Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180566
ทั้งหมด:13491800
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 71, 72, 73  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นสัญญาแล้ว! สายสีชมพูเข้าเมืองทอง 4 พันล้าน บีทีเอสเร่งตอกเข็ม ก.ค.นี้ เปิดปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 16:54 น.
ปรับปรุง: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 16:54 น.
มีเฮ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู NBM ลุยตอกเสาเข็มกลางปีนี้ เข้าเมืองทองฯ
เผยแพร่: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 16:47 น.

รฟม.เซ็นสัญญาฉบับแก้ไข NBM “รถไฟฟ้าสีชมพู” ต่อเข้าเมืองทอง 3 กม. “อนุทิน” ยันค่าโดยสารรวมสีชมพูไม่เกิน 42 บาท ด้าน รฟม.เร่งเวนคืน คาดเริ่มตอกเข็ม ก.ค.นี้ บีทีเอสพร้อมเร่งก่อสร้าง เล็งเปิดให้บริการพร้อมสายหลักช่วงสถานีศูนย์ราชการ

วันนี้ (23 ก.พ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไข กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) โดยนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ NBM โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งอย่างเต็มที่ โดยกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้าให้เห็นเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของงานก่อสร้าง และงานระบบรถไฟฟ้า และเพื่อยกระดับโครงข่ายเส้นทางของระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงได้อนุมัติให้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

การลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ ระหว่าง รฟม.กับ NBM ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ ส่วนต่อขยายนี้จะเพิ่มศักยภาพการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสีชมพูทั้งระบบจะไม่เกิน 42 บาท

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า สายสีชมพูต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี มีวงเงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท โดย NBM เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และภาครัฐได้รับสิทธิและผลตอบแทนที่ดีกว่าเงื่อนไขเดิม โดยจะมีการเวนคืนอยู่ 2 จุด คือ บริเวณสถานีศรีรัช เพื่อขยายสถานีรองรับส่วนต่อขยาย และพื้นที่ใต้ทางด่วนบางส่วน โดยจะใช้ลักษณะรอนสิทธิ์ มีวงเงินเวนคืนประมาณ 200 ล้าน

สำหรับแนวเส้นทางส่วนต่อขยายมีจุดเริ่มต้นบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ที่สถานีศรีรัช ก่อนเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี (สถานี MT-01) และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี (สถานี MT-02) รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร มีรูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับ ประกอบด้วย 2 สถานี ใช้เวลาก่อสร้าง 37 เดือน ซึ่ง รฟม.จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. 2564 ก่อสร้างจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ในปี 2567 คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 13,785 คน/เที่ยว/วัน

สำหรับความคืบหน้าโครงการสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธินนั้น ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่ายังอยู่ในการเจรจากับผู้รับสัมปทาน คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ หากได้ข้อยุติจะเสนอ ครม.เพื่อเห็นชอบร่างแก้ไขสัญญาเช่นเดียวกับสายสีชมพูต่อไป โดยเชื่อว่าจะยังสามารถเจรจาได้ ยังไม่ใช่ทางตันที่จะเจรจารายละเอียดผลกระทบร่วมกัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า ในระหว่างนี้บริษัทฯ จะเร่งเตรียมความพร้อม เมื่อ รฟม.ออกหนังสือ NTP จะเริ่มก่อสร้างได้ทันที และจะเร่งก่อสร้างให้เร็วที่สุด หากเป็นไปได้จะให้ส่วนต่อขยายพร้อมกับส่วนเส้นทางหลักที่จะเปิดเดินรถส่วนสุดท้ายไปถึงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู รฟม.ได้ทำสัญญาร่วมลงทุนฯ กับ NBM และเริ่มดำเนินงานก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาคืบหน้า 69.51% และเปิดให้บริการประชาชนได้ภายในปี 2565 คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 200,000 คน/วัน



ลงนามแล้ว!!ก.ค.นี้ ตอกเข็มสร้าง"สายสีชมพู"เข้าเมืองทองฯ
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.19 น.

ก.ค.นี้ ตอกเข็มสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าเมืองทองฯ NBM ลั่นเร่งดันเต็มที่เปิดบริการเร็วขึ้นปี 66 จากเดิม พ.ย.67 อดใจรอนั่ง 2 สถานีค่าโดยสาร 14-17 บาท มั่นใจผู้โดยสารพรึ่บวันละ 1.5 หมื่นคน



เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่กระทรวงคมนาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถ และซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไขกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน
โดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) เป็นผู้รับสัมปทาน โดยมี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงนาม มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม เป็นสักขีพยาน
          
นายอนุทิน กล่าวว่า การลงนามสัญญาฯ ครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน อันจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งการก่อสร้างครั้งนี้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงิน ผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ทั้งนี้ ภายในเมืองทองธานี มีทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ ศูนย์แสดงสินค้า และที่อยู่อาศัย คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายประมาณ 15,000 คนต่อวัน เพื่อเชื่อมต่อในการเดินทางทุกทิศทางเข้าสู่กรุงเทพฯ โดยค่าโดยสารเมื่อรวมกับสายสีชมพูจะไม่เกิน 42 บาท


         

นายภคพงศ์ กล่าวว่า คาดว่า รฟม. จะส่งมอบพื้นที่และออกประกาศให้เริ่มงาน (NTP) ได้ประมาณเดือน ก.ค.- ส.ค.64 ซึ่งหลังจากนั้นจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ทันที สำหรับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวจะต้องมีการเวนคืนที่ดินบริเวณสถานีศรีรัช เนื่องจากต้องมีการขยายสถานีเพื่อรองรับส่วนต่อขยาย รวมถึงบริเวณพื้นที่ใต้ทางด่วนศรีรัช โดยใช้งบเวนคืนที่ดินประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ร่วมกับค่างานก่อสร้าง รวมมูลค่าโครงการเป็น 4.2 พันล้านบาท
        
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า บริษัทฯ พร้อมดำเนินการก่อสร้างทันทีหลังจากได้ NTP หรือประมาณเดือน ก.ค.นี้ ซึ่งตามสัญญาจะต้องใช้เวลาก่อสร้าง 37 เดือน แล้วเสร็จประมาณเดือน พ.ย.67 แต่บริษัทฯ จะพยายามเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการพร้อมกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนตลอดทั้งเส้นประมาณปี 66 ทั้งนี้ เมื่อใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูตลอดสาย รวมส่วนต่อขยายจะมีค่าโดยสาร 14-42 บาท แต่หากใช้บริการส่วนต่อขยายเพียงอย่างเดียวค่าโดยสารจะอยู่ที่ 14-17 บาท และหากใช้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าของ รฟม. ได้แก่ น้ำเงิน ชมพู และม่วง จะจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว ส่วนสีเขียว เนื่องจากหน่วยงานที่ดูแลเป็นคนละหน่วยงาน ต้องมีการเจรจาอีกครั้ง
               
