RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181733
ทั้งหมด:13492971
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2021 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ในสถานีกรุงเทพ พร้อมกับตรวจตราการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการดำเนินมาตรการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายในสถานีและรถโดยสาร เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการแก่ประชาชน
ทั้งนี้ ในระหว่างการลงพื้นที่ นายนิรุฒได้มอบนโยบายให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการโดยสาร ฝ่ายการช่างโยธา ให้เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษาความสะอาด การตรวจสอบอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับปรุงสภาพทางรถไฟให้มีความพร้อมในการใช้งาน การติดตั้งแป้นปะทะบริเวณชานชาลาสถานีกรุงเทพทุกชานชาลา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการแก่ผู้โดยสารตลอดการเดินทาง
Cr : การรถไฟแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3896589380387978
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 7:37 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าไม่มีหัวลำโพงแล้วจะไปไหนต่อ




https://www.youtube.com/watch?v=gyjgdnzRreo
https://www.youtube.com/watch?v=sqUS32trNYc
https://www.youtube.com/watch?v=tU1Qq3EfSLU
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2021 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

หัวลำโพง ไปต่อหรือพอแค่นี้ : ผศ.ปริญญา ชูแก้ว | จุดประกาย EP.6
Premiered Mar 21, 2021
กรุงเทพธุรกิจ


https://www.youtube.com/watch?v=_esFVQyKUJg

เมื่อถึงวันที่หัวลำโพง ไม่ได้ทำหน้าที่ “สถานีกรุงเทพ” ศูนย์กลางการเดินทางด้วยรถไฟแล้ว หัวลำโพงจะกลายเป็นอะไรต่อไป ?
.
นั่งรถไฟจากหัวลำโพงไปลงหัวตะเข้ กับ “ผศ.ปริญญา ชูแก้ว” อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนด้านการอนุรักษ์สถานีรถไฟและชุมชนเก่า
.
ฟังเรื่องเล่าของหัวลำโพง และการเดินทางด้วยรถไฟ ซึ่งได้สร้างชุมชนและวัฒนธรรมริมรางขึ้นมา อาคารบ้านเรือนในยุคเก่า เมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยน แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เท่ากับรื้อทิ้ง แต่จะทำอย่างไรให้สามารถไปต่อได้ โดยไม่ทิ้งคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจด้วย
.
ชวนคิดกันต่อในรายการ “จุดประกาย” ตอน “วัฒนธรรมริมราง”
วันอาทิตย์ ที่ 21 มีนาคม 2564 ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 และช่องทางออนไลน์ของกรุงเทพธุรกิจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 11:32 am    Post subject: Reply with quote

ชวนออกแบบ “หัวลำโพง” รองรับการใช้ประโยชน์ สอดรับการพัฒนาเมือง
22 มีนาคม 2564
โครงการศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์ฯ หัวลำโพง ชวนร่วมร่าง แผนพัฒนาหัวลำโพงในฝัน ให้เป็นมากกว่าสถานีเดินรถและพิพิธภัณฑ์ ชิงรางวัลรวมกว่า 1 แสนบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2021 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

LIFE OF HUA LAMPHONG
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:53 น.

เนื่องในวันที่ 26 มีนาคม 2564 ที่จะถึงนี้ เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในวันที่ 26 มีนาคม 2436 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานีรถไฟหลวงกรุงเทพ เพื่อประกอบพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีสายกรุงเทพ-นครราชสีมา เส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย
.
ทีมข่าว #ThaiPBSPhoto ได้เก็บภาพบรรยากาศสวย ๆ ของเหล่าเจ้าหน้าที่ในหัวลำโพง ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงวิถีชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละฝ่าย มีทั้งพนักงานขับรถไฟ ช่างซ่อม ช่างเทคนิค ฝ่ายทำความสะอาด ไปจนถึงแม่ค้าที่อยู่ในโรงอาหาร ที่คอยให้บริการมาอย่างยาวนาน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรต่อไป
.
ทั้งนี้สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) อนาคตอาจจะถูกลดบทบาทในการใช้งานลงมา หลังสถานีกลางบางซื่อเปิดอย่างเป็นทางการ โดยการลดขบวนลงมา จากวันละ 185 ขบวน เหลือเพียง 22 ขบวน เฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน และจะมีการพัฒนาสถานีรถไฟให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ สำหรับประชาชนท่านใดที่สนใจอยากเก็บภาพสถานีรถไฟหัวลำโพงนี้ไว้ ให้รีบไปเก็บก่อนที่สถานีกลางบางซื่อจะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการนะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2021 3:49 pm    Post subject: Reply with quote

หนังสือ ๑๐๐ ปี สถานีกรุงเทพ
Arrow http://songkhlastation.com/pdf/100thhualamphong.pdf

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2021 4:03 am    Post subject: Reply with quote

หอประวัติจุฬาฯ
วันศุกร์ ที่ 7 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:53 น.


