Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263277
ทั้งหมด:13574560
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 22, 23, 24 ... 65, 66, 67  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2021 3:14 am    Post subject: Reply with quote

เจรจาไม่ลงตัว "รถไฟฟ้าต่อขยายสายสีเหลือง" บอร์ดรฟม.สั่งศึกษาชดเชยรายได้ BEM
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15:49 น.

บอร์ดรฟม.สั่งศึกษาเจรจาชดเชยรายได้ BEM หลัง EBM ส่งหนังสือยื่นคำขาดยันไม่ชดเชยรายได้ คาดรายได้หดสิ้นสุดสัมปทาน 6 แสนบาทต่อวัน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ว่า สำหรับความคืบหน้าผลการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระหว่าง รฟม. กับบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) เป็นผู้รับสัมปทานให้ที่ประชุมรับทราบ เนื่องจากทาง EBM ได้ทำหนังสือถึง รฟม. โดยยืนยันชัดเจนว่า ไม่สามารถรับภาระค่าชดเชยรายได้จากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ตามที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำหนังสือถึง รฟม. ขอให้เจรจากับ EBM



"ทั้งนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้รฟม.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องชดเชยเพิ่มเติมให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดในครั้งถัดไป. เราต้องประมาณการในส่วนที่ต้องรับภาระค่าชดเชยตามที่ BEM เรียกร้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ส่วนจะมีการเจรจาเพิ่มเติมกับ EBM หรือไม่ขึ้นอยู่กับมติบอร์ดรฟม.เป็นผู้พิจารณา"
นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา รฟม.เคยศึกษาเบื้องต้นแล้วพบว่าเมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายในปีแรก จะส่งผลกระทบต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยผู้โดยสารจะลดลงประมาณ 9,000 คนต่อวัน ขณะที่รายได้หายไปประมาณ 180,000 บาทต่อวัน และผู้โดยสารรวมถึงรายได้จะลดลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปีสุดท้ายของสัมปทาน ผู้โดยสารจะหายไปประมาณ 30,000 คน รายได้หายไปประมาณ 600,000 บาทต่อวัน ทั้งนี้ตามสัญญาระบุว่าจะต้องเจรจาให้ได้ข้อยุติก่อนเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ภายในเดือน ก.ค.2565

รฟม.เร่งประมูล “สีส้ม” เม.ย.นี้-เจรจาสีเหลืองต่อขยายถึงทางตัน BTS ลั่นไม่ชดเชยทุกกรณี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:04 น.


เจรจาสีเหลืองต่อขยายถึงทางตัน EBM ยืนกรานไม่ชดเชย BEM ทุกกรณี บอร์ด รฟม.ให้ประเมินตัวเลขใหม่ ส่วนสีส้มเดินหน้า Market Sounding 1 ก.พ. เปิดประมูลใหม่ใน เม.ย. บอร์ดเคาะแผนเงินกู้ปี 65 วงเงิน 2.9 หมื่นล้าน ชำระหนี้ค่าก่อสร้าง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน วันนี้ (25 ก.พ.) ว่า บอร์ดรับทราบผลเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายฯ จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 กับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง กรณีผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ โดยทาง EBM ได้ทำหนังสือเมื่อ 18 ธ.ค. 2563 ยืนยันว่าไม่สามารถรับภาระกรณีที่ BEM ขาดรายได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ

บอร์ดให้ รฟม.ศึกษาตัวเลขเพิ่มเติมกรณีที่ต้องทำส่วนต่อขยายสายสีเหลืองว่าจะมีภาระค่าชดเชยให้สายสีน้ำเงินเท่าไร และนำเสนอบอร์ดในครั้งหน้า ทั้งนี้ รฟม.ยังอยากเจรจากับ EBM เพื่อให้รับเงื่อนไขการเจรจาตามสิทธิ์ ซึ่งการจะชดเชยหรือไม่ ทาง BEM ต้องพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจริง โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ประเมินว่าสีเหลืองต่อขยายเปิดปีแรกจะกระทบทำให้ผู้โดยสาร MRT สีน้ำเงินลดลงราว 9,000 คน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นในปีท้ายๆ ซึ่งคิดเป็นรายได้ที่กระทบเฉลี่ย 20 บาทต่อคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2021 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