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะใช้ลงทุนโครงการ 4.2 พันล้านบาทนั้น ทาง บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีแลนด์ จะช่วยลงทุนค่าก่อสร้างไม่เกิน 1.25 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือทางกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์จะเป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตามสำหรับสถานีศรีรัช จะมี 3 ชานชาลาคล้ายกับสถานีสยาม ที่สามารถมาเปลี่ยนขบวนรถเพื่อไปยังสายสีลม และสายสุขุมวิท โดยผู้โดยสารไม่ต้องออกจากสถานี สำหรับในส่วนของขบวนรถที่มาให้บริการนั้น จะใช้ขบวนเดียวกันกับสายสีชมพู ซึ่งขณะนี้ได้สั่งซื้อทั้งขบวนรถสายสีชมพู และสายสีเหลืองมาแล้วรวม 88 ขบวน โดยในอนาคตหากมีผู้มาใช้บริการมากขึ้นก็จะมีการจัดหาขบวนรถเพิ่มขึ้นต่อไป
 
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร (กม.) มี 2 สถานี วงเงินลงทุน 4.2 พันล้านบาท จุดเริ่มต้นอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะเชื่อมต่อกับสถานีศรีรัช (PK-10) ของโครงการส่วนหลัก ก่อนเลี้ยวขวาเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี บริเวณอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานี MT-01 และวิ่งต่อเนื่องสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ที่ตั้งของสถานี MT-02 ระยะเวลาก่อสร้าง 37 เดือน ประมาณการผู้โดยสารปีที่เปิดให้บริการ 13,785 คน-เที่ยว/วัน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2845251849029648
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2021 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. จับมือ BTS เดินหน้าสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย คาดเสร็จภายในปี 66
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:10 น.

รฟม. ลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ กับ กลุ่มบริษัท บีทีเอส เดินหน้าก่อสร้าง "รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย" ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี โดยพร้อมลุยทันทีคาดสร้างเสร็จในปี 2566


วันที่ 23 ก.พ. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไข กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) หรือ กลุ่มบีทีเอส


ทางด้าน นายอนุทิน กล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งอย่างเต็มที่ โดยกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้าให้เห็นเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของงานก่อสร้าง และงานระบบรถไฟฟ้า และเพื่อยกระดับโครงข่ายเส้นทางของระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ รัฐบาลจึงได้อนุมัติให้บรรจุ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ ระหว่าง รฟม. และ NBM ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ จึงนับเป็นอีกก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน อันจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชน


ขณะที่ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม. ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม ให้เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ในรูปแบบสัญญาร่วมลงทุนฯ กับ NBM ซึ่งเริ่มดำเนินงานก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 61 และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ภายในปี 65

ในขณะเดียวกัน รฟม. ได้ดำเนินการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี พบว่าโครงการฯ ดังกล่าวนั้น เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะโดยสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้อีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอโครงการฯ ตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จ และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี มีวงเงินลงทุนประมาณ 4,200 ล้านบาท โดยผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และกาครัฐได้รับสิทธิและผลตอบแทนที่ดีกว่าเงื่อนไขเดิม แนวเส้นทางส่วนต่อขยายมีจุดเริ่มต้นบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ที่สถานีศรีรัช ก่อนเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี (สถานี MT-01) และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี (สถานี MT-02) รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรมีรูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับ ประกอบด้วย 2 สถานี โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 37 เดือน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2567 และเมื่อโครงการฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการ 13,785 คน/เที่ยว/วัน

ทางด้าน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ NBM กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น บริษัทจะเร่งให้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี 66 ราคา ตลอดเส้นทาง โดยค่าโดยสารจะจัดเก็บสูงสุดที่ไม่เกิน 42 บาท ซึ่งเป็นราคา ณ วันที่มีการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการ แต่เมื่อเปิดให้บริการแล้วจะต้องมีการพิจารณาราคาที่ลงนามฯ ประกอบกับดัชนีราคาผู้บริโภคในขณะนั้นอีกครั้งว่าใครจัดเก็บค่าโดยสารที่เท่าไร

ส่วนปัญหาการคิดค่าแรกเข้านั้นในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองมีข้อตกลงไม่จัดเก็บค่าแรกเข้า เนื่องจากในสัญญาระบุชัดเจนว่าจะไม่เก็บเรื่องของค่าแรกเข้า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่อเข้ามาในระบบ รถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ยกเว้นกรณีรถไฟฟ้า ระบบอื่นจะเดินทางต่อเชื่อมเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่บีทีเอส ให้บริการอยู่ในปัจจุบันจะต้องมีการเจรจาเรื่องของค่าแรกเข้าอีกครั้งในอนาคตหากจะให้มีการปรับลงหรือยกเลิกค่าแรกเข้า.
https://www.youtube.com/watch?v=wNxZUi4Fzxw

'คมนาคม'ปักวันตอกเสาเข็มสายสีชมพูเข้าเมืองทอง

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:36 น.

23 ก.พ.2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไข กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งอย่างเต็มที่ โดยกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี

ทั้งนี้โครงการดังกล่าว มีความก้าวหน้าให้เห็นเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของงานก่อสร้าง และงานระบบรถไฟฟ้า และเพื่อยกระดับโครงข่ายเส้นทางของระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงได้อนุมัติให้บรรจุโครงการฯ ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ ระหว่าง รฟม. และ NBM ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ จึงนับเป็นอีกก้าวสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน อันจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชน ในส่วนของอัตราค่าโดยสาร ยืนยันว่า จะไม่เกิน 42 บาทอย่างแน่นอน

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม. ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม ให้เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ในรูปแบบสัญญาร่วมลงทุนฯ กับ NBM ซึ่งเริ่มดำเนินงานก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ภายในปี 2565 ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัชเมืองทองธานีนั้น รฟม. จะดำเนินการเวนคืนที่ดินบริเวณสถานีศรีรัช และบริเวณใต้ทางด่วนฯ โดยจะใช้งบประมาณค่าเวนคืน วงเงินประมาณ 200 ล้านบาท จากนั้นจะส่งมอบพื้นที่และออกประกาศให้เริ่มงาน (NTP) พร้อมทั้งเริ่มการก่อสร้างได้ในช่วง ก.ค.-ส.ค. 2564

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี มีวงเงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกประมาณ 200 ล้านบาท และภาครัฐได้รับสิทธิและผลตอบแทนที่ดีกว่าเงื่อนไขเดิม แนวเส้นทางส่วนต่อขยายมีจุดเริ่มต้นบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ที่สถานีศรีรัช ก่อนเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี (สถานี MT-01) และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี (สถานี MT-02) รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีรูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับ ประกอบด้วย 2 สถานี โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 37 เดือน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2567และเมื่อโครงการฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการ 13,785 คน/เที่ยว/วัน

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ NBM กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น บริษัทจะเร่งให้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 ราคา ตลอดเส้นทาง โดยค่าโดยสารจะจัดเก็บสูงสุดที่ไม่เกิน 42 บาท ซึ่งเป็นราคา ณ วันที่มีการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการฯ แต่เมื่อเปิดให้บริการแล้วจะต้องมีการพิจารณาราคาที่ลงนามฯ ประกอบกับดัชนีราคาผู้บริโภคในขณะนั้นอีกครั้งว่า จะสามารถจัดเก็บค่าโดยสารที่เท่าไหร่
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2732483060301744


Last edited by Wisarut on 02/03/2021 5:37 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2021 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีชมพูชุบชีวิตเมืองทอง อัพที่ดิน “กาญจนพาสน์” หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 - 07:03 น.

พิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไข ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี

“บีทีเอส-ซิโนไทยฯ” ปิดดีล 4,230 ล้าน สร้างรถไฟฟ้าสีชมพู “บีแลนด์” ลงขัน 1,550 ล้าน เร่งสร้างเมืองครบวงจร ดึงคนเข้าเมืองทองธานี ปลุกผีที่ดินเก่า-ปัดฝุ่นโปรเจ็กต์ยักษ์ติดทะเลสาบ 400 ไร่ หวังดันราคาที่ดินพุ่งตารางวาละ 1 แสนบาท ไทม์ไลน์ก่อสร้างตอกเข็มปีนี้ คาดเสร็จปี’66 เปิดพร้อม “แคราย-มีนบุรี”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเซ็นสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา จัดหาระบบ การเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. 2 สถานี

ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับ บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (NBM) นิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ในสัดส่วน 75% บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 15% และ บมจ.ราชกรุ๊ป 10% ผู้รับสัมปทานสายสีชมพูส่วนหลักแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. จำนวน 30 สถานี



“กาญจนพาสน์” ทุ่มหนัก
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ส่วนต่อขยายสายสีชมพูเป็นข้อเสนอที่บริษัทลงทุนเพิ่มเติมจากสัมปทานหลัก ใช้เงินลงทุน 4,230 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสและพันธมิตรร่วมกันลงทุนตามสัดส่วน โดยมี บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAND) ช่วยสนับสนุนค่าก่อสร้าง 1,250 ล้านบาท และค่าซ่อมบำรุงรักษาโครงการอีกปีละ 10 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี หรือ 300 ล้านบาท

“เพื่อให้สายสีชมพูที่ได้สัมปทานสมบูรณ์มากขึ้น จึงลงทุนสร้างส่วนต่อขยายเข้าไปในเมืองทองฯ เราลงทุนเองทั้งค่าที่ดิน ก่อสร้าง และแบ่งรายได้ให้ รฟม. กว่าจะเจรจาได้ข้อยุติจนเซ็นสัญญาใช้เวลาถึง 2 ปี”

นายคีรีกล่าวอีกว่า ในส่วนของบีแลนด์มีโครงการนี้อยู่ในแผนเดิมอยู่แล้ว เพื่อรองรับคนที่อาศัยในเมืองทองฯร่วม 2 แสนคน และคนมาดูงานแสดงสินค้าและศูนย์ประชุมที่อิมแพ็ค คนมาติดต่อราชการต่าง ๆ อีกอย่างน้อย 15 ล้านคน ดังนั้น การสร้างอินฟราสตรักเจอร์เข้าไป ทำให้คนเดินทางสะดวก ลดปัญหาการจราจรข้างในและโดยรอบได้เป็นอย่างดี

บีแลนด์ตุนเงินสด
แหล่งข่าวจาก บมจ.บางกอกแลนด์กล่าวว่า บริษัทจะร่วมลงทุนสายสีชมพูส่วนต่อขยายกับบีทีเอสไม่เกิน 1,250 ล้านบาท ตามที่ได้เซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOU) ไว้ ซึ่งบริษัทมีกระแสเงินสดในมือประมาณ 5,000 ล้านบาท พร้อมลงทุน โดยจะแบ่งจ่ายประมาณ 2 ปีครึ่ง

“ที่ดินเมืองทองธานี 4,000 ไร่ พัฒนาไปเกือบหมดแล้ว เหลืออยู่ 600 ไร่ คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เพราะเป็นอสังหาฯเพื่อการลงทุน มีทั้งสิ่งปลูกสร้างเป็นโรงแรม ศูนย์การค้า และที่ดินเปล่า ทะเลสาบอีก 380 ไร่ ที่เตรียมจะนำมาพัฒนารับรถไฟฟ้าและจะสร้างสถานีที่ทะเลสาบด้วย”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดได้รีวิวการลงทุนใหม่ โดยจะร่วมกับพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจแต่ละส่วน จากเดิมก่อนโควิดมีแนวคิดจะลงทุนธุรกิจรีเทล ช็อปปิ้งมอลล์ อาคารสำนักงาน รวมถึงธุรกิจสวนน้ำขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท

ปัดฝุ่นแลนด์แบงก์
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2563 นายพอลล์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บางกอกแลนด์ ได้แจ้งที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 48 ว่า มีโครงการเดียวที่ยังต้องดำเนินการต่อ คือ โครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่จะเข้าเมืองทองธานี โดยร่วมทุนกับบีทีเอส กรุ๊ป โดยจะใช้เงินลงทุนสำหรับก่อสร้าง 1,250 ล้านบาท มีงบประมาณรองรับอยู่แล้ว

หากมีรถไฟฟ้าเข้ามาจะเกิดผลดีสำหรับหลาย ๆ โครงการ รวมถึงราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันบริษัทมีที่ดินรอบทะเลสาบกับที่ดินอื่น ๆ ในเมืองทองธานี 600 ไร่ โดยราคาที่บันทึกไว้ในงบการเงิน 80,000-100,000 บาท/ตร.ว. แต่เมื่อรถไฟฟ้าเข้ามา ราคาที่ดินจะขยับขึ้นอีกแน่นอน


ในส่วนของอิมแพ็คมีแผนทำทางเชื่อมรถไฟฟ้าเพื่อสร้างความสะดวกให้ลูกค้าที่มาดูคอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า จะทำให้บริษัทมีงานมากขึ้น ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มจากค่าเช่าพื้นที่และร้านค้าที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่โควิด-19 ด้วยจะคลี่คลายเมื่อไหร่

นอกจากนี้จะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น เช่น ตำรวจมาเปิดหน่วยงานที่นี่ มีการสร้างบ้านพักตำรวจ และอื่น ๆ โดยบริษัทมีแผนจะสร้างสะพานลอยที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเพื่อเข้าคอสโม บาซาร์ และเชื่อมกับออฟฟิศต่าง ๆ ที่บริษัทให้เช่าอยู่ ทำให้คนเดินทางมาใช้จ่าย ทำงาน พักอาศัยที่เมืองทองธานีง่ายขึ้น

อนึ่ง นายพอลล์ เป็นทายาทของนายอนันต์ กาญจนพาสน์ ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคชราไปก่อนหน้านี้ และนายอนันต์ เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ผู้บุกเบิกธุรกิจรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทย ทั้งเป็นเอกชนรายเดียวที่รับสัมปทานสายสีเขียว จากกรุงเทพมหานคร (กทม.)

