Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179851
ทั้งหมด:13491083
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) สนามบินสุวรรณภูมิ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) สนามบินสุวรรณภูมิ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2021 3:39 pm    Post subject: Reply with quote


การใช้งาน APM Suvannabhum


“ต้อนรับรถไฟฟ้า APM” INTERLINK ผนึก SIEMENS ส่งรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ต้อนรับรถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover : APM) ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมี คุณเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) : AOT และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

คุณสมบัติ อนันตรัมพร เปิดเผยว่า หลังจากที่ ILINK ได้ชนะการประกวดราคาจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ใน “โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2” ในงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) มูลค่า 2,100 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือของบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหาระบบรถไฟฟ้ารุ่น Airval สำหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) โดยขบวนแรกถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ที่ผ่านมา ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และขนย้ายมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ โดยบริษัทจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM ครบทั้ง 6 ขบวนภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายใน เดือนเมษายน 2565

สำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM นั้น เป็นเทคโนโลยีของซีเมนส์ ผู้นำด้านรถขนส่งโดยสารอัตโนมัติไร้คนขับของโลก สำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น จะวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1)โดยเป็นระบบรางวิ่ง 4 รางคู่ขนาน ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร และมีจำนวน 2 สถานี วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชั่วโมง

รถไฟฟ้า APM นี้เป็นรุ่น Airval มีโรงงานผลิตอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยบริษัทจะนำเข้าทั้งหมด 6 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รวมเป็น 12 ตู้ ซึ่งใน 1 ขบวนสามารถจุผู้โดยสารได้ 210 คน รูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ มีระบบควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลาง พร้อมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) ที่จะเป็นระบบการทำงานอัตโนมัติ ที่พัฒนาขึ้นมาจากประเทศฝรั่งเศส มีระบบรางวิ่งแบบ central rail-guided APM ที่มีรางจ่ายไฟบริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง มีระยะเบรคสั้น ล้อของรถ Airval เป็นยาง ซึ่งจะยึดเกาะได้ดีในพื้นที่ลาดเอียงและให้เสียงที่เงียบกว่าเมื่อเข้าโค้งเมื่อเทียบกับรถไฟระบบอื่น ๆ นอกจากนี้ นวัตกรรมด้านระบบการจัดเก็บและสำรองพลังงานของระบบรถไฟฟ้ารุ่นนี้ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“รถไฟฟ้ารุ่นนี้ของซีเมนส์ เป็นรุ่นเดียวกับที่วิ่งบริการที่สนามบินดูไบ แฟรงก์เฟิร์ต ปารีส ชิคาโก้ และยังให้บริการรถไฟฟ้าในเมืองต่างๆ ของฝรั่งเศส ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอิตาลี ส่วนประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินภายใต้ความร่วมมือของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ” คุณสมบัติ อนันตรัมพร กล่าว

“อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการจะพบเจออุปสรรคมากมาย อาทิ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินยูโร ระยะเวลาในการส่งมอบรถที่ล่าช้ากว่ากำหนด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อินเตอร์ลิ้งค์ฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ ดั่งวิสัยทัศน์ของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ที่เราจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย เราพร้อมให้บริการประชาชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ด้วยรถไฟฟ้าไร้คนขับที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดีที่สุดในโลกอย่างซีเมนส์ เพื่อยกระดับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในเอเชียที่มีศักยภาพในระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้อย่างน้อย 60 ล้านคนต่อปี ” คุณสมบัติ อนันตรัมพร กล่าวทิ้งท้าย
https://www.youtube.com/watch?v=oh8ca5AaDAE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2021 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
หน้า Tech / ฟินเทค-นวัตกรรม
23 เมษายน 2564 เวลา 17:43 น.