"หัวลำโพง" บนเส้นทางของประวัติศาสตร์การคมนาคมทางรางของไทย ที่กำลังจะก้าวสู่รูปแบบใหม่ ที่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าและความทรงจำ รายการ "จามจุรีมีเรื่องเล่ากับหอประวัติจุฬาฯ" นำเสนอตอน "105 ปีสถานีรถไฟกรุงเทพฯ"
.
โดย ผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
2 ตอนติดต่อกัน
วันเสาร์ ที่ 8 พฤษภาคม 2564
และวันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม 2564
เวลา 08.30 - 09.00
ทาง FM 101.5 สถานีวิทยุจุฬาฯ
หรือทางออนไลน์ https://curadio.chula.ac.th/Radio-Live.php
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2021 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

บ้านและสวน Baanlaesuan.com
วันพุธ ที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:53 น.


"หัวลำโพง" หรือ สถานีกรุงเทพ สถาปัตยกรรมที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งเมื่อ 105 ปีก่อน กับหลังคาโค้งช่วงกว้างถึง 50 เมตร โดยไม่มีเสากลาง มาชมภาพเก่ายุคเริ่มต้น แบบก่อสร้างโบราณโรงแรมราชธานี และดีไซน์จากอดีตสู่ปัจจุบัน ก่อนสถานที่แห่งนี้จะเปลี่ยนบทบาทไป
อ่านเรื่องเต็ม https://cutt.ly/0bSuG7n
.
สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน
.
ขอบคุณข้อมูล : การรถไฟแห่งประเทศไทย
เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์
ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ, ศุภกร ศรีสกุล, หทัยรัตน์ ดีนวลพะเนาว์, การรถไฟแห่งประเทศไทย


Last edited by Wisarut on 23/06/2021 2:45 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2021 2:15 pm    Post subject: Reply with quote

🚂 ช่วงนี้ นักข่าวไทย และต่างชาติ สนใจว่า เมื่อสถานีกลางบางซื่อ เปิดใช้ให้บริการแล้ว บทบาทของสถานีกรุงเทพ ๑๐๕ ปี ปีนี้ ๒๕๖๔ 2021 เป็นอย่างไร
🚂 สถานีกรุงเทพ สร้าง เมื่อปี ๒๔๕๓ 1910 สมัย ร.๕ เปิดใช้ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๙ สมัย ร.๖ 1916 แม้ว่า จะเปิดกิจการเดินรถ กรุงเทพ อยุธยา 71 กม.ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ 1896 เข้า ๑๒๕ปี แต่มีการประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์เริ่มสร้างทางรถไฟในย่าน ร.๕ เมื่อ ๙ มีนาคม ๒๔๓๔ 1891 เป็น standard gauge 1.435 meter
🚂 สิ่งที่น่าชมของสถานี อาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบตามรูปแบบอิตาเลียน ยุคเรอนาซองส์ ออกแบบโดยสถาปนิก ชาวอิตาเลียน มาริโอ้ ตามัญโญ ได้รับอิทธิพลจากสถานีแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมันนี
🚂 นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่น่าชม เช่น โรงแรมราชธานี กระจกสี บริเวณช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้า หลัง ของสถานี นาฬิกาเรือนใหญ่หน้าสถานี รัศมี 80 cm สั่งทำจาก Siemens หน้าปัดยังเป็นของเดิม ปัจจุบันเป็นยี่ห้อ TN ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า DC มีหลุมหลบภัย bunker ใช้ในช่วงสงครมโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี 2482-2488 /1939-1945
🏠🚂 อนาคต ของสถานีกรุงเทพ ส่วนหนึ่งจะ เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและอีกส่วนก็สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาพื้นที่เป็น commercial area อย่างไรก็ตามก็ยังมีการเดินรถ ขบวนรถวิ่งเข้าออกจากสถานีกรุงเทพ ขบวนอะไรบ้างก็ต้องรอดูว่าเป็นอย่างไร
https://www.facebook.com/siriphong.preutthipan/posts/2063304013808767
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ตำนานการเปลี่ยนแปลงและขยายสถานีกรุงเทพเป็นแบบใหม่ ตามรายงานประจำปี พ.ศ.2459
Pichet Chamneam

ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จในงานพระราชพิธีเปิดสถานีใหม่ ที่ตำบลหัวลำโพง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน นั้น นับว่าการเปลี่ยนแปลงสนามสถานีกรุงเทพเป็นแบบใหม่ ซึ่งได้ลงมือทำมาเกือบ 10 ปีนั้น เป็นอันสำเร็จเรียบร้อย ใน 10 ปีแรกนับแต่ได้เปิดทางรถไฟตอนต้นไปถึงกรุงเก่าในเดือนมีนาคม 2439 นั้น การเดินรถโดยสานแลสินค้า กับการโรงงานได้ทำรวบรวมอยู่ด้วยกันแห่งเดียว ที่ตำบลปลายทางกรุงเทพฯ ครั้นเมื่อได้เปิดทางตอนใหม่ๆเพิ่มเติมขึ้นอีก แลการเดินรถได้มีความเจริญขึ้นแล้ว ที่ดินซึ่งใช้สำหรับทำการต่างๆ จึงกลายเป็นคับแคบเข้ามาก ที่ดินตามลำคลองไม่พอใช้สำหรับการรับส่งสินค้า ข้าวเปลือกแลไม้ ในระหว่างที่มีข้าวเปลือกแลไม้ส่งมาโดยทางรถไฟมาก ที่โรงงานก็คับแคบและไม่สะดวกในการที่จะซ่อมแซมเครื่องล้อเลื่อนซึ่งมีเพิ่มเติมมากขึ้นเสมอ ให้แล้วไปโดยเร็วที่สุดตามความประสงค์ได้ แม้จะขยายโรงงานให้ใหญ่โตออกไปก็ทำไปได้แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเหตุที่ดินเป็นเขตร์จำกัด กับในคราวเดียวกันนั้น ทางรถไฟก็ได้ทำขยายต่อเรื่อยออกไปเสมอด้วย เพราะฉะนั้นจึงได้เป็นการตกลงงดที่จะทำการรวมปนอยู่ด้วยกันต่อไป และคิดจัดสร้างสนามสถานีขึ้นใหม่ ให้ใหญ่โตพอกับความต้องการต่างๆของความเจริญแห่งการเดินรถ แลในการที่จะทำทางรถไฟต่อออกไปอีกอย่างน้อยที่สุดในชั่วอายุหนึ่ง
โรงงานนั้นได้จัดสร้างในที่ดิน ซึ่งอยู่ถัดสถานีแรกแห่งทางสายแปดริ้ว ที่ตำบลมักกะสัน เพราะฉะนั้นจึงได้ใช้ที่ดินของโรงงานเก่า สำหรับประโยชน์การเดินรถอย่างเดียว ในการที่จะแก้ไขความยัดเยียดแห่งการเดินรถสินค้าให้เบาบางลง กรมได้ดำริห์สร้างสถานีสินค้าใหม่ขึ้นที่ฝั่งลำน้ำเจ้าพระยาที่ใกล้คลองเตย มีเนื้อที่กว้างตามลำแม่น้ำหนึ่งกโลเม็ตร์เศษ เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะขนถ่ายสินค้าได้โดยตรง ในระหว่างเรือเดินทะเลกับรถไฟ ส่วนสถานีกรุงเทพนั้น จัดเอาไว้สำหรับการเดินขบวนรถโดยสานแลสินค้าด้วย ตามที่เปนความสดวกอยู่แล้ว
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2449 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ซื้อที่ดินสร้างสนามสถานีสินค้าที่ลำแม่น้ำ แลเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2450 ให้ซื้อที่ดินซึ่งต้องการสร้างโรงงานใหม่ที่ตำบลมักกะสัน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2452 ได้เปิดสถานีแม่น้ำให้มหาชนใช้ แลในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2453 ได้ย้ายการโรงงานจากสถานีกรุงเทพไปยังตำบลมักกะสัน ตั้งแต่นั้นมาได้ลงมือเปลี่ยนแปลงสนามสถานีกรุงเทพ เป็นแบบใหม่โดยไม่รีบร้อนเพื่อประสงค์จะให้มีความติดขัดต่อการเดินรถประจำวันแต่เพียงเล็กน้อยที่สุด ส่วนทางรถเก่าๆต้องเลิกไม่ใช้หรือเลื่อนเปลี่ยนแปลงใหม่(3.5 กิโลเม็ตร์) ต้องวางรางใหม่ (7.3 กิโลเม็ตร์ รางกุญแจ 62)
