RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180190
ทั้งหมด:13491424
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2021 9:22 am    Post subject: Reply with quote

VTR ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
Premiered Mar 17, 2021
แล้วแต่ เจี๊ยบ

# งานประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครังที่ 1) ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์


https://www.youtube.com/watch?v=kzqAtZwNmiw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2021 10:54 am    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
19 มี.ค. 64 ·
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมปฐมนิเทศโครงการฯ (สัมมนา ครั้งที่ 1)

Arrow https://drive.google.com/drive/folders/156lhPPVypFlp-JBbPpP0lxygPBpiLxmQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2021 11:31 am    Post subject: Reply with quote

จากที่ดูข้อมูลใน PDF file พบว่า
ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี ย่านขนส่งสินค้า (CY) 3 แห่ง คือที่เจริญผล กำแพงเพชร และ หนองบัวใต้ ระยะทาง 186.77 กม. โดยเริ่มแยกจากทางสายเหนือที่สถานีปากน้ำโพ เพื่อลดค่าก่อสร้างลงไปบ้าง
ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 5 สถานี ย่านขนส่งสินค้า (CY) 1 แห่ง ที่ด่านแม่สอด ระยะทาง 68.15 กม. โดยไม่มีชุมทางที่บ้านหนองบัวใต้อีกแล้ว เพราะ เปลี่ยนตำแหน่งสถานีตากไปที่ สามแยกแม่สอด แทนที่จะตั้งสถานีตาก ใกล้ แขวงทางหลวงตากที่ 1 และ เป็นสถานีลอยฟ้าเสียด้วย

0A. นครสวรรค์ กม. 0+000.00 (กม. 245 + 780 จากสถานีกรุงเทพ) ที่ หนองปลิง - จะมีลานตู้คอนเทนเนอร์แต่อยู่ในเขตทหาร
0B. ปากน้ำโพ กม. 4 + 780 (กม. 250 + 560 จากสถานีกรุงเทพ)
1. สถานีบึงเสนาท กม.7+415.00 อ.เมือง จ.นครสวรรค์
2. บ้านมะเกลือ
3. มหาโพธิ์ - ข้าม ทางหลวง 117 (นครสวรรค์ - พิษณุโลก)
4. หัวดง (ควรตั้งชื่อว่า เก้าเลี้ยวเพราะใกล้อำเภอเก้าเลี้ยวเป็นที่สุด)
5. บ้านตาหงาย - ข้ามทางหลวง 1073
6. เจริญผล - มีลานคอนเทนเนอร์ (น่าจะตั้งเป็นสถานีบรรพตพิสัยเพราะใกล้ บรรพตพิสัยที่สุด)
7. ตาขีด - หมดเขตนครสวรรค์ เข้ากำแพงเพชร
8. ป่าพุทรา - น่าจะตั้งชื่อว่า ขานุวรลักษณบุรีเพราะใกล้ อำเภอ ขานุวรลักษณบุรี ที่สุด
9. ยางสูง
10. วังแขม
11. วังยาง - น่าจะตั้งชื่อว่าคลองขลุง เพราะ ใกล้คลองขลุงที่สุด
12. ท่ามะเขือ
13. วังบัว
14. คณฑี - ใกล้โรงงานอายิโนะโมโต๊ะประเทศไทย ประมาณ กม. 99.5 มีการแก้เส้นทางอ้อมหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรไปทางตะวันออก
15. เทพนคร ประมาณ กม. 108.5
16. กำแพงเพชร - สถานีประจำจังหวัด ใกล้ทางหลวง 115 ตรงแยก เลี่ยงเมือง มีย่านคอนเทนเนอร์
17. หนองปลิง - ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ MCOT Radio จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ
18. ท่าไม้เล็ก
19. ลานดอกไม้ - จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ
20. โกสัมพี - จุดลงรถไฟโกสัมพีนคร
21. วังหิน - ประมาณ กม. 161 จุดลงรถไฟอำเภอวังเจ้า บนทางหลวง 104 มีการแก้ไขทางให้ตรงขึ้นกว่าเดิมโดยไม่อ้อมเขา
22. ประดาง - น่าจะตั้งชื่อว่าสถานีท่าไม้แดง ใกล้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร วังหิร
จากนั้นข้ามแม่น้ำปิงตรงศูนย์เทคโนโลยีถ่ายทอดการเกษตรไปทางโรงเรียน บ้านคลองห้วยทราย
23. หนองบัวใต้ - ใกล้สวนสาธารณะหนองบัวใต้ มี ลานตู้คอนเทนเนอร์ เพราะ ย้ายสถานีตากมาแถวสามแยกแม่สอดแล้ว
24. ตาก - ได้ย้ายมาทางสามแยกแม่สอด เป็นสถานีลอยฟ้า แทนที่เก่าที่ใกล้วิทยาลัยเทคนิคตาก และ แขวงทางหลวงตากเลขที่ 1


ส่วน 2 ยาว 68.8 กิโลเมตร มี 5 สถานี จากตากไปสุดตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 2


