RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180144
ทั้งหมด:13491378
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 50, 51, 52 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

เดือดรายวัน “ศักดิ์สยาม” ยังไม่เห็นหนังสือ BTS ร้องตรวจสอบสายสีส้ม
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 21:50 น.


“ศักดิ์สยาม”ยังไม่เห็นหนังสือ BTSC ร้องตรวจสอบ”รถไฟฟ้าสายสีส้ม”ชี้ต้องดูอำนาจทางกฎหมายด้วย รฟม.ร่ายยาวแจงข้อเท็จจริงยกเลิกประมูล เดินหน้าประมูลใหม่ ถูกต้องตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงชี้แจงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(บางขุนนนท์-มีนบุรี)(มื่อวันที่ 10 มี.ค.2564 ของ บมจ.ระบบขนส่งมวลกรุงเทพ(BTSC ) ได้แสดงหนังสือสำเนาถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการในโครงการถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยมีการลงรายละเอียดการรับเอกสารของกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 เวลา 16.20 น.

นอกจากนี้ยังเตรียมยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีทุเลาและการคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลมีคำสั่งวันที่ 19 ต.ค.2563 จากกรณีที่BTSC ยื่นฟ้องการเปลี่ยนแปลงวิธีประเมินเกณฑ์พิจารณาผลประกวดราคาใหม่ และยังพิจารณาจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองถึงการล้มประมูลและเปิดรับฟังความคิดเห็นเกณฑ์พิจารณาเทคนิคร่วมราคาในสัดส่วน 30:70



ศักดิ์สยามยังไม่เห็นหนังสือ BTS
ต่อมาวันที่ 11 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ยังไม่เห็นหนังสือที่BTSC ทำมาถึงกรณีการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถ้าเห็นก็จะได้ตอบไป

ส่วนการขอให้ลงมาตรวจสอบการดำเนินโครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่วประเทศไทย (รฟม.) ก่อนหน้านี้คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 ได้รายงานถึงการยกเลิกการประมูลแล้ว ซึ่งได้กำชับให้คณะกรรมการคัดเลือกทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาล

ตอนนี้จึงต้องให้คณะกรรมการคัดเลือกเป็นผู้ดำเนินการก่อน ส่วนตนจะมีอำนาจต่อเมื่อมีการรายงานผลการประกวดราคา ซึ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะต้องรายงานผลให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หากผลการประกวดราคาไม่ชอบ ถึงค่อยใช้อำนาจในการดำเนินการตรงนี้

“วันนี้คุณต้องมาดูว่าอำนาจหน้าที่ของผมมีอะไรบ้าง ท่านอาจจะไม่เข้าใจระเบียบหรือเปล่า ท่านอาจจะเข้าใจของท่าน แล้วจะเอาแบบนี้ๆ หากเราทำให้ปุ๊บ เราก็โดน ยืนยันว่าผมไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าหนังสือทำมาถึงผม ผมก็จะส่งต่อให้รฟม.พิจารณา” นายศักดิ์สยามระบุ

รฟม.ร่ายยาวชี้แจงข้อเท็จจริง
ในวันเดียวกันรฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ที่มีเจตนารมย์ในการประกาศใช้เพื่อให้มีแนวทางการปฏิบัติที่แน่นอนไม่ให้อำนาจการพิจารณาเป็นของบุคคลเดียวหรือหน่วยงานเดียว ดังนี้

1.การออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) ปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอ

รฟม. ได้มีประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2563 ต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมครั้งที่ 13/2563 เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 ได้มีมติเห็นชอบข้อชี้แจงต่อข้อสอบถามของ ผู้ซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP Clarification) และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum)

รวมถึงเห็นชอบการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอจากรูปแบบเดิมที่พิจารณาซองเทคนิค และซองการลงทุนและผลตอบแทน แยกจากกัน ให้พิจารณาซองการลงทุนและผลตอบแทนเฉพาะผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ผ่านการประเมินซองเทคนิคเท่านั้น เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา พร้อมเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอของเอกชนออกไป 45 วัน ซึ่งการปรับปรุงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เป็นการปรับปรุงเฉพาะวิธีการประเมินข้อเสนอเท่านั้น

ไม่ได้กีดกันการแข่งขัน
การปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะเอกชนทุกรายต้องแข่งขันบนเกณฑ์การประเมินเดียวกัน และไม่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนรายใด เนื่องจาก รฟม. ได้แจ้งให้ผู้ซื้อเอกสาร RFP ทุกราย ทราบถึงการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอแล้ว

ซึ่งไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเอกชนผู้ที่ยื่นข้อเสนอแต่อย่างใด โดยยังกำหนดไว้เช่นเดิมว่า หากเอกชนรายใดไม่มีผลงานขุดเจาะอุโมงค์ ก็สามารถใช้ผลงานของบัญชีผู้รับจ้าง (Contractor List) ได้ รวมถึงยังได้มีการขยายระยะเวลาจัดทำข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน นับเป็นระยะเวลาในการจัดทำข้อเสนอการร่วมลงทุนของเอกชนประมาณ 70 วัน เพื่อให้ผู้ซื้อเอกสาร RFP ทุกรายมีเวลาในการจัดเตรียมข้อเสนอมากขึ้นด้วย

การออก RFP Addendum ปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอของคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ในครั้งนั้น เป็นไปตามหน้าที่และอำนาจในมาตรา 35 และมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ และเป็นไปตามเอกสาร RFP เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 17.1 ซึ่งได้ระบุว่า “ก่อนถึงกำหนดวันยื่นซองเอกสารข้อเสนอ รฟม. อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน (ที่ระบุในข้อ 15.)”

ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (9) โดยการออกเอกสารแนบท้ายเพิ่มเติม มีเหตุผลในการปรับเปลี่ยน

เนื่องจาก จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่เอกชนผู้ร่วมลงทุนต้องดำเนินการด้วยเทคนิคก่อสร้างที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด เพื่อความสำเร็จของโครงการและประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐและประชาชนผู้ใช้บริการ สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (8)

ยกเลิกประมูลทางออกดีสุด
2.การยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ โดยประเมินกรอบระยะเวลาดำเนินการ ผลกระทบ รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย อย่างรอบด้านแล้ว


มีความเห็นโดยสรุปว่า จนถึงปัจจุบันระยะเวลาได้ล่วงเลยมามากแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าและข้อสรุปทางคดี ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานออกไป ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาดำเนินการคัดเลือกเอกชนฯ จนแล้วเสร็จที่ชัดเจนได้

ประกอบกับซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย มีอายุ 270 วัน นับจากวันยื่นซองข้อเสนอ หากยังคงรอข้อสรุปทางด้านคดีก่อนแล้วจึงดำเนินการคัดเลือกต่อไป อาจส่งผลให้ซองเอกสารข้อเสนอของเอกชน 2 ราย ดังกล่าว สิ้นอายุลงก่อนที่กระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ จะแล้วเสร็จ ซึ่งอาจนำไปสู่การยกเลิกการคัดเลือกและเริ่มการคัดเลือกเอกชนฯ ใหม่ ในภายหลัง จึงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ล้วนส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ

ประมูลใหม่ได้เอกชน 6-8 เดือน
ขณะที่กรณียกเลิกการคัดเลือกและเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ ใหม่ จะสามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6 – 8 เดือน กรอบระยะเวลาดำเนินการมีความชัดเจน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อความสำเร็จของโครงการและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด

ดังนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าว โดยมอบให้ รฟม. พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งเป็นไปตามหน้าที่และอำนาจในมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ

ประกอบกับข้อสงวนสิทธิ์ในประกาศเชิญชวนฯ ข้อ 12.1 และเอกสาร RFP ข้อ 35.1 และสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (9) จึงเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว

รับฟังความคิดเห็นทำตามกม.
3.การเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน เพื่อเตรียมการสำหรับการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่
สืบเนื่องจากการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ข้างต้น รฟม. จึงได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนขึ้นใหม่อีกครั้ง ตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ส่วนที่ 2 (การคัดเลือกเอกชน)

โดยเริ่มตั้งแต่มาตรา 35 ซึ่งระบุให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร RFP และร่างสัญญาร่วมลงทุน เสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง (Opinion Hearing) และนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำเอกสาร

Powered by Streamlyn
ทั้งนี้ วิธีการและขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนดังกล่าว รฟม. ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน พ.ศ. 2563 โดยเนื้อหาที่เปิดรับฟังหลักๆ ประกอบด้วย สาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน สาระสำคัญของร่างเอกสาร RFP และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน

รฟม. ได้ออกประกาศการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร RFP และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการ เมื่อ วันที่ 1 มี.ค.2564 โดยในส่วนของหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนนั้น รฟม. เห็นว่า จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่เอกชนผู้ร่วมลงทุนต้องดำเนินการด้วยเทคนิคก่อสร้างที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด

จึงกำหนดวิธีประเมินคะแนนด้านเทคนิคและคุณภาพควบคู่คะแนนด้านผลตอบแทนและการลงทุน (Price-Performance) ซึ่งสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร RFP และสาระสำคัญของร่างสัญญาฯ พ.ศ. 2563 โดยในข้อ 4(8) ที่ให้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกที่ให้ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการตัดสินเป็นคะแนนในทุกด้านทั้งด้านคุณภาพและด้านราคา

ปรับปรุงถ้อยคำให้สอดคล้องประกาศ PPP
นอกจากนี้ รฟม. ได้ปรับปรุงถ้อยคำในส่วนของข้อสงวนสิทธิ์ในเอกสารรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (9)

การรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเป็นเพียงการรวบรวมความเห็นของเอกชนเพื่อนำมาใช้ประกอบในการปรับปรุงร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร RFP และร่างสัญญาฯ ตามที่ รฟม. เห็นสมควรโดยคำนึงถึงความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ เท่านั้น เพื่อที่ รฟม. จะนำร่างประกาศเชิญชวนฯ ร่างเอกสาร RFP และร่างสัญญาฯ รวมถึงผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว เสนอคณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบตามหน้าที่และอำนาจในมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ต่อไป

ศาลจำหน่ายคดีแล้ว
สำหรับประเด็นที่มีข้อถกเถียงว่า รฟม. ได้กระทำการละเมิดคำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2563 หรือไม่นั้น คำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าวเป็นเพียงแต่สั่งให้ทุเลาหลักเกณฑ์ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น เมื่อ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ใช้อำนาจตามกฎหมายยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ แล้ว

รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองสูงสุดอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ เนื่องจาก เหตุแห่งการฟ้องคดี รวมถึงเหตุแห่งการพิจารณาเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไม่มีอยู่ต่อไป และคดีนี้มิได้เป็นคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ การพิจารณาคดีต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

ต่อมา รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดังรายละเอียดที่กล่าวไว้ในข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่ง ฉบับลงวันที่ 5 มี.ค.2564 จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากเหตุแห่งการฟ้องคดีตามคำขอดังกล่าวหมดสิ้นไป และศาลยังมีคำสั่งให้คำสั่งทุเลาคำบังคับของศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 สิ้นผลบังคับลงไปด้วย

ชี้ผู้ก่าวก่ายอำนาจหน่วยงานโครงการถือว่าผิด
อนึ่งการเปิดรับฟังรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร RFP และร่างสัญญาร่วมลงทุน เป็นหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานเจ้าของโครงการ

ในขณะที่การพิจารณาเห็นชอบ เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ดังนั้นการที่ผู้ใดจะกระทำการใดๆ ที่ก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเจ้าของโครงการและคณะกรรมการคัดเลือกฯ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด เป็นการกระทำที่เข้าข่ายต้องระวางโทษ ตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเบตเกณฑ์ประมูลสายสีส้ม จุดตัดเชือก “ราคา” และ “เทคนิค”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 มีนาคม 2564 - 10:16 น.


