RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180482
ทั้งหมด:13491716
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2021 10:10 pm    Post subject: Reply with quote

หักดิบ ปิดหัวลำโพง! พ.ย. 64 “ศักดิ์สยาม” ลั่นรถไฟต้องกล้าเปลี่ยนแปลง ดันสถานีกลางบางซื่อ..ฮับระบบราง “ไทย&อาเซียน”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:44 น.
ปรับปรุง: 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:44 น.




ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งปิดสถานีหัวลำโพง ทันที!!! เมื่อมีการเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงเชิงพาณิชย์ พร้อมกับการเปิดให้บริการ “สถานีกลางบางซื่อ” ซึ่งตามกำหนดคือภายในเดือน พ.ย. 2564 โดยยืนยันนโยบายชัดเจนว่าจะต้องไม่มีรถไฟวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงอีก ภายใต้เหตุผลคือจะสามารถแก้ปัญหาจราจรภายในกรุงเทพฯ ชั้นในที่มีจุดตัดทางรถไฟกับถนนได้ตามเป้าหมาย ขณะที่สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางระบบรางของประเทศตามวัตถุประสงค์

“เปิดบางซื่อ....ต้องไม่มีหัวลำโพง”

ย้อนประวัติศาสตร์สำหรับคนไทย...คงไม่มีใครไม่รู้จักสถานีหัวลำโพง หรือชื่อทางการ “สถานีรถไฟกรุงเทพ” ตั้งอยู่ในท้องที่แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2459 นับเป็นเวลายาวนานถึง 105 ปีแล้ว โดยมีพื้นที่ 120 ไร่เศษ ตั้งอยู่ห่างจากสถานีเดิมซึ่งอยู่บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเริ่มการก่อสร้าง และเปิดเดินรถไฟหลวงไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร

สถานีหัวลำโพงกลายเป็นศูนย์การเดินทางหลักของคนไทยในทุกๆ เทศกาล จะเห็นภาพชินตาที่ประชาชนจำนวนมากหอบหิ้วสัมภาระแน่นเต็มพื้นที่ ผู้คนทุกเพศทุกวัย รวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจมานั่งรถไฟไทย สัมผัสบรรยากาศวินเทจสุดคลาสสิก

สำหรับกระแสการปิดสถานีหัวลำโพงนั้นมีมาตลอดตั้งแต่มีการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ที่วางเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางระบบรางของประเทศแทนที่หัวลำโพง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีการศึกษาแผนการลงทุนพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพง 120 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟระดับโลก ต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์รถไฟไทย

ส่วนการเดินรถนั้น ตามแผนเดิม เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้งานในปี 2564 ช่วงแรก รฟท.จะยังไม่ย้ายขบวนรถไฟทางไกล และขบวนรถชานเมืองที่ออกจากสถานีหัวลำโพงไปสถานีกลางบางซื่อทั้งหมด แต่จะพิจารณาให้ขบวนรถที่มีความพร้อมไปเปิดใช้บริการที่สถานีกลางบางซื่อก่อน โดยสถานีหัวลำโพงจะเปลี่ยนสถานะจากสถานีรถไฟหลัก เนื่องจากจะมีขบวนรถเข้าสู่สถานีกรุงเทพน้อยลง แต่ยังคงเป็นสถานีรถไฟที่ให้บริการประชาชนเหมือนเช่นที่ผ่านมา

@ไม่ปลื้มแผนเปลี่ยนถ่ายรถไฟทางไกล “ศักดิ์สยาม” ขีดเส้น พ.ย. 64 ต้องปิดหัวลำโพง

รฟท.ได้รายงานแผนการเปลี่ยนถ่ายรถไฟทางไกลจากสถานีหัวลำโพงสู่สถานีกลางบางซื่อ หลังการเปิดเดินรถสายสีแดงในเดือน พ.ย. 2564 ว่า ปัจจุบันมีขบวนรถโดยสารเข้า-ออกสถานีหัวลำโพง 120 ขบวน/วัน แบ่งเป็นสายใต้ 28 ขบวน/วัน, สายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ 66 ขบวน/วัน, สายตะวันออก 26 ขบวน/วัน

ซึ่งตามแผนเดิมจะทยอยปรับให้ขบวนรถไปใช้สถานีกลางบางซื่อจนถึงปี 2570 จะไม่มีขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพง แต่ รมว.คมนาคมให้ รฟท.ปรับให้เร็วขึ้นอีก

แผนล่าสุด ในปีแรกที่สายสีแดงเปิดให้บริการ (พ.ย. 2564) จะลดขบวนรถชานเมืองสายเหนือ สายใต้ ที่เข้าสถานีหัวลำโพงลงได้ 30 ขบวน/วัน โดยให้จอดที่สถานีรังสิต และบางบำหรุ โดยจะเหลือรถเข้าสถานีหัวลำโพง 90 ขบวน/วัน

ภายในปี 2565 จะสามารถลดขบวนรถเชิงพาณิชย์ สายเหนือ สายอีสาน ได้อีก 68 ขบวน/วัน ทำให้เหลือขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพงอีก 22 ขบวน/วัน ส่วนสายใต้จะจอดที่บางซื่อ (เก่า) ส่วนหนึ่ง และจอดที่สถานีกลางบางซื่ออีกส่วนหนึ่ง

ปัญหาอยู่ที่สายตะวันออก 26 ขบวน/วัน ที่มีผู้โดยสารประมาณ 3.5 ล้านคน/ปี มี 2 แนวทาง คือ 1. ใช้สถานีหัวหมากเป็นปลายทาง หรือจะยังคงวิ่งเข้าหัวลำโพง เพื่อไม่ให้ผู้โดยสาร 3.6 ล้านคน/ปีได้รับผลกระทบ ซึ่งปัญหาของสายตะวันออกคือ จำเป็นต้องวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง เพราะยังสามารถวิ่งไปยังสถานีกลางบางซื่อได้โดยตรง ซึ่งตามแผนจะมีการเปิด PPP ให้เอกชนร่วมลงทุนเพื่อดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก (missing link) โดยประเมินว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี

