RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180258
ทั้งหมด:13491492
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 282, 283, 284 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2021 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

รถเก๋งจมน้ำขังอุโมงค์ทางลอดรถไฟทางคู่ | 08-03-64 | ไทยรัฐนิวส์โชว์
Mar 8, 2021
Thairath

ที่จังหวัดนครราชสีมา เกิดฝนตกหนัก ไฟฟ้าดับ ทำน้ำขังอุโมงค์ทางลอดรถไฟทางคู่ รถเก๋งไม่ชินทาง ขับลงไปกลับรถไม่ทัน จมหายเกือบมิดคัน โชคดีพลเมืองดีช่วยไว้ทัน


https://www.youtube.com/watch?v=VQ5Ljbgwjlo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 3:33 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถเก๋งจมน้ำขังอุโมงค์ทางลอดรถไฟทางคู่ | 08-03-64 | ไทยรัฐนิวส์โชว์
จันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564
Thairath

https://www.youtube.com/watch?v=VQ5Ljbgwjlo


เก๋งมุดอุโมงค์ลอดรถไฟรางคู่โคราช เจอน้ำท่วมหวิดจมมิด โชคดีคนมาช่วยทัน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
จันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา 13:40 น.

โคราชฝนตกหนักไฟฟ้าดับ ทำน้ำขังอุโมงค์ทางลอดรถไฟรางคู่ ใกล้เคียงสถานีรถไฟบ้านมะค่า เก๋งทะเบียน กทม.ไม่ชินทาง ขับลงไปกลับรถจมหายมิดทั้งคัน โชคดีพลเมืองดีช่วยทัน เจ้าของรถโวยหาผู้รับผิดชอบช่วยซ่อม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเวลาประมาณ 20.30 น. ของคืนวานนี้ (7 มี.ค.64) ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลมะค่า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา รับแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือรถยนต์ของประชาชนจมน้ำที่ท่วมขังอยู่บริเวณอุโมงค์ทางลอดใต้รางรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น ใกล้เคียงสถานีรถไฟบ้านมะค่า จากฝนที่ตกหนักทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่จึงรุดไปที่เกิดเหตุเพื่อออกตรวจสอบและช่วยเหลือ


จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบรถยนต์เก๋ง โตโยต้า สีบรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียน ษย 2305 กรุงเทพมหานคร จมอยู่ในน้ำเกือบมิดคัน โดยผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวและผู้โดยสารปลอดภัยดี เนื่องจากมีพลเมืองดีผ่านมาเจอแล้วเข้าให้การช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงได้ใช้รถดับเพลิงขนาดใหญ่ถอยลงไปทำการช่วยเหลือดึงรถที่จมน้ำขึ้นมาได้ ก่อนจะทำการลากจูงไปไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อรอให้เจ้าของรถนำกลับไปดำเนินการซ่อมแซมต่อไป



จากการสอบถามเจ้าของรถ เปิดเผยว่า ขณะเกิดเหตุมีฝนตกและเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง เมื่อตนเองขับรถมาถึงอุโมงค์ทางลอดจึงมองไม่เห็นว่ามีน้ำท่วมอยู่ภายใน เนื่องจากเครื่องสูบน้ำไม่ทำงาน ตนเองจึงขับลงไปในน้ำที่ท่วมขังอยู่ จึงพยายามถอยกลับแต่ก็ไม่ทันแล้ว เนื่องจากล้อด้านหน้าได้ลอยขึ้นก่อนจะไหลไปตามกระแสน้ำ ตนพยายามเปิดประตูแต่เปิดไม่ได้ จนกระทั่งมีพลเมืองดีผ่านมาให้การช่วยเหลือ พร้อมอยากฝากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาช่วยเหลือซ่อมแซมรถ รวมถึงหาระบบสำรองไฟในกรณีไฟฟ้าดับ เพื่อให้เครื่องสูบน้ำสามารถทำงานได้ จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นซ้ำอีก.

แก้ที่ไรโดนคนลักตัดสายไฟไปขาย ลักเครื่องสูบน้ำไปขายทุกที ทั้งๆที่ ตอนแรก รฟท. ก็เตือนท้องถิ่นแล้วจะเกิดเรื่องแบบนี้ แต่ชาวบ้านกะท้องถิ่นแม่มจะดันทุรังจะเอาแบบนี้ แล้ว จะโทษใครดีหละครับ
https://www.thairath.co.th/tv/program/Hong_khao_hua_khiew/493303
https://www.facebook.com/KoratNextStep/photos/a.1024591357581942/5777736008934096/


Last edited by Wisarut on 10/03/2021 10:44 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

#ชานสูง เรื่องนี้ต้องพูดให้ดัง ให้ชัดครับ ออกแบบให้เป็นชานสูง ก็ต้องเป็นชานสูงเพื่อ #UniversalDesign
ขอบคุณอาจารย์สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ - Surachet Pravinvongvuth ที่นำพาเรื่องนี้เข้าอนุกรรมาธิการครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1147776912327453



[ ส่งการบ้าน: #ก้าวไกล หนุนชานชาลาสูง ทำให้เป็น #ขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน ]
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ - Surachet Pravinvongvuth
9 มีนาคม 2564 เวลา 15:34 น.

