RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264688
ทั้งหมด:13575971
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 61, 62, 63 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2021 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

The PASSPORT
14 เมษายน 2564 เวลา 09:09 น.

‘อุโมงค์ขุนตาน’ สิ่งก่อสร้างที่มาจากความทุ่มเทและความสามารถด้านวิศวกรรมอันน่าทึ่งของมนุษย์ในอดีต นำโดยนายช่างชาวเยอรมันนามว่า มร.เอมิล ไฮเซน โฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งผลงานชิ้นโบแดงนับเป็นเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ของภาคเหนือ ด้วยการฟันฝ่าอุปสรรคของภูมิประเทศที่ทุรกันดาร และเต็มไปด้วยโรคภัยในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นไข้มาลาเรีย ไปจนถึงอันตรายจาก “เสือ” !
หลังจากใช้เวลาสร้างนานถึง 11 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 - 2461 โดยมีระยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตร อุโมงค์ขุนตานจึงครองตำแหน่งอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวที่สุดของประเทศมาได้ยาวนานนับร้อยปี จวบจนปัจจุบัน (ในปี 2564)
แต่ทว่าสถิติที่ยาวนานมานับศตวรรษ กำลังจะถูกทำลายลงในปี 2565 เมื่อโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายทางคู่สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ กำลังจะคว้าแชมป์อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ด้วยความยาวถึง 5.85 กม. และยังมีอุโมงค์ระหว่างสถานีคลองไผ่ กับสถานีคลองขนานจิตร ที่มีความยาว 1.4 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของประวัติศาสตร์การสร้างอันน่าจดจำ รวมทั้งการเป็นเส้นทางการท่องเที่ยว ‘อุโมงค์ขุนตาน’ ก็ยังครองความโดดเด่น ด้วยเป็นพื้นที่เชื่อมโยงไปสู่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ซึ่งช่วยส่งเสริมกันและกันให้มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่ซ้ำใคร เพราะเป็นอุทยานทางธรรมชาติที่สามารถเดินทางมาได้โดยรถไฟ จากต้นทางกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดลำปาง ลอดเข้าสู่อุโมงค์ใต้ภูเขาระยะทางยาวกว่า 1.3 กิโลเมตร ไปยังจุดหมายปลายทางที่สถานีขุนตาน จังหวัดลำพูน ซึ่งนับเป็นสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ในระดับความสูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย
-----------------------------------------------------
อ่านเรื่องราวน่าสนใจอีกมากมายได้ที่นี่ อุโมงค์ขุนตาน ตำนานเส้นทางรถไฟสายเหนือ
ประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่ของอุโมงค์รถไฟไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44535
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2021 9:59 am    Post subject: Reply with quote

รายงาน: ชมโบราณวัตถุ 900 รายการ บนแผ่นดินไทย ในประพาสพิพิธภัณฑ์
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

กรมศิลปากรนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ 918 รายการ ที่พบบนแผ่นดินไทย หลัง พ.ศ. 1800 เป็นต้นมา จัดแสดงในอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ให้ชมกัน

อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ที่ว่านี้ ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครโดยห้องจัดแสดงต่างๆ ได้รับการปรับปรุงใหม่ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2560 -2563 จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ และได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา

ประวัติอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์พ.ศ. 2506 อาคารก่ออิฐถือปูน ทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น 2 หลัง ตั้งอยู่ทางด้านข้างของหมู่พระวิมาน เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เพิ่มมากขึ้นและเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2510 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารใหม่ทั้งสองหลังต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2517 ในโอกาสฉลอง 100 ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อาคารใหม่หลังทิศเหนือจึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า"อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์" ตั้งนามเป็นที่ระลึกแก่ "พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์" พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้ตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ภายในพระบรมมหาราชวัง

สำหรับห้องจัดแสดงใหม่ในรูปแบบนิทรรศการถาวร เป็นการจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบบนผืนแผ่นดินไทย หลัง พ.ศ. 1800 เป็นต้นมา อันเป็นช่วงเวลาของการก่อกำเนิดบ้านเมืองขนาดใหญ่ระดับรัฐหรืออาณาจักรในแต่ละภูมิภาค โดยนำโบราณวัตถุรวม 918 รายการ มาจัดแสดงแบ่งเป็น

ห้องล้านนา นำเสนอเรื่องราวอาณาจักรที่พญามังราย สถาปนาเมื่อพ.ศ. 1839 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โบราณวัตถุสำคัญ อาทิ ศิลปโบราณวัตถุประเภทเครื่องพุทธบูชา ที่พบจากวัดร้างในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และหลวงพ่อนาก พระพุทธรูปซึ่งพระยายุธิษฐิระเจ้าเมืองพะเยาเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019

ห้องสุโขทัย จัดแสดงความรุ่งเรืองของรัฐขนาดใหญ่นามว่า สุโขทัย แห่งราชวงศ์พระร่วง ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.1792 โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่จัดแสดงในห้องนี้คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหง

ห้องกรุงศรีอยุธยา นับจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 ปรากฏโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นประจักษ์พยานสำคัญถึงความรุ่งเรืองมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ความเจริญทางเศรษฐกิจ และความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา โบราณวัตถุชิ้นสำคัญอาทิ ธรรมาสน์สังเค็ด วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี และตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย ซึ่งมีลวดลายรดน้ำปิดทองประณีตงดงามเป็นเลิศ

ห้องกรุงธนบุรี - รัตนโกสินทร์ตอนต้น โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ อาทิพระแท่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเก้าอี้พับของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชซึ่งทรงใช้ในยามราชการสงคราม ฉากลับแลลายกำมะลอเรื่องอิเหนา เป็นต้น

ห้องกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ ทรงวางรากฐานในการยอมรับศิลปวิทยาการสมัยใหม่ และนำมาพัฒนาให้สังคมไทยมีความทันสมัยเช่นสากล โบราณวัตถุสำคัญที่จัดแสดง อาทิ ลูกโลกและรถไฟจำลอง สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2398 พระโธรน พระราชอาสน์สำหรับประทับให้ข้าราชการยืนเข้าเฝ้า สร้างขึ้นเป็นองค์แรกใน พ.ศ. 2416

เชิญชวนผู้สนใจทั่วไปเข้าชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญรวม 918 รายการ จัดแสดงภายในอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ตามวันและเวลาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

"เป็นการจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบบนผืนแผ่นดินไทย หลัง พ.ศ.1800 เป็นต้นมา อันเป็นช่วงเวลาของการก่อกำเนิดบ้านเมืองขนาดใหญ่ระดับรัฐหรืออาณาจักรในแต่ละภูมิภาค"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/04/2021 6:12 pm    Post subject: Reply with quote

Mr.Warrington Smyth บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ Five Years in Siam ว่าการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - โคราช ช่วงจากสถานีแก่งคอยผ่านเข้าดงพญาไฟไปมีคนงานก่อสร้างทางรถไฟเสียชีวิตมากที่สุดเนื่องจากการเจ็บป่วย ในช่วง 5 ปี มีคนงานประมาณ 5,000 คนเสียชีวิตและมีชาวยุโรปผู้ควบคุมการก่อสร้าง 36 คน เสียชีวิตจากไข้ป่าและการเจ็บป่วยอื่นๆ
ปล.ภาพประกอบการก่อสร้างทางสายเหนือ
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/5897760940237922
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

“ผาเสด็จ” คือ สถานที่แห่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี จังหวัดที่มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนา หรือ ประวัติศาสตร์การพัฒนาของชาติไทย
อังคารที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 12:39 น.