ครั้งแรกในประเทศไทย “APM Demo Run” อินเตอร์ลิ้งค์ฯ พาทดสอบรถไฟฟ้าไร้คนขับในสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมเปิดบริการปลายปี 2565

นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK เปิดเผยว่า หลังจากที่ ILINK ได้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ภายใต้ความร่วมมือของคณะนิติบุคคลร่วมทำงานไออาร์ทีวี (IRTV) และบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ยี่ห้อ SIEMENS รุ่น Airval สำหรับ “โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2” นั้น


รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ถูกส่งมอบให้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แล้วจำนวน 4 ขบวน และจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM จนครบทั้ง 6 ขบวนภายในสิ้นปีนี้ ปัจจุบันรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้ง 4 ขบวน ได้ทดสอบวิ่งบนรางในอุโมงค์ใต้ดินระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร โดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิต SIEMENS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM คืบหน้ากว่า 80% ไม่พบปัญหาในการทดสอบระบบ สามารถเดินรถได้ตามมาตรฐาน โดยการทดสอบระบบครั้งนี้เป็นการทดสอบทางกลศาสตร์ (Dynamic Test) ต้องใช้พนักงานในการควบคุมรถ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 40 กม. ต่อชั่วโมง (ชม.) และหลังจากนี้จะเป็นการทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เพื่อให้มีความเสถียร แม่นยำ และตรงต่อเวลา คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายในเดือนตุลาคม ปี 2565 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิรถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65

รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) จะบริการรับ – ส่ง ผู้โดยสาร 2 สถานี คือสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก บริเวณชั้น B2 คอนคอร์ด D กับ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) บริเวณชั้นใต้ดิน B2 บริเวณ Gate S114-S115 ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งบริการทุกๆ 3 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชั่วโมง ส่วนชั่วโมงเร่งด่วนสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5,960 คนต่อชั่วโมง โดยรูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เป็นระบบการควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลางผ่านห้องปฏิบัติการ OCC (Operation Control Center) พร้อมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) แบบ Moving Block ระบบรางวิ่งเป็นแบบ central rail-guided APM ช่วยให้รถไฟฟ้าเดินทางไปมาในทิศทางที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการทำงานแบบไร้คนขับโดยสมบูรณ์รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65
รถไฟฟ้าไร้คนขับสุวรรณภูมิพร้อมบริการปลายปี 65


“ขณะนี้งานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ APM มีความคืบหน้าไปกว่า 80% อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทดสอบการเดินระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเสถียร ปลอดภัย แม่นยำ ตรงต่อเวลา เพื่อส่งมอบรถไฟฟ้าไร้คนขับที่ทันสมัยและดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการ เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดั่งวิสัยทัศน์ของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย” นายสมบัติกล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/04/2021 8:34 am    Post subject: Reply with quote

ทดลองเดินรถแล้ว!!รถไฟฟ้าไร้คนขับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคาร'สนามบินสุวรรณภูมิ'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

เปิดทดลองเดินรถแล้วสำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับในสนามบิน สุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมเปิดให้บริการวันที่ 1 ต.ค. ปี 2565

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ ILINK ผู้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ภายใต้ความร่วมมือ ของคณะนิติบุคคลร่วมทำงาน ไออาร์ทีวี (IRTV) และบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ยี่ห้อ SIEMENS รุ่น Airval สำหรับ "โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2"

นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อิน เตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า เป็นการเดินรถครั้งแรก ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่หลังจากนี้จะมีรถไฟฟ้าไร้คนขับให้บริการภายในสนามบินทัดเทียมกับนานาประเทศ เดิมมีแผนจะจัดงานให้ยิ่งใหญ่ แต่เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้ต้องจัดงานเล็ก ๆ กะทัดรัด มีผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 50 คนตามข้อกำหนดของรัฐบาล อย่างไรก็ตามขณะนี้ภาพรวมของงานรถไฟฟ้าไร้คนขับ มีความคืบหน้ากว่า 80% หลังจากนี้จะทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเสถียร ปลอดภัย แม่นยำ และตรงต่อเวลา ก่อนจะส่งมอบให้แก่ ทอท. เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการผู้โดยสารต่อไป

ทั้งนี้รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ถูกส่งมอบให้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แล้วจำนวน 4 ขบวน และจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM จนครบทั้ง 6 ขบวนภายใน สิ้นปีนี้ ซึ่งรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้ง 4 ขบวน ได้ทดสอบ วิ่งบนรางในอุโมงค์ใต้ดินระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลัง ที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร (กม.) โดย ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิต SIEMENS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM คืบหน้ากว่า 80% ไม่พบปัญหาในการทดสอบระบบ สามารถเดินรถได้ตามมาตรฐาน โดยการทดสอบระบบครั้งนี้เป็นการทดสอบทางกลศาสตร์ (Dynamic Test) ต้องใช้พนักงานในการควบคุมรถ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 40 กม. ต่อชม. และหลังจากนี้จะเป็นการทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เพื่อให้มีความเสถียร แม่นยำ และตรงต่อเวลา

คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายในเดือน ต.ค. 2565 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบ ไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ

รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) จะบริการรับ-ส่งฟรีแก่ผู้โดยสาร 2 สถานี คือสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก บริเวณชั้น B2 คอนคอร์ด D กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) บริเวณชั้นใต้ดิน B2 บริเวณ Gate S114-S115 ระยะทางวิ่ง 1 กม. ด้วยความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. ใช้เวลา 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งบริการทุก ๆ 3 นาที ตลอด 24 ชม. รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชม.

