RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181801
ทั้งหมด:13493040
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 127, 128, 129 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2021 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

ต้นแบบรถไฟฟ้าประชารัฐปังหรือพัง

10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:03 น.


สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กำลังจะหมดลงในปี 2572 นี้ ยังคงเป็นปัญหาที่ถกกันไม่จบว่าจะขยายสัญญาแลกหนี้หรือไม่ขยายดี ซึ่งมีทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยนายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI) และประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ได้ออกมาสะท้อนมุมมองเรื่องของระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า ในหัวข้อ “ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปังหรือพัง” ..ที่กำลังเป็นประเด็นสุดฮอตของคนกรุงอยู่เวลานี้

เทรดฟอเร็กซ์ไปกับโบรกฯที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก
IC Markets
ทั้งนี้ นายเกรียงศักดิ์ได้ระบุถึงข้อดี-ข้อเสียของการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ แต่สุดท้ายสรุปว่ารูปแบบที่ดีที่สุดคือ การที่ภาครัฐควรลงทุนเอง และใช้เครื่องมือทางการเงินการคลังเพื่อคลายข้อจำกัดด้านเงินลงทุน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการเพื่อให้ต้นทุนดำเนินงานต่ำสุด

นอกจากนี้ยังแนะนำให้รัฐบาลควรต้องทบทวนการจะต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะสิ้นสุดใน 8-9 ปีข้างหน้าเสียใหม่ โดยรอให้สัมปทานสิ้นสุดลงแล้วนำมาบริหารจัดการเอง เพราะจะทำให้สามารถกำหนดนโยบายรถไฟฟ้าได้เอง มีความยืดหยุ่นในเรื่องการกำหนดอัตราค่าโดยสาร สามารถจะนำเอาดอกผลกำไรที่ได้จากการเดินรถ หรือบริการที่เกี่ยวเนื่องมาชดเชยและปรับค่าโดยสารให้ถูกลง ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เครือข่ายของผู้บริโภคเรียกร้อง คือ "โมเดลรถไฟฟ้าประชารัฐ"

ทำให้คิดถึงโครงการรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” ที่รัฐลงทุนเอง ใช้เงินประมาณ 35,000 ล้านบาท และตั้งบริษัทลูก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ทำการบริหารจัดการเดินรถเองแบบเบ็ดเสร็จ กำหนดค่าโดยสารได้ต่ำ เนื่องจากเป็นบริการของรัฐที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบสนองความต้องการของผู้คน และเป็นบริการเสริมศักยภาพของสนามบินสุวรรณภูมิเป็นหลัก แต่ดูเหมือนล่าสุดภาครัฐได้ยกให้กลุ่มซีพี พ่วงไปกับโครงการรถไฟความเร็วสูง “ไฮสปีดเทรน” ไปแล้ว เพราะ รฟท.แบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว

เมื่อพูดถึง “โมเดลรถไฟฟ้าประชารัฐ” จะรอสายสีเขียวก็คงอีกนาน แต่ก็มีอีกสายหนึ่งที่กำลังดำเนินการขณะนี้น่าจะสามารถทำเป็นโมเดลนำร่องได้เลย คือ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” หรือ รฟม. กำลังดำเนินการอยู่เวลานี้ ไม่ต้องไปเปิดประมูลหาเอกชนมาร่วมลงทุนในโครงการให้มันยุ่งเป็นยุงตีกันอะไรหรอก

หรือเห็นกันจะจะว่าเปิดประมูล แต่วันดีคืนดีตัวผู้บริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกก็ลุกขึ้นมาแก้ไขเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกกันกลางอากาศ จนทำเอาโครงการประมูลสะดุดกึก เกิดการฟ้องร้องกันนัวเนียอย่างที่เห็น จนเรียกล่าสุดนั้นก็นัยว่ายังถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤตมิชอบมีคำสั่งให้รับคำฟ้องที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS ฟ้องเอาผิดผู้ว่า รฟม. และกรรมการคัดเลือก กรณีรื้อเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกและยกเลิกการประมูลโดยไม่ชอบเอาซะอีก