น้องทันใจคนดีคนเดิม มาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะวันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนลาดพร้าว มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 11:13 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับเสาสายทางรถไฟฟ้า บนถนนลาดพร้าว ซึ่งเป็นเสาสายทางรถไฟฟ้า จากสถานีมหาดไทย มุ่งหน้าสถานีลาดพร้าว 101 ซึ่งได้ดำเนินงานติดตั้งคานทางวิ่ง (Guideway Beam) และทางเดินฉุกเฉิน แล้วเสร็จแล้วค่ะ
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ

สวัสดียามเช้าค่ะ น้องทันใจ มาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะวันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนนลาดพร้าว มาให้ชมกันค่ะ
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:51 น.

การดำเนินงานก่อสร้าง สำหรับสถานีลาดพร้าว 71
สถานีลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนลาดพร้าว บริเวณแยกก่อนถึงจุดตัดถนนประดิษฐ์มนูธรรม (ก่อนถึงซอยลาดพร้าว 69 - ซอยลาดพร้าว 71) มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด และได้ดำเนินการในส่วนของการเริ่มยกติดตั้งโครงหลังคา และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ


Last edited by Wisarut on 02/03/2021 6:13 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนศรีนครินทร์ มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 16:09 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ สถานีกลันตัน
ซึ่งสถานีกลันตัน ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณหน้าศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
และได้ดำเนินการในส่วนของกสถานี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี ทั้งห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ห้องน้ำ บันได และชานชาลาเป็นต้นค่ะ
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ


น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนรัชดาภิเษก (แยกรัชดา - ลาดพร้าว) มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
2 มีนาคม 2564 เวลา 16:41 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ #สถานีลาดพร้าว ซึ่งสถานีลาดพร้าว ตั้งอยู่บนพื้นที่ของอาคารจอดแล้วจร ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคคล สถานีลาดพร้าว มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 5 จุด
และได้ดำเนินการในส่วนของการติดตั้งแผ่นพื้น และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี

ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ

สวัสดียามเย็นค่ะ น้องทันใจ มาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนนลาดพร้าว มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง


วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16:32 น.
การดำเนินงานก่อสร้าง สำหรับสถานีโชคชัย 4
สถานีโชคชัย 4 ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนลาดพร้าว บริเวณแยกโชคชัย 4 มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด และได้ดำเนินการในส่วนของการเตรียมแผนการยกติดตั้งโครงหลังคา และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ

น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนศรีนครินทร์ มาให้ชมกันค่
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08:20 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ สถานีพัฒนาการ
ซึ่งสถานีพัฒนาการ ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกพัฒนาการ
สามารถเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สถานีหัวหมาก และ รถไฟสายตะวันออก มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
และได้ดำเนินการในส่วนของการติดตั้งโครงหลังคา และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ

น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนศรีนครินทร์ มาให้ชมกันค่ะ วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ สถานีแยกลำสาลี
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:21 น.

ซึ่งสถานีแยกลำสาลี ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกลำสาลี
สามารถเชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี ซึ่งมีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด และได้ดำเนินการในส่วนของการติดตั้งโครงหลังคา และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2021 10:59 pm    Post subject: Reply with quote

น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนลาดพร้าว มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
5 มีนาคม 2564 เวลา 19:21 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ #สถานีลาดพร้าว 83
ซึ่งสถานีลาดพร้าว 83 ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 83 ถึงซอยลาดพร้าว 85 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ลาดพร้าว มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
และได้ดำเนินการในส่วนของงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 12:00 am    Post subject: Reply with quote

ดับฝัน ‘ทำเลทอง’เสือใหญ่ "ต่อขยายรถไฟฟ้า"สายสีเหลือง จ่อไปไม่ถึง
ออนไลน์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,659
วันที่ 7 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าหลายเส้นทางอยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น แต่สำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายเหลือง ช่วงแยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน เชื่อมโยงส่วนต่อขยายสายสี เขียว ช่วงหมอชิต-คูคต แม้จะมีระยะทางสั้นๆ แต่กลับเป็นประเด็นร้อนไม่แพ้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และหากไม่สามารถขยายเส้นทางได้ อาจมีผลทำให้ทำเล “เสือใหญ่” ย่านศาลรัชดาภิเษก ลดความร้อนแรงลงได้

