิ่งปลูกสร้างแตกร้าว เช่น มีน้ำรั่วไหลเข้าไปในสถานีสามยอด ทำให้เทคนิคการก่อสร้างมีความสำคัญ เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกต้องผ่านชุมชนหนาแน่นซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า รวมถึงพื้นที่สำคัญอื่นๆ ส่วนการยกเลิกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมานั้นก็เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่มีการสงวนให้มีการยกเลิกได้ โดยผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียได้ และได้มีการหารือสำนักนายกฯ แล้ว พร้อมทั้งสั่งการให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ” นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการดำเนินการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ ภายหลังการยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และการคัดเลือกเอกชน เมทื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา โดยภายใน ก.พ.นี้ รฟม.จะจัดรับฟังความเห็นความสนใจการลงทุนของภาคเอกชน (Market Sounding) และสาระสำคัญของเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) จากนั้นคณะกรรมคัดเลือกจะเห็นชอบประกาศเชิญชวน, RFP และร่างสัญญาฯ

ขณะเดียวกัน รฟม.จะออกประกาศเชิญชวน และขายเอกสาร RFP ภายใน มี.ค. 2564 ก่อนที่จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในช่วง มี.ค.-พ.ค. 2564 หลังจากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ ประเมินข้อเสนอ-เจรจาต่อรอง ช่วง พ.ค.-ก.ค. 2564 ก่อนส่งต่อให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาฯ และคาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกฯ และลงนามสัญญาภายใน ก.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อยกเลิกการประมูลแล้วคัดเลือกใหม่นั้นจะใช้เวลา 6 เดือน ช่วยลดระยะเวลาได้ 1 ปี หรือหากรอให้ข้อพิพาทถึงที่สุดจะใช้ระยะเวลา 18 เดือน

“ผมขอเรียนชัดเจนว่า ที่กล่าวหาว่าการดำเนินการเอื้อประโยชน์ ผมขอถามกลับว่าเอื้อประโยชน์ใคร ใครได้ประโยชน์ เพราะโครงการนี้ยังไม่มีการประกาศผลว่าใครชนะ ยังไม่มีการเปิดซอง ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมดำเนินการตามกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ และท่านนายกฯ สั่งการมาตลอด ผมต้องถามว่าผิดกฎหมายตรงไหน แล้วเกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าคมนาคมตรงไหนที่ไม่กำกับดูแล และผู้อภิปรายท่านเอาข่าวมาปะติดปะต่อ และใช้จินตนาการ” นายศักดิ์สยามกล่าว

https://www.youtube.com/v/yPsakHzyBVc


Last edited by Wisarut on 19/02/2021 8:38 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

“จิรายุ” เพื่อไทย อภิปรายเบื้องหลังประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 15:10 น.

“จิรายุ เพื่อไทย” ซักฟอก “ศักดิ์สยาม” ปมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม

เมื่อเวลา วันที่ 18 ก.พ. 2564 ที่รัฐสภา เกียกกาย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่า กรณีการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นการเห็นประโยชน์แก่ตัวเองและพวกพ้อง และเป็นการแหกตาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้วย

โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอยู่ใต้การกำกับของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม โครงการแบ่งเนื้องานได้ 2 ฝั่ง ฝั่งแรกคือฝั่งตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปแล้ว และฝั่งตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ วงเงินโครงการ 128,128 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่มีปัญหา และกำลังเป็นประเด็นในเรื่องการหาตัวเอกชนร่วมลงทุน (PPP)

เพราะก่อนหน้านี้ไล่ตั้งแต่สมัยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มาจนถึงการอนุมัติโครงการในยุคพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ล้วนแล้วแต่เห็นชอบการใช้หลักเกณฑ์เดิมคือ เอาการเสนอผลตอบแทนแก่รัฐในซองที่ 3 เป็นสำคัญ

แต่แล้ว พบว่ามีการจะผลักดันการใข้เกณฑ์ประมูลใหม่คือ นำคะแนนด้านเทคนิคมาร่วมพิจารณากับการเสนอผลตอบแทนให้รัฐในอัตรา 30% กับ 70% ตามลำดับ โดยการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 (บอร์ดม.36) จำนวน 8 รายมีสัดส่วนของหน่วยงานข้างนอกที่เชื่อถือได้เพียง 2-3 ราย คือหน่วยงานของสำนักงบประมาณและผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด นอกนั้นเป็นกรรมการในสัดส่วนของกระทรวงคมนาคมแทบทั้งสิ้น


โดยเมื่อเดือน มิ.ย. 2563 บอร์ดชุดนี้ได้ร่างมีโออาร์โดยใช้หลักเกณฑ์พิจารณาเดิมคือ ใช้ซองที่ 3 การเสนอผลตอบแทนให้รัฐเป็นหลัก และได้ดำเนินการขายซอง จนกระทั่งปิดขายซองมีผู้มาซื้อซองจำนวน 10 ราย แต่ต่อมาปรากฎว่า มีการเรียกประชุมบอร์ดม.36 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ

สำนักงบฯค้านแต่ไร้ผล
ในการประชุมดังกล่าวมีกุญแจหลัก 3 คน คือ1. นายภคพงศ์ ผู้ว่ารฟม. 2. นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และ 3. นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ที่ปรึกษา BMTO โดยในการประชุมนางสาวกนกรัตน์ได้ทักท้วงถึงการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ไม่ควรทำ หากจะเน้นเนื้องานด้านเทคนิค ก็ให้เพิ่มคะแนนพิจารณาด้านเทคนิคจะดีกว่า หรือไม่ก็ควรกำหนดหลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่ต้นไปเลย และโครงการที่มีเทคโนโลยีซับซ้อนกว่า อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินยังใช้หลักเกณฑ์การเสนอผลตอบแทนให้รัฐอย่างเดียว


แต่มีการยืนยันว่าในข้อ 12 ของทีโออาร์ กำหนดสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโครงการไว้แล้ว และการเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณามีความจำเป็น เพราะต้องขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา และอ้างว่าการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ จะทำให้รถไฟฟ้าอยู่นานคงทนถึง 30 ปี ถ้าหากอยู่ได้ถึง 30 ปี ทำไมผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่มีมากว่า 10 ปี ถึงไม่เอะใจเลย

เมื่อมีการเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( BTSC) ก็ยื่นฟ้องศาลปกครองจนมีคำสั่งทุเลาไม่ให้ใช้เกณฑ์ดังกล่าว เมื่อยื้อกันนานเข้า รฟม.รอไม่ได้สั้งล้มประมูลเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2563 ในที่สุด โดยไม่ฟังคำพิพากษาของศาลก่อน


“ศักดิ์สยาม” แจงเปลี่ยนเกณฑ์สายสีส้มเพราะงานยาก ลุยประมูลรอบใหม่ มี.ค.-พ.ค. นี้
อสังหาริมทรัพย์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 15:57 น.

“ศักดิ์สยาม” โต้กลับ “จิรายุ” ชี้เปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาสายสีส้มได้ ครม.ไม่ห้ามเพราะเห็นชอบในหลักการ รายละเอียดทำต่อเอง ก่อนกางไทม์ไลน์ใหม่เร็วปิ๊ด ลงนามได้ ก.ค. 64 นี้ รอศาลลากยาว 18 เดือน แซะกลับอภิปรายอย่าจินตนาการ เอาข่าวมาปะติดปะต่อ

เมื่อเวลา 13.12 น. วันที่ 18 ก.พ. 2564 นายศักดิ์สยาม ขิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงการอภิปรายของนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย กรณีรถไฟฟ้าสายสีส้มว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) โดยในขณะนี้ มีความก้าวหน้า 76% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 เปิดให้บริการช่วง ต.ค. 2567

และ 2.ส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ในขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชน ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 และให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2563 ที่ให้ดำเนินการโครงการรูปแบบ PPP Net Cost รอหาเอกชนมาร่วมลงทุน โดยคาดว่า จะเปิดให้บริการ เม.ย. 2570

อย่างไรก็ตาม ในส่วนตะวันออก จะเป็นสัญญาก่อสร้างงานโยธาเป็นหลัก แต่ขณะที่ส่วนตะวันตก จะรวมการเดินรถเข้าไปด้วย ทั้งนี้ หากส่วนตะวันตกไม่สามารถดำเนินการได้ จะส่งผลให้ส่วนตะวันออกจะยังไม่เปิดให้บริการ

ครม.เคาะหลักการ รายละเอียดกำหนดเอง
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงประเด็นการคัดเลือกเอกชนว่า ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 โดยเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีคำสั่งที่ 67/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 (บอร์ดม.36) ขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนตามมติ ครม.ที่อนุมัติโครงการฯ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมจึงได้ทำหนังหารือไปยังสำนักเลขาธิการ ครม. โดยเป็นการอนุมัติหลักการโครงการเท่านั้น ในรายละเอียดหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายต้องทำต่อ ทั้งนี้ กำชับให้ รฟม. ดำเนินการตามระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และตามหลักธรรมภิบาล


