Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258791
ทั้งหมด:13570068
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 80, 81, 82 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2021 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว! รถไฟฟ้า MRT “สีน้ำเงิน-ม่วง” จ่ายสูงสุด 54 บาท บัตรจำกัดเที่ยว-วัน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 06:00 น.



รฟม. “สายสีน้ำเงิน-สายสีม่วง” เปิดใช้บัตรโดยสารจำกัดเที่ยว-ใช้ได้ 30 วัน วันนี้ (1 มี.ค.) วันแรก ราคาเฉลี่ยถูกลง จ่ายสูงสุด 54 บาท/เที่ยว

วันที่ 1 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มเปิดให้ใช้บริการ “บัตรโดยสารรถไฟฟ้าแบบจำกัดเที่ยวและจำกัดวันใช้ในเวลา 30 วัน” สำหรับใช้เฉพาะสายสีน้ำเงินและบัตรโดยสารร่วมสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) หรือ บัตร Multiline Pass

รฟม. ตัดหน้า BTS หั่นราคาสาย “สีน้ำเงิน-สีม่วง” ผุดตั๋วเที่ยวเก็บสูงสุด 54 บาท
ไม่เก็บค่าแรกเข้า จ่ายสูงสุด 54 บาท
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการฯ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม.เชื่อมั่นในมาตรการดังกล่าวที่จะสามารถจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนจะใช้จ่ายค่าโดยสารลดลง

อย่างเช่น คนที่ไม่ได้ซื้อบัตรโดยสารดังกล่าว รฟม.จะรับภาระค่าแรกเข้าให้ 14 บาท สำหรับคนนั่งสายสีม่วงต่อสีน้ำเงิน จะเสียสูงสุด 70 บาท หากใช้บัตรโดยสารดังกล่าว ราคาเฉลี่ยต่อเที่ยวจะถูกลงเช่นกัน โดย 50 เที่ยวราคาสูงสุดอยู่ที่ 54 บาท/เที่ยว


“การออกบัตรโดยสารดังกล่าวจะกระทบต่อรายได้ทั้ง รฟม. และ BEM บ้าง เพราะหลังเกิดโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง จากช่วงเวลาปกติมีผู้โดยสารใช้บริการสายสีน้ำเงินเฉลี่ย 390,000-400,000 เที่ยวคนต่อวัน ปัจจุบันเหลืออยู่ที่ 170,000-180,000 เที่ยวคนต่อวัน ขณะที่สายสีม่วงจาก 60,000 เที่ยวคนต่อวัน เหลืออยู่ที่ 30,000 เที่ยวคนต่อวัน และมีบางวันไม่ถึง 10,000 เที่ยวคนต่อวัน”


บัตรใช้ “สายสีน้ำเงิน”
สำหรับสายสีน้ำเงิน มีบัตรโดยสารแบบจำนวน 15 เที่ยว 30 วัน ราคา 450 บาท, จำนวน 25 เที่ยว 30 วัน ราคา 700 บาท, จำนวน 40 เที่ยว 30 วัน ราคา 1,040 บาท และจำนวน 50 เที่ยว 30 วัน ราคา 1,250 บาท

บัตรใช้ร่วม “สายสีน้ำเงิน-สีม่วง”
ส่วนบัตร Multiline Pass เดินทางข้ามระบบสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วง มีจำนวน 15 เที่ยว 30 วัน ราคา 810 บาท, จำนวน 25 เที่ยว 30 วัน ราคา 1,300 บาท, จำนวน 40 เที่ยวโดยสาร 40 เที่ยว 30 วัน ราคา 2,000 บาท และจำนวน 50 เที่ยว 30 วัน ราคา 2,250 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2021 7:21 pm    Post subject: Reply with quote

วิหาร200ปีวัดดังเตรียมถูกทุบ เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้า
พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 11.33 น.

เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง
พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 18:26 น.

เวนคืนที่ดิน "วัดเอี่ยมวรนุช" อายุกว่า 200 ปี สร้างรถไฟฟ้า
5 มีนาคม 2564 เวลา 07:30 น.

สุดเศร้า “วัดเอี่ยมวรนุช” ถูกเวนคืนที่ดินสร้างสถานีรถไฟฟ้า ปิดตำนาน “วิหารหลวงปู่ทวด” โบราณสถานเก่าแก่อายุ 237 ปี เจ้าอาวาสช็อกพื้นที่น้อยอยู่แล้ว ไม่คิดว่าจะโดนเฉือนอีกเยอะขนาดนี้



จากรณี ครม. อนุมัติร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 124,959 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ทาง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ลุยสำรวจเวนคืนที่ดินไปแล้วกว่า 102 ไร่ 410 แปลง บ้าน 264 หลัง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะดำเนินการได้ ก.พ. 2564 และได้ตัวผู้รับจ้างระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ค.2564 เริ่มก่อสร้างภายในเดือน ส.ค.- ก.ย. 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 6 ปี แล้วเสร็จภายในปี 2570 นั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แฟนเพจเฟซบุ๊ก วัดเอี่ยมวรนุช ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่ต้องถูกเวนคืนที่ดินได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า “เคร้าสลด..หดหู่...ปิดตำนาน วิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานของวัดเอี่ยมฯ ..237 ปีแลกกับสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม..เมื่อรถไฟฟ้ามาวัดวาก็ถูกทุบทำลาย”






ซึ่งก่อนหน้านี้ทางวัดได้โพสต์ข้อความไว้ว่า “ด่วน!..วัดเอี่ยมฯ โดนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เมื่อความเจริญเข้ามา สิ่งที่จะต้องเสียไปคือ วัดวาอาราม จะต้องโดนเวนคืนเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ปัจจุบันวัดเอี่ยมก็เล็กมาก เนื้อที่แค่ 2 ไร่ กว่าๆเอง แทบจะไม่มีเนื้อที่เหลือสำหรับจัดกิจกรรมใดๆ ตอนนี้ก็โดนเฉือนไปอีก ตั้งแต่กำแพงวัด ซุ้มประตู ศาลา ทั้ง 2 หลังด้านหน้าวัด เจดีย์ขาว อายุเกือบร้อยปี และวิหารหลวงปู่ทวด





และที่ผลประโยชน์ของวัดร้านครัวเพลินเพลง กับร้านก๋วยเตี๋ยวข้างวัดฯ ลานหน้าวัดที่เวนคืนจากกำแพงวัดมาอีก 6 เมตร วัดยิ่งเล็กลงไปอีก มากๆ ผลการประชุมวันนี้จาก จนท.ของ รฟม. รังวัดพื้นที่ตอกหมุดเรียบร้อย น้ำตาจะไหล ไม่คิดว่าเรามาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร สงสารหลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านก็บอกว่าช็อกมากไม่คิดว่าจะโดนเวนคืนเยอะขนาดนี้ เพราะตอนแรกที่คณะกรรมการฯ รฟม.มาคุยกันมันไม่ใช่แบบนี้”..







ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : วัดเอี่ยมวรนุช.


ปิดตำนาน 237 ปี “วิหารหลวงปู่ทวด” วัดเอี่ยมวรนุช เซ่นสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม
พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564

" เคร้าสลด..หดหู่...ปิดตำนาน วิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานของวัดเอี่ยมฯ ..237 ปีแลกกับสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม..เมื่อรถไฟฟ้ามาวัดวาก็ถูกทุบทำลาย "
https://www.facebook.com/buildernews/photos/a.312615144393/10159083441674394/
https://www.facebook.com/WatIamWoranutch/posts/3723300461088382
https://www.facebook.com/WatIamWoranutch/posts/3718517091566719

ไหว้ 11 สิ่งศักดิ์สิทธิ์เอี่ยมวรนุช ก่อนถูกเวนคืนสร้างรถไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 17:35 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 17:35 น.

หลังจากที่มีข่าวว่า "วัดเอี่ยมวรนุช" แห่งย่านบางขุนพรหม ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ ที่กำลังจะโดนเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีบางขุนพรหม สร้างความตกใจให้แก่ทางวัด รวมถึงประชาชนใกล้เคียง เนื่องจากไม่คิดว่าจะโดนเวนคืนเยอะขนาดนี้

วันนี้จึงจะขอพาไปทำความรู้จักกับ "วัดเอี่ยมวรนุช" ผ่านไฮไลท์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 11 สิ่งภายในวัดแห่งนี้กัน


1. “หลวงพ่อพระบางประสิทธิโชค” หรือ “พระอีบาง” ที่แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคอีสานของไทย แต่ก็มีความเชื่อกันว่าหากพระอีบางประดิษฐานอยู่ที่ไหน ที่นั่นจะแห้งแล้ง จึงมีการอัญเชิญพระอีบางมาประดิษฐานไว้ที่กรุงเทพฯ ประกอบกับในช่วงนั้นกรุงเทพฯ เองมีปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขัง ก็เชื่อกันว่าพระอีบางจะมาช่วยแก้ปัญหานี้

2. “หลวงพ่อสารพัดช่าง” พระพุทธรูปองค์รองประธานภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อสารพัดช่างแต่เดิมนั้นเป็นพระประธานของวัดสารพัดช่าง ที่ตั้งอยู่บริเวณวังบางขุนพรหม เมื่อจะมีการสร้างวังบางขุนพรหมขึ้น ก็ได้ใช้พื้นที่ของวัดสารพัดช่างในการสร้างวัง และได้อัญเชิญหลวงพ่อสารพัดช่างมาประดิษฐานไว้ที่วัดเอี่ยมวรนุชแทน