ได้สร้างออฟฟิศสินค้าใหม่แทนของเก่า สร้างชานชะลาสำหรับทำการบรรทุก สร้างโรงเก็บรถจักร์ขึ้นอีกหลังหนึ่งเปนหลังที่สอง ทำการสำหรับส่งน้ำไปใช้มากขึ้นอีก แลเพื่อจะรักษาความสะอาดให้เจริญขึ้นในเรือนพนักงานรถไฟต่างๆ กรมรถไฟได้ขุดบ่อน้ำด้วยเครื่องจักร 2 บ่อ ถังน้ำแห่งหนึ่งจุน้ำ 200 เม็ตร์ลูกบาตร์ สูงจากพื้นดิน 27 เม็ตร์นั้น ได้ส่งน้ำไปใช้ทั่วในบริเวณรถไฟ ฝ่ายสถานีคนโดยสานนั้น กรมได้จัดสร้างขึ้นที่ตำบลหัวลำโพง โดยเห็นว่าเปนประโยชน์เหมาะที่สุด เพราะเปนที่ไปมาติดต่อกับถนนหลวง แต่ส่วนสถานีเก่านั้นก่อนที่จะไปถึงต้องเลี้ยวตัดมุมถนน ซึ่งเปนที่น่ากลัวอันตรายแลต้องข้ามสพานคลองขุดใหม่อันเป็นที่ชันมาก ด้านหนึ่งมีทางรถรางใช้แรงไฟฟ้า แลอีกด้านหนึ่งก็มีทางรถไฟแห่งสนามออฟฟิศสินค้าหลายทาง แลการสับเปลี่ยนรถที่อยู่ในทางรถไฟเหล่านี้ ทำให้เปนการติดขัดแก่ผู้ที่ไปมาอยู่เนืองๆ กับอีกประการหนึ่งโรงหลังยาวแลโรงสถานีเก่านั้น ทำด้วยไม้เปนของที่ใช้เพียงชั่วคราว แต่โรงสถานีใหม่ได้ทำด้วยเหล็กเปนสิ่งที่มั่นคงยาว 15 เม็ตร์ มีกำหนดกว้า 44 เม็ตร์ ราคา 170,517 บาท ด้านน่ามีเครื่องประดับก่อด้วยอิฐแลปูนเปนที่น่าชม แลที่ปีกสองข้างนั้นใช้สำหรับเปนออฟฟิศ ห้องพักคนดดยสาน ห้องขายเครื่องว่างแลสิ่งจำเปนอื่นๆ(ราคา 276,544 บาท)
เพื่อเปนการป้องกันเหตุอันตรายที่จะมีแก่กระบวนรถต่างๆที่เข้าออกไปมายังสถานี กรมรถไฟจึงได้สร้างทางหลีกขึ้นเปนจำนวนมาก เปนระยะทางกว่า 1 กิโลเม็ตร์ สร้างถนนดินข้ามทางรถไฟแลเครื่องหลีกรถโดยมีวิธีใช้ด้วยเครื่องกลสำหรับกลับกุญแจทางรถให้เปนที่แน่นอน พ้นอันตรายในการบอกอาณัติสัญญาณแก่กระบวนรถทุกๆคันด้วย โดยเหตุนี้จึงได้สร้างหอเครื่องหลีกรถขึ้นสองแห่งสำหรับทำการบังคับเสา เครื่องหมายอาณัติสัญญาณ 8 แห่ง แลกุญแจรางหลีก 27 แห่ง
เพื่อความสะดวกแห่งราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอันเกี่ยวแก่กรมรถไฟ กรมได้สร้างตึกพิเศษขึ้นหลังหนึ่งเปนเงิน 26,425 บาท
และได้สร้างน้ำพุขึ้นที่น่าสถานีใหม่หนึ่งแห่ง ด้วยทุนทรัพย์ของข้าราชการในกรมรถไฟสายเหนือและสายใต้(ซึ่งในเวลานี้รวมเรียกว่ากรมรถไฟหลวง) ได้พร้อมใจกันออกเปนจำนวนเงิน 9,150 บาท สำหรับให้มหาชนได้อาไศรยใช้รับประทาน เพื่อเปนอนุสาวรีในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ค่าทำการเปลี่ยนแปลงให้เปนแบบใหม่ขึ้นนี้ รวมทั้งสิ้นเปนเงิน 2,906,620 บาท ซึ่งได้ใช้ในการย้ายโรงงานไปไว้ที่มักกะสันเสีย 1,230,737 บาท ใช้สร้างสถานีแม่น้ำ 614,150 บาท แลเงินคงเหลืออีก 1,061,733 บาท นั้นได้ใช้สำหรับสนามสถานีกรุงเทพอย่างเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 31, 32, 33  Next
Page 10 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©