RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311216
ทั่วไป:13151309
ทั้งหมด:13462525
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 9:30 pm    Post subject: Reply with quote

ฟังเสียงนักลงทุนขนส่งทางราง 2 เส้นทางนำร่องเกือบหมื่นล้าน
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.03 น.



กรมราง ฟังเสียงนักลงทุนเปิดบริการขนส่งสินค้า-ผู้โดยสารทางราง ชู 2 โครงการนำร่อง รถโดยสาร กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ รถไฟสินค้า แหลมฉบัง-ท่าพระ วงเงินเกือบหมื่นล้าน คาดเริ่มเปิดประมูลปีหน้า แนะเปิดเพิ่มเส้นทางศักยภาพทางคู่สายใต้ นครปฐม-ชุมพร และ สายเหนือ ลพบุรี-ปากน้ำโพ เปรย ปตท.-SCG-ศรีตรัง สน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 23 ก.พ. ที่โรงแรมพลูแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางราง ภายใต้โครงการศึกษาการกำกับการใช้ประโยชน์รางและจัดทำกฎระเบียบ เพื่อรองรับการขนส่งทางรางในเส้นทางหลักของประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ สมาคมธุรกิจการค้า และกลุ่มผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เข้าร่วม

นายกิตติพันธ์ เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มีนโยบายส่งเสริมภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการเดินรถในการประกอบกิจการการขนส่งทางรางมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบรางที่ภาครัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ขร. จึงได้จัดประชุมครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนร่วมลงทุนให้บริการเดินรถ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีศักยภาพ โดยใช้ช่วงเวลานอกเหนือจากการใช้ทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์รางให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน 

ทั้งนี้เสนอเส้นทางที่มีศักยภาพนำร่องจัดสรรเวลาการให้เดินรถ (Slot Allocation) ให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนได้ 2 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวม 9,975 ล้านบาท ได้แก่ 
1.โครงการนำร่องรถไฟโดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น รองรับผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน 2 เมืองหลักคือ นครราชสีมาและขอนแก่น 450 กม. เดินรถ 6 เที่ยวต่อวัน มูลค่าลงทุนโครงการ 5,250 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี แบ่งเป็นมูลค่าลงทุนเริ่มต้น 1,400 ล้านบาท ประกอบด้วย รถดีเซลราง 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ รางในลานจอดรถ ระบบอาณัติสัญญาณในพื้นที่จอดรถและระบบจำหน่ายตั๋ว รวมทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินการและบำรุงรักษา 3,850 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายทาง 80 บาทต่อขบวน-กม. ค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมัน ค่าสาธารณูปโภค และค่าเช่าพื้นที่จอด ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2,000-2,220 คนต่อวัน มีรายได้ค่าโดยสาร 5,300 ล้านบาท รวมเวลา 15 ปี 

นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า
2.โครงการนำร่องขนส่งสินค้า เส้นทางแหลมฉบัง-ท่าพระ 501 กม. เดินรถ 4 เที่ยวต่อวัน และเพิ่มเป็น 6 เที่ยวต่อวันในปีที่ 6 บริมาณตู้คอนเทเนอร์ 60,000-100,000 ตู้ต่อปี เส้นทางศักยภาพขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ข้าวน้ำตาลยางพารา มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกทางทะเลหลักของประเทศ อนาคตเป็นเส้นทางรองรับความต้องการสินค้าประเภทแร่ หรือสินค้าจากจีน และ สปป.ลาว ที่ผ่านมาส่งออกทางท่าเรือแหลมฉบังด้วย ส่วนมูลค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายโครงการ 4,725 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี แบ่งเป็น มูลค่าลงทุนเริ่มต้น 660 ล้านบาท ประกอบด้วย หัวรถจักร 3 คัน แคร่ 165 คัน รางในลานจอด และระบบอาณัติสัญญาณในพื้นที่จอด ส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานและบำรุงรักษา 3,970 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้ทาง 120 บาทต่อขบวน-กม. ค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมัน ค่าสาธารณูปโภค รวมถึงค่าอุปกรณ์สำนักงานและเบ็ดเตล็ด ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ยานพาหนะ 17,160 ล้านบาท


อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เส้นทางมีความเหมาะสมทั้งด้านความต้องการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในปัจจุบันและศักยภาพขยายตัวของการขนส่งและผู้โดยสารในอนาคต นอกจากนี้พบว่า มีเส้นทางที่มีศักยภาพอื่นๆ ด้วยเช่น กรุงเทพฯ-ชุมพร และ กรุงเทพฯ-ปากน้ำโพ ขณะนี้กำลังก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กม. และ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางสายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 145 กม. ที่จะแล้วเสร็จอีก 3 ปีข้างหน้า ทำให้มีความคุ้มค่าในการเดินรถมากขึ้น เพราะเป็นทางคู่ไม่ต้องเสียเวลาหลบหลีกกันเหมือนรางเดี่ยว 