สำหรับปี 2566 ตามเป้าหมายคือจะไม่มีขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพงแล้ว ดังนั้น เส้นทางสายตะวันออกจะต้องหยุดที่หัวหมากทั้งหมดแน่นอน โดย รฟท.จะต้องหาระบบขนส่งอื่นเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางต่อไปยังปลายทางหัวลำโพงหรือสถานีกลางบางซื่อ

“ศักดิ์สยาม” ยังไม่ปลื้ม ขีดเส้นปี 2564 รถเข้าสถานีหัวลำโพงต้องเป็น “ศูนย์” มั่นใจว่าต้องมีวิธี หากรถไฟบางขบวนจำเป็นต้องจอดรอบนอกก็ต้องไปหาระบบฟีดเดอร์มารับส่งผู้โดยสารแทน

“ทำไมสนามบินสุวรรณภูมิอยู่จังหวัดสมุทรปราการ ไม่ได้อยู่กลางเมืองผู้โดยสารยังไปได้ ไม่เห็นต้องมาอยู่ในใจกลางเมือง เรื่องนี้อยู่ที่วางระบบฟีดเดอร์ ขสมก. รถเมล์ อยู่กระทรวงคมนาคม กรณีที่ไม่ไหวจริงๆ มีขบวนรถที่จำเป็นต้องเข้าหัวลำโพงให้ได้ เช่น มาโรงซ่อม มาเติมน้ำมัน ให้วิ่งเข้าได้ช่วงเวลากลางคืน ระหว่าง 22.00-04.00 น.เท่านั้นที่ผมรับได้ อย่าวิ่งตอนกลางวัน เพราะจะเป็นปัญหาการจราจรที่จุดตัดถนน...ผมเชื่อว่า รฟท.ทำได้ เพราะเวลาไม่ถึง 2 อาทิตย์ยังปรับแผนจากปี 70 เหลือปี 66 ได้ หายไป 4 ปี ดังนั้นให้ไปทำใหม่ พ.ย. 64 ทุกเรื่องมาอยู่บางซื่อ”

“ไม่มีเรื่องใดที่ไม่มีผลกระทบ โดยต้องนำผลกระทบมาชั่งน้ำหนัก หากสิ่งที่เป็นประโยชน์มากกว่าก็ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง หากไม่เปลี่ยน รฟท.ก็จะเป็นแบบนี้”

ไม่เช่นนั้นจะตอบคำถามไม่ได้ว่าสร้างบางซื่อใหญ่โตเอาไว้ทำไม เรื่องนี้อยู่ที่วิธีการบริหารจัดการ ให้ได้ข้อสรุปและทำแผนใหม่ภายใน 30 วัน เพื่อตัดสินใจ และเสนอนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ให้ รฟท.ไปคิดว่าเส้นทางเข้าหัวลำโพง เมื่อไม่มีรถไฟวิ่งไปแล้วจะนำมาปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์ให้ประชาชนได้อย่างไร เช่น ทำเป็นทางวิ่งสำหรับออกกำลังกาย ส่วนพื้นที่ข้างทางจะปรับปรุงเพื่อพื้นที่ค้าขาย โดยมีการจัดระเบียบให้เรียบร้อย และสะอาด เป็นต้น ส่วนสถานีหัวลำโพงจะปรับปรุงเป็นแลนด์มาร์กและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และรักษาพร้อมกับการพัฒนา ให้ รฟท.ศึกษาคือทำอย่างไรให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย

นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท.กล่าวว่า นโยบายของ รมว.คมนาคม คือ หลังเปิดสถานีกลางบางซื่อในเดือน พ.ย. 2564 จะปิดให้บริการที่สถานีหัวลำโพง โดย รฟท.จะเร่งวางแนวทางในการบริหารจัดการรถไฟชานเมือง และรถไฟทางไกล หลักการคือจะไม่มีรถโดยสารเข้าไปถึงสถานีหัวลำโพงเดือน พ.ย. 2564 แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในเรื่องโรงซ่อม การเติมน้ำมันรถจักร ที่จะยังต้องเข้ามาที่สถานีหัวลำโพง จะต้องปรับตารางเวลาในการให้เข้ามาได้ช่วงเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรบริเวณจุดตัดกับถนนตามนโยบาย

เบื้องต้นรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ สามารถปรับแผนการเดินรถเข้าสถานีกลางบางซื่อได้ ส่วนเส้นทางสายตะวันออกยังมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากยังต้องเดินรถเข้ามายังหัวลำโพงเพราะเส้นทางยังไม่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ดังนั้น รฟท.จะต้องหาแนวทางดูแลผู้โดยสารกรณีตัดเส้นทางหยุดที่สถานีมักกะสัน ซึ่งประเมินว่าจะมีผู้โดยสารได้รับผลกระทบประมาณ 3,000 คน/วัน

โดยจะหารือกับกระทรวงคมนาคมเพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาระบบฟีดเดอร์ บริการทดแทน และไม่ควรทำให้ผู้โดยสารมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย

ส่วนสถานีหัวลำโพงจะนำไปใช้ทำอะไรนั้น มีการศึกษาไว้เมื่อปี 2555-2556 ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ให้นำผลการศึกษาเดิมมาพิจารณาทบทวนเพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมกับปัจจุบันมากที่สุด รวมถึงการใช้ประโยชน์บนแนวเส้นทางรถไฟช่วงที่เข้าสู่สถานีหัวลำโพงหลังจากไม่มีการเดินรถไฟแล้วเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน เช่น บริเวณสามเสน จิตรลดา เป็นต้น

“ตอนนี้ต้องยอมรับว่าแม้จะหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน แต่จะต้องมีผลกระทบอยู่อีก เหมือนตอนเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะต้องปิดสนามบินดอนเมือง ตอนนั้นก็มีผลกระทบ แต่ต้องยอมรับและปรับตัว ดังนั้น เมื่อเปิดบางซื่อเป็นสถานีกลาง แล้วยังมีหัวลำโพงด้วยก็อาจจะไม่ใช่ เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่เมื่อมีนโยบายชัดเจน รฟท.ต้องดำเนินการ และดูแลเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชน”