ส่วนชั่วโมงเร่งด่วนรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5,960 คนต่อชม. โดยรูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) ควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลางผ่านห้องปฏิบัติการ OCC (Operation Control Center) พร้อมด้วยระบบอาณัติ สัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) แบบ Moving Block ระบบรางวิ่งเป็นแบบ central rail-guided APM ช่วยให้รถไฟฟ้าเดินทางไปมาในทิศทางที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการทำงานแบบไร้คนขับโดยสมบูรณ์

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท. กล่าวว่า การเดินรถยังเป็นการทดสอบทางกลศาสตร์ (Dynamic Test) ที่ต้องใช้พนักงานเป็นผู้ควบคุม แต่รถจะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า หลังจากนี้จะติดตั้งระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control) และทำการทดสอบเดินรถเสมือนจริง ก่อนเปิดให้บริการวันที่ 1 ต.ค. 65

ทั้งนี้ APM สามารถใช้ความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. แต่ในการให้บริการจะใช้ความเร็วประมาณ 40 กม.ต่อชม. เพื่อ ความปลอดภัย สำหรับ APM ให้บริการ 2 สถานี คือ สถานี SAT1 ให้บริการอยู่ที่ชั้น B2 ซึ่งเป็นชั้นใต้ดิน บริเวณเกต S114 -S115 และสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก อยู่ชั้น B2 คอนคอร์ด D

นายกีรติ กล่าวต่อว่า การทดสอบเดินรถครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจ ไม่พบปัญหาใด ๆ โดยได้ทดลองเดินรถทั้งความเร็ว 10 กม.ต่อชม. และ 40 กม.ต่อชม. การเดินรถค่อนข้างนิ่ง ใช้เวลาจากอาคาร SAT1 ไปอาคารหลักประมาณ 2 นาที อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดให้บริการจริงผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกสบาย และมีความปลอดภัย ซึ่งไม่ต้องกังวลแม้รถจะให้บริการอยู่ภายในอุโมงค์ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ได้เตรียมแผนรับมือไว้ทั้งหมดแล้ว โดยได้ทำทางเดินฉุกเฉินให้ ผู้โดยสารสามารถเดินตามอุโมงค์มายังภายนอกได้ รวมทั้งภายในอุโมงค์มีระบบพัดลมระบายอากาศด้วย

แม้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังไม่จบลง แต่เมื่อสายการบินเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แพ้สนามบินชั้นนำของโลก.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2021 6:12 pm    Post subject: Reply with quote

ชานชาลารถไฟฟ้า APM #อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่1
ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ 📸 AOT => มีเสียงวิพากษ์ว่า ภาษาไทยบนป้ายหายไปไหน
https://www.facebook.com/anwar.deae/posts/4873359416013580
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2021 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

ILINK แจ้ง “รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM” เชื่อมอาคารผู้โดยสารหลัก กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สนามบินสุวรรณภูมิ ขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย)ถึงไทยแล้ว เตรียมขนย้ายไปสนามบินสุวรรณภูมิศุกร์นี้
...บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ระบุว่า ตามที่บริษัทได้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งงานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ(APM) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) หรือ AOT ซึ่งมีมูลค่าสัญญาจ้างจํานวน 2,099.90 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้สั่งจ้างบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จํากัด ประเทศออสเตรีย ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ Automated People Mover (APM) สําหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลัก กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) จํานวนทั้งสิ้น 6 ขบวน (12 โบกี) นั้น
ล่าสุด รถไฟฟ้าไร้คนขับขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย) ได้ถูกจัดส่งถึงประเทศไทยแล้ว ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564 ซึ่งจะมีการขนย้ายไปยังสนามบินสุวรรณภูมิในวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2564 ต่อไป
อ่านเรื่องนี้ต่อที่: https://www.kaohoon.com/news/461016
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2021 1:08 am    Post subject: Reply with quote

มาครบแล้ว! รถไฟฟ้า APM สุวรรณภูมิ จ่อเปิดใช้ ต.ค. 65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:27 น.