25. หนองบัวใต้ 2 - น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น ค่ายตากสิน เพราะ ใกล้ค่ายตชด. 34 (ค่ายตากสิน)
26. ด่านแม่ละเมา
27. แม่ปะ ใกล้ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน
28 แม่สอด - ใกล้เทศบาลนครแม่สอด
29. สถานีด่านแม่สอด กม.256+819.00 ให้ย้านมาใกล้สะพานมิตรภาพไทยพม่า แห่งที่ 2 แทนที่เก่าที่ อยู่ระหว่าง สะพานมิตรภาพไทยพม่า แห่งที่ 1 และ สะพานมิตรภาพไทยพม่า แห่งที่ 2


Mongwin wrote:
VTR ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
Premiered Mar 17, 2021
แล้วแต่ เจี๊ยบ

# งานประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครังที่ 1) ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์

https://www.youtube.com/watch?v=kzqAtZwNmiw

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
19 มี.ค. 64 ·
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมปฐมนิเทศโครงการฯ (สัมมนา ครั้งที่ 1)

Arrow https://drive.google.com/drive/folders/156lhPPVypFlp-JBbPpP0lxygPBpiLxmQ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืน1.5หมื่นล้าน ปักหมุด30สถานี รถไฟทางคู่ "แม่สอด-นครสวรรค์"
หน้า อสังหาริมทรัพย์ /
เสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 เวลา 16:57 น.


การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เร่งรัด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ เชื่อมโยง ฝั่งตะวันออกและตกของไทย(อีสต์-เวสต์ คอริดอร์) ได้แก่
เส้นทาง แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ และ
นครสวรรค์-บ้านไผ่

ให้ครบทั้ง 3 เส้นทาง ภายหลัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ เส้นทาง รถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ที่จะประมูลในปีนี้ หากก่อสร้างครบทั้ง3เส้นทางจะช่วย เชื่อมการเดินทางในประเทศและ ขนส่งสินค้า การท่องเที่ยว ไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา สปป.ลาว เวียดนามและกัมพูชาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 254 กิโลเมตร ก่อสร้างเวนคืนเปิดหน้าดินใหม่ทั้งหมด แยกเป็นงบประมาณเวนคืน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1.3-1.5 หมื่นล้านบาท ค่าก่อสร้าง 8.1- 8.3 หมื่นล้านบาทความคืบหน้า คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟท.) อนุมัติให้จ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จ พฤศจิกายน 2565 และ อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) คาดว่าจะเสนอโครงการให้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติปลายปี 2565 เปิดประมูลปี 2566 ใช้เวลาก่อสร้าง 5-6 ปี แล้วเสร็จเปิดให้บริการอย่างเร็วปี 2571 อย่างช้า ปี2572 หากรถไฟเส้นนี้เปิดให้บริการจะช่วยสร้างความเจริญเข้าถึงพื้นที่ โดยเฉพาะรอบสถานีราว30แห่ง ขณะ รายละเอียดโครงการเบื้องต้น ออกแบบเป็นรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร (เท่ากับรถไฟในปัจจุบัน)ขนาดเขตทางกว้าง 50 เมตร โครงการแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก ระยะทาง 186.77 กิโลเมตร มีสถานี 24 สถานี
2. ตาก – แม่สอดระยะทาง 68.15 กิโลเมตร มีสถานี 4 สถานี

ทั้งนี้สำหรับระยะทางรวม 254.89 กิโลเมตร มีรูปแบบเส้นทางคือ
1. ทางวิ่งระดับดิน 193 กิโลเมตร
2. ทางวิ่งยกระดับ 31.5 กิโลเมตร
3. อุโมงค์ 29.7 กิโลเมตร

มีสถานีทั้งหมด 28 แห่ง มีลานกองเก็บคอนเทนเนอร์ (CY) 4 แห่งได้แก่ ได้แก่
1. สถานีเจริญผล ที่ควรเรียกว่าสถานีบรรพตพิสัย
2. สถานีกำแพงเพชร
3. สถานีหนองบัวใต้
4. สถานีด่านแม่สอด และศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ที่สถานีหนองบัวใต้


จุดประสงค์หลัก ช่วยขยายโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมพื้นที่มีศักยภาพ ในการขนส่งสินค้า เช่น นครสวรรค์, กำแพงเพชร และ ตาก ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม ใหญ่ของประเทศ เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเปิดประตูในการขนส่งสินค้า แก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะช่วงผ่านเขา ตาก-แม่สอด ซึ่งมีรถบรรทุกในการเดินทางไปชายแดนแม่สอดเป็นจำนวนมาก และมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

Click on the image for full size

แนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2ช่วง

ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี ระยะทาง 186.77 กม. มีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีนครสวรรค์ ใช้ทางร่วมกับทางรถไฟทางคู่ช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ แล้วแยกจากทางหลักที่สถานีปากน้ำโพ (ในอนาคตจะเป็นสถานีชุมทางปากน้ำโพ)แล้วแยกออกซ้าย ข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านอำเภอเมืองนครสวรรค์ ตัดเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ตะวันออกผ่านอำเภอเก้าเลี้ยว ผ่าน ทางหลวง 117 ผ่านอำเภอบรรพตพิสัย เข้าสถานีเจริญผล ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY)

จากนั้นเส้นทางรถไฟจะเข้าจังหวัดกำแพงเพชรเพชร ที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง แล้วเข้าสู่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัดผ่านทางหลวง 115 และเข้าสถานีกำแพงเพชร ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY) จากนั้นมุ่งหน้าสู่อำเภอพรานกระต่าย เข้าอำเภอโกสัมพีเข้าสู่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตัดกับทางหลวง 104 ข้ามแม่น้ำปิง เข้าสู่สถานีหนองบัวใต้ ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY) แล้วเลี้ยวซ้ายตัดกับทางหลวง 1 เข้าสถานีตาก โดยมีรายชื่อสถานีดั่งนี้