3. “พระสีวลี”ประดิษฐานอยู่ทางขวาของพระอุโบสถ (หันหน้าออกจากพระอุโบสถ) โดยคนที่มากราบสักการะพระสีวลีมีความเชื่อกันว่า จะได้รับโชคลาภ เนื่องจากพระสีวลีนั้นเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมากนั่นเอง

4. “พระโพธิสัตว์กวนอิม” ประดิษฐานอยู่ตรงกลางวิหาร ด้านหลังมีพระพุทธรูปหลายองค์

5. “พระศรีอริยเมตไตรย”

6.“พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต”

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ประดิษฐานภายในวิหารหลวงปู่ทวด
หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ประดิษฐานภายในวิหารหลวงปู่ทวด

7. “พุทธเจดีย์ปรินิพพาน” หรือเจดีย์ถวายพระเพลิงพระศาสดา ลักษณะเป็นมณฑปเล็กๆ สีขาว ภายในประดิษฐานพระเจ้าเข้านิพพาน ซึ่งอาจจะไม่ค่อยได้เห็นเจดีย์ลักษณะนี้กันสักเท่าไรนักที่วัดอื่นๆ

8.วิหารหลวงปู่ทวด ซึ่งภายในประดิษฐาน“หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป วิหารหลวงปู่ทวดนี้เปิดทุกวัน ใครผ่านไปผ่านมาก็สามารถแวะเข้ามากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเองได้

9. “พระพรหม” เทพเจ้าสูงสุดตามคติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

10. “พระพิฆเนศ” เทพเจ้าแห่งความรู้ ผู้มีปัญญาเป็นเลิศ

11. “หลวงปู่ชีวกโกมารภัจจ์” บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ



“วัดเอี่ยมวรนุช” ตั้งอยู่บนถนนสามเสน แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กทม. วัดเอี่ยมวรนุชตั้งอยู่บริเวณสี่แยกบางขุนพรหม ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย หากมาจากเทเวศร์ ให้ใช้ถนนสามเสนมุ่งหน้ามาทางสนามหลวง ตรงมาผ่านแยกบางขุนพรหมเล็กน้อย จะเห็นวัดตั้งอยู่ทางซ้ายมือ รถประจำทางสายที่ผ่าน อาทิ 3, 30, 32, 33, 53, 64, 65, 516 เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2628-7906





เศร้า! "วัดเอี่ยมวรนุช" เผยถูกเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้า
คุณภาพชีวิต

พฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564

"วัดเอี่ยมวรนุช" เขตพระนคร เผยข่าวช็อก ถูกเวนคืนที่ดินบางส่วนเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง "เจดีย์-วิหาร-โบราณสถาน" อายุเกือบร้อยปี อาจต้องถูกทุบทิ้ง .



4 มีนาคม 2564 เพจเฟซบุ๊ก วัดเอี่ยมวรนุช โพสต์รูปและข้อความเผยข่าวร้ายเรื่องการถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างรถไฟฟ้า โดยระบุข้อความดังนี้...



ด่วน!..วัดเอี่ยมฯ.โดนเวรคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน.. เมื่อความเจริญเข้ามา สิ่งที่จะต้องเสียไปคือ...วัดวาอาราม จะต้องโดนเวนคืนเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ปัจจุบันวัดเอี่ยมก็เล็กมาก เนื้อที่แค่ 2 ไร่ กว่าๆเอง แทบจะไม่มีเนื้อที่เหลือสำหรับจัดกิจกรรมใดๆ ตอนนี้ก็โดนเฉือนไปอีก ตั้งแต่กำแพงวัด ซุ้มประตู ศาลา ทั้ง 2 หลังด้านหน้าวัด เจดีย์ขาว อายุเกือบร้อยปี และวิหารหลวงปู่ทวด และที่ผลประโยชน์ของวัดร้านครัวเพลินเพลง กับร้านก๋วยเตี๋ยวข้างวัดฯ ลานหน้าวัดที่เวนคืนจากกำแพงวัดมาอีก 6 เมตร ... วัดยิ่งเล็กลงไปอีก มากๆ...ผลการประชุมวันนี้จาก จนท.ของ รฟม. รังวัดพื่นที่ตอกหมุดเรียบร้อย......น้ำตาจะไหล..ไม่คิดว่าเรามาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร....สงสารหลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านก็บอกว่าช๊อคมากไม่คิดว่าจะโดยเวนคืนเยอะขนาดนี้ ....เพราะตอนแรกที่คณะกรรมการฯ รฟม.มาคุยกันมันไม่ใช่แบบนี้...........


ด้านชาวบ้านละแวกใกล้เคียง ก็ได้ตั้งเพจเฟซบุ๊ก "ชมรมคนรักวัดเอี่ยมวรนุช" พร้อมตั้งแคมเปญเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมลงชื่อคัดค้านการเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ครั้งนี้ด้วย โดยมองว่าการสร้างรถไฟฟ้าสามารถเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าวได้เพื่อไม่ให้กระทบที่ดินวัดซึ่งแต่เดิมก็มีขนาดเล็กมากอยู่แล้ว



สำหรับวัดเอี่ยมวรนุช เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระครูศรีสุตาภรณ์ (คำนึง ป.ธ.๖)

วัดเอี่ยมวรนุชตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2327 เดิมชื่อ วัดท้องคุ้ง ต่อมาปลัดนุชดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดปลัดนุช ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยายเอี่ยมได้สร้างพระอุโบสถ พระองค์จึงมีดำรัสว่าควรมีชื่อผู้สร้างร่วมอยู่ในวัดนี้ด้วย วัดนี้จึงมีชื่อว่า "วัดเอี่ยมวรนุช" นับแต่บัดนั้น วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2490

สำหรับอาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัด ด้านหน้าพระอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อพระบางประสิทธิโชค หรือ พระอีบาง แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคอีสานของไทย ภายในพระอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานอยู่ มีพระอัครสาวกซ้ายขวา และด้านหน้าประดิษฐาน หลวงพ่อสารพัดช่าง เป็นองค์รองประธาน ด้านขวาของพระอุโบสถมีพระสีวลี




นอกจากนี้ยังมีวิหารเจ้าแม่กวนอิมเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ประดิษฐานอยู่ตรงกลางวิหาร ด้านหลังมีพระพุทธรูปหลายองค์ ส่วนด้านซ้ายประดิษฐาน พระศรีอริยเมตไตรย และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต อีกมุมหนึ่งของวัดมีพุทธเจดีย์ปรินิพพานหรือเจดีย์ถวายพระเพลิงพระศาสดา ลักษณะเป็นมณฑปเล็ก ๆ สีขาว ภายในประดิษฐานพระเจ้าเข้านิพพาน วัดมีวิหารหลวงปู่ทวด ซึ่งภายในประดิษฐาน หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด นอกจากนี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่โดยรอบวัด ไม่ว่าจะเป็นพระพรหม พระพิฆเนศ หลวงปู่ชีวกโกมารภัจจ์


Last edited by Wisarut on 05/03/2021 4:37 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:15 am    Post subject: Reply with quote

"รื้อวัดทำสถานีรถไฟฟ้า"

05 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น.

เห็นข่าว รฟม. "รื้อวัด" ทำสถานีรถไฟฟ้าแล้วตกใจ!

วันนี้ ขอคุยหน่อย

วัดที่ว่านี้คือ "วัดเอี่ยมวรนุช" ตรงสี่แยกบางขุนพรหม พื้นที่วัดมีซัก ๒ ไร่ ถึงหรือเปล่าก็ไม่รู้?

แต่ รฟม.ก็ยังเวนคืน ทั้งที่มีเท่ากระแบะมือ รื้อกำแพง ทุบมณฑปหลวงพ่อทวด ทุบเจดีย์ ศาลา และ ฯลฯ

เอาไปทำ "สถานีบางขุนพรหม" ของรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้!

กับวัดเอี่ยมวรนุช การ "เวนคืน" ไม่ต่างการ "รื้อวัด" แค่ที่เฉือน ก็เกือบ "ครึ่งวัด" ไปแล้ว

ยังดีที่เหลือโบสถ์กับกุฏิ ๒-๓ หลังไว้ให้ ถ้า รฟม.ไม่ยอมกลับใจ ก็คงได้บันทึก เมืองไทย-เมืองพุทธ รื้อวัดทำสถานีรถ

จะเอากันขนาดนี้เลยหรือ...ท่านนายกฯ?

ขอพึ่งท่านซักครั้งเถอะ

เพราะไม่รู้จะไปร้องทุกข์กับเทวดาที่ไหนแล้ว สงสารทั้งพระ เห็นใจทั้งชาวบ้าน ที่ผูกพันกับวัดมาเป็นศตวรรษ

ถ้าวัดมีเนื้อที่เป็น ๑๐-๒๐ ไร่ ก็ว่าไปอย่าง

แต่นี่ มีเท่าแมวดิ้นตาย ก็ยังจะไปเป็น "มารผจญ" เฉือนที่วัด สร้างสถานีรถประชิดโบสถ์

ถามจริงๆ เถอะ ผู้บริหาร รฟม. พวกคุณเกิดมาจากไหน ถึงได้ทำกันขนาดนี้?

