Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180608
ทั้งหมด:13491843
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 233, 234, 235 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 10:49 am    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 🔛 ดังนี้

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:07 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 77.77%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-orangelineeast.com
โดยสัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 86.10%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 77.34%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 75.63 %

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วง คลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 66.52%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 79.75%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 72.35%

อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @OrangeLine
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 77.97% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 69.35% ความก้าวหน้าโดยรวม 74.23%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://mrta-yellowline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: mrtyellowline
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 74.14% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 67.24% ความก้าวหน้าโดยรวม 71.10%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-pinkline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @mrtpinkline
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3866623453384571
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2740967916119925


Last edited by Wisarut on 09/03/2021 1:58 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 10:58 am    Post subject: Reply with quote

เวนคืน 3 หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้า กดปุ่มประมูลสายสีส้ม-สีม่วงใต้ 2 แสนล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 6 มีนาคม 2564 - 14:55 น.

รฟม.เตรียมเวนคืนที่ดินกลางเมือง เขตพระนคร ฝั่งธนบุรี 3 หมื่นล้าน สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” และสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” กลางปีนี้กดปุ่มประมูล PPP รอบสองสายสีส้ม วงเงิน 1.28 แสนล้าน ทั้งก่อสร้าง รับสัมปทานเดินรถ 30 ปี ส่วนสีม่วงแบ่ง 6 สัญญา คาดตอกเข็มพร้อมกันสิ้นปีนี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเร่งเวนคืนที่ดินและเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรีและสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 243,712 ล้านบาท ให้เริ่มการก่อสร้างในปี 2564 ขณะนี้สายสีส้มกำลังจะเปิดประมูลใหม่ หลังยกเลิกวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นภาคเอกชนจัดทำร่างทีโออาร์เสนอคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 พิจารณาสิ้น มี.ค.นี้ คาดว่าเปิดขายซอง เม.ย. ยื่นประมูล มิ.ย.-ก.ค. ได้เอกชนและเซ็นสัญญา ส.ค.-ก.ย.นี้

“รายละเอียดรับฟังข้อคิดเห็นเอกชน ยังไม่ใช่ทีโออาร์ เป็นข้อมูลประกอบจัดทำร่างทีโออาร์เท่านั้น โดยจะให้ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง คุณสมบัติ เทคนิค การเงินและผลตอบแทน และข้อเสนออื่น ๆ การพิจารณาเมื่อเปิดซองคุณสมบัติ หากผ่านจะพิจารณาซองเทคนิค 30% ร่วมการเงิน 70% แต่ยังไม่ได้กำหนดจะเลือกเกณฑ์นี้ รอฟังการวิจารณ์จากเอกชน จะให้เดินหน้าตามนี้หรือไม่ แม้ว่าจะได้เอกชนผู้ชนะ แต่การเซ็นสัญญาขึ้นอยู่กับรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ระหว่างรอคณะกรรมการผู้ชำนาญการอนุมัติ เมื่อผ่านแล้วถึงเดินหน้าคู่ขนานกับการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน”



ทั้งนี้สายสีส้ม รฟม.เปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท สร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม เป็นงานใต้ดินตลอดสาย จัดหาระบบ เก็บค่าโดยสาร รับสัมปทานเดินรถและบำรุงรักษาโครงการตลอดสายบางขุนนนท์-มีนบุรี โดยรัฐจะเวนคืนให้ 14,611 ล้านบาท มีพื้นที่ 505 แปลง หรือ 41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง สนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท


ส่วนสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ รฟม.ก่อสร้างวันที่ 25 ก.ค. 2560 กรอบวงเงิน 101,112 ล้านบาท อาทิ ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท ค่างานโยธา 77,385 ล้านบาท ค่าสิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาท จะมีเวนคืน 410 แปลง หรือ 102 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 267 หลัง