แสนสิริ-LPN รอพัฒนา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมี บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ ซื้อที่ดิน 26 ไร่ ในเมืองทองธานี ใกล้กับอาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ และสถานีสายสีชมพูส่วนต่อขยาย วงเงิน 952 ล้านบาท พัฒนาบ้านเดี่ยว “โครงการบ้าน 365” จำนวน 182 ยูนิต มูลค่า 1,890 ล้านบาท ราคาขายเริ่มต้น 9-20 ล้านบาทต่อยูนิต

และปลายปี 2560 บมจ.แสนสิริร่วมกับ BTS ซื้อที่ดินตลาดนัดมะลิ ในเมืองทองธานี และที่ดินข้างเคียง เนื้อที่ประมาณ 20-30 ไร่ ติดกับสนามฟุตบอลของสยามสปอร์ต เป็นแลนด์แบงก์เก็บไว้รอพัฒนาโครงการร่วมกันรับสายสีชมพูส่วนต่อขยาย มีแผนจะขึ้นโครงการมิกซ์ยูส



สร้างปีนี้ได้นั่ง ก.ย.ปี’67
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม.อนุมัติให้เอกชนลงทุนสายสีชมพูส่วนต่อขยาย จากการศึกษาโครงการพบว่า เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ สามารถเชื่อมต่อกับสายสีชมพูสายหลักจะเปิดในปี 2565 ช่วยให้ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้อีกทางหนึ่ง มีเงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท

โดยผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงค่าเวนคืนที่ดินและภาครัฐได้รับสิทธิและผลตอบแทนที่ดีกว่าเงื่อนไขเดิม

แนวเส้นทางส่วนต่อขยายมีจุดเริ่มต้นบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับสายสีชมพูสายหลักที่สถานีศรีรัช ก่อนเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางด่วนอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. มี 2 สถานี คือ 1.สถานีอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ตั้งอยู่วงเวียนเมืองทองธานี มีทางเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ใกล้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วัดผาสุกมณีจักร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

และ 2.สถานีทะเลสาบ ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบ ใกล้กับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และเอสซีจี สเตเดี้ยม รูปแบบก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับ ใช้ระยะเวลาสร้าง 37 เดือน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้เดือน ก.ย. 2567 มีปริมาณผู้โดยสาร 13,785 คน/เที่ยว/วัน ค่าโดยสารจะคิดอัตราเดียวกับส่วนหลักคือ เริ่มต้น 14 บาท สูงสุดไม่เกิน 42 บาท

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ในฐานะกรรมการ บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล กล่าวว่า ในการลงทุนส่วนต่อขยายทางบีแลนด์จะร่วมลงทุน 1,250 ล้านบาทที่เหลือ NBM จะออกทั้งหมด จะเริ่มก่อสร้างได้ ก.ค.-ส.ค. 2564 จะพยายามก่อสร้างให้เสร็จพร้อมช่วงแคราย-มีนบุรี ภายในปี 2566

นายคีรียังกล่าวถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่ รฟม.ล้มประมูลไปแล้วว่า ยังไม่รู้จะประมูลใหม่ได้หรือไม่ แต่อยากให้รัฐกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลกันอย่างแฟร์ ๆ ทำตามระเบียบและข้อกฎหมาย ให้เหมือนการประมูลโครงการต่าง ๆ ที่เคยเปิดประมูลกันมา สู้กันด้วยมูลค่า การตอบแทนที่จะให้กับประเทศชาติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2021 11:18 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสายสีชมพูชุบชีวิตเมืองทอง อัพที่ดิน “กาญจนพาสน์” หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 07:03 น.



รถไฟฟ้า"สายสีชมพู" ส่วนต่อขยาย เชื่อม “เมืองทอง”ดันที่ดินพุ่ง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา13:29 น.


รถไฟฟ้า"สายสีชมพู" ส่วนต่อขยาย เชื่อม “เมืองทอง”ดันที่ดินพุ่ง
ตอกเข็ม รถไฟฟ้า สายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เชื่อม เส้นทางหลัก ดันราคาที่ดิน เมืองทองธานี พุ่ง “บีแลนด์” ลุยลงทุนมิกซ์ยูส โรงแรม-ที่อยู่อาศัย 6,000 ล้าน หลัง บีทีเอส –ซิโนทัย -รฟม. ลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล



อาณาจักรเมืองทองธานี กว่า4,000 ไร่ คึกคัก ขึ้นอีกครั้งเมื่อ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ลงนามในสัญญากับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) หรือ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซีและ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะพันธมิตร ก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8กิโลเมตร มูลค่ากว่า4,000 ล้านบาท มีเงื่อนไขว่า ผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้การก่อสร้าง ใช้เวลา 37 เดือน แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2567 มีปริมาณผู้โดยสารตามคาดการณ์ 13,785 คนต่อเที่ยวต่อวัน รถไฟฟ้า"สายสีชมพู" ส่วนต่อขยาย เชื่อม “เมืองทอง”ดันที่ดินพุ่ง
รถไฟฟ้า"สายสีชมพู" ส่วนต่อขยาย เชื่อม “เมืองทอง”ดันที่ดินพุ่ง




อย่างไรก็ตามนอกจากความสะดวกสบายของการเดินทางแล้ว สิ่งที่ขยับตามมาโดยไม่มีเงื่อนไขนั่นคือ ราคาที่ดิน ประเมินว่า ปรับขึ้น 20% ขึ้นไปจนถึง1เท่าตัว จากอิทธิพลรถไฟฟ้า ขณะราคา ต่อตารางวา ช่วง 1-2ปีก่อน เกือบ 1แสนบาทต่อตารางวา เนื่องจาก พื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ห่างถนนสายหลักอย่างแจ้งวัฒนะ มีเพียงถนนภายในโครงการและทางขึ้น-ลงทางพิเศษ(ทางด่วน) ส่วนที่ดินติดถนน แจ้งวัฒนะราคา 3-4แสนบาทต่อตารางวา อย่างไรก็ตาม ช่วงมีแผน ก่อสร้างดึงเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าพื้นที่ เมืองทองธานี ราว2ปีก่อน บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีแลนด์ วางแผนนำที่ดินผืนใหญ่ 600ไร่ พัฒนารูปแบบ มิกซ์ยูสหรูทั้งโรงแรม ตลอดจนที่อยู่อาศัยมูลค่า 6,000 ล้านบาทบริเวณทะเลสาบรถไฟฟ้า"สายสีชมพู" ส่วนต่อขยาย เชื่อม “เมืองทอง”ดันที่ดินพุ่ง
รถไฟฟ้า"สายสีชมพู" ส่วนต่อขยาย เชื่อม “เมืองทอง”ดันที่ดินพุ่ง


สำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู แนวเส้นทางส่วนต่อขยายมีจุดเริ่มต้นบนถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายหลัก ที่สถานีศรีรัช ก่อนเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 39 ขนานกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี (สถานี MT–01) และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี (สถานี MT–02) รวมระยะทาง 2.8 กิโลเมตร มีรูปแบบเป็นทางยกระดับทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

สวัสดีค่ะ พบกับน้องทันใจอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีทีโอที (PK 13) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:54 น.