วัดเอี่ยมฯ อยู่คู่มากับกรุงเทพฯ สองร้อยกว่าปี มีประวัติร่วมสมัยหลายอย่าง

การ "รื้อวัดทำสถานีรถ" แบบนี้หรือที่เรียก "ความเจริญ"?

ขอพึ่งบารมีนายกฯ ช่วยพิจารณาทบทวน-แก้ไขด้วยเถิด!

ผมผูกพันกับวัดเอี่ยมฯ พอสมควร ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน "พระมหาคำนึง น้ำใจดี" ท่านใจดีสมนามสกุลเป็นที่ประจักษ์ญาติโยมรอบวัด

ตอนเป็นเณร ผมกับท่าน เดินจากวัดบางจะเกร็ง ย่านดอนหอยหลอด แม่กลอง ไปเรียนหนังสือ "วัดหลวงพ่อบ้านแหลม" ด้วยกัน ไป-กลับ วันละ ๑๒ กิโล

ท่านเคร่งในศีลและเอาถ่านในการเรียน

ส่วนผมเกกมะเหรก เอาแต่ขี้เถ้า ครบบวช-ท่านบวช ส่วนผม "บุญไม่ถึง" ออกไปผจญบาป

ท่านจบเปรียญธรรม ๗ ประโยค จบพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาฯ และไปต่อโท ที่อินเดีย

กลับมาสอนที่มหาจุฬาฯ และเป็นเจ้าอาวาสต่อจากเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมฯ องค์เดิม ที่มรณภาพ

ตลอดชีวิตท่าน "เกือบ ๘๐ ปี" มีช่วงเด็กไม่ถึง ๑๐ ปีที่เป็นฆราวาส นอกนั้น ท่านครองสมณเพศเคร่งครัดถึงทุกวันนี้

ข่าวบอก "ท่านแทบช็อก"....

เมื่อทราบ รฟม.มาตอกหมุด ขีดพื้นที่ เฉือนที่วัดไปขนาดนั้่น ซึ่งไม่เป็นไปตามที่เคยพูดจากัน

เป็นใครก็ช็อก ถ้าเห็นสภาพพื้นที่วัดเอี่ยมฯ เพราะ "นิดเดียว" จริงๆ เมื่อ รฟม.ถือในอำนาจมาเฉือนเอาไป

อนาคตที่เป็น สภาพวัดก็ไม่ต่าง "ศาลาริมทาง" สถานีรถไฟฟ้า"!

รื้อวัดแล้วยังรื้อ "มณฑปหลวงพ่อทวด" ทิ้งด้วย ช่างกล้านะ ผมก็อยากเห็นเหมือนกัน สมมุติดันทุรังรื้อจริงๆ

"คนสั่งรื้อ-คนรื้อ" จะมีจุดจบอย่างไร?

ผมไปทำบุญทุกปี อย่างน้อย "ปีละครั้่ง" ไปก็ไปไหว้พระประธานในโบสถ์ ไปกราบหลวงพ่อทวด

ถ้าแบบนี้ ปีหน้า ๖๕ คงไม่มีให้กราบแล้ว รฟม.คงรื้อไปเหี้ยน!

ทำไม "หลวงพ่อทวด" จึงมีที่วัดเอี่ยมฯ มีความเชื่อมโยงอะไรกับหลวงพ่อทวดที่ "วัดช้างให้" ปัตตานี?

ตรงนี้ มีเรื่องต้องคุยกัน .......

แต่ก่อนไปถึงตรงนั้น ขอแวะนิด คือถ้าใครเคยไปวัดเอี่ยมฯ เข้าประตูปุ๊บ จะเห็นพระพุทธรูปยืนองค์หนึ่งอยู่ด้านผนังโบสถ์

ชาวบ้านตั้งชื่อว่า "พระบาง" ร่ำลือว่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์นัก!

ผมไม่ได้มาเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ แต่อยากบอกว่า ผมนี่แหละ ชักนำให้นำมาประดิษฐานอยู่ที่นี่

คือช่วงปี ๒๕๒๕-๒๕๒๗ จำไม่ค่อยได้ ตอนนั้น ผมอยู่ไทยรัฐ เข้าเวรคืนหนึ่ง นักข่าวนครสวรรค์โทร.ทางไกลมาบอก

ชาวบ้านอยากให้เอาพระพุทธรูปองค์หนึ่งออกไปให้พ้นหมู่บ้าน อ้างว่า ตั้งแต่พระพุทธรูปองค์นี้มาอยู่ที่วัด ฝนไม่ตก แห้งแล้งมาก จะแห่เอาไปทิ้ง

ถามผม จะทำไงดี ให้เอาไปไว้ที่วัดไหนได้บ้างไหม?

ผมก็ไม่รู้จักวัดไหน นึกถึงพระมหาคำนึง "เพื่อนสมัยเณร" ได้ ก็วานคุณประกิต หลิมสกุล ที่เข้าเวรด้วยกัน โทร.ไปปรึกษาท่านเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมฯ

ท่านให้เอาไปไว้ที่วัดท่าน ก็ประดิษฐานดังเห็นทุกวันนี้ ไปทีไร ผมก็ยืนสวดมนต์ตรงหน้าท่าน เรียกว่าปีละครั้ง

นักข่าวนครสวรรค์คนนั้่น เสียชีวิตไปนานแล้ว ไม่ทราบเหมือนกันว่า เมื่อพระบางจากพื้นที่ไปแล้ว หายแล้งหรือไม่

แต่ที่แน่ๆ "ใจคน" น่ะ แล้งแน่!

ทีนี้ พูดถึงความเป็นมา วัดเอี่ยมวรนุช เกี่ยวพันอะไรกับ "หลวงพ่อทวด" บ้าง?

ตอนปี ๒๕๐๕-๐๖ พระมหาคำนึงย้ายจากแม่กลองมาอยู่วัดเอี่ยมฯ ความที่วัดเล็ก เห็นกันหมด ผมไปหามหาคำนึงก็เห็นกุฏิท่านเจ้าอาวาส

ท่านเป็นคนใต้ ช่วงนั้น วัดประสาทบุญญาวาส ย่านสามเสน แถวๆ โรงพยาบาลวชิระ กำลังสร้างโบสถ์หลังใหม่ แทนหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ไป ๔-๔ ปีก่อน

"พระอาจารย์ทิม" วัดช้างให้ เอ่ยแค่นี้ ทุกท่านคงทราบ ท่านเป็นผู้สร้างพระ "หลวงพ่อทวด" รุ่น ๒๔๙๗ เป็นรุ่นแรก

ท่านเดินทางจากปัตตานีมาพักที่วัดเอี่ยมวรนุช พักอยู่กุฏิเดียวกับที่เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันจำพรรษาอยู่นี่แหละ

ท่านมาทำไม...

เกี่ยวพันไปถึงวัดประสาทบุญญาวาส อยากให้อ่านนี่ ขออนุญาต www.phangpra.com › นำบางส่วนตีพิมพ์นะ

ประวัติความเป็นมาของวัดประสาทบุญญาวาสนั้น สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๓๗๖ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙

ขณะนั้น มีชื่อวัดว่า วัดคลองสามแสน เพราะอยู่ใกล้คลองสามแสน (ปัจจุบันเรียกคลองสามเสน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดขวิด เพราะมีต้นมะขวิดอยู่ด้านข้างอุโบสถขนาดใหญ่ ๒ ต้น

ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๘ เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่เสนาสนะหลายหลัง พร้อมทั้งอุโบสถ์หลังเดิมก็ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง

เจ้าอาวาสขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน จึงมีความคิดที่จะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่หลัง

เดิม

ซึ่งความคิดนี้ได้สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวด คือในคืนหนึ่ง "พระอาจารย์ทิม" เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวด

โดยท่านบอกให้พระอาจารย์ทิมไปช่วยบูรณะวัดที่กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกไฟไหม้

พระอาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสืบข่าวว่านิมิตดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่

โดยเข้าพักที่ "วัดเอี่ยมวรนุช" และได้รับการยืนยันว่า "มีวัดที่ชื่อวัดประสาทบุญญาวาส ถูกไฟไหม้จริง"

วันรุ่งขึ้น ท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพลในการบูรณะพระอุโบสถวัดประสาทบุญญาวาสขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ซึ่งตรงกับใจพระครูสมุห์อำพลพอดี และมีความคิดเห็นตรงกันว่า น่าจะสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเพื่อเป็นของสมนาคุณแก่ผู้ที่มาทำบุญ

ดังนั้นทั้งสองท่านจึงได้แบ่งงานกันทำ โดยทั้งสองท่านต่างก็ไปรวบรวมมวลสาร และนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่ทั้งสองท่านพอจะไปนิมนต์มาได้

ต่อมา "พระอาจารย์ทิม" เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นำพระหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัวหนังสือปี พ.ศ.๒๕๐๕ มามอบให้เพื่อถอดเป็นแม่พิมพ์และ

มอบมวลสารพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกปี ๒๔๙๗ พร้อมว่านแร่ดินกากยายักษ์มาให้วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดอีกด้วย .....ฯลฯ"

ไปคลิกเว็บ www.phangpra.com อ่านรายละเอียด ซึ่งมีมากกว่านี้เอานะครับ

นี่ผมยกมาเพียงเพื่อให้รู้ "พระอาจารย์ทิม" ผู้สร้างพระหลวงพ่อทวด เคยมาพักอยู่วัดเอี่ยมฯ

ฉะนั้น จึงหมดสงสัย ว่ามณฑป "หลวงพ่อทวด" มีอยู่ที่วัดเอี่ยมวรนุชได้อย่างไร?