“ผาเสด็จ” คือ หน้าผาชง่อนหินที่แทบจะยื่นเข้าไปในบริเวณทางรถไฟ อยู่ที่หมู่ 5 ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ในด้านการคมนาคม โดยเฉพาะสำหรับกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นทางผ่านของเส้นทางรถไฟที่ใช้เดินทางมุ่งเข้าสู่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย คือ ทางรถไฟสายพระมหานคร-นครราชสีมา ซึ่งก่อสร้างโดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5
ตำนานของผาเสด็จ
เมื่อปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟขึ้นในสยามประเทศ หลังจากที่ตั้งกรมรถไฟขึ้นมาแล้ว ปี พ.ศ. 2434 ได้มีการดำเนินการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพถึงอยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ก็ได้ให้มีการดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟต่อไปยังจังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางดังกล่าวนี้จะต้องผ่านจังหวัดสระบุรี ซึ่งในสมัยก่อนเส้นทางจากสระบุรีไปอำเภอแก่งคอยต้องใช้เวลานานมากเพราะถนนหนทาง เช่น ถนนมิตรภาพยังไม่มี มีเพียงเส้นทางโบราณเป็นถนนลูกรัง ซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อแทบตลอดทางแถมยังคดเคี้ยวไปมาจากระยะทางจริง 12 กิโลเมตร กลายเป็น 16 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมอีกทางหนึ่งคือทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ สายแก่งคอย-มวกเหล็ก ซึ่งตัดผ่านเข้าดงพญาเย็นไปทะลุทางภาคอีสาน ซึ่งมีเทือกเขาอยู่หลายแห่งขวางเส้นทางที่จะต้องดำเนินงาน และภูเขาแห่งนี้มีเงื้อมชะโงกหินยื่นออกมาเป็นก้อนโตมหึมา ความจริงจะตัดหรือระเบิดอ้อมไปด้านข้างเคียงก็พอจะทำได้ แต่เส้นทางจะคดเคี้ยวเลี้ยวลดดูไม่สวยงาม จึงต้องทำการระเบิดภูเขาแห่งนั้น
วิศวกรชาวฝรั่งเศส พยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่านอยู่หลายครั้งหลายคราแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เป็นความหนักใจให้แก่บรรดานายช่างเป็นอย่างยิ่ง เกือบจะพากันหมดอาลัยล้มเลิกความตั้งใจเสียแล้ว จึงปรึกษากันว่าควรทำอย่างไรดี ขณะนั้นมีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแนะนำในทางไสยศาสตร์ว่า สถานที่แห่งนี้ คงมีผีเจ้าป่าหรือเจ้าที่เจ้าทาง ควรทำบัตรพลีเซ่นสรวง บนบานศาลกล่าวให้องค์เทพารักษ์อนุญาตตามประเพณีไทยแต่โบราณ แต่ไม่มีใครเห็นด้วยเพราะนายช่างเป็นคนหัวใหม่ ปรากฏว่าการระเบิดภูเขาก็ไม่เป็นผลสำเร็จอยู่ดี ชาวบ้านแห่งนั้นบอกว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยแสดงมหิทธิฤทธิ์ปรากฏแก่ชาวบ้านและพรานให้เห็นมาแล้วหลายครั้ง เช่น ถ้ามีคนตัดไม้ทำลายป่าบริเวณนั้น หรือ ปัสสาวะบริเวณโคนไม้ใหญ่ ก็จะมีอันเป็นไป คือ ล้มป่วย เจ็บเนื้อเจ็บตัว ปวดหัว เป็นไข้ หรือเป็นลมชักน้ำลายฟูมปาก ตาเหลือก ต้องหาคนไปทำกระทงบัตรพลีเซ่นสรวงขอขมา ถ้าใครไม่เชื่อล้มเจ็บถึงตายก็มี
ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) พระองค์จึงโปรดให้นำตราแผ่นดินไปประทับตรงโคนต้นไม้ใหญ่บริเวณนั้นเป็นการเอาเคล็ด เล่ากันว่า พอต้นไม้ใหญ่แห่งนั้นถูกตราแผ่นดินพระราชทานตีประทับลงที่โคนแล้ว ก็ให้มีอันกิ่งใบแห้งเหี่ยวยืนต้นตายไป และมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายช่างระเบิดหินต่อไป แต่ก็มีการเล่ากันว่าชาวบ้านบางคนกลัวไม่กล้าระเบิดต่อ เนื่องจากมีนายช่างและคนงานบางคนเป็นไข้ป่าเจ็บหนักจนถึงเสียชีวิต พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดเกล้าให้สร้างศาลเพียงตาขึ้นที่ใกล้เงื้อมผา การระเบิดทำทางรถไฟ จึงดำเนินต่อไปโดยไร้อุปสรรค
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2439 (ร.ศ.๑๑๕) พระองค์จึงเสด็จประพาสต้นมาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ตามลำน้ำป่าสักและเสด็จขึ้นบก เสด็จฯ ต่อโดยรถไฟจากที่ประทับแรมเข้าในดงถึงที่สุดทางรถไฟในเวลานั้น (ตำบลหินลับ) เวลาบ่าย 3 โมงเศษ เสด็จลงจากรถไฟเสด็จพระราชดำเนินต่อไปตามทางที่ยังไม่ได้วางเหล็กรางข้ามห้วยสองแห่ง เสด็จต่อมาถึงศิลาใหญ่ ณ ผาแห่งนี้ เวลาบ่าย 5 โมง ทรงได้โปรดให้มีการจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” หมายถึง พระปรมาภิไธยของพระองค์ , “ส.ผ.” หมายถึงพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และเลข “๑๑๕” หมายถึงปีที่เสด็จมา และพระราชทานนามศิลาตำบลนี้ว่า “ผาเสด็จพัก” ติดไว้บนชะง่อนหินแห่งนั้น พอเวลาจวนค่ำ ก็เสด็จกลับมาประทับยังที่พักรถไฟ เสด็จขึ้นรถไฟกลับมาถึงพลับพลาที่ประทับเวลาทุ่มเศษ” เมื่อประชาชนทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จมาถึงผาแห่งนี้ก็พากันชื่นชม และผู้คนต่างพากันเรียกเงื้อมผาแห่งนี้ในเวลาต่อมาว่า “ผาเสด็จ” ซึ่งประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะพนักงานรถไฟ ได้ให้ความเคารพบูชาเป็นอย่างสูง ตลอดมาถึงทุกวันนี้
จากตำนานที่กล่าวมา นับได้ว่า “ผาเสด็จ” ได้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทย หากได้เดินทางมายังภาคอีสานโดยทางรถไฟแล้ว จะต้องผ่าน “ผาเสด็จ” แห่งนี้แน่นอน
ในปัจจุบัน สถานีรถไฟผาเสด็จ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 138 กิโลเมตร ทางจังหวัดสระบุรี ได้ทำการบูรณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณสถานีรถไฟ เพื่อให้เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่ง ของจังหวัดสระบุรี นักท่องเที่ยวท่านใดสนใจผ่านมาเที่ยวชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ สามารถเดินทางมาได้โดยทางรถไฟ และทางรถยนต์ โดยผาเสด็จนั้น ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ประมาณ 25 กิโลเมตร ระหว่าง กม.ที่ 132-133 หากไปจากสระบุรีเลี้ยวซ้ายตรงบริเวณโรงเรียนบ้านซับบอนไปประมาณ 3 กิโลเมตร ผาเสด็จอยู่เลยจากสถานีรถไฟไปประมาณ 50 เมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2021 12:51 am    Post subject: Reply with quote