สำหรับโครงการนี้ใช้เวลาศึกษา 14 เดือน เริ่ม ก.พ.63-มิ.ย.64 หลังจากรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้แล้ว จะนำความคิดเห็นไปปรับให้ผลการศึกษาสมบูรณ์ที่สุด จากนั้นเสนอให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบ และมอบให้ รฟท. ไปดำเนินการต่อไป คาดว่าถ้า พ.ร.บ.กรมราง มีผลบังคับใช้ภายในปี 64 รองรับโครงการนี้ด้วย ดังนั้น เริ่มเปิดประกวดหาเอกชนเข้ามาลงทุนและเปิดให้บริการได้ในปี 65 นอกจากนี้มีเอกชนสนใจร่วมลงทุนในโครงการนำร่องจำนวนมาก เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) หรือ SCG และ บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรีจำกัดจำกัด (มหาชน) .

กรมการขนส่งทางราง จัด Market Sounding ฟังเสียงนักลงทุนเสนอ 2 เส้นทางนำร่อง ร่วมลงทุน พัฒนาระบบรางให้เต็มประสิทธิภาพ
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.15 น.

วันนี้ (23 ก.พ.64) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางราง ภายใต้โครงการศึกษาการกำกับการใช้ประโยชน์รางและจัดทำกฎระเบียบเพื่อรองรับการขนส่งทางรางในเส้นทางหลักของประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ สมาคมธุรกิจการค้า และกลุ่มผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ พร้อมสื่อมวลชน เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมอีเทอร์นิตี้ ชั้น G โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพมหานคร
นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการเดินรถในการประกอบกิจการการขนส่งทางรางมากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบรางที่ภาครัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศ จึงได้เร่งดำเนินการศึกษาการกำกับการใช้ประโยชน์ราง และจัดทำกฎระเบียบเพื่อรองรับการขนส่งทางรางในเส้นทางหลักของประเทศและระหว่างประเทศ โดยงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน
และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนให้บริการเดินรถ ทั้งการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีศักยภาพ โดยใช้ช่วงเวลาที่นอกเหนือจากการใช้ทางของการรถไฟแห่งประเทศไทยมาเดินรถ และให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยจ่ายค่าเช่าใช้ทางให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์รางให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ทั้งนี้ ได้นำเสนอเส้นทางที่มีศักยภาพ สำหรับนำร่องจัดสรรเวลาการให้เดินรถ (Slot Allocation) ให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนได้ 2 เส้นทาง ได้แก่
1. โครงการนำร่องรถไฟโดยสาร : กรุงเทพฯ-ขอนแก่น รองรับผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน 2 เมืองหลัก คือ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 450 กิโลเมตร โดยเพิ่มการให้บริการรถไฟโดยสาร รวม 6 ขบวน คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2,000-2,220 คนต่อวัน และยังมีศักยภาพในการขยายตัวเพื่อรองรับการเดินทางในอนาคต
2. โครงการนำร่องขนส่งสินค้า : แหลมฉบัง-ท่าพระ ระยะทาง 501 กิโลเมตร ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ 60,000-100,000 ตู้ต่อปี เส้นทางศักยภาพในการขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาล ยางพารา มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกทางทะเลหลักของประเทศ อีกทั้งในอนาคตถือเป็นเส้นทางรองรับความต้องการสินค้าประเภทแร่ หรือสินค้าจากจีนและ สปป.ลาวที่ส่งผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย
ทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านความต้องการในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในปัจจุบันและด้านศักยภาพในการขยายตัวของการขนส่งและผู้โดยสารในอนาคต
ทั้งนี้ ขร. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม และพร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมให้บริการเดินรถในเส้นทางที่มีศักยภาพเหล่านี้ โดยมุ่งหวังจะช่วยยกระดับการให้บริการด้วยระบบรางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งเพิ่มความคุ้มค่าให้กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและจะช่วยส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของอาเซียนได้ในอนาคตต่อไป

เปิดประมูล 9,975 ล้านเชิญเอกชนชิงใช้รางรถไฟ
*กรมรางฯนำร่อง2เส้นทางสัญญา15ปี
*เดินรถโดยสาร"กรุงเทพฯ-ขอนแก่น"
*ขบวนสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าพระ
*"ปตท.-SCG-ศรีตรัง"ตาลุกวาววสนๆ
https://www.youtube.com/watch?v=-PkCcTLctos
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2845160602372106


Last edited by Wisarut on 25/02/2021 4:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 9:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ฟังเสียงนักลงทุนขนส่งทางราง 2 เส้นทางนำร่องเกือบหมื่นล้าน
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.03 น.

กรมราง ผุด 2 เส้นทาง ดึงเอกชนร่วมทุน อัพเกรดใช้รางรถไฟ
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19:50 น.