ตอนนั้น ผมยังไม่ประสา เห็นคนคึกคักที่กุฏิเจ้าอาวาส จึงไม่รู้ความ ไม่งั้น เข้าไปกราบพระอาจารย์ทิม เผลอๆ อาจได้ หลวงพ่อทวด ๒๔๙๗ มาซักองค์ก็เป็นได้

มณฑป "หลวงพ่อทวด" วัดเอี่ยมวรนุช......

สัมพันธ์กับ "พระอาจารย์ทิม" และ "พระอาจารย์นอง" วัดทรายขาว ต้นตำรับผู้สร้างพระ "หลวงพ่อทวด" มาถึงทุกวันนี้ ก็เป็นเช่นนี้

แต่....

รฟม.จะทุบทิ้ง "เอาที่ทำสถานีรถ" ในอีกไม่กี่วันซะแล้ว

ท่านนายกฯ โอเคหรือครับ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:31 am    Post subject: Reply with quote

รองปลัดคมนาคมยันสร้างรถไฟฟ้าไม่พังวิหารหลวงปู่ทวด
ศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น.

นายสรพงศ์  ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย...เข้ามาแสดงความคิดเห็นในเพจวัดเอี่ยมวรนุช 

 
จากกรณีโลกออนไลน์เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เฟซบุ๊กวัดเอี่ยมวรนุช ที่ตั้งอยู่ใกล้กับแยกบางขุนพรหม โพสต์ภาพวัดและข้อความ ระบุว่าวัดจะโดนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ปิดตำนานวิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานวัดเอี่ยม 237 ปี แลกกับสถานีรถไฟฟ้า ปัจจุบันวัดเล็กมาก เนื้อที่แค่ 2 ไร่ 2 งาน แทบจะไม่มีเนื้อที่เหลือ


 
ล่าสุด นายสรพงศ์  ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เข้ามาแสดงความเห็นในเพจเฟซบุ๊ก "วัดเอี่ยมวรนุช" ยืนยันได้ตรวจสอบกับ รฟม. แล้วว่า พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า จะไม่กระทบ "วิหารหลวงปู่ทวด" และกระทรวงคมนาคม จะได้มองหมายให้ รฟม. ลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด


 
นอกจากนี้ยังมีโพสต์จาก เจ้าหน้าที่ รฟม. เพิ่มเติมอีกว่า “จนท.ของรฟม.ติดต่อประสานงานมากับทางวัดเอี่ยมฯ..." ขออนุญาตแนะนำตัวครับ ผมนายฤกษ์ฤทธิ์ เป็นเจ้าหน้าที่แผนกเรื่องราวร้องทุกข์ รฟม. ครับ.รฟม. ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ดำเนินการชี้แจงข้อมูลรูปแบบการก่อสร้างให้กับผู้แทนวัดเอี่ยมฯ (จากชมรมคนรักวัดเอี่ยมฯ) รับทราบแล้ว ทั้งนี้ รฟม. จะลงพื้นที่เข้าพบท่านเจ้าอาวาส ซึ่งจะประสานวันและเวลาต่อไป ".

🔴 #ไม่ทุบแล้ว!! รองปลัดคมนาคม สั่งเบรก “วิหารหลวงปู่ 237 ปี” วัดเอี่ยมวรนุช ไม่โดนทุบแล้ว หลังถูกเวนคืน ยัน พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า จะไม่กระทบวิหารฯ
Ch3ThailandNews
05 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:26 น.

หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ เมื่อ วัดเอี่ยมวรนุช ย่านบางขุนพรหม กรุงเทพฯ ได้โพสต์ข้อความ ปิดตำนาน “วิหารหลวงปู่ทวด” อายุ 237 ปี สืบเนื่องมาจากจะมีการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร ทำให้วิหารดังกล่าวจะต้องถูกทุบทิ้ง จนกลายเป็นที่พูดถึงเป็นจำนวนมาก
.
ล่าสุด นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวเข้ามาคอมเมนต์ในเพจของ “วัดเอี่ยมวรนุช” พร้อมระบุว่า “ผมได้ตรวจสอบจาก รฟม. แล้วว่า พื้นที่ก่อสร้างจะไม่กระทบวิหารหลวงปู่ทวด ครับ และกระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้ รฟม. ลดผลกระทบให้มากที่สุดครับ”


รฟม.ยันไม่เวนคืน “วัดเอี่ยมวรนุช” สร้างสถานีบางขุนพรหม
ในประเทศ
วันที่ 5 มีนาคม 2564 - 11:22 น.


รฟม.ยืนยันไม่ได้เวนคืน ”วัดเอี่ยมวรนุช” สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เผยกระทบแค่แนวรั้ววัด เร่งทำความเข้าใจผลกระทบ

วันที่ 5 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจง กรณีการเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหมโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตามที่ สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข่าวกรณีการเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสีม่วงใต้นั้น

วัดเอี่ยมวรนุช โดนเวนคืนที่ดิน สร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
ในการนี้ รฟม.ขอชี้แจงว่า ในการดำเนินงานก่อสร้างสถานีดังกล่าว มีตำแหน่งทางขึ้น – ลง ดังนี้ 1.ตำแหน่งทางขึ้น – ลง หมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์

2.ตำแหน่งทางขึ้น – ลง หมายเลข 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา 3.ตำแหน่งทางขึ้น – ลง หมายเลข 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์ 4.ตำแหน่งทางขึ้น – ลง หมายเลข 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์


จากการตรวจสอบของ รฟม. พบว่า บริเวณที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดเอี่ยมวรนุช จะไม่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างและการเวนคืน


สำหรับพื้นที่บริเวณอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแนวเวนคืน แต่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเช่น แนวรั้วของวัด รฟม. จะพิจารณาแนวทางลดผลกระทบหรือจะดำเนินการก่อสร้างคืนในรูปแบบเดิมในภายหลัง

ทั้งนี้ รฟม. ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องของวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว โดยในสัปดาห์หน้า รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดกับทางวัดต่อไป


Last edited by Wisarut on 05/03/2021 10:50 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:48 am    Post subject: Reply with quote

"ศรีสุวรรณ" ค้าน รฟม.ทุบ "วัดเอี่ยมวรนุช" ไม่ได้ ขัดรัฐธรรมนูญ
คุณภาพชีวิต
05 มีนาคม พ.ศ. 2564

"ศรีสุวรรณ" ค้าน รฟม. ทุบวัดเอี่ยมวรนุชไม่ได้ ชี้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็นที่ดินของรัฐ และเป็นโบราณสถานที่ต้องอนุรักษ์ ชี้หากยังยืนกรานทุบทิ้ง จะเดินหน้าฟ้องศาลปกครองแน่นอน

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่วัดเอี่ยมวรนุช ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า วัดโดนเวนคืนที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพื่อสร้างรถไฟฟ้า ปัจจุบัน วัดเอี่ยมเนื้อที่เล็กมากเพียง 2 ไร่กว่า แทบไม่มีพื้นที่จัดกิจกรรม ต้องโดนเฉือนออกไป ตั้งแต่กำแพงวัด ซุ้มประตู ศาลา ทั้ง 2 หลังด้านหน้าวัด เจดีย์ขาว อายุเกือบร้อยปี รวมทั้งวิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานของวัดเอี่ยมฯ ที่มีอายุกว่า 237 ปีแลกกับสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม เมื่อรถไฟฟ้ามา วัดวาก็ถูกทุบทำลายนั้น



การใช้อำนาจรัฐเวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวมาเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ขัดต่อ พรบ.เวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 2562 เนื่องจากกฎหมายดังกล่าว อนุญาตให้รัฐใช้อำนาจเวนคืนแต่เฉพาะที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่มิใช่ของรัฐเท่านั้น หากแต่วัดเอี่ยมวรนุช เป็นที่ธรณีสงฆ์ เป็นศาสนสถาน ตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบ พรบ.ที่ราชพัสดุ 2562 จึงถือว่าเป็นที่ดินของรัฐโดยปริยาย

อีกทั้งการใช้อำนาจรัฐดังกล่าว ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27(1) ที่กำหนดหน้าที่ของรัฐต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีของชาติเท่านั้น ซึ่งวัดเอี่ยมวรนุช มีประวัติที่มาของวัดอย่างยาวนาน เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั้งประเทศ โดยเฉพาะมีรูปปั้นบูชาของหลวงปู่ทวด ที่คนไทยทั้งประเทศเคารพบูชา การที่ รฟม.จะเข้ามารื้อถอน ทำลายพื้นที่บางส่วนไปทำสถานีรถไฟฟ้า จึงถือได้ว่าเป็นการลบหรู่ความเชื่อทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โดยไม่ตรึกตรองและฟังความรอบด้าน ย่อมนำมาซึ่งหายนะที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้

