RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180565
ทั้งหมด:13491799
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

งานเข้า รฟม.ไม่สน เดินหน้าชน! ประมูลสายสีส้ม “ใช้เกณฑ์ใหม่”
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 12:59 น.

งานเข้า รฟม.ไม่สน เดินหน้าชน! ประมูลสายสีส้ม “ใช้เกณฑ์ใหม่”
ดร.สามารถ เผยรฟม.ลุยประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบ 2 รื้อเกณฑ์ใหม่ ยึดคะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนผลตอบแทน 70% ไม่สนเสียงทักท้วง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์บทความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ว่า หลังจากล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มไปเมื่อเร็วๆ นี้แล้ว ในที่สุดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศเปิดประมูลใหม่โดยใช้เกณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ ทำไม รฟม.จึงไม่สนเสียงทักท้วง?

เมื่อเย็นวันที่ 2 มีนาคม 2564 เว็บไซต์ของ รฟม.ได้ประกาศรับฟังความคิดเห็นของเอกชนผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดย รฟม.จะใช้เกณฑ์ใหม่ในการคัดเลือกหาผู้ชนะการประมูล เกณฑ์ใหม่ต่างจากเกณฑ์เดิมอย่างไร? เกณฑ์เดิม รฟม.จะพิจารณาซองเทคนิคหรือความสามารถด้านเทคนิคก่อนซองผลตอบแทนให้แก่ รฟม. โดยให้คะแนนด้านเทคนิคเต็ม 100% และด้านผลตอบแทนเต็ม 100% เช่นกัน ในส่วนของคะแนนด้านเทคนิคนั้น ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 85% และจะต้องได้คะแนนในข้อย่อยซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อ ข้อละไม่น้อยกว่า 80% จึงจะถือว่าสอบผ่าน รฟม.จึงจะพิจารณาซองผลตอบแทนต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม.มากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล

เกณฑ์ใหม่ รฟม.จะพิจารณาซองเทคนิคกับซองผลตอบแทนพร้อมๆ กัน โดยให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ทั้งนี้ คะแนนด้านเทคนิค 30% นั้นไม่มีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้ นั่นหมายความว่าจะสอบได้คะแนนต่ำเพียงใดก็ถือว่าสอบผ่าน ทำไม รฟม.จึงอยากใช้เกณฑ์ใหม่? รฟม.อ้างว่ารถไฟฟ้าสายสีส้มมีเส้นทางผ่านพื้นที่ซับซ้อน มีความยุ่งยากในการก่อสร้าง จึงต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น ต้องวิ่งใต้ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ใต้ดอนเมืองโทลล์เวย์ ทำให้ต้องตัดเสาเข็มในขณะที่ไม่ปิดการจราจร ต้องลอดใต้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และต้องขุดอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น ผมไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. รฟม.อ้างว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจะต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เป็นผลให้ รฟม.ต้องใช้เกณฑ์ใหม่ แต่เกณฑ์ใหม่ให้คะแนนด้านเทคนิคเพียงแค่ 30% เท่านั้น ถือว่าย้อนแย้งกับเหตุผลที่ รฟม.กล่าวอ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เดิมที่ให้คะแนนด้านเทคนิค 100% ถือว่าสอดคล้องกับความต้องการของ รฟม.ซึ่งมุ่งหวังจะได้เอกชนที่เก่งด้านเทคนิค2. รฟม.เคยมีประสบการณ์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีเส้นทางผ่านพื้นที่ซับซ้อนมาก่อนแล้ว เช่นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ซึ่งต้องขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา โดย รฟม.ตั้งคะแนนสอบผ่านด้านเทคนิคไว้เพียง 70% เท่านั้น และไม่ได้พิจารณาซองเทคนิคพร้อมกับซองผลตอบแทน แต่ รฟม.ก็สามารถคัดเลือกเอกชนที่มีความสามารถทำการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้สำเร็จไปด้วยดี และได้เปิดใช้ไปแล้วเมื่อปี 2562 นั่นแสดงให้เห็นว่าการคัดเลือกโดยพิจารณาซองเทคนิคแยกจากซองผลตอบแทนทำให้ รฟม.ได้เอกชนที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง สามารถทำการก่อสร้างงานที่มีความยุงยากซับซ้อนได้ดี3. รฟม.เคยพิจารณาซองเทคนิคพร้อมกับซองผลตอบแทนในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งเป็นเวลากว่า 20ปีแล้ว แต่หลังจากนั้น รฟม.เลิกใช้เกณฑ์นี้ เพราะต้องการเพิ่มความสำคัญให้กับความสามารถด้านเทคนิค ด้วยเหตุนี้ การประมูลรถไฟฟ้าในระยะหลัง รฟม.จึงใช้เกณฑ์การพิจารณาซองเทคนิคแยกจากซองผลตอบแทน โดยพิจารณาซองเทคนิคก่อน หากสอบผ่านจึงพิจารณาซองผลตอบแทนต่อไป ไม่ใช่เฉพาะ รฟม.เท่านั้นที่พิจารณาซองเทคนิคแยกจากซองผลตอบแทน แต่หน่วยงานอื่นก็ใช้เช่นกัน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น

เกณฑ์เดิมดีกว่าเกณฑ์ใหม่อย่างไร?เกณฑ์เดิมให้ความสำคัญต่อด้านเทคนิคถึง 100% และให้ความสำคัญต่อผลตอบแทนถึง 100% เช่นเดียวกัน ทำให้ผู้ชนะการประมูลจะเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่เสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม.สูงที่สุดด้วย ส่วนเกณฑ์ใหม่ลดความสำคัญด้านเทคนิคลงเหลือเพียง 30% เท่านั้น อีกทั้ง รฟม.ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้ จะสอบได้คะแนนต่ำเพียงใดก็ถือว่าสอบผ่าน ด้วยเหตุนี้ อาจทำให้ รฟม.ได้เอกชนที่ไม่เก่งด้านเทคนิคตามที่ รฟม.ต้องการ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือหากกรรมการคัดเลือกมีใจไม่เป็นธรรม ต้องการช่วยเอกชนรายใดรายหนึ่งให้ชนะการประมูลก็สามารถทำได้ง่าย เนื่องจากมีการพิจารณาซองเทคนิคพร้อมกับซองผลตอบแทน หากเห็นว่าเอกชนรายนั้นเสนอผลตอบแทนน้อยก็จะเพิ่มคะแนนด้านเทคนิคให้มากขึ้น ในทางกลับกันหากเอกชนรายนั้นได้คะแนนด้านเทคนิคน้อย ก็จะเพิ่มคะแนนด้านผลตอบแทนให้มากขึ้น ทำไม รฟม.จึงอยากใช้เกณฑ์ใหม่? น่าคิดว่าอะไรทำให้ รฟม.ไม่สนเสียงทักท้วง และไม่รอให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของ รฟม.หลังจากถูกศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ให้ รฟม.ใช้เกณฑ์ใหม่เป็นการชั่วคราวด้วยการชิงล้มการประมูลไปเสียก่อน นับว่า รฟม.กล้าเสี่ยงจริงๆ ไม่ใยดีแม้มีตัวอย่างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกจากการแก้ไขสัญญาในเอกสารประกวดราคา ซึ่งถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชน จึงต้องรอดูว่าในอีกไม่นานคือในวันที่ 15 มีนาคมนี้ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางจะรับคำฟ้องของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสหรือไม่ โดยบีทีเอสได้ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มาลุ้นกันว่าถ้าศาลฯ รับคำฟ้อง แล้ว รฟม.ยังจะกล้าใช้เกณฑ์ใหม่หรือไม่? ข้อสงสัยและข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง


รฟม.เดินหน้าประมูล “สายสีส้ม” กติกาใหม่ตัดเชือกเทคนิคพ่วงราคา
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 13:51 น.


นับหนึ่งประมูลรอบใหม่รถไฟฟ้าสายสีส้ม ”บางขุนนนท์-มีนบุรี” รฟม.เปิดซาวเสียงทุนไทย-เทศ ยกร่าง TOR ให้ยื่นข้อเสนอ 3 วัน ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง พิจารณาร่วมคะแนนเทคนิคและราคา สัดส่วน 30:70 คาดขายซอง เม.ย.นี้

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562)

เปิดกว้างทุนนอกร่วมให้ความเห็น
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็น

ประกอบด้วย สรุปสาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ได้ที่ตั้งแต่วันที่ 2 – 16 มี.ค.นี้ โดยกรอกข้อคิดเห็นตามแบบสอบถาม และจัดส่งให้ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 17-19 มี.ค.นี้

โดย รฟม. หวังจะได้รับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการ ให้เกิดความเหมาะสมและความสำเร็จในการดำเนินโครงการต่อไป

ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ทั้งนี้ในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ รฟม.ยังคงให้ผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง ได้แก่ ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน และซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการดำเนินงานของ รฟม.