สำหรับสถานีทีโอที (PK 13) หลังจากที่ได้ดำเนินการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นจำหน่ายตั๋วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ในส่วนของการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นชานชาลาแล้วนะคะ หากแล้วเสร็จก็จะเริ่มการติดตั้งบันไดภายในสถานี รวมไปถึงการติดตั้งโครงหลังคาสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีตามลำดับค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ใดมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ อย่าลืมติดตามรับชมกันนะคะ



สวัสดีค่ะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีกรมชลประทาน (PK 05) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:31 น.

สำหรับสถานีกรมชลประทาน (PK 05) ขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งคานคอนกรีตสำเร็จรูป I - Girder ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา หากแล้วเสร็จก็จะเริ่มติดตั้งโครงหลังคาสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีเป็นลำดับถัดไปค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ใ… See More





น้องทันใจขอประชาสัมพันธ์การดำเนินงานปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราวทุกช่องทาง บนถนนแจ้งวัฒนะกันอีกสักครั้งนะคะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 15:33 น.

ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราวทุกช่องทาง บนถนนแจ้งวัฒนะ ฝั่งขาเข้า จำนวน 3 จุด และฝั่งขาออก จำนวน 3 จุด โดยมีรายละเอียดดังนี้
ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราวทุกช่องทาง ถนนแจ้งวัฒนะ ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าหลักสี่
- วันที่ 2 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 04.00 น. บริเวณถัดจากซอยแจ้งวัฒนะ 11/2 ถึง บริเวณก่อนถึงแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
- วันที่ 2 - 6 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 01.00 น. บริเวณบนสะพานข้ามคลองประปา และบริเวณทางเข้า ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี แจ้งวัฒนะ ถึง บริเวณก่อนถึงซอยแจ้งวัฒนะ 14
- วันที่ 2 - 5 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 01.00 น. บริเวณอาคารศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ ถึง บริเวณสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์
ปิดเบี่ยงจราจรชุ่วคราวทุกช่องทาง ถนนแจ้งวัฒนะ ฝั่งขาออก มุ่งหน้าปากเกร็ด
- วันที่ 3 - 7 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 04.00 น. บริเวณถัดจากแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถึง บริเวณถัดจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สาขาแจ้งวัฒนะ
- วันที่ 2 - 6 มี.ค. 64 เวลา 01.00 - 04.00 น. ถัดจากซอยแจ้งวัฒนะ 15/1 ถึง บริเวณตรงข้ามทางเข้า ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาแจ้งวัฒนะ และบริเวณสะพานข้ามคลองประปา
- วันที่ 2 - 5 มี.ค. 64 เวลา 01.00 - 04.00 น. บริเวณตรงข้ามสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ ถึง บริเวณ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
*** ทั้งนี้ ผู้ใช้ทางเบี่ยงใช้ช่องจราจรฝั่งตรงข้าม 1 ช่องทางขวา โดยผู้ใช้ทางเข้า – ออก บริเวณซอยที่อยู่ในพื้นที่ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานและผู้ใช้ทางเข้า – ออก นอกเหนือพื้นที่ปฏิบัติงาน สามารถใช้งานได้ตามปกติ ***
ขออภัยในความไม่สะดวกและฝากผู้ใช้เส้นทางชะลอความเร็วก่อนถึงพื้นที่ปฏิบัติงานกันด้วยนะคะ




น้องทันใจขออัพเดทการปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราวทุกช่องทาง บนถนนติวานนท์ เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้เส้นทางกันอีกครั้งนะคะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
จันทร์ที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 21.51 น.

ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราวทุกช่องทาง บนถนนติวานนท์ ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าแคราย 3 จุด ดังนี้ค่ะ
- วันที่ 1, 10 - 11, 14 - 19 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 04.00 น. บริเวณซอยติวานนท์ 20 ถึง บริเวณสถาบันโรคทรวงอก
- วันที่ 1 - 6, 11 - 15, 19 - 21 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 04.00 น. บริเวณตรงข้ามซอยติวานนท์ 31 ถึง บริเวณซอยติวานนท์ 38
- วันที่ 1 - 3, 13 - 15, 17 - 18 มี.ค. 64 เวลา 22.00 - 04.00 น. บริเวณซอยติวานนท์ - ปากเกร็ด 6 ถึง บริเวณตรงข้ามกรมชลประทาน
*** ทั้งนี้ ผู้ใช้ทางเข้า – ออก บริเวณซอยที่อยู่ในพื้นที่ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
และผู้ใช้ทางเข้า – ออก นอกเหนือพื้นที่ปฏิบัติงาน สามารถใช้งานได้ตามปกติ ***
ขออภัยในความไม่สะดวกด้วยนะคะ และฝากผู้ใช้เส้นทางชะลอความเร็วก่อนถึงพื้นที่ปฏิบัติงานด้วยนะคะ


Last edited by Wisarut on 02/03/2021 5:36 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

สวัสดีค่ะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานนของสถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด (PK 07) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10:32 น.

สำหรับสถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด (PK 07) หลังจากที่ได้ดำเนินการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปบนชั้นชานชาลาและชั้นจำหน่ายตั๋วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งโครงหลังคาสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีแล้วนะคะ หากดำเนินการติดตั้งโครงหลังคาและหลังคาสถานีแล้วเสร็จ ก็จะเริ่มดำเนินงานสถาปัตยกรรมภายในและภายในนอกเป็นขั้นตอนถัดไปค่ะ
โฮกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีใดหรือสายทางไหนมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ อย่าลืมติดตามรับชมและเป็นกำลังใจให้น้องทันใจด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ พบกับน้องทันใจอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีทีโอที (PK 13) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:54 น.

สำหรับสถานีทีโอที (PK 13) หลังจากที่ได้ดำเนินการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นจำหน่ายตั๋วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ในส่วนของการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นชานชาลาแล้วนะคะ หากแล้วเสร็จก็จะเริ่มการติดตั้งบันไดภายในสถานี รวมไปถึงการติดตั้งโครงหลังคาสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีตามลำดับค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ใดมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ อย่าลืมติดตามรับชมกันนะคะ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:00 น.

อีกหนึ่งสายทางที่ท้าทายและใช้ครอสบีมเหมือนกับตอนที่ผ่านมา จะเป็นสายทางใดไปไม่ได้เลย นอกจากสายทาง 28 หรือสายทางจากสถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ มุ่งหน้าสู่ สถานีตลาดมีนบุรี ถ้าพร้อมแล้วตามน้องทันใจมารับชมรายการ Follow Pink ตอนความคืบหน้าการดำเนินงาน EL28 กันได้เลยค่ะ

สวัสดีค่ะ วันนี้น้องทันใจมาพร้อมกับภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีแจ้งวัฒนะ 14 (PK 11) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 09:19 น.