กรมรางจัดมาร์เก็ตซาวด์ดิ้ง เปิด 2 เส้นทาง เดินรถไฟโดยสาร กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และขบวนขนส่งสินค้า แหลมฉบัง-ท่าพระ วงเงิน 9.9 พันล้าน หวังดึงเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาระบบรางเต็มประสิทธิภาพ รองรับการขยายตัวของการขนส่งและผู้โดยสารในอนาคต

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางราง ภายใต้โครงการศึกษาการกำกับการใช้ประโยชน์รางและจัดทำกฎระเบียบเพื่อรองรับการขนส่งทางรางในเส้นทางหลักของประเทศและระหว่างประเทศว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการเดินรถในการประกอบกิจการการขนส่งทางรางมากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบรางที่ภาครัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศ จึงได้เร่งดำเนินการศึกษาการกำกับการใช้ประโยชน์ราง และจัดทำกฎระเบียบเพื่อรองรับการขนส่งทางรางในเส้นทางหลักของประเทศและระหว่างประเทศ โดยงานประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนให้บริการเดินรถ ทั้งการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีศักยภาพ โดยใช้ช่วงเวลาที่นอกเหนือจากการใช้ทางของการรถไฟแห่งประเทศไทยมาเดินรถ และให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยจ่ายค่าเช่าใช้ทางให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์รางให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน


ขณะเดียวกันได้นำเสนอเส้นทางที่มีศักยภาพ สำหรับนำร่องจัดสรรเวลาการให้เดินรถ (Slot Allocation) ให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนได้ 2 เส้นทาง วงเงินลงทุน 9,975 ล้านบาท ได้แก่1. โครงการนำร่องรถไฟโดยสาร : กรุงเทพฯ-ขอนแก่น รองรับผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน 2 เมืองหลัก คือ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 450 กิโลเมตร โดยเพิ่มการให้บริการรถไฟโดยสาร รวม 6 ขบวน คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2,000-2,220 คนต่อวัน และยังมีศักยภาพในการขยายตัวเพื่อรองรับการเดินทางในอนาคต 2. โครงการนำร่องขนส่งสินค้า : แหลมฉบัง-ท่าพระ ระยะทาง 501 กิโลเมตร ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ 60,000-100,000 ตู้ต่อปี เส้นทางศักยภาพในการขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาล ยางพารา มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกทางทะเลหลักของประเทศ อีกทั้งในอนาคตถือเป็นเส้นทางรองรับความต้องการสินค้าประเภทแร่ หรือสินค้าจากจีนและ สปป.ลาวที่ส่งผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย ขณะเดียวกันทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านความต้องการในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในปัจจุบันและด้านศักยภาพในการขยายตัวของการขนส่งและผู้โดยสารในอนาคต
ทั้งนี้ ขร. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม และพร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมให้บริการเดินรถในเส้นทางที่มีศักยภาพเหล่านี้ โดยมุ่งหวังจะช่วยยกระดับการให้บริการด้วยระบบรางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งเพิ่มความคุ้มค่าให้กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและจะช่วยส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของอาเซียนได้ในอนาคตต่อไป

กรมการขนส่งทางราง จัด Market Sounding ฟังเสียงนักลงทุนเสนอ 2 เส้นทางนำร่อง ร่วมลงทุน พัฒนาระบบรางให้เต็มประสิทธิภาพ
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.15 น.

เปิดประมูล 9,975 ล้านเชิญเอกชนชิงใช้รางรถไฟ
*กรมรางฯนำร่อง2เส้นทางสัญญา15ปี
*เดินรถโดยสาร"กรุงเทพฯ-ขอนแก่น"
*ขบวนสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าพระ
*"ปตท.-SCG-ศรีตรัง"ตาลุกวาววสนๆ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2845160602372106



กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) การศึกษาภาคเอกชนในการให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางราง
เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางราง ภายใต้โครงการศึกษาการกำกับการใช้ประโยชน์รางและจัดทำกฎระเบียบเพื่อรองรับการขนส่งทางรางในเส้นทางหลักของประเทศและระหว่างประเทศ
เว็บไซท์โครงการ และเอกสารประกอบการประชุม
https://www.drtregulation.com/
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/videos/1380700898938214/


Last edited by Wisarut on 25/02/2021 12:39 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2021 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

การทดสอบรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (Bogie Container Flat Wagon, BCF)
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
จันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16.35 น.
ทั้งการทดสอบความแข็งแรงของโครงประธานและการทดสอบแบบสถิต รวมทั้งการทดสอบการวิ่งนั้น มีขอบข่าย รายละเอียดของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการทดสอบ กระบวนการทดสอบ รวมทั้งรายงานผลการทดสอบรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าอย่างไรบ้าง
สามารถคลิกที่ลิ้งค์เพื่อดาวน์โหลดเนื้อหาเพิ่มเติม Arrow การทดสอบรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (Bogie Container Flat Wagon, BCF)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/03/2021 11:13 am    Post subject: Reply with quote

พิกัดสถานีรถไฟฟ้าขายโอทอป
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

พ.ค.เดินชอปปิง9,540ตร.ม. ลุยสำรวจทำสัญญาค่าเช่าถูก

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า ในสัปดาห์นี้เจ้าหน้าที่จาก ขร., การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม จะลงพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อพิจารณาสภาพพื้นที่จริงที่จะใช้สำหรับการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป (OTOP) บริเวณสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้า ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เพื่อสร้างความยั่งยืนในเรื่องของตลาด และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน ตลอดจนใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