จากการที่ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจในประเด็น “ความสูงของชานชาลา” ดังที่เป็นข่าว [1] ซึ่งมีคนแชร์กันมาก (ตอนนี้ 495 Shares) ผมจึงได้เข้าไป Comment และ Post ใน Official Page ของผม [2] ว่าจะนำเข้าไปพิจารณาในคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งผมเป็นประธานอยู่ วันนี้ จึงขอมาแชร์ข้อมูลและ “ส่งการบ้าน” ครับ
เมื่อวาน (8 มี.ค.) ช่วงบ่าย คณะอนุฯ ได้เรียกการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ามาชี้แจงในประเด็นที่เป็นข่าว [1] โดยผู้มาชี้แจงหลักคือ รองผู้ว่า จเร รุ่งฐานีย ซึ่งเป็นรองผู้ว่าที่รับผิดชอบงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน และมีวิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง (สุรณเดช ธูปะวิโรจน์) ผู้ซึ่งให้ข่าวชี้แจงเหตุผลของ รฟท. ในประเด็นการปรับแบบชานชาลารถไฟทางคู่ [3] มาร่วมชี้แจงด้วย
เหตุผลในการปรับแบบชานชาลารถไฟทางคู่ก็คล้ายกับที่ปรากฏในข่าว [3] แต่มีรายละเอียดมากขึ้น (ดังแสดงในรูป 24 Slides จาก รฟท. ใต้ Post นี้) โดยเหตุผลหลักของ รฟท. คือ “ความปลอดภัย” และ “ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น” ล่าสุด (ขณะชี้แจง 8 มี.ค.) รฟท. มีแผนจะทำชานชาลาสูง (110 ซม.) ที่สถานีหลัก ชานชาลากลาง (50 ซม.) ที่สถานีอื่นในเส้นทางที่ปรับระบบเป็นรถไฟทางคู่ และชานชาลาต่ำ (23 ซม.) ที่สถานีอื่นนอกเส้นทางที่ปรับระบบเป็นรถไฟทางคู่
จากคำชี้แจงของ รฟท. ผมก็ยังติดใจและเชื่อว่าการปรับให้เป็นชานชาลาสูง (110 ซม.) น่าจะเหมาะสมกว่า และผมก็เชื่อว่าประชาชนส่วนมากต้องการชานชาลาสูงอยู่ แม้จะได้ฟังคำชี้แจงจาก รฟท. ไปแล้ว [4] เพราะมัน “ฟังไม่ขึ้น!!”
ในส่วนของ “ความปลอดภัย” ประเด็นนี้แก้ปัญหาได้ด้วยเงิน เช่น เกรงว่ารถไฟจะเฉี่ยวชนสถานีเพราะใช้รางไม้วางบนหินอาจโยกเยกไปมามากเกินไป ก็เปลี่ยนเป็นรางแข็งหรือทำราง By Pass บริเวณสถานีได้ หรือเช่น เกรงว่าระยะห่างในแนวราบ (Horizontal Gap) ระหว่างพื้นรถกับชานชะลาจะกว้างมากเกินไป ก็ใช้แผ่นไม้หรือระบบอัตโนมัติมาแก้ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ได้ เป็นต้น
ในส่วนของ “ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น” อันนี้จริงครับ แต่ รฟท. ไม่มีตัวเลขมาแสดงให้ดูว่าเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน จากการประมาณการคร่าว ๆ น่าจะหลักพันล้านบ้าน ซึ่งน้อยมาก และขอย้ำว่าน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับ “ค่าโง่” จากการที่ทำรถไฟความเร็วสูงมาวิ่งขนานกันไปกับรถไฟทางคู่ เพราะรถไฟทางคู่ขนได้ทั้งคนและของโดยไม่จำเป็นต้องทำใหม่อีกคู่เพื่อรถไฟความเร็วสูง (คือจะทำจาก 1 ทางเป็น 4 ทาง) เฉพาะท่อนกรุงเทพฯ-โคราชก็แพงเกินไปหลายแสนล้านบาทแล้ว แถมยังทำมอเตอร์เวย์มาแย่งลูกค้ากันเองอีกหลายหมื่นล้านบาท (แนะนำให้อ่าน [5] กล่าวคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีต้องมองอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่มองเป็นท่อน ๆ หรือมองแต่ละรูปแบบการเดินทาง แล้วเอาแต่ด้านดีของโครงการมาขายฝัน) ซึ่ง รฟท. ก็เถียงไม่ออกในประเด็นนี้ ดังนั้น เหตุผลค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องเล็กน้อยมากและฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ผมจึงขอให้ทาง รฟท. กลับไปพิจารณาทบทวนให้ถี่ถ้วน หากชานชาลาสูง (110 ซม.) มีปัญหาที่เกินเยียวยาจริง ก็ต้องพิสูจน์และชี้แจงให้ได้ รวมถึงอธิบายให้สังคมเข้าใจ ที่สำคัญ “ควรเป็นมาตรฐานเดียว” ไม่ใช่บางสถานีชานชาลาสูง บางสถานีชานชาลากลาง และบางสถานีชานชาลาต่ำ
หากพิสูจน์ไม่ได้ ก็ควรทำชานชาลาสูง (110 ซม.) ตามที่ได้เคยมีการตกลงร่วมกันไว้และระบุในเอกสารแนบท้ายการประกวดราคา อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้างและเป็นไปตามหลัก Universal Design เพื่อประโยชน์ของทุกคน #ขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน
อยากจะบ่นดัง ๆ ว่า ทำไม รฟท. “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” จัง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2021 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