ย้ำใช้เทคนิคเพราะงานยาก
“การใช้ราคาและคุณภาพคู่นั้น เพราะมีเรื่องการขุดอุโมงค์ และที่ผ่านมาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ก็มีปัญหา เรื่องสิ่งปลูกสร้างแตกร้าว เช่น มีน้ำรั่วไหลเข้าไปในสถานีสามยอด ทำให้เทคนิคการก่อสร้างมีความสำคัญ เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ต้องผ่านชุมชนหนาแน่น ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า รวมถึงพื้นที่สำคัญอื่นๆ ส่วนการยกเลิกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมานั้น ก็เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่มีการสงวนให้มีการยกเลิกได้ โดยผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียได้ และได้มีการหารือสำนักนายกฯ แล้ว พร้อมทั้งสั่งการให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ” นายศักดิ์สยาม กล่าว

เปิดไทม์ไลน์ประมูลสายสีส้มรอบใหม่
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการดำเนินการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ ภายหลังการยกเลิกประกาศเชิญชวนและการคัดเลือกเอกชน เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา โดยภายใน ก.พ.นี้ รฟม. จะจัดรับฟังความเห็นความสนใจการลงทุนของภาคเอกชน (Market Sounding) และสาระสำคัญของเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) จากนั้นคณะกรรมคัดเลือกจะเห็นชอบประกาศเชิญชวน, RFP และร่างสัญญาฯ


ขายซอง มี.ค.-ลงนาม ก.ค. 64
ขณะเดียวกัน รฟม. จะออกประกาศเชิญชวน และขายเอกสาร RFP ภายใน มี.ค. 2564 ก่อนที่จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในช่วง มี.ค.-พ.ค. 2564 หลังจากนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ ประเมินข้อเสนอ-เจรจาต่อรอง ช่วง พ.ค.-ก.ค. 2564 ก่อนส่งต่อให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาฯ และคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกฯ และลงนามสัญญาภายใน ก.ค. 2564

รอศาลลากยาว 18 เดือน
อย่างไรก็ตาม เมื่อยกเลิกการประมูลแล้วคัดเลือกใหม่นั้น จะใช้เวลา 6 เดือน ช่วยลดระยะเวลาได้ 1 ปี หรือหากรอให้ข้อพิพาทถึงที่สุดจะใช้ระยะเวลา 18 เดือน

โต้เอื้อใคร แซะอภิปรายอย่าจินตนาการ
“ผมขอเรียนชัดเจนว่า ที่กล่าวหาว่า การดำเนินการเอื้อประโยชน์ ผมขอถามกลับว่า เอื้อประโยชน์ใคร ใครได้ประโยชน์ เพราะโครงการนี้ ยังไม่มีการประกาศผลว่าใครชนะ ยังไม่มีการเปิดซอง ยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมดำเนินการตามกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ และท่านนายกฯ สั่งการมาตลอด ผมต้องถามว่า ผิดกฎหมายตรงไหน แล้วเกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าคมนาคมตรงไหนที่ไม่กำกับดูแล และผู้อภิปรายท่านเอาข่าวมาปะติดปะต่อ และใช้จินตนาการเอง”นายศักดิ์สยาม กล่าว


ภท.-คมนาคม แจงปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้ดำเนินการล่าช้าส่งผลยกเลิกคัดเลือกเอกชน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:25 น.
ปรับปรุง: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:25 น.


โฆษกภท. นำคณะก.คมนาคม ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังถูกพท.ซักฟอก ระบุการดำเนินการล่าช้า ส่งผลให้ยกเลิกการคัดเลือกเอกชน กำชับรฟม.คัดเลือกใหม่ให้สร้างแล้วเดินรถได้ปี 67-70

วันนี้ (18ก.พ.) นายภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทย, นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม, นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวชี้เเจงเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม ณ รัฐสภาฯ ห้อง 203 ห้องแถลงข่าว โดยระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชวงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแผนงานคัดเลือกครั้งใหม่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน พ.ศ. 2562 จนถึงการยกเลิกประกาศเชิญชวน และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ เพื่อเริ่มการคัดเลือกใหม่ ดังนี้

1.คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้เห็นชอบประกาศเชิญชวน และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP) ซึ่งรวมถึงเกณฑ์การคัดเลือกผู้ชนะโดยพิจารณาซองเทคนิค และซองการลงทุน และผลตอบแทนแยกจากกัน (เกณฑ์การประเมินเดิม) ซึ่งรฟม. ได้ออกประกาศเชิญชวนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และได้ขายซองเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ระหว่างวันที่ 10 – 24 กรกฎาคม 2563 โดยมีผู้สนใจซื้อซองเอกสาร RFP รวม 10 ราย

2.คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน ได้มีประกาศเรื่องรายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวนฯ ร่างเอกสาร RFP และสาระสำคัญของร่างสัญญาฯ พ.ศ. 2563 โดยใน ข้อ 4(8) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกที่ให้ระบุหลักเกณฑ์ และวิธีการตัดสินเป็นคะแนนในทุกด้าน ทั้งด้านคุณภาพ และด้านราคา (Price-Performance) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้มีหนังสือลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 แจ้งว่าการพิจารณาวิธีประเมินข้อเสนอเป็นหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการคัดเลือกฯ

ในการนี้รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ทบทวนปรับปรุงจากเกณฑ์การประเมินเดิม โดยคำนึงถึงสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคก่อสร้างที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยสูงสุด มาเป็นวิธีประเมินคะแนนด้านเทคนิคควบคู่ด้านผลตอบแทน และการลงทุน (เกณฑ์การประเมินใหม่) ดังนี้

กรณีปัญหาและผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ที่ผ่านมาเช่น กรณีน้ำใต้ดินรั่วซึมเข้าสถานีสามยอด ขณะก่อสร้างสถานีใต้ดินสายสีน้ำเงิน ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนประชาชนโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง โครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศซึ่งล้วนมีปัญหามาจากการออกแบบและเทคนิคก่อสร้างทั้งสิ้น

สายสีส้มส่วนตะวันตก ต้องก่อสร้างลอดผ่านย่านชุมชนหนาแน่น (ห้วยขวาง ประชาสงเคราะห์) ย่านเศรษฐกิจการค้าสำคัญ (ประตูน้ำ เพชรบุรีตัดใหม่) ย่านเมืองเก่า (ถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สนามหลวง โรงละครแห่งชาติลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา รพ.ศิริราช สถานีรถไฟธนบุรี) นอกจากนี้ยังผ่านพื้นที่ซึ่งมีโบราณสถานและอาคารอนุรักษ์จำนวนมาก ซึ่งหากประสบปัญหาจากเทคนิคก่อสร้างที่ไม่ดีพอจะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

3.เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 รฟม. ได้นำส่งเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) ให้เอกชนผู้ซื้อซองเอกสาร RFP ทุกรายแจ้งปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอจากเกณฑ์การประเมินเดิม เป็นเกณฑ์การประเมินใหม่พร้อมทั้งขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

4.เอกชนผู้ซื้อซองเอกสาร RFP รายหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 และได้ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์การประเมินใหม่ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2563 โดยสรุปให้ทุเลาการบังคับตามเกณฑ์การประเมินใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ รฟม. และคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันยื่นคำอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563โดยสรุปขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

5.ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นกำหนดวันรับซองเอกสารข้อเสนอ มีเอกชนยื่นซองเอกสารข้อเสนอฯ รวม 2 ราย ทั้งนี้ก่อนถึงกำหนดเปิดซองเอกสารข้อเสนอในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 รฟม. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือถึงเอกชนผู้ยื่นซองเอกสารข้อเสนอทั้ง 2 ราย แจ้งเลื่อนกำหนดเปิดซองเอกสารข้อเสนอจากกำหนดเดิมออกไปก่อน จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งเป็นประการใด อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีคำสั่งใดๆ ในระยะเวลา 1 เดือน คณะกรรมการฯ ได้มอบให้รฟม. จัดเตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป

6.ในการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมการฯ และ รฟม. ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ โดยประเมินกรอบระยะเวลาดำเนินการ ผลกระทบ รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย อย่างรอบด้านแล้ว มีความเห็นโดยสรุปว่า จนถึงปัจจุบันระยะเวลาได้ล่วงเลยมามากแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าและขอสรุปทางคดีซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานออกไป ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ จนแล้วเสร็จที่ชัดเจนได้ประกอบกับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย มีอายุ 270 นับจากวันยื่นซองข้อเสนอ หากยังคงรอข้อสรุปทางด้านคดีก่อน แล้วจึงดำเนินการคัดเลือกต่อไป อาจส่งผลให้ซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย ดังกล่าว สิ้นอายุลงก่อนที่กระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ จะแล้วเสร็จ ซึ่งอาจนำไปสู่การยกเลิกการคัดเลือก และเริ่มการคัดเลือกเอกชนฯ ใหม่ ในภายหลัง จึงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ล้วนส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ


X


ขณะที่กรณียกเลิกการคัดเลือก และเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนฯใหม่จะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6 – 8 เดือน กรอบระยะเวลาดำเนินการมีความชัดเจน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิก ประกาศเชิญชวนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว โดยมอบให้รฟม.พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

7.การคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ รฟม.จะเร่งรัดให้เอกชนกระชับขั้นตอนการก่อสร้างและติดตั้งงานระบบไฟฟ้า เพื่อให้เปิดบริการเดินรถโครงการฯ ส่วนตะวันในเดือนตุลาคม 2567 และส่วนตะวันตก ในเดือนเมษายน 2570 ตามแผนงานเดิมได้

8.รฟม. ได้ออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามประกาศดังกล่าว โดยติดประกาศ ณ ที่ทำการ รฟม. และเผยแพร่ทางหน้าเว็บไซต์ www.mrta.co.th เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 แล้ว
.
ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานีและสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)


Last edited by Wisarut on 19/02/2021 9:18 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42620
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 7:58 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยันเปลี่ยนเกณฑ์ “สีส้ม” ทำตาม กม. เน้นเทคนิคเหตุงานยากผลกระทบเยอะ

หน้าคมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:19 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:19 น.
รฟม.แจงปมสายสีส้มยันจำเป็นใช้เกณฑ์เทคนิคร่วมด้วยป้องกันความเสียหายโบราณสถาน
IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:05 น.
ภท.ประสานคมนาคม แจงปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังถูกพาดพิงศึกซักฟอก
วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 16.56 น.