รูปแบบโครงการเป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.6 กม. และยกระดับ 11 กม. ซึ่งได้รับอนุมัติ EIA แล้ว รอสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้าง ล่าสุด รฟม.เข้าสำรวจเวนคืนให้ได้จำนวนแปลงที่ดินและค่าทดแทนที่ชัดเจน ตามแนวถนนสามเสน พระสุเมรุ และมหาไชย มีตลาดศรีย่าน ชุมชนบ้านกล้วย โรงพิมพ์สำนักเลขาฯ ครม. แยกผ่านฟ้า สามยอด จะเร่งให้เสร็จ 2 เดือน คาดว่าเริ่มประมูล มิ.ย.นี้ แบ่งประมูล 6 สัญญา งานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา ระบบราง 1 สัญญา เริ่มสร้าง ธ.ค. 2564 เปิดปี 2570 ส่วนงานระบบรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท เปิดให้เอกชนร่วม PPP คาดว่าเป็น PPP gross cost 30 ปีเหมือนสายสีม่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ที่จ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถ 30 ปี เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องโดยเอกชนรายเดียว

แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า การเปิดประมูลสายสีส้มใหม่ เชิญภาคเอกชนสถาบันการเงิน สถานทูต บริษัทรับเหมา ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการรถไฟฟ้า ทั้งไทยและต่างชาติประมาณ 50 ราย ที่เคยยื่นประมูลและรายใหม่ ร่วมแสดงความคิดเห็นร่างทีโออาร์ จะให้ส่งความคิดเห็นวันที่ 17-19 มี.ค.นี้ว่าสิ่งที่ รฟม.จะดำเนินการดีหรือไม่ดี ส่วนคุณสมบัติยังคงเดิม อาทิ มีผลงานสร้างอุโมงค์ด้วยหัวเจาะ เคยออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดิน คาดว่าทั้งบีทีเอสและ BEM จะเข้าร่วมประมูล

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) และนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวทำนองเดียวกัน ขอดูรายละเอียดทีโออาร์ ยังตอบไม่ได้ว่าจะเข้าประมูลสายสีส้มหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2021 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า สาย‘ม่วงใต้-สีส้ม’ 2แสนล. เวนคืน-ประมูลเดือด!
ออนไลน์เมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:25 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าว หน้า 1
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,660
วันที่ 11 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2564

2 รถไฟฟ้า 2.4 แสนล้าน ลุกเป็นไฟ บีทีเอสซีร่อนหนังสือ ถึง “บิ๊กตู่” ปม รฟม. ประมูลรอบ 2 สายสีส้มไม่ชอบมาพากล ขณะที่ม่วงใต้ ยันต้องเวนคืนวัดเอี่ยมวรนุช 100 ตร.ม. สร้างสถานีบางขุนพรหม 2 โรงแรม 4 ดาว แบรนด์ “คาซานิทรา” บางขุนพรหม-บางลำพู-ชุมชนเตาปูนโดนกราวรูด

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เจอมรสุม รอบด้าน เพราะนอกจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี ยื่นฟ้องศาลอีกรอบ ล่าสุด ร่อนหนังสือด่วนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบปม ไม่ชอบมาพากล เปิดประมูลรอบใหม่ใช้เกณฑ์เทคนิคร่วมซองราคา สายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) มูลค่า 1.42 แสนล้านบาท วันที่ 8 มีนาคม 2564 ทั้งที่ล้มประมูลขณะคดียังคาอยู่ศาล ขณะปมร้อนเวนคืนที่ดินทั้งสองเส้นทางมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท เกือบ 1,000 แปลง ยังระอุ โดยเฉพาะสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) มูลค่า 1 แสนล้านบาท ที่วันนี้ รฟม.ยืนกรานจำเป็นต้องใช้ที่ดินวัดเอี่ยมวรนุช สร้างสถานีบางขุนพรหม ความโกลาหลบังเกิดขึ้น ไม้แพ้สายสีส้มบริเวณชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง 184 หลังคาเรือน


วัดเอี่ยม-รร.คาซาอ่วม นายอนุรักษ์ นิลสุวรรณ ลูกศิษย์ วัดเอี่ยมวรนุช เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ที่ดินของวัดเอี่ยมวรนุชหัวมุมถนนสามเสน ซึ่งเป็นส่วนของศาลา 2 หลังและ อาคารพาณิชย์ 2 คูหา ให้เอกชนเช่าเป็นร้านค้าถูกกระทบเวนคืนสร้างเป็นสถานีบางขุนพรหมอย่างแน่นอน แม้รฟม.จะออกมาปฏิเสธ นอกจากนี้ในย่านเดียวกันโรงแรม คาซานิทรา กรุงเทพฯ และโรงแรม คาซานิทรากรุงเทพฯ ย่านบางลำพู ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน ซึ่งเจ้าของยอมรับ หากถูกเฉือนพื้นที่จะกระทบโครงสร้างทั้ง
อาคารเพราะเป็นระบบสำเร็จรูป เช่นเดียวกับแหล่งข่าวจากรฟม.ยอมรับว่า สายสีม่วงค่อนข้างร้อนแรง โดยเฉพาะเส้นทางในเมือง บริเวณสถานีสามยอด สถานีบางขุนพรหม และเตาปูนชุมชนขนาดใหญ่