@ทุ่มกว่า 500 ล้าน ติดระบบ ATP หัวรถจักร 70 คัน

สำหรับการเดินรถไฟทางไกลร่วมกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงนั้น รถจักรของ รฟท.จะต้องติดตั้งระบบควบคุมการเดินรถ ETCS Level 1 โดยจะต้องเร่งติดตั้งระบบป้องกันความผิดพลาดของการเดินรถ (Automatic Train Protection : ATP) บนหัวรถจักรปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบควบคุมระยะห่างระหว่างขบวนรถให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัย กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะเบรกอัตโนมัติตามมาตรฐานระบบอาณัติสัญญาณ ETCS ซึ่งปัจจุบันติดตั้งเสร็จแล้ว 2 คัน

นอกจากนี้ จะต้องเร่งติดตั้ง ATP ในหัวจักรที่มีเพื่อรองรับการใช้สถานีกลางบางซื่อ โดยแบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกจำนวน 120 คัน ประกอบด้วย การติดตั้งระบบ ATP กับหัวรถจักรที่มีอยู่จำนวน 70 คัน อยู่ระหว่างการประมูล วงเงินกว่า 500 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2564-2566)

และจะมีหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่จำนวน 50 คัน มูลค่า 6,525 ล้านบาท ซึ่ง รฟท.ได้เซ็นสัญญากับกิจการร่วมค้าเอสเอฟอาร์ (บริษัท ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) ให้เป็นผู้จัดหา จะมีการติดตั้งระบบ ATP มาพร้อมด้วย โดยจะทยอยส่งมอบตั้งแต่ต้นปี 2565

ส่วนในเฟสที่ 2 จะเป็นหัวรถจักรที่มีการปรับปรุงซ่อมบำรุงเครื่องยนต์อีกประมาณ 57 คัน จะมีการติดระบบ ATP ต่อไป

@ สีแดงเปิดเชิงพาณิชย์ พ.ย. 64 ค่าโดยสาร 14-42 บาท

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีกำหนดการทดสอบระบบ และทดสอบการเดินรถเสมือนจริง เริ่มช่วงเดือนมีนาคม 2564 ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดให้ประชาชนทดลองใช้รถไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม 2564 จากนั้นกำหนดเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยประมาณการอัตราค่าโดยสารจะคิดตามระยะทาง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ค่าแรกเข้าไม่เกิน 14 บาท และค่าโดยสารตลอดเส้นทางถึงรังสิตไม่เกิน 42 บาท และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่าแรกเข้าไม่เกิน 14 บาท และค่าโดยสารตลอดเส้นทางถึงตลิ่งชันไม่เกิน 42 บาท เช่นกัน อีกทั้งในอนาคตจะพัฒนาระบบตั๋วโดยสารร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้บริการด้วย

คำสั่งหักดิบ...ปิด...ชัตดาวน์ “หัวลำโพง” ต้องยอมรับว่าประชาชนที่เคยใช้บริการรถไฟ โดยเฉพาะรถชานเมือง ชั้น 3 ที่ราคาค่าตั๋วถูก แม้จะไปช้าหน่อย สภาพรถไม่สวยงาม แต่ก็ถึงจุดหมายปลายทาง ...ตั้งแต่ พ.ย. 2564 คงต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการเดินทางกันใหม่ เพราะจะไม่มีรถไฟวิ่งเหมือนเดิมแล้ว ส่วนหัวลำโพง...จะเหลือเพียงภาพจำถึงตำนานความยิ่งใหญ่ของรถไฟไทยในอดีต...เท่านั้น!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2021 12:55 am    Post subject: Reply with quote

ท่าน ”ศักดิ์สยาม-ผู้ว่าฯรถไฟ”ขาาาประชาชนด่ายับ!!(ค่ะ)
*หักดิบ(ไร้วิสัยทัศน์)สั่งปิดสถานีหัวลำโพง พ.ย.นี้
*ทั้งที่ยังไม่มีแผนรองรับสร้างภาระความเดือดร้อน
*ย้ำไม่ได้ต้านลดบทบาทสถานีกรุงเทพบูมบางซื่อ
*แต่ควรใช้ Roadmap ไม่ใช่หักดิบ-รื้อกันรายวัน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2829236940631139
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 10:52 am    Post subject: Reply with quote

“รมว.ศักดิ์สยาม” น้อมรับก้อนหินจากประชาชน
*ด่ายับหักดิบสั่งปิดสถานีหัวลำโพงพ.ย.นี้
*ชี้หากจำเป็นจะเปิดแต่ลดขบวนรถไฟลง
*นัดประชุมวันนี้(4ก.พ.)ไล่จี้แผนงานรฟท.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2831436547077845
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 11:27 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้เดินทางจากหัวลำโพงไปบางซื่อ ฟังเรื่องอดีต ปัจจุบัน และ อนาคตของรถไฟไทย การรถไฟไทยมีระบบที่ถูกวางมาอย่างดีตั้งแต่อดีต ถือว่าล้ำหน้าบ้านเมืองมากในยุคสมัยเริ่มต้น ไม่ได้บอกว่าล้ำหน้ากว่าชาติอื่นๆ นะ ล้ำกว่าหลายๆ อย่างในประเทศเราเองนี่แหละ
Jiranarong Wongsoontorn
30 มกราคม 2564 เวลา 19:24 น.·

แต่การรถไฟมักเป็นสิ่งที่คนนอกบางส่วนมองว่าล้าหลัง และหยุดอยู่กับที่ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่น่าน้อยใจแทนคนทำงาน
มีแต่คนเก่งๆ เขาทำงานกันอยู่ แล้วก็เป็นองค์กรที่มักถูกใช้เป็นภาพความเจริญก้าวหน้าและล้าหลังของประเทศอีกด้วย
ไปดูสถานีกรุงเทพ และสถานีบางซื่อ มันก็เห็นภาพการทำงานของกลุ่มคนที่อยากพารถไฟไปข้างหน้าให้ไกล ในขณะเดียวกันก็เห็นกลุ่มคนที่ยังอยากรักษาประวัติศาสตร์ข้างหลังให้ดีอยู่ด้วย
ปล.
หลังจากมีข่าวว่าหัวลำโพงจะปิด แต่ยังไม่ได้ตัดสินว่าจะออกมาเป็นอะไร ก็เริ่มเห็นการแสดงความคิดเห็นกันไปต่างๆ นาๆ บ้างแล้ว ดีก็มีมาก ค่อนแคะก็มีเยอะ
สิ่งนี้เขาจะมีการรับฟังแนวคิดนะ ว่าสุดท้ายแต่ละคนอยากให้หัวลำโพงเป็นอะไรบ้าง
เดี๋ยวมีช่องทางที่แน่นอนว่าเขาจะรับฟัง หรือประกวดแนวคิดกันผ่านช่องทางไหน จะมาบอก จะได้มีทางระบายความคิดเจ๋งๆ ของตัวเองในทางที่ถูกที่ควรกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 12:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ด่วน ”คมนาคม” สั่งเบรกปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง
ฐานเศรษฐกิจ 04 Feb 2021 18:55 น.