รฟม.ยันเปลี่ยนเกณฑ์สีส้ม ทำตามประกาศ PPP ชี้เน้นเทคนิคเหตุผ่านพื้นที่สำคัญ ไม่อยากให้เสียหายแล้วต้องเยียวยาทีหลัง ยันยกเลิกดีกว่าปล่อยยืดเยื้อรัฐเสี่ยงเสียหายแบกดอกเบี้ยและภาระค่าดูแลโครงสร้างตะวันออกที่เสร็จก่อน แต่ไม่มีรถวิ่ง รวมกว่า 206 ล้าน/เดือน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ชี้แจงถึงกรณีที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท กรณีมีการปรับเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (เกณฑ์การประเมินใหม่) ว่า รฟม.ดำเนินตามตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) โดยได้มีประกาศคณะกรรมการ PPP เรื่องหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 กำหนดให้พิจารณาการคัดเลือกให้ใช้เกณฑ์และวิธีการตัดสินเป็นคะแนนในทุกด้าน ทั้งด้านคุณภาพ และด้านราคา (Price-Performance)

เป็นสาเหตุหลักที่ รฟม.และที่ปรึกษาโครงการได้พิจารณาทบทวนและนำเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2562 ทบทวนเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคัดเลือกให้สอดคล้องกับประกาศ คณะกรรมการ PPP และคณะ กก.มาตรา 36 มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 เปลี่ยนเกณฑ์เป็นราคารวมกับเทคนิค 70-30 และขยายเวลาการยื่นซอง 45 วันเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งเอกชนมีเวลาในการเตรียมเอกสารข้อเสนอไม่น้อยกว่า 70 วัน ซึ่งมากพอที่เอกชนจะปรับปรุงข้อเสนอให้สอดคล้องกับเกณฑ์การคัดเลือกใหม่

ทั้งนี้ เทคนิคและวิธีการก่อสร้างเป็นเรื่องสภาพแนวเส้นทางสายสีส้มตะวันตก ที่เป็นอุโมงค์ตลอดสายผ่านพื้นที่ผ่านย่านชุมชน ตั้งแต่ห้วยขวาง ประชาสงเคราะห์ ย่านประตูน้ำ เพชรบุรีตัดใหม่ ย่านเมืองเก่า ถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งมีอาคารอนุรักษ์จำนวนมาก ผ่านสนามหลวง โรงละครแห่งชาติ ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ศิริราช สถานีรถไฟธนบุรี สิ้นสุดที่บางขุนนนท์ ตลอดแนวมีอาคารข้างเคียงที่อ่อนไหวต่อการขุดเจาะอุโมงค์ การก่อสร้างหากไม่ระวังสูงสุดอาจจะกระทบทำให้อาคารอนุรักษ์เสียหายได้ ซึ่งการบูรณะกลับคงไม่ได้ดีเหมือนเดิม

โดยในการพิจารณาเห็นว่า โครงการ PPP รถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่ผ่านมา การก่อสร้างทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง อีกทั้งมีน้ำรั่วเข้าสถานีใต้ดิน มีการทรุดตัวของอาคารข้างเคียงและไม่สามารถซ่อมแซมและเยียวยาผู้เสียหายได้ ซึ่งการก่อสร้างสายสีส้มแตกต่างจากสายอื่นเพราะมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อโบราณสถานที่เป็นสมบัติของชาติที่มิอาจประเมินมูลค่าเสียหายได้ จึงต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างวิศวกรรมและวิธีการก่อสร้างชั้นสูง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้น

“โครงการ MRT ในอดีต รฟม.เคยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยวิธีพิจารณาทางเทคนิค 50% ร่วมกับด้านราคา 50% ปรากฏให้ได้ผลงานก่อสร้างและบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด โดยยังคงผลตอบแทนทางการเงินที่เหมาะสม รฟม.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหา ทำให้ผลตอบแทนด้านการเงินโครงการมีความสำคัญ จึงได้พิจารณา ใช้หลักเกณฑ์ในด้านราคา 70% เพื่อให้ได้ผลตอบแทนด้านการเงินในสัดส่วนที่สูง และเกณฑ์ด้านเทคนิค 30% เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและเพิ่มคุ้มครองรักษาโบราณสถานต่างๆ ที่เป็นสมบัติของชาติไว้”