รายงานข่าวจาก ขร. แจ้งต่อว่า ได้คัดเลือกพื้นที่ที่จะใช้จำหน่ายสินค้าโอทอป บริเวณสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้าแล้ว เบื้องต้นมีพื้นที่รวม 9,540 ตารางเมตร (ตร.ม.) แบ่งเป็น พื้นที่ รฟท. 600 ตร.ม. ได้ทุกสถานี, พื้นที่ รฟฟท. 7,900 ตร.ม. ที่สถานีมักกะสัน บริเวณชั้น 2-3, พื้นที่ รฟม. 480 ตร.ม. บริเวณอาคารจอดแล้วจร ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่, แยกบางใหญ่, บางรักน้อยท่าอิฐ และแยกนนทบุรี 1 และพื้นที่บีอีเอ็ม 559 ตร.ม. ที่สถานีสวนจตุจักร, กำแพงเพชร, คลองเตย, สุทธิสาร, ลาดพร้าว, พหลโยธิน, กำแพงเพชร, ท่าพระ, บางไผ่, บางหว้า, ภาษีเจริญ และหลักสอง

รายงานข่าวจาก ขร. แจ้งอีกว่า พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่ยังว่างอยู่ และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพพอที่จะสามารถวางจำหน่ายสินค้าโอทอปได้ คาดว่าเดือน มี.ค.-เม.ย. 64 จะ ดำเนินการทำสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของพื้นที่กับหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้ อาทิ กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย (กศน.) จากนั้นคาดว่าจะเปิดวางจำหน่ายสินค้าโอทอปที่สถานีรถไฟ และสถานีรถไฟฟ้าได้ในเดือน พ.ค.นี้

รายงานข่าวจาก ขร. แจ้งอีกว่า สำหรับอัตราค่าเช่าพื้นที่จะเป็นไปตามอัตราของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมีการกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่ยืนยันว่าจะคิดอัตราค่าตอบแทนที่ไม่สูงมาก และต่ำกว่าราคาตลาด อีกทั้งยังมีส่วนลดระหว่างหน่วยงานราชการกับหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจด้วย ทั้งนี้ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทำให้มีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟ และรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าเมื่อเปิดจำหน่ายสินค้าโอทอปจะได้รับการตอบรับอย่างดี โดยขณะนี้ผู้โดยสาร รฟท. อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นคนต่อวัน ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มีผู้โดยสารประมาณ 4 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 3 แสนคนต่อวัน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางจับมือ JICA พัฒนาโครงข่ายระบบราง M-Map 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:56 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:56 น.




กรมขนส่งทางราง ร่วมมือทางวิชาการกับ JICA พัฒนาแผนแม่บทระบบราง (M-Map 2) เพิ่มเส้นทางเติมโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงครอบคลุมพื้นที่ แก้จราจรอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 1 มี.ค. 2564 นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้การต้อนรับ Mr. Takahiro MORITA, Chief Representative และเจ้าหน้าที่จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) โดยได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” ของ JICA ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ของ ขร.

โดย ขร. และ JICA ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ Record of Discussion (R/D) ภายใต้การดำเนินโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ JICA ได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินการโครงการ M-MAP2 ของ JICA (ฝ่ายญี่ปุ่น) รวมถึงการหารือเพื่อเตรียมการศึกษาเรื่อง “Data Collection Survey on Railway Electrification (SRT)” ที่ JICA จะดำเนินการร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่ง ขร.พร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมในการศึกษาในเรื่องของรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ รวมถึงให้คำแนะนำ วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย



สำหรับโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพื่อลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคตซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น


กรมการขนส่งทางราง ร่วมมือ JICA ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเพื่อพัฒนา M-Map 2
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
จันทร์ที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 17:07 น.

วันนี้ (1 มี.ค. 2564) ณ ห้องประชุมชั้น 2 กรมการขนส่งทางราง (ขร.) นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วย ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้การต้อนรับ Mr. Takahiro MORITA, Chief Representative และเจ้าหน้าที่จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) โดยได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” ของ JICA ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ของ ขร.
โดยการประชุมหารือในวันนี้ ขร. และ JICA ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ Record of Discussion (R/D) ภายใต้การดำเนินโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพื่อลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคต ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ขร. มีความเห็นว่าในอนาคตประสงค์ให้ JICA ศึกษาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมรถไฟพลังงานแบตเตอรี่เพื่อประยุกต์ใช้กับรถไฟไทยตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ)


Last edited by Wisarut on 05/03/2021 12:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 12:55 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมรางจับมือ JICA พัฒนาโครงข่ายระบบราง M-Map 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:56 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:56 น.



ลุยต่อ “กรมราง” ดัน M-MAP เฟส 2 ผุดรถไฟ-รถไฟฟ้า 5 เส้นทาง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เผยแพร่: อังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 17:26 น.