ดังนั้น เมื่อยุ่งวุ่นวายกันอย่างนี้แล้วก็จับมาเป็น Model ต้นแบบรถไฟฟ้าให้รัฐ ให้ รฟม.บริหารเดินรถเสียเองให้มันรู้แล้วรู้รอดกันไป เพราะรถไฟฟ้าสายรัฐบาล โดย รฟม.ลงทุนงานโยธา ในส่วนโครงการสายตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เหลือแค่จัดซื้อระบบรถไฟฟ้ากับขบวนรถไฟฟ้ามาวิ่งก็จบแล้ว ส่วนสายสีส้มตะวันตกก็ทำเป็นเฟส 2 หรืออย่างไรก็ค่อยมาว่ากัน เมื่อรับบริการการเดินรถเองก็สามารถกำหนดค่าโดยสารให้มันถูกเป็น “รถไฟฟ้าประชารัฐ” เพื่อคนกรุง

จริงอยู่ การให้สัมปทานรถไฟฟ้าอาจไม่ทำให้ราคาค่าโดยสารต่ำกว่า เนื่องจากเอกชนย่อมมีเป้าหมายในการแสวงหากำไร แต่กระนั้นการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าของ BTS หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน/สายสีม่วงของ รฟม.นั้น รัฐเป็นผู้กำหนดค่าโดยสารมาแต่แรก และมีกลไกการปรับค่าโดยสารให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น หาใช่เอกชนจะกำหนดได้เองตามอำเภอใจ

และหากจะย้อนไปดูไส้ในโครงการเหล่านี้ก็ล้วนมีการกำหนดทางหนีทีไล่กรณีปริมาณผู้โดยสารในอนาคตไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างกรณีที่ปริมาณผู้โดยสารสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ทุกโครงการก็มักจะมีเงื่อนไขและข้อกำหนดให้เอกชนต้องแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐเพิ่ม แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นและเป็นไปนั้น เกือบทุกโครงการต่างมีปริมาณผู้โดยสารต่ำกว่าคาดการณ์ทั้งสิ้น แต่ก็ยังไม่เห็นมีเอกชนรายใดหยุดให้บริการ

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส (BTS) ที่เห็นกำไรทะลักในวันนี้ ก็ต้องยอมรับว่ากว่าจะเดินมาถึงวันนี้ ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ต้อง “แฮร์คัตหนี้” เจ็บตัวไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ในช่วงก่อนหน้านี้

ถ้ามาดูในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่นนั้น รัฐบาลเขาอุดหนุนบริการสาธารณะ อย่างรถไฟฟ้านี้ในส่วนงานที่เป็นงานโยธา (Civil work) แบบเดียวกับที่รัฐบาลให้ รฟม.นั่นแหละ เพื่อที่บริษัทเอกชน หรือบริษัทมหาชนที่ให้บริการสามารถจัดเก็บค่าโดยสารในราคาที่เหมาะสมหรือราคาถูกลงได้ ก่อนที่ภายหลังจะมีการแปรรูปกิจการเป็นบริษัทมหาชนจนสามารถยืนบนขาตนเองได้ไม่ต้องแบมือขอเงินอุดหนุนใดๆ จากรัฐ

แต่บ้านเรานั้นไม่รู้เป็นไง หลักการนี้ถึงได้บิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น เพราะขนาดเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่รัฐบาลจัดงบลงทุนค่าก่อสร้างที่เป็นงานโยธาให้ทั้งหมดไปแล้ว บริษัทเอกชนเพียงจัดหาระบบรถไฟฟ้าและจัดซื้อขบวนรถมาวิ่งให้บริการและรับสัมปทานอันเป็นงาน Long term maintenance หรือการบำรุงรักษาในระยะยาว แต่ก็กลับจัดเก็บค่าโดยสารราวกับว่าเป็นผู้ลงทุนเองซะงั้น

เท็จจริงประการใดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องออกมาอธิบายอย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งและโปร่งใสกับทุกคน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2021 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

"กรมฯราง"ลุยให้ความรู้สมุนไพรป้องกันโควิดบนรถไฟฟ้าบีทีเอส
ศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 น.