นั่งคิดไปคิดมา
.
มีเมืองไหนบ้างที่ทางรถไฟวิ่งผ่าน แต่ไม่ได้เข้าเขตเมืองเก่าหรือชุมชนเก่า
ไม่นับทางรถไฟสมัยใหม่ หลัง 2500 ลงมา ที่ทางต้องเลี่ยงเมืองอยู่แล้ว
.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รถไฟไม่ได้วิ่งเข้าเขตเมืองเก่าเพราะภูมิศาสตร์ ที่มีแม่น้ำสายต่าง ๆ เป็นตัวคั่นไว้ ซึ่งการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟนั้นต้องใช้งบประมาณการก่อสร้างที่สูง จึงมีการก่อสร้างสถานีรถไฟไว้อีกฝั่งหนึ่งของเมือง
.
ทางรถไฟหลายสายจึงไม่ได้มุ่งเข้าในเมืองโดยตรง แต่ก็ทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนใหม่ใกล้บริเวณสถานีรถไฟขึ้นมา
ในขณะเดียวกันทางรถไฟที่วิ่งผ่านเข้าเมืองโดยตรงก็มี เช่น ลพบุรี พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สวรรคโลก ฯลฯ
ที่นึกออกตอนนี้มี
1. อยุธยา
2. นครสวรรค์
3. พิจิตร
4. ลำพูน
5. เชียงใหม่ : เชียงใหม่ ออกไปปลายรางแถววัตเกตุก็ดีแล้วเพราะ ติดค่ายกาวิละ และ ไม่ได้ไกลตัวเมืองเท่าไหร่ ต่อมาได่้มีการสร้างสะพานนวรัตน์ ข้าแม่ปิง ก็เลยสบายเขาหละ
6. อุบลราชธานี : เพราะ เมืองวารินทร์มีค่ายทหาร และ การถมที่ลุ่มและกุด ที่ จากวารินทร์ แล้วสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูล ไปตัวเมืองอุบลเป็นเรื่องหมดเปลืองโดยใช่เหตุ ยิ่งตอนหลังมีสะพานเสรีประชาธิปไตย เชื่อมสองเมืองก็ยิ่งหมดความจำเป็นที่จะสร้างทางรถไฟเข้าตัวเมืองอุบลครับ
7. สุราษฎร์ธานี : สถานีสุราษฎร์ ณ ตอนสร้างเสร็จใหม่ ๆ ยังขึ้นกับตำบลวัดประดู่ อ.บ้านดอน (ในขณะนั้น) เพิ่งโอนมาเป็นตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพินในปี 2463 เองครับ (ตามเอกสารในภาพนี้) ซึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจเรื่องสภาพตลาดท่าข้าม ณ ขณะนั้น แต่ตรงนั้นสามารถล่องเรือมาจากแถบคีรีรัฐ ตาขุน (หรือแม้แต่พระแสง หรือตัวเมืองบ้านดอน ณ ขณะนั้น ซึ่งยังไม่มีถนนเข้ามา) เพื่อค้าขายได้ เนื่องจากเป็นปากแม่น้ำพุมดวง และแยกเป็นคลองพุนพินตรงนั้นพอดี นั่งเรือจากท่าข้ามไปบ้านดอนได้นี่ครับ
8. แพร่: เพราะตอนประเมินเมื่อปี 2448 ว่าถ้าทำทางเข้าแพร่ จะต้องเปลืองงบประมาณ และ กว่าจะเสร็จถึงเชียงใหม่ ก็ปี 2466 ก็เลยไปทางเด่นชัยจะประหยัดงบประมาณที่กู้เงินมาทำ นะครับ และ มีการทำถนนที่พัฒนาจากทางเกวียนจากเด่นไชยไปแพร่ อยู่แล้ว เลยเป็นการประหยัดครับ เพราะ ค่าก่อสร้าง ถนนลูกรังสมัยค่าใช้จ่ายถูกกว่าทำทางรถไฟถึง 4 เท่า

9. ราชบุรี รถไฟผ่านทิศตะวันออกของเมือง เดิมสถานีอยู่ทางใต้ตัวเมืองออกมา
10. เพชรบุรี รถไฟโค้งอ้อมตัวเมืองทางเหนือและตะวันออก
ปัตตานี ไม่เฉียดเมืองเลย จึงใช้โคกโพธิ์เป็นสถานีหลัก : เพราะสมัยนั้นเดินเรือชายฝั่งสะดวกกว่า และ มีถนน สายปัตตานี - ยะลา ที่เชื่อมกะสถานีรถไฟอยู่เลยสบายเขาหละ
นครราชสีมา ตัวสถานีเดิมอยู่นอกเมืองทางตะวันตก ปัจจุบันเมืองขยายไปหาสถานี
ฉะเชิงเทรา นอกเมืองทางตะวันตก
ปราจีนบุรี นอกเมืองทางเหนือ ห่างแม่น้ำปราจีนเกือบ 4 กิโล
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2025514974254884&id=100003892047191
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2021 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