0A. นครสวรรค์ กม. 0+000.00 (กม. 245 + 780 จากสถานีกรุงเทพ) ที่ หนองปลิง - จะมีลานตู้คอนเทนเนอร์แต่อยู่ในเขตทหาร
0B. ปากน้ำโพ กม. 4 + 780 (กม. 250 + 560 จากสถานีกรุงเทพ)
1. สถานีบึงเสนาท กม.7+415.00 อ.เมือง จ.นครสวรรค์
2. บ้านมะเกลือ
3. มหาโพธิ์ - ข้าม ทางหลวง 117 (นครสวรรค์ - พิษณุโลก)
4. หัวดง (ควรตั้งชื่อว่า เก้าเลี้ยวเพราะใกล้อำเภอเก้าเลี้ยวเป็นที่สุด)
5. บ้านตาหงาย - ข้ามทางหลวง 1073
6. เจริญผล - มีลานคอนเทนเนอร์ (น่าจะตั้งเป็นสถานีบรรพตพิสัยเพราะใกล้ บรรพตพิสัยที่สุด)
7. ตาขีด - หมดเขตนครสวรรค์ เข้ากำแพงเพชร
8. ป่าพุทรา - น่าจะตั้งชื่อว่า ขานุวรลักษณบุรีเพราะใกล้ อำเภอ ขานุวรลักษณบุรี ที่สุด
9. ยางสูง
10. วังแขม
11. วังยาง - น่าจะตั้งชื่อว่าคลองขลุง เพราะ ใกล้คลองขลุงที่สุด
12. ท่ามะเขือ
13. วังบัว
14. คณฑี - ใกล้โรงงานอายิโนะโมโต๊ะประเทศไทย ประมาณ กม. 99.5 มีการแก้เส้นทางอ้อมหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรไปทางตะวันออก
15. เทพนคร ประมาณ กม. 108.5
16. กำแพงเพชร - สถานีประจำจังหวัด ใกล้ทางหลวง 115 ตรงแยก เลี่ยงเมือง มีย่านคอนเทนเนอร์
17. หนองปลิง - กม. 126 + 350 - ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ MCOT Radio จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ
18. ท่าไม้ - กม. 133 + 650
19. ลานดอกไม้ - จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ
20. โกสัมพี - จุดลงรถไฟโกสัมพีนคร
21. วังหิน - ประมาณ กม. 161 จุดลงรถไฟอำเภอวังเจ้า บนทางหลวง 104 มีการแก้ไขทางให้ตรงขึ้นกว่าเดิมโดยไม่อ้อมเขา
22. ประดาง - น่าจะตั้งชื่อว่าสถานีท่าไม้แดง ใกล้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร วังหิร
จากนั้นข้ามแม่น้ำปิงตรงศูนย์เทคโนโลยีถ่ายทอดการเกษตรไปทางโรงเรียน บ้านคลองห้วยทราย
23. หนองบัวใต้ กม. 180 + 300.00 - ใกล้สวนสาธารณะหนองบัวใต้ และ โรงเรียนบ้านคลองห้วยทราย มี ลานตู้คอนเทนเนอร์ เพราะ ย้ายสถานีตากมาแถวสามแยกแม่สอดแล้ว มีศูนย์ซ่อมบำรุงด้วย
24. ตาก - กม. 186 + 200.00 ได้ย้ายมาทางสามแยกแม่สอด ใกล้ สถานีพัฒนาที่ดินตาก เป็นสถานีลอยฟ้า แทนที่เก่าที่ใกล้วิทยาลัยเทคนิคตาก และ แขวงทางหลวงตากเลขที่ 1


ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 4 สถานี ยาว 68.147 กิโลเมตร จากตากไปสุดระหว่างตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 1 และ ตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 2

25. ด่านแม่ละเมา
26. แม่ปะ ใกล้ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน อยู่ใกล้ปลายซอยทางเข้าไร่เปี่ยมสุข (กม. 54.35 จากจังหวัดตาก )
27 แม่สอด - ใกล้เทศบาลนครแม่สอด และ แยกแม่ปะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าตาก (กม. 63.8 จากจังหวัดตาก )
28. สถานีด่านแม่สอด กม.256+800.00 (กม. 67.9 จากจังหวัดตาก ปลายรางที่ กม. 68.147 จากจังหวัดตาก) มี ย่านขนส่งสินค้า (CY ลานคอนเทนเนอร์) ให้ย้ายมาใกล้สะพานมิตรภาพไทยพม่า แห่งที่ 2 แทนที่เก่าที่ อยู่ระหว่าง สะพานมิตรภาพไทยพม่า แห่งที่ 1 และ สะพานมิตรภาพไทยพม่า แห่งที่ 2 แม้จะไกลจากริมแม่น้ำเมยที่เป็นเส้นเขตแดนไปหน่อยแต่ใกล้ถนน พอตัด Access road เข้าสถานีได้ไม่ยากก็พอทน

ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด ช่วงนี้จะผ่านเขา มีจำนวนสถานีน้อย ส่วนมากจะตัดผ่านป่า และเป็นอุโมงค์ลอดเขา ถึง 4 ช่วงเพื่อแก้ปัญหาความชัน และก่อสร้างในเขตอุทยานเริ่มต้นจากสถานีตาก เข้าอุโมงค์ดอยรวก ระยะทาง 15.52 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่สถานีด่านแม่ละเมา จากนั้นจะเข้าสู่อุโมงค์แม่ละเมา 1 ระยะทาง 1.42 กิโลเมตร และเข้าสู่อุโมงค์แม่ละเมา 2 ระยะทาง 0.775 กิโลเมตรเข้าสู่อุโมงค์ ดอยพะวอ ระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่พื้นที่ราบ อำเภอแม่สอด เข้าสถานีแม่ปะ แล้วเลี้ยวซ้ายตัดกับทางหลวง 130 (เลี่ยงเมืองแม่สอด ไปด่านแม่สอด 2) วิ่งเข้าสู่สถานีแม่สอด มุ่งหน้าสู่สถานีด่านแม่สอด ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY)

โดยเส้นทางจะออกแบบเป็นระบบปิดสมบูรณ์ ไม่มีจุดตัดทางรถไฟระดับดิน เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุในอนาคต และการเดินรถไฟ ได้อย่างคล่องตัวเนื่องจากทำจุดตัดทางรถไฟเป็นหลายๆรูปแบบคือ
1.สะพานข้ามทางรถไฟ (overpass)
2.ทางรถไฟยกระดับ
3. ทางลอดทางรถไฟและ
4. ถนนบริการ

โดยสรุปรถไฟทางคู่เส้นทางนี้จะเป็นทางเลือกในการเชื่อมเพื่อนบ้านและส่งเสริมความได้เปรียบเป็นประตูด้านตะวันตก ของประเทศไทยเราในอนาคตรวมถึงการแก้ปัญหาอุบัติเหตุในช่วง ตาก-แม่สอด ที่เป็นปัญหามาโดยตลอดด้วย


Last edited by Wisarut on 19/04/2021 12:14 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ชง"เมืองตาก"ศูนย์บริการขนส่งสินค้าชายแดนแม่สอด
ภูมิภาค
19 มีนาคม 2564

Click on the image for full size
Click on the image for full size
ตาก - รฟท.จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด - ตาก - กำแพงเพชร - นครสวรรค์ ในพื้นที่ จ.ตาก เอกชนชง ใช้อ.เมืองตากเป็นศูนย์บริการขนส่งสินค้าไปชายแดนแม่สอด



วันที่ 19 มีนาคม 2564 ที่ห้องเวียงปิง โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ อ.เมือง จ.ตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในพื้นที่ จ.ตาก โดยมีผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชนและประชาชนชาว จ.ตาก เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ณ จ.เชียงใหม่ ได้รับทราบผลการประชุมร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย , สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งได้มอบหมาย ให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย รับไปพิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดแผนการพัฒนา รถไฟทางคู่ และทางสายใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการลงทุนของภาครัฐ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 มีมติเห็นชอบแนวทางและข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสั่งการไปพิจารณาดำเนินการ



ด้าน รฟท.ให้เร่งดำเนินการเรื่องการเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณฯ เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ (Detailed Design) เพื่อให้แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมตะวันตก-ตะวันออก (East-West Corridor Upper) จากแม่สอด-นครพนม มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ ทางรฟท.จึงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณลงทุนประจำปี 2563 เพื่อดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นจำนวนเงิน 180 ล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่สำคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่อง และโครงการใหม่ที่มีความพร้อม



นายชวพันธ์ ชวเจริญพันธ์ อดีตประธานหอการค้า จ.ตาก กล่าวในที่ประชาชุมว่า อยากให้มีคอนเทรนเนอร์ยาร์ด ในพื้นที่กำหนดไว้เป็นสถานีที่ฝั่ง อ.เมืองตาก ในการขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ 120 ไร่ ซึ่งตากเป็นจังหวัดที่เชื่อมตะวันตก ตะวันออก( ตาก-มุกดาหาร) โดยใช้ทางทางแยกไปทางอ.แม่สอด เป็นพื้นที่ศูนย์บริการขนส่งสินค้าทั้งหมด ทั้งทางรางและทางบก จึงอยากให้ทางการรถไฟกำหนดตรงนี้ เป็นคอนเทรเนอร์ยาร์ด



สำหรับการศึกษาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟสามารถลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน



และนอกจากจะให้ความสำคัญกับการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ โครงการดังกล่าว มีแนวเส้นทางรถไฟแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี ระยะทาง 186.77 กิโลเมตร และช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มี 5 สถานี ระยะทาง 68.15 กิโลเมตร

สำหรับในพื้นที่จังหวัดตาก มี 8 สถานี ได้แก่ สถานีวังเจ้า (วังหิน) , สถานีปะดาง , สถานีหนองบัวใต้ , สถานีตาก , สถานีด่านแม่ละเมา , สถานีแม่ปะ , สถานีแม่สอด และสถานีด่านแม่สอด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2021 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ภูมิภาค
19 มีนาคม 2564
รฟท.ประชุมปฐมนิเทศโครงการ-จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟฟ้า
ภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์
19 มีนาคม 2564 18:29 น.
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในพื้นที่จังหวัดตาก

วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ที่ห้องเวียงปิง โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ อำเภอเมือง จังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในพื้นที่จังหวัดตาก โดยมีผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนชาวจังหวัดตาก เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทราบผลการประชุมร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) รับไปพิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดแผนการพัฒนารถไฟทางคู่และทางสายใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการลงทุนของภาครัฐ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 มีมติเห็นชอบแนวทาง และข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสั่งการไปพิจารณาดำเนินการ โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เร่งดำเนินการเรื่องการเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณฯ เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ (Detailed Design) เพื่อให้แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมตะวันตก-ตะวันออก (East-West Corridor Upper) จากแม่สอด-นครพนม มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ การรถไฟฯ จึงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณลงทุนประจำปี 2563 เพื่อดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นจำนวนเงิน 180 ล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่สำคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่อง และโครงการใหม่ที่มีความพร้อม

สำหรับการศึกษาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟสามารถลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน และนอกจากจะให้ความสำคัญกับการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ

โดยโครงการดังกล่าวมีแนวเส้นทางรถไฟแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี ระยะทาง 186.77 กิโลเมตร และช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มี 5 สถานี ระยะทาง 68.15 กิโลเมตร สำหรับในพื้นที่จังหวัดตาก มี 8 สถานี ได้แก่ สถานีวังเจ้า (วังหิน)/สถานีปะดาง/สถานีหนองบัวใต้/ สถานีตาก การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในพื้นที่จังหวัดตาก

วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ที่ห้องเวียงปิง โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ อำเภอเมือง จังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในพื้นที่จังหวัดตาก โดยมีผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนชาวจังหวัดตาก เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทราบผลการประชุมร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) รับไปพิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดแผนการพัฒนารถไฟทางคู่และทางสายใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการลงทุนของภาครัฐ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 มีมติเห็นชอบแนวทาง และข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสั่งการไปพิจารณาดำเนินการ โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เร่งดำเนินการเรื่องการเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณฯ เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ (Detailed Design) เพื่อให้แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมตะวันตก-ตะวันออก (East-West Corridor Upper) จากแม่สอด-นครพนม มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ การรถไฟฯ จึงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณลงทุนประจำปี 2563 เพื่อดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นจำนวนเงิน 180 ล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่สำคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่อง และโครงการใหม่ที่มีความพร้อม

สำหรับการศึกษาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟสามารถลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน และนอกจากจะให้ความสำคัญกับการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ


รายงานข่าวแจ้งว่าการพัฒนาการขนส่งในภูมิภาคอาเซียนเพื่อเชื่อมต่อไปยังหลายๆประเทศ รถไฟทางคู่ 2 จากนครสวรรค์-มาถึงชายแดนแม่สอด ผ่าน-ตาก และกำแพงเพชร เตรียมเปิดประมูลปี 2566 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย จะได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมตะวันออกและตะวันตกของไทยหรือ East West Economic -corridor เบื้องต้นรัฐบาลจะลงทุนเองทั้งหมด เนื่องจากเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศในการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่งจากภาคตะวันออกมายังภาคตะวันตก



รายงานข่าวแจ้งอีกว่าสำหรับเส้นทางแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตรมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือว่า 72% วงเงินลงทุน การรถไฟแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดก่อสร้างแล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือว่า eia คาดว่าจะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ภายในปี 2565 และเปิดประมูลในปี 2566 ถ้าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5-6 ปีและจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการประมาณปี 2571-2572


รถไฟทางคู่สายนี้มีความสำคัญมากเพราะจะวิ่งเชื่อมไปยังด่านแม่สอดด้วยซึ่งเป็นประตูการค้าชายแดนสำคัญของไทยเบื้องต้นจะสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับที่สูงที่สุดในไทย เพราะต้องตัดผ่านภูเขาสูงจากตากมาแม่สอด

โดยโครงการดังกล่าว มีแนวเส้นทางรถไฟแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี มีย่านขนส่งสินค้า 3 แห่ง ระยะทาง 186.77 กิโลเมตร และ
ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มี 5 สถานี มีย่านขนส่งสินค้า 1 แห่ง ระยะทาง 68.15 กิโลเมตร

มีส่วนที่เป็นโครงสร้างทางรถไฟและปรับพื้น 230 กิโลเมตรและโครงสร้างอุโมงค์อีกยาว 31 กิโลเมตรและโครงสร้างสะพานยาว 21 กิโลเมตร ภูมิประเทศของโครงการส่วนใหญ่จะมีพื้นที่เกษตรกรรมช่วงที่การเข้า ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสลับกับภูเขา

สำหรับในพื้นที่จังหวัดตาก มี 8 สถานี ได้แก่/สถานีวังเจ้า(วังหิน)/สถานีปะดาง/สถานีหนองบัวใต้/สถานีตาก/สถานีด่านแม่ละเมา/สถานีแม่ปะ/สถานีแม่สอด/และสถานีด่านแม่สอด/สถานีด่านแม่ละเมา/สถานีแม่ปะ/สถานีแม่สอด/และสถานีด่านแม่สอด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2860877424141511&id=100006578431611
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2021 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
VTR ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
Premiered Mar 17, 2021
แล้วแต่ เจี๊ยบ

# งานประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครังที่ 1) ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
https://www.youtube.com/watch?v=kzqAtZwNmiw


ดูนี่ก็ได้ครับ
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/163424435607930

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
20 มีนาคม 2564 13:30 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างทางรถไฟ สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด (กรกฎาคม 2558) จากการทบทวนผลการศึกษาเดิม พบว่า
แนวเส้นทางรถไฟสายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด เริ่มต้น ณ สถานีบึงเสนาท ตำแหน่ง กม. 7+415.00 และสิ้นสุดที่ สถานีด่านแม่สอด ตำแหน่ง กม. 256+80.000
มีระยะทางประมาณ 256.80 กม. แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มีสถานีทั้งหมด 24 สถานี CY 3 แห่งระยะทาง 188 กม.
และช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 5 สถานี CY 1 แห่ง ระยะทาง 68.8 กม. เป็นโครงสร้างอุโมงค์ 31.2 กม. โครงสร้างทางรถไฟระดับพื้น ระยะทาง 203.70 กม.
โครงสร้างสะพาน ระยะทาง 21.90 กม. ย่านขนส่งสินค้า

CY 4 แห่ง แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ช่วงที่ 1 มี 3 จุด ณ สถานีเจริญผล สถานีกำแพงเพชร และสถานีหนองบัวใต้ 1 ช่วงที่ 2 มี 1 จุด ณ สถานีด่านแม่สอด และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง
ซึ่งในการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียดในครั้งนี้ จะมีการทบทวนความเหมาะสมของสถานีต่าง ๆ ในสภาพปัจจุบัน ร่วมกับการลงพื้นที่เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ นำมากำหนดในด้านของตำแหน่ง จำนวนสถานี การใช้สถานี ขนาดสถานี การเชื่อมต่อต่าง ๆ เพื่อให้ออกแบบได้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดาวน์โหลดแผนที่ เพื่อความคมชัด
https://drive.google.com/drive/folders/1ZmrM8pvFIgLVwMz5CCOB2K59mgQ-eGxV

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
20 มีนาคม 2564 13:37 น.


ทางรถไฟ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ มีรูปแบบเบื้องต้นของเส้นทางรถไฟ เป็นระบบทางคู่ (Double Track) ขนาดรางกว้าง 1.00 เมตร (Meter Gauge) กำหนดเขตทางรถไฟกว้าง 50 เมตร ในการศึกษาและออกแบบ การเดินขบวนรถในอนาคตที่ประเมินไว้ในเบื้องต้น ความเร็วสูงสุดของขบวนรถสินค้าประมาณ 80-100 กม./ชม (ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 50-70 กม./ชม.) ความเร็วสูงสุดของขบวนรถโดยสารประมาณ 120 กม./ชม. (ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 100 กม./ชม.) ขึ้นกับชนิดของหัวรถจักร แคร่ และตู้ที่ใช้ ซึ่งข้อมูลทางเทคนิคของขบวนรถและการเดินรถที่เป็นตัวแปรสำคัญ คือ เวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการให้บริการ (Required Service Operation Time) อาทิเช่น เวลาที่รถวิ่งระหว่างช่วงสถานี เวลาจอดรถที่สถานีหรือป้ายหยุดรถ เวลาที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าขึ้นหรือลงจากแคร่บรรทุก เวลาที่จำเป็นสำหรับการจัดเตรียมขบวนรถและทำสับเปลี่ยนหัวรถจักร เป็นต้น รูปแบบความเร็วขบวนรถ (Speed Profile) ที่สอดคล้องกับลักษณะเส้นทาง ความถี่ในการให้บริการ (Headway) ที่เหมาะสม จำนวนผู้โดยสารหรือสินค้าในแต่ละช่วงของเส้นทาง (Passenger or Freight Line Load) นอกจากนั้นจะมีการพิจารณาประเด็นการพัฒนาการเดินรถในอนาคตที่จะใช้ระบบรถไฟฟ้า (Electrification) ซึ่งความเร็วเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ มาตรฐานความเร็วในการออกแบบอยู่ที่ความเร็วสูงสุดในการเดินรถไม่เกิน 160 กม./ชั่วโมง โดยมีรูปแบบมาตรฐานจะประกอบด้วย ทางรถไฟบนคันดิน ทางรถไฟบริเวณตัดเขา ทางรถไฟยกระดับ และอุโมงค์รถไฟ ซึ่งจะมีการออกแบบตลอดเส้นทางตามมาตรฐานสากล และรองรับการเกิดแผ่นดินไหว และภัยพิบัติต่าง ๆ

"การออกแบบของสถานี ี่ให้ความสำคัญกับการออกแบบร่วมสมัย เอื้อต่อคนทุกกลุ่ม เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น และแสดงอัตลักษณ์"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
20 มีนาคม 2564 14:04 น.