Cafe Amazon #สาขามวกเหล็ก ‼️
ส่วนข้างหลังคือ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
เส้นทางรถไฟทางคู่สายอีสานช่วง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
เป็นสะพานบกข้ามแอ่งกระทะ การก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ช่วงสูงสุดของโครงการมีความสูงเกือบ 50 เมตร ระยะทางทั้งหมด5กิโลเมตร
📸 Anusorn Sutapan
📸
ภาพนางแบบคนสวย
Jujang Warbaporn
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=281692226648260&id=100044224549896
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2021 9:46 pm    Post subject: Reply with quote

สะพานข้ามหุบเขามวกเหล็ก สุดอลังการ ฝีมือวิศวกรไทย!!!! ความยาวกว่า 5 กิโลเมตร ช่วงเสากว้างสุด 100 เมตร สูงสุด 50 เมตร!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
12 มีนาคม 2564 เวลา 21:18 น.

วันนี้ทาง สนข. เชิญมาเยี่ยมชมความคืบหน้าโครงการในพื้นที่สระบุรี-โคราช ในโครงการรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถานจิระ และ รถไฟความสูงกรุงเทพ-โคราช
ผมขอเอาภาพความคืบหน้า ของโครงการทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงมวกเหล็ก มาให้ชมกันหน่อยครับ
—————————
อย่างที่ผมเคยโพสต์ให้ภาพความคืบหน้า ทางยกระดับมวกเหล็กให้ชมหลายรอบแล้ว แต่เป็นภาพจากด้านล่าง วันนี้ได้สิทธิพิเศษได้ไปชมด้านบนบ้าง!!!
ซึ่งสะพานรถไฟทางคู่ยกระดับ ข้ามหุบเขามวกเหล็ก ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร
ซึ่งแก้ปัญหาทางรถไฟเดิมที่ไต่ไหล่เขา ช่วงมวกเหล็ก ซึ่งเป็นหุบเขาลงไป ทำให้รถไฟโดยสาร และรถไฟสินค้า ต้องเสียเวลาในการ ลดความเร็ว และไต่เขา ร่วมครึ่งชั่วโมง
โดยเฉพาะรถไฟสินค้า ซึ่งจะต้องใช้แรงในการเร่งเครื่อง ผ่านความชันสูงกว่า 2.5% (ชนเพดานข้อจำกัดของรถไฟ) จึงเป็นคอขวดของทางรถไฟสายอีสานไปเลย
จนทำให้รถไฟสินค้าส่วนใหญ่ที่ไปอีสานเหนือต้องอ้อมสายแก่งคอย-บัวใหญ่ ซึ่งระยะทางไกลกว่ากันเยอะ!!!
—————————
ซึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วง มาบกะเบา-จิระ ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบ เส้นทางของการปรับปรุงแนวเส้นทาง ในการก่อสร้างทางคู่สายใหม่ ให้เหมาะสมกับการเดินทางอย่างยั่งยืน
ให้ระยะทางสั้น ประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลาการเดินทางมากที่สุด แก้ทุกปัญหาเดิมของเส้นทาง ให้จบในโครงการเดียว
จากแนวเส้นทางเดิมนี้ก่อสร้างในช่วง ร.5 ร่วม 130 ปีที่แล้วซึ่งมีข้อจำกัดของเทคโนโลยี เงินทุน และการสำรวจเส้นทาง ในอดีต
ดังนั้น การตัดเส้นทางใหม่จึงแก้ปัญหาเส้นทางในช่วงภูเขา ให้ตัดตรงที่สุด เพื่อการเดินทางที่ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งมีการขยับแนวใหม่ โดยต้องก่อสร้างอุโมงค์ และสะพานข้ามหุบเขาไปเลย
รายละเอียดทางรถไฟทางคู่ ยกระดับข้ามมวกเหล็ก
- ย้ายตำแหน่งสถานีรถไฟมวกเหล็ก ไปที่ต้นทางยกระดับ (กม.147)
- มีระยะทาง 5 กิโลเมตร (กม. 147 - 152)
- ก่อสร้างด้วยรูปแบบ สะพานคอนกรีต Balance Cantilever ต่อเนื่อง
- ช่วงเสา (Span) 100 เมตร (กว้างมากกกกก)
- ความสูงเสาทางรถไฟไฟยกระดับ 48 เมตร!!!!
ซึ่งทางยกระดับนี้สามารถลดเวลาการเดินทางของรถไฟ จาก หินลับ-กลางดง ประมาณ 30 นาที ให้เหลือแค่ 10 นาทีเท่านั้น!!!
ส่วนของอุโมงค์ ในโครงการทางคู่ ทั้งแนวทาง และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ดูรายละเอียดได้ในลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/964190120686134/?d=n
—————————
ซึ่งรอบนี้ได้ขับรถจากสะพานข้ามหุบเขาที่ กม.145 ซึ่งเป็นปากอุโมงค์ที่ 2 อุโมงค์มวกเหล็ก (อุโมงค์เดี่ยว ทางคู่)
แล้วผ่านพื้นที่สถานีมวกเหล็กใหม่ ซึ่งเป็น #ชานชาลาสูง 1.1 เมตรตามมาตรฐาน!!! แล้วก็ไปจอดที่ปลายสถานีมวกเหล็ก ซึ่งเป็นต้นทางของทางยกระดับ มวกเหล็ก
—————————
ซึ่งปัจจุบัน โครงสร้างงานโยธา ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือแต่งานวางรางรถไฟ และอาณัติสัญญาณ เราน่าจะได้ใช้ สัญญา 1 ช่วงต้นปี 65
แต่!!!! ในอนาคต เราจะมีทางรถไฟยกระดับอีกสะพาน คู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับนี้ สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง!!!