รับครบแล้ว รถ APM สนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 6 ขบวน 12 ตู้ จุคนได้ 5.9 พันคน/ชั่วโมง เล็งเปิดให้บริการ ต.ค. 65

วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) รับรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย) ที่ได้ขนส่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ณ สำนักงานบริหารโครงการก่อสร้าง ทสภ.

ซึ่งรถไฟฟ้า APM เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2 โดยหลังจากนี้ AOT จะมีการทดสอบการใช้งานระบบรถไฟฟ้า APM ร่วมกันทั้ง 6 ขบวน ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ตามแผนจะกำหนดสถานีที่จะให้บริการ 2 สถานี คือสถานี SAT1 ให้บริการอยู่ที่ชั้น B2 ซึ่งเป็นชั้นใต้ดินบริเวณเกต S114 -S115 และสถานีอาคารผู้โดยสารหลักอยู่ชั้น B2 คอนคอร์ด D โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2565


ทั้งนี้ รถไฟฟ้า APM จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคาร SAT-1 ในระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 นาที และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คน/ขบวน หรือประมาณ 5,900 คน/ชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ APM สำหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ขบวน (12 ตู้) มีบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK เป็นผู้ชนะด้วยราคา 2,099 ล้านบาท




โดยรุ่นของ APM ที่นำมาใช้ผลิตโดยบริษัท SIEMENS ผลิตในรุ่น AIRVAL ที่ใช้ระบบรางวิ่งแบบ central rail-guided APM มีรางจ่ายไฟ 750 VDC บริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง มีความถี่ในการวิ่งให้บริการสูง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีระยะเบรกสั้น ล้อรถเป็นยาง ซึ่งจะยึดเกาะได้ดีในพื้นที่ลาดเอียง และให้เสียงที่เงียบกว่าระบบไฟฟ้าอื่น ๆ น้ำหนักทั้งหมดอยู่ที่ 31.223 ตัน/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คน/ขบวน แบ่งเป็น 16 คนนั่ง 194 คนยืน ซึ่งจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 3,590 คน/ชั่วโมง/เที่ยว

รถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัตAPMขบวนสุดท้ายถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว
หน้าข่าวทั่วไป
วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:48 น.

ทอท.รับมอบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ APM ขบวนสุดท้ายที่ขนส่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่2

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. (AOT) รับรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ขบวนที่ 6 (ขบวนสุดท้าย) ที่ได้ขนส่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ณ สำนักงานบริหารโครงการก่อสร้าง ทสภ. ซึ่งรถไฟฟ้า APM เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2

โดยหลังจากนื้ทอท.จะมีการทดสอบการใช้งานระบบรถไฟฟ้า APM ร่วมกันทั้ง6 ขบวน ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ต่อไป


ทั้งนี้ รถไฟฟ้า APM จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 SAT-1 ในระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 นาที

สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2021 2:36 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าAPM “สุวรรณภูมิ” ทดสอบเต็มสปีด80ยังไร้ที่ติ
*1 กม.วิ่งฉิว 2นาทีเทสต์ระบบวนไปนัดส่งงานสิ้นปีนี้
*รออาคารใหม่(Sat1)เปิดบริการพร้อมกันเม.ย.ปี66
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3011639539057544
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2021 7:20 am    Post subject: Reply with quote

รู้จัก 'SAT1' ยานลูก 'สนามบินสุวรรณภูมิ' นั่งรถไฟฟ้า APM 2 นาทีต่อเครื่องบิน
Source - เดลินิวส์
Sunday, October 31, 2021 05:23

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จัดกิจกรรม Press Visit นำคณะสื่อมวลชนตรวจเยี่ยม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) นอกจากจะประกาศความพร้อมของท่าอากาศยานรองรับการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 ตามนโยบายรัฐบาลแล้ว ยังพาเยี่ยมชมเครื่อง KIOSK สำหรับ เช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service : CUSS) 196 เครื่อง และระบบรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (Common Use Bag Drop : CUBD) 42 เครื่อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้ผู้โดยสาร ลดเวลารอคิวเช็กอิน และลดการสัมผัส เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