วัดเอี่ยมวรนุช

นอกจากนั้นวัดเอี่ยมวรนุช ถือว่าเป็นโบราณสถาน มี พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2535 คุ้มครองอยู่ตาม ม.7 ทวิ ที่ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ภายในเขตของโบราณสถาน ซึ่งอธิบดีได้ประกาศขึ้นทะเบียนฯ ซึ่ง รฟม. มีทางเดียวคือ ต้องกลับไปทบทวนหาสถานที่ใหม่ในการสร้างสถานีรถไฟฟ้า




ดังนั้น หาก รฟม.ยังกล้าที่จะเดินหน้าใช้พื้นที่วัดเอี่ยมวรนุช มาสร้างสถานีขึ้น-ลงรถไฟฟ้า โดยทำลายแหล่งโบราณสถานของชาติดังกล่าวแล้วไซร้ สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจะร่วมกับพี่น้องชาวพุทธทั่วประเทศ นำความขึ้นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนการใช้อำนาจของ รฟม. ดังกล่าวต่อไปทันที นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

วัดเอี่ยมวรนุช โล่ง! มติ EIA ยืนยันไม่มีการ "เวนคืนที่ดิน" รื้อวิหารหลวงปู่ทวด สร้างรถไฟฟ้า
5 มีนาคม 2564, 12:07 น.


มติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ไม่มีการเวนคืนที่ "วัดเอี่ยมวรนุช" รื้อวิหารหลวงปู่ทวด และโบราณสถานสำคัญของวัด เพื่อสร้างทางขึ้นลงรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีบางขุนพรหม


วันนี้ (5 มี.ค.64) มติรายงานการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ดังกล่าว ที่ไม่มีการเวนคืนที่วัด หมายความว่า ทั้งวิหารหลวงปู่ทวด สถานโบราณสำคัญ จะไม่ถูกทุบทิ้งไป ทุกอย่างจะยังอยู่เหมือนเดิม แต่หากจะใช้พื้นที่ในวัด ก็จะใช้เพื่อเป็นจุดวางพักสิ่งของก่อสร้างทางขึ้นลง เมื่อเสร็จ ก็คืนที่ให้วัด



พระมหาสร้อยสิทธิเมธี เลขานุการวัดเอี่ยมวรนุช เล่าถึงที่มาประเด็นดรามารื้อวัดในโลกออนไลน์ว่า เมื่อปี 2556 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการพูดคุยปากเปล่ากับเจ้าอาวาส โดยไม่มีลายลักษณ์อักษร ว่า จะขอใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดเพื่อทำการก่อสร้างทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม ซึ่งเวลานั้น เจ้าอาวาสอนุญาตให้ใช้พื้นที่ ประตูทาวเข้าวัด และศาลา 2 หลัง บริเวณหน้าโบสถ์ เมื่อทำเสร็จ ก็ให้ รฟม.คืนพื้นที่ให้วัด


จากนั้นเรื่องก็เงียบไป จนกระทั่ง กลางเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ รฟม.เริ่มติดต่อมา และส่งเอกสารมาต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อขอปักหมุดพื้นที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งนอกจากจะมีพื้นที่เคยคุยกันแล้ว ยังลุกลามไปถึง เจดีย์ขาว อายุเกือบร้อยปี และวิหารหลวงปู่ทวด รวมทั้งพื้นที่ผลประโยชน์ของวัด ซึ่งไม่ตรงตามข้อตกลงเคยพูดไว้เมื่อปี 56 ทำให้วัดไม่สบายใจ


ธนารักษ์ ยกเลิกเวนคืนที่ดินสร้างทางยกระดับ "หมอชิตคอมเพล็กซ์ " ซอยวิภาวดีฯ 5
พระมหาสร้อยสิทธิเมธี เลขานุการของวัด กล่าวว่า รฟม.ขอใช้พื้นที่บริเวณวัด หน้าวัด เพือตั้งสายงาน โดยมีศาลา 2 หลัง ที่อยู่บริเวณหน้าโบสถ์ ซึ่งเจ้าอาวาสอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่เพื่อลดความเดือดร้านของญาติโยมรอบข้าง เมื่อใช้เสร็จก็เวียนกลับมาเหมือนเดิมตามที่มีอยู่



ล่าสุด นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เข้ามาคอมเม้นท์ ชี้แจงในเพจเฟซบุ๊กวัดแล้วว่า ได้ตรวจสอบกับทาง รฟม.แล้ว และพบว่าพื้นที่ก่อสร้างจะไม่กระทบวิหารหลวงปู่ทวด พอวัดทราบเรื่อง ต่างรู้สึกโล่งใจที่วิหาร จะไม่ถูกทุบทิ้ง เพราะหากจะใช้พื้นที่จริงๆ ทางวีดสามารถให้ได้เฉพาะตามข้อตกลงตอนแรก คือ ประตูทาวเข้าวัด และศาลา 2 หลัง บริเวณหน้าโบสถ์



ขณะที่ พระมหาสร้อยสิทธิเมธี ระบุว่า ดีใจที่มีมติเดิมเมื่อปี 2556 ซึ่งทางเจ้าอาวาสได้อนุญาตให้ใช้ เพียงแต่หลังมีการดำเนินการแล้วเสร็จก็ขอให้คืนพื้นที่ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม



นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยรายงานการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จากนายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ในรายงานดังกล่าว ที่ผ่านมติ ครม.เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 พบว่า ทางขึ้นลงสถานีบางขุนพรหม ที่มี 4 ทาง คือ

หมายเลข 1 จะอยู่บริเวณพื้นที่หน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์
หมายเลข 2 บริเวณพื้นที่ปั๊มปตท.ตรงข้ามวัดสามพระยา
หมายเลข 3 บริเวณพื้นที่โรงพิมพ์ศรีหงส์ และ
หมายเลข 4 บริเวณพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ ซึ่งไม่มีการใช้พื้นที่วัดเลย นั่นเท่ากับว่า รฟม. จะไม่เวนคืนพื้นที่วัดเอี่ยมวรนุช



อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จะไม่มีการเวนคืนที่วัด แต่จะมีเพียงการขอรื้อพื้นที่บางส่วนเพื่อไว้วางของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และพอสร้างเสร็จ จะมีกานก่อสร้างพื้นที่เดิมคืนให้วัด ซึ่งจุดที่วัดจะอนญาตให้รื้อถอนได้ คือประตูทางเข้า และศาลสองหลังนี้

รฟม.ยันไม่เวนคืนวิหาร-เจดีย์เก่า'วัดเอี่ยมวรนุช' สร้างรถไฟฟ้าสีม่วง
วันศุกร์ ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564, 15.44 น.

รฟม. ยืนยันไม่เวนคืนวิหารและเจดีย์เก่าวัดเอี่ยมวรนุชในโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก)

วันที่ 5 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ระบุว่าตามที่สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข่าวกรณี การเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น ทาง รฟม.ชี้แจงว่าในขั้นตอนการสำรวจดังกล่าว เป็นเพียงการดำเนินการสำรวจแนวเขตทาง (Right of way) ในเบื้องต้นเท่านั้น โดยในการก่อสร้างสถานีดังกล่าว จะมีตำแหน่งทางขึ้น – ลง 4 ตำแหน่งได้แก่
(1) ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์
(2) ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา
(3) ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์ และ
(4) ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบ รฟม. ขอยืนยันว่า จะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดเอี่ยมวรนุชตามที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้ รฟม. ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องของวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว และในต้นสัปดาห์หน้า รฟม. พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดกับทางวัดต่อไป


รฟม. ยันสายสีม่วงไม่เวนคืนวิหารและเจดีย์เก่าวัดเอี่ยมวรนุช

05 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:45 น.


5 มี.ค.64-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงว่า สำหรับการเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้นในขั้นตอนการสำรวจดังกล่าว เป็นเพียงการดำเนินการสำรวจแนวเขตทาง (Right of way) ในเบื้องต้นเท่านั้น โดยในการก่อสร้างสถานีดังกล่าว

ทั้งนี้ จะมีตำแหน่งทางขึ้น – ลง 4 ตำแหน่ง ดังนี้
1.ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์
2.ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา
3.ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์
4.ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบ รฟม. ขอยืนยันว่า จะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดเอี่ยมวรนุชตามที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้ รฟม. ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องของวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว และในต้นสัปดาห์หน้า รฟม. พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดกับทางวัดต่อไป
คมนาคมตื่น!! สังคมปลุกพลังขับเคลื่อนด้วยการถล่ม(ด่า)
*เรียกรฟม.ถกลดผลกระทบก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสี
*ไม่เคลียร์เวนคืนวิหารหลวงปูทวดวัดเอี่ยมฯ 237 ปี
*ผู้ว่าการฯหลบๆๆเก็บตัวส่งประชาสัมพันธ์ชี้แจงแทน
*สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้พร้อมเลี่ยงสถานที่สำคัญ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2852482554973244


Last edited by Wisarut on 08/03/2021 1:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยันไม่เวนคืน “วิหาร-เจดีย์เก่า” วัดเอี่ยมวรนุช เผยเพิ่งสำรวจแนวเขตทางเบื้องต้น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 มีนาคม 2564 เวลา 11:41 น.
ปรับปรุง: 5 มีนาคม 2564 เวลา 11:41 น.