// -----------------

วันนี้ สนข.พาสื่อมวลชนมาชมความคืบหน้ารถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงทางยกระดับข้ามแอ่งหมวกเหล็ก จุดนี้เดิมทีทางรถไฟต้องโค้งขึ้นเนิน มีความชันและทำความเร็วไม่ได้ จึงสร้างเป็นทางยกระดับข้าม ให้รถสามารถทำความเร็วได้ เฉพาะทางยกระดับนี้สามารถวิ่งได้เร็วกว่าทางรถไฟเก่า 30 นาทีครับ
https://www.facebook.com/duane.eddy.378/posts/263891091938398
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2021 10:39 pm    Post subject: Reply with quote

เสร็จปีหน้ารถไฟทางคู่ “มาบกะเบา-จิระ” วิ่งลอยฟ้าลอดอุโมงค์ที่ยาวที่สุด
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:31 น.


รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-จิระ ติดหล่มเวนคืนที่ดินเพิ่ม 383 ล้าน รื้อแบบช่วงคลองขนานจิตร-จิระ ผ่านตัวเมืองโคราช ค่าก่อสร้างเพิ่ม 3 พันล้าน เผยความคืบหน้างานก่อสร้างสัญญาที่1 รุดหน้า 85.92% งานอุโมงค์ 3 แห่งดีเลย์11.35% คาดเปิดบริการตลอดสายในปี’66 ขึ้นแท่นรถไฟทางคู่มีโครงสร้างยกระดับสูงสุด วิ่งลอดอุโมงค์ที่ยาวที่สุด 5.8 กม.

นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ผู้แทนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ผู้จัดการโครงการรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เปิดเผยว่า โครงการเป็น 1 ใน 5 เส้นทางอยู่ในแผนเร่งด่วนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กำลังเดินหน้าก่อสร้าง โดยมีระยะทาง 134 กม. รูปแบบก่อสร้างมีผสมผสานระหว่างอุโมงค์ ทางยกระดับ และทางระดับพื้นดิน

แบ่งการดำเนินงานเป็น 4 สัญญา ได้แก่
1.การก่อสร้างช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กม. เป็นทางระดับพื้น 53 กม.และยกระดับประมาณ 5 กม. สะพานรถไฟ 20 แห่ง สะพานข้ามทางรถไฟ 1 แห่ง สะพานกลับรถรูปตัวยู 6 แห่ง ท่อลอดเหลี่ยมใต้รถไฟ 2 แห่ง สถานรถไฟ 7 แห่ง ปรับปรุงสถานีเดิม 3 แห่ง สร้างสถานีใหม่ระดับพื้น 3 แห่ง สถานีใหม่ยกระดับ 1 แห่ง มีบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ก่อสร้าง วงเงิน 7,560 ล้านบาท เริ่มงานวันที่ 1 ก.พ.2561 แล้วเสร็จวันที่ 31 ม.ค.2565 มีความคืบหน้า85.92% ช้ากว่าแผน 2.56% ซึ่งงานสัญญานี้จะมีจุดก่อสร้างเป็นทางยกระดับที่สูงที่สุดคือ 50 เมตร บริเวณมวกเหล็กเนื่องจากพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ

2.การก่อสร้างช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กม.อยู่ระหว่างการปรับแบบก่อสร้างช่งผ่านตัวเมืองนครราชสีมา สร้างเป็นทางยกระดับและสร้างทางลอดแทนสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟบริเวณโรงแรมสีมาธานีแทน ทำให้วงเงินก่อสร้างเพิ่มขึ้น 3,000 กว่าล้านบาท จากเดิม 7,000 กว่าล้านบาท เป็น 1 หมื่นกว่าล้านบาท ทางร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างขออนุมัติ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนก.ค.2564 ใช้เวลาก่อสร้าง 42 เดือน


3.งานก่อสร้างอุโมงค์มีกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ที เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มงานวันที่ 1 ก.ค.2561 แล้วเสร็จวันที่ 30 ธ.ค.2564 ค่าก่อสร้าง 9,290 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ 3 อุโมงค์บริเวณปูนซิเมนต์นครหลวง-บ้านหินสลับ บริเวณเขามะกอก-มวกเหล็กและอ่างเก็บน้ำลำตะคอง-คลองไผ่ ซึ่งเป็นอุโมงค์ก่อสร้างมีระยะทางที่ยาวที่สุดประมาณ 5.8 กม. ขณะนี้สร้างคืบหน้า 67.8% ยังล่าช้า 11.35% และ

4.งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ วงเงิน 2,445 ล้านบาท. มีกลุ่มกิจการร่วมค้าอิตาเลียนไทยฯ-LSIS เป็นก่อสร้าง เริ่มงานวันที่ 24 ม.ค.2563 จะเสร็จวันที่ 23 ต.ค.2566 ขณะนี้คืบหน้าแล้ว 0.53% คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมกับที่งานก่อสร้างสัญญา2 แล้วเสร็จ


“ปัญหาของโครงการที่ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า เช่น ติดเรื่องการเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นจำนวน 383 ล้านบาท เพราะมีการปรับแบบหลบรัศมีวงเลี้ยวให้กับรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟไทย-จีน รอการอนุมัติงบฯเพิ่ม ”

สำหรับการเปิดให้บริการ คาดว่าจะเป็นภายในต้นปี 2565 หากผู้รับเหมาไม่มีการขอขยายเวลาจากการขอสงวนสิทธิ์ หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และติดเรื่องเวนคืนที่ดิน หากยังไม่ได้งบฯเพิ่มตามที่ร.ฟ.ท.ขอเพิ่มเติม

“อย่างไรก็ตามการเปิดบริการสามารถเปิดได้ในสัญญาที่1และสัญญาที่3 แต่จะเกิดคอชวดช่วงสัญญาที่2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ”นายไพบูลยกล่าว

คมนาคมเลื่อนเปิดรถไฟทางคู่ 'มาบกะเบา-จิระ' ปลายปี 67

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 น.


12 มี.ค.64-นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ผู้จัดการโครงการกลุ่มบริษัท ที่ปรึกษา AMWW โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณก่อสร้าง วงเงิน 29,968.62 ล้านบาทว่า ในขณะนี้ ภาพรวมของทั้งโครงการฯ มีความล่าช้าประมาณ 18 เดือน (1 ปีครึ่ง)

ทั้งนี้เนื่องจากติดปัญหาการปรับแก้ไขแบบก่อสร้างของสัญญาที่ 2 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ (กม.199+600-กม.268+136) ระยะทาง 69 กม. ในช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟสีมาธานี และทำให้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท

สำหรับจากการปรับแก้ไขแบบดังกล่าว บริเวณสีมาธานีนั้น กรมทางหลวง (ทล.) จะเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด วงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยในตอนนี้ อยู่ระหว่างการขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายกรอบวงเงิน เพื่อนำมาดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลอ้างอิงของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ระบุไว้ว่า จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างสัญญาที่ 2 ได้ภายใน ก.ค. 2564 และใช้ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 36 เดือน

ซึ่งหากสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกรอบเวลาดังกล่าว โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระนั้น จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2567 จากเดิมจะแล้วเสร็จใน ก.พ. 2565 ในส่วนจะสามารถเปิดให้บริการช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (สัญญาที่ 1) ได้ก่อนหรือไม่นั้น มองว่า จะเป็นคอขวด เนื่องจากติดปัญหาของสัญญาที่ 2

นายไพบูลย์ กล่าวต่ออีกว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ. 2564 พบว่า ในส่วนของสัญญาที่ 1 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (กม.134+250-กม.198+200) ระยะทาง 58 กม. แบ่งเป็น ระดับพื้น 53 กม. และทางยกระดับ 5 กม. วงเงิน 7,560 ล้านบาท นั้น ในขณะนี้มีความก้าวหน้า 85.92% ล่าช้ากว่าแผน 2.56% กำหนดแล้วเสร็จ ม.ค. 2565 และสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ ระยะทาง 5 กม. วงเงิน 9,290 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 67.82% ล่าช้ากว่าแผน 11.35% กำหนดแล้วเสร็จ ธ.ค. 2564

สำหรับความล่าช้าของสัญญาที่ 1 และ 3 สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้กระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงติดเรื่องของการเข้าพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่มีความล่าช้าด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาค่าเวนคืนที่ดินที่เพิ่มขึ้นอีก 383 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าและเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ได้ยื่นขอสงวนสิทธิ์ไว้แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ รฟท. ในเรื่องของการขยายอายุสัญญา แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ได้มีบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผน และตามที่สัญญากำหนดไว้


รถไฟทางคู่ "มาบกะเบา-จิระ" เลื่อนยาวเปิดใช้ปลายปี 67
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18.20 น.