ยังคงอยู่ในความสนใจ สนามประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปีสร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม และรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย วงเงิน 128,128 ล้านบาท ที่สุดแล้วจะใช้เกณฑ์ชี้ขาดที่ “ราคา” หรือ “เทคนิคร่วมราคา”

ล่าสุด “รฟม.” กำลังรับฟังความคิดเห็นเอกชนหลังเปิดประมูลใหม่รอบสอง โดย รฟม.กำหนดรายละเอียดใช้เกณฑ์ประเมินใหม่ ผู้ผ่านการพิจารณาซองที่ 1 (คุณสมบัติ) จะได้รับการพิจารณาซองที่ 2 (เทคนิค) และซองที่ 3 (การลงทุนและผลตอบแทน) ประเมินเป็นคะแนน 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นด้านเทคนิค 30 คะแนน และด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน และนำคะแนน 2 ซอง มารวมกัน ผู้ให้ผลประโยชน์ที่ดีสุดจะได้รับการพิจารณา

ทำไม “รฟม.” ยังใช้เกณฑ์นี้ประมูล ทั้งที่ยังมีเสียงกังขา การเปลี่ยนเกณฑ์กลางคัน จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง และ รฟม.ตัดสินใจล้มประมูลตั้งต้นใหม่อีกครั้ง

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า สายสีส้มช่วงตะวันตกเป็นอุโมงค์ใต้ดิน งานยาก ผ่านพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ใช้เวลาสร้าง 6 ปี ต้องมีมาตรการความปลอดภัยสูงที่สุด รฟม.จึงคิดว่าเทคนิคมีผลต่อการตัดสิน น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อโครงการ จึงกำหนดวิธีประเมินเป็นด้านเทคนิคและคุณภาพควบคู่คะแนนผลตอบแทนด้านการลงทุน สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่องรายละเอียดร่างประกาศเชิญชวน ร่างทีโออาร์ และร่างสัญญาร่วมลงทุน ปี 2563 ในข้อ 4 (8) กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกที่ให้ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการตัดสินเป็นคะแนนในทุกด้านทั้งคุณภาพและราคา

“การพิจารณาคะแนนเทคนิคร่วมราคา 30 : 70 กำหนดเป็นตุ๊กตาตามความตั้งใจของ รฟม. รอฟังเอกชนเสนอความคิดเห็นกลับมาวันที่ 17-19 มี.ค. ไม่ว่าสัดส่วนคะแนนจะเป็นอย่างไร หรือจะให้ใช้ราคาอย่างเดียว เรารับฟังหมด เพื่อประมวลเป็นร่างประกาศเชิญชวน ร่างทีโออาร์ ร่างสัญญา เสนอกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เห็นชอบปลายเดือน มี.ค.นี้ จะเปิดขายซองเดือน เม.ย. และยื่นซอง มิ.ย.นี้ การกำหนดแบบนี้ เราคำนึงถึงความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ และสายสีส้มไม่ใช่โครงการแรก มีโรงจำกัดขยะของ กทม.ก็ใช้เกณฑ์คัดเลือกเหมือนกัน เทคนิค 90% ราคา 10%”

สำหรับวิธีประเมินผู้ชนะ นายภคพงศ์อธิบายว่า ดูการขอเงินสนับสนุนผลตอบแทนจะให้รัฐ และข้อเสนอเอกชนที่เป็นประโยชน์ดีที่สุดให้แก่ รฟม. นำการพิจารณาทั้งจากรายงานสรุป PPP โครงการ และมติคณะกรรมการ รฟม. วันที่ 7 ก.ย. 2561 มาชั่งน้ำหนักร่วมกัน ให้เกิดการแข่งขันมากราย ยุติธรรม จะรวมความน่าเชื่อถือ การเงินเป็นเพียงข้อเดียวที่อยู่ในประกาศ หลักเกณฑ์อื่น ๆ เจ้าของโครงการ คณะกรรมการคัดเลือกจะกำหนดหลักเกณฑ์ต่อไป

“การล้มประมูลไม่ใช่ไม่โปร่งใส เพราะยังไม่เปิดข้อเสนอ และการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ก่อนยื่นข้อเสนอ แถมขยายเวลา 45 วัน ให้มีเวลา 70 วัน ทำข้อเสนอ มากกว่าเดิมกำหนดไว้ 60 วัน ถามว่าไม่ยุติธรรมตรงไหน เปิดประมูลใหม่ล่าช้าแค่ 1 เดือน ถ้ารอคดีสิ้นสุดช้าเป็นปี การประมูลใหม่น่าจะทำให้ความเสียหายโครงการน้อยที่สุด เปิดใช้ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ได้ในปี 2567”