ยันใช้ที่วัด สำหรับแนวทางแก้ปัญหา นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการรฟม. ระบุว่า รฟม.ทำความเข้าใจกับทางวัดเอี่ยมวรนุช เพื่อหาแนว ทางลดผลกระทบเวนคืนที่ดิน เนื่องจากเป็นโครงการฯ ยังไม่ได้เปิดประมูลหาผู้รับจ้างกระทรวงคมนาคมมอบนโยบายไม่เวนคืนที่ดินในส่วนของพื้นที่เจดีย์และวิหารแต่ ที่จะกระทบคือ ตึกแถว ร้านค้า สร้างทางขึ้น-ลงสถานี 100 ตารางเมตร (ตร.ม.) คาดว่าจะมีการเจรจานัดหมายกับวัดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุป โดยจะปรับลดผลกระทบของพื้นที่นี้ให้น้อยที่สุดสำหรับพื้นที่ของวัดเอี่ยมวรนุชมีทั้งหมด 2 ส่วน

1.พื้นที่บริเวณอาคาร ร้านอาหาร ซึ่งจะได้รับผลกระทบบางส่วน เนื่องจากเป็นทาง-ขึ้นลงของ สถานีบางขุนพรหม ในโครงการฯ
2.พื้นที่ภายในวัด

ขณะผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานีสามยอด ขึ้นป้ายคัดค้านการก่อสร้างสายสีม่วงใต้ ยังไม่ได้รับการเยียวยาผลกระทบเมื่อครั้งก่อสร้างสถานี สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคนั้น นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรฟม. ระบุว่า เป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยรฟม.ประสานงานกับสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นลำดับและอนุญาตเวนคืนพื้นที่ดังกล่าวแล้ว เทคนิคพ่วงราคาส่วนความคืบหน้า สายสีส้ม หลังมีมติล้มประมูล ล่าสุดได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง RFP เพื่อประมูลโครงการฯ รอบ 2 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) โดยจะรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป ในประเด็นอาทิ เงื่อนไขประมูล การแบ่งซองประมูล รวมไปถึงการคำนวณคะแนนเพื่อพิจารณาข้อเสนอควรเป็นอย่างไร “ยืนยันว่าเป็นแค่เปิดรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่ทีโออาร์ และยังไม่ใช่แนวทางที่จะเปิดประมูล เป็นเพียงข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น เพื่อจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (RFP) และเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 เห็นชอบต่อไป”ผู้ว่าการรฟม.กล่าวสำหรับกรอบระยะเวลาดำเนินการ รฟม.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 16 มี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะเปิดให้เอกชนส่งข้อเสนอเพิ่มเติม และประมวลผลอีก 5 วัน ก่อนจัดทำร่าง RFP เพื่อเสนอคณะกรรมการ มาตรา 36 ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม นี้ หลังจากนั้นจะประกาศขายซองเอกสาร คาดว่าจะได้ตัวเอกชนชนะการประมูลในเดือนสิงหาคม 2564 ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และด้านราคา 70 คะแนน รฟม.ยืนยันว่าไม่ใช่การกำหนดใช้ในมาตรฐานที่สูงเกินไป เพราะที่ผ่านมาเคยมีโครงการของกรุงเทพ มหานคร (กทม.) ที่กำหนดเกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิค 90 คะแนน และด้านราคา 10 คะแนน ดังนั้นโครงการรถไฟฟ้าที่ต้องใช้วิธีการด้านเทคนิค ใช้สัดส่วนนี้ก็ไม่สูงเกินไป อีกทั้งยังเป็นโครงการร่วมทุนเอกชน ดังนั้นรฟม.ก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเกณฑ์ด้านราคาสูงถึง 70 คะแนน