Click on the image for full size

รฟม.ยืนยันไม่เวนคืนวิหารและเจดีย์เก่าวัดเอี่ยมวรนุชเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ขณะนี้ยังเป็นการสำรวจแนวเขตทางเบื้องต้น สัปดาห์หน้าลงพื้นที่ชี้แจงรายละเอียดทางวัดอีกครั้ง

วันนี้ (5 มี.ค.) กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ชี้แจงถึงกรณีที่สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ได้มีการเผยแพร่ข่าวกรณีการเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ว่า ในขั้นตอนการสำรวจดังกล่าวเป็นเพียงการดำเนินการสำรวจแนวเขตทาง (Right of way) ในเบื้องต้นเท่านั้น โดยในการก่อสร้างสถานีดังกล่าวจะมีตำแหน่งทางขึ้น-ลง 4 ตำแหน่ง ดังนี้

(1) ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์

(2) ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท.ตรงข้ามวัดสามพระยา

(3) ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์

(4) ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

จากการตรวจสอบ รฟม.ขอยืนยันว่าจะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดเอี่ยมวรนุชตามที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้ รฟม.ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องของวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว และในต้นสัปดาห์หน้า รฟม. พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดต่อทางวัดต่อไป


รฟม.ชี้แจงเจ้าอาวาส”วัดเอี่ยมวรนุช” ยันไม่เคยมีแผน”ทุบวิหารและเจดีย์เก่า”ตั้งแต่แรก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 มีนาคม 2564 เวลา 20:36 น.
ปรับปรุง: 5 มีนาคม 2564 เวลา 20:36 น.


ผู้ว่าฯรฟม.ให้ทีมงาน เข้าพบเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว ชี้แจงคลายข้อกังวลประเด็นเวนคืน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ย้ำชัด รฟม.ไม่เคยกำหนดเวนคืนพื้นที่วิหารและเจดีย์เก่าของวัดตามที่ปรากฏในข่าวเลยตั้งแต่แรก

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงเพิ่มเติมกรณี ที่มีการเผยแพร่ข่าวการเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งทำให้ชมรมคนรักวัดเอี่ยมวรนุช ได้เดินทางมายังสำนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง

โดย รฟม. ได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงในเบื้องต้นแล้ว และได้ขอนัดหมายเพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าพบเพื่อชี้แจงในรายละเอียดกับท่านเจ้าอาวาสอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 นั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เล็งเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วน จึงได้มอบหมายให้ผู้บริหาร รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ลงพื้นที่วัดเอี่ยมวรนุช ในวันนี้ (5 มี.ค.) ทันที เพื่อชี้แจงรายละเอียด แก่ท่านเจ้าอาวาส ให้คลายความกังวลใจ

โดย รฟม. ได้เน้นย้ำว่าจะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดตามที่ปรากฏในข่าว รวมทั้งจะมีการพิจารณาหาแนวทางลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้างที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาฯ จะมีการประสานงานกับทางวัดเป็นระยะๆ ต่อไป

https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2739169699633080
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3860031287377121
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืนที่วัด 'สัจจะ รฟม.'

06 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น.



มีคำชี้แจงเรื่อง "รื้อวัดทำสถานีรถไฟฟ้า" ดังนี้ ครับ

คุณ TAWATCHAI CHONGVUTICHAI

ส่งข้อความผ่าน WWW.PLEWSEENGERN.COM ว่า ป๋าเปลวครับ

อันนี้ ตาม EIA ครับ

สถานีบางขุนพรหมซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใต้ดินวางตามแนวถนนสามเสน มีทางขึ้นลง 4 ด้านคือ

1.บริเวณพื้นที่หน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์

2.บริเวณพื้นที่ปั๊ม ปตท.ตรงข้ามวัดสามพระยา

3.บริเวณพื้นที่โรงพิมพ์ศรีหงส์ และ

4.บริเวณพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

ในรายงานอีไอเอที่ผ่านความเห็นชอบแล้วไม่มีการระบุว่าต้องมีการเวนคืนพื้นที่ของวัดเอี่ยมวรนุชแต่อย่างใด เพียงแต่บอกว่าทางขึ้นลงจากสถานีใต้ดินขึ้นมาจะอยู่ด้านหน้าของวัดเอี่ยมวรนุชเท่านั้น

เนื่องจากรายงานอีไอเอถือเป็นเงื่อนไขกฎหมายตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และ พ.ศ.2561 ดังนั้น รฟม.จึงต้องปฏิบัติตามทุกประการ

การปักหมุดเป็นการปักเพื่อวัดระยะครับ

ครับ...ก็ขอบคุณ ....

แฟนๆ ส่งมา เป็นเนื้อหาทำให้กรอบการเวนคืนที่วัดสร้างสถานีรถไฟฟ้ามีความชัดเจนด้านตำแหน่งมากขึ้น

เมื่อวานเช่นกัน รฟม.ก็ชี้แจงต่อสาธารณะ อ่านกันดูนะ

5 มี.ค.64

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงว่า

สำหรับการเวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น ในขั้นตอนการสำรวจดังกล่าว

เป็นเพียงการดำเนินการสำรวจแนวเขตทาง (Right of way) ในเบื้องต้นในการก่อสร้างสถานีดังกล่าว

ทั้งนี้ จะมีตำแหน่งทางขึ้น-ลง 4 ตำแหน่ง ดังนี้

1.ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์

2.ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา

3.ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์

4.ตำแหน่งทางขึ้น-ลง หมายเลข 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ รฟม.ขอยืนยันว่า

จะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดเอี่ยมวรนุชตามที่ปรากฏในข่าว

ทั้งนี้ รฟม.ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องของวัดเอี่ยมวรนุชแล้ว

และในต้นสัปดาห์หน้า รฟม.พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดกับทางวัดต่อไป

พระสงฆ์องคเจ้าวัดเอี่ยมฯ และญาติโยม ทราบแล้วคงคลายอึดอัดขัดข้องไปครึ่ง เมื่อ รฟม.ยืนยัน

"จะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัด"

เห็นบอก ต้นสัปดาห์หน้า จะไปชี้แจงรายละเอียดกับทางวัด ซึ่งก็ดี สมควรเช่นนั้นแต่แรกอยู่แล้ว

พระท่านคงอยากทราบชัดๆ เหมือนกัน คำว่า "ไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่า" นั่นน่ะ

ไม่รื้อเฉพาะ "มณฑปหลวงพ่อทวด" กับ "เจดีย์เก่า" แค่นั้นใช่มั้ย?

ส่วนตรงอื่น เช่น ศาลาด้านหน้า ๒ หลัง และกำแพงวัด ตลอดแนวเขตวัด ด้านถนนสามเสน "เวนคืน" รื้อไปทั้งหมดใช่มั้ย?

ดูตามแปลน น่าจะเป็นอย่างนั้น!

คนที่ไม่เคยเห็นสภาพวัดเอี่ยมวรนุช ฟังคำชี้แจง ก็คงนึกเป็นสถานีใต้ดิน อาศัยหน้าวัดโผล่ขึ้น-โผล่ลง ไม่เป็นไรมั้ง?

ใช่ ในจินตภาพ ก็คงไม่เป็นไร

แต่ในจริง ถ้าไปดูกับตา จะเห็นว่า วัดแค่ ๒ ไร่ แถมหน้าตื้น ได้แต่ยาวตามแนวถนน

เมื่อเฉือนหน้าวัดตลอดแนวไปทั้งหมด

วัดจะเหมือน "เส้นก๋วยเตี๋ยว"!

ความที่พื้นที่น้อยและหน้าตื้น เมื่อถูกเฉือนหน้าตลอดแนว ที่เหลือ ถ้าไม่เรียก "วัดเส้นก๋วยเตี๋ยว" ก็ต้องเรียก "วัดก้านไม้ขีด"

ประตูวัดใหม่ ก้าวเข้าไปปุ๊บ เข้าเขตพัทธสีมาปั๊บ คือเขตที่กำหนดไว้สำหรับพระทำ "สังฆกรรม" ทันทีเลย!

เผลอๆ "เทอร์มินอล" สถานี นอกจากบดบังตัววัดแล้ว อาจปิดทางเข้า-ออกวัดด้วย

ความหมายของผมคือ การใช้พื้นที่บริเวณนั้นทำสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไม่ได้คัดค้าน

แต่ รฟม. "ไม่ให้ความสำคัญ" กับพระ-กับวัดเท่าที่ควร ถือดีในอำนาจ อยากได้ตรงไหนก็เวนคืนเอา

ให้นายหมู-นายแมวที่ไหนก็ได้ ไปสำรวจแนวเขต เที่ยวปักเขต ทาสีแดงกำหนดจุดเอาตามใจชอบ ก่อนที่จะอธิบายแต่ละขั้นตอนให้พระเข้าใจ

พระ-ชาวบ้าน ถามคนที่ปักเขต จะทำอะไร?