กรมฯราง ลุยเพิ่มช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิ รพ.อภัยภูเบศร บนรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความรู้ให้คนไทยใช้สมุนไพรป้องกันโควิดผ่านสื่อภายในขบวนรถ คาดเริ่มต้น มิ.ย.นี้                   

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม เพื่อหารือแนวทางการจำหน่ายหรือประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรภายในสถานี และขบวนรถไฟฟ้า BTS ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในการดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่าง กรมการขนส่งทางราง (ขร.), รถไฟฟ้า BTS, มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาภูเบศร และบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) ในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ภายในขบวนรถไฟฟ้า BTS เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลอภัยภูเบศร และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยอย่างถูกวิธี เพื่อดูแลป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19 โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการออกสื่อประชาสัมพันธ์ภายในขบวนรถได้ภายในต้นเดือน มิ.ย.64
                  
นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) ยินดีสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิฯ ผ่านสื่อภายในขบวนรถไฟฟ้า BTS โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน และยังคงสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เชิง CSR ภายในขบวนรถ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้สมุนไพรอย่างถูกวิธีและการดูแลป้องกัน COVID-19 โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รวมทั้งคิดอัตราเช่าพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิฯ ในอัตราพิเศษ เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายของ รมว.คมนาคม ในการสนับสนุนให้มีการจำหน่ายสินค้า OTOP ภายในสถานีรถไฟ/รถไฟฟ้าด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2021 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลกำลังพิจารณา กม.แก้หนี้สายสีเขียว นายกฯ ห่วงค่าโดยสารกระทบ ปชช.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:28 น.
ปรับปรุง: 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:28 น.

โฆษกรัฐบาล เผย อยู่ในขั้นพิจารณาตามกม.แก้หนี้สายสีเขียว รับ “ประยุทธ์” ห่วงค่าโดยสารกระทบ ปชช.

วันนี้ (19 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตามกฎหมายต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมและมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียด ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องค่าโดยสารที่จะมีผลกระทบกับพี่น้องประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2021 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รัฐบาลกำลังพิจารณา กม.แก้หนี้สายสีเขียว นายกฯ ห่วงค่าโดยสารกระทบ ปชช.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:28 น.
ปรับปรุง: 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:28 น.


“บีทีเอส”ขึ้นจอทวงหนี้ รัฐบาล "บิ๊กตู่" 30,000ล้าน ปม รถไฟฟ้าสายสีเขียว
21 พฤษภาคม 2564 เวลา 10:44 น.


“บีทีเอส”ขึ้นจอทวงหนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 30,000ล้าน รัฐบาลบิ๊กตู่ โลกโซเชียลแห่แชร์ หลัง4ปี ไม่ได้รับค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย 10,000ล้าน -ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า/เครื่องกล

บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ได้รับผลกระทบอย่างมากหลังเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายให้กับ กรุงเทพมหานครโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นเวลานานกว่า4 ปี นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ที่เริ่มเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) โดยยอด ณ เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา สะสมจำนวน 10,903 ล้านบาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) จำนวน 20,768 ล้านบาท รวมเป็นภาระหนี้สะสมที่ภาครัฐบาลมีต่อบีทีเอสซีเพิ่มขึ้นสูงกว่า 30,000 ล้านบาทในปัจุบัน