มีรถเข้าสถานีกรุงเทพที่หัวลำโพง 120 ขบวน เป็น รถด่วนรถเร็วรถนำเที่ยว 66 ขบวน รถชานเมือง และ รถธรรมดา 54 ขบวน

เวลาเร่งด่วนรถไฟไทย: 0600 น. - 0900 น. และ 1600 น. - 1900 น.
สายเหนือ: ผ่านทางตัดกับถนน 15 แห่ง
สายใต้และตะวันตก:ผ่านทางตัดกับถนน 3 แห่ง
สายตะวันออก: ผ่านทางตัดกับถนน 9 แห่ง

ปิดสถานีกรุงเทพที่หัวลำโพวง รับรองว่าจะทำให้ ผู้โดยสารเดือดร้อนอย่างน้อย 33460 คนต่อวันซึ่งรวมถึง 25436 คนจากสายเหนือสายอีสานสายใต้ และ 8024 คนจากสายตะวันออก

นี่ครับแผนจำกัดการเดินรถเข้าออกสถานีกรุงเทพ
เหลือรถชานเมือง 12 ขบวน : ผู้โดยสารเดือดร้อน16,679 คนต่อวัน
เหลือรถชานเมือง 16 ขบวน : ผู้โดยสารเดือดร้อน 14,300 คนต่อวัน
เหลือรถชานเมือง 42 ขบวน : ผู้โดยสารเดือดร้อน 5,820 คนต่อวัน => น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ทางลอยฟ้าจากบางซื่อไปรังสิตทำให้ ตัดปัญหารถติดที่ทางตัด ไป 8 แห่ง
ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง จากบางซื่อไปหัวลำโพง ทำให้ ตัดปัญหารถติดที่ทางตัด ไป 7 แห่ง ประหยัดเวลาไปได้ 198 นาที เพราะมีรถไฟสายเหนือสายอีสานเดินไปมากับสถานีกรุงเทพ 66 ขบวน
ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง จากบางซื่อไปหัวหมาก ทำให้ ตัดปัญหารถติดที่ทางตัด ไป 9 แห่ง ประหยัดเวลาไปได้ 72 นาที เพราะมีรถไฟสายตะวันออกกับสถานีกรุงเทพ 24 ขบวน
รถไฟฟ้าสายสีแดง จากบางซื่อไปตลิ่งชันและ ส่วนต่อขยายไปศาลายา ทำให้ ประหยัดเวลาไปได้ 60 นาที เพราะมีรถไฟสายตะวันออกกับสถานีกรุงเทพ 20 ขบวน


https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2831674187054081
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2021 1:09 am    Post subject: Reply with quote

ทยอยปิดหัวลำโพง! ลดผลกระทบ “ศักดิ์สยาม” ยอมบางขบวนเข้า มิ.ย.เปิดประมูลเชิงพาณิชย์บางซื่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20:19 น.
ปรับปรุง: วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20:19 น.




“ศักดิ์สยาม” ยอมให้รถไฟบางขบวนวิ่งเข้าหัวลำโพงบรรเทาผลกระทบ จี้ รฟท.ทำแผนพ.ย. 64 ต้องหมดปัญหาจุดตัด เตรียมชงคนร.ทบทวนมติขอเปิด PPP เดินรถ ด้านทอท.เล่นบทพี่เลี้ยง แนะปั้นรายได้เชิงพาณิชย์บางซื่อกว่า 200 ล้าน/ปี ประมูลมิ.ย. 64

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามการดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงให้เป็นไปตามแผนการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ปลายปี 2564 และการเปลี่ยนผ่านจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สู่สถานีกลางบางซื่อ ว่า จากที่ นโยบายหยุดใช้สถานีหัวลำโพง 100% เดือน พ.ย. 64 หลังเปิดสายสีแดง ซึ่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วิเคราะห์รายละเอียดผลกระทบอย่างละเอียด โดยเฉพาะความจำเป็นของรถบางขบวนที่จะกระทบต่อผู้โดยสาร เช่น นักเรียน คนทำงาน ดังนั้น หากจำเป็นต้องเดินรถเข้ามาที่หัวลำโพง จะต้องมีวิธีบริหารจัดการ ส่วนขบวนรถอื่นๆ ที่ทำได้จะต้องมีฟีดเดอร์ที่เหมาะสม ให้บูรณาการกับ ขสมก. หรือขนส่งมวลชนอื่นๆ เพื่อดำเนินการชั่วคราวก่อนที่จะถึงปี 66 รถไฟอย่าตีกรอบตัวเอง ให้ไปทำการบ้านใหม่ อะไรที่ทำได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนถึงปี 66 ก็ทำ จากวันนี้ยังมีเวลากว่าจะถึงเดือน พ.ย. 64 ประเด็นคือต้องดูให้ละเอียดว่าการเดินทางแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร มีการเดินทางไปไหนกัน จำนวนเท่าไร เพื่อจัดฟีดเดอร์ทดแทนในขบวนรถไฟที่จะไม่วิ่งเข้ามา ไม่ได้จัดฟีดเดอร์ทั้งวัน

“ผมยอมถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกประชาชนตำหนิว่าไปทำให้ชีวิตลดความสะดวกสบายลง แต่ผมต้องการดูภาพรวมของการจราจรใน กทม. เมื่อไม่มีขบวนรถไฟวิ่งตัด หรือมีน้อยที่สุด จะมีผลดีต่อการแก้ปัญหาจราจรได้แค่ไหน รฟท.ต้องวิเคราะห์ให้ออกขบวนที่จำเป็นจริงๆ เหลือกี่ขบวน เวลาใด ขบวนใดที่ตัดได้ ก็ทำฟีดเดอร์ โดยต้องดูจำนวนคนและเวลาเดินรถเพื่อจัดฟีดเดอร์รับได้เหมาะสม ทำวันนี้เพื่อส่วนรวม เพราะอย่างไรสถานีหัวลำโพงต้องหยุดบริการอยู่ดี” นายศักดิ์สยามกล่าว