โดยการพิจารณาจะเริ่มจากข้อเสนอซองที่ 1 จะพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และ 3 โดยการประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคจะแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ 1.โครงสร้างองค์กรและความสามารถของบุคลากรในการบริหารงาน รวมถึงแผนงานรวม 2.แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคโยธา 3.แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคระบบรถไฟฟ้า และ 4.แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา

เดินหน้าพิจารณาร่วมเทคนิค+ราคา
ขณะที่การประเมินข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน แบ่งเป็น 2 หมวด คือ 1.ความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนถูกต้อง และ 2.ผลตอบแทนทางการเงิน

ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 โดย รฟม.จะประเมินข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 เป็นคะแนน


โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอ ด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอ ด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน และนำคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุด จะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด

ขณะที่การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 รฟม.สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 หรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่รฟม.พิจารณา จะพิจารณาข้อเสนอจากผู้ชนะการคัดเลือกเท่านั้น

สงวนสิทธิ์ขยายเวลา-ยกเลิก
ทั้งนี้ รฟม.สงวนสิทธิ์ที่จะลด หรือขยายระยะเวลาของการคัดเลือก เปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่มเติม ยกเลิก ประกาศเชิญชวน หรือเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนหรือยกเลิกการคัดเลือกเอกชน โดยไม่พิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเลย หรือจะไม่คัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดก็ได้ โดยผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใด ๆ ได้

สำหรับแผนการดำเนินงานและผลประโยชน์ที่จะเสนอให้แก่รัฐ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องระบุแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.แผนการดำเนินงานสำหรับงานสำหรับงานระยะที่ 1 เช่น แผนการก่อสร้าง ประมาณการความก้าวหน้ารายเดือน แผนควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย แผนจัดการและลดผลกระทบด้านจราจร แผนจัดหาระบบรถไฟฟ้า เป็นต้น


2.แผนการดำเนินงานสำหรับงานสำหรับงานระยะที่ 2 เช่น แผนการเดินรถและบำรุงรักษา ฉบับสังเขปแผนควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย แผนงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอต้องระบุจำนวนเงินที่ขอให้รัฐชำระคืนค่างานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก และผลประโยชน์ที่จะเสนอให้แก่รัฐ ในซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กม. แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใต้ดินตลอดสาย

ขายซองประมูล เม.ย.นี้
โดย รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP Net Cost ระยะเวลา 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท ก่อสร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม และจัดหาระบบ ขบวนรถไฟฟ้า เก็บค่าโดยสาร และเดินรถตลอดสาย 30 ปี

รฟม.เตรียมร่างทีโออาร์ใหม่ เสนอคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 พิจารณาอนุมัติ โดยคาดว่าคณะกรรมการมาตรา 36 จะประชุมในช่วงปลายเดือน มี.ค. และประกาศขายเอกสารได้ช่วงเดือน เม.ย.นี้ โดยคาดว่าจะสรุปผลการประมูลและได้เอกชนในเดือน ส.ค. 2564 และนำเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป


เปิดร่างเอกสารประมูล"สายสีส้ม"ใช้เกณฑ์เทคนิค 30 ราคา 70 
พุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 13.20 น.
 เปิดร่างเอกสารประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้าน ใช้เกณฑ์เทคนิค 30 ราคา 70 รฟม. ลุยเช็กเสียงถึง 16 มี.ค.นี้ให้เวลาแสดงความเห็น 3 วัน 17-19 มี.ค.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยมี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เป็นผู้ลงนามในประกาศดังกล่าว สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้ประกาศยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเร่งรัดการประมูลให้แล้วเสร็จไม่กระทบต่อการเปิดให้บริการ รฟม.จึงจำเป็นต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาใหม่ 

สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ มีเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินการกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันทางการเงิน ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายระบบรถไฟฟ้า รวมถึงบริษัทก่อสร้าง นักลงทุน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของ รฟม. ระหว่างวันที่ 2 – 16 มี.ค.64 ทั้งนี้ จากการพิจารณาในหัวข้อเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ปรากฏว่า ได้กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องจัดทำข้อเสนอ แบ่งเป็น 4 ซอง ประกอบด้วย ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน และซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการดำเนินงานของ รฟม. 
         
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า รฟม.จะพิจารณาซองที่ 1 คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอก่อน หากไม่ผ่านจะไม่เปิดซองที่ 2 แต่หากผ่านจะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 โดย รฟม. จะประเมินข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 เป็นคะแนน มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอ ด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอ ด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน และนําคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุด จะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด ส่วนการพิจารณาซองที่ 4 รฟม. สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 หรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ รฟม.พิจารณา จะพิจารณาข้อเสนอจากผู้ชนะการคัดเลือกเท่านั้น 
           

อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็นฯ ได้ที่ https://www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 2-16 มี.ค.64 โดยต้องกรอกข้อคิดเห็นตามแบบสอบถาม และจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของรฟม. (orlhearing@mrta.co.th) ตั้งแต่วันที่ 17-19 มี.ค.64

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุน 1.2 แสนล้านบาท มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็น ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย).... อ่านต่อที่ :
https://www.thebangkokinsight.com/564454/


Last edited by Wisarut on 04/03/2021 4:42 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2021 7:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
งานเข้า รฟม.ไม่สน เดินหน้าชน! ประมูลสายสีส้ม “ใช้เกณฑ์ใหม่”
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 12:59 น.

รฟม.ล็อกTORใหม่สีส้ม ส่อลอยแพ"กลุ่มบีทีเอส" STECตีเนียนพร้อมชิ่งรับเหมาช่วงงาน CK
ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

“รฟม.” ประกาศรับฟังความเห็นร่าง RFP (TOR) ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ 1.22 แสนล้านบาทรอบใหม่แล้ว ล็อกเงื่อนไขเกณฑ์ประเมินตามคาด ใช้คะแนนเทคนิคก่อสร้าง 30 คะแนน รวมคะแนนข้อเสนอการเงิน 70 คะแนน ฟาก STEC ออกตัวแรง พร้อมเข้าร่วมประมูลแน่นอน แม้ BTS อาจไม่มา เล็งขอเจรจารับเหมาช่วงงานจากรายที่ชนะได้ (กลุ่ม CK)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (3 มี.ค. 2564) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 122,067 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) โดยจะออกประกาศจนถึงวันที่ 16 มีนาคม 2564 และเปิดให้เอกชนส่งความคิดเห็นผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของรฟม. ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2564

สำหรับสาระสำคัญในร่าง RFP ครั้งนี้ คือ หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก โดยรฟม.กำหนดให้ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง คือ 1.ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ 2.ข้อเสนอด้านเทคนิค 3.ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน และ 4.ข้อเสนออื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการดำเนินงานของรฟม. จากนั้นรฟม.จะพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 ว่าผู้ยื่นข้อเสนอมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่รฟม.กำหนดหรือไม่ หากไม่ครบตามที่กำหนดก็จะไม่ผ่านการพิจารณาซองที่ 1 และจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 พร้อมนำส่งข้อเสนอซองที่ 2, 3 และ 4 คืน

ทั้งนี้ หากผู้ยื่นข้อเสนอได้รับการพิจารณาให้ผ่านซองที่ 1 รฟม.ก็จะทำการเปิดข้อเสนอซองที่ 2 และ 3 พร้อมกัน โดยรฟม.จะประเมินข้อเสนอซองที่ 2 และ 3 เป็น 100 คะแนน แบ่งเป็น ข้อเสนอซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และข้อเสนอซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน และนำคะแนนซองที่ 2 กับ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน โดยผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด ส่วนซองที่ 4 นั้น รฟม.ได้สงวนสิทธิที่จะพิจารณาหรือไม่ก็ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนจากการเปิดประกวดราคาครั้งแรก โดยครั้งแรกนั้นรฟม.กำหนดเปิดข้อเสนอทีละซอง คือ ซองที่ 1 หากผ่านการพิจารณา จึงจะเปิดข้อเสนอซองที่ 2 และหากได้คะแนนเทคนิคตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะเปิดข้อเสนอซองที่ 3 โดยเอกชนรายใดที่เสนอให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐมากสุดก็จะเป็นผู้ได้รับงาน และภายหลังจากจำหน่ายเอกสาร RFP ไปแล้ว รฟม.ได้ประกาศปรับหลักเกณฑ์การประเมินเป็นพิจารณารวมคะแนนซองที่ 2 และ 3