ที่ผ่านมาบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ได้เสนอลงทุนโครงการดังกล่าวเองทั้งหมด โดยเพิ่ม วงเงิน 3,779 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร (กม.) พร้อมแบ่งรายได้เพิ่มในกรณีที่ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเมื่อถึงจุดที่กำหนดส่วนแบ่งให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


ขณะเดียวกัน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องการให้ EBM ชดเชยให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT กรณีที่การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่งผลกระทบต่อรายได้และผู้โดยสารของ MRT สายสีน้ำเงิน ทั้งนี้ BTS ยืนกรานมาโดยตลอดว่าจะไม่ขอเกี่ยวข้องในกรณีชดเชยรายได้ให้กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจาก BEM ไม่ใช่คู่สัญญาของบีทีเอส

ล่าสุดนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าผลการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระหว่าง รฟม. กับบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) เป็นผู้รับสัมปทานว่า เนื่องจากทาง EBM ได้ทำหนังสือถึงรฟม.โดยยืนยันชัดเจนว่า ไม่สามารถรับภาระค่าชดเชยรายได้จากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ตามที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำหนังสือถึงรฟม. ขอให้เจรจากับ EBM “ทั้งนี้บอร์ดรฟม.ได้มอบหมายให้รฟม.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องชดเชยเพิ่มเติมให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดในครั้งถัดไป เราต้องประมาณการในส่วนที่ต้องรับภาระค่าชดเชยตามที่ BEM เรียกร้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ส่วนจะมีการเจรจาเพิ่มเติมกับ EBM หรือไม่ขึ้นอยู่กับมติบอร์ดรฟม.เป็นผู้พิจารณา”ที่ผ่านมา รฟม.เคยศึกษาเบื้องต้นแล้วพบว่า เมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายในปีแรก จะส่งผลกระทบต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยผู้โดยสารจะลดลงประมาณ 9,000 คนต่อวัน ขณะที่รายได้หายไปประมาณ 180,000 บาทต่อวัน และผู้โดยสารรวมถึงรายได้จะลดลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปีสุดท้ายของสัมปทานผู้โดยสารจะหายไปประมาณ 30,000 คน รายได้หายไปประมาณ 600,000 บาทต่อวัน ทั้งนี้ตามสัญญาระบุว่าจะต้องเจรจาให้ได้ข้อยุติก่อนเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ภายในเดือน ก.ค.2565 ฟากนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรณีที่รฟม.จะศึกษาในส่วนที่ต้องชดเชยรายได้ให้กับ BEM นั้น ทาง BTS มองว่าคงต้องรอดูผลการศึกษาในครั้งนี้จากรฟม.ก่อน เนื่องจากที่ผ่านมารฟม.ให้ BEM เป็นผู้ศึกษาที่ต้องชดเชยรายได้เองหากมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน“หากรฟม.จะเจรจาโดยยึดผลการศึกษาล่าสุดนั้นเราคงต้องดูเงื่อนไขของรฟม.ก่อนว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมอีกครั้ง แต่เรายืนยันจุดยืนเดิม คือไม่ชดเชยรายได้ให้กับ BEM เพราะโครงการฯนี้ เราเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100%”





รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยให้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เบื้องต้นในส่วนของผลการศึกษาความเหมาะสมฯ พบว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายฯ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและการให้บริการรถไฟฟ้าแก่ประชาชนโดยการเพิ่มศักยภาพของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในการรองรับการเดินทางเชื่อมต่อของผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายหลักได้มากถึง 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ให้สามารถเข้าถึงโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางเข้าเมืองได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางบนแนวถนนรัชดาภิเษกที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญา สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลอุทธรณ์ ศาลแพ่ง เป็นต้น
ทั้งนี้คงต้องจับตาดูว่าโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลืองมีแนวโน้มที่จะก่อสร้างตามเส้นทางสายหลักได้หรือไม่ และจะได้ข้อสรุปในรูปแบบใด ถือเป็นอีกโครงการที่ประชาชนยังรอคอยคำตอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 10:20 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองถึงรัชโยธิน ต้องปิดเกมแบบวิน-วิน

คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ
ประเสริฐ จารึก
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:01 น.