ไ ว้ อ า ลั ย เ เ ด่ ..คุ ณ ท ว ด [ พันตรี เรนิชิ ซูกาโนะ วัย 101 ปี ]
อดีตนายทหารจักรวรรดิญี่ปุ่น สังกัดกองพลทหารรถไฟที่ 9 ผู้เป็นวิศวกรในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ (กาญจนบุรี-ตันบูซายัส ประเทศพม่า) สมัย สงครามโลกครั้งที่2
ชีวประวัติของท่าน...ท่านได้เกิดเมื่อเดือน มิถุนายน ปีไทโชที่ 8 (ค.ศ.1919) ที่เมืองฮิจิ จ.โออิตะ
เมื่อเข้าสู่วัยเรียน ในปีโชวะที่ 12 (ค.ศ.1937) ท่านจบการศึกษาชั้นม.ต้น ที่จ.โตเกียวและในเดือน เมษายน ปีเดียวกันท่านก็ได้สอบเข้า รร.เตรียมทหารบกของจักรวรรดิญี่ปุ่น
ต่อมา..ในเดือนมีนาคม ปีโชวะที่ 15 (ค.ศ.1940) ท่านจบการศึกษา
จาก รร.เตรียมทหารบกของจักรวรรดิญี่ปุ่น (สังกัดทหารรถไฟ) โดยท่านนั้นจบการศึกษารุ่นที่ 53
ในเดือนกันยายน ปีโชวะที่ 16 (ค.ศ.1941) ท่านได้ตำรงตำแหน่งเป็น ผบ.
เเห่งกองพลรถไฟที่ 9 (ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงยศ "ร้อยเอก")
ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ภัยของ สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ท่านได้ไปประจำการที่เกาะมลายู เเละ เกาะสุมาตรา เเละได้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ(ไทย-พม่า)
หลังจากที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เปิดใช้เส้นทางรถไฟแล้ว
ในเดือนมกราคม ปีโชวะที่ 19 (ค.ศ.1944) ท่านก็ได้ย้ายไปประจำการที่มะละเเหม่ง ประเทศพม่า เเละดูเเลการขนเสบียงยุโธปกรณ์ทางทหาร
ต่อมาในเดือนมิถุนายน ปีโชวะที่ 20 (ค.ศ.1945) ท่านได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็น"พันตรี" หลังจากที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันท่านได้เดินทางไปที่เมืองมัณฑะเลย์เพื่อบูรณะทางรถไฟสาย มัณฑะเลย์-มิตจีนา
จวบจนในเดือนมกราคม ปีโชวะที่ 23 (ค.ศ.1948) ท่านได้เดินทางกลับเมืองฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำปลดประจำการ ในปีเดียวกันท่านก็ได้ก่อตั้งสมาคมสมาชิกกองพลรถไฟที่ 9 เเละท่านยังเป็นประธานในพิธีรำลึกเหล่าดวงวิญญาณทหารสหายร่วมรบที่เสียชีวิตในช่วงสงครามที่ศาลเจ้ายาสุกุนิเป็นประจำทุกปี
ในเดือนกรกฎาคม ปีโชวะที่ 54 (ค.ศ.1979) รถจักรไอน้ำ C56 31 (หมายเลขไทย 725) ที่เข้ามาใช้งานในไทยและเป็นคันที่เคยใช้ในพิธีเปิดเส้นทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่2 หลังประเทศไทยยุติการใช้งานรถจักรไอน้ำ รถคันนี้ได้นำกลับไปบ้านเกิดที่ญี่ปุ่นเพื่อตั้งจัดแสดงในศาลเจ้า ยาสุกุนิ เพื่อรำลึกถึง ทหารญี่ปุ่น"ทุกนาย" ที่เสียชีวิตในสมรภูมิ ประเทศไทย และ พม่า และ คุณทวด เรนิชิ ซูกาโนะ ท่านได้เป็นประธาน สมาคมอนุรักษ์ รถจักรไอน้ำคันนี้ต่อไปอีกด้วย จวบจนถึงปัจจุบัน....ได้มีลูกหลานชาวญี่ปุ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรถจักรไอน้ำคันนี้โดยใช้องค์ความรู้ในการดูแลรถจักรไอน้ำอย่างถูกต้อง.เพื่อเป็นประวัติศาสตร์และเครื่องเตือนใจต่อคนรุ่นใหม่ ว่า...............
"สงครามทำให้หลายสิ่งหลายอย่างพลัดพรากจากบ้านเกิดและเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีกในโลกใบนี้"
"ในวันที่ 16 เมษายน ปีเรวะที่ 3 (ค.ศ.2021) ที่ผ่านมา..คุณทวดเรนิชิ ซูกาโนะ ท่านได้จากไปอย่างสงบ ด้วยโรคส่วนตัว สิริอายุได้ 101 ปี
ทางทีมงานเพจ SL TEAM ทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นรวมถึง..ผู้ชื่นชอบรถจักรไอน้ำทุกท่าน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของคุณทวดในการของ คุณทวด เรนิชิ ซูกาโนะ ด้วยครับ ขอบคุณ..ที่ดูแล C56 31 จากประเทศไทยเป็นอย่างดี
------------------------------------------------------------------
第二次世界大戦時において泰緬鉄道の建設に携わった元日本陸軍・菅野廉一氏(101歳)のご家族に対し心より哀悼の意を表します
https://www.facebook.com/SLTeamTH/posts/4465242256828764
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2021 2:03 pm    Post subject: Reply with quote