อย่างไรก็ตามแม้ บีทีเอสซีจะท้วงถามทั้งทำหนังสือถึงกทม. การอัดคลิบเผยแพร่ในโลกโชเซียลทวงหนี้ การออกมาตั้งโต๊ะแถลงถึงความเดือนร้อนกระทั่ง ประกาศเตรียมยื่นฟ้องศาลเมื่อช่วงปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมาต่อ บริษัทกรุงเทพธนาคมและกทม. แต่ที่ผ่านมา กลับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับมา ล่าสุด เมื่อวันที่20พฤษภาคม ที่ผ่านมาได้ปรากฎภาพบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ขึ้นจอทวงหนี้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกครั้งโดย บีทีเอสซีมีข้อความสำคัญที่ระบุว่า “กราบวิงวอนได้โปรดแก้ไขปัญหานี้ด้วย”ภาพและข้อความดังกล่าว ได้รับความสนใจจากผู้โดยสาร มีการแชร์ต่อๆกันไปในโลกโซเชียล ดังข้อความระบุว่า " ตามที่กรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ค้างชำระค่าจ้างเดินรถกว่า 10,000 ล้านบาท ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องกลอีก 20,000 ล้านบาท สำหรับการให้บริการเดินรถในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร"
"บริษัทได้พยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้สามารถบริการเดินรถให้กับประชาชนได้ แม้จะไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งยังจะมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พวกเราขอ...กราบวิงวอน ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ได้โปรด...แก้ไขปัญหานี้ด้วย" “บีทีเอส”ขึ้นจอทวงหนี้ รัฐบาล "บิ๊กตู่" 30,000ล้าน ปม รถไฟฟ้าสายสีเขียว
“บีทีเอส”ขึ้นจอทวงหนี้ รัฐบาล "บิ๊กตู่" 30,000ล้าน ปม รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ที่ผ่านมานายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตลอดระยะเวลาบริษัทฯ ส่งหนังสือติดตามทวงถามตามกฎหมายให้กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ชำระหนี้แก่บริษัทฯ ซึ่งเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 60 วัน ตามที่บริษัทฯ ได้ระบุไว้ในหนังสือทวงถามนั้น บริษัทฯ ก็ยังไม่ได้รับแจ้งถึงแนวทางการชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากภาครัฐแต่อย่างใด และต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 บริษัทฯ ได้ออกจดหมายและคลิปวีดีโอชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ผู้โดยสาร และประชาชนทั่วไปรับทราบ โดยบริษัทฯ ยืนยันว่าการใช้สิทธิทางกฎหมายที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่เคยกระทำการใดๆ ที่ส่งผลกระทบหรือเรียกร้องให้ภาครัฐใช้อำนาจตามกฎหมายกำหนดอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้น“ปัจจุบันเราอยู่ระหว่างปรึกษาทนายความของบริษัทฯ และรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามกฎหมาย คาดว่าจะเริ่มกระบวนการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเร็วๆนี้ ”

เปิดอีกมิติแห่งการทวงหนี้ 3 หมื่นล้านของ ”บีทีเอส”
*ขึ้นป้ายดิจิทัลแจ้งข้อความบนรถไฟฟ้า-สถานี
*ประจาน&กดดัน”รัฐบาล-กทม.”เอ้ยย!ไม่ใช่ๆ
*กราบวิงวอนนายกรัฐมนตรีได้โปรดแก้ปัญหา
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2908595512695281


Last edited by Wisarut on 22/05/2021 1:44 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2021 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส”นำเจ้าหน้าที่ส่วนหน้าฉีดวัคซีน-ขยายเวลาตั๋วรถไฟฟ้า
20 พฤษภาคม 2564 เวลา 16:36 น.

"บีทีเอส" นำเจ้าหน้าที่ส่วนหน้าฉีดวัคซีนตามนโยบายรัฐบาล ทั้งออกมาตรการดูแลผู้โดยสารเป็นครั้งที่ 3 ขยายเวลาของบัตรโดยสาร ที่มีเที่ยวเดินทางในบัตรหมดอายุ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการ กลุ่มบริษัทบีทีเอส ได้มอบหมายให้ผู้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงพื้นที่ติดตามผล และให้กำลังใจพนักงานส่วนหน้าที่ปฏิบัติงานประจำสถานีรถไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า ที่เดินทางเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา2019 (COVID–19) บริเวณชั้น 3 Sky Hall ศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ตามประกาศนโยบายของรัฐบาล โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่อง การฉีดวัคซีนให้เป็นวาระแห่งชาติ