ยังลุ้นจะได้ไปต่อหรือสุดสายอยู่แค่ลาดพร้าว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” ที่เจ้าพ่อบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” ยื่นข้อเสนอพิเศษในซองที่ 4 ควักอีก 4,100 ล้านบาท ทุ่มทุนสร้าง เวนคืนที่ดินให้รัฐ 100%

ลากแนวสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงที่ได้รับสัมปทานออกไปอีก 2.6 กม. จาก “แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว” เกาะถนนรัชดาภิเษกผ่านหน้าศาลอาญา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมไปชนแยกรัชโยธิน

เชื่อมสายสีเขียว “หมอชิต-คูคต” มีสกายวอล์กเดินถึงสถานีพหลโยธิน 24 มี 2 สถานีอยู่หน้าศาลยุติธรรมและ สน.พหลโยธิน จะมีผู้โดยสาร 12,000-15,000 เที่ยวคน/วัน

ปัจจุบันโครงการได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว รอ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เคลียร์ปมผลกระทบผู้โดยสารของสายสีน้ำเงิน

หลัง “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” ผู้รับสัมปทานกังวลว่าเมื่อสายสีเหลืองส่วนต่อขยายเปิดใช้จะทำให้คนที่นั่งสายสีเหลืองเทไปนั่งสายสีเขียว จนทำให้ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าวลดลง

แม้จะเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นจุดอ่อนไหวที่ BEM ต้องหาเกราะป้องกันไว้ก่อน

จึงทำหนังสือถึง “รฟม.” กางสัญญาข้อ 21 ใน “ข้อ ข” ซึ่งระบุว่า รฟม.จะไม่กระทำและจะต้องงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจขัดขวาง หรือกระทบกระเทือนต่องาน หรือการดำเนินการ หรือการไหลเวียนของผู้โดยสารเข้าสู่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือการจัดเก็บค่าโดยสาร หรืออัตราค่าโดยสารตามสัญญานี้

ด้าน “รฟม.” หวั่นจะเกิดข้อพิพาทเหมือนกรณีทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ดที่เอกชนฟ้องรัฐไปสร้างทางแข่งขัน จึงหารือคณะกรรมการ (บอร์ด) ซึ่งบอร์ดให้ รฟม.เจรจา BTS (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) และ BEM ให้ได้ข้อยุติ

ที่ผ่านมา รฟม.พยายามเจรจา BTS ให้ยอมรับเงื่อนไขเป็นปลายเปิดใส่ไว้ในสัญญา รับภาระการเยียวยาหาก BEM พิสูจน์ได้ว่าผู้โดยสารสายสีน้ำเงินลดลงมาจากสายสีเหลือง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ BTS ยืนกรานไม่ชดเชยให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ เพราะยังเป็นผลกระทบที่ยังไม่เกิดและอาจจะมาจากหลายปัจจัย

ทำให้การเดินหน้าโครงการแทนที่จะฉลุยกลายเป็นเดดล็อกอยู่ร่วม 2 ปี จากปมผูกพันกันเป็นทอด ๆ

BEM หวั่นใจ “สายสีเหลืองต่อขยาย” ที่ไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทจะแย่งผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน จึงใช้สิทธิตามสัญญาขอความมั่นใจจาก รฟม.

“รฟม.” กลัวจะเกิดข้อพิพาทกลายเป็นค่าโง่ซ้ำรอยทางด่วน จึงพยายามเจรจา BTS ให้เซ็นยอมรับเงื่อนไขแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

ฝั่ง BTS กลัวจะถูกจับมัดมือชกให้เซ็นการันตี ทั้งที่ไม่ใช่คู่สัญญา BEM


กรณีนี้ “รฟม.” เคยหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว แต่สำนักงานอัยการสูงสุดไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะยังเป็นข้อมูลการคาดคะเนเบื้องต้น ยังไม่เกิดขึ้นจริง

ล่าสุดที่ประชุมบอร์ดนั่งถกกันอีกครั้งหลัง รฟม.รายงานการเจรจาเอกชนทั้ง 2 ค่ายไม่ลงตัว พร้อมเสนอไอเดียแก้ปัญหา หากสุดท้ายสายสีเหลืองต่อขยายไม่ได้สร้าง จะจัดรถบัสโดยสารเป็นฟีดเดอร์รับส่งผู้โดยสารแทน