ทั้งนี้ การปรับเกณฑ์ประเมินดังกล่าวทำให้เกิดข้อพิพาทกับผู้ยื่นข้อเสนอ 1 ราย คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริษัทในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ที่ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง กรณีที่รฟม.ปรับเงื่อนไขหลังเปิดประกวดราคาแล้ว และศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้รฟม.ปรับเงื่อนไขประเมิน ซึ่งรฟม.ได้ยื่นอุทธรณ์ และได้ประกาศยกเลิกประกวดราคาครั้งแรก พร้อมยื่นขอถอนอุทธรณ์ และยื่นคำร้องขอจำหน่ายคดีออกจากสารบบแล้ว

ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฝ่าย BTSC ยังให้ทนายความยื่นฟ้องนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการร่วมทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ซึ่งศาลได้รับเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 และนัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องวันที่ 15 มีนาคมนี้

STEC พร้อมประมูลสีส้ม

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เปิดเผยว่า STEC พร้อมเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกสายสีส้มฯ ครั้งใหม่นี้แน่นอน โดยเบื้องต้นทราบว่ารฟม.จะประกาศคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนได้ช่วงกลางปี 2564 โดยพันธมิตรอันดับต้นที่ STEC จะร่วมด้วยคือ BTS แต่ยอมรับว่ายังไม่แน่ใจว่า BTS จะเข้าร่วมการคัดเลือกครั้งนี้หรือไม่ เพราะยังมีข้อพิพาทกับรฟม.อยู่พอสมควร แต่หาก BTS ไม่เข้าร่วม ก็จะเหลือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าอีกเพียงรายเดียวในไทยเท่านั้น ก็เสมือนมีผู้แข่งขันรายเดียว จึงไม่มั่นใจว่ารฟม.จะยังสามารถเดินหน้าการคัดเลือกต่อไปได้หรือไม่

“STEC ยืนยันว่าจะเข้าร่วมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนสายสีส้มรอบใหม่นี้แน่นอน ถ้าสุดท้าย BTS ไม่มาจริง ๆ เราก็จะใช้วิธีเข้าไปรับเหมาช่วงต่อบริษัทที่ได้รับงาน เพราะสายสีส้มฝั่งตะวันตกเป็นงานก่อสร้างอุโมงค์ตั้ง 8 หมื่นล้านบาท บริษัทก่อสร้างรายเดียวทำไม่ไหวอยู่แล้ว” นายภาคภูมิ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากกลุ่ม BTS ไม่รวมประมูล จะเหลือแค่กลุ่มบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เท่านั้นที่จะเข้าร่วมประมูลสายสีส้มรอบใหม่นี้

วางเป้ากำไรปีนี้โต 3-4%

นายภาคภูมิ กล่าวต่อถึงแผนการดำเนินงานปี 2564 ว่า STEC ตั้งเป้ากำไรสุทธิโต 3-4% จากปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิ 1,103.4 ล้านบาท และตั้งเป้ารายได้ 37,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีรายได้ 36,182.25 ล้านบาท ขณะที่ล่าสุด STEC มีงานที่รอรับรู้รายได้ (แบ็กล็อก) 1 แสนล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้ 3 ปีจากนี้ ซึ่งปี 2564 จะรับรู้รายได้อยู่ที่ 37,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน STEC ตั้งเป้าหางานใหม่เข้ามาเพิ่มในปี 2564 ขั้นต่ำอีก 40,000 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด STEC ได้งานใหม่คือ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2560 พื้นที่โซน C อาคารทิศเหนือ มูลค่าโครงการ 6,245.69 ล้านบาท และอยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญาก่อสร้างสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ซึ่งมีมูลค่างานก่อสร้างประมาณ 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะได้ลงนามกับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (NBM) ในเดือนมีนาคมนี้ พร้อมทั้งรอลงนามในสัญญาขุดคลองชลประทานกับกรมชลประทานมูลค่า 3,500 ล้านบาท คาดว่าจะได้ลงนามในเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญาการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายบางปะอิน-นครราชสีมาที่ STEC ร่วมรับงานในนามกลุ่ม BGSR (BTS / บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF / STEC และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH) โดยทั้ง 2 สายทางมีมูลค่างานก่อสร้างรวมกัน 4-5 พันล้านบาท โดยสายบางใหญ่ฯ คาดว่าจะได้ลงนามภายในเดือนนี้ ส่วนสายบางปะอินฯ นั้น อาจไม่ได้ลงนามภายในปี 2564 เพราะยังติดเรื่องตรวจสอบการปรับแบบก่อสร้างหลายสัญญา

นายภาคภูมิ กล่าวต่อว่า ปี 2564 ทาง STEC ยังมีแผนเข้าร่วมประกวดราคาหลายโครงการ โดยเฉพาะงานภาครัฐที่คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 6-7 แสนล้านบาท และน่าจะได้เปิดประกวดราคาจริงประมาณ 3-4 แสนล้านบาท โดยงานที่ STEC ตั้งเป้าว่าจะเข้าร่วมประกวดราคาและได้รับงานคือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีมูลค่างานโยธา 8-9 หมื่นล้านบาท / โครงการรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ที่มีมูลค่างานโยธาประมาณ 8 หมื่นล้านบาท / รถไฟทางคู่ 2 สายทาง คือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 3 สัญญา วงเงิน 85,345 ล้านบาท และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม 2 สัญญา วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท

“ถ้าดูจากสถิติการประกวดราคาของเราที่ผ่านมา เรามักจะได้งานประมาณ 20-30% ของมูลค่างานทั้งหมดที่เปิดประกวดราคา หากปีนี้ภาครัฐประกวดราคา 3-4 แสนล้านบาท ตามที่คาด เราก็น่าจะได้ประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท ส่วนเรื่องไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเรามากนัก แต่จะกระทบเรื่องต้นทุนมากกว่า เพราะเอาคนเข้าไปในพื้นที่มากเหมือนเดิมไม่ได้ ก็ต้องเพิ่มเวลางานเพิ่มค่าล่วงเวลา ซึ่งตรงนี้เราต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ดี โดยตั้งเป้าว่าปีนี้เราจะทำกำไรขั้นต้นได้ที่ 5% จากปีก่อนทำได้ 4.4%” นายภาคภูมิ กล่าว

เริ่มเตรียมพื้นที่เมืองการบินฯ

นายภาคภูมิ กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท ว่า เบื้องต้นตามกำหนดแล้วกองทัพเรือต้องออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) แก่ผู้รับงาน คือ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) ช่วงต้นปี 2565 โดยเฟสแรกจะใช้เงินลงทุน 28,000 ล้านบาท แต่ STEC ประเมินแล้วว่างานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในเฟสแรก เพื่อรองรับผู้โดยสารที่ 12 ล้านคนต่อปีนั้น มีเวลาที่กระชั้นชิดมากที่ 3 ปี จากปกติต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี ทาง STEC จึงได้หารือกับ UTA เพื่อของบประมาณมาก่อน 1,800 ล้านบาท เพื่อเตรียมเรื่องการออกแบบ การปรับดินรอไว้ก่อน เพื่อที่เมื่อได้ NTP แล้วจะได้ลงมือก่อสร้างอาคารทันที

ข่าวดีพ้นข้อกล่าวหาป.ป.ช.

นายภาคภูมิ กล่าวเพิ่มเติมกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดฐานเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อแลกกับการอนุญาตให้เรือลำเลียงชิ้นส่วนอุปกรณ์ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้าเทียบท่าเทียบเรือในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2562 ว่า ล่าสุดป.ป.ช.ได้มีหนังสือลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีอาญาฟ้อง STEC / นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ และนายราเกส กาเลีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2021 11:33 am    Post subject: Reply with quote

'วรวรรณ' จี้ รฟม.ตอบคำถาม เปลี่ยน TOR สายสีส้ม กลางอากาศ เอื้อประโยชน์ใคร?
หน้าข่าวทั่วไป
วันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 19:53 น.

