RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181506
ทั้งหมด:13492744
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 128, 129, 130 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 10:56 pm    Post subject: Reply with quote

“สภาผู้บริโภค” ค้านต่อสัมปทาน BTS จับตารัฐบาลลักไก่ชง ครม. 1 มิ.ย.
อสังหาริมทรัพย์
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 15:13 น.

“สภาองค์กรผู้บริโภค”ค้านสุดตัวต่อสัมปทานสายสีเขียว “กทม.-BTS” 30 ปี ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท แฉรัฐบาลลักไก่จ่อชงครม. 1 มิ.ย.นี้ ยันค่าโดยสารสูงสุดของสายสีเขียวอยู่ที่ 25 บาทเหมาะที่สุด

วันที่ 30 พ.ค. 2564 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งว่า การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว น่าจะหรืออาจจะถูกบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมวันอังคารที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่จะถึงนี้

สารี อ๋องสมหวัง
สารี อ๋องสมหวัง
โดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยืนยันใช้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียว 65 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินไปทำให้ประชาชนส่วนมาก ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนนี้ได้

นอกจากนี้ยังได้รับการคัดค้านจากทั้งจากคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร สภาองค์กรของผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป

เนื่องจากปัญหาการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่วงหน้าของ กทม.น่าเชื่อว่าขาดความโปร่งใส มีการปกปิดข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจ และไม่มีการรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนในการดำเนินการอย่างครบถ้วน ทำให้กำหนดอัตราค่าโดยสารราคาสูงสุดที่ 65 บาท ซึ่งไม่อยู่บนข้อเท็จจริงต้นทุนและสูงมากถึงร้อยละ 39.25 ของรายได้ขั้นต่ำต่อวันของประชาชน และปล่อยปละละเลยให้ภาคเอกชนทวงหนี้ 30,000 ล้านบาท ต่อสาธารณะที่เข้าข่ายทวงหนี้ผิดกฎหมาย


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงขอคัดค้าน ครม. ที่จะนำสัญญาสัมปทานล่วงหน้าสายสีเขียวเข้ารับการพิจารณาในวันอังคารหน้านี้ เพราะจะเป็นการสร้างวิกฤตใหม่ซ้ำเติมประชาชน นอกเหนือจากปัญหาวิกฤติโควิด-19 ที่เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาวกรุงเทพไปอีกอย่างน้อย 30 ปี (พ.ศ. 2573-2602)

ชี้ 25 บาทสูงสุดเหมาะสมกว่า
จากการศึกษาข้อมูลรายงานประจำปีของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย รศ. ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ พบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีต้นทุนค่าโดยสารต่อเที่ยวเพียง 19.10 บาท, 16.30 บาท และ 13.50 บาท ในปี พ.ศ. 2562, 2561 และ 2560 ตามลำดับ

ดังนั้นจึงน่าจะมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะสามารถกำหนดอัตราราคาค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสายต่อเที่ยวหากไม่มีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่วงหน้า






หรือหากพิจารณารายได้ของบริษัทในการต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า ที่กำหนดรายได้ของบริษัทไว้เพียง 30,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะเวลา 30 ปี ขณะที่รายได้จริงของบริษัทในปี 2562 สูงถึง 39,931 ล้านบาทต่อปี จึงเป็นการคำนวณรายได้ของบริษัทที่ต่ำกว่าจริงหรือไม่ และอาจจะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนหรือไม่ และแน่นอนเป็นการสร้างภาระที่เกินควรให้ผู้บริโภค

หรือหากพิจารณาราคาค่าโดยสารของกระทรวงคมนาคมที่ให้ความเห็นต่อ ครม. ก็มีราคาสูงสุดเพียง 49.83 บาทตลอดสายเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ระบบสายสีเขียวนี้มีกำไรถึง 380,200 ล้านบาท จนถึงระยะเวลาหมดสัมปทานในปี 2602 หากลดราคาดังกล่าวลงมา 50% สามารถมีค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคา 25 บาท กรุงเทพมหานครก็ยังคงมีกำไรสูงถึง 23,200 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในอีก 38 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2602)

เพื่อลดปัญหาค่าครองชีพและลดค่าบริการขนส่งมวลชนของประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาระบบรถไฟฟ้า โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ชานเมืองที่เป็นเป้าหมายของการใช้ระบบรถไฟฟ้าในการเดินทางเข้ามาทำงานในใจกลางกทม. ตลอดจนเพื่อลดความแออัดของการจราจรบนท้องถนนและปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่อันตรายต่อสุขภาพและยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ในปัจจุบัน

จึงขอเสนอให้คณะรัฐมนตรี คงราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวราคา 44 บาทตลอดสาย ตามสิทธิของบริษัทในสัญญาสัมปทานนับแต่ปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2572 โดยมีการจัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ทั้งสัมปทานเดิมส่วนต่อขยายเดิมและส่วนต่อขยายใหม่ เพื่อยึดหลักการเข้าถึงได้ของบริการขนส่งมวลชนของประชาชนทุกคน และคำนึงถึงปัญหาความเดือดร้อนและภาระเกินสมควรของผู้บริโภคท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ในปัจจุบัน

จับตารัฐบาลแอบสอดไส้วาระขึ้นราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าครม. 1 มิ.ย.นี้

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:00 น.