ขณะที่บอร์ดยังไม่ฟันธงแต่ให้เวลา รฟม. 1 เดือน วิเคราะห์ผลกระทบต่อสายสีน้ำเงินกรณีสร้างกับไม่สร้างสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย อย่างไหนประชาชนได้ประโยชน์

เพื่อให้ได้ข้อยุติตรงนี้ก่อน ส่วนใครจะต้องรับผิดชอบกับภาระที่จะเกิดขึ้น ค่อยไล่บี้กันตามสัญญาภายหลัง เพราะต่างฝ่ายต่างแสดงจุดยืนของตัวเอง

ตามสัญญา “รฟม.” มีเวลาเคลียร์ให้จบก่อนสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงที่กำลังสร้างเปิดบริการตลอดสายกลางปี 2565 หากไม่ยุติก็พับโครงการทันที


ถ้าหวยออกแบบนี้เท่ากับ BTS ไม่ต้องเสียเงินลงทุนเพิ่ม แต่อาจจะทำให้ประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าไม่สะดวกสบาย ต้องนั่งหลายต่อ จากสายสีเหลืองเดินอีก 150 เมตร ลงใต้ดินนั่งสายสีน้ำเงินไปขึ้นสายสีเขียว

ถามว่าทางออกมีหรือไม่และอยู่ตรงไหน หลายคนบอกมี รฟม.ต้องยอมให้ BEM เคลมแล้วค่อยเจรจา BTS หลังเปิดสายสีเหลืองไปแล้ว เมื่อถึงเวลานั้นข้อมูลที่แบกันบนโต๊ะจะเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์และตีเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจริง

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการขยายสายสีเหลืองไปชนกับสายสีเขียว ย่อมกระทบต่อผู้โดยสารสายสีน้ำเงินแน่ แต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น

“รฟม.” เคยศึกษาหากสร้างสายสีเหลืองต่อขยายจะทำให้คนเปลี่ยนใจจากสายสีน้ำเงินไปนั่งสายสีเขียว 9,000 เที่ยวคน/วัน หรือประมาณ 1% กว่า ๆ ของผู้โดยสาร 4 แสนเที่ยวคน/วัน

แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ “ค่าโดยสาร” ของสายสีเขียว หากเก็บแพงคนจะเปลี่ยนใจน้อยลง เช่น เก็บสูงสุด 65 บาท คนจะหายไป 5,000 คน/วัน

ทุกอย่างยังเป็นเพียงการคาดการณ์ ยังไม่เกิดขึ้น ต้องรอการพิสูจน์

อยู่ที่ “รฟม.” คนกลางจะหาจุดบาลานซ์อย่างไงให้ทุกฝ่ายวินวิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2021 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนศรีนครินทร์ มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:58 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ #สถานีศรีนครินทร์38
ซึ่งสถานีศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่ บนพื้นที่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณซอยศรีนครินทร์ 43 ถึง ซอยศรีนครินทร์ 45
มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
และได้ดำเนินการในส่วนของงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/1309235286116913



น้องทันใจมาพบปะแฟนเพจอีกแล้วค่ะ วันนี้น้องทันใจ นำภาพความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง บนถนนลาดพร้าว มาให้ชมกันค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:09 น.

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานสำหรับสถานี นั่นก็คือ #สถานีมหาดไทย
ซึ่งสถานีมหาดไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 95 (หน้าโรงพยาบาลลาดพร้าว)
มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
และได้ดำเนินการในส่วนของงานติดตั้งโครงหลังคา และงานสถาปัตยกรรมต่างๆของสถานี
ครั้งหน้าน้องทันใจจะมาอัปเดตภาพการดำเนินงานจุดไหน สถานีใดมาฝากนั้น รอติดตามชมได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/1307791879594587



📢อัปเดตความคืบหน้าการก่อสร้าง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กันค่ะ⚙️🚝🥳
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:44 น.

ความก้าวหน้าโดยรวม 74.23% แบ่งเป็น
⚙️งานโยธา ร้อยละ 77.97%
🚝งานระบบรถไฟฟ้า ร้อยละ 69.35% ค่ะ

https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/1307687209605054
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2021 10:19 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วน บีทีเอส ส่อพับแผนสร้างรถไฟฟ้าต่อขยายสายสีเหลือง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:00 น.