'วรวรรณ ธาราภูมิ' ร่ายยาว รฟม.- คณะกรรมการคัดเลือกฯ เปลี่ยนเงื่อนไข TOR ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มได้หรือ? ตั้งคำถามเหตุใด กลับหลังหัน กลางอากาศ 180 องศา เชื่อมีใบเสร็จ สร้างความไม่โปร่งใส - ชอบธรรม แนะจับตา BTS ฟัองศาลทุจริตฯ 15 มี.ค. นี้

นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด และอดีตประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุกส่วนตัว หัวข้อ : รถไฟฟ้าสายสีส้ม : เอกชนซื้อซอง TOR แล้ว ภาครัฐเปลี่ยนเงื่อนไขใน TOR ได้ด้วยหรือ ? โดยมีใจความสำคัญดังนี้

1. TOR คืออะไรTOR (Term of Reference) คือข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ที่บอกขอบเขตของงานให้ชัดเจน บอกระยะเวลาที่ต้องการ คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ซึ่งผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างต้องการให้ทำงานตามขอบเขตดังกล่าว ... ปฎิบัติงานตามสัญญาแล้วผู้รับจ้างจะได้อะไร ทำผิดสัญญาจะถูกปรับอย่างไร และที่สำคัญคือผู้ว่าจ้างจะเปิดซองที่ผู้รับจ้างต่างๆ เสนอเงื่อนไขมาตาม TOR อย่างไร เมื่อใด รวมไปถึงกติกาสำคัญได้แก่การกำหนดลำดับการพิจารณาว่าจะคัดเลือกผู้ชนะอย่างไร นอกจากนี้ เมื่อได้ตัวผู้ชนะแล้ว TOR ก็จะเป็นเป็นเอกสารอ้างอิงที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างด้วยกรณีรถไฟสายสีส้มนี้ เอกชนที่อยากจะได้งานก็ต้องไปซื้อ TOR เพื่อนำมาพิจารณาดูว่าตัวเขานั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนไหม ทำตาม TOR ได้ไหม รวมถึงพิจารณาว่าเงื่อนไขต่างๆ ใน TOR มันคุ้มค่าแก่การเสนอตัวเข้าประกวดหรือไม่ ดังนั้น TOR จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ผู้รับจ้างได้ศึกษาดูก่อนว่างานตามประกาศสามารถทำได้

2. รถไฟฟ้าสายสีส้ม คือเส้นทางไหนสายสีส้มคือเส้นทางเดินรถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี กับฝั่งพระนคร เข้าด้วยกัน จากย่านบางขุนนนท์ ฝั่งธนบุรี ผ่าน รพ.ศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ข้ามเข้าสู่ฝั่งพระนครโดยผ่านเขตเมืองเก่าเกาะรัตนโกสินทร์ จากนั้นไปทางตะวันออกผ่านย่านประตูน้ำ เข้าย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก-บางกะปิ) จนไปสุดสายที่ ถ.สุวินทวงศ์ย่านมีนบุรี รวมระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นเส้นทางอุโมงค์ลอดใต้ดิน 27 กิโลเมตร และยกระดับลอยฟ้าอีก 8.9 กิโลเมตร

3. แล้วมันมีปัญหาอะไร

เมื่อ 3 กค 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศให้บริษัทเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายนี้ สามารถซื้อเอกสารเพื่อร่วมประมูล (TOR) ตั้งแต่วันที่ 10-24 ก.ค. 2563แต่เมื่อเอกชนจำนวนหนึ่งไปซื้อ TOR แล้วทำโครงการเสนอตัวเข้าประกวด ปรากฏว่า รฟม.เปลี่ยนใจกลางอากาศ ด้วยการมีมติเมื่อ 21 สค 2563 เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) ทั้งที่มีการซื้อขายซองประกวดราคาเสร็จสิ้นไปแล้ว 10 บริษัท เนื่องจากมีบริษัทเอกชนรายหนึ่งซึ่งยื่นซองประมูลได้ขอให้ รฟม. เปลี่ยนแปลง TOR และคณะกรรมการฯ ทั้งชุด ที่ดูแลเรื่องการแข่งขันนี้ก็ใจดี ไปยอมรับข้อเสนอ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข (ยกเว้นกรรมการที่เป็นสุภาพสตรีรายหนึ่ง ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง TOR กลางอากาศ)ต้องทราบกันก่อนว่าเงื่อนไขใน TOR นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเองได้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอาจมีการทุจริตเอื้อประโยชน์แก่เอกชนรายหนึ่ง (หากจะล็อคสเปคก็ควรทำก่อนขาย TOR ให้เอกชนสิ !) อะไรทำให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ กลับหลังหัน 180 องศา โดยไม่ใช้หลักเกณฑ์ TOR ที่กำหนด แต่จะใช้หลักเกณฑ์ใหม่ที่มาแก้ไขหลังปิดขายซองประกวดราคาไปแล้วกรณีนี้ พี่ศรีสุวรรณท่านได้ร้องเรียนไปยัง DSI แล้ว และระบุว่าน่าจะเข้าข่ายความผิดกฎหมายหลายฉบับและหลายมาตรา

ทั้งนี้ เมื่อ 14 ตค 2563 ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวนในคดีที่ BTSC ยื่นฟ้อง คกก.คัดเลือกและพวกรวม 2 คน โดยขอให้เพิกถอนมติ คกก.คัดเลือกฯ ที่ไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข TOR หลังจากที่มีการปิดการขายซองประมูลไปแล้ว เนื่องจากเห็นว่าก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนบางราย พร้อมกับขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยสั่งระงับการเปิดรับข้อเสนอของเอกชนในวันที่ 9 พ.ย. 2563 ไว้ก่อนศาลปกครองกลางพิจารณาแล้ว จึงมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อ 21 ตค 2563 ให้ รฟม. กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมคือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงิน และซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติม จนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมาที่ประหลาดคือแม้จะมีคำสั่งศาลปกครองกลาง มีเสียงทักท้วงจาก องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และพี่ศรีสุวรรณ ให้ คกก.คัดเลือกฯ กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิม แต่ รฟม.ก็ยังคงเดินหน้าอุทธรณ์ต่อโดยหวังว่าจะสามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้จึงน่าสงสัยว่ามีความพยายามเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางรายหรือไม่ การเดินหน้าไปในหนทางที่ไม่น่าจะชอบธรรมโดยไม่สนใจกฏ กติกา มารยาท และความถูกต้องชอบธรรมแบบนี้ มันจะไหวไหมกรณีเปลี่ยน TOR แบบนี้ ไม่ว่า รฟม. จะออกมาประชาสัมพันธ์ไปในประเด็นอื่นอย่างไร ก็ไม่พ้นเป็นที่สงสัยแก่สาธารณชนว่าท่านน่าจะเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางราย

4. ใครจะรับผิดชอบเรื่องอย่างนี้ ไม่เฉพาะ รฟม. กับ คกก.คัดเลือก ที่จะต้องรับผิดชอบ เอกชนที่ขอให้เปลี่ยนเงื่อนไขโดยส่งหนังสือไปถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้พิจารณาปรับปรุงการประเมินข้อเสนอเพื่อหาผู้ชนะการคัดเลือกของโครงการ ก็ต้องรับผิดชอบด้วยข้าพเจ้าไม่อยากให้มีบริษัทที่ได้ชื่อว่าไร้ความสามารถจนต้องเอาเปรียบคนอื่นอย่างไม่เป็นธรรม หรือใช้กลโกง ไร้ธรรมาภิบาล เพราะจะทำให้บริษัทนั้นๆ เข้าเกณฑ์ปฏิบัติ "ระงับลงทุน" (Negative List Guideline) สำหรับผู้ลงทุนสถาบันอย่าง กบข. กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ ที่กำหนดไว้เพื่อยกระดับการลงทุนของประเทศไทยสู่การลงทุนอย่างรับผิดชอบการที่ใครจะชนะไม่ใช่เรื่องใหญ่หากทุกคนทำตามกติกา แข่งขันกันอย่างเป็นธรรม แต่ถ้าชัยชนะได้มาด้วยกลโกง หรือด้วยการซื้อตัว มันก็เป็นเรื่องอัปยศและมันคงจะอัปยศอย่างยิ่ง หากเรื่องแก้ไข TOR กลางอากาศแบบนี้ เกิดขึ้นในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลที่ซื่อตรงและไม่คอร์รัปชั่นงานนี้ไม่ต้องถามหาใบเสร็จ เพราะการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข TOR หลังจากที่มีการปิดการขายซองประมูลไปแล้ว ก็คือใบเสร็จนั่นเองหากเรื่องนี้ไม่ได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างถูกต้อง และเป็นธรรม เราจะอยู่ในประเทศนี้อย่างสงบสุขได้อย่างไร … มันคงยากที่คนดีๆ ที่ให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวม และหวังจะได้รับความยุติธรรม จะทำใจได้ทั้งนี้ BTS ฟัองศาลทุจริตฯ กล่าวหาว่าผู้ว่า รฟมฺกับพวก ผิดกฏหมาย ม.157-165 แล้ว ซึ่งศาลทุจริตฯ จะตัดสินว่ารับหรือไม่รับฟ้องในวันที่ 15 มีค นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2021 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

หักเหลี่ยม เฉือนคม เบรก “เกณฑ์ใหม่” ประมูลรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" รอบ 2
04 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:26 น.

"สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์เฟซบุ๊ก หักเหลี่ยม เฉือนคม เบรก “เกณฑ์ใหม่”ประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้มรอบ 2

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว หัวข้อ หักเหลี่ยม เฉือนคมเบรก “เกณฑ์ใหม่”ประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้มรอบ 2 โดยระบุว่า แม้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศขอรับฟังความคิดเห็นของเอกชนผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในการประมูลรอบ 2 โดยใช้เกณฑ์ใหม่ไปเมื่อเร็วๆ นี้แล้วก็ตาม แต่คงไม่ง่ายที่ รฟม.จะใช้เกณฑ์ใหม่ได้ตามปรารถนา เพราะมีการดำเนินการทางกฎหมายกันอย่าง “หักเหลี่ยม เฉือนคม” ที่ต้องเกาะติด อย่ากะพริบตา

หลังจาก รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์การประมูล บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสผู้ซื้อซองประมูลรายหนึ่งได้ฟ้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองกลา
ง ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยศาลได้ระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า การเปลี่ยนเกณฑ์การประมูล “จึงเป็นคำสั่งที่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย” รฟม.ไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าสู้ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดโดยขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง แต่ยังไม่ทันที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งลงมา รฟม.ได้ชิงล้มการประมูลไปก่อน หักเหลี่ยม เฉือนคม เบรก “เกณฑ์ใหม่” ประมูลรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" รอบ 2
หักเหลี่ยม เฉือนคม เบรก “เกณฑ์ใหม่” ประมูลรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" รอบ 2


หลังจาก รฟม.ล้มการประมูลรอบแรกอย่างน่ากังขาไปเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 รฟม.ได้ยื่นถอนอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด นอกจากนี้ รฟม.ยังได้ขอให้ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีด้วย เพื่อไม่ต้องพิจารณาคดีอีกต่อไปเหตุที่ล้มการประมูลรอบแรก รฟม.อ้างว่าถ้ารอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งลงมา จะทำให้การดำเนินโครงการล่าช้า แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรนั้นไม่มีใครทราบ ที่น่าคิดก็คือหากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง จะทำให้โอกาสที่ รฟม.เปลี่ยนไปใช้เกณฑ์ใหม่ได้ยากมากแม้ว่า รฟม.ได้ถอนอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดพร้อมกับได้ขอให้ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีก็ตาม แต่บีทีเอสรู้ทัน จึงได้ชิงฟ้องเพิ่มเติมต่อศาลปกครองกลางไว้ก่อนที่ รฟม.จะขอให้ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดี โดยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์การประมูลไว้แค่ 5 แสนบาท ซึ่งประเมินจากการทำให้บีทีเอสเสียเวลาในการเตรียมเอกสารประมูลเมื่อเป็นเช่นนี้ ศาลปกครองกลางจึงต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป หากศาลฯ มีคำสั่งให้ รฟม.ชำระค่าเสียหายให้แก่บีทีเอสก็แสดงว่าการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะทำให้เหตุผลที่บีทีเอสยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม.และผู้เกี่ยวข้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีน้ำหนักมากขึ้น ทั้งนี้ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ จะพิจารณาว่าจะรับคำฟ้องของบีทีเอสหรือไม่ในวันที่ 15 มีนาคมนี้
ที่สำคัญ หากศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ รฟม.ชำระค่าเสียหายให้แก่บีทีเอสก่อนที่ รฟม.จะเปิดประมูลรอบ 2 โดยต้องการใช้เกณฑ์ใหม่ จะทำให้ รฟม.ยากที่จะดื้อดึงใช้เกณฑ์ใหม่อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงอาจจะมีการใช้เทคนิคยื้อการพิจารณาของศาลปกครองกลาง เช่น อาจจะขอให้ศาลฯ เปลี่ยนองค์คณะตุลาการก็ได้ หรืออาจจะใช้วิธีการอื่นที่ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีต้องล่าช้าออกไปทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นเกม “หักเหลี่ยม เฉือนคม” ที่น่าติดตามอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะทำให้โครงการนี้ล่าช้าออกไปอีกหลายปี ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมซึ่งมีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว จะทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุดข้อสงสัยและข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง


Last edited by Wisarut on 05/03/2021 11:21 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 11:00 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยังไม่ฟันธงเกณฑ์ประมูลสีส้ม รวมคะแนนเทคนิค-ราคา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 18:15 น.
ปรับปรุง: วันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 18:15 น.



รฟม.ยังไม่ฟันธงเกณฑ์ประมูลสีส้มรอบใหม่รวมคะแนนเทคนิค ราคา 30-70 หรือไม่ ขอรอฟังความเห็นเอกชนจบก่อน คาดเร่งประมูลได้ตัวเอกชนใน ส.ค.นี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.ได้ประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงินกว่า 1.2 แสนล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2564 ใช้เวลา 3 วันประมวลความเห็น เพื่อสรุปร่างเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (RFP) และนำเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนเอกชน พ.ศ. 2562 ได้ในปลายเดือน มี.ค.นี้

โดยประเมินตามขั้นตอน คาดว่าจะสามารถเปิดประมูล และได้ตัวเอกชนผู้รับสัมปทานเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติได้ในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2564

ส่วนรายละเอียดในประกาศรับฟังความเห็น กรณีที่กำหนดเกณฑ์พิจารณา โดยรวมคะแนน ข้อเสนอด้านเทนนิค (ซองที่ 2) และข้อเสนอทางการเงิน (ซองที่ 3) สัดส่วน 30-70 นั้น ยังไม่ได้หมายความว่าจะใช้เกณฑ์นี้ เพราะต้องรอฟังความเห็นจากเอกชนก่อน รวมถึงต้องเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาด้วย

ทั้งนี้ ยอมรับว่าคำถามในประกาศรับฟังความเห็นครั้งนี้เปิดกว้างน้อยกว่าประกาศรับฟังความเห็นเพื่อทำร่าง RFP ครั้งที่แล้ว อย่างไรก็ตาม การจัดซื้อจัดจ้างโครงการโรงขยะของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีข้อมูลในการอภิปรายในสภาฯ พบว่าใช้เกณฑ์เทคนิค 90 คะแนน ราคา 10 คะแนน ดังนั้น กรณีการใช้คะแนนเทคนิค 30 คะแนนราคา 70 สำหรับรถไฟฟ้าจึงไม่ถือว่าสูง และยังคงให้ความสำคัญต่อข้อเสนอทางการเงินอยู่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.กางไทม์ไลน์ ลุยประมูล "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" รอบ 2
เผยแพร่: วันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 16:35 น.


รฟม.กางไทม์ไลน์ ลุยประมูล "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" รอบ 2
รฟม.เคลียร์ชัดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ2 ยันเปิดรับฟังความเห็นยังไม่ใช่ทีโออาร์ จ่อชงบอร์ดมาตรา 36 ไฟเขียว สิ้นเดือน มี.ค.นี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยยืนยันว่าปัจจุบันเป็นแค่การเปิดรับฟังความคิดเห็น เนื้อหาที่ประกาศออกมายังไม่ใช่ทีโออาร์ และยังไม่ใช่แนวทางที่จะเปิดประมูล เป็นเพียงข้อมูลประกอบการรับฟังความคคิดเห็น เพื่อจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (RFP) และเสนอคณะกรรมการมาตรา36 เห็นชอบต่อไป



สำหรับกรอบระยะเวลาดำเนินการ รฟม.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 16 มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะเปิดให้เอกชนส่งข้อเสนอเพิ่มเติม และประมวลผลอีก 5 วัน ก่อนจัดทำร่าง RFP เพื่อเสนอคณะกรรมการ ม.36 ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะประกาศขายซองเอกสาร คาดว่าจะได้ตัวเอกชนชนะการประมูลในเดือน ส.ค.นี้ และเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย.2564
ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และด้านราคา 70 คะแนน รฟม.ยืนยันว่าไม่ใช่การกำหนดใช้ในมาตรฐานที่สูงเกินไป เพราะที่ผ่านมาก็เคยมีโครงการของกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดเกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิค 90 คะแนน และด้านราคา 10 คะแนน ดังนั้นโครงการรถไฟฟ้าที่ต้องใช้วิธีการด้านเทคนิค ใช้สัดส่วนนี้ก็ไม่สูงเกินไป อีกทั้งยังเป็นโครงการร่วมทุนเอกชน ดังนั้น รฟม.ก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเกณฑ์ด้านราคาสูงถึง 70 คะแนน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:42 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าปมสายสีส้มพิจารณาราคา-เทคนิค-“อดีตนายกฯวิศวะ” ชี้ต้องคุณภาพปลอดภัย
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 5 มีนาคม 2564 - 17:00 น.