30 พ.ค. 2564 สภาองค์กรของผู้บริโภคได้รับแจ้งให้ทราบว่าการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะถูกบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ในวันอังคารที่ 1 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ โดยกรุงเทพมหานครยืนยันใช้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียว 65 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินไปทำให้ประชาชนส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนนี้ได้

นอกจากนี้ การขึ้นราคาในอัตราดังกล่าวยังได้รับการคัดค้านจากทั้งจากคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร สภาองค์กรของผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป เนื่องจากปัญหาการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่วงหน้าของกรุงเทพมหานครขาดความโปร่งใส ปกปิดข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจ และไม่มีการรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนในการดำเนินการ ทำให้กำหนดอัตราค่าโดยสารราคาสูงสุดที่ 65 บาท ซึ่งไม่อยู่บนข้อเท็จจริงต้นทุนและยังสูงมากถึงร้อยละ 39.25 ของรายได้ขั้นต่ำต่อวันของประชาชน รวมถึงยังปล่อยปละละเลยให้ภาคเอกชนทวงหนี้ 30,000 ล้านบาท ต่อสาธารณะ ซึ่งอาจเข้าข่ายการทวงหนี้ผิดกฎหมายอีกด้วย

สภาองค์กรของผู้บริโภค และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงขอคัดค้านคณะรัฐมนตรีที่จะนำสัญญาสัมปทานล่วงหน้าสายสีเขียวเข้ารับการพิจารณาในวันอังคารหน้านี้ เพราะจะเป็นการสร้างวิกฤตใหม่ซ้ำเติมประชาชน นอกเหนือจากปัญหาวิกฤติโควิด - 19 ที่เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปอีกอย่างน้อย 30 ปี (พ.ศ. 2573 - พ.ศ.2602)

จากการศึกษาข้อมูลรายงานประจำปีของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย รศ. ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ พบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีต้นทุนค่าโดยสารต่อเที่ยวเพียง 19.10 บาท, 16.30 บาท และ 13.50 บาท ในปี พ.ศ. 2562, 2561 และ 2560 ตามลำดับ จึงมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะสามารถกำหนดอัตราราคาค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสายต่อเที่ยวหากไม่มีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่วงหน้า

หากพิจารณารายได้ของบริษัทในการต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า ที่กำหนดรายได้ของบริษัทไว้เพียง 30,000 ล้านบาทต่อปีในระยะเวลา 30 ปี ขณะที่รายได้จริงของบริษัทในปี พ.ศ. 2562 สูงถึง 39,931 ล้านบาทต่อปี จึงเป็นการคำนวณรายได้ของบริษัทที่ต่ำกว่าจริงหรือไม่ และอาจจะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนหรือไม่ รวมถึงราคาดังกล่างจะเป็นการสร้างภาระที่เกินควรให้ผู้บริโภคด้วย หรือ หากจะพิจารณาราคาค่าโดยสารของกระทรวงคมนาคมที่ให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ก็มีราคาสูงสุดเพียง 49.83 บาทตลอดสายเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ระบบสายสีเขียวนี้มีกำไรถึง 380,200 ล้านบาท จนถึงระยะเวลาหมดสัมปทานในปี 2602 หากลดราคาดังกล่าวลงมาเหลือเพียงร้อยละ 50 สามารถมีค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคา 25 บาท และกรุงเทพมหานครก็ยังคงมีกำไรสูงถึง 23,200 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในอีก 38 ปีข้างหน้า
(พ.ศ. 2602)