นายคีรี กล่าวว่า การที่พนักงานส่วนหน้าของรถไฟฟ้าบีทีเอสได้รับวัคซีน เป็นไปตามนโยบาย กรุงเทพมหานคร(กทม.) และกระทรวงคมนาคม ที่ได้ให้กลุ่มบริการระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทในเขตกรุงเทพฯ เข้ารับวัคซีน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง และเป็นกลุ่มที่สัมผัสกับผู้ใช้บริการโดยตรง อีกทั้งขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดมีความรุนแรง การที่พนักงานส่วนหน้ารับวัคซีนจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจในการ ให้บริการกับผู้โดยสารที่ใช้บริการในระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น“มหันตภัยโควิด - 19 ครั้งนี้ยิ่งใหญ่มาก และเราทุกคนต่างได้รับความเจ็บปวดเพราะมัน ถึงแม้จะลำบาก แต่เราก็ต้องสู้กับโรคโควิด - 19 และสู้ไปด้วยกัน ดังนั้นฉีดวัคซีนกันเถอะครับ” คุณคีรี กล่าว “บีทีเอส”นำเจ้าหน้าที่ส่วนหน้าฉีดวัคซีน-ขยายเวลาตั๋วรถไฟฟ้า


นอกจากนี้บริษัทฯ ช่วยบรรเทาผลกระทบภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้โดยสาร ในช่วงวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 โดยออกมาตรการดูแลผู้โดยสารเป็นครั้งที่ 3 ด้วยการขยายเวลาของบัตรโดยสาร ที่มีเที่ยวเดินทางในบัตรหมดอายุในช่วงตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน จนถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2564ผู้โดยสารสามารถทยอยนำบัตรโดยสาร มาติดต่อขอรับสิทธิ์ขยายเวลาเที่ยวเดินทาง ได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 (เที่ยวเดินทางนี้จะมีอายุ 30 วัน นับตั้งแต่การ ใช้ครั้งแรก) ทั้งนี้ บริษัทฯ จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้บริการผู้โดยสารอย่างปลอดภัยและผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังเข้มงวดกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และประชาชนทุกท่าน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่จะเดินทางในระบบรถไฟฟ้า ไปสถานที่ฉีดวัคซีน ตามเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส อาทิ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลลาดพร้าว ไอคอนสยาม สถานีกลางบางซื่อ เป็นต้น​สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บีทีเอส โทรศัพท์ 0 2617 6000 Line Official : @btsskytrain หรือเช็กสถานะการเดินรถได้ที่ Application ‘BTS SkyTrain’ แฟนเพจ Facebook : รถไฟฟ้าบีทีเอส ​​​​
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2021 1:00 am    Post subject: Reply with quote

ปรากฏการณ์ 'BTS' ทวงเงิน กทม. 3 หมื่นล้าน 'ดร.สามารถ' แนะ 2 ทางแก้หนี้ก้อนใหญ่
22 พฤษภาคม 2564

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์ปรากฏการณ์ "BTS" ทวงเงิน กทม. 3 หมื่นล้าน บนจอในขบวนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้า แสดงถึงสภาพสุดจะทน พร้อมแนะทางแก้ปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ของ กทม. และรัฐบาล ผ่าน 2 ทางเลือก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ค ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เกี่ยวกับกรณีที่ "บีทีเอส" ทวงหนี้ "กทม." 3 หมื่นล้าน บนจอในขบวนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าว่า คงอยู่ในสภาพสุดจะทน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงได้เขียนข้อความขึ้นจอในขบวนรถไฟฟ้าและที่สถานีรถไฟฟ้าให้ผู้โดยสารได้รับรู้ว่า กทม. ติดหนี้บีทีเอสกว่า 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ผู้พบเห็นช็อกไปตามๆ กัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้?

นับว่าเป็นการทวงหนี้สุดคลาสสิก หลังจากได้มีหนังสือทวงหนี้ไปแล้วหลายครั้ง แต่ กทม.ก็ยังไม่จ่ายให้ เพราะไม่มีเงินจะจ่าย เนื่องจากมีรายได้จากค่าโดยสารส่วนต่อขยายน้อย ไม่พอที่จะจ่ายหนี้


ถึงวันนี้ (22 พฤษภาคม 2564) กทม. เป็นหนี้บีทีเอสจำนวน 33,222 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้ O&M (Operation and Maintenance) หรือค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา 12,218 ล้านบาท และหนี้ E&M (Electrical and Mechanical) หรือค่าขบวนรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว 21,004 ล้านบาท