สำหรับสถานีแจ้งวัฒนะ 14 (PK 11) ได้ดำเนินการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็รูปและเทคอนกรีตบนชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลาเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งบันไดภายในสถานีและเตรียมการติดตั้งโครงหลังคาสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีเป็นขั้นตอนถัดไปค่ะ อีกไม่นานจะได้เห็นโครงหลังคาสำหรับสถานีนี้กันอย่างแน่นอนค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีใดหรือสายทางไหนมาอัปเดต อย่าลืมติดตามรับชมและเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 11:26 am    Post subject: Reply with quote

สวัสดีค่ะ มาพบกับน้องทันใจกันอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีแคราย (PK 02) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 13:02 น.

สำหรับสถานีแคราย (PK 02) ขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งคานคอนกรีตสำเร็จรูป I - Girder ครบทั้งด้านซ้ายและด้านขวาแล้วนะคะ โดยขั้นตอนถัดไปจะเป็นการเตรียมการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลาตามลำดับค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีใดหรือสายทางไหนมาอัปเดต โปรดติดตามรับชมกันด้วยนะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2021 12:43 am    Post subject: Reply with quote

คปอ.รฟม. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 13:46 น.

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงาน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (คปอ. รฟม.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติงาน ณ พื้นที่ก่อสร้างสถานีรามอินทรา กม.4 (PK19) สถานีมัยลาภ (PK20) และสถานีบางชัน (PK27)
โดย คปอ.รฟม. ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันและมาตรฐานการทำงานบนที่สูงอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การป้องกันอุปกรณ์ การก่อสร้างร่วงหล่นลงบนพื้นถนนหรือพื้นที่สาธารณะ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง คนรอบข้างตลอดจนผู้สัญจรโดยรอบ ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องตามประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการระบบ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน “Zero Fatal Accident” ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2561
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี เว็บไซต์โครงการ www.mrta-pinkline.com และ Line Official : MRTPinkLine


Last edited by Wisarut on 13/03/2021 1:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2021 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดรถไฟฟ้า #Monorail สายสีชมพูส่วนต่อขยาย #เมืองทองธานี เซ็นสัญญาแล้ว!!!! เอกชนลงทุนเพิ่มเอง รัฐได้ส่วนแบ่งเพิ่ม!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 12:25 น.