กรมราง-ไจก้า เดินหน้าศึกษาต่อ M-MAP เฟส 2 เล็งเปิดเส้นทางรถไฟ –รถไฟฟ้า 5 เส้นทาง คาดดำเนินการแล้วเสร็จปี 72-73 ดึงผู้ใช้ระบบ MRT เพิ่ม 15% เมื่อเทียบกับระบบขนส่งอื่น

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้กำกับหน่วยงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั่ว กรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมกว่า 14 สายทาง ระยะทางรวม 553.41 กม. มีสถานีให้บริการทั้งสิ้น 367 สถานี และจะทยอยเปิดให้บริการจนครบทุกสายถึงปี 2570 เบื้องต้น ทางกรมรางมีแนวคิดที่จะพิจารณาข้อมูลแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ตามผลศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) หรือแนวคิด M-Map 2 ที่เคยศึกษาไว้ว่าจะต้องมีการก่อสร้างขนส่งสาธารณะระบบราง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าในระยะที่ 2 จำนวน 5 สายทาง ระยะทางรวม 130 กม.ซึ่งตามผลการศึกษามีแผนที่จะเริ่มดำเนินการปี 2564- 2565 คาดดำเนินการแล้วเสร็จระหว่างปี 2572-2573 ประกอบด้วย
1.สายแม่น้ำทางรถไฟสายเก่า-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ
2.รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-รามอินทรา -ลำลูกกา
3 .รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีแดง รังสิต-ธัญบุรี
4 .รถไฟสายใหม่ สถานีขนส่งสายใต้-หลักสี่ และ
5. รถไฟสายใหม่ บางหว้า-บางกะปิ




ล่าสุดไจก้าได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินการโครงการ M-MAP2 ของ ไจก้า (ฝ่ายญี่ปุ่น) รวมถึงการหารือเพื่อเตรียมการศึกษาเรื่อง “Data Collection Survey on Railway Electrification (SRT)” ที่ JICA จะดำเนินการร่วมกับ รฟท. ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ซึ่ง ขร. พร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมในการศึกษาในเรื่องของรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ รวมถึงให้คำแนะนำ วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย
ทั้งนี้แผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ตามผลการศึกษามีเป้าหมายขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมรัศมีจากการให้บริการรถไฟฟ้าเดิมออกไปอีกรัศมี 20 กม. รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางรางตาม M-Map ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด และการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของเมืองที่ปัจจุบันขยายมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนส่งเสริมการเดินทางโดยระบบขนส่งทางรางอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มผู้ใช้ระบบ MRT จาก 6.2 % เป็น 15% เมื่อเทียบกับระบบขนส่งอื่น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44251
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2021 8:08 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่ง'พรบ.กรมราง'หวังคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้า
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

กรุงเทพธุรกิจ กรมการขนส่งทางราง เร่งดัน พ.ร.บ.กรมราง คาดประกาศใช้ ต.ค.นี้ หวังคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกเส้นด้วยกลไก ความเห็นชอบกระทรวงคมนาคม

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายในการเสวนา "ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม" โดยระบุว่า ปัจจุบันกรมฯ อยู่ระหว่างผลักดัน พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา โดยจะเร่งรัดเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนำเข้ากฤษฎีกาชุดพิเศษ ภายในเดือน ต.ค.นี้ โดย พ.ร.บ. การขนส่งทางราง จะควบคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ต้องผ่านการเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม กรมฯ และคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง ดังนั้น หลังจากนี้ จะไม่ได้เห็นราคาที่ไม่ผ่านการกำหนดโดยกรมรางฯ

"พ.ร.บ.กรมรางจะดูแลรถไฟฟ้า รถไฟ และรถไฟความเร็วสูง จะพิจารณา กฎระเบียบต่างๆ และมี พ.ร.บ.เกี่ยวกับการกำหนดค่าโดยสาร แนวทางใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อมาสนับสนุน ราคาค่าโดยสารเหมือนต่างประเทศที่มี พื้นที่ 30% เอามาหนุนรายได้ ทำให้ค่าโดยสารถูกลง รวมทั้งกำหนดการหารายได้ จากพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า TOD"

ทั้งนี้ กรมฯ ยอมรับว่าปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยมีอัตราที่สูงหากเทียบกับรถไฟฟ้าของต่างประเทศ ซึ่งแนวคิดในการ ปรับรถค่าโดยสารรถไฟฟ้า กรมฯ มองว่า จะต้องเร่งพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่การค้าภายในสถานีให้เพิ่มมากขึ้น เข้ามาสนับสนุนรายได้และเป็นส่วนช่วยในการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า

"ต่างประเทศโครงการรถไฟฟ้าจะมีพื้นที่คอมเมอร์เชียล หรือพื้นที่การค้าประมาณ 30-40% ของพื้นที่โครงการ เข้ามาช่วยเป็นรายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้การเดินรถ ซึ่งจะทำให้เอกชน มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถไปปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ ส่วนนี้กรมฯ มองว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าในไทยยังมีพื้นที่ ดังกล่าวน้อย ทำให้ค่าโดยสารแพง เราคง จะต้องค่อยๆ ปรับ ค่อยเป็นค่อยไป"