หนี้ O&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2560 เมื่อเปิดเดินรถช่วงสถานีสำโรง-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ในวันที่ 3 เมษายน 2560 และหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปิดเดินรถจากสถานีปู่เจ้าสมิงพราย-สถานีเคหะสมุทรปราการ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ตามด้วยการเปิดเดินรถจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และจากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563



หนี้ E&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2559 และได้เพิ่มมากขึ้นในปีที่เปิดเดินรถช่วงต่างๆ เช่นเดียวกับหนี้ O&M

หากหนี้ก้อนใหญ่นี้ กทม. ยังคงไม่จ่ายให้บีทีเอส หนี้ก็จะพอกพูนขึ้นทุกวัน วันละประมาณ 24 ล้านบาท

ทางแก้ปัญหาหนี้ก้อนใหญ่นี้ กทม. และรัฐบาลมีทางเลือกดังนี้
1.เร่งชำระหนี้ให้บีทีเอส ซึ่งถึงวันนี้ (22 พฤษภาคม 2564) มีหนี้จำนวน 33,222 ล้านบาท

เตรียมเงินก้อนใหญ่อีกประมาณ 1 แสนล้านบาท เป็นค่าจ้างเดินรถในช่วงจากนี้ไปจนถึงปี 2572 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานการเดินรถส่วนหลักกับบีทีเอส ค่าดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท (BTSGIF)

หากสามารถทำได้เช่นนี้ ก็สามารถเปิดประมูลหาผู้รับสัมปทานใหม่ได้ตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไป

2. หากไม่มีเงินมาชำระหนี้ได้ และไม่มีเงินสำหรับค่าจ้างเดินรถจนถึงปี 2572 รวมทั้งค่าดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุน BTSGIF ก็จำเป็นที่จะต้องขยายเวลาสัมปทานให้บีทีเอส โดยให้บีทีเอสรับภาระหนี้ รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินรถในช่วงจากนี้ไปจนสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทานที่จะขยายออกไป รับภาระดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุน BTSGIF แทน กทม.


การเดินรถไฟฟ้าเป็น “พันธกิจสาธารณะ” ที่รัฐจะต้องให้บริการแก่พี่น้องประชาชน แต่ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รัฐได้มอบพันธกิจสำคัญนี้ให้เอกชน โดยว่าจ้างให้เอกชนรับภาระหน้าที่นี้แทน เอกชนต้องลงทุนและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินรถรวมทั้งค่าซ่อมบำรุงรักษา เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าได้มาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล แต่เอกชนกลับไม่ได้รับค่าจ้าง

ไม่มีเมืองใดในโลกที่เอกชนทำหน้าที่เดินรถไฟฟ้าแทนภาครัฐแล้วไม่ได้รับค่าจ้างนานถึง 4-5 ปีเช่นกรุงเทพฯ ของเรา

ถามว่าเอกชนจะทนแบกภาระนี้ได้ต่อไปอีกนานแค่ไหน?

“ทำไมถึงทำกับฉันได้?”
https://www.matichon.co.th/economy/news_2678468
https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347/2378984212246468/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2021 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

กล้ามั้ย?? “คมนาคม”เอาสายสีเขียวส่วนต่อขยายคืนไป
*กทม.เปิดข้อเสนอใหม่โอนให้รฟม.บริหารแทน
*กรุงเทพธนาคมหารือบีทีเอสแก้หนี้ 3 หมื่นล้าน
*หนี้นานจะเน่าห่วงประชาชนถือหุ้นกว่าแสนราย
*ไม่เลิกเดินรถเตรียมลดเที่ยววิ่งเซฟค่าใช้จ่าย

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2911608642393968
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 1:11 am    Post subject: Reply with quote