ฝั่ง “BTS-บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” เปิดแถลงข่าวครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ยื่นฟ้องต่อศาลถึงการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลสายสีส้ม โดย “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า จุดยืนบริษัทไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาโดยเปิดซองเทคนิคพิจารณาควบคู่ไปกับราคา หรือ price & performance ซึ่งไม่มีความจำเป็น และบริษัทจะแสดงความคิดเห็นนี้ในการเปิดประมูลใหม่ด้วย

“ควรใช้เกณฑ์ตัดสินที่ราคาตามเดิม เพราะโครงการที่ผ่านมาก็ใช้วิธีพิจารณาซองตามลำดับนี้ตลอด เปิดซองที่ 1 คุณสมบัติ ซองที่ 2 เทคนิค และตัดสินกันที่ซองที่ 3 การเงิน ซึ่ง รฟม.รับฟังความคิดเห็นมาแล้ว ซึ่งเกณฑ์เดิมกำหนดคะแนนเทคนิคไว้สูง แต่ละหัวข้อต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 80 คะแนน เมื่อรวมคะแนนทั้งหมดจะต้องไม่ต่ำกว่า 85% มั่นใจได้ว่าเอกชนทำสำเร็จ ถึงไปดูราคาและผลประโยชน์ให้รัฐ ใครที่ให้มากที่สุดควรจะเป็นผู้ชนะไป หากใช้เกณฑ์ใหม่ รัฐอาจจะเสียเงินเยอะกว่าใช้เกณฑ์ราคา”

โครงการเป็นลงทุน PPP เอกชนที่รับสัมปทานต้องรับผิดชอบเป็น 30 ปี จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเสนอของไม่ดี ไม่มีคุณภาพให้รัฐ เพราะการลงทุน PPP net cost เอกชนรับความเสี่ยงทั้งหมด มีตัวชี้วัด (KPI) ด้านต่าง ๆ ประเมินอยู่ หากทำไม่ดีไม่ผ่าน ก็ถูกปรับ และหากให้บริการไม่ดี ปัญหาก็ตกกับผู้ลงทุนเอง

“ถามว่าเรากลัวอะไรกับเกณฑ์ใหม่ ไม่ได้กลัวอะไร กลัวความไม่เป็นธรรม โครงการนี้มูลค่ากว่าแสนล้านบาท เดิมพันสูง จึงมีความเป็นห่วงเพราะหลักเกณฑ์ใหม่ก็ไม่ชัดเจนว่ามีวิธีให้คะแนนอย่างไร เปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจได้ การเปิดซอง 2 ซอง 3 พร้อมกันไม่ค่อยเห็นใครทำ ต้องเปิดซอง 2 ก่อน ผ่านเทคนิคแล้วเปิดราคา แต่แบบใหม่รู้เลยว่าใครเปิดราคาเท่าไหร่และให้คะแนนอย่างไรก็ได้ น่าเป็นห่วงด้านความยุติธรรม” นายสุรพงษ์กล่าวและว่า

การเข้าร่วมประมูลใหม่ รอดูเงื่อนไขทีโออาร์ก่อน ยังร่วมพันธมิตรเดิม บมจ.ซิโน-ไทยฯ

เป็นความเห็นต่างระหว่างรัฐ-เอกชนต่อเกณฑ์ประมูลสายสีส้ม ยังไม่มีใครรู้ว่าอย่างไหนเหมาะหรือดีที่สุด และสุดท้ายรัฐจะเลือกเอกชนรายใดเข้าเส้นชัย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2021 2:08 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลไม่พอ! ศาลทุจริตยังไม่รับฟ้อง “สายสีส้ม” สั่ง รฟม.ส่งข้อมูลเพิ่ม นัดใหม่ 5 พ.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 11:56 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 11:56 น.

ศาลอาญาทุจริตยังไม่มีคำสั่งรับคดี BTSC ฟ้อง รฟม.และ กก. มาตรา 36 ประมูลสีส้ม ชี้ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน สั่ง รฟม.ส่งเอกสารเพิ่มเติมใน 30 วัน นัดฟังคำสั่ง 5 พ.ค. ด้าน “สุรพงษ์” เผยสัปดาห์นี้จ่ออุทธรณ์ศาลปกครองคดีเปลี่ยนเกณฑ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (15 มี.ค.) ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลได้นัดฟังคำสั่ง คดีที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ยื่นฟ้องผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และพวก จำนวน 7 คน ที่เกี่ยวข้องกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในคดีหมายเลขดำที่ อท 30/64 ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

โดยศาลเห็นว่าเรื่องนี้เป็นคดีสำคัญ และจากที่ได้พิจารณาเอกสารข้อมูลที่บีทีเอสซียื่นฟ้องแล้ว โดยมีคำสั่งให้ รฟม.ส่งเอกสารเพิ่มเติมภายใน 30 วันนับจากนี้ ได้แก่ เอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) ในการประมูลครั้งแรก รายงานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือก มาตรา 36 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เอกสารยกเลิกประกาศประกวดราคา และเอกสารความเห็นของผู้แทนสำนักงบประมาณ และเอกสารข้อมูลอื่นๆ ที่ รฟม.เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา

ทั้งนี้ ศาลได้นัดทั้งสองฝ่ายฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 5 พ.ค. 2564

พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (BTS) กล่าวว่า วันนี้ศาลยังไม่มีคำสั่งรับคำฟ้องหรือไม่ โดยมีการตรวจคำฟ้องของบีทีเอสซีต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 7 คน ว่าครอบคลุม ครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ โดยเบื้องต้นศาลระบุว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางที่จะพิพากษาได้