วันนี้ไปเอาคลิป และรายละเอียดของการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี ที่เซ็นสัญญาเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา
ดูคลิปรายละเอียดได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://youtu.be/wNxZUi4Fzxw
—————————
ซึ่งโครงการรถไฟฟ้า Monorail สายสีชมพูส่วนต่อขยายนี้ เป็นส่วนเพิ่มเติมที่ทาง BSR (กลุ่มของ BTS) ได้ยื่นไว้ในซองข้อเสนอพิเศษ ตั้งแต่แรก เพื่อให้รฟม ได้พิจารณาส่วนต่อขยาย
โดยได้ทำ EIA มาร่วม 2 ปี และอนุมัติไปเมื่อช่วงปลายปี 63 ที่ผ่านมา
ซึ่งได้เจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทาน (BSR) เพื่อให้เป็นผู้รับผิดชอบค่าก่อสร้างและจัดการที่ดินของส่วนต่อขยายทั้งหมด มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท
แต่รัฐได้ส่วนแบ่งในสัมปทานเพิ่มเติม ซึ่งทั้งรัฐบาล ประชาชน และ เอกชน ก็ได้ด้วยกันทั้งหมด
- โครงการนี้จะเริ่มก่อสร้าง ภายใน ตุลาคม 64
- ใช้เวลาก่อสร้าง 37 เดือน
- ก่อสร้างแล้วเสร็จ พฤศจิกายน 67
- โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าร่วมกับขบวนเดิมของสายหลัก
รายละเอียด ครม. อนุมัติโครงการ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1130672354037909/?d=n
—————————
รายละเอียดโครงการ ตาม EIA ส่วนต่อขยายสายสีชมพู เชื่อมต่อเมืองทองธานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1054899461615199/?d=n
ก่อนจะพูดถึงส่วนต่อขยาย ก็ต้องพูดถึงเส้นทางสายสีชมพู สายหลัก ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี
ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายรอง (Feeder Line) ซึ่งจะเชื่อมโยง และส่งคนจากต้นทาง-ปลายทาง เข้าสู่เส้นทางหลัก (Mainline) เพื่อเดินทางเข้าสู่สายอื่น
ซึ่งใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ในสายสีชมพู และเหลืองใช้รถไฟฟ้าของบริษัท Bombardier รุ่น INNOVIA Monorail 300 อาณัติสัญญาณ Cityflo 650 ซึ่งเป็นรุ่นที่ทันสมัยที่สุด รุ่นเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง แล้วที่สำคัญที่สุดคือ เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ไม่ใช้คนขับประจำรถ (อาจจะมีเจ้าหน้าที่ประจำรถในกรณีฉุกเฉิน)
โดยสายนี้จะมีจุดตัดกับสายหลักถึง 5 จุด ทั้งที่ทำอยู่ในอนาคตได้แก่
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สายสีม่วง (เปิดให้บริการแล้ว)
- สถานีหลักสี่ สายสีแดง (กำลังก่อสร้าง)
- สถานีวัดพระศรีฯ บางเขน สายสีเขียว (เปิดให้บริการแล้ว)
- สถานีวัชรพล สายสีเทา (ในอนาคต)
- สถานีมีนบุรี สายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง)
โดยสายสีชมพูก็ผ่านจุดสำคัญหลายๆจุด เช่น ศูนย์ราชการนนทบุรี, เมืองทองธานี, ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ, สำนักงานใหญ่ TOT , CAT, ไปรษณีย์ไทย, สถาบันจุฬาภรณ์, วงเวียนหลักสี่, สวนสยาม, มีทั้งมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลอีกหลายแห่งตลอดเส้นทาง
ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นแหล่งงานที่สำคัญของกรุงเทพ โซนเหนือ
—————————
แต่อย่างที่เราทราบกันดี ว่า เมืองทองธานี (ศูนย์แสดงสินค้า Impact) เป็นหนึ่งในศูนย์แสดงสินค้าที่ สำคัญ และใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีงานแสดงสินค้าเข้าออกแทบไม่ขาดสาย (ยกเว้นช่วง Covid แบบในปัจจุบัน)
ทำให้ทาง NBM (บริษัทลูกของ BSR ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง BTS, RATCH, ชิโนไทย อีกที) มองเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่เมืองทองธานี ในการส่งเสริมการเดินทางทางระบบรถไฟฟ้า เชื่อมต่อให้ถึงพื้นที่ส่วนกลางของเมืองทองธานี ซึ่งแต่เดิมห่างจากสถานีศรีรัช สายสีชมพูอยู่ประมาณ 2 กิโลเมตร
ให้เชื่อมต่อเข้ากับระบบรถไฟฟ้าได้โดยตรง โดยการทำสายแยก (Spur line) จากสายหลัก (Mainline) ที่สถานีศรีรัช มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองทองธานี อีก 2 สถานี คือ
- MT 01 สถานีชาเลนเจอร์
- MT 02 สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
—————————
เส้นทางของโครงการสายสีชมพูส่วนต่อขยาย สถานีศรีรัช-เมืองทองธานี
เริ่มต้นจากด้านตะวันออกของสถานีศรีรัช ซึ่งจะเป็นประแจแยกออกจากสายหลัก (Mainline) เพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 3 ของสถานีศรีรัช ซึ่งจะเป็นสถานีเดียวของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่มี 3 ชานชาลา
โดยตัวชานชาลาจะอยู่ด้านทิศเหนือของสถานีศรีรัช ติดกับชานชาลา ของทางรถไฟด้านมุ่งหน้าไปมีนบุรี
หลังจากออกจากสถานีก็เข้าประแจเพื่อแยกเข้าสู่ทางคู่ ก่อนจะแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางเข้าหลักของเมืองทองธานี
หลังจากวิ่งมาบนถนนเข้าเมืองทองธานี แล้วจะยกระดับขึ้นจาก 15 เมตร ไปที่ 24 เมตร ก่อนถึงจุดตัดกับทางด่วน ซึ่งช่องกลางทางด่วนได้เว้นช่องไว้รองรับแล้ว
แล้วหลังจากนั้นทางวิ่งจะวิ่งอยู่ในแนวตรงกลางระหว่างทางด่วนอุดรรัถยา มุ่งหน้าขึ้นเหนือ
พอมาถึงตรงจุดวงเวียนเข้า impact ก็เข้าสู่สถานีชาเลนเจอร์ MT-01
ซึ่งตัวอาคารสถานีจะเป็นรูปแบบชานชาลากลาง (เหมือนสายสีม่วง) เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างสถานีมีขนาดเล็ก อยู่ระหว่างทางด่วนอุดรรัถยา ขาไปและกลับ
พร้อมกับเชื่อมต่อกับ Skywalk ใหม่เข้าอาคารแสดงสินค้าชาเลนเจอร์
หลังจากนั้นก็มุ่งหน้าขึ้นเหนือต่อไปแล้วข้ามทางด่วนอุดรัถยาอีกครั้งมุ่งหน้าไปทางทะเลสาบเมืองทองธานีเข้าประแจสับหลีก ก่อนเข้าสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี MT-02 และสิ้นสุดที่ตรงนี้
ตัวอาคารสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี MT-02 เป็นสถานีปลายทางของสายแยกนี้ เป็นรูปแบบชานชาลาข้าง อยู่ริมทะเลสาบ พร้อมกับเชื่อม Skywalk ปัจจุบันที่ข้ามจาก Impact forum ผ่านหน้าสนามฟุตบอล SCG เมืองทอง ข้ามมาที่ข้างทะเลสาบ
ระยะทางรวม 3 กิโลเมตร
—————————
- รูปแบบทางวิ่งหลักของโครงการ เป็นรถไฟรางเดี่ยว (Monorail) แบบทางคู่ สวนได้
- รูปแบบประแจสับราง จะเป็นแบบคานแข็งสวิงจากด้านเดียว และมีจุดหมุนด้านหนึ่ง
ตามคลิปนี้
https://youtu.be/xT80lCQQjGI
- พื้นที่จอดแล้วจร ซึ่งภายในพื้นที่เมืองทองมีทั้งแบบเสียเงินและฟรี สามารถรองรับได้ทั้งหมดร่วม 10,000 คัน
แค่หน้าทะเลสาบเมืองทองจุดเดียวที่ปัจจุบันฟรี ซึ่งติดกับสถานีทะเลสาบเลย ก็รองรับได้ถึง ประมาณ 4,500 คัน
ต่อไปในอนาคต อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการโดยสารที่สำคัญในอนาคตได้เลย สำหรับคนแถวสวนสมเด็จ และภายในเมืองทองเอง
—————————
การคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร
จากเกณฑ์การคำนวนต่างๆ จะมีผู้โดูสารภายในส่วนต่อขยายนี้ ประมาณ 13,000 คน-ทิศทาง/วัน
โดยจากการศึกษาพฤติกรรมผู้โดยสาร คาดการณ์ว่าจะเดินทางมากในช่วงเช้า-เย็น
สูงสุดประมาณ 2,000 คน/ชั่วโมง-ทิศทาง ในปีที่เปิด
จะขยายตัวไปที่ 4,500 คน/ชั่วโมง-ทิศทาง อีก 30 ปี
จากการศึกษาปริมาณผู้โดยสาร แบ่งรูปแบบการจัดการเดินรถ ซึ่งใช้รถให้บริการพร้อมกัน 2 ขบวนเป็น 2 รูปแบบมาตรฐาน และ 1 รูปแบบพิเศษ คือ
- เดินรถช่วงนอกเวลาเร่งด่วน 14 ชั่วโมง/วัน
เดินรถที่ความถี่ 10 นาที (600 วินาที) /ขบวน โดยการใช้รางร่วมกันทั้ง 2 ขบวน
โดยเริ่มจาก สถานีศรีรัช ชานชาลา 3 สับราง เข้า MT-01 ชานชาลา 2 แล้วสับราง เข้า MT-02 ชานชาลา 1 แล้วค่อยกลับมาที่ MT-01 ชานชาลา 1 แล้วกลับมาที่สถานีศรีรัช ชานชาลา 3
แบบนี้ต้องสับราง 4 ครั้ง ในการเดินรถ 1 รอบ
- เดินรถช่วงในชั่วโมงเร่งด่วน เช้า-เย็น 4 ชั่วโมง/วัน
เดินรถที่ความถี่ 7.5 นาที (450 วินาที) /ขบวน โดยการใช้รางร่วมกันทั้ง 2 ขบวน
โดยรถไฟแต่ละขบวนจะใช้แยกใช้ทางของใครของมัน ใช้รางเป็นทั้งไปและกลับ ลดการสับรางที่สถานี MT-02
แบบนี้ต้องสับราง 2 ครั้ง ในการเดินรถ 1 รอบ
- เดินรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับการจัดงานที่มีผู้เข้าชมเยอะ เช่น Motor show หรือคอนเสิร์ตขนาดใหญ่
เดินรถที่ความถี่ 5 นาที (300 วินาที) /ขบวน โดยการใช้รางร่วมกันทั้ง 2 ขบวน
โดยจะมีการตัด Loop สั้น ขบวนนึงสิ้นสุดให้บริการที่ MT-01 และอีกขบวนสิ้นสุดที่ MT-02 โดยรถไฟแต่ละขบวนจะใช้แยกใช้ทางของใครของมัน ใช้รางเป็นทั้งไปและกลับ ลดการสับรางที่สถานี MT-02
แบบนี้ต้องสับราง 2 ครั้ง ในการเดินรถ 1 รอบ
—————————
ซึ่งจากการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และการเงิน ได้ผลตอบแทนคือ
- ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
EIRR 12.2%
NPV 62
B/C 1.02
- ผลตอบแทนทางการเงิน
FIRR 5.63%
NPV 378 ล้านบาท
B/C 1.09
ซึ่งส่วนต่อขยายที่ก่อสร้างเข้าเมืองทองนี้ ทาง NBM เป็นผู้ลงทุนเพิ่มเอง รัฐต้องจ่ายหรืออุดหนุนเพิ่มจากสัญญาเริ่มต้น แถมรัฐจะได้เงินจากส่วนแบ่งค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นด้วย
—————————
ใครยังไม่รู้จัก ว่า Monorail คืออะไร และรายละเอียดของโครงการ Monorail สายสีชมพู ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
EP.4 Monorail/รถไฟรางเดี่ยว มันคืออิหยังวะ!!!
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/836895386748942/
รู้จัก Monorail สายสีสีชมพู ให้มากกว่านี้ในงาน Asia Pacific Rail 2020
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/845079625930518/
EP.4.1 Monorail แบบคร่อม กับแบบแขวน มันต่างกันยังไง?? แล้วทำไมเราถึงเลือกแบบคร่อม??
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/846325695805911/?d=n
EP.4.2 ทำไม Monorail สร้างได้ไว??
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/941887252916421/
EP.4.3 ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ของ Monorail ต้องมีอะไรบ้าง
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/944110659360747/?extid=0&d=n
ต้อนรับ Monorail 2 ขบวนแรก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1035615930210219/?vh=e&extid=0&d=n
Monorail ใช้ล้อยางแล้วถ้ายางแบนทำอย่างไร
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1039690123136133/
—————————
สายนี้คงส่งเสริมศักยภาพของ Impact และอุตสาหกรรม MICE ของไทยเราได้อีกมากเลยครับ
รวมถึงช่วยแก้ปัญหารถติดจากงานแสดงสินค้าจาก Impact อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