ส่วนการยกเลิกประกวดราคาและเปิดคัดเลือกใหม่นั้น จากที่มีเอกชนรายหนึ่งได้มีการยื่นฟ้อง รฟม.และคณะ กก.มาตรา 36 และศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์ประเมินใหม่ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ที่ผ่านมากระบวนการพิจารณาคดีทางปกครองจนถึงที่สุดนั้นต้องใช้เวลานานพอสมควร เช่น กรณีบริษัทเอกชนรายหนึ่งยื่นฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ต่อศาลปกครองกลางในคดีพิพาททางด่วน เมื่อเดือน ก.ย. 2554 กระบวนการพิจารณาถึงที่สุดเมื่อเดือน ก.ย. 2561 ใช้เวลานานเกือบ 85 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกรณีรอผลคดีถึงที่สุด ประกอบกับที่มีการยื่นเอกสารประมูลและซองข้อเสนอที่มีอายุ 270 วัน ซึ่งเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วเกือบ 3 เดือน ขณะที่เวลายื่นข้อเสนอที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อระยะเวลาในการการพิจารณาคัดเลือก อีกทั้งไม่สามารถคาดได้ว่าคดีจะถึงที่สุดเมื่อใด
ขณะที่การเริ่มกระบวนการคัดเลือกใหม่จะช่วยแก้ปัญหาโดย รฟม.สามารถเร่งรัดดำเนินการคัดเลือกเอกชนได้ทันทีให้แล้วเสร็จภายใน 6-8 เดือน สามารถเปิดบริการได้ตามแผนเดิม ปี 2570 ทำให้มั่นใจในการให้บริการสาธารณะได้ตามเป้าหมาย ไม่มีปัญหาเหมือนโครงการอื่น เกิดประโยชน์ต่อรัฐและประชาชน เป็นการอาศัยอำนาจที่กำหนดในประกาศเชิญชวน RFP ข้อ 12.1 ข้อ 35.1 ซึ่งสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการ PPP เรื่องรายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน เอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (9) และมาตรา 38 (7) แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุน พ.ศ. 2562 คณะ กก.มาตรา 36 ได้พิจารณาแล้วจึงมีมติให้ยกเลิกการคัดเลือกและเริ่มการคัดเลือกใหม่

นอกจากนี้ หากให้คดีถึงที่สุดและคัดเลือกเอกชนต่ออาจจะสร้างความเสียหายแก่รัฐมากกว่าเดือนละ 206 ล้านบาท เพราะจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเดือนละกว่า165 ล้านบาท และมีค่าดูแลรักษางานโยธา ส่วนตะวันออกที่จะก่อสร้างเสร็จก่อน แต่รอส่งมอบเอกชนเดือนละ 41 ล้านบาท ยังไม่รวมมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ประชาชนต้องรอใช้บริการ ดังนั้น การยกเลิกประมูลจึงจำเป็นเพื่อป้องกันความเสียหายของโครงการและการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า


อย่างไรก็ตาม ศาลได้พิจารณา รฟม.ถอนอุทธรณ์แล้ว ส่วนคดีหลักที่ศาลปกครองยังไม่มีการพิจารณาออกมานั้น จะไม่กระทบต่อการเปิดประมูลใหม่ เนื่องจากเหตุแห่งการฟ้องคดีเรื่องการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนได้หมดสิ้นแล้ว เนื่องจากมีการยกเลิกคัดเลือกนั้นแล้วเหตุจึงหมดไป การฟ้องคดีน่าจะยุติลง ทั้งนี้จะเป็นดุลพินิจที่ศาลจะพิจารณาต่อไป

สำหรับกรอบเวลาเปิดประมูลใหม่นั้นจะจัดรับฟังความเห็นความสนใจการลงทุนของภาคเอกชน (Market Sounding) และสาระสำคัญของเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) ภายในเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นคณะกรรมคัดเลือกฯจะเห็นชอบประกาศเชิญชวน, RFP และร่างสัญญาฯ และในเดือน มี.ค. 2564 รฟม.จะออกประกาศเชิญชวน และขายเอกสาร RFP และเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในช่วง มี.ค.-พ.ค. 2564 หลังจากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ ประเมินข้อเสนอ-เจรจาต่อรอง ช่วง พ.ค.-ก.ค. 2564 ก่อนส่งต่อให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาฯ และคาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกฯ และลงนามสัญญาภายใน ก.ค. 2564

ภท.ย้ำเปลี่ยนเกณฑ์รถไฟฟ้าสายสีส้ม หวั่นเจาะใต้โบราณสถานเสี่ยงเสียหาย
18 กุมภาพันธ์ 2564 16:33