ศาลมองว่าเรื่องนี้เป็นคดีสำคัญ มีทุนทรัพย์มีมูลค่าสูง ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และเนื่องจากข้อมูลเอกสารอาจจะไม่เพียงพอครบถ้วน ศาลจึงสั่งให้ รฟม.จัดทำเอกสารส่งเพิ่มเติมภายใน 30 วัน ได้แก่ 1. การดำเนินการคัดเลือกเอกชนครั้งแรกที่มีการยกเลิก 2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร 3. คำสั่งที่ยกเลิกประกาศเชิญชวน 4. รายงานการประชุมที่มีเปลี่ยนแปลง รวมถึงรายงานการประชุมที่เกี่ยวกับการยกเลิกต่างๆ และหนังสือยืนยันความเห็นคัดค้านของ นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ผู้แทนสำนักงบประมาณ

“บริษัทเป็นเอกชน จึงไม่มีเอกสารเป็นเอกสารปรากฏในสื่อ โดยศาลจะขอเอกสารตัวจริงจาก รฟม. ในส่วนของบริษัทฯ จะพิจารณาเพื่อนำเสนอความเห็นเพิ่มเติมในเวลา 30 วัน เช่นกัน เราคาดหวังว่าเมื่อรฟม.มีการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม ในวันที่ 5 พ.ค.ศาลจะมีคำสั่งรับฟ้องและเริ่มการไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณาคดีว่ามีมูลหรือไม่ต่อไป” พ.ต.อ.สุชาติกล่าว

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางให้ รฟม.ส่งข้อมูลเพิ่มเติม ภายในเวลา 30 วัน และนัดฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 5 พ.ค. 2564 ซึ่งก็ต้องรอฟังอีกครั้งว่าจะรับฟ้องหรือไม่

ส่วนคดีที่ BTSC ยื่นต่อศาลปกครองกลาง ฟ้อง รฟม.กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 เรื่อง การเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือกประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีบางข้อหาการฟ้องร้องนั้น ขณะนี้ทีมกฎหมายของบริษัทฯ อยู่ระหว่างพิจารณา ในการยื่นอุทธรณ์อย่างไร และยื่นอะไรบ้าง โดยจะมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้


“ศาลคดีทุจริต”สั่งรฟม.ส่งหนังสือแจงประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้า Politics
เผยแพร่: จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 16:48 น.

“ศาลคดีทุจริต”สั่งรฟม.ส่งหนังสือแจงประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ สั่ง รฟม.ส่งหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับการล้มประมูล โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ภายใน 30 วัน นัดฟังคำสั่งอีกครั้ง 5 พ.ค.64

วันนี้(15 มี.ค.64) ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลได้นัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้อง คดีระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กับพวกรวม 7 คน เป็นจำเลย กรณียกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2564 ที่ผ่านมา สืบเนื่องจาก กรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้ว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นแต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 3 ก.พ.64 รฟม.กลับทำการยกเลิกการประมูล ทำให้ BTSC ผู้ยื่นซองข้อเสนอได้รับความเสียหาย



ในวันนี้ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และทนายโจทก์มาศาล โดยศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้ตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า โจทก์ขอแก้ไขฟ้องในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะ หรือ ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้งเจ็ด และขอเพิ่มเติมฐานความผิด ซึ่งไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งเจ็ดเสียเปรียบในการต่อสู้คดี หรือทำให้จำเลยหลงต่อสู้ จึงเห็นควรอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องและคำขอท้ายฟ้องได้อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคำฟ้องและมีคำสั่งเกี่ยวกับคดี เห็นควรมีหนังสือถึง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อให้จัดส่งหนังชี้แจงข้อมูล ได้แก่
1.การดำเนินการคัดเลือกเอกชนครั้งแรกที่มีการยกเลิก
2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
3. คำสั่งที่ยกเลิกประกาศเชิญชวน
4. รายงานการประชุมที่มีเปลี่ยนแปลง รวมถึงรายงานการประชุมที่เกี่ยวกับการยกเลิกต่างๆ และหนังสือยืนยันความเห็นคัดค้าน ของผู้แทนสำนักงบประมาณในคณะกรรมการการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพรบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือแจ้ง โดยศาลได้นัดฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 5 พ.ค. 64 เวลา 09.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
เผยแพร่: จันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 13:53 น.

เก็บภาพมาฝากจ้า สำหรับ #งานก่อสร้างสถานีรามคำแหง และ #ปล่องระบายอากาศที่ 13 โดยความก้าวหน้าของงานก่อสร้างสถานี ประกอบด้วย
1. งาน Station Boxes (งานโครงสร้างสถานี) อยู่ที่ 95.97%
2. งาน Building Services and Station Finishes อยู่ที่ 30.27% และ
3. Lifts and Escalators อยู่ที่ 79.84%
#สำหรับภาพรวมงานก่อสร้างสถานีรามคำแหง อยู่ที่ 76.02% ปัจจุบันกำลังดำเนินงานก่อสร้างทางขึ้นลง 1-4 พร้อมด้วยงานเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้าง งานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก
#งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพื่ออานาคตการเดินทาง #Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2021 10:03 am    Post subject: Reply with quote

วัดใจ รฟม.เคาะเกณฑ์ “สีส้ม” เอกชน 30 รายรุมให้ความเห็นเอกสารประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 07:07 น.
ปรับปรุง: วันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 07:07 น.