ไทม์ไลน์สายม่วงใต้
สายสีส้มหนังม้วนยาวขณะการชิงประมูล มองว่า สายสีม่วงใต้ น่าจะไม่เกิดการแข่งขันเพราะเป็นส่วนต่อขยายของเอกชนรายเดิม ที่ร้าวลึกเห็นจะเป็นสายสีส้ม ที่ฝั่งบีทีเอสซีมีการฟ้องศาลปกครองอีกรอบหลังล้มประมูลและอาจกลายเป็นหนังม้วนยาวทำให้รถไฟฟ้าเส้นนี้ อาจยังขยับต่อไม่ได้ ขณะบีทีเอสซีมองว่าหากเป็นโจทย์ฟ้องรฟม.แล้วจะเข้าร่วมประมูล ได้หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 3:52 am    Post subject: Reply with quote

แม้จะมีการกล่าวถึง Infra Fund เพื่อสร้างรถบบ APM เชื่อมกะสนามบินดอนเมืองแต่ปี 2562 แต่จนป่านนี้ยังไม่เริ่มการก่อสร้างเลย และ ดูท่าว่าให้ออกไปทางด้านใต้เข้าถนนเทพรักษ์ตัดใหม่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ที่จะมีโอกาสแจ้งเกิดง่ายกว่ากระมัง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1685148
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 11:10 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ตั้งอนุฯ ตั๋วร่วมจัดสรรรายได้รถไฟฟ้า วางมาตรฐานกลาง-ลด “ค่าแรกเข้า” ซ้ำซ้อน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 07:12 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 07:12 น.



“ศักดิ์สยาม” ตั้งอนุฯ ตั๋วร่วม 2 ชุดลุยกำหนดมาตรฐานด้านเทคนิคและค่าธรรมเนียม วางโมเดลจัดสรรรายได้ ใช้บัตรใบเดียวข้ามระบบเก็บแรกเข้าครั้งเดียว “ผอ.สนข.” มั่นใจใช้ได้ในปีนี้ ส่วน รฟม.เร่งตั้งเคลียริ่งเฮาส์จัดสรรรายได้กลาง

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำระบบตั๋วร่วมและค่าโดยสารร่วมว่า เมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม 2 ชุด คือ 1. คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยี 2. คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการจัดเก็บค่าธรรมเนียมมาตรฐานอัตราค่าโดยสารในกรณีใช้ค่าโดยสารร่วม

โดยมีผู้แทนจากนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ และจากสถาบันการเงิน และทีดีอาร์ไอ เป็นต้น ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 2 ชุดจะเร่งสรุปรูปแบบและแนวทางเพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายตั๋วร่วมที่มี รมว.คมนาคมเป็นประธาน เพื่อให้สามารถใช้ระบบตั๋วร่วมข้ามระบบ และการใช้ตั๋วใบเดียวภายในปีนี้ตามเป้าหมาย

ส่วน สนข.อยู่ระหว่างดำเนินโครงการจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยมีระยะเวลาศึกษา 20 เดือน (ส.ค. 63-เม.ย. 65) วงเงินงบประมาณ 34.5 ล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการใน 5 เรื่องคือ 1. ทำแผนกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมเพื่อใช้ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการ 2. จัดทำระบบโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม/อัตราเดียว และอัตราค่าธรรมเนียมทางการเงินที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนทุกรูปแบบ

3. ทำแนวทางรูปแบบการจัดหาแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ชดเชยรายได้จากค่าโดยสารร่วม และสนับสนุนการพัฒนาระบบตั๋วร่วม เช่น จัดตั้งกองทุน เป็นต้น 4. พัฒนาระบบฐานข้อมูลการเดินทางและค่าโดยสาร (Data Base) 5. จัดทำร่างกฎหมายในการบริหารจัดการตั๋วร่วม