บีทีเอส ประกาศจุดยืนชัดไม่ชดเชยรายได้ให้ BEM ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - รัชโยธิน หลังผลเจรจายังไม่เคลียร์ หากรฟม.ยันให้ชดเชย ลั่นอาจยกเลิกไปก่อน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง โดยระบุว่า ขณะนี้การก่อสร้างภาพรวมคืบหน้ากว่า 74% แบ่งเป็นงานโยธาคืบหน้าเกือบ 78% และงานระบบรถไฟฟ้าคืบหน้า 70% ซึ่งบีทีเอสยังมีเป้าหมายจะทยอยทดลองเปิดให้บริการภายในปีนี้ ขณะที่ความคืบหน้าของโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - รัชโยธิน ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการเจรจาร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในกรณีที่ รฟม.ต้องการให้บีทีเอสชดเชยรายได้ให้กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ BEM หากได้รับผลกระทบต่อปริมาณผู้โดยสาร เมื่อส่วนต่อขยายสายสีเหลืองมีผลกระทบต่อปริมาณผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน





“เรายืนยันว่าไม่สามารถจ่ายชดเชยอะไรได้ เพราะเป็นการจ่ายชดเชยให้กับเอกชน และบีทีเอสเราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ไม่ว่ากรณีอะไร ถ้าหากจะให้เราไปค้ำประกันอะไรเราก็คงทำให้ไม่ได้”นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ข้อเสนอในการสร้างส่วนต่อขยายโครงการนี้ บีทีเอสเสนอในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง โดยมีเงื่อนไขระบุว่าจะต้องเจรจาโครงการส่วนต่อขยายให้ได้ข้อสรุปก่อนการเปิดให้บริการสายหลัก และขณะนี้ยังถือว่าพอมีเวลาเจรจา แต่หาก รฟม.ยืนยันที่จะให้บีทีเอสค้ำประกัน จ่ายชดเชยอะไร ก็คงไม่สามารถทำได้ ดังนั้นหากการเจรจาไม่แล้วเสร็จ และมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสายหลักก่อน ข้อเสนอนี้ก็คงต้องยกเลิกออกไป
“บีทีเอสเราเสนอสร้างส่วนต่อขยายให้ โดยที่เราจะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท เพราะเล็งเห็นว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ในการเดินทางเชื่อมต่อ โครงการนี้ก็ไม่ได้มีผลดีอะไรต่อบริษัท เราไม่ได้หวังรายได้เป็นหลัก แต่หวังว่าให้ประชาชนเดินทาง หลังจากนี้การตัดสินใจจะสร้างหรือไม่สร้าง เป็นส่วนของ รฟม.ต้องตัดสิน ว่าจะเห็นแก่ประโยชน์ประชาชนอย่างไร”ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 1/2564 ยังได้อนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว – แยกรัชโยธินสำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายช่วงรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน มีระยะทาง 2.6 กิโลเมตร (กม.) โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เสนอลงทุนเพิ่ม ในวงเงิน 3,779 ล้านบาท โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีลาดพร้าว ที่เชื่อมต่อสายสีน้ำเงินและสายสีเหลือง วิ่งมาตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านศาลอาญา ม.ราชภัฏจันทรเกษม เชื่อมแยกรัชโยธิน ระหว่างสถานีพหลโยธิน 24 กับสถานีรัชโยธิน ซึ่งเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 11:28 am    Post subject: Reply with quote

ชง ”คมนาคม” เคลียร์ปมชดเชย 3 พันล้าน ”สีเหลืองต่อขยาย” แย่งผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 มีนาคม 2564 - 08:15 น.