รฟม.เผยมีเอกชน 30 ราย แสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศเชิญชวนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” เร่งประมวลชงคณะ กก.มาตรา 36 เคาะใน มี.ค. ยันเกณฑ์คัดเลือกยึดตามประกาศคณะ กก.PPP และ กม.ร่วมลงทุน “คมนาคม” วัดใจ รฟม.รวมคะแนนเทคนิค-ราคาอาจต้องรายงาน ครม.ตัดปัญหาฟ้องซ้ำซาก หวั่นไทม์ไลน์ไม่เสร็จ 6 เดือน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากที่ รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 2564 ถึงวันที่ 16 มี.ค. 2564 และให้จัดส่งความคิดเห็นจนถึงวันที่ 19 มี.ค. 2564 นั้น ปรากฏว่ามีเอกชนร่วมแสดงความคิดเห็นประมาณ 30 ราย โดยเอกชนที่มีทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า ซัปพลายเออร์ต่างๆ กลุ่มบริษัทก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษา สถาบันการเงิน เป็นต้น

ทั้งนี้ รฟม.เปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยมีทั้งการจัดส่งโดยตรง เช่น สถานทูตต่างๆ บริษัทที่มีชื่อเสียง บริษัทที่เป็นคู่ค้าของ รฟม. นอกจากนี้ยังประกาศผ่านเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็น และส่งความคิดเห็นกลับมายัง รฟม.ทางเว็บไซต์และทางอีเมล

โดย รฟม.อยู่ระหว่างประมวลความเห็นทั้งหมด สรุปรายละเอียดในร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะมีการประชุมภายในเดือน มี.ค.นี้

ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า ในการประกวดราคาเพื่อคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายส้มนั้น รฟม.ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดวิธีการคัดเลือกเอกชนหลักเกณฑ์ประกาศเชิญชวน ให้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 กำหนดให้พิจารณาการคัดเลือกให้ใช้เกณฑ์และวิธีการตัดสินเป็นคะแนนในทุกด้าน ทั้งด้านคุณภาพ และด้านราคา (Price-Performance) ซึ่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ถือเป็นกฎหมายและประกาศคณะกรรมการ PPP เป็นกฎหมายลูกที่กำหนดวิธีการให้ดำเนินการ

ทั้งนี้ การกำหนดข้อเสนอด้านราคา 70% ซึ่งมี 10% เป็นคะแนนด้านความน่าเชื่อถือซึ่งการพิจารณาจะมีสมมุติฐานความเป็นไปตามทางการเงิน ทางเทคนิค ว่าเอกชนเสนอเป็นสมมุติฐานที่เป็นไปได้หรือไม่ มีหลักวิชาการอ้างอิง ไม่ได้ใช้ความรู้สึกตัดสิน
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้เป็นขั้นตอนที่ รฟม.จัดทำร่าง RFP ใหม่ จากนั้น รฟม.จะสรุปเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 เห็นชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ตนในฐานะ รมว.คมนาคม ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ โดยอำนาจในการกำกับตาม พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ ทำได้เพียงให้หน่วยงานรายงานเข้ามา จากนั้นจึงจะสามารถให้ความเห็นได้ จึงขอให้รอถึงขั้นตอนที่ได้รับรายงานก่อน


ส่วนกรณีที่คณะกรรมการมาตรา 36 ได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือก จากการพิจารณาข้อเสนอทีละซอง และตัดสินที่ข้อเสนอด้านการเงินผลตอบแทน เป็นการพิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคและการเงินนั้น และมีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองนั้น เนื่องจากได้มีการยกเลิกประมูลไปแล้ว ถือว่ายังไม่มีใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ขณะที่เอกชน คือ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ รายที่ยื่นร้องต่อ สคร.ก็ไม่ได้ยื่นซองประมูลด้วย ไม่ได้หมายความว่าการปรับเหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อเอื้อให้แก่ผู้ร้องเรื่องนี้จึงไม่มีการทุจริต การเอื้อประโยชน์ยังไม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังไม่ถึงขั้นตอนที่ รมว.คมนาคม และ ครม.พิจารณา

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า กรณีที่มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใน RFP จะต้องยึดหลักตามกฎหมาย และอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 36 มีแค่ไหน รวมถึงมติ ครม.จะต้องปฎิบัติตามให้ครบถ้วน ซึ่งมีประเด็นว่า หากใช้ RFP เกณฑ์รวมคะแนนเทคนิคและราคานั้น จะต้องเสนอ ครม.หรือไม่ ตรงนี้ รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 ต้องพิจารณาว่ามติ ครม.เป็นอย่างไร ประกาศคณะกรรมการ PPP ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ เป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตาม หาก รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 ตกลง ใช้ RFP เกณฑ์รวมคะแนนเทคนิคและราคา และเห็นว่าควรจะต้องเสนอ ครม. รับทราบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้องภายหลัง อาจจะทำให้ขั้นตอนการประมูลใช้เวลามากขึ้น จากแผนที่ รฟม.ได้รายงานกระทรวงคมนาคมว่า เมื่อยกเลิกและดำเนินการประมูลใหม่ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจะได้ตัวเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 18:36 น.

เก็บภาพมาฝากจ้า #สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน #งานก่อสร้างสถานีรามคำแหง 34 พร้อมด้วยงานก่อสร้างทางขึ้น - ลง โดยมีความก้าวหน้าประกอบด้วย
1. งาน Station Boxes (งานโครงสร้างสถานี) อยู่ที่ 94.87%
2. งาน Building Services and Station Finishes อยู่ที่ 24.13% และ
3. Lifts and Escalators อยู่ที่ 19.34%
#สำหรับภาพรวมงานก่อสร้างสถานีรามคำแหง 34 อยู่ที่ 68.25% ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้าง งานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก
#งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพื่ออานาคตการเดินทาง #Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 4:48 pm    Post subject: Reply with quote


ITD ขุดอุโมงค์สำเร็จ วันที่ 29 มีนาคม 2564 เร็วกว่ากำหนด 114 วัน
https://www.youtube.com/watch?v=5IobrSQWifM
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2021 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “เทคนิค-ราคา” ต้องมาคู่กัน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 31 มีนาคม 2564 - 16:51 น.