ผอ.สนข.กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารกรุงไทยเสนอที่จะเป็นผู้ลงทุนทำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) โดยใช้บัตร EMV Contactless (Europay Mastercard and Visa) ในการชำระค่าโดยสารว่า จะช่วยทำให้ระบบตั๋วร่วมเกิดได้เร็วขึ้น โดยกรุงไทยจะปรับปรุงระบบหัวอ่านเพื่อรองรับบัตรเครดิต/เดบิต ผู้ให้บริการระบบขนส่งไม่ต้องลงทุนเองเหมือนแนวทางเดิม เพียงสมัครเข้าร่วมกับธนาคารเท่านั้น เป็นรูปแบบเดียวกับใช้บัตรมาสเตอร์การ์ด และวีซ่าชำระค่าสินค้าและบริการอื่นๆ ซึ่งธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย

ขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วมในภาคขนส่ง (CCH) โดยพัฒนาอัปเกรดซอฟต์แวร์ระบบตั๋วร่วมที่ สนข.เคยพัฒนาไว้เดิม ส่วนจะร่วมทุนกับผู้ประกอบการขนส่งตามโมเดลเดิมหรืออาจตั้งเป็นองค์กรกลางจะต้องพิจารณาอีกครั้ง

“การใช้งานของบัตร EMV คือ เมื่อมีการแตะบัตรเข้าและออกจากระบบขนส่ง หัวอ่านที่กรุงไทยปรับปรุงจะบันทึกข้อมูลการเดินทาง และส่งต่อให้ CCH ทำการประมวลผลและคิดค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ให้แต่ละผู้ประกอบการ”

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของตั๋วร่วม คือ การเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว เช่น เดินทางจากสีเขียวต่อสีน้ำเงินและสีแดง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณารูปแบบ กำหนดสูตรและโครงสร้างส่วนแบ่งรายได้ในแต่ละระบบ โดยผู้ประกอบการต้องยอมรับร่วมกัน ซึ่งเชื่อว่าเมื่อลดค่าแรกเข้า ค่าโดยสารรวมลดลงและทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มสามารถมีรายได้มาชดเชยการลดค่าแรกเข้าได้โดยที่รัฐไม่ต้องอุดหนุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 10:37 am    Post subject: Reply with quote

“ผู้โดยสารน้อยหวั่นเก็บแพง(ไม่)ดับฝันรถไฟฟ้า4จังหวัด
*”ศักดิ์สยาม”แจงเหตุผลสั่งรื้อโครงการยักษ์
*”ภูเก็ต-นครราชสีมา-เชียงใหม่-พิษณุโลก”
*ทำรถบัสอัจฉริยะก่อนอนาคตทรานส์ฟอร์ม!!
*สนข.ศึกษายังไง?แทรมภูเก็ตผู้โดยสาร8หมื่น
*รฟม.ศึกษาPPPพบผู้โดยสาร3หมื่น(ไม่ตอบ)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2866301896924643
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2021 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาชนได้อะไร จากการพัฒนา Feeder
Otpthailand
ศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 15.00 น.

เมื่อ Feeder เชื่อมโยงเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่ ทั้งกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เรามาดูกันเลยว่าประชาชนจะได้รับอะไรบ้างจากโครงการนี้ ดูจากรูปนี้ได้เลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2021 12:08 am    Post subject: Reply with quote

จุดพลุ ‘ตั๋วร่วม’ 600 ล้าน การลงทุนที่สูญเปล่า
คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติธุรกิจ
ประเสริฐ จารึก
วันที่ 3 เมษายน 2564 - 16:15 น.




บรรยากาศจับจ่ายคึกคักทั่วไทย จากมาตรการคนละครึ่ง เราชนะ ม.33 เรารักกัน ทำให้คนซื้อ-คนขาย ซื้อง่ายขายคล่องกันมากขึ้น

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์ที่รัฐบาลนำมาพยุงเศรษฐกิจ อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินและการคลังของประเทศ

ล่าสุด “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี กำชับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา “ให้ใช้งบประมาณอย่างระมัดระวัง และอธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานะการเงิน อยู่ในสภาวการณ์ปกติ ยังไม่มีปัญหา”

หลังสำนักงบประมาณรายงานสถานะการเงินและการคลัง ประจำปี 2564 ที่จัดเก็บรายได้เข้าคลังได้น้อยกว่าทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงการคลังพิจารณาศึกษารายละเอียดถึงการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศ

จากข้อสั่งการของ “พลเอกประยุทธ์” ให้ใช้งบประมาณอย่างระมัดระวัง ทำให้นึกถึงโครงการพัฒนา “ระบบตั๋วร่วม” ของกระทรวงคมนาคมไม่ได้

เนื่องจากรัฐบาลนำเงินงบประมาณที่ได้มาจากภาษีของประชาชนกว่า 600 ล้านบาท จ้างบริษัทที่ปรึกษา 301 ล้านบาท และเซตระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง 337 ล้านบาท หวังจุดพลุระบบตั๋วร่วมของประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ

โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเจ้าภาพผลักดันโครงการก่อนจะส่งไม้ต่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการเมื่อปี 2560

แต่สุดท้ายกลายเป็นโปรเจ็กต์ที่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เมื่อระบบที่เซตไว้กลายเป็นซากเศษขยะกองอยู่ที่ รฟม. เนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้การได้

เส้นทางการพัฒนา “ระบบตั๋วร่วม” ผลักดันมาร่วม 14 ปี นับจากปี 2550 สมัยรัฐบาล คมช.ดึงผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้า 2 ค่าย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) ปรับปรุงระบบให้รองรับกันได้ แต่ก็ไม่สำเร็จ

โครงการเริ่มผลักดันจริงจังช่วงปี 2554-2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้ สนข.ดำเนินโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง และอนุมัติงบประมาณ 409 ล้านบาท สำหรับเซตระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง มีกลุ่ม BTSC ร่วมกับสมาร์ททราฟฟิค และวิกซ์ โมบิลิตี้ เป็นผู้พัฒนาระบบให้จนทดสอบระบบแล้วเสร็จในปี 2559 โดยออกแบบใช้กับ “บัตรแมงมุม” ที่ผลิตออกสู่ตลาด 2 แสนใบ

แต่เพื่อไม่ให้เสียของ รฟม.ซึ่งรับหน้าเสื่อเป็นผู้พัฒนาระบบตั๋วร่วม ได้อัพเกรดบัตรแมงมุมเป็นบัตร MRT Plus ใช้กับสายสีน้ำเงิน สีม่วง และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก่อนจะพัฒนาไปสู่ระบบเทคโนโลยี “บัตร EMV” ที่ใช้บัตรเครดิตและเดบิตจ่ายค่าบริการรถไฟฟ้า รถเมล์ ทางด่วน เรือ และร้านค้าในระยะยาว มีธนาคารกรุงไทยเป็นผู้เสนอตัวจะลงทุนให้


กว่าจะเปลี่ยนผ่านไปถึงจุดนั้นต้องใช้เวลาร่วม 2 ปี ระหว่างทาง “กระทรวงคมนาคม” มีไอเดียพัฒนาระบบตั๋วร่วมระยะเร่งด่วนด้วยการใช้บัตรโดยสารที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบัตรแรบบิท 12 ล้านใบ บัตร MRT และ MRT Plus 2 ล้านใบ ให้แตะข้ามระบบกันได้โดยมี MOU ความร่วมมือระหว่าง สนข. กทม. BTS และ BEM เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563

ทั้ง BTS และ BEM ต้องลงทุนปรับปรุงระบบให้รับบัตรโดยสารของกันและกันได้ โดย BTS มีค่าใช้จ่าย 120 ล้านบาท ฝั่ง BEM ลงทุน 241 ล้านบาท ปรับปรุงสายสีน้ำเงิน และสีม่วง

งานนี้ “กระทรวงคมนาคม” ตั้งเป้าจะเริ่มใช้กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง ตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้ว แต่เจอโรคเลื่อนจนถึงปัจจุบันยังไร้วี่แววที่จะกดปุ่มคิกออฟ

ปัญหาติดหล่มอยู่ตรงไหน และติดอยู่ที่ใครถึงทำให้ระบบตั๋วร่วมที่แปลงกายมาหลายเวอร์ชั่นไปไม่ถึงหมุดหมาย งานนี้คมนาคมน่าจะรู้ดีที่สุด แต่คงเดาได้ไม่ยากเพราะประเทศไทยก็มีอยู่แค่ 2 ค่ายนั่นคือ BTS กับ BEM