นายนิตินัย กล่าวว่า หลังเกิดโควิด-19 การให้บริการของสนามบินได้เปลี่ยนไป เน้นการเดินทางแบบวิถีใหม่ (New Normal) นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ เพื่อลดสัมผัส ซึ่งเครื่องเช็กอินอัตโนมัติ ผู้โดยสารจะเช็กอิน และเลือกที่นั่งได้ด้วยตนเอง เพราะเครื่องจะแสดงรายละเอียดของที่นั่งได้เสมือนจริง ดูเข้าใจง่าย นอกจากนี้ยัง สามารถเช็กอินล่วงหน้า 6-12 ชั่วโมง (ชม.) ก่อนเดินทาง และเมื่อเช็กอินเรียบร้อย สามารถนำกระเป๋าสัมภาระโหลดผ่านเครื่องรับกระเป๋าฯ ได้ด้วยตนเอง ได้ติดตั้งเครื่องกระจายบริเวณแถวเช็กอิน ตั้งแต่ Row B ถึง Row U ชั้น 4 อาคารผู้โดยสาร ทสภ. และยังมี แผนนำระบบจดจำใบหน้า (ไบโอเมทริกซ์) มาใช้ยืนยันตัวตนผู้โดยสาร ขณะเดียวกันจะเปิดให้ใช้แอพพลิเคชั่น SAWASDEE by AOT ซึ่งมีระบบการทำงานที่หลากหลาย ช่วยอำนวยความสะดวกในงานบริการต่าง ๆ ให้ผู้โดยสารด้วย

ในโอกาสนี้ได้นำคณะสื่อมวลชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite : SAT 1) เพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมอาคาร SAT 1 ด้วย

รถไฟฟ้า APM จะนำมาให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารฟรีภายใน ท่าอากาศยานของประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการ พร้อมกับการเปิดใช้ SAT 1 ในเดือน เม.ย. 66 ขณะนี้การก่อสร้าง SAT 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังทดสอบการทำงานร่วมกันของแต่ละระบบ จะเหลืองานระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด อยู่ระหว่างติดตั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ก.ค.-ส.ค. 65 ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์จะตกแต่งร้านค้า และร้านอาหาร ประมาณเดือน ต.ค. 65

ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า อาคาร SAT1 มีพื้นที่ 2.16 แสนตารางเมตร (ตร.ม.) สูง 4 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้น B2 รถไฟฟ้า APM ชั้น B1 งานระบบ ชั้น G ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ชั้น 2 ผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 3 ผู้โดยสารขาออก และชั้น 4 ร้านค้า ร้านอาหารมี 28 หลุมจอดอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารของ ทสภ. จากปัจจุบัน 45 ล้านคน เป็น 60 ล้านคนต่อปี และรองรับเที่ยวบินได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 60-63 เที่ยวบิน ต่อชม. เป็น 68 เที่ยวบินต่อชม.

ในการออกแบบอาคารได้ต่อยอดสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับอาคารเทียบเครื่องบินเดิม โดยหลังคาตรงกลางของอาคารถูกยกให้สูงขึ้นกว่าส่วนอื่น ๆ เลียนแบบการไล่ระดับหลังคา เป็นชั้น ๆ ในสถาปัตยกรรมไทย

ภายในอาคารได้ตกแต่งอย่างงดงาม ทรงคุณค่า ทันสมัย โอ่โถง ไม่อึดอัด มีเอกลักษณ์ สร้างความจดจำ และเป็นที่ประทับใจของนักเดินทาง โดยติดตั้งประติมากรรมช้างเผือก 'คชสาร(น)" มีขนาด 7 เมตร และ 5 เมตร ไว้บริเวณโถงกลาง ชั้น 3 ถือเป็นประติมากรรมชิ้นเดียวในโลก ซึ่งขึ้นรูปงานในลักษณะการสานวัสดุสเตนเลสด้วยมือ สะท้อนรูปแบบหัตถศิลปะงานสานแบบพื้นบ้านของไทยได้อย่างสวยงาม ทำให้เกิดเป็นจุดหมายตาแรกของอาคาร

ขณะที่ห้องน้ำบริเวณชั้น 2 และ 3 ได้ออกแบบ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบาย และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก อีกทั้งได้นำเอกลักษณ์ หรือลักษณะเด่นแต่ละภาค และประเพณีวัฒนธรรม เช่น ลอยกระทง และมวยไทย มาใช้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ ช่วยให้ผู้โดยสารจดจำพื้นที่ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังตกแต่งสวนบริเวณชั้น 2 และ 3 เป็นสวนแนวตั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วย