กลายเป็นประเด็นร้อนที่อยู่ในความสนใจของสังคม สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน มีมติให้ยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่ ”รฟม.” เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท โดยให้เปิดประมูลใหม่

หลังจากเรื่องดังกล่าวถูกบริษัทเอกชนยื่นร้องให้เปลี่ยนเกณฑ์ประเมินใหม่ โดยให้พิจารณาข้อเสนอด้าน “เทคนิค” การดําเนินงาน ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ยื่นข้อเสนอ เข้ามาพิจารณาประกอบด้วย

ไม่ใช่เอาแต่ข้อเสนอ “ทางการเงิน” เพียงอย่างเดียว

ในประเด็นนี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีคมนาคม ชี้แจงว่าทำตามกฎหมายที่ให้อำนาจการยกเลิกได้

โดยสาเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนมาพิจารณาข้อเสนอเรื่องเทคนิค ก็เพราะต้องผ่านชุมชนหนาแน่น ย่านเศรษฐกิจการค้า ย่านสำคัญ เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ จึงต้องรอบคอบระมัดระวัง

ยืนยันไม่มีเอื้อประโยชน์ให้ใคร เพราะยังไม่ได้เปิดซองด้วยซ้ำ!

จึงกลายมาเป็นคำถามว่าเหตุใดเรื่องของเทคนิคการก่อสร้างจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้คณะกรรมการต้องล้มการประมูลเพื่อเปลี่ยนหลักเกณฑ์จากที่พิจารณาเรื่องราคา 100 เปอร์เซ็นต์ มาเป็นพิจารณาเรื่องเทคนิค 30 เปอร์เซ็นต์ และราคา 70 เปอร์เซ็นต์

เปิดเงื่อนไขรถไฟฟ้าสีส้ม
ก่อนจะเข้าใจปัญหา คงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 27 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

เส้นทางการเดินรถ เริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิม ไปยังโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีศิริราช วิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เบี่ยงแนวเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายลอดใต้ถนนราชปรารภตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง เลี้ยวขวาไปตามถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต แล้วเลี้ยวขวาผ่านกรุงเทพมหานคร 2

จากนั้นเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วิ่งขนานไปตามแนวถนนพระรามเก้าไปยังสถานี รฟม. ลอดใต้คลองแสนแสบ ก่อนเลี้ยวซ้ายไปตามถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ไปจนถึงบริเวณคลองบ้านม้า ก่อนเปลี่ยนแนวทางวิ่งจากอุโมงค์ใต้ดินเป็นทางวิ่งยกระดับ และวิ่งตามแนวถนนรามคำแหงไปจนถึงบริเวณคลองสองที่สถานีมีนบุรี

สิ้นสุดแนวเส้นทางที่สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณสามแยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ ระยะทางวิ่งใต้ดิน 27 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร

ถือเป็นระยะทางที่ยาว มีการผสมผสานระหว่างสถานีบนดินและใต้ดิน ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง รวมทั้งการขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา โดยโครงการดังกล่าวใช้วิธีให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 30 ปี


โดย อาจารย์ประสงค์ ธาราไชย อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอดีตเลขาธิการสภาวิศวกร ให้ข้อมูลว่าการร่วมลงทุนลักษณะนี้ เนื่องจากรัฐบาลไม่อยากลงทุนด้วยตัวเอง แต่มีสิทธิในพื้นที่สิทธิในการก่อสร้าง จึงเปิดประมูลดูว่าบริษัทเอกชนเสนอราคาเข้ามา ส่วนจะมอบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดการพื้นที่โดยรอบ หรือไม่อย่างไร ก็อยู่ที่ข้อตกลงต่อกัน

แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องยึดตามแบบของเอกชนเท่านั้น รัฐเองก็ต้องกำหนดความต้องการของโครงการว่ามีเงื่อนไขอย่างไร

นั่นก็คือต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่แค่เอาราคาหรือผลตอบแทนมาพิจารณาเพียงอย่างเดียว


รอบคอบมองภาพรวมโครงการ
อาจารย์ประสงค์ ระบุอีกว่า การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย มีแผนเผชิญเหตุทุกกรณี อาทิ การขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านเขตเมืองเก่า หรือเขตพระราชฐาน ก็ต้องมีข้อมูลของชั้นดิน สภาพผังเมือง มีแผนงานรองรับ ใช้เทคโนโลยีอะไร มีคุณภาพขนาดไหน ขุดแล้วน้ำรั่วไหม น้ำซึมไหม ขุดไปเจอสิ่งที่ไม่คาดคิด จะทำอย่างไร ถ้าเกิดปัญหาจะแก้ไขอย่างไร ทุกอย่างต้องรอบคอบ มีแผนงานรองรับ

ที่สำคัญการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นระบบคมนาคมหลักในอนาคตเพื่อให้บริการประชาชน จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ต้องมีอายุการใช้งานอีกยาวนาน เรียกว่าเป็นชั่วอายุคน เกี่ยวพันกับประชาชนที่ใช้บริการมหาศาล ความปลอดภัยก็ต้องมาเป็นอันดับ 1 อย่างปฏิเสธไม่ได้

ทั้งหมดต้องมีแผนการรองรับ มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และก็ต้องมีความมั่นใจว่าบริษัทเอกชนที่รับงาน สามารถดำเนินการตามแผนงานให้ได้ลุล่วง ไม่มีปัญหาอะไรตามมา

ทั้งนี้ การก่อสร้างขนาดใหญ่ทุกอย่าง มี 2 ส่วนหลัก ๆ นั่นก็คือ งานชั่วคราว เพื่อจะใช้เป็นฐานในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างถาวร อาทิ นั่งร้าน เครน ซึ่งทั้งหมดต้องมีความปลอดภัย ยิ่งเป็นการก่อสร้างในพื้นที่ชุมชน ยิ่งต้องมีมาตรการเข้มข้น ต้องปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามหลักการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Safety Health and Environment) หรือ SHE ซึ่งรวมไปถึงพนักงานคนงานก่อสร้าง ประชาชนทั่วไป และชุมชน

อีกอย่างก็คือสิ่งก่อสร้างถาวร เรื่องของโครงสร้าง เทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน

“ก่อนที่จะเริ่มงาน คุณต้องวางแผนให้ได้ครบถ้วนมากที่สุด ต้องมองภาพเห็นว่า 1-100 จะเป็นอะไร อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดแล้วจะแก้ไขอย่างไร จะตั้งนั่งร้านอย่างไร ตั้งเครนอย่างไร ขุดดินแล้วจะเอาไว้ไหน คนงานที่ทำงานต้องมีเครื่องป้องกันดูแล ป้องกันการบาดเจ็บ ต้องมีองค์ความรู้ เรื่องเทคนิค ประสบการณ์มีส่วนทั้งหมด จะปล่อยให้ทำกันไปก่อนแล้วถ้าเจอปัญหาค่อยแก้ไม่ได้เด็ดขาด”


ต้องมีคุณภาพ-ความปลอดภัย
นอกจากเรื่องโครงสร้างแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงอีกอย่างคือเรื่องของระบบปฏิบัติการ

อาจารย์ประสงค์ อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานฯ กล่าวว่า เรื่องระบบการเดินรถหรือการซ่อมบำรุง ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเช่นกัน เพราะปัญหาจากการให้เอกชนประมูลงานแต่ละเส้นทาง จะเห็นว่าแต่ละบริษัทใช้ระบบไม่เหมือนกัน บางแห่งใช้ของยุโรป บางแห่งใช้ของจีน แล้วแต่ความร่วมมือของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีปัญหาตามมาเมื่อต้องนำระบบทั้งหมดมาเชื่อมต่อกัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบอาณัติสัญญาณ ความกว้างของราง ทั้งหมดเป็นรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้ดีเช่นกัน ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่าแต่ละสายก็วิ่งรถกันเป็นเอกเทศ ระบบไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งก็จะเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา

ส่วนจะถามว่าเรื่องงานเหล่านี้ควรจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนเทคนิคกับราคาอย่างไร ก็คงจะไม่สามารถชี้ชัดได้ในแต่ละโครงการ แต่ตามหลักแล้วก็ต้องพิจารณาถึง “ความซับซ้อน” ว่ามีมากน้อยเพียงไหน เหมือนถ้าเราจะสร้างบ้านสักหลัง เทคนิคการก่อสร้างก็เป็นไปตามมาตรฐานอยู่แล้ว ก็อาจจะเน้นหนักไปที่เรื่องราคา