โฆษก ภท.นำทีมข้าราชการใน ก.คมนาคม ชี้แจงปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม เปลี่ยนหลักเกณฑ์ประเมินร่วมทุน ย้ำทำตามอำนาจที่กฎหมายกำหนด เพราะเงื่อนไขมีความอ่อนไหวของภูมิศาสตร์ที่เป็นมรดกประเทศและโบราณสถานที่สุ่มเสี่ยงเสียหายร้ายแรง

วันนี้ (18 ก.พ.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวชี้เเจงเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ และ ร.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.ฝ่ายค้าน อภิปรายพาดพิงหน่วยงานในกระทรวงคมนาคม กรณีการเปลี่ยนเกณฑ์ประเมินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และยกเลิกคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ยืนยันดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ทุกประการ ภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขของเวลา และสถานที่ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เป็นโบราณสถาน โดยอ้างอิงตามกฎหมายหน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมาย พิจารณาทบทวนภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย

ยืดเวลายื่นซองไม่ให้ได้เปรียบ - เสียเปรียบ
ซึ่งคณะกรรมการ PPP มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563 เปลี่ยนใช้เกณฑ์ราคาและข้อเสนอทางเทคนิค 70:30 และขยายยื่นซอง 45 วัน เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบให้เอกชนที่ยื่นฟ้องร่วมได้ด้วยในการยื่นซอง มีเวลามากพอให้เอกชนปรับปรุงข้อเสนอให้สอดคล้องกับเกณฑ์คัดเลือกใหม่ แนวทางใกล้เคียงเส้นทางมีอาคารที่มีความอ่อนไหวต่อการเจาะอุโมงค์ เพราะมีมรดกประเทศบ้านเมืองเก่า มีย่านเศรษฐกิจการค้า มีอาคารอนุรักษ์มากมาย ไปยังท้องสนามหลวง

การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ร่วมลงทุนมีข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน มีหน่วยงานกำลังดูแล สำนักงานนโยบายวิสาหกิจ PPP ดำเนินการใดๆ ในการคัดเลือกมีการออกประกาศคณะกรรมการนโยบาย

ยกเลิกประมูล เหตุรอศาลจะต้องใช้เวลานาน
เดิมคาดการณ์ว่าข้อพิพาทจะยุติในช่วงก่อนปีใหม่ที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ไม่สามารถคาดการณ์กระบวนการพิจารณาของศาลจนถึงที่สุดได้ ซึ่งมีการเปรียบเทียบให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาว่าหากรอคดีจนถึงที่สุด เทียบกับอายุของข้อเสนอที่ลดน้อยลงจากที่กำหนดไว้ และ ครม.กังวลเวลาที่เหลืออยู่อาจจะไม่เพียงพอ หากมีการดำเนินการคัดเลือกต่อไป สุดท้ายจะทำให้อายุข้อเสนอหมดลง โดยหากเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าหากยกเลิกแล้วดำเนินการคัดเลือกใหม่จะใช้เวลาเพียง 6 เดือน แต่หากรอให้กระบวนการทางข้อพิพาทถึงที่สุดอาจจะต้องใช้ระยะเวลา 18 เดือน

ซึ่งการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน บางขุนนนท์ - มีนบุรี มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ นำคลิปมาแจง 2 คลิป เป็นคลิปกระบวนการปรับปรุงหลักเกณ์การประเมิน เดิมจะให้ผู้เสนอประโยชน์ด้านการเงินสูงสุดเป็นผู้ชนะการคัดเลือก แต่เพราะโครงการก่อสร้างมีความซับซ้อนและเสี่ยงให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมิน เพื่อลดเกิดอุบัติเหตุ จึงต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

เผยอดีตเคยมีคดีที่ใช้เวลายาวนาน 85 เดือน
และคลิปที่ชี้แจงว่าการยกเลิกการคัดเลือกและคัดเลือกใหม่ เพราะเอกชนที่เสนอร่วมลงทุนรายหนึ่ง ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับใช้เกณฑ์ประเมินใหม่ชั่วคราว จนกว่ามีคำพิพากษา ซึ่งหากการพิจารณาคดีถึงที่สุดต้องใช้ระยะเวลามากพอสมควร อดีตที่ผ่านมาเคยมีคดีที่ใช้ระยะเวลาถึง 85 เดือน และมูลค่าความเสียหายมาก ดังนั้น การยกเลิกการคัดเลือกจึงมีความจำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงการและการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ


"ศักดิ์สยาม" แจง ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตาม ก.ม. ไม่ได้เอื้อเอกชน
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 17:43 น.