2 ข้อแก้หนี้รถไฟฟ้า 'สายสีเขียว' ลดเที่ยววิ่ง-กทม.เก็บตั๋วส่วนต่อขยาย
25 พฤษภาคม 2564
“บีทีเอส” หารือ “กรุงเทพธนาคม” วาง 2 แนวทางแก้หนี้เดินรถส่วนต่อขยาย 3 หมื่นล้านบาท เล็งลดเที่ยววิ่งนอกเวลาเร่งด่วน พร้อมให้ กทม.เก็บค่าโดยสาร นัดหารืออีกรอบ 2 สัปดาห์ “สุรพงษ์” ย้ำไม่ได้ทำเพื่อต้องการสัมปทาน ห่วงหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2564 ได้หารือกับผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ว่า ได้หารือกันปัญหาหนี้ 30,370 ล้านบาท จากค่าระบบและค่าจ้างเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต และส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ ซึ่งบีเอสเริ่มเดินรถส่วนต่อขยายมา 4 ปีแล้ว แต่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังไม่ได้ชำระให้กับบีทีเอส

ทั้งนี้ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานครและรับผิดชอบการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ได้ชี้แจงกับบีทีเอสว่า กรุงเทพมหานครไม่นิ่งนอนใจ โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำเรื่องนี้หารือในสภากรุงเทพมหานคร และทำหนังสือขอให้รัฐบาลช่วยในเรื่องนี้

สำหรับหนังสือฉบับดังกล่าวระบุถึง 3 แนวทาง ได้แก่

1.ให้รัฐบาลอุดหนุนวงเงินที่ต้องจ่ายให้เอกชน

2.ให้ใช้แนวทางการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน

ADVERTISEMENT


3.ให้โอนโครงการกลับไปเป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด พร้อมที่จะติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้ให้

“บีทีเอสไม่ได้ทำเพื่อต้องการต่อสัมปทาน ในส่วนนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาลและ กทม. แต่เราเป็นห่วงหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีจำนวนสูงมาก ในฐานะที่บีทีเอสเป็นบริษัทจำกัด มหาชน ต้องมีคำตอบให้กับผู้ถือหุ้นซึ่งขณะนี้มีผู้ถือหุ้นอยู่มากกว่าแสนราย” นายสุรพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ การให้บริการทั้งบีทีเอส บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด และกรุงเทพมหานคร มีจุดยืนร่วมกันในเรื่องที่ต้องการให้การเดินรถเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่มีอุปสรรค โดยไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นส่วนหนึ่งที่หารือ คือ ต้องดูว่าในระหว่างที่ยังไม่ได้ข้อยุตินี้จะทำอย่างไรให้เดินรถต่อได้ และลดต้นทุนดำเนินงานด้วย เนื่องจากที่บีทีเอสยังไม่ได้รับค่าจ้างเดินรถในส่วนต่อขยาย แต่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกวัน

นอกจากนี้ มีการหารือว่ามีความเป็นไปในการแก้ปัญหา 2 แนวทาง คือ

1.กรณีในช่วงที่ยังมีสถานการณ์โควิดผู้โดยสารช่วงนอกชั่วโมงเร่งด่วนมีน้อยจะลดจำนวนเที่ยววิ่งของรถลง

2.กรณีกรุงเทพมหานคร และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด จะจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยาย

สำหรับการดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวยังไม่เคยดำเนินการในช่วง 4 ปีที่เริ่มให้บริการส่วนต่อขยาย โดยข้อสรุปจะมาหารือกันในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งมีหลักการต้องไม่กระทบประชาชนเกินไป ซึ่ง 2 ฝ่ายจะไปทำการบ้านมาเสนอในประเด็นอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่จะเก็บ และช่วงเวลาที่จะจะลดเที่ยวการเดินรถ

นายสุรพงษ์ ตอบคำถามประเด็นการฟ้องร้อง ว่า มีการเตรียมไว้กรณีไม่มีข้อยุติหรือไม่มีแนวทางที่ชัดเจน แต่ยังไม่ได้ใช้แนวทางนั้น โดยตอนนี้เน้นในเรื่องของการติดตามข้อเสนอที่มีการยื่นไปยังรัฐบาล และหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายในการเดินรถในส่วนต่อขยาย หรือจะกลับมาเก็บค่าโดยสารได้บ้างหรือไม่