แม้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีจะคืบหน้าไปมาก แต่ยังต้องจับตามองว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศยกเลิกการประมูลและเตรียมยกร่างทีโออาร์เปิดประมูลใหม่ช่วงเดือนเมษายน 2564

หลังเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนระหว่างวันที่ 2-16 มีนาคมที่ผ่านมา จะเป็นไปตามแผนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกฎกติกาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมทุน PPP ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562

ล่าสุด นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการ รฟม. ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาความล่าช้าในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม และการถกเถียงเกณฑ์ประเมินเกี่ยวกับเรื่องเทคนิคและราคา สะท้อนมุมมองจากประสบการณ์จริงที่เคยรับผิดชอบดูแลการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในอดีต


ประภัสร์ จงสงวน
ราคาต้องมาคู่คุณภาพ
อดีตผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า จริง ๆ แล้วตอนที่ รฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก ระหว่างหัวลำโพง-บางซื่อ ขณะนั้นก็ดูทั้ง 2 ส่วน คือ ราคาและคุณภาพ ให้ความสำคัญพอ ๆ กัน และทั้ง 2 ส่วนล้วนเชื่อมโยงกันเนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่เรื่องราคาและคุณภาพประกอบกับเทคนิคจะไม่ยึดโยงกัน จึงกล้าพูดได้เลยว่าหากไปดูจะพบว่าแม้จะผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้วคุณภาพดีกว่ารถไฟฟ้าสายอื่นที่ทำไม่กี่ปีก็เกิดปัญหาต้องมาตามแก้ไข ทั้งหมดจึงยืนยันได้ว่าเรื่องของราคา คุณภาพ ความสมเหตุสมผล เป็นสิ่งที่ต้องมาด้วยกัน

TOR เปิดช่องรับแก้เกณฑ์
ในฐานะที่เป็นคนนอก ตอนนี้มองดูแล้วก็ตั้งคำถามว่า ทำไมกระบวนการประมูลราคาสายสีส้มถึงช้าเช่นนี้ เพราะตามปกติทีโออาร์ที่เขียนไว้จะต้องเปิดช่องให้หน่วยงานของรัฐปรับเกณฑ์ประเมินได้เสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการล็อกสเป็ก แต่ต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีพัฒนาตลอดเวลา ช่วงเวลาที่เริ่มต้นโครงการกับตอนยื่นประมูลเทคนิคและเทคโนโลยีอาจเปลี่ยนแปลงเพราะใช้เวลานาน จึงไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าทำไมเรื่องถึงบานปลายมาถึงขั้นต้องล้มการประมูล และเริ่มต้นกระบวนการใหม่อีกครั้ง

ส่วนประเด็นที่จะทำให้ใครได้เปรียบเสียเปรียบกันก็ต้องไปดูรายละเอียดว่า ที่ว่าเสียเปรียบนั้นเสียเปรียบอย่างไร แล้วเอื้อประโยชน์ให้ใคร ในเมื่อทั้งหมดยังไม่มีการเปิดซองประมูลเลยสักครั้ง ยังไม่มีใครเคยเห็นข้อเสนอของบริษัทใดเลย การพิจารณาสัญญาก็ยังไม่เกิด แล้วจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบได้อย่างไร

แจงข้อเสียเปรียบให้ชัด
นายประภัสร์ชี้ด้วยว่า ที่สำคัญกรณีนี้คือการเปิดหาผู้ร่วมลงทุน ในฐานะเอกชนก็ต้องดำเนินการตามเงื่อนไข เมื่อเป็นโครงการทำรถไฟฟ้าต้องมีเทคนิคมานำเสนอ หากทำไม่ได้ ไม่เคยมีประสบการณ์ก็ยังมีบริษัทอื่น ๆ ที่พร้อมขายเทคโนโลยีให้ ในเอเชียมีทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น หรือกระทั่งอินเดียก็พร้อม หากไปทางยุโรปก็มีบริษัทเต็มไปหมดที่มีศักยภาพ ทำงานได้ก็สามารถไปซื้อเทคโนโลยีเหล่านี้มาแล้วทำเป็นข้อเสนอได้เช่นกัน ที่สำคัญเรื่องการขุดอุโมงค์ไม่ใช่เทคนิคใหม่ของโลก ที่ไหนเขาก็ขุดกัน ไม่ใช่เทคโนโลยีผูกขาด เพียงแต่ต้องมีแผนงานให้ชัดเจนเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่เกิดความเสียหาย

“ผมว่าการไปพูดว่าเอื้อประโยชน์คนนั้นคนนี้ หรือทำให้เสียเปรียบ ต้องพูดกันให้ชัดในรายละเอียดว่าเสียเปรียบอะไร เสียเปรียบตรงไหน ในเมื่อยังไม่มีการเปิดซอง ยังไม่มีการเสนอเงื่อนไขใด ๆ การพูดเหมารวมเช่นนี้ทำให้ดูเป็นเรื่องร้ายแรงจนอาจเกิดการตั้งคำถามว่าที่ไปตั้งเป้าที่ราคา หมายความว่าถ้ายึดราคาเป็นที่ตั้ง จะได้เปรียบใช่หรือไม่ แล้วคุณภาพที่จะต้องเอามาพิจารณาด้วยทำไมถึงไม่พูดถึงตรงนี้” นายประภัสร์กล่าว