แต่หากเป็นโครงการที่ซับซ้อน มีผลกระทบเยอะ สัดส่วนในการพิจารณาก็ต้องมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานของรัฐที่ดูแลบริหารจัดการเรื่องนี้ก็ต้องคำนึงอยู่แล้ว ต้องมีกรรมการตรวจการจ้าง ว่างานลักษณะนี้ ใครมีคุณสมบัติเข้าประมูล มีประสบการณ์ทำงานหรือไม่ มีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือไม่

อย่างเช่นถ้าจะต้องขุดดิน ใช้เทคนิคอย่างไร ยกของหนัก ใช้วิธีอย่างไร สิ่งเหล่านี้ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่ควรจะมีสิทธิมาประมูล หรือหากมาประมูลได้งาน แล้วไม่สามารถทำได้ก็เสียหายทั้งรัฐและเอกชน จึงต้องพิจารณาให้ดี

สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องความปลอดภัย คุณภาพของงานที่ได้รับ รวมทั้งราคาที่เหมาะสม

เป็นมุมมองที่เป็นประโยชน์ของผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่จำเป็นต้องรับฟัง

มิฉะนั้นหากเดินทางผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจประเมินไม่ได้ ซึ่งผู้รับผลกระทบก็คือประเทศชาติและประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 11:00 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม คืบหน้า 77.7% เจาะอุโมงค์ทะลุ ”สถานีหัวหมาก” แล้ว
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 6 มีนาคม 2564 - 12:43 น.

รฟม.เผยความสำเร็จ”อิตาเลียนไทย”ขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี

วันที่ 6 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน แจ้งความสำเร็จงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า โดยหัวเจาะอุโมงค์ได้เจาะทะลุ (TBM Final breakthrough) เข้าสู่สถานีหัวหมากอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

ถือเป็นการสิ้นสุดงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสัญญาที่ 3 โดยรูปแบบงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า เป็นอุโมงค์คู่ขนานใต้ถนนรามคำแหง ซึ่งเริ่มงานขุดเจาะจากสถานีคลองบ้านม้า ไปยังสถานีหัวหมาก หัวเจาะอุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 5.70 เมตร ที่ระดับความลึก 15-25 เมตร จากผิวดิน


ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แบ่งสร้าง 6 สัญญา มีความก้าวหน้าก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือนก.พ. 2564 คิดเป็น 77.77 % จะเสร็จในเดือน ต.ค. 2565 และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 77.77%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-orangelineeast.com
โดยสัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 86.10%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 77.34%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 75.63 %

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วง คลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 66.52%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 79.75%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 72.35%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

หัวเจาะสีส้มเจาะใต้ดินทะลุสถานี “หัวหมาก-รามคำแหง” แล้ว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 13:18 น.
ปรับปรุง:วันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 13:18 น.

รฟม.เผยเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสีส้ม (ตะวันออก) ทะลุสถานีใต้ดิน “หัวหมาก-รามคำแหง” สถิติดีที่สุด 47.6 เมตร/วัน ภาพรวมคืบ 77.77% มั่นใจเปิดให้บริการปี 2567

วันนี้ (9 มี.ค. 2564) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร รฟม.ลงพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เพื่อตรวจเยี่ยมและร่วมบันทึกภาพความสำเร็จของงานขุดเจาะอุโมงค์ตัวที่ 3 “หัวเจาะบูรพาทรัพย์” ที่เจาะทะลุ (TBM Final breakthrough) จากสถานีหัวหมากเข้าสู่สถานีรามคำแหงอย่างเป็นทางการแล้ว

ซึ่งดำเนินการโดยกิจการร่วมค้าซีเคเอสที ผู้รับจ้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 1 ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 และสัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก ณ สถานีรามคำแหง ถนนรามคำแหง

สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานี รฟม.ถึงสถานีหัวหมาก มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 13.3 กิโลเมตร โดยใช้ชุดหัวเจาะทั้ง 3 ตัว ได้แก่

- หัวขุดเจาะที่ 1 “หัวเจาะบูรพาชัย” ดำเนินการขุดเจาะจากสถานี รฟม.-สถานีรามคำแหง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562-20 ธันวาคม 2563

- หัวขุดเจาะที่ 2 “หัวเจาะบูรพาโชค” ดำเนินการขุดเจาะจากสถานี รฟม.-สถานีรามคำแหง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562-26 กุมภาพันธ์ 2564

- หัวขุดเจาะที่ 3 “หัวเจาะบูรพาทรัพย์” ดำเนินการขุดเจาะจากสถานีหัวหมาก-สถานีรามคำแหง เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563-6 มีนาคม 2564


นอกจากนี้ การดำเนินการขุดเจาะของหัวขุดเจาะบูรพาทรัพย์ดังกล่าวยังถือเป็นสถิติที่ดีที่สุดของการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินของประเทศไทย โดยสามารถประกอบผนังอุโมงค์ความยาว 1.4 เมตรได้ถึง 34 วงต่อวัน คิดเป็นระยะทาง 47.6 เมตร

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีความก้าวหน้าก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คิดเป็น 77.77% และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

รฟม.เปิดแผนเจาะอุโมงค์สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มทะลุสถานีรามคำแหง

09 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:30 น.


9 มี.ค.64-รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)แจ้งว่านายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร รฟม. ลงพื้นที่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฯ เพื่อตรวจเยี่ยมและร่วมบันทึกภาพความสำเร็จของงานขุดเจาะอุโมงค์ตัวที่ 3 “หัวเจาะบูรพาทรัพย์” ที่เจาะทะลุ (TBM Final breakthrough) จากสถานีหัวหมากเข้าสู่สถานีรามคำแหงอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที ผู้รับจ้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 1 ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – รามคำแหง 12 และสัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก ณ. สถานีรามคำแหง ถนนรามคำแหง สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน จากสถานี รฟม. ถึงสถานีหัวหมาก มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 13.3 กิโลเมตร

โดยใช้ชุดหัวเจาะทั้ง 3 ตัว ได้แก่ หัวขุดเจาะที่ 1 “หัวเจาะบูรพาชัย” ดำเนินการขุดเจาะจากสถานี รฟม. – สถานีรามคำแหง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 – 20 ธันวาคม 2563 หัวขุดเจาะที่ 2 “หัวเจาะบูรพาโชค” ดำเนินการขุดเจาะจากสถานี รฟม. – สถานีรามคำแหง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 – 26 กุมภาพันธ์ 2564 และหัวขุดเจาะที่ 3 “หัวเจาะบูรพาทรัพย์” ดำเนินการขุดเจาะจากสถานีหัวหมาก – สถานีรามคำแหง เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 – 6 มีนาคม 2564

นอกจากนี้ การดำเนินขุดเจาะของหัวขุดเจาะบูรพาทรัพย์ดังกล่าว ยังถือเป็นสถิติที่ดีที่สุดของการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินของประเทศไทย โดยสามารถประกอบผนังอุโมงค์ความยาว 1.4 เมตรได้ถึง 34 วงต่อวัน คิดเป็นระยะทาง 47.6 เมตร ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฯ มีความก้าวหน้าก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คิดเป็น 77.77% และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพ ฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น


รฟม. ฉลองความสำเร็จ สร้างสถิติดีที่สุดในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีหัวหมาก – สถานีรามคำแหง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
Cr : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 12:39 น.

รถไฟฟ้าสีส้มตะวันออกเจาะอุโมงค์ทะลุสถานีรามคำแหงแล้ว
*”ซีเคเอสที” สร้างสถิติดีที่สุดในการก่อสร้างฯ
*พร้อมเปิดปี 67 เชื่อมตะวันออกสู่ใจกลางเมือง
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2741706659379384
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2855299188024914


Last edited by Wisarut on 12/03/2021 11:34 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

เดือดจัด บีทีเอส ยื่นหนังสือถึง นายก เคลียร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project

วันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 13:12 น.