ส่วนอัตราค่าโดยสารสายสีแดงที่มีการเสนอ 14-42 บาทนั้น ให้ สนข.กับการรถไฟฯ ไปพิจารณาร่วมกันในการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและรายได้ของการรถไฟฯ

สำหรับการให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) เดินรถตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น รฟท.ได้ปรับแผนตามนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) เดินรถสายสีแดง จากที่ให้รฟฟท.เดินรถ 5 ปี เป็น 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับแผน PPP โดยจะใช้รูปแบบจ้างวิ่ง หรือ Gross Cost จะนำเสนอ โดยจะทำรายงานนำเสนอ คนร. พร้อมกับการเสนอขอเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถสายสีแดงเป็น PPP ด้วย

ทั้งนี้ รฟท.รายงานว่า ขบวนรถไฟมีทั้งสิ้น 120 ขบวน/วัน (รถเชิงพาณิชย์ 66 ขบวน/วัน รถชานเมือง รถธรรมดา 54 ขบวน/วัน) มีจุดตัดรวมทั้งสิ้น 29 แห่ง แบ่งเป็น สายเหนือ และสายอีสาน 66 ขบวน/วัน (เชิงพาณิชย์ 42 ขบวน รถชานเมือง รถธรรมดา 24 ขบวน) มีจุดตัด 15 แห่ง สายใต้ 28 ขบวน/วัน (เชิงพาณิชย์ 22 ขบวน รถชานเมือง รถธรรมดา 6 ขบวน) มีจุดตัด 3 แห่ง สายตะวันออก 26 ขบวน (เชิงพาณิชย์ 2 ขบวน รถชานเมือง รถธรรมดา 24 ขบวน) ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง มีจุดตัด 9 แห่ง

รฟท.ทำแผนเสนอรูปแบบลดบทบาทสถานีหัวลำโพงจากรถ 120 ขบวน โดยมีรถบางขบวนที่มีความจำเป็นในการเดินทางเช้าและเย็น คือ 1. อนุญาตให้เข้าสถานีหัวลำโพง 10% หรือ 12 ขบวน (ไป/กลับ) สายเหนือ, อีสาน, ตะวันออก จะยังมีผู้โดยสารได้รับผลกระทบ 16,679 คน/วัน 2. ให้วิ่งเข้าได้ 19% หรือ 16 ขบวน โดยเพิ่มรถสายใต้บางขบวน จะยังมีผู้โดยสารได้รับผลกระทบ 14,300 คน/วัน 3. ให้วิ่งเข้าหัวลำโพง 35% หรือ 42 ขบวน โดยเพิ่มให้สายตะวันออกทุกขบวนวิ่งเข้ามาที่หัวลำโพงได้ จะยังมีผู้โดยสารได้รับผลกระทบ 5,820 คน/วัน

ทั้งนี้ เนื่องจากมีจุดจอดรถที่ประชาชนใช้บริการจำนวนมาก เช่น ยมราช รพ.รามา สถานีสามเสน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ชั้นใน

นอกจากนี้ รฟท.ได้กำหนดการทดลองเดินรถเสมือนจริง (Trail Run) ในวันที่ 26 มี.ค. 64 เป็นวันปฐมฤกษ์ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ จะอนุญาตให้ประชาชนได้ร่วมทดลองใช้บริการเป็นบางสถานี ส่วนการเปิดทดลองเดินรถที่จะให้ประชาชนเข้าร่วมได้ (Soft Opening) จะเป็นวันที่ 28 ก.ค. 64 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือน พ.ย. 64

ทอท.เสนอแผนเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีบางซื่อ มั่นใจไม่ขาดทุน

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อ ว่า รฟท.ควรมุ่งหารายได้เชิงพาณิชย์ ได้แก่ ค่าเช่าร้านค้า ร้านอาหาร โฆษณา บริหารที่จอดรถ เพื่อนำเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าซ่อมบำรุงสถานที่

จากพื้นที่ Passenger Accessible area ที่มีทั้งหมด 129,400 ตร.ม. มีการปรับจากแผนเดิมที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่ 10% เป็น 33.6% โดยผู้โดยสารยังได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ซึ่งจากการวิเคราะห์โครงการบริหารจัดการกิจการเชิงพาณิชย์ภายใต้ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ไม่เข้าเกณฑ์กิจการเกี่ยวเนื่องจำเป็น การให้เอกชนร่วมลงทุนพื้นที่สถานีรถไฟไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างปกติ

จากการคาดการณ์รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์เฉลี่ย 10 ปีแรกประมาณ 200 ล้านบาท/ปี โดยปีแรก 75 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 300 ล้านบาทในปี 2573 ส่วนรายได้จากธุรกิจโฆษณาเฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท โดยปีแรกเติบโตจาก 140 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาทปีท้ายๆ

ทั้งนี้ รายได้จะนำมาชดเชยค่าใช้จ่ายในตัวสถานี ที่คาดว่ามีประมาณ 40 ล้านต่อเดือน หรือ 200-300 ล้านบาทต่อปี โดยปีต้นๆ รายได้จะพอเลี้ยงรายจ่าย และเริ่มมีกำไรในปีท้ายๆ 200-300 ล้านบาทต่อปี ขึ้นกับปริมาณผู้โดยสารที่จะมาจากสายสีแดง และรถไฟทางไกล โดยคาดว่าจะเปิดประมูล PPP พัฒนาเชิงพาณิชย์ต้นเดือน มิ.ย. 64 และคัดเลือก 3 เดือน ได้ตัวเอกชนต้นเดือน ก.ย. 64



นับถอยหลังปิดสถานีหัวลำโพง ปั้นแหล่งท่องเที่ยว-มิกซ์ยูส 3 หมื่นล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:21 น.