รถไฟทางคู่ “มาบกะเบา-จิระ” เลื่อนยาวเปิดใช้ปลายปี 67 หลังล่าช้า 18 เดือน ติดปรับแบบสัญญา 2 “ช่วงคลองขนานจิตร-จิระ” บริเวณสีมาธานี พร้อมโยน ทล. สร้างทางลอด 1.5 พันล้าน ด้านสัญญา 1-3 ไม่ขยับ โดนพิษโควิด-เข้าพื้นที่ไม่ได้-รองบเวนคืนเพิ่ม 383 ล้าน

นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ผู้จัดการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณก่อสร้าง วงเงิน 29,968.62 ล้านบาทว่า ขณะนี้ภาพรวมของทั้งโครงการฯ มีความล่าช้าประมาณ 18 เดือน (1 ปีครึ่ง) เนื่องจากติดปัญหาการปรับแก้ไขแบบก่อสร้างของสัญญาที่ 2 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ (กม.199+600-กม.268+136) ระยะทาง 69 กม. ในช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟสีมาธานี และทำให้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท 



ทั้งนี้จากการปรับแก้ไขแบบดังกล่าว บริเวณสีมาธานีนั้น กรมทางหลวง (ทล.) จะเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด วงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายกรอบวงเงิน เพื่อนำมาดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลอ้างอิงของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ได้ระบุไว้ว่า จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างสัญญาที่ 2 ได้ภายใน ก.ค.64 และใช้ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 36 เดือน ซึ่งหากสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกรอบเวลาดังกล่าว โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระนั้น จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการช่วงปลายปี 67 จากเดิมจะแล้วเสร็จใน ก.พ.65 ส่วนจะสามารถเปิดให้บริการช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (สัญญาที่ 1) ได้ก่อนหรือไม่นั้น มองว่า จะเป็นคอขวด เนื่องจากติดปัญหาของสัญญาที่ 2 อย่างไรก็ตาม หากจะเปิดใช้บริการช่วงที่แล้วเสร็จก่อน สามารถดำเนินการได้ โดยต้องมาใช้ทางเดี่ยวที่มีอยู่ในปัจจุบันควบคู่แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแนวทางให้รอบคอบที่บริหารจัดการเดินรถต่อไป


นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ. 64 พบว่า สัญญาที่ 1 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (กม.134+250-กม.198+200) ระยะทาง 58 กม. แบ่งเป็น ระดับพื้น 53 กม. และทางยกระดับ 5 กม. วงเงิน 7,560 ล้านบาท ขณะนี้มีความก้าวหน้า 85.92% ล่าช้ากว่าแผน 2.56% กำหนดแล้วเสร็จ ม.ค.65 และสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ ระยะทาง 5 กม. วงเงิน 9,290 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 67.82% ล่าช้ากว่าแผน 11.35% กำหนดแล้วเสร็จ ธ.ค.64 



ทั้งนี้ความล่าช้าของสัญญาที่ 1 และ 3 สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้กระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงติดเรื่องของการเข้าพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่มีความล่าช้าด้วย ขณะเดียวกันยังมีปัญหาค่าเวนคืนที่ดินที่เพิ่มขึ้นอีก 383 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าและเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ได้ยื่นขอสงวนสิทธิ์ไว้แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ รฟท. ในเรื่องของการขยายอายุสัญญา อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มีบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผน และตามที่สัญญากำหนดไว้

สำหรับเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จทำให้สามารถเดินทางตรงต่อเวลา รวดเร็วและสะดวก เพราะเป็นทางคู่ ไม่เหมือนทางเดี่ยวปัจจุบันที่ต้องหลบหลีกกัน ทำให้เสียเวลา รวมทั้งรถไฟทางคู่จะใช้ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 160 กม.ต่อ ชม. แต่คาดว่าจะใช้จริงแค่ 120 กม.ต่อ ชม. 
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2857607224460777
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/03/2021 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

Update รถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ ช่วงเลี่ยงเมืองลพบุรี Lop Buri bypass railway 13/3/2021
Mar 14, 2021
ข่าวรถไฟฟ้า Thai Metro Rail News


https://www.youtube.com/watch?v=glOBWZwLF_E
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 11:15 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ “มาบกะเบา-จิระ” ดีเลย์ 18 เดือน ติดหล่มปัญหาปรับแบบ-เวนคืน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:53 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:53 น.




รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ล่าช้า 18 เดือน เหตุปรับแบบสัญญา 2 ช่วงสะพานสีมาธานี ส่วนสัญญา 1, 3 ติดค่าเวนคืนเพิ่ม 383 ล้าน และอุโมงค์ 3 แห่ง ดีเลย์ 11.35% คาดเร่งสปีดเสร็จ ก.พ. 65

นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ผู้จัดการโครงการ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ผู้จัดการโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เปิดเผยว่า โครงการมีระยะทางรวม 132 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง 29,968.62 ล้านบาท โดยแบ่งงานออกเป็น 4 สัญญา ปัจจุบันภาพรวมทั้งโครงการฯ มีความล่าช้าประมาณ 18 เดือน (1 ปีครึ่ง) เนื่องจากติดปัญหาสัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ (กม.199+600-กม.268+136) ระยะทาง 69 กม. ซึ่งมีการปรับแบบก่อสร้าง ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมาบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟสีมาธานี ส่งผลให้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท จากเดิม 7,000 กว่าล้านบาท เป็น 1 หมื่นกว่าล้านบาท

โดยแบบล่าสุด จากข้อตกลงร่วมกับจังหวัดนครราชสีมาให้ก่อสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับ และทุบสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟสีมาธานีเดิม และก่อสร้างทางลอดแทน และมีความเห็นว่าให้กรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดรถยนต์ วงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท เนื่องจากเป็นงานที่ ทล.มีความชำนาญ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือน ก.ค. 2564 ใช้เวลาก่อสร้าง 42 เดือน

ส่วนความคืบหน้าสัญญา 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (กม.134+250-กม.198+200) ระยะทาง 58 กม. เป็นทางระดับพื้น 53 กม. และยกระดับประมาณ 5 กม. สะพานรถไฟ 20 แห่ง สะพานข้ามทางรถไฟ 1 แห่ง สะพานกลับรถรูปตัวยู 6 แห่ง ท่อลอดเหลี่ยมใต้รถไฟ 2 แห่ง สถานรถไฟ 7 แห่ง ปรับปรุงสถานีเดิม 3 แห่ง สร้างสถานีใหม่ระดับพื้น 3 แห่ง สถานีใหม่ยกระดับ 1 แห่ง

มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 7,560 ล้านบาท สัญญาเริ่มงานวันที่ 1 ก.พ. 2561 แล้วเสร็จวันที่ 31 ม.ค. 2565 มีความคืบหน้า 85.92% ช้ากว่าแผน 2.56%

โดยจุดเด่นของการก่อสร้าง มีช่วงที่เป็นทางยกระดับที่สูงที่สุด คือ 50 เมตร บริเวณมวกเหล็ก

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ 3 อุโมงค์ บริเวณปูนซิเมนต์นครหลวง-บ้านหินสลับ บริเวณเขามะกอก-มวกเหล็ก และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง-คลองไผ่ ซึ่งเป็นอุโมงค์ก่อสร้างมีระยะทางที่ยาวที่สุดประมาณ 5.8 กม. มีกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ที เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 9,290 ล้านบาท สัญญาเริ่มงานวันที่ 1 ก.ค. 2561 แล้วเสร็จวันที่ 30 ธ.ค. 2564 ปัจจุบัน

มีความก้าวหน้า 67.82% ล่าช้ากว่าแผน 11.35%


สัญญาที่ 4 งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณทั้งโครงการวงเงิน 2,445 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าอิตาเลียนไทยฯ-LSIS เป็นก่อสร้าง เริ่มงานวันที่ 24 ม.ค. 2563 จะเสร็จวันที่ 23 ต.ค. 2566 ขณะนี้คืบหน้าแล้ว 0.53% คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมกับที่งานก่อสร้างสัญญา 2 แล้วเสร็จ

นายไพบูลย์กล่าวว่า สาเหตุที่งานก่อสร้างสัญญา 1 และ 3 มีความล่าช้า เนื่องจากติดปัญหางบประมาณเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นจำนวน 383 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างเสนอ ครม.พิจารณา ซึ่งเกิด​จากการปรับแนวเส้นทางบางช่วงให้อยู่ในแนวเดียวกับรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟไทย-จีน เพื่อลดผลกระทบกับพื้นที่ป่าไม้ แต่มีช่วงหัวและท้ายเส้นทางที่ต้องกระทบชุมชน

นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ช่วงแรกที่มีการเข้มงวดเรื่องแรงงานต่างด้าว ทำให้กระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงติดเรื่องของการเข้าพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่มีความล่าช้าด้วย

อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าต่างๆ ผู้รับจ้าง ได้ยื่นขอสงวนสิทธิ์ไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการต่อขยายสัญญาใดๆ โดยประเมินว่าการก่อสร้างงานโยธาสัญญา 1 และ 3 โดยจะบริหารสัญญาให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนเดิม ขณะที่การติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณยังคงเป็นไปตามแผน และจะมีการทดสอบระบบและปิดให้บริการ ภายในต้นปี 2565

ส่วนช่วงสัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ที่ล่าช้าจะกระทบต่อการเปิดเดินรถที่จะเป็นคอขวด และทำให้การเดินรถใช้ความเร็วไม่ได้เต็มที่


คืบหน้า “รถไฟทางคู่ มาบกะเบา-จิระ” ผุดงบบานปลาย 3 พันล้าน
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2564 เวลา 10:25 น.