เพื่อลดปัญหาค่าครองชีพและลดค่าบริการขนส่งมวลชนของประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาระบบรถไฟฟ้า โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ชานเมืองที่เป็นเป้าหมายของการใช้ระบบรถไฟฟ้าในการเดินทางเข้ามาทำงานในใจกลางกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเพื่อลดความแออัดของการจราจร บนท้องถนนและปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่อันตรายต่อสุขภาพและยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ในปัจจุบัน จึงขอเสนอให้คณะรัฐมนตรี คงราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวราคา 44 บาทตลอดสาย ตามสิทธิของบริษัทในสัญญาสัมปทานนับแต่ปัจจุบันจึงปี พ.ศ. 2572 โดยมีการจัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ทั้งสัมปทานเดิม ส่วนต่อขยายเดิม และส่วนต่อขยายใหม่ เพื่อยึดหลักการเข้าถึงได้ของบริการขนส่งมวลชนของคนทุกคน และคำนึงถึงปัญหาความเดือดร้อนและภาระเกินสมควรของผู้บริโภคท่ามกลางวิกฤติโควิด - 19 ในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2021 10:42 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”เล็งวอล์กเอาต์ครม.วาระขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 20:31 น.

“คมนาคม”เล็งวอล์กเอาต์ครม.วาระขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
“สิริพงศ์”ส.ส.ภูมิใจไทย แย้ม“คมนาคม” เตรียมวอล์กเอาต์จาก ครม.วาระพิจารณาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เล็งยื่นฟ้องศาล ด้านเวทีเสวนา ค้าน! ลักไก่ต่อสัมปทาน BTS 30 ปี แลกยกหนี้! เสนอตั้งทีมาทางออกร่วมกัน

วันนี้(31 พ.ค.64) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเสวนาผ่านโปรแกรมซูม คัดค้านการนำเรื่องต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เสนอให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมวันอังคารที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยมี นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผอ.วิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ และ นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมเสวนา


นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กล่าวว่า ตกใจและผิดหวังที่จะมีการนำเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว บรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ ครม.พิจารณา
โดยในวันพรุ่งนี้ สิ่งที่อยากเห็นในมติ ครม.จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องราคา ต้องต่ำกว่า 44 บาท เพราะเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้า และยืนยัน 25 บาท กทม.ก็ยังมีกำไรถึง 23,200 ล้านบาทอีกทั้งหวังว่า จะมีการชะลอการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว และตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาแก้ไขปัญหาได้หาทางออกร่วมกัน และหากพรุ่งนี้ในมติ ครม.รัฐบาลยืนยันจะเก็บ 65 ไป-กลับ 130 บาท หรือ 40% ของค่าแรงขั้นต่ำ รัฐบาลก็ไม่ควรเป็นรัฐบาล เพราะไม่ได้รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่รักษาประโยชน์ไม่ได้มีหน้าที่สร้างภาระให้กับประชาชนไปอีก 38 ปีด้าน นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ กล่าวว่า ในส่วนกระทรวงคมนาคม ที่พรรคภูมิใจไทยดูแลด้วย ไม่เห็นด้วยกับการนำเรื่องเข้า ครม. ได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านถึงนายกรัฐมนตรี ในเรื่องความครบถ้วนของสัญญาสัมปทาน และเหตุใด กทม.ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงโอนหนี้ไปให้กับเอกชน สามารถโอนหนี้ไปให้กับเอกชนได้ด้วยหรือไม่ รวมถึงประเด็นในข้อกฎหมายที่ กทม.ไปตั้งบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจขึ้นมาที่กำลังถูกฟ้องร้อง ชื่อ บริษัท กรุงเทพธนาคม และไปจ้างบริษัทอื่นเดินรถ เป็นการหลบเลี่ยงทางกฎหมายหรือไม่ “หากมีการบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ คิดว่ากระทรวงคมนาคมจะไม่เข้าร่วมการพิจารณาใดๆ ส่วนผมอาจจะต้องดำเนินการยื่นฟ้องที่ศาลปกครองอีกครั้ง” ส.ส.ภูมิใจไทย ระบุ



ส่วน ดร.สุเมธ องกิตติกุล กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังหน่วยงานที่จะนำเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วน ทั้งที่ไม่มีเปิดเผยรายละเอียดและแก้ไขสัญญา และเรียกเก็บ 65 บาทตลอดสาย โดยไม่ลองพิจารณาทางเลือกอื่นๆ มาเปรียบเทียบที่หลายฝ่ายได้เสนอ แต่ยังเอาเรื่องเดิมๆ ร่างสัญญาสัมปทานเดิมที่ไม่เปิดเผยรายละเอียด รวมถึงค่าโดยสารที่ระบุไว้ 65 บาทนั้น ไม่มีที่มาที่ไป ไปบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนใน ครม. “ผมอยากเห็นรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ เป็นระบบเดียวกันทั้งระบบเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลคือ กระทรวงคมนาคม และ กทม. พัฒนาโครงการแยกกันคนละโครงข่าย ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่ตามมา และมีค่าโดยสารที่