"เวนคืนทำสถานีรถไฟฟ้า"

อ้าว...แนวเขตตามที่ปักๆ ไว้นี่ ก็ต้องรื้อทั้งมณฑปหลวงพ่อทวด ทั้งวิหารเจ้าแม่กวนอิม ทั้งเจดีย์ ทั้งศาลา ทั้งกำแพงวัดทั้งหมดน่ะซี

คนมาตีหมุด-ปักแนว ก็เออๆ ตามนั้น อย่าว่าแต่พระเลย เป็นใครก็ต้องตกใจ เอ๊ะ...มันไม่เป็นไปตามที่เคยคุยกันไว้นี่

พระไม่เคยบอกอะไรผม

แต่ดูเท่าที่พระปรารภ และดูที่ รฟม.ชี้แจง ว่าต้นสัปดาห์หน้า จะยกคณะไปชี้แจงกับทางวัด

แสดงว่า ผู้บริหาร รฟม.ทั้งที่จะเวนคืนที่วัด แต่ก็ไม่เคยเห็นศีรษะพระ ไม่เคยไปอธิบายอะไรให้พระทราบด้วยตัวเองเลย

นอกจากระดับ รับคำสั่งไปปฏิบัติ ไปขีดๆ วัดๆ ตอกๆ เอาพื้นที่วัด พอเป็นเรื่องขึ้นมา

ก็ออกตัว "ไม่เวนคืนส่วนวิหารและเจดีย์" ฟังดี แต่ง่ายไปหน่อย!

ที่ดินวัด ใช่ว่าพระจะยกให้ใครได้ และก็ใช่ว่า ระบบราชการจะถือดีในอำนาจ อยากได้ตรงไหนก็เวนคืนเอาตรงนั้นได้

มันมีกฎสงฆ์-กฎหมายโดยเฉพาะอยู่ พอมีเรื่องจะบอก ตรงนี้เอา..ตรงนี้ไม่เอา..ตรงโน้นเว้น..ตรงนี้ไม่เว้น มันไม่ใช่อย่างที่เข้าใจ

ไปคุย-ไปอธิบาย ให้พระและชาวบ้านเข้าใจ ไม่ใช่สร้างสถานีเสร็จแล้ว ภาพที่ออกมา ไม่ใช่หน้าวัดเป็นแค่ "ทางขึ้น-ทางลง" สถานี

สภาพเป็นจริง กลายเป็นว่า....

วัดเป็น "สิ่งประดับ" ตัวสถานี รอบๆ พระอุโบสถ เป็นลานอเนกประสงค์ ใครก็เข้าไปเตร็ดเตร่ เที่ยวเล่น โบสถ์กลายเป็นสวนสนุกโดยปริยาย

นี่ ไม่ใช่ตะแบงพูด ความจริงในอนาคตจะเป็นเช่นนั้น เพราะวัดเอี่ยมฯ แสนแคบ

มีกุฏิรอบๆ ไม่กี่หลัง นอกนั้น พื้นที่เป็นส่วนพระอุโบสถอยู่ตรงกลาง เมื่อ "เวนคืน" ตรงโบสถ์ ก็จะเป็นพื้นที่ "ที่เหลือ" ส่วนใหญ่ของวัด

รฟม.อย่าเพียงเอาผังไปขีดเส้นให้พระดูว่า...เวนคืนแค่นี้เองนะท่าน

การขีดเส้นในกระดาษ กับของจริงเมื่อสร้างเสร็จ มันจะคนละเรื่องเลย

รฟม.ต้องไปบอกกรรมการวัดด้วยว่า เมื่อเฉือนที่ไปทำสถานีแล้ว รฟม.จะเสริม-เติมแต่ง ที่แหว่งเว้าคืนให้อย่างไร?

ธรณีสงฆ์ตรงนั้น ตารางวาละเท่าไหร่ รฟม.จะชดเชยการเสียประโยชน์ของวัด โดย รฟม.ได้ประโยชน์ อย่างไร?

ร่างพิมพ์เขียวไปให้พระดูด้วย....

ว่าจะปรับภูมิทัศน์วัดให้เป็นสัดส่วนสวยงาม คงความเป็นวัด ในสภาพไหน ถึงจะไม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของสถานี ที่ใครๆ ก็กรุยกรายเข้าไปเล่นได้

รฟม.ต้องชดเชยความสูญเสียทางใจให้แก่พระ-แก่ชาวบ้านด้วย อธิบายสิ่งที่จะบูรณะวัดกลับคืนมาให้เป็นสัจจะ

ไม่ใช่ สัจจะวันนี้.....

พรุ่งนี้เปลี่ยน ออก TOR ใหม่

อย่าไปทำกับพระ-กับวัดอย่างนั้นเชียวนะ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 11:53 am    Post subject: Reply with quote

ต้องใช้!!พื้นที่นอก"วัดเอี่ยมวรนุช" 100 ตร.ม.ทำทางขึ้น-ลง "สีม่วงใต้"
จันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา 15.59 น.

คมนาคม มอบ รฟม. ถกวัดเอี่ยมวรนุช หาแนวทางลดผลกระทบสร้างรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ เผยต้องใช้พื้นที่นอกวัด 100 ตร.ม. สร้างทางขึ้น-ลงสถานีบางขุนพรหม ยืนยันไม่ได้รื้อถอนวิหารฯ-เจดีย์เก่า

            
เมื่อวันที่ 8 มี.ค. นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาลดผลกระทบการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมว่า ที่ประชุมมีมติมอบให้ รฟม. ดำเนินการทำความเข้าใจกับทางวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อหาแนวทางลดผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดิน พร้อมทั้งให้นโยบายชัดเจนว่าต้องไม่มีการเวนคืนที่ดินในส่วนของพื้นที่วิหารหลวงปู่ทวด และเจดีย์เก่า
               
นายกิตติกร กล่าวต่อว่า ขณะนี้เป็นเพียงแค่การลงไปสำรวจพื้นที่ โดย รฟม. อยู่ระหว่างการพิจารณารอนสิทธิพื้นที่บริเวณอาคารตึกแถว และร้านค้าบางส่วน ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ของวัดที่เปิดให้เอกชนเช่า เนื่องจากต้องดำเนินการสร้างทางขึ้น และลงของสถานีบางขุนพรหม โดยจะใช้พื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร (ตร.ม.) สำหรับพื้นที่ภายในวัด จะไม่มีการเวนคืนที่ดินแน่นอน อย่างไรก็ตามคาดว่าหลังจากนี้จะมีการนัดเจรจากับทางวัดเอี่ยมวรนุชอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปให้ชัดเจน โดยจะปรับลดผลกระทบของพื้นที่นี้ให้เหลือน้อยที่สุด  

นายกิตติกร กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาได้มีการทำความเข้าใจกับทางวัดแล้ว แต่ทางวัดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนและคลายความกังวลจากการเข้าใจผิดในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ขณะเดียวกันสาเหตุที่ทำให้กลายเป็นกระแสในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ รฟม.ไม่ได้มีการทำความเข้าใจในการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนเข้าใจผิด เพราะการลงพื้นที่ในครั้งนั้น รฟม.ดำเนินการสำรวจหมุดปักเขตพื้นที่เท่านั้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ยืนยันไม่ได้รื้อถอนเจดีย์และวิหารหลวงปู่ทวดของวัดเอี่ยมวรนุช

รฟม.เจรจาวัดเอี่ยมวรนุชขอใช้พื้นที่100ตารางเมตร

จันทร์ที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:49 น.


8 มี.ค. 2564 นายกิตติกร ตัณเปาว์ รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาลดผลกระทบการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหมในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ว่า หลังจากเกิดกระแสถึงการเวนคืนที่ดินของวัดเอี่ยมวรนุชเพื่อสร้างรถไฟฟ้าโครงการดังกล่าว เบื้องต้นที่ประชุมได้มอบหมายให้ รฟม.ไปดำเนินการทำความเข้าใจกับทางวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อหาแนวทางลดผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดิน เนื่องจากเป็นโครงการฯ ที่ยังไม่ได้เปิดประมูลหาผู้รับจ้างโครงการฯ ขณะเดียวกันทางกระทรวงคมนาคมได้ให้นโยบายชัดเจนว่าต้องไม่มีการเวนคืนที่ดินในส่วนของพื้นที่เจดีย์และวิหารแต่อย่างใด

“ขณะที่มาตรการลดผลกระทบ ในส่วนการก่อสร้างต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยไม่กระทบเจดีย์และวิหารของวัด ขณะเดียวกันมาตรการดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางการสำรวจพื้นที่ ซึ่งไม่ได้หมายความจะมีการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหมบริเวณนั้น ส่วนบริเวณอาคารตึกแถว ร้านค้า ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดและเอกชนนั้น ในช่วงก่อสร้างขอดูรายละเอียดก่อนว่ารฟม.จะดูแลอย่างไรบ้าง หากไม่มีความจำเป็นก็ไม่ต้องรื้อถอน แต่ในกรณีที่มีสภาพอาคารไม่ปลอดภัย ขึ้นอยู่กับวัดเป็นผู้พิจารณา"นายกิตติกร กล่าว
ทั้งนี้รฟม.อยู่ระหว่างการพิจารณารอนสิทธิพื้นที่บริเวณอาคารตึกแถว ร้านค้า เนื่องจากต้องดำเนินการสร้างทางขึ้น-ลงของสถานีบางขุนพรหม ซึ่งใช้พื้นที่ราว 100 ตารางเมตร (ตร.ม.) คาดว่าจะมีการเจรจานัดหมายกับวัดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปให้ชัดเจน โดยจะปรับลดผลกระทบของพื้นที่นี้ให้น้อยที่สุด สำหรับพื้นที่ของวัดเอี่ยมวรนุชมีทั้งหมด 2 ส่วน 1.พื้นที่บริเวณอาคาร ร้านอาหาร ซึ่งจะได้รับผลกระทบบางส่วน เนื่องจากเป็นทาง-ขึ้นลงของ สถานีบางขุนพรหม ในโครงการฯ 2.พื้นที่ภายในวัด