เสร็จภาระกิจย้ายรถจักรไอน้ำสูงเนิน เลขที่ 7 เริมใช้การ ปี 2438 (1895) สร้างโดย บ. Robert Hudsun เข้าเก็บโรงเก็บรถประวัติศาสตร์ ที่โรงงานมักกะสัน สนับสนุนโดยมูลนิธิรถไฟไทย. ค่าปรับปรุง ทำสี ประมาณ 3 แสน หลังจากเสร็จ จอดตากฝน มาวันนี้อนุรักษ์เรียบร้อย ขอขอบพระคุณทีมงานโยธา คุณธนา ที่ทำรางเพิ่ม 60 cm ไว้ย้ายรถพ่วงไม้ออกก่อน ขอขอบพระคุณทีมงาน ซ่อมบำรุงรถจักร และสัปเปลี่ยน ในการทำสัปเปลี่ยน แล้วใช้รถสัปเปลี่ยน Hunslet ดันเข้าโรงเก็บรถประวัติศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Note: เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากรางงานประจำปี ที่เก็บรักษาในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ส่อว่ารถจักรสูงเนินนี่น่าจะอายุราวๆ 2471 - 2472 เนื่องจาก การเปิดทางรถไฟสายดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2471 เพื่อแทนทางรถไฟเพื่อขนฟืนและไม้ที่หนองน้ำขุ่นที่ปิดไปแต่ปี 2469 และ รถจักร 28 หลังที่เป็นรถจักรก่อนปี 2453 นั้นโดนรุสต็อก หมดไปแต่ปี 2473 ครับ
https://www.facebook.com/siriphong.preutthipan/posts/2031376763668159
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2021 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

หม่อมหลวง กรี เดชาติวงศ์ นักเรียนทุนรถไฟหลวง นายช่างใหญ่โรงงานมักกะสัน นายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟจากขอนแก่นถึงกุมภวาปี
โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.23 น.