ยังต้องลุ้น “สถานีรถไฟกรุงเทพ” หรือสถานีหัวลำโพง มีอายุ 105 ปี จะปิดทันทีเดือน พ.ย. 2564 พลันที่เปิดบริการ “สถานีกลางบางซื่อ” ฮับระบบรางใหญ่สุดในอาเซียน ตามที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคมประกาศไว้ได้หรือไม่ ในเมื่อการเปลี่ยนผ่านไม่ง่ายอย่างที่คิด ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประเมินต้องใช้เวลาถึง 5 ปี

ให้เวลา 1 เดือน ทำแผนเดินรถ
ขณะที่ “ศักดิ์สยาม” พักหลังเริ่มไล่บี้งานของ ร.ฟ.ท.มากขึ้น ไม่สนไทม์ไลน์ เดินหน้าประกาศิต “พ.ย.นี้หลังเปิดรถไฟฟ้าสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ ต้องไม่มีรถไฟสักขบวนเข้าหัวลำโพง แต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ ให้เข้าเฉพาะเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อแก้จราจรในกรุงเทพฯ”

แม้ว่า ร.ฟ.ท.เสนอแผนการเปลี่ยนผ่านการใช้งานจากสถานีหัวลำโพงไปสถานีกลางบางซื่อ จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือภายในปี 2566 จึงจะสามารถถ่ายโอนการใช้งานระบบรางทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อได้

แต่ไม่ทันใจ “ศักดิ์สยาม” ที่มองว่า “ช้าเกินไป” ควรปรับการบริหารให้ดีกว่านี้ รถไฟทางไกลต้องไม่วิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงอีก เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิด เพื่อให้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุนไปกว่า 30,000 ล้านบาท และนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างแท้จริง


ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
“รถไฟสายสั้น-ชานเมืองที่จะกระทบให้เข้าช่วง 22.00-04.00 น. ให้ใช้ระบบขนส่งอื่น เช่น ขสมก. รถไฟฟ้า รับคน ให้ ร.ฟ.ท.ทำแผนให้เสร็จ 1 เดือน ยังมีเวลา 10 เดือนกว่าจะเปิดใช้ ต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เป็นประโยชน์ หากประโยชน์ที่ได้มากกว่า ต้องกล้าเปลี่ยน แต่ถ้าไม่เปลี่ยนอะไรเลยจะอยู่กันแบบนี้ เช้า กลางวัน รอรถไฟผ่าน เกิดรถติด” นายศักดิ์สยามระบุ

จัดเดินรถสายเหนือ-อีสาน-ใต้รับ
ขณะที่ “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การบริหารรถไฟทางไกลจะปรับแผนเดินรถสายเหนือ สายอีสาน และสายใต้ เข้าสถานีกลางบางซื่อสามารถทำได้ แต่สายตะวันออกยังมีปัญหา ยังไม่มีเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ผู้โดยสารลงที่มักกะสัน


นิรุฒ มณีพันธ์
“จะมีผู้โดยสารได้รับผลกระทบจากการที่รถไฟไม่วิ่งเข้าหัวลำโพง 3,000 คน/วัน ต้องหาแนวทางดูแลผู้โดยสารกรณีตัดเส้นทางหยุดที่มักกะสัน จัดหาระบบรองรับ เช่น รถโดยสาร ขสมก. จะหารือคมนาคมเพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องไม่ทำให้ผู้โดยสารมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม”

อนาคตหัวลำโพงพัฒนามิกซ์ยูส
ส่วนอนาคตของสถานีหัวลำโพง นายนิรุฒกล่าวว่า หลังปิดบริการแล้วจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ นำผลการศึกษาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เมื่อปี 2555-2556 มาทบทวนใหม่ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน รวมถึงการใช้ประโยชน์บนแนวเส้นทางรถไฟช่วงที่เข้าสู่สถานีหัวลำโพง หลังไม่มีการเดินรถเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน เช่น สามเสน จิตรลดา

เมื่อย้อนดูพิมพ์เขียวการพัฒนา “สถานีหัวลำโพง” ที่ ร.ฟ.ท.เคยทำไว้ จะปรับพื้นที่ภายในสถานีและโดยรอบเป็นเชิงพาณิชย์ เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน 30 ปี มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท แบ่งเนื้อที่ 121 ไร่ หรือ 194,262.319 ตารางเมตร พัฒนารูปแบบมิกซ์ยูส ทั้งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย รับกับทำเลเป็นทั้งย่านเศรษฐกิจ ที่พักอาศัย และจุดเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้า MRT สายสีแดง Missing Link


แบ่งพัฒนา 4 เฟส ใน เฟสแรก พื้นที่ 15.34 ไร่ ในส่วนอาคารสำนักงาน ร.ฟ.ท. สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม อาคารบัญชาการและตึกแดง ในปัจจุบัน พัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน ร.ฟ.ท. และ
เอกชนและร้านค้า มูลค่า 2,860 ล้านบาท

เฟสที่ 2 เนื้อที่ 40.20 ไร่ บริเวณราง สวนรถไฟ และอาคารสำนักงานตำรวจรถไฟ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน พื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม พัฒนาเป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ที่พักอาศัย โรงแรม และสวนสาธารณะ มูลค่า 9,834 ล้านบาท

เฟสที่ 3 เนื้อที่ 28.72 ไร่ สถานีหัวลำโพงและโรงแรมราชธานีและบริเวณถนนรองเมือง พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม ศูนย์การค้าและโรงแรม มูลค่า 5,252 ล้านบาท และ เฟสที่ 4 เนื้อที่ 37.17 ไร่ พัฒนาศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ที่พักอาศัย โรงแรม และสวนสาธารณะ มูลค่า 12,472 ล้านบาท

สหภาพค้านกระทบสายสั้น
ด้านสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ออกมาค้านการปิดสถานีหัวลำโพงของ “ศักดิ์สยาม” ในทันทีเช่นกัน เนื่องจากอาจจะกระทบกับการให้บริการของประชาชน และยังไม่มีการเตรียมความพร้อมมาก่อน หากมีการสั่งปิดไป จะกระทบการเดินรถโดยสาร การซ่อมบำรุงต่าง ๆ แน่นอน


และการให้ขบวนรถทั้งหมดไปอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อทันทีจะกระทบต่อผู้ใช้บริการมีทั้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่ต้องเข้ามาทำงานในเขตเมืองชั้นในในช่วงเช้าและเดินทางกลับเย็น ที่สถานีสามเสน สถานีโรงพยาบาลรามาธิบดี และสถานียมราช