สวัสดีค่ะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานทางโค้งอีกหนึ่งจุด นั่นคือสายทาง EL 26 สายทางจากสถานีนพรัตน์ (PK 26) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:37 น.

สำหรับสายทาง EL 26 เป็นสายทางจากสถานีนพรัตน์ (PK 26) มุ่งหน้าสู่สถานีบางชัน (PK 27) ขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งคานทางวิ่ง หรือ Guideway Beam บริเวณทางโค้งเรียบร้อยแล้วนะคะ เหลือเพียงการติดตั้งช่วงเชิงสะพานนพรัตนราชธานีเท่านั้นค่ะ หากติดตั้งครบทั้งสายทางก็จะเริ่มดำเนินการติดตั้งทางเดินฉุกเฉิน หรือ Emergency Walkway เป็นขั้นตอนถัดไปค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสายทางใดหรือสถานีไหนมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ มารอลุ้นและติดตามรับชมไปพร้อมๆ กันนะคะ

สวัสดีค่ะ พบกับน้องทันใจอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสายทาง EL 05 สายทางจากสถานีกรมชลประทาน (PK 05) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:28 น.

สำหรับสายทาง EL 05 ซึ่งเป็นสายทางจากสถานีกรมชลประทาน (PK 05) มุ่งหน้าสู่สถานีแยกปากเกร็ด (PK 06) ขณะนี้ได้เดินการติดตั้งคานทางวิ่ง หรือ Guideway Beam และ ทางเดินฉุกเฉิน หรือ Emergency Walkway เกือบครบทั้งสายทางแล้วนะคะ รับรองว่าอีกไม่นานจะมีการดำเนินการติดตั้งครบทั้งสายทางกันอย่างแน่นอนค่ะ
โอกาสหน้า น้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสายทางไหน หรือสถานีใดมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ อย่าลืมติดตามรับชมและเป็นกำลังใจให้น้องทันใจด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสายทาง EL 14 สายทางจากสถานีหลักสี่ (PK 14) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:41 น.

สำหรับสายทาง EL 14 เป็นสายทางจากสถานีหลักสี่ (PK 14) มุ่งหน้าสู่สถานีราชภัฏพระนคร (PK 15) ขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งเสาคู่ หรือ Portal Frame เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ รวมถึงได้ดำเนินการติดตั้งคานทางวิ่ง หรือ Guideway Beam และ Emergency Walkway หรือ ทางเดินฉุกเฉิน เกือบครบทั้งสายทางแล้วเช่นกันค่ะ รับรองว่าอีกไม่นานเราจะได้เห็น Guideway Beam และ Emergency Walkway ครบทั้งสายทางกันอย่างแน่นอนค่ะ
ครั้งหน้า น้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสายทางใด หรือสถานีไหนมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ อย่าลืมติดตามรับชมและเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ พบกับน้องทันใจกันอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าของสายทาง EL 12 สายทางจากสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK 12) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:49 น.

สำหรับสายทาง EL 12 เป็นสายทางจากสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (PK 12) มุ่งหน้าสู่สถานีทีโอที (PK 13) ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งคานทางวิ่ง หรือ Guideway Beam และทางเดินฉุกเฉิน หรือ Emergency Walkway เกือบครบทั้งสายทางแล้วนะคะ รับรองว่าอีกไม่นานเกินรอเราจะได้เห็นคานทางวิ่ง และ ทางเดินฉุกเฉินครบทั้งสายทางนี้กันอย่างแน่นอนค่ะ
โอกาสหน้า น้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีไหน หรือสายทางใด อย่าลืมติดตามรับชมและเป็นกำลังใจให้น้องทันใจด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ วันนี้น้องทันใจนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของสถานีสามัคคี (PK 04) มาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:34 น.

สำหรับสถานีสามัคคี (PK 04) ได้ดำเนินการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นจำหน่ายตั๋วเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเทคอนกรีตบนชั้นชานชาลา หากแล้วเสร็จก็จะเริ่มติดตั้งโครงหลังคาสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีเป็นลำดับถัดไปค่ะ
โอกาสหน้าน้องทันใจจะนำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานของพื้นที่บริเวณใดมาอัปเดตให้ทุกคนทราบ อย่าลืมติดตามรับชมและเป็นกำลังใจให้น้องทันใจด้วยนะคะ

สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ หนึ่งในสถานีตอนปลายบนถนนรามอินทรา จะมีความคืบหน้ามากน้อยเพียงใด ตามน้องทันใจมาติดตามรับชมรายการ Follow Pink EP.9 ตอน ความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ (PK28) กันได้เลยค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:18 น.
https://www.facebook.com/CRSTECONPINKLINE/posts/3683806251726171
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 71, 72, 73  Next
Page 25 of 73

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©