นายกีรติ กล่าวด้วยว่า อาคาร SAT1 เป็นอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่การบิน (Airside) จะให้บริการผู้โดยสารขาออกที่เช็กอิน และโหลดกระเป๋าสัมภาระที่อาคารผู้โดยสารหลักแล้ว จากนั้นผู้โดยสารจะเดินเข้าไปในเขต Airside ตรงไปยังด้านหลังเกษียรสมุทร บริเวณชั้น 4 Concourse D เพื่อลงไปยังสถานีรถไฟฟ้า APM และนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคาร SAT 1 ส่วน ผู้โดยสารขาเข้า เมื่อลงเครื่องบินที่ SAT1 ต้องลงไปยังชั้น B2 เพื่อนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคารผู้โดยสารหลักไปยังห้องโถงผู้โดยสารขาเข้า และจุดรับกระเป๋าสัมภาระต่อไป

สำหรับรถไฟฟ้า APM เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับล้อยาง รุ่น Airval ปัจจุบันขนส่งจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ถึง ทสภ. ครบแล้ว 6 ขบวน 12 ตู้ โดย 1 ขบวน มี 2 ตู้ ขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชม. เบื้องต้นในการให้บริการจะนำขบวนรถวิ่งพร้อมกันครั้งละ 2-3 ขบวนต่อเส้นทาง ส่วนอีก 1 ขบวนเก็บไว้ใช้สำรอง การเดินรถภายในอุโมงค์มี 4 ทางวิ่ง แบ่งเป็น สายสีแดง และสายสีเขียว สำหรับผู้โดยสารขาเข้า และออก ให้บริการทุกวัน 24 ชม. มี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอาคาร SAT 1 และสถานีอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน โดยรถไฟฟ้า APM จะใช้ความเร็วในการเดินรถสูงสุดที่ 80 กม.ต่อชม. ระยะทางต่อเที่ยวประมาณ 1 กิโลเมตร (กม.) ใช้เวลาประมาณ 2 นาที.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size


---------


อัพเดตความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า APM สุวรรณภูมิ ถึงไหนแล้ว
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 02 พ.ย. 2564 เวลา 14:54 น.

“กรมราง” ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานรถไฟฟ้า APM สุวรรณภูมิ พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เล็งเปิดให้บริการประชาชนช่วงปี 65 ทั้งหมด 6 ขบวน รองรับผู้โดยสาร 1,260 คน

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ลงพื้นตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง และตรวจสอบประเมินด้านความปลอดภัยของระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะนี้รถไฟฟ้าระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) ที่จะนำมาให้บริการประชาชนในช่วงประมาณปี 2565 จะใช้รูปแบบรถไฟฟ้าล้อยาง จำนวน 6 ขบวน ความเร็วให้บริการประมาณ 50-55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 210 คนต่อขบวน หรือ 6,000 คนต่อชั่วโมง ระยะเวลาการรอคอย (Headways) ประมาณ 3 นาที ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 นาที โดยจะวิ่งผ่านอุโมงค์ที่เชื่อมระหว่างอาคารเทียบบินเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) กับอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) ซึ่งอาคารเทียบฯ 1 จะเปิดให้บริการประมาณปี 2566

Click on the image for full size

ทั้งนี้การลงพื้นตรวจติดตามนั้นเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ของ ขร. ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานตัวรถ APM งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ และ มาตรฐานการปฏิบัติงาน SOPs ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ ขร. กำหนดแนวทางไว้หรือไม่ โดยจากการตรวจเบื้องต้น พบว่าระบบรถไฟฟ้าล้อยางดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของ SOPs โดยเฉพาะกรณีเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ ทาง ขร. จะได้ประสานติดตามต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2021 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางติ๊กผ่าน! รถไฟฟ้าAPM@สุวรรณภูมิ
*6ขบวนได้มาตรฐานความปลอดภัย
*รอตรวจสอบแนวปฏิบัติเหตุฉุกเฉิน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3037029616518536


กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอังคาร ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 14.21 น.