อีกสาเหตุที่เรื่องเทคนิคเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้กรณีนี้จะเป็นเรื่องของสัญญาสัมปทาน ซึ่งก็คือให้เอกชนเป็นผู้บริหารภายในระยะเวลาจำกัด และมอบรายได้ให้กับรัฐ แต่หากผลงานที่ออกมาไม่มีคุณภาพ ต้องแก้ไข ต้องใช้งบประมาณอีกมหาศาล แล้วบริษัทเอกชนมองว่าไม่คุ้มทุน ทิ้งงานไป ใครจะต้องมาดูแล ก็ต้องเป็นหน่วยงานรัฐกลับเข้ามารับผิดชอบ สุดท้ายย่อมต้องใช้เงินภาษีของประชาชนแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดอีก

ดังนั้น หากจะมามองเรื่องราคาอย่างเดียว เห็นว่าไม่แฟร์กับหน่วยงานรัฐและประชาชนที่จะต้องเป็นผู้รับผลกระทบในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2021 7:22 pm    Post subject: Reply with quote

รัตนโกสิเนหา Rattanakosineha
2 เมษายน 2464 เวลา 18:11 น.

ในฐานะคนที่มีความรักต่องานสถาปัตยกรรม โบราณสถาน และประวัติศาสตร์อันยาวนาน อดเป็นห่วงต่อข่าวที่ได้ยินมาไม่ได้ กรณีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งยอมรับว่าขนส่งสาธารณะยุคใหม่ทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้น แต่รถไฟสายส้มที่วิ่งตั้งแต่ตลิ่งชัน ไปถึง มีนบุรี คือสถานีสุวินทวงศ์ โดยมีฮับเชื่อมตรงกลาง คือ สถานีศูนย์วัฒนธรรม ระยะทางทั้งหมดเฉียด 40 กิโล ก่อสร้างทั้งแบบสถานีรถใต้ดิน และลอยฟ้า แต่สถานีใต้ดินมากกว่า มันเป็นสายที่ตัดผ่านกรุงเทพทั้งเมือง จากฝั่งตะวันออกไปถึงกรุงเทพตะวันตก จุดที่ไม่ค่อยสบายใจ คือ จุดทำสถานีใต้ดินช่วงถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วัดราชนัดดา ภูเขาทอง โลหะปราสาท พระบรมมหาราชวัง มธ.ท่าพระจันทร์ สนามหลวง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ แล้วขุดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปอรุณอัมรินทร์ มีสถานีใกล้ศิริราช ตรงอาคารปิยะมหาราชการุณย์
พื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่เก่าแก่ โครงสร้างฐานรากส่วนใหญ่เป็นไม้ แม้บางส่วนเป็นเหล็ก ก็มีอายุไปตามกาลเวลา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่เป็นจุดหมายของคนทั่วโลก เป็นความภาคภูมิใจของประเทศ และอีกฝั่งก็เป็นโรงพยาบาลสำคัญ
และจากที่เห็นข่าวเมื่อ ต้นปี 62 ตรงปากซอยรามคำแหง 51/1-51/2 เขตบางกะปิ ทำสายสีส้มนี่แหละ ตอนนั้นแค่รื้อถอนอาคารเตรียมพื้นที่ แค่นั้นอาคารยังทรุดตัว
หรือ ข่าวเมื่อตอนสร้างรถไฟฟ้าสถานีวังบูรพา ตอนนั้นก็มีปัญหาบ้านบริเวณนั้นแตกร้าว เจ้าของบ้านเดือดร้อนมาก
อีกทั้งเมื่อสิงหาคมปี 63 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ตอม่อถล่มลงมาเพียงเพราะฝนตกและดินทรุด
กทม.เป็นที่ลุ่ม พื้นข้างใต้เป็นดินอ่อนและโคลนเลน เรื่องพื้นทรุด ถนนยุบ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
จึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้ แสดงความเป็นห่วงและฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่จะรับทำงานนี้ ขอให้เมื่อเจาะผ่านพื้นที่ที่อ่อนไหวที่สุดอย่าง พระบรมมหาราชวัง วัดที่สำคัญ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สนามหลวง โรงละครแห่งชาติ และที่สำคัญอีกจุด คือ โรงพยาบาลศิริราช เพราะแค่สร้างอย่างมาตรฐานทั่วไป บ้านยังร้าว ยิ่งพื้นที่เปราะบางขนาดนี้ วิศวกรจำเป็นต้องใช้เทคนิคระดับเซียนมากๆ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดครับ

note: กรณี ที่ น่าห่วงก็ไม่พ้นสถานีสะพานผ่านฟ้า เพราะ หัวสถานีอยู่ที่ ธนาคารกรุงเทพสาขาสะพานผ่านฟ้า กะ เทเวศน์ประกันภัย ปลายสถานีก็อยู่เกือบถึงวงเวียนอนุสาวรียร์ประชาธิปไตย ส่วนกรณีสถานีสนามหลวงถ้าจะห่วงจริงๆ ก็คงแถวโรงละครแห่งชาติกะ วัดพระแก้ววังหน้า ที่เป็นหัวสถานี และ โรงแรมรัตนโกสินทร์ที่เป็นปลายสถานีมากกว่านะครับ แต่กระนั้นก็เชื่อว่า ทางรฟม. เขาต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจริงๆ มิฉะนั้น EIA ไม่ผ่านแน่นอนครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2021 2:49 am    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน่้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม มกราคม - มีนาคม 2564
https://www.youtube.com/watch?v=J9wcm76pZJY
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 50, 51, 52 ... 89, 90, 91  Next
Page 51 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©