ถึงทางตันสายสีเหลืองต่อขยาย”รัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน”รฟม.สางปมแย่งผู้โดยสารสายสีน้ำเงินไม่ลงตัว BEMแบตัวเลขรายได้ 30 ปี หายเฉียด 3 พันล้าน ด้านBTSยืนกรานไม่ชดเชยให้ ไม่ให้สร้างก็ไม่เป็นไร บอร์ดไม่ฟันธง โยนคมนาคมแก้ปัญหา รฟม.ย้ำชัดเป็นทางแข่งขันกัน แถมลงทุนซ้ำซ้อน ลั่งไม่มีโครงการนี้โครงข่ายรถไฟฟ้เชื่อมต่อสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2564 ได้รายงานต่อคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม.ถึงผลการศึกษาผลกระทบกรณีก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าBSR(บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ยื่นเสนอการลงทุนเพิ่มเติมในซองที่4 วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ต่อขยายสายสีเหลืองส่วนหลักช่วงลาดพร้าว-สำโรงที่ได้รับสัมปทานทาน 30 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบกับสายสีน้ำเงินที่มีบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) เป็นผู้รับสัมปทาน

รายได้สายสีน้ำเงินวูบ 30 ปี 2.7 พันล้าน
โดยคาดว่าจะทำให้ผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินหายไป 4,800 เที่ยวคน/วัน ในปี 2567 ซึ่งเป็นปีแรกที่สายสีเหลืองต่อขยายเปิดบริการ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงปีที่ 30 อยู่ที่ 17,500 เที่ยวคน/วัน คิดเป็นรายได้ที่หายไปตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี กว่า 2,700 ล้านบาท หากคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 988 ล้านบาท

“ผลศึกษานี้ทางBEMจ้างที่ปรึกษาดำเนินการ ตามที่ตกลงกันไว้ แต่BTS ไม่ยอมรับผลการศึกษาดังกล่าว แต่บอร์ดไม่ได้ให้รฟม.ยุติการเจรจา แต่เมื่อผลการเจรจามาถึงทางตันก็ให้รฟม.ขอความเห็นกระทรวงคมนาคมมาประกอบการพิจารณาติดสินใจอีกครั้ง โดยเร็วที่สุด”

ไม่มีสีเหลืองต่อขยายโครงข่ายก็สมบูรณ์
นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า โครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บท ถือว่าเป็นโครงข่ายการเดินทางที่สมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว แม้จะไม่มีส่วนต่อขยายสายสีเหลือง โดยรปะชาชนที่ใช้บริการสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) หากไม่ต้องการนั่งสายสีน้ำเงิน จะมีรถเมล์วิ่งเส้นทางถนนรัชดาเป็นฟีดเดอร์ไปยังสายสีเขียวได้ นอกจากนี้การพิจารณาโครงข่ายจะต้องพิจารณาการลงทุนเส้นทางที่ไม่ทับซ้อนหรือสร้างขนานกัน และเป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อน




หวั่นเกิดค่าโง่ซ้ำรอยทางด่วน
“เหมือนกับทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ดที่มีคำพิพากษาว่าสร้างทับซ้อนกับโทลล์เวย์ ทำให้เอกชนขาดรายได้ เป็นกรณีตัวอย่างมาเทียบเคียงกับสายสีเหลืองได้ว่าโครงการที่อยู่ในแนวเส้นทางใกล้เคียงกันก็เป็นการไปแย่งผู้โดยสารกันเองได้ ซึ่งไม่อยากให้เกิดค่าโง่ซ้ำรอยอดีต เมื่อมีผลกระทบ มีค่าชดเชยเกิดขึ้น รฟม.ต้องมาชั่งน้ำหนักระหว่างไม่ต้องเสียเงินสร้างรถไฟฟ้ากับมีข้อพิพาทกับเอกชนคู่สัญญา“

นายภคพงศ์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในเงื่อนไขซองที่4 รฟม.มีการสงวนสิทธิ์ที่จะรับหรือไม่รับพิจารณาข้อเสนอนี้ก็ได้ ซึ่งทางBEM ก็ไม่รู้ว่ารฟม.จะพิจารณาหรือไม่ ถ้าพิจารณาก็ต้องเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งตามเงื่อนไขจะเจรจาได้ถึงวันเปิดบริการสายสีเหลืองส่วนหลักในเดือนก.ค.2565

ยันไม่กระทบผลตอบแทนรายได้
ส่วนผลตอบแทนของโครงการที่รฟม.จะได้รับนั้น ยังเป็นไปตามสัญญาหลัก แม้ว่าจะไม่ได้สร้างสายสีเหลืองต่อขยายก็ตาม โดยเอกชนคู่สัญญาจะแบ่งรายได้ให้ 250 ล้านบาท แบ่งจ่ายในปีที่ 11-30