วันนี้ (2 พ.ย. 64) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง และตรวจสอบประเมินด้านความปลอดภัยของระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมี ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และเจ้าหน้าที่ ทอท. ให้การต้อนรับ
ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ของ ทอท. ที่จะนำมาให้บริการประชาชนในช่วงประมาณปี 2565 นี้ เป็นประเภทรถไฟฟ้าล้อยาง จำนวน 6 ขบวน ความเร็วให้บริการประมาณ 50-55 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 210 คน/ขบวน หรือ 6,000 คน/ชั่วโมง ระยะเวลาการรอคอย (Headways) ประมาณ 3 นาที ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 นาที โดยจะวิ่งผ่านอุโมงค์ที่เชื่อมระหว่างอาคารเทียบบินครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) กับอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) ซึ่งอาคารเทียบฯ 1 จะเปิดให้บริการประมาณปี 2566
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจติดตามในวันนี้เจ้าหน้าที่ของ ขร. ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานตัวรถ APM งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ และ มาตรฐานการปฏิบัติงาน SOPs ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ ขร. กำหนดแนวทางไว้หรือไม่ โดยจากการตรวจเบื้องต้น พบว่าระบบรถไฟฟ้าล้อยางดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของ SOPs โดยเฉพาะกรณีเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ ทาง ขร. จะได้ประสานติดตามต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2021 7:21 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมรางติ๊กผ่าน! รถไฟฟ้าAPM@สุวรรณภูมิ
*6ขบวนได้มาตรฐานความปลอดภัย
*รอตรวจสอบแนวปฏิบัติเหตุฉุกเฉิน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3037029616518536

รถไฟฟ้าAPM@บินสุวรรณภูมิ ขร.ติ๊กผ่าน6ขบวนได้มาตรฐาน
Source - เดลินิวส์
Wednesday, November 03, 2021 05:46

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง และตรวจสอบประเมินด้านความปลอดภัยของรถไฟฟ้าขนส่ง ผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ ของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ที่จะนำมาให้บริการประชาชนประมาณปี 66

สำหรับการลงพื้นที่ตรวจติดตามในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ ขร. ได้ตรวจสอบมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานตัวรถ APM งานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณและมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOPs ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ ขร. กำหนดแนวทางไว้หรือไม่ โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าระบบรถไฟฟ้าล้อยางเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในส่วนของ SOPs โดยเฉพาะกรณีเหตุฉุกเฉินอยู่ระหว่างการจัดทำ ซึ่งทาง ขร. จะได้ประสานติดตามต่อไป

สำหรับรถไฟฟ้า APM จะเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite : SAT 1) เป็นอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่การบิน (Airside)จะให้บริการผู้โดยสารขาออกที่เช็กอินและโหลดกระเป๋าสัมภาระที่อาคารผู้โดยสารหลักแล้วจากนั้นผู้โดยสารจะเดินเข้าไปในเขต Airside ตรงไปยังด้านหลังเกษียรสมุทรบริเวณชั้น 4 Concourse D เพื่อลงไปยังสถานีรถไฟฟ้า APM และ นั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคารSAT 1 ส่วนผู้โดยสาร ขาเข้า เมื่อลงเครื่องบินที่ SAT1 ต้องลงไปยังชั้น B2 เพื่อนั่งรถไฟฟ้า APM มายังอาคารผู้โดยสารหลักไปยัง ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้าและจุดรับกระเป๋าสัมภาระต่อไป

สำหรับรถไฟฟ้า APM เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับล้อยางรุ่น Airval ปัจจุบันขนส่งจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียถึง ทสภ. ครบแล้ว 6 ขบวน 12 ตู้ โดย 1 ขบวน มี 2 ตู้ ขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 210 คนต่อขบวน หรือประมาณ 5,900 คนต่อชม. เบื้องต้นในการให้บริการจะนำขบวนรถวิ่งพร้อมกันครั้งละ 2-3 ขบวนต่อเส้นทาง ส่วนอีก 1 ขบวนเก็บไว้ใช้สำรอง การเดินรถภายในอุโมงค์มี 4 ทางวิ่ง แบ่งเป็นสายสีแดงและสายสีเขียว สำหรับผู้โดยสารขาเข้าและออก ให้บริการทุกวัน 24 ชม. มี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอาคาร SAT 1 และสถานีอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน โดยรถไฟฟ้า APM จะใช้ความเร็วในการเดินรถสูงสุดที่ 80 กม.ต่อชม. ระยะทางต่อเที่ยวประมาณ 1 กิโลเมตร (กม.) ใช้เวลาประมาณ 2 นาที.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6  Next
Page 3 of 6

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©