รัฐมนตรีประเภทหาทำพันธุ์ยากท่านหนึ่ง ชื่นชมฝีมือสร้างทางรถไฟของญี่ปุ่น เคยไปดูงานสายยุทธศาสตร์แมนจูกัวที่ญี่ปุ่นสร้างไปตีจีน จึงนำคณะไปสำรวจทางรถไฟสายมรณะที่ที่ถูกทิ้งร้าง หวังจะรื้อฟื้นมาใช้ประโยชน์ แต่ถูกไฟป่าไหม้ไม้หมอนบนสะพาน ทำให้รถไฟตกเหวไปทั้งขบวน ต้องส่งคนเดินเท้าออกมาขอความช่วยเหลือ ๓ วันจึงนำศพออกมาได้ ทิ้งลูกเมียให้อยู่อย่างยากแค้น รัฐบาลทนดูไม่ได้ต้องรับภาระส่งเสียลูกเล็กๆถึง ๓ คน ทั้งๆที่ว่าการมาแต่ละกระทรวงน่าจะรวยจนโจรขนเงินไม่หมดทั้งนั้น
รัฐมนตรีที่ยกมือไหว้ได้อย่างไม่ต้องกระดากใจท่านนี้ มีชื่อว่า หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์
ชีวิตของหม่อมหลวงกรีเป็นชีวิตอาภัพ พ่อแม่ถึงแก่อนิจกรรมตั้งแต่ยังเล็ก หม่อมหลวงสมบุญ ผู้เป็นพี่สาวเลี้ยงดูจนจบมัธยมปีที่ ๘ จึงสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงไปเรียนต่อวิศวกรรมที่อังกฤษ เมื่อกลับมาก็เข้ารับราชการในกรมรถไฟตามสัญญา ความขยันขันแข็งต่อหน้าที่และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่กล่าวกันว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน “พระบิดาแห่งการรถไฟ” ทรงคาดหมายไว้ว่า จะให้เป็นผู้รับมอบภาระในด้านการคมนาคมของประเทศต่อไป
ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ หม่อมหลวงกรีเข้าพิธีสมรสกับ เจ้าหวลกลิ่น ธิดา เจ้าหอมนวล ราชธิดา เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย ในปีเดียวกันนั้นก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์
ตอนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีชื่อของ รองอำมาตย์เอกหลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ อยู่ในรายชื่อสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนด้วย และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนราษฎรชุดแรก แต่เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกประกาศยุบสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเพื่อกำจัดคณะราษฎร ม.ล.กรีจึงถูกย้ายจากตำแหน่งนายช่างกำกับโรงงานมักกะสัน ไปเป็นนายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟจากจังหวัดขอนแก่นถึงอำเภอกุมภวาปี
ในปี ๒๔๗๘ ม.ล.กรีได้รับตำแหน่งนายช่างชั้น ๑ กองช่างนคราทร จึงได้เข้าปรับปรุงสวนลุมพินี ที่ถูกทิ้งร้างมา ๑๐ ปี เป็นที่เกิดฆาตกรรมขึ้นบ่อยๆ ให้กลับเป็นสวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน จัดตั้งสวนเพาะชำเพื่อขยายต้นไม้ใช้ตกแต่งในกรุงเทพฯ และติดต่อ นายโอวบุ้นโฮ้ว เศรษฐีใหญ่ของสิงคโปร์ ให้ช่วยสร้างสนามกีฬาสำหรับเด็กขึ้นในสวนลุมพินีด้วย
ในเดือนเมษายน ๒๔๘๓ ม.ล.กรีได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนกระทรวงคมนาคมไปประชุมวิศวกรรมที่กรุงโตเกียว และให้เดินทางดูงานด้านคมนาคมในประเทศญี่ปุ่นกับประเทศใกล้เคียง จึงได้ไปดูการสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์สายแมนจูกัว ของกองพันทหารรถไฟญี่ปุ่น ซึ่งใช้ขนทหารไปบุกจีน ขากลับยังได้ดูงานการสร้างทางรถไฟในอินโดจีน และกลับกรุงเทพฯทางรถไฟด้านอรัญประเทศ
หลังกลับจากประเทศญี่ปุ่น ม.ล.กรีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นนายช่างใหญ่กรมทาง ข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ ต่อมาได้เกิดกรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศสในอินโดจีน ม.ล.กรีต้องบุกป่าไปสำรวจเส้นทางยุทธศาสตร์จากจังหวัดน่านไปล้านช้าง
ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นบุกไทย ซึ่งรัฐบาลไทยคาดอยู่แล้ว จึงส่ง ม.ล.กรีไปทำงานใต้ดิน สร้างเครื่องกีดขวางญี่ปุ่นที่อาจยกกำลังทางรถไฟมาจากอินโดจีน และเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางอ่าวไทยแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาคิดจะหนีขึ้นเหนือไปตั้งรัฐไทยอิสระ แต่เมื่อส่ง ม.ล.กรีขึ้นไปก่อน ก็พบว่าญี่ปุ่นยึดทุกแห่งไปหมดแล้ว เลยต้องเลิกล้มความตั้งใจ แม้กระนั้น ม.ล.กรีก็ยังคงส่งข่าวให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบการเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นทางด้านนั้น
ในระหว่างสงครามนี้ ม.ล.กรีได้รับมอบหมายให้สร้างทางสายตาก-แม่สอด และยังสำรวจที่จะสร้างทางสายแม่สาย-เชียงตุงด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นทางสายยุทธศาสตร์ จึงได้รับพระราชทานยศนายพันตรี เป็นนายทหารพิเศษประจำกองทัพบก
ต่อมาในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๘๖ ก็ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคมปีเดียวกัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมควบอีกตำแหน่งหนึ่ง และในวันที่ ๘ กันยายนปีนั้นก็ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
หน้าที่ทางราชการของ ม.ล.กรี เดชาติวงศ์ ได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ในระหว่างที่เป็นรัฐมนตรีอยู่นี้ยังได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดตั้งและเป็นผู้จัดการบริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมภาคเอกชนให้ผลิตสินค้าจำเป็นที่ขาดแคลนยามสงคราม ม.ล.กรีเห็นว่าบริษัทนี้มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนยามสงครามมาก จึงลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีมารับตำแหน่งผู้จัดการบริษัท เพื่อทุ่มเทการทำงานได้เต็มที่
ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ ม.ล.กรีก็ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับจอมพล ป. แสดงว่า ม.ล.กรีเข้าได้กับทุกฝ่าย