บีทีเอสลั่นไม่ให้สร้างก็ไม่เป็นไร
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) กล่าวว่า ตอนนี้มีหนังสือแจ้งไปรฟม.ยืนยันตามเดิมเห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์และอยากจะให้เกิด ซึ่งบริษัทเสนอลงทุนให้รัฐ100%และแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐเพิ่ม

แต่การที่จะให้บริษัทไปค้ำประกันกรณีที่เกิดผลกระทบต่อBEM ที่เป็นคู่สัญญากับรฟม. โดยให้บริษัทชดเชยรายได้ให้คงไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากทั้งกลุ่มกิจการร่วมค้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

“รฟม.ต้องชั่งน้ำหนักดูจะตัดสินใจยังไง ต้องมองประโยชน์ของประชาชนด้วย ถ้าไม่ได้ทำเราไม่กระทบอยู่แล้ว แต่ต้องการให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนที่มาใช้บริการถไฟฟ้า แต่ถ้าทำแล้วต้องไปกระทบกับคนอื่นและต้องไปค้ำประกันเราก็คงทำให้ไม่ได้“นายสุรพงษ์กล่าวย้ำ

รฟม.ไม่ง้อ “บีทีเอส” สร้างรถไฟฟ้าสีเหลืองส่วนต่อขยาย
*ชี้โครงข่ายรถไฟฟ้าในไทยสมบูรณ์อยู่แล้ว
*เตรียมชงกระทรวงคมนาคมขอความเห็น!!
*หวั่นซ้ำรอยคดีรัฐต้องจ่ายค่าโง่ให้เอกชน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2864886697066163
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส”เปิดรับสมัครพนักงานเพียบ รับรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลือง
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:40 น.

“บีทีเอส”เปิดรับสมัครพนักงาน เพื่อร่วมงานกับรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของประเทศไทย เป็นจำนวนมาก รองรับการบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง

“บีทีเอส” (BTS)เปิดรับสมัครพนักงาน เพื่อร่วมงานกับรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของประเทศไทย เป็นจำนวนมาก ทั้งรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)


คุณสมบัติ ประกอบไปด้วย• เพศชาย / หญิง
• อายุ 25 ปีขึ้นไป
• วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปไม่จำกัดสาขา
• ประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี
• มีสุขภาพแข็งแรง ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 160 ซม.ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเช่น ตาบอดสี, ตาบอดกลางคืน,
โรคลมชัก, โรคระบบเลือด, โรคความดัน,โรคหัวใจ, โรคระบบประสาท ฯลฯ
• มีทัศนคติที่ดีต่องานบริการ มีวินัยสูง จิตใจมั่นคง และอดทนต่อภาวะกดดันได้ดี
• สามารถทำงานเป็นกะ (เช้า บ่าย ดึก) ได้ และพร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ตามจุดเข้าทำงาน (TrainCrew Point) ที่ทางบริษัทฯ กำหนดสำหรับตำแหน่งที่เปิดรับสมัครงาน อาทิ นายสถานี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง) ,ผู้ช่วยนายสถานี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง),เจ้าหน้าที่คุณภาพ,Civil Engineer,Lead Auditor,Software Quality Assurance,วิศวกรประกันความปลอดภัย,ช่างเทคนิคซ่อมบำรุง,เจ้าหน้าที่สถานี(รถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง)รวมถึงCivil Maintenanace Section Manager, เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล,เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย เลขานุการ เป็นต้นสามารถสมัครงานออนไลน์ได้ที่คลิก“บีทีเอส”เปิดรับสมัครพนักงานเพียบ รับรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลือง




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โทร 0 2617 7300 ต่อ 1925, 1927,1931, 1939-1944มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของประเทศไทยกัน

https://www.bts.co.th/career/career-position.html

{รับสมัครรถไฟฟ้า!!!} ข่าวล่ามาแรง BTS เปิดรับสมัครงาน เพื่อเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง หลายอัตรา
เตรียมเปิดทดสอบให้บริการบางส่วน ปลายปี 64!!!!
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1156472794791198
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 22, 23, 24 ... 65, 66, 67  Next
Page 23 of 67

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©