จากการสำรวจสัญญาสัมปทานในปัจจุบันก็พบว่ามีเพียงโครงการเดียวที่เอกชนบริหาร ส่วนที่เหลือเป็นโครงการของรัฐ รัฐจ้างเดินรถ ดังนั้นในปี 2572 ก็เป็นโอกาสที่รัฐจะทำตั๋วร่วม เพราะทุกโครงการจะเป็นของภาครัฐทั้งหมด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยยืนยันว่าปัจจุบันเป็นแค่การเปิดรับฟังความคิดเห็น เนื้อหาที่ประกาศออกมายังไม่ใช่ทีโออาร์ และยังไม่ใช่แนวทางที่จะเปิดประมูล เป็นเพียงข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น เพื่อจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (RFP) และเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 เห็นชอบ ต่อไป

โดยจะเปิดรับฟังความเห็นจนถึง วันที่ 16 มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะเปิดให้เอกชนส่งข้อเสนอเพิ่มเติม และประมวลผล อีก 5 วัน ก่อนจัดทำร่าง RFP เพื่อเสนอคณะกรรมการ ม.36 ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะประกาศขายซองเอกสาร คาดว่าจะได้ตัวเอกชนชนะการประมูลในเดือน ส.ค.นี้ และเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย.2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:19 am    Post subject: Reply with quote

"ภูมิใจไทย" ชำแหละ "ค่ารถไฟฟ้า" ขู่ขึ้นราคาเมื่อไร-ฟ้องเมื่อนั้น
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 01:57 น.

"ภูมิใจไทย" เปิดเวทีเสวนา "ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม" สะท้อนปัญหาค่าโดยสารราคาแพง เทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ "สิริพงศ์" ลั่นจับตา กทม.อย่างใกล้ชิด ขู่ประกาศขึ้นราคาเมื่อไหร่-ฟ้องเมื่อนั้น ขณะที่ "กรมราง-รฟม.-นักวิชาการ-ผู้บริโภค" ประสานเสียง ค่าโดยสารถูกลงได้อีก


เมื่อวันที่ 4 มี.ค.64 นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นประธานเปิดการเสวนา เรื่อง "ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม" ที่จัดขึ้นโดยพรรคภูมิใจไทย โดยมี นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัดศรีษะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย, นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.), นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค, นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิผู้บริโภค และ นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI



โดย นายศุภชัย กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน รวมถึงภาคสังคม ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อาทิ การเดินทางโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะในแต่ละวัน


ทั้งนี้ ในช่วงหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในหลายรูปแบบทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการเดินทางของประชาชน ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ก็นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทย ที่มีการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบ "รถไฟฟ้า" ที่กลายเป็นโครงข่ายการเดินทางหลัก เพื่อให้สอดรับกับการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ทั้งภาคการค้า การลงทุน ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล รวมถึงเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการค้าหลักของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

"ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ การเดินทางโดยโครงข่ายรถไฟฟ้านั้น ถือเป็นการขนส่งสาธารณะหลักของประชาชนชาว กทม. และปริมณฑล รวมถึงประชาชนในจังหวัดอื่นๆที่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ ต้องแบกรับภาระค่าเดินทางที่มากเกินไปอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย และกลายเป็นหนี้สินในท้ายที่สุด" นายศุภชัย กล่าว

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า ตามที่มีการประกาศจากส่วนราชการ จะมีการคิดอัตราค่าโดยสารตลอดสายในราคาสูงถึง 104 บาท หรือหากเดินทางไป-กลับ รวมค่าโดยสารต้องจ่ายถึง 208 บาท แต่ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในเขต กทม. อยู่ที่ 331 บาท อีกทั้งเงินเดือนสำหรับผู้ศึกษาจบในระดับปริญญาตรี เริ่มต้นเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 15,000 บาท เท่านั้น พรรคภูมิใจไทย จึงได้จัดงานเสวนา เรื่อง "ชำแหละค่ารถไฟฟ้าที่เหมาะสม" ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่ในวงการคมนาคมขนส่ง นักวิชาการ ผู้ใช้บริการ และภาคประชาชน ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และเป็นเสียงสะท้อนเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของภาครัฐ ภาคเอกชนต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการระบบขนส่งเป็นหลัก


ด้าน นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัด ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนในฐานะ ส.ส.ซึ่งมีหน้าที่รับฟังปัญหาของประชาชน ทั้งนี้ในส่วนของรถไฟฟ้า โดยเฉพาะค่ารถไฟฟ้านั้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพของประชาชนทุกคน ไม่เพียงแค่ชาว กทม. เท่านั้น แต่ชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานหรือดำรงชีวิตในเขต กทม.และปริมณฑล ไม่น้อยกว่า 50% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ที่ต้องแบกรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอัตราสูง โดยมองว่าราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังมีราคาแพงเกินไป


ทั้งนี้ ตามที่มีการออกประกาศของ กทม.เรื่องปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทตลอดสาย เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2564 และในประกาศระบุไว้ว่า มีผลวันที่ 16 ก.พ.2564 จนเป็นเหตุให้ตนและ ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย ไปดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อให้พิจารณายับยั้งการขึ้นราคา พร้อมทั้งให้พิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากมองว่าเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญของประชาชน อีกทั้งระบบรถไฟฟ้า ควรเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงได้ และไม่เป็นภาระของประชาชน

"ถึงแม้ว่า ล่าสุด กทม.จะประกาศเลื่อนการปรับขึ้นราคาดังกล่าว และศาลได้มีคำสั่งทุเลาการยื่นฟ้องนั้น ผมยังเชื่อว่าโอกาสที่ กทม.จะขึ้นราคาค่าโดยสารยังมีแน่นอน ผมจะเฝ้าจับตามองและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะประกาศของ กทม.ระบุไว้ว่า เลื่อน ไม่ได้ยกเลิก ซึ่งหลังจากนี้ถ้า กทม.มีประกาศอีกเมื่อไหร่ เราก็จะไปฟ้องร้องอีก เพราะราคา 104 บาทตลอดสาย ไม่ใช่ขนส่งมวลชนสาธารณะที่ทุกคนใช้ได้ เป็นแค่บางคนที่มีฐานะเข้าถึงได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ" นายสิริพงศ์ กล่าว

ขณะที่ นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า วิธีการคิดคำนวณค่าโดยสารทั่วโลก มี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.อัตราเดียวกันทั้งหมด 2.คิดตามระยะทาง และ 3.คิดตามโซน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้คิดค่าโดยสารในรูปแบบตามระยะทาง บวกด้วยค่าแรกเข้า ทั้งนี้ การเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า จุดประสงค์หลัก คือ การเดินทางสะดวก ราคาไม่แพง และทุกคนต้องเข้าถึงได้ และควรหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ มาชดเชยรายได้ และลดค่าโดยสารให้กับประชาชน โดยมองว่า ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังมีราคาแพงเกินไป

ขณะที่ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ระบบรถไฟฟ้าของ รฟม. ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ระหว่างคู่สัญญาไว้ ทั้งนี้ การคิดอัตราค่าโดยสารของ รฟม. นั้น คิดตาม MRT Assessment Standardization ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันนั้น รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร (กม.) มี 38 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-42 บาท (คิดค่าโดยสาร 12 สถานี) ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง ให้บริการ 16 สถานี คิดค่าโดยสารในอัตรา 14-42 บาท อีกทั้งหากใช้บริการข้ามระบบ หรือระหว่างสายสีม่วงเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน รวม 54 สถานี ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 70 บาทตลอดสายเท่านั้น โดยเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถือว่าค่าโดยสารของ รฟม. ถูกกว่าเป็นอย่างมาก



อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลืองในอนาคต จะใช้วิธีการคำนวณอัตราค่าโดยสารในรูปแบบแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตามที่ BTS จะหมดสัญญาสัมปทานในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปี 2572 นั้น มองว่าเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากโครงการดังกล่าว รัฐบาลจะเป็นเจ้าของโครงการโดยสมบูรณ์ และสามารถบริหารจัดการโครงการ แล้วมาชดเชยค่ารถไฟฟ้าได้ ซึ่งจะทำให้ค่ารถไฟฟ้ามีราคาที่ถูกลง ซึ่งจะทำให้หลายโครงข่ายมีค่าโดยสารในรูปแบบเดียวกัน

ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ราคาค่ารถไฟฟ้าในปัจจุบันไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และถือว่าแพงที่สุดในโลก โดยเมื่อพิจารณาจากตัวเลขอ้างอิงโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ที่ระบุว่า ค่ารถไฟฟ้าของประเทศไทย มีอัตรา 26-28% ของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ หากใช้ราคา 65 บาท จะอยู่ที่ 30 กว่า% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านจะอยู่ที่ 3-9% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองว่า การคิดคำนวณค่ารถไฟฟ้าไม่ควรยึดหลักดัชนีผู้บริโภค โดยไม่ควรเกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้ง ควรมีการกำหนดเพดานราคาสูงสุดของค่ารถไฟฟ้าทั้งระบบด้วย นอกจากนี้ ควรมองว่า ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งสาธารณะหลัก แต่ในปัจจุบันกลับมองว่า เป็นการให้บริการทางเลือก

ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากเก็บค่าโดยสารสูงสุดที่ราคา 49.83 บาท กทม.จะมีกำไรส่งให้รัฐในปี 2602 อยู่ที่ 380,200 ล้านบาท ซึ่งข้อมูลของ กทม. ระบุว่า หากเก็บค่าโดยสารที่ราคา 65 บาท กทม.จะมีกำไรส่งรัฐในปี 2602 อยู่ที่ 240,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลของสภาฯ คำนวณว่า หากเก็บค่าโดยสารที่ 25 บาท จะมีกำไรส่งรัฐในปี 2602 อยู่ที่ 23,200 ล้านบาท โดย กทม. อ้างว่า การคำนวณของกระทรวงคมนาคม คำนวณรายได้จากจำนวนผู้โดยสารสูงกว่า กทม.คำนวณ

"ทำไม กทม.ถึงต้องหวังมีกำไร เนื่องจากการเป็นการให้บริการขนส่งสาธารณะกับประชาชน ซึ่งควรพิจารณานำกำไรที่ได้ มาเฉลี่ยเป็นค่ารถไฟฟ้าให้ถูกลง ซึ่งถ้า กทม. ทำไม่ได้ รัฐก็ไม่ควรต่อสัญญา ควรชะลอให้ผู้ว่า กทม.คนใหม่เข้ามาตัดสินใจ เพราะดิฉันเชื่อว่า ราคาจะถูกลงได้ นอกจากนี้ ควรมาทบทวนทั้งระบบ โดยจะต้องมีราคาที่ถูกลง หรือไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ และบอกมาเลยว่า ต้องมีสัญญาสัมปทานกี่ปี ค่ารถไฟฟ้าถึงลดลงได้ ตอนนี้ถือเป็นโอกาสของผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน ย้ำว่า ถ้าทำไม่ได้ ต้องไม่ต่อสัญญา" น.ส.สารี กล่าว และว่า เราชื่นชมมากเลยที่ พรรคภูมิใจไทย และ นายสิริพงศ์ ไปฟ้องคดี เพราะการตัดสินใจจะฟ้องเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการมาก

ขณะที่ นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า จุดยืนของมูลนิธิฯ ยืนยันว่า ระบบรถไฟฟ้าต้องเป็นขนส่งมวลชนหลัก ไม่ใช่ระบบขนส่งทางเลือก ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ยังไม่เคยได้รับคำตอบจาก กทม. ในวิธีการคิดค่าโดยสารว่า มีสูตรคำนวณอย่างไร ขณะเดียวกัน ไม่เห็นด้วยกับการเร่งรีบในการต่อสัญญาสัมปทานของ กทม. กับภาคเอกชน เนื่องจากยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 8 ปี ควรมาร่วมกันพิจารณาทางออกให้ชัดเจนก่อน

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลประเทศไทยติดอันดับในเรื่องของอัตราค่าโดยสารที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยหลายด้าน โดยอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ ถือว่ามีอัตราค่าโดยสารที่สูง และเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับต่างประเทศ ก็ยังถือว่าสูงมากเช่นเดียวเช่นกัน


Last edited by Wisarut on 05/03/2021 10:23 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:20 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
3 มีนาคม 2564 เวลา 16:16 น.

วันนี้ (3 มีนาคม 2564) กรมการขนส่งทางรางจัดอบรมสัมนาเรื่อง “ EMC First กับระบบขนส่งทางราง” ให้แก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางรางให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้
การอบรม“ EMC First กับระบบขนส่งทางราง” จัดขึ้นโดยมีบริษัท คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโซลูชั่นความปลอดภัยจากฟ้าผ่าและแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นผู้บรรยาย โดยประเด็นเนื้อหาในการอบรมเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ EMC Management ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการออกแบบและการบริหารจัดการให้เกิดเสถียรภาพ เพิ่มความปลอดภัยและมีความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility ,EMC ) ในระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสารสำหรับระบบขนส่งทางรางในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42555
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางรางจัดประชุม เพื่อจัดทำมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านงานโยธาของระบบขนส่งทางราง
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ (5 มีนาคม 2564 เวลา 18:19 น.

วันนี้ (5 มีนาคม 2564) นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านงานโยธา ครั้งที่ 2/2564 ณ ห้องประชุมมนังคสิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง กรมการขนส่งทางราง
ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างมาตรฐานการตรวจสอบความเสียหายและบำรุงรักษารางรถไฟ (Rail Inspection and Maintenance Standard) และร่างมาตรฐานการออกแบบทางรถไฟชนิดไม่มีหินโรยทางสำหรับทางขนาด1,435 มิลลิเมตร (Ballastless Track Design for Standard Gauge) เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการระบุข้อกำหนดทั่วไปและเกณฑ์ทางเทคนิคเกี่ยวกับการออกแบบทางรถไฟชนิดไม่มีหินโรยทางสำหรับทางขนาด 1,435 มิลลิเมตร ให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถใช้งานร่วมกับรถไฟในประเทศอื่นๆ โดยที่ประชุมมีมติเห็นสมควรนำเสนอ (ร่าง) มาตรฐานดังกล่าว ต่อคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการขนส่งทางรางเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้กรมการขนส่งทางรางหวังอย่างยิ่งว่า (ร่าง) มาตรฐานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับวิศวกร และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาของระบบรางอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3860045620709021
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 63, 64, 65  Next
Page 19 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©