“ส่วนหนี้สินที่มีอยู่แนวทางในการบริหารจัดการบีทีเอสซี คือ ต้องขอเงินจากบริษัทแม่ ซึ่งก็คือบีทีเอสกรุ๊ปมาบ้าง เพื่อบริหารจัดการส่วนนี้ ซึ่งตอนนี้ต้องติดตามว่าจะได้รับการชำระคืนเมื่อไหร่ โดยระยะเวลาที่บริหารจัดการไปพยายามไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะรถไฟฟ้าเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเดินทางในกรุงเทพมหานคร"

ทั้งนี้ บีทีเอสพยายามเดินรถให้นานที่สุดเพื่อบริการประชาชน แต่ขอความเห็นใจให้บีทีเอสในฐานะผู้รับจ้างเดินรถที่ยังไม่ได้รับค่าจ้างส่วนต่อขยายจนหนี้สูงขึ้นต่อเนื่อง

รายงานข่าวจากบีทีเอส ระบุว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2564 บีทีเอสเผยแพร่ข้อความบนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้า 98 ขบวน 60 สถานี ระบุว่าตามที่กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ค้างชำระค่าจ้างเดินรถ 10,000 ล้านบาท ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 20,000 ล้านบาท สำหรับการบริการเดินรถส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ทั้งนี้ บีทีเอสพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้บริการเดินรถให้ประชาชนได้แม้ไม่ได้ค่าจ้าง ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พวกเราขอกราบวิงวอน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โปรดแก้ไขปัญหานี้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

ปัดฝุ่นเก็บค่ารถส่วนขยาย บีทีเอสถกหนี้เคที-อาจลดความถี่รถลดค่าใช้จ่าย
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 08:01 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ประชุมหารือร่วมกับบริษัทกรุงเทพธนาคม เคที เรื่องปัญหาหนี้สินค่าเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเดินรถมา 4 ปีแล้ว ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ปัจจุบันมียอดหนี้สะสมเพิ่มขึ้นกว่า 30,000 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้ค่าจ้างเดินรถตั้งแต่เดือน เม.ย.2560 จนถึงเดือน มี.ค.2564 เป็นเงินกว่า 10,000 ล้านบาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งทางเคทีแจ้งว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามติดตามทวงถามทั้งสภา กทม. และฝ่ายผู้บริหาร โดยพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลให้รัฐบาลช่วยเหลือ ทั้งนี้ ตามที่สภา กทม. มีมติ 3 แนวทาง คือ 1.ให้รัฐจัดเงินอุดหนุน 2.ให้บริษัทร่วมลงทุนตามมติ คสช. และ 3.ให้โอนโครงการคืน รฟม. โดยเคทีต้องตามเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องหนี้สิน เพราะยอดสูงขึ้น

นายสุรพงษ์กล่าวว่า จากการหารือมีการเสนอแนวคิดที่จะลดค่าใช้จ่ายลง ประกอบกับช่วงโควิด-19 จำนวนผู้โดยสารค่อนข้างเบาบางในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่จะลดเที่ยววิ่งเพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือเป็นไปได้หรือไม่ที่เคที กทม.จะเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ซึ่งเป็นเวลา 4 ปีแล้ว ยังไม่เก็บค่าโดยสาร ถ้าจะเก็บควรเก็บเท่าไหร่ โดยอีก 2 สัปดาห์ จะกลับมาพร้อมกับรายละเอียดแต่ละแนวทางมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ส่วนการฟ้องร้องบริษัทก็เตรียมไว้ ถ้าไม่มีข้อยุติหรือแนวทางที่ชัดเจน ต้องพึ่งศาลยุติธรรม ยืนยันว่า ณ เวลานี้ บริษัทยังไม่หยุดรถแน่นอน อาจจะลดภาระลงบ้าง ลดความถี่ ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ ที่ทำทั้งหมดไม่ได้ต้องการสัมปทาน แต่บริษัทที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้าง เรื่องสัมปทานเป็นเรื่องของ กทม.และรัฐบาล.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2021 9:29 pm    Post subject: Reply with quote

ทวงหนี้ 3 หมื่นล้านจนตำรวจต้องแจ้งตำรวจ
https://mgronline.com/pjkkuan/detail/9640000050766
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 127, 128, 129 ... 155, 156, 157  Next
Page 128 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©