รถไฟทางคู่ มาบกะเบา-จิระ ดีเลย์ 18 เดือน หลังติดปัญหาแก้แบบก่อสร้างสัญญาที่ 2 เพิ่มงบบานปลาย 3,000 ล้าน ขณะที่สัญญา 1 และสัญญา 3 เหตุโควิดพ่นพิษ กระทบเคลื่อนย้ายแรงงาน คาดเลื่อนเปิดให้บริการปลายปี 67

นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ผู้จัดการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณก่อสร้าง วงเงิน 29,968.62 ล้านบาทว่า ในขณะนี้ ภาพรวมของทั้งโครงการฯ มีความล่าช้าประมาณ 18 เดือน (1 ปีครึ่ง) เนื่องจากติดปัญหาการปรับแก้ไขแบบก่อสร้างของสัญญาที่ 2 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ (กม.199+600-กม.268+136) ระยะทาง 69 กม. ในช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟสีมาธานี และทำให้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท



สำหรับการปรับแก้ไขแบบดังกล่าว บริเวณสีมาธานีนั้น กรมทางหลวง (ทล.) จะเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด วงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยในตอนนี้ อยู่ระหว่างการขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายกรอบวงเงิน เพื่อนำมาดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลอ้างอิงของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ระบุไว้ว่า จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างสัญญาที่ 2 ได้ภายใน ก.ค. 2564 และใช้ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 36 เดือน ซึ่งหากสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกรอบเวลาดังกล่าว โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระนั้น จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2567 จากเดิมจะแล้วเสร็จใน ก.พ. 2565 ในส่วนจะสามารถเปิดให้บริการช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (สัญญาที่ 1) ได้ก่อนหรือไม่นั้น มองว่า จะเป็นคอขวด เนื่องจากติดปัญหาของสัญญาที่ 2คืบหน้า “รถไฟทางคู่ มาบกะเบา-จิระ” ผุดงบบานปลาย 3 พันล้าน
คืบหน้า “รถไฟทางคู่ มาบกะเบา-จิระ” ผุดงบบานปลาย 3 พันล้าน


ขณะเดียวกันความล่าช้าของสัญญาที่ 1 และ 3 สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้กระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงติดเรื่องของการเข้าพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่มีความล่าช้าด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาค่าเวนคืนที่ดินที่เพิ่มขึ้นอีก 383 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าและเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ได้ยื่นขอสงวนสิทธิ์ไว้แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ รฟท. ในเรื่องของการขยายอายุสัญญา แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ได้มีบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผน และตามที่สัญญากำหนดไว้อย่างไรก็ตามจากข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ. 2564 พบว่า ในส่วนของสัญญาที่ 1 การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (กม.134+250-กม.198+200) ระยะทาง 58 กม. แบ่งเป็น ระดับพื้น 53 กม. และทางยกระดับ 5 กม. วงเงิน 7,560 ล้านบาท นั้น ในขณะนี้มีความก้าวหน้า 85.92% ล่าช้ากว่าแผน 2.56% กำหนดแล้วเสร็จ ม.ค. 2565 และสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ ระยะทาง 5 กม. วงเงิน 9,290 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 67.82% ล่าช้ากว่าแผน 11.35% กำหนดแล้วเสร็จ ธ.ค. 2564
Wisarut wrote:
เสร็จปีหน้ารถไฟทางคู่ “มาบกะเบา-จิระ” วิ่งลอยฟ้าลอดอุโมงค์ที่ยาวที่สุด
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:31 น.


คมนาคมเลื่อนเปิดรถไฟทางคู่ 'มาบกะเบา-จิระ' ปลายปี 67

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 น.



รถไฟทางคู่ "มาบกะเบา-จิระ" เลื่อนยาวเปิดใช้ปลายปี 67
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18.20 น.

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2857607224460777


Last edited by Wisarut on 17/06/2021 6:40 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 4:21 pm    Post subject: Reply with quote


ทางช่วงหนองแกไปคั่นกระไดที่อิตาเลียนไทยทำเป็นชานต่ำ
https://www.youtube.com/watch?v=ZJnKtJEHIFg
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

รวมพลังกดดันแก้ปัญหา “ชานชาลา” รถไฟทางคู่สูง-ต่ำ!!
*”ศักดิ์สยาม”สั่ง รฟท.แจงด่วนสังคมเคลือบแคลง
*ยันมาตรฐานใช้ชานชาลาสูงประโยชน์ประชาชน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2860443300843836
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 282, 283, 284 ... 388, 389, 390  Next
Page 283 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©