ร.ฟ.ท.ขอเวลา 2 ปีเปลี่ยนผ่าน
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานีหัวลำโพง มีรถไฟใช้บริการ 120 ขบวน/วัน สำหรับแผนที่ ร.ฟ.ท.วางไว้ในการเปลี่ยนผ่านการใช้งานจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีกลางบางซื่อ มีแผนดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2566 แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ปี 2564 งดเว้นรถไฟระยะสั้นไม่เกิน 250 กม. และรถไฟทางไกล 30 ขบวน ได้แก่ สายเหนือ-อีสาน 24 ขบวน และสายใต้ 6 ขบวน โดยสายเหนือและอีสานจะให้ไปจอดที่สถานีรังสิต แล้วเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารขึ้นสายสีแดงเข้ามา ส่วนสายใต้ให้จอดที่สถานีตลิ่งชัน แล้วเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารขึ้นรถไฟสายสีแดง

ระยะที่ 2 ปี 2565 ทยอยยกเลิกรถไฟทางไกลสายเหนือและอีสาน 90 ขบวน ไม่ต้องเข้าหัวลำโพง คงเหลือเฉพาะสายตะวันออก 26 ขบวนที่ให้เข้าหัวลำโพงไปก่อน ส่วนรถไฟสายใต้ให้เข้าไปจอดเปลี่ยนขบวนขึ้นสายสีแดงที่สถานีชุมทางบางซื่อ

“สายตะวันออกยังให้เข้าหัวลำโพง ต้องรอสายสีแดงช่วง Missing Link บางซื่อ-หัวหมากสร้างเสร็จก่อน เพราะปัจจุบันฝั่งตะวันออกจากสถานีกลางบางซื่อมีเพียงขาออกจากสถานี แต่ไม่มีขาเข้า แต่จริง ๆ มีทางรถไฟเดิมอยู่ แต่มีจุดจอดรถไฟ 10 จุด ซึ่งท่านรัฐมนตรีดูแล้วไม่เห็นด้วย จึงตัดทางนี้ออกไป” แหล่งข่าวกล่าว

และ ระยะที่ 3 ปี 2566 ยกเลิกทั้ง 120 ขบวน ไม่เข้าหัวลำโพงอีก ในระยะนี้คาดว่าจะเริ่มได้เอกชนจะร่วมลงทุน PPP สายสีแดง ทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ตลิ่งชัน-ศิริราช, รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และ Missing Link บางซื่อ-ตลิ่งชัน-หัวลำโพงแล้ว คาดว่าจะก่อสร้างสายทางที่ขาดไปได้ทัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 6:12 am    Post subject: Reply with quote

ค้านการปิดหัวลำโพง - บ.ก. ตอบจดหมาย ค้านการปิดหัวลำโพง
คอลัมน์ บ.ก.ตอบจดหมาย
เผยแพร่: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:07 น.


ค้านการปิดหัวลำโพง –
เรียน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด

สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงเป็นสถานีประวัติศาสตร์ อยู่คู่กับคนไทย การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีดำริจะปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ในเดือนพฤศจิกายน 2564 และยังให้สัมภาษณ์ “รถไฟต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง” เป็นการคิดแทนประชาชน ดูแคลนคนรถไฟ

ทั้งที่การปิดสถานีรถไฟหัวลำโพงไม่มีแผนรองรับที่ชัดเจน โดยอ้างเหตุจากการจะเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ ทำให้ ต้องเปลี่ยนสถานีต้นทางหรือสถานีนอกเมือง ขาดหลักวิชาการ ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ทำให้ประชาชน เดือดร้อน โดยประชาชนที่เคยเดินทางโดยรถไฟสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือใช้สถานีรังสิตเป็นสถานีต้นทาง ส่วนทางสายใต้ใช้สถานีตลิ่งชันเป็นสถานีต้นทาง และสายตะวันออกใช้สถานีมักกะสันเป็นสถานีต้นทาง

สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงมีโครงสร้างด้านเส้นทางการเดินรถที่สำคัญ มีรถโดยสารสาธารณะต้นทางและทางผ่านจำนวนมาก มีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน ประชาชนเดินทางเข้า-ออกไปทางฝั่งธนบุรีเดินทางไปทิศใต้และตะวันตกได้สะดวกรวดเร็ว และการที่ประชาชนต้องเดินทางหลายต่อกว่าจะถึงจุดหมาย เป็นการเพิ่มเวลาการเดินทาง และเพิ่มค่าโดยสารกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน และรถไฟยังเป็นระบบการขนส่งที่ช่วยแก้ปัญหาจราจร


ปัญหาการทำขบวนรถ ตั้งแต่ขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพงจนขบวนรถออก มีขั้นตอนมากมายจนกว่าจะ นำรถแต่ละชนิดออกไปทำขบวน ถ้าเป็นรถจักรจะตรวจซ่อมบำรุงซ่อมเบา (ถ้าซ่อมหนักส่งโรงงานมักกะสัน) เมื่อสภาพพร้อมใช้งาน จะเติมน้ำ เติมน้ำมัน วิ่งเข้าหัวลำโพงเตรียมพร้อมลากจูงทำขบวน ถ้าเป็นรถดีเซลรางและ รถโดยสารเมื่อถึงปลายทางสถานีหัวลำโพง นำรถเข้าโรงรถดีเซลรางกรุงเทพ ตรวจซ่อมบำรุง (ถ้าหนักส่งโรงงานมักกะสัน)



เมื่อสภาพพร้อมใช้งานจะเติมน้ำ เติมน้ำมัน รถดีเซลรางสามารถเคลื่อนที่ด้วยตัวเองจะวิ่งเข้าทำขบวน ส่วนตู้รถโดยสารนำออกไปรอในย่านเพื่อสับเปลี่ยนจัดเป็นขบวนรถในแต่ละสายเดินทาง โดยเจ้าหน้าที่จะเอารถสับเปลี่ยนมาต่อทำขบวน (พนักงานที่ทำหน้าที่สับเปลี่ยนทำขบวนต้องมีความสามารถเฉพาะทางอย่างยิ่ง ต้องเรียนรู้ยาวนาน)