สาเหตุที่ช้าส่วนหนึ่งติดโควิด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาไม่ได้ แต่บางกระแสว่ากันว่าโควิดเป็นเพียงข้ออ้าง แต่ว่ากันว่าเบื้องหลังจริง ๆ เกิดจากเอกชนรายหนึ่งที่ไม่ยอมลงทุนเอง แต่จะให้หน่วยงานรัฐซึ่งเป็นเจ้าของโครงการเป็นผู้ลงทุนแทน และอยากจะข้ามชอตไปที่ “ระบบ EMV” ที่มีธนาคารกรุงไทยดำเนินการให้ในคราวเดียว จึงทำให้ระบบตั๋วร่วมเฟสเร่งด่วนเวอร์ชั่นแตะข้ามระบบถึงล่มกลางคัน

สงสารก็แต่เอกชนอีกรายที่ลงทุนพัฒนาระบบจนเสร็จพร้อมใช้แล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถจะนำบัตรของตัวเองไปใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าอีก 2 สายได้

นับเป็นอีกโครงการที่รัฐเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ ถึงมูลค่าจะไม่เป็นหลักหมื่นล้าน แสนล้าน แต่ทุกบาททุกสตางค์มาจากภาษีของประชาชน

“ระบบตั๋วร่วม” น่าจะเป็นบทเรียนสะท้อนถึงความล้มเหลวเชิงนโยบายที่ไม่นิ่ง ปรับเปลี่ยนไปมาเพราะความไม่เข้าใจหลักการที่แท้จริง

เพราะ “ตั๋วร่วม” จะเกิดได้ต้องเริ่มต้นจากความยินยอมพร้อมใจของผู้ประกอบการ หากไม่มีความจริงใจ

ต่อให้รัฐออกแรงผลักดันสักแค่ไหนก็ไม่สำเร็จ เป็นได้แค่โปรเจ็กต์ขายฝัน !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2021 8:39 am    Post subject: Reply with quote

Update ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 ดังนี้
🍊 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 79.44%
🍋 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 80.45% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 70.63% ความก้าวหน้าโดยรวม 76.18%
🍉 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 76.13% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 68.73% ความก้าวหน้าโดยรวม 72.83%
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3968690986511150
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2021 8:41 am    Post subject: Reply with quote

ศึกต่อขยายเหลือง-สีส้ม ยังระอุรับสงกรานต์
อนัญญา จั่นมาลี : รายงาน
ออนไลน์เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,669 วันที่ 11 - 14 เมษายน พ.ศ. 2564

เทศกาลสงกรานต์ปี 2564 ในช่วงฤดูร้อนของไทยนั้นยังพบว่ามีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐถึง 2 โครงการที่ยังเป็นกระแสร้อนอย่างต่อเนื่องเริ่มที่โครงการแรกเป็นโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร (กม.) ที่ผ่านมานายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ให้สัมภาษณ์ว่า บีทีเอสมีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายต่อการเดินทางโดยบริษัทฯ จะเป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายฯ ทั้งหมด 100% พร้อมแบ่งรายได้เพิ่มในกรณีที่ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเมื่อถึงจุดที่กำหนดส่วนแบ่งให้รฟม.เพิ่ม

ขณะเดียวกันด้านบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) เป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน กลับเล็งเห็นว่าหากก่อสร่างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน เมื่อถึงกำหนดเปิดบริการจะกระทบต่อรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกมาวิ่งเต้นในฐานะคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย โดยทำหนังสือถึงบีทีเอสเพื่อเจรจาขอชดเชยรายได้ให้แก่ BEM ที่จะได้รับผลกระทบด้านรายได้ในอนาคต แต่ทางบีทีเอสส่งหนังสือตอบกลับยืนยันขอไม่ชดเชยในกรณีชดเชยรายได้ให้กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญาของบีทีเอสถึงแม้ว่าคณะกรรมการ(บอร์ด)สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)โครงการดังกล่าวของรฟม. โดยให้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้จากผลการศึกษาความเหมาะสมฯ พบว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายฯ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและการให้บริการรถไฟฟ้าแก่ประชาชน โดยการเพิ่มศักยภาพของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ในการรองรับการเดินทางเชื่อมต่อของผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายหลักได้มากถึง 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่าสุดนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ความคืบหน้าผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธินที่ผ่านมาที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.รับทราบผลการศึกษากรณีที่รฟม.ศึกษาผลกระทบด้านรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM จากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลืองของบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) เป็นผู้รับสัมปทาน