ขบวนรถโดยสารของ รฟท. สามารถแบ่งเป็นออกได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการให้บริการ ความเร็วขบวนรถ และการหยุด รับ-ส่ง ผู้โดยสาร ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้โดยสารได้เลือกใช้บริการ ขบวนรถโดยสารประเภทต่างๆ ในโครงการฯ จะวางแผนให้มีขบวนรถที่เดินรถเข้ามายังโครงการฯ รวมทั้งหมด 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1) ขบวนรถด่วน (Express): เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล และหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร บริเวณสถานีที่สำคัญๆ โดยมีการให้บริการเป็นรถนอนชั้น 2 ปรับอากาศ และรถนั่งชั้น 2 และ 3
2) ขบวนรถเร็ว (Rapid): เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล แต่หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารมากกว่าขบวนรถด่วน มีการให้บริการทั้งประเภทรถปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ โดยเป็นรถนั่งชั้น 2 และ 3
3) ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter): เป็นขบวนรถที่จัดเดินรถเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในท้องที่เป็นหลัก หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ เป็นขบวนรถนั่งชั้น 2 และ 3
เพื่อให้ความจุของเส้นทางและความเร็วเฉลี่ยสูงขึ้นเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าที่คาดการณ์ จะจัดลำดับความสำคัญของขบวนรถ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถสินค้า เพื่อการจอดรอหลีก และการแซงบริเวณย่านสถานี และจะกำหนดสถานีการหยุดและจอดรถเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารและสินค้าของขบวนรถประเภทต่างๆ โดยอาจให้ขบวนรถไฟทางไกลหยุดเฉพาะบางสถานี ขบวนรถโดยสารท้องถิ่นและขบวนรถโดยสารธรรมดาหยุดทุกสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 11:35 am    Post subject: Reply with quote

เร่งเชื่อมเพื่อนบ้าน ถนนอุดร-บึงกาฬ ทางรถไฟแม่สอด
หน้าธุรกิจ / ภูมิภาค
ออนไลน์เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:55 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,663
วันที่ 21 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2564

เร่งเชื่อมเพื่อนบ้าน ถนนอุดร-บึงกาฬ ทางรถไฟแม่สอด
หลังโควิดซารัฐเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์เชื่อมเพื่อนบ้าน เลือกแนว 4 เลนใหม่ตัดตรงอุดรธานีสู่บึงกาฬ รับสะพานข้ามโขง 5 การรถไฟฯนิเทศทางคู่สายใหม่ “แม่สอด-นครสวรรค์” 9.6 หมื่นล้าน


ส่วนที่จังหวัดตาก การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จัดประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการ (ครั้งที่ 1) งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ.) เพื่อเตรียมการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสาย แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564 มีนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตากจะเป็นประธานเปิดการสัมมนา และผู้แทน รฟท.แนะนำและให้ข้อมูลโครงการทั้งนี้ เมื่อปี 2563 คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เห็นชอบจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียด (Detail Design) โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 256 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 96,000 ล้านบาท และได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา วงเงิน 168 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 360 วัน ศึกษาแนวเส้นทาง เขตเวนคืน จัดทำรายละเอียดโครงการ และการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) หากเส้นทางรถไฟสายนี้ได้ก่อสร้าง จะเป็นเส้นทางรถไฟสายแรก ที่เชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศ (แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก East-West Economic Corridor: EWEC)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2021 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

ประชุมกลุ่มย่อย รถไฟทางคู่สายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด ในพื้นที่ 3 จังหวัด นครสวรรค์, กำแพงเพชร และ ตาก วันที่ 30 มีนาคม - 8 เมษายน 64
วันที่ 1 เมษายน 2564 เวลา 18:12 น.


วันนี้เอาข่าว ความคืบหน้าในการออกแบบ โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด มาฝากเพื่อนๆ ในพื้นที่โครงการเพื่อเข้าฟังรายละเอียดโครงการ ในแต่ละพื้นที่เพื่อให้ชาวบ้านซึ่งจะได้ผลกระทบจากโครงการ ได้รับรายละเอียด และแสดงความคิดเห็นกับโครงการได้โดยตรง

โครงการนี้มีจุดประสงค์หลักๆ 2 ประเด็นคือ
1. ขยายโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมพื้นที่มีศักยภาพ ในการขนส่งสินค้า เช่น นครสวรรค์, กำแพงเพชร และ ตาก ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม ใหญ่ของประเทศ
2. เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเปิดประตูในการขนส่งสินค้า
3. แก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะช่วงผ่านเขา ตาก-แม่สอด ซึ่งมีรถบรรทุกในการเดินทางไปชายแดนแม่สอดเป็นจำนวนมาก และมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
ดังนั้น ในเบื้องต้นโครงการเลยเลือกเส้นทาง เชื่อม จาก นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - แม่สอด
—————————
ซึ่งได้เริ่มประชุมไปแล้วบ้างในวันที่ 30-31 มีนาคมที่ผ่านมา (ขอโทษด้วยที่ลงช้านะครับ) แต่ยังเหลือช่วงวันที่ 7-8 มีนาคม ที่จะถึงอีกหลายพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด คือ
*** วันที่ 7 เมษายน 2564
- จังหวัดตาก
08.30-11.30 น. ณ โรงเรียนผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเมืองแม่ปะ หมู่ที่ 2 (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลแม่ปะ ตำบลท่าสายลวด และตำบลพระวอ)
13.30-16.00 น. ณ อบต. ด่านแม่ละเมา (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลด่านแม่ละเมา
- จังหวัดนครสวรรค์
08.30-11.30 น. ณ อบต. หนองปลิง (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลหนองปลิง ตำบลกลางแดด และตำบลนครสวรรค์ออก)
08.30-11.30 น. ณ วัดคลองคลาง (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลเกรียงไกร และตำบลบึงเสนาท)
13.30-16.00 น. ณ อบต.แควใหญ่ (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลแควใหญ่ และตำบลปากน้ำโพ)
13.30-16.00 น. ณ อบต. เจริญผล (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลเจริญผล ตำบลบางตาหงาย ตำบลบางตาขีด ตำบลหัวดง และตำบลตาสัง)
*** วันที่ 8 เมษายน 2564
- จังหวัดกำแพงเพชร
8.30-11.30 น. ณ อบต. ท่ามะเขือ (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลท่ามะเขือ และตำบลวังยาง)
8.30-11.30 น. ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 11 บ้านเนินบ่อ (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลวังแขม)
13.30-16.00 น. ณ อบต. ยางสูง (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลยางสูง)
13.30-16.00 น. ณ อบต. ป่าพุทรา (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลป่าพุทรา)
- จังหวัดนครสวรรค์
08.30-11.30 น. ณ อบต. บ้านมะเกลือ (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลบ้านมะเกลือ และตำบลบ้านพระหลวง)
13.30-16.00 น. ณ อบต. หนองเต่า (พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย-ตำบลหนองเต่า ตำบลเก้าเลี้ยว)