บีทีเอส ยื่นหนังสือฟ้องนายก แก้ปัญหาประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังรฟม.-บอร์ดม.36 เปิดประมูลรอบ 2 ยึดเกณฑ์เทคนิคควบราคา ยันไม่เป็นธรรม

รายงานข่าวจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มึนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามโครงการที่อ้างถึง สืบเนื่องจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ("รฟม.") และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ("คณะกรรมการคัดเลือกฯ") ได้ร่วมกันเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเดิมครั้งที่ 1 จนเป็นเหตุให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) "บริษัทฯ" มีหนังสือสอบถามและขอความเป็นธรรมถึงบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ จำนวน 5 ฉบับ ปรากฏว่าบริษัทฯ มิได้รับการชี้แจงในผลการตรวจสอบเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในการดำเนินโครงการฯ แต่อย่างใด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 บริษัทฯ ได้ฟ้องรฟม. และ คณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นคดีปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 เพื่อให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการกระทำทางปกครองและ/หรือคำสั่งทางปกครองทั่วไป และขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติที่เห็นชอบเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการประเมินข้อเสนอของ

คณะกรรมการคัดเลือกฯ ด้วย ซึ่งศาลปกครองกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งในคดีปกครองดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 โดยศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขวิธีการประเมินข้อเสนอน่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของ รฟม. ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มครั้งที่ 1 ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นโดยในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 รฟม. มีหนังสือที่ รฟม 007 (คกก)สม/ว32 ถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยแจ้งว่า "คดีปกครองดังกล่าวอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา และยังคงกำหนดการยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 คือ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 9.00 -15.00 น. และมีกำหนดการเปิดซองข้อเสนอซองที่ 1 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563ตามเดิม" ทำให้บริษัทฯ ร่วมกับ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาขน) ยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการฯ ในกิจการค้า บีเฮสอาร์ (BSR Join Venture) ตามวันเวลาดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 รฟม. ได้ประกาศในเว็บไชต์ ww.nrta.co.th ว่า "...เพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐ รฟม. จึงขอยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกขนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว..." และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลปกครองสูงสุดได้มีหมายแจ้งว่ารฟม. ได้ขอถอนอุทธรณ์คำสั่งทุเลาฯ และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งอนุณาตให้ถอนอุทธรณ์ เท่ากับว่าคำสั่งทุเลาฯ ที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัยไว้ รฟม, ไม่ขอโต้แย้ง โดยขณะนี้คดีอยู่ระหว่างรอฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองกลาง ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวของ รฟม. ไม่ถูกต้องทั้งข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากประเด็นข้อคิดเห็นที่ แตกต่างกันระหว่าง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ กับบริษัทฯ ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง ซึ่งทุกฝ่ายที่เป็นคู่ความที่เกี่ยวข้องจะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่เป็นที่สุดเสียก่อนเพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไปดังนั้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องยื่นฟ้อง ผู้ว่าการ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นคดีอาญา ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในฐานความผิดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่าในวันที่ 3 มีนาคม 2564 ระหว่างรอฟังคำพิพากษาของศาลปกครองกลางและการดำเนินกระบวนการทางอาญาของศาลอาญาคคีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่บริษัทฯ ฟ้อง รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ว่าได้กระทำความผิด รฟม. โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนด้วยการประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนใหม่ โดยให้กรอกความเห็นในเอกสารตามแบบสอบถามและจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ของ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 17-19 มีนาคม 2564 ซึ่งปรากฏว่าข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ มีสาระสำคัญของวิธีการประเมินข้อเสนอ กล่าวคือ "...การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 โดย รฟม.จะประเมินข้อเสนอซองที่ 6 และซองที่ 3 เป็นคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน และนำคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดจะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด..." โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอในข้างต้น เป็นหลักเกณฑ์เดียวกับหลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ให้ รฟม.นำมาใช้บังคับในการคัดเลือกเอกชน โดยศาลปกครองกลางชี้ว่า "การเปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินข้อเสนอในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ และการออกเอกสาร สำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 น่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ขอบด้วยกฎหมาย..." จากข้อเท็จจริงข้างตัน จะเห็นได้ว่า ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ โดยการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ก็ดี การยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ รวมถึง การเปิดให้รับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อจัดทำร่างเอกสาร



ทั้งนี้การคัดเลือกเอกชนใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็ดี มิอาจกระทำได้เช่นที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ กำลังดำเนินการอยู่ โดยเพาะอย่างยิ่งปัญหาของโครงการฯ และความล่าช้าที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกระทำของ รฟม. และคณะกรรมการคัตเลือกฯ ที่ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีมูลเหตุจูงใจที่ต้องการจะเปลี่ยนแบ่ลงหลักกณฑ์การคัดเลือกเอกชนทั้งๆที่กรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณในคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ร่วมประชุมด้วยได้ทักท้วงแล้วว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ ต้องเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีก่อน แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ กลับไม่รับฟัง และยิ่งปรากฎหลักฐานชัดเจน เมื่อ รฟม. ได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกขึ้นใหม่ โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูสสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ ที่นำเสนอล้วนเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม. ประสงค์จะให้มีการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ที่ผ่านมาของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีจุดประสงค์เพียงเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน ที่ผ่านความเห็นชอบมาโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไปสู่หลักเกณฑ์ใหม่ที่ รพม.และคณะกรรมการตัดเลือกฯ ต้องการ โดยไม่คำนึงว่าหลักเกณฑ์เดิมเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงหลักนิติรัฐและหลักนิตธรรม ไม่เคารพต่อคำสั่งของศาลปกครองกลาง และไม่ใส่ใจต่อคำทักห้วงของสื่อมวลชนที่ติดตามโครงการฯ นี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ รฟม. ได้เริ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากเอกขนเพื่อนำไปจัดทำร่างประกาศเชิญขวนฯ ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน เพื่อส่งให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ให้ความเห็นชอบตามพระราขบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มาตรา 39 โดยไม่เสนอปัญหาที่เกิดขึ้นต่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามกฎหมายก่อนว่า กระทำได้หรือไม่ถูกต้องกระทำได้หรือไม่ ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีขั้นตอนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว บริษัทฯ ได้พยายามอย่างที่สุดตามกฎหมาย และประกาศที่บัญญัติไว้ เพื่อระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบของกลุ่มบุคคลดังกล่าว จนนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพียงเพื่อต้องการให้การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม และเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามนโยบายของ นายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวยังไม่มีท่าทีที่จะสำนึกและแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งไม่ปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการกำกับ ควบคุมดูแล การกระทำของรฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะออกมาดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อยับยั้งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอนึ่งการที่ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินหลังจากที่ออกหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตลอดจนประกาศเชิญชวนฯ ให้มีการยื่นข้อเสนอโดยถูกต้องในทุกขั้นตอนแล้ว จึงมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่เป็นสาระสำคัญโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการที่ต่อมาได้ประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว และเริ่มต้นกระบวนการคัดเลือกเอกชนใหม่โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินที่ยังมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทำลายกระบวนการประกวดราคาครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวมถึงโดรงการนี้ถือเป็นโดรงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ที่ใช้การประกรดราคาแบบ International Bidding อีกทั้งการที่ รฟม. ใช้หลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอตามที่ปรากฎในข้อมูลเดือดจัด บีทีเอส ยื่นหนังสือถึง นายก เคลียร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2
เดือดจัด บีทีเอส ยื่นหนังสือถึง นายก เคลียร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2


ทั้งนี้การรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ มีการชี้นำในหัวข้อที่วิธีการประเมินข้อเสนอที่ระบุถึงการใช้คะแนนด้านเทคนิคที่สอดรับกับการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัยเป็นเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากปล่อยให้หน่วยงานของรัฐมีการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องในลักษณะที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนผู้ลงทุนทั้งภายในประเทศและโดยเฉพาะผู้ลงทุนจากต่างประเทศ จนอาจทำให้ประเทศชาติได้รับความเสื่อมเสียและขาดความนำเชื่อถือ บริษัทฯ จึงขอกราบเรียนมายังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิบตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้โปรดตรวจสอบการกระทำของผู้ว่าการ รฟม. คณะกรรมการคัดเลือกฯ และผู้เกี่ยวข้องตามข้อเท็จจริงรายละเอียดที่นำเสนอข้างตัน และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดชื้นหากปรากฎผลทางการพิจารณาคดีว่า การกระทำที่ผ่านมาเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามฟ้อง จึงขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดสั่งการไปยัง รฟม. ให้หยุดการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เป็นกรณีพิพาทนี้จนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป หนังสือฉบับนี้ถือเป็นหนังสือร้องเรียนโดยมีข้อมูลและสาระตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 41 ประกอบมาตรา 38 จึงขอให้แจ้งผลการดำเนินการให้บริษัททราบตามกรอบเวลาด้วย

เดือด!! 5 โมงเย็น รฟม.เปิดโต๊ะแถลงข่าวด่วน
*ศึกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน
*บีทีเอสร้องนายกฯสั่งชะลอ/รอศาลตัดสิน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2855381024683397
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 89, 90, 91  Next
Page 49 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©