สำหรับผลการศึกษาพบว่าหากมีการเปิดให้บริการโครงการฯ ภายในปีแรกจะกระทบรายได้กับ BEM คิดเป็น 988 ล้านบาท และตลอดอายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี คิดเป็น 2,700 ล้านบาท ขณะเดียวที่ประชุมได้มอบหมายให้รฟม.ทำหนังสือขอความคิดเห็นเพิ่มเติมจากกระทรวงคมนาคมเพื่อหาข้อสรุปประกอบการพิจารณา หากในกรณีที่ EBM ไม่ยอมรับเงื่อนไขการเจรจาชดเชยรายได้ให้กับ BEM หลังจากนั้นให้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการรฟม.ในครั้งถัดไป“เรามองว่าตามแผนแม่บทในด้านการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าไม่ควรมีแนวเส้นทางทับซ้อนหรือแนวเส้นทางใกล้เคียงกันเกินไป เพราะอาจจะไม่เหมาะสมเหมือนกับกรณีข้อพิพาททางแข่งขัน ดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยาย ช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต กับทางด่วนอุดรรัถยา (บางปะอิน – ปากเกร็ด) ที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับเอกชนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขณะเดียวกันหากการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง รฟม.ไม่ได้รับผลกระทบถือเป็นเรื่องดี เพราะเอกชนเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด แต่ถ้ามีการก่อสร้างแล้วพบว่า รฟม.ได้รับผลกระทบกระทบเอง อาจกลายเป็นคู่ความกับคู่สัญญาก็คงต้องชั่งน้ำหนักก่อนว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่อยากเสียค่าโง่ในภายหลัง ทั้งนี้ถ้าเราไม่ก่อสร้างโครงการฯ ก็มองว่าโครงข่ายรถไฟฟ้าในไทยที่สมบูรณ์อยู่แล้ว”ฟากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังจากเป็นประเด็นที่มีการฟ้องร้องระหว่างบีทีเอสและรฟม.ในชั้นศาลปกครอง เนื่องจากรฟม.ได้เปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลหลังจากรับซองข้อเสนอของเอกชนที่เข้ายื่นการประมูลทั้ง 2 ราย และยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะอยู่ระหว่างการรอคำตัดสินจากศาลปกครอง แต่รฟม.กลับไม่รอคำตัดสินจากศาลปกครองและเดินหน้าเปิดประมูลโครงการฯรอบ 2 โดยรฟม.ให้เหตุผลว่าการยกเลิกประกวดราคา (ประมูล) นั้นเพื่อต้องการเร่งรัดให้โครงการฯ สามารถเปิดให้บริการได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการฯเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนนั้น รฟม. เห็นว่า จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่เอกชนผู้ร่วมลงทุนต้องดำเนินการด้วยเทคนิคก่อสร้างที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดจึงกำหนดวิธีประเมินคะแนนด้านเทคนิคและคุณภาพควบคู่คะแนนด้านผลตอบแทนและการลงทุน (Price-Performance) ซึ่งสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวนฯ ร่างเอกสาร RFP และสาระสำคัญของร่างสัญญาฯ พ.ศ. 2563 โดยในข้อ 4(8) ที่ให้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกที่ให้ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการตัดสินเป็นคะแนนในทุกด้านทั้งด้านคุณภาพและด้านราคา
ล่าสุดรฟม.ได้ปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนผ่านเว็บไซต์ของ รฟม. ระหว่างวันที่ 2 – 16 มี.ค.2564 เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นรฟม.จะนำร่างเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) เสนอต่อคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ ร่วมทุน 2562 พิจารณา คาดว่าจะเปิดขายเอกสารการประกวดราคาภายในเดือนเมษายนนี้ และเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 คาดว่าจะได้ตัวเอกชนผู้รับจ้างและลงนามสัญญาภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564ทั้งนี้ผลจะออกมาเป็นอย่างไรต้องติดตาม!!!


Last edited by Wisarut on 15/04/2021 8:50 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 233, 234, 235 ... 277, 278, 279  Next
Page 234 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©