นายกิตติกร กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการทำความเข้าใจกับทางวัดแล้ว แต่ทางวัดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนและคลายความกังวลจากการเข้าใจผิดในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ขณะเดียวกันสาเหตุที่ทำให้กลายเป็นกระแสในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจาก เจ้าหน้าที่รฟม.ไม่ได้มีการทำความเข้าใจในการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนเข้าใจผิด เพียงแต่รฟม.ดำเนินการสำรวจหมุดปักเขตพื้นที่เท่านั้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ยืนยันไม่ได้รื้อถอนเจดีย์และวิหารของวัดเอี่ยมวรนุช

เจรจาไม่จบสายสีม่วงใต้ รฟม.จ่อถกวัดเอี่ยมวรนุช สร้างทางขึ้น-ลง สถานีบางขุนพรหม 100 ตร.ม.
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
จันทร์ที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:04 น.

เจรจาไม่จบสายสีม่วงใต้ รฟม.จ่อถกวัดเอี่ยมวรนุช สร้างทางขึ้น-ลง สถานีบางขุนพรหม 100 ตร.ม.
รฟม.เดินหน้าเจรจาวัดเอี่ยมวรนุช สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หลังมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่วัด-เอกชน ราว 100 ตร.ม. งัดมาตรการลดผลกระทบเยียวยาประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง ยืนยันไม่ได้รื้อถอนเจดีย์-วิหาร

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมถึงการพิจารณาลดผลกระทบการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหมในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ว่า หลังจากเกิดกระแสถึงการเวนคืนที่ดินของวัดเอี่ยมวรนุชเพื่อสร้างรถไฟฟ้าโครงการดังกล่าว เบื้องต้นที่ประชุมได้มอบหมายให้ รฟม.ไปดำเนินการทำความเข้าใจกับทางวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อหาแนวทางลดผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดิน เนื่องจากเป็นโครงการฯ ที่ยังไม่ได้เปิดประมูลหาผู้รับจ้างโครงการฯ ขณะเดียวกันทางกระทรวงคมนาคมได้ให้นโยบายชัดเจนว่าต้องไม่มีการเวนคืนที่ดินในส่วนของพื้นที่เจดีย์และวิหารแต่อย่างใด



“ขณะที่มาตรการลดผลกระทบ ในส่วนการก่อสร้างต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยไม่กระทบเจดีย์และวิหารของวัด ขณะเดียวกันมาตรการดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางการสำรวจพื้นที่ ซึ่งไม่ได้หมายความจะมีการก่อสร้างสถานีบางขุนพรหมบริเวณนั้น ส่วนบริเวณอาคารตึกแถว ร้านค้า ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดและเอกชนนั้น ในช่วงก่อสร้างขอดูรายละเอียดก่อนว่ารฟม.จะดูแลอย่างไรบ้าง หากไม่มีความจำเป็นก็ไม่ต้องรื้อถอน แต่ในกรณีที่มีสภาพอาคารไม่ปลอดภัย ขึ้นอยู่กับวัดเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้รฟม.อยู่ระหว่างการพิจารณารอนสิทธิพื้นที่บริเวณอาคารตึกแถว ร้านค้า เนื่องจากต้องดำเนินการสร้างทางขึ้น-ลงของสถานีบางขุนพรหม ซึ่งใช้พื้นที่ราว 100 ตารางเมตร (ตร.ม.) คาดว่าจะมีการเจรจานัดหมายกับวัดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปให้ชัดเจน โดยจะปรับลดผลกระทบของพื้นที่นี้ให้น้อยที่สุด”
สำหรับพื้นที่ของวัดเอี่ยมวรนุชมีทั้งหมด 2 ส่วน 1.พื้นที่บริเวณอาคาร ร้านอาหาร ซึ่งจะได้รับผลกระทบบางส่วน เนื่องจากเป็นทาง-ขึ้นลงของ สถานีบางขุนพรหม ในโครงการฯ 2.พื้นที่ภายในวัด นายกิตติกร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้มีการทำความเข้าใจกับทางวัดแล้ว แต่ทางวัดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนและคลายความกังวลจากการเข้าใจผิดในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ขณะเดียวกันสาเหตุที่ทำให้กลายเป็นกระแสในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเจ้าหน้าที่รฟม.ไม่ได้มีการทำความเข้าใจในการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนเข้าใจผิด เพียงแต่รฟม.ดำเนินการสำรวจหมุดปักเขตพื้นที่เท่านั้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ยืนยันไม่ได้รื้อถอนเจดีย์และวิหารของวัดเอี่ยมวรนุช ข่าวที่เกี่ยวข้องเวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วงชาวบ้านมีเฮ “คมนาคม” เคลียร์ชัดเบรก รฟม.เวนคืนที่ดิน “วัดเอี่ยมวรนุช” สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้รฟม.ดิ้น หลังประชาชนค้านเวนคืนวัดเอี่ยมวรนุช สร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้งานเข้ารฟม.!! ประชาชนค้าน "รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้"เร่งปิดดีล ชาวบ้าน ค้าน ลุย ประมูล รถไฟฟ้า “สายสีม่วงใต้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง! วัดเอี่ยมวรนุชเฮ รฟม.ถอนหมุดออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา 16:31 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา 16:31 น.

นักข่าว “ผู้จัดการ” ลงพื้นที่สำรวจวัดเอี่ยมวรนุช ตามที่ปรากฏเป็นกระแสว่าจะถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสถานีบางขุนพรหม ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และต่อมาทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยืนยันว่าจะไม่เวนคืนพื้นที่วัดแล้ว ตามที่ปรากฏเป็นกระแสข่าว

วันนี้ (8 มี.ค.) บรรยากาศแม้เป็นช่วงวันจันทร์เริ่มต้นทำงาน แต่ก็มีประชาชนจำนวนมากเดินทางเข้ามากราบไหว้หลวงปู่ทวด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด สังเกตได้จากจำนวนรถที่เข้ามาภายในวัด และมีรถแท็กซี่แวะเวียนมาส่งผู้โดยสารเข้าภายในวัด

โดยเจ้าหน้าที่วัดยอมรับว่าตั้งแต่มีข่าวเวนคืน มีประชาชนจากทั่วสารทิศเข้ามาไหว้พระเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก พร้อมเข้ามาถามไถ่ความเป็นมาของวัดแห่งนี้ ยอมรับว่ามีกระแสกลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น





ทุกๆ​ คนที่เดินทางเข้ามาหลายคนยกมือไว้หลวงปู่ทวด พร้อมบอกว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริง ทุกคนไหว้ขอให้ท่านช่วยให้แคล้วคลาดจากการเวนคืน และไม่ให้วัดแห่งนี้ต้องโดนทุบหายไปจากแผนที่ หลวงปูทวดคงช่วยเราแล้ว

จุดที่น่าสังเกตคือ วันนี้มีเจ้าหน้าที่จาก รฟม.เดินทางมาปักหลักอยู่ในภายในวัด โดยแจ้งว่ากำลังมาถอนหมุดออกที่บริเวณวัด ที่ผ่านมาเข้ามาแค่สำรวจพื้นที่เท่านั้น อยู่ระหว่างการสำรวจหลายๆ จุด ตอนนี้ยืนยันว่าไม่มีการเวนคืนพื้นที่วัด

ขณะที่บรรยากาศร้านก๋วยเตี๋ยววัดเอี่ยม ที่อยู่ติดกำแพงวัด ร้านเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 80 ปี เจ้าของร้านบอกว่า ยังไม่มั่นใจ ถ้ายังไม่มีเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการจาก รฟม.ว่าไม่ทุบ ไม่เวนคืน แม้จะถอนหมุดไปแล้วที่ปักไว้ในร้าน



“อยากให้สื่อช่วยกัน เพราะวัดที่คุณค่าทางประวัติศาสตร์กว่า 200 ปี ถ้าทุบไปก็เสียดายมาก ดีใจที่มีข่าวมาว่าตอนนี้เรื่องทุบเรื่องเวนคืน จบไปแล้ว แต่ยังไม่มั่นใจเท่าไหร่ รอเอกสารอย่างเป็นทางการอีกครั้ง”

เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยววัดเอี่ยม กล่าวด้วยรอยยิ้มว่า แต่ตอนนี้ทุบไม่ทุบ กระแสวัดเอี่ยมดีมาก มีคนเดินทางมากินก๋วยเตี๋ยวมากขึ้น ถือว่าเป็นการโปรโมตได้ดียิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 80, 81, 82 ... 120, 121, 122  Next
Page 81 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©