https://www.youtube.com/watch?v=kzqAtZwNmiw
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/04/2021 10:29 am    Post subject: Reply with quote

เปิดผลศึกษาทางคู่'นครสวรรค์-บ้านไผ่'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

สร้าง304กม.4หมื่นล้านชานฯสูง110ซม. ว้าวรถไฟลอยฟ้า&อุโมงค์ยาวที่สุดในไทย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้ รฟท. ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงนครสวรรค์-กุดน้ำใส-ชัยภูมิ-บ้านไผ่ ระยะทาง 304 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4.18 หมื่นล้านบาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาอนุมัติให้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้เร็ว ๆ นี้และคาดว่าจะเริ่มออกแบบฯ ปี 65 ประกวดราคา (ประมูล) ปี 67 ก่อสร้างปี 68 และเปิดบริการปี 72 จะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่จะทำให้โครงข่ายของรถไฟทางคู่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor) จากแม่สอด-นครพนม สมบูรณ์มากขึ้นและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การขนส่งสินค้า และการสัญจรเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา สะดวกมากขึ้นด้วย

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า โครงการดังกล่าวจะผ่านพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ จ.นครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นโครงการที่สถานีนครสวรรค์ กม.0+000, จ.เพชรบูรณ์, จ.ลพบุรี, จ.ชัยภูมิ และ จ.ขอนแก่น เป็นจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีบ้านไผ่ กม.304+318 มีสถานี/ที่หยุดรถไฟ 15 แห่งได้แก่ สถานีนครสวรรค์, สถานีท่าตะโก, สถานีไพศาลี, สถานีบ้านพุเตย, ที่หยุดรถบ้านวังไผ่, สถานีศรีเทพ, สถานีบ้านคลองสระแก้ว, ชุมทางสถานีกุดน้ำใส, สถานีบ้านเขว้า, สถานีชัยภูมิ, สถานีบ้านผือ, สถานีบ้านห้วยบง, ที่หยุดรถยางหวาย, สถานีแวงใหญ่ และสถานีบ้านไผ่ โดยเป็นสถานีระดับดิน ความสูงชานชาลา 110 เซนติเมตร (ซม.) การออกแบบสถานีเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีความสวยงามใช้เอกลักษณ์ท้องถิ่นสร้างคุณค่าให้กับอาคารสถานี และที่ตั้งของสถานีเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเดินทาง

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า การออกแบบทางรถไฟ ระยะทาง 304 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับดิน 239 กม., ทางยกระดับ 29 กม., สะพานรถไฟ 1 กม. และอุโมงค์รถไฟ 11 กม. ซึ่งโครงการนี้มีจุดไฮไลต์อยู่ที่หากได้ก่อสร้างจริงจะเป็นโครงการที่มีทางยกระดับ และอุโมงค์ยาวที่สุดในประเทศไทยทุบสถิติโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ที่มีอุโมงค์ยาว 6 กม.และโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ ที่มีทางยกระดับยาว 23 กม.ซึ่งกำลังก่อสร้าง สำหรับวงเงินลงทุนเบื้องต้นอยู่ที่ 4.18 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา 3.56 หมื่นล้านบาท, ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3,531 ล้านบาท และค่าบริการทางวิศวกรรม 2,660 ล้านบาท โดยรัฐจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ รฟท. ลงทุนการเดินรถและค่าบำรุงรักษา และเป็นผู้จัดเก็บรายได้ทั้งหมด

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งด้วยว่า ผลการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารโครงการนี้ในปี 72 ซึ่งเป็นปีแรกของการเปิดบริการ จะมีผู้โดยสารประมาณ 1.91 ล้านคนต่อปี ปี 77 มี 2.14 ล้านคน, ปี 82 มี 2.35 ล้านคน, ปี 87 มี 2.57 ล้านคน, ปี 92 ผู้โดยสาร 2.79 ล้านคน, ปี 97 ผู้โดยสาร 3 ล้านคนและปี 2602 ผู้โดยสาร 3.22 ล้านคน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 25, 26, 27  Next
Page 20 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©