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม แจง ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดำเนินการตามกฎหมาย เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และผู้ยื่นข้อเสนอ ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ ยืนยัน ไม่ได้เอื้อเอกชน


วันที่ 18 ก.พ. ที่รัฐสภา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ชี้แจง กรณี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.28 แสนล้าน ว่า หลังจากมีการปรับเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (เกณฑ์การประเมินใหม่) และยกเลิกการประมูลเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมาว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) โดยในขณะนี้ มีความก้าวหน้า 76% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 เปิดให้บริการช่วง ต.ค. 2567

และ 2. ส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ในขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชน ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2563 ที่ให้ดำเนินการโครงการรูปแบบ PPP Net Cost รอหาเอกชนมาร่วมลงทุน โดยคาดว่า จะเปิดให้บริการ เม.ย. 2570 อย่างไรก็ตาม ในส่วนตะวันออก จะเป็นสัญญาก่อสร้างงานโยธาเป็นหลัก แต่ขณะที่ส่วนตะวันตก จะรวมการเดินรถเข้าไปด้วย ทั้งนี้ หากส่วนตะวันตกไม่สามารถดำเนินการได้ จะส่งผลให้ส่วนตะวันออกจะยังไม่เปิดให้บริการ

นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงประเด็นการคัดเลือกเอกชนว่า ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562 โดยเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีคำสั่งที่ 67/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 ขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนตามมติ ครม.ที่อนุมัติโครงการฯ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคม จึงได้ทำหนังหารือไปยังสำนักเลขาธิการ ครม. โดยเป็นการอนุมัติหลักการโครงการเท่านั้น ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และตามหลักธรรมาภิบาล

รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า ยืนยันว่า การดำเนินการโดยใช้ราคาและคุณภาพนั้น เพราะเป็นเรื่องการขุดอุโมงค์ และที่ผ่านมา การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ก็มีปัญหาเรื่องสิ่งปลูกสร้างแตกร้าว เช่น มีน้ำรั่วไหลเข้าไปในสถานีสามยอด ทำให้เทคนิคการก่อสร้างมีความสำคัญ เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ต้องผ่านชุมชนหนาแน่น ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจ การค้า รวมถึงพื้นที่สำคัญอื่นๆ ส่วนการยกเลิก เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 ที่ผ่านมานั้น ก็เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่มีการสงวนให้มีการยกเลิกได้ โดยผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ และได้มีการหารือสำนักนายกฯ แล้ว พร้อมทั้งสั่งการให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ

ขณะเดียวกัน รฟม.จะออกประกาศเชิญชวน และขายเอกสาร RFP ภายใน มี.ค. 2564 ก่อนที่จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในช่วง มี.ค.-พ.ค. 2564 หลังจากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ ประเมินข้อเสนอ-เจรจาต่อรอง ช่วง พ.ค.-ก.ค. 2564 ก่อนส่งต่อให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาฯ และคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกฯ และลงนามสัญญาภายใน ก.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อยกเลิกการประมูลแล้วคัดเลือกใหม่นั้น จะใช้เวลา 6 เดือน ช่วยลดระยะเวลาได้ 1 ปี หรือหากรอให้ข้อพิพาทถึงที่สุด จะใช้ระยะเวลา 18 เดือน

"ที่กล่าวหาว่า การดำเนินการเอื้อประโยชน์ ผมขอถามกลับว่าเอื้อประโยชน์ใคร ใครได้ประโยชน์ เพราะโครงการนี้ ยังไม่มีการประกาศผลว่าใครชนะ ยังไม่มีการเปิดซอง ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมดำเนินการตามกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ และท่านนายกฯ สั่งการมาตลอด ผมต้องถามว่า ผิดกฎหมายตรงไหน แล้วเกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการคมนาคมตรงไหนที่ไม่กำกับดูแล และผู้อภิปรายท่านเอาข่าวมาปะติดปะต่อ และใช้จินตนาการ" นายศักดิ์สยาม กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายจิรายุ ได้โต้แย้ง ว่า ปัญหาสิ่งปลูกสร้างแตกร้าว มีน้ำรั่วไหล เข้าไปในสถานีสามยอด ไม่สามารถนำมาอ้าง จนถึงขั้นล้มการประมูล มูลค่า 1.2 แสนล้าน ได้ เพราะไม่รู้ว่า ภาพที่ รมว.คมนาคม นำมาอภิปรายฯ ก็ไม่รู้ว่า ปัญหามันมีเพียงเล็กน้อยหรือขยายวงกว้างไปแค่ไหน เนื่องจากหากให้ยกตัวอย่าง การสร้างบ้านก็น่าจะเป็นปกติ ที่จะมีส่วนแตกร้าวได้ 5-10%
https://www.youtube.com/watch?v=XPOnGo74CH0
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 46, 47, 48 ... 89, 90, 91  Next
Page 47 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©