ต่อมารัฐบาลนายปรีดีลาออก พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี ม.ล.กรีก็ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในชีวิต
เมื่อครั้งที่เดินทางไปดูกิจการทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นที่แมนจูกัว ม.ล.กรีชื่นชมฝีมือในการสร้างทางรถไฟของญี่ปุ่นมาก เมื่อเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีคมนาคมใน จึงคิดที่จะปรับปรุงกิจการรถไฟครั้งใหญ่ รวมทั้งทางรถไฟสายไทย-พม่าที่เรียกกันว่า “ทางรถไฟสายมรณะ” ซึ่งญี่ปุ่นใช้แรงงานเชลยศึกสร้างไว้ และรัฐบาลไทยรับซื้อไว้ในราคา ๕๐ ล้านบาทเมื่อสงครามยุติ เพื่อมิให้ชาติสัมพันธมิตรเข้ามายึดครองเพราะถือว่าเป็นของญี่ปุ่น ม.ล.กรีเห็นว่าเส้นทางนี้ถูกทอดทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จึงคิดจะเอามาใช้ขนสินค้าจากอินเดียและพม่า เพราะขณะนั้นมีปัญหาที่สินค้าจาก ๒ ประเทศนี้ต้องใช้เรืออ้อมไปสิงคโปร์ และบางครั้งก็ตกค้างอยู่ที่สิงคโปร์เป็นเวลานานเพราะไม่มีเรือขน ม.ล.กรีจึงได้ไปสำรวจทางรถไฟสายมรณะด้วยตัวเอง
คณะของรัฐมนตรีคมนาคมประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกรมรถไฟและกรมทางรวม ๒๖ คน ออกเดินทางโดยขบวนรถพิเศษที่เรียกว่ารถยนต์ราง จากสถานีหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในเช้าของวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ เมื่อมาถึงหลัก กม.ที่ ๒๖๒ ระหว่างสถานีปรังกาสีกับนิเถะ ซึ่งมีหญ้าขึ้นปกคลุมรางและเป็นทางโค้ง พอสุดทางโค้งก็เป็นทางลาดลงสู่สะพานข้ามลำห้วยคอยทา พนักงานรักษารถเห็นไม้หมอนบนสะพานกำลังไหม้ไฟจึงร้องบอกพนักงานขับรถ ซึ่งก็ได้พยายามเบรกจนล้อตาย แต่เป็นทางลาดลง รถจึงลื่นไหลลงไปอย่างช้าๆ หลายคนเห็นท่าไม่ดีรีบกระโดดลงจากรถ เมื่อรถไหลลงไปถึงสะพาน ไม้หมอนรถไฟซึ่งไหม้ไฟเกรียมอยู่ได้หักลง เป็นผลให้รางทรุด ขบวนรถตรวจราชการของรัฐมนตรีจึงตกลงไปในเหวลึก ๘ เมตรทั้งขบวน มีคนติดอยู่ในรถ ๑๙ คน บุรุษพยาบาลของการรถไฟถูกรถทับอยู่ ๑๐ นาทีก็สิ้นใจ ม.ล.กรี และนายปุ่น สกุนตนาค อธิบดีกรมรถไฟ และอธิบดีกรมทาง รวมทั้งพนักงานขับรถไฟบาดเจ็บสาหัส
คนที่บาดเจ็บน้อยที่สุดได้เดินเท้ามาที่สถานีปรังกาสี โทรเลขขอรถพยาบาลจากกรมรถไฟให้รีบไปช่วย จากนั้นก็ลำเลียงคนเจ็บมาที่สถานีปรังกาสี ม.ล.กรีทนพิษบาดแผลอยู่ได้เพียง ๑ ชั่วโมงก็เสียชีวิต และกว่าจะนำศพกลับมาถึงสถานีธนบุรีได้ก็เป็นเวลา ๑๐ น.ของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์แล้ว โดยมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และนักการเมืองรวมทั้งนายกรัฐมนตรีไปรอรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับศพไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งไว้ ณ วัดเบญจมบพิตร
แม้ ม.ล.กรีจะเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสำคัญๆ และมีตำแหน่งราชการที่สามารถหาผลประโยชน์ให้ตัวเองได้อย่างมหาศาล แต่ปรากฏว่าในวันตายไม่ได้ทิ้งสมบัติไว้ให้ลูกเมียเลย รัฐบาลต้องยื่นมือเข้ารับภาระส่งเสียลูกเล็กๆถึง ๔ คน ตอบแทนคุณงามความดีของคนที่ทุ่มเททำงานให้ชาติโดยไม่มีประวัติด่างพร้อยเลยตลอดชีวิต
อนุสรณ์สถานที่ระลึกถึง ม.ล.กรี เดชาติวงศ์ ขณะนี้ก็คือ สะพานเดชาติวงศ์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งแม้จะมีการสร้างสะพานใหม่ขึ้นเป็นคู่ขนาน แต่ผลงานของหม่อมหลวงกรีชิ้นนี้ก็ถูกอนุรักษ์ไว้
ข้อมูล โรม บุนนาค
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2021 12:52 am    Post subject: Reply with quote

ใครจะไปนึกว่ามีคนงานญี่ปุ่นร่วมสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา ช่วงดงพระยาเย็น เสียจนโดนไข้ป่ากินตายไปเยอะ จนต้องมีการสร้างอนุสรณ์สถานที่วัดแก่งคอย
https://www.silpa-mag.com/history/article_14862

ทางรถไฟสายมรณะฝั่งพม่าก็โหดไม่าแพ้ฝั่งไทยเลยยิ่งมีโรคอหิวาตกโรคระบาดที่ลมามาฝั่งไทยด้วยยิ่งไปกันใหญ่
https://www.silpa-mag.com/history/article_66392
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2021 3:17 pm    Post subject: Reply with quote

การเดินทางไปทางรถไฟรวมทั้งภาพรถพระที่นั่งคราวเสด็จประทับวังไกลกังวลที่หัวหิน
https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/permalink/2862416337421200/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 61, 62, 63 ... 73, 74, 75  Next
Page 62 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©