มีความสำคัญอย่างยิ่งถ้าเปลี่ยนสถานีต้นทางเป็นสถานีต้นทาง รังสิต ตลิ่งชัน มักกะสัน มีความจำเป็นต่อการทำขบวนรถความปลอดภัยของประชาชน จะต้องสร้างโรงรถซ่อมบำรุง (ซ่อมเบา) ขึ้นมาอีก 3 แห่ง แทนโรงรถจักรบางซื่อและโรงรถดีเซลรางกรุงเทพ เพื่อตรวจซ่อมบำรุงเติมน้ำเติมน้ำมันให้รถชนิดต่างๆ อยู่ในสภาพพร้อมออกทำขบวน และสิ่งหนึ่งที่สำคัญต้องมีพื้นที่ทำย่านวางพวงรางและวางรางจำนวนมากในแต่สถานีใหม่ เพื่อทำสับเปลี่ยนนำรถชนิดต่างๆ เข้าทำขบวน เป็นการทำงานที่ใช้บุคลากรที่มีความชำนาญงานเฉพาะด้าน ต้องสั่งสมประสบการณ์มายาวนาน มิใช่จะนำใครมาทำก็ได้ ผู้บริหารทุกระดับชั้น

แม้กระทั่งข้าราชการการเมือง ก็ไม่สามารถเข้าใจในระบบการทำงานของพนังงานการรถไฟ และยังมีผลกระทบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายมิติ ด้วยเหตุดังกล่าว การปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และย้ายสถานีรถไฟต้นทางไปอยู่นอกเมืองและเหตุผลอื่นๆ อีกหลายประการ ดังนั้นการปิดหัวลำโพงทำให้ประชาชนเดือดร้อนประเทศชาติเสียประโยชน์ การรถไฟฯ ต้องเสียงบประมาณอีกจำนวนมาก ประชาชนและพนักงานการ รถไฟฯ คัดค้านการปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง
ประชาคมคัดค้านการให้เช่าที่ดินรถไฟมักกะสัน (ปค.มส.)

ตอบ: เป็นข้อคัดค้าน ที่คมนาคมและการรถไฟฯควรมีคำตอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2021 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

#ป้าบุดบาพาชมพิพิธภัณฑ์
ป้าบุดบา
เผยแพร่: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 18:15 น.

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ร ถ ไ ฟ ไ ท ย
สำหรับคนอื่น นี่คือ พิพิธภัณฑ์
แต่สำหรับ น้าสำเนียง นี่คือ ความผูกพัน
นี่คือเรื่องของผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่งซึ่งใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตให้บริการบนรถไฟ และมีความสุขที่จะต่ออายุการทำงาน ด้วยการใช้เวลาในทุกวันนี้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาและวิวัฒนาการของรถไฟไทยอยู่ในพื้่นที่เล็กๆ ของพิพิธภัณฑ์ต่อไป
นี่เป็นคลิปที่ฉันมีความสุขในการทำมาก
ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ในการทำสิ่งใหม่ๆ
วันที่ไปหาน้าสำเนียง ก็มีเพียงกล้องหนึ่งตัวที่ตัดสินใจในตอนนั้นว่า "ถ่ายวีดีโอดีกว่า" แล้วก็ยืนถือกล้องคุยกับน้าไป ถ่ายไป
ขาตั้งกล้องก็ไม่มี ภาพเอียงไปไหวมา ไม่ค่อยได้เรื่องสักเท่าไหร่
อัดเสียงก็ไม่เป็น กลายเป็นว่าเสียงฉันที่คุยกับน้าสำเนียงอย่างเป็นกันเอง เข้ากล้องมากกว่าเสียงน้าที่นั่งอยู่ไกลๆ
แถมยังงกๆ เงิ่นๆ กับโปรแกรมตัดต่อ แล้วโปรแกรมเจ้ากรรมก็รวนจนฉันบันทึกไฟล์ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ทำใกล้เสร็จเมื่อสองวันที่แล้ว จนต้องเริ่มทุกอย่างใหม่
ถอนใจเฮือกใหญ่
แต่ก็ไม่ได้คิดจะถอดใจ
ทำเสร็จแล้วก็ย้าวยาว
ไม่รู้ว่าจะตัดให้สั้นกว่านี้ได้ยังไง
ไม่รู้ว่าจะมีคนดูสักเท่าไหร่
แต่ฉันก็มีความสุขที่สุด
ดูไป ยิ้มไป
และฉันก็คิดว่า ถ้าน้าสำเนียงได้เห็น
คงจะยิ้มไม่ต่างจากฉันสักเท่าไหร่
แค่นั้นก็ดีใจที่สุดแล้ว 😊
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2021 3:52 pm    Post subject: Reply with quote

Financial Times กล่าวถึงการสั่งปิดหัวลำโพง
https://www.ft.com/content/b014121d-5b59-4812-8779-e5f3d41fc2c4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 12:59 am    Post subject: Reply with quote

สรุป! ตัด96ขบวนไป”บางซื่อ”เข้าหัวลำโพงได้22ขบวน
*ช่วงเร่งด่วนเช้ากับเย็นจัดชัดเติ้ลบัสเยียวยารับส่ง
*สถานีกลางบางซื่อ-แอร์พอร์ตลิ้งก์มักกะสัน 15 บ.
*กรรมการเสนอ”ศักดิ์สยาม”เคาะให้จบ 4 มี.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2850366281851538

ยินดีกับขบวนที่จะได้เข้าสถานีกรุงเทพต่อ 22ขบวน
เลขที่ออกได้แก่
สายเหนือ/อีสาน/ใต้รวม 8 ขบวน ได้แก่ ข.301/302, 341/342 กับ 313/314 และ 355/356
กับสายตะวันออก 14 ขบวน ได้แก่ ข.275/276,279/280,281/282,283/284, 371/372, 383/384, 391 และ 380
จัด shuttle bus วิ่งให้บริการระหว่างสถานีมักกะสัน-สถานีกลางบางซื่อ 15 บาท ทั้งหมดรอเคาะ 4 มี.ค.64
ป.ล. อาจมีบางขบวนที่ต้องปรับเวลาเดินรถใหม่ในช่วงที่ผ่านพื้นที่ กทม. ในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัดจากขบวนรถไฟวิ่งผ่านจุดตัด
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3852714268108823
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 31, 32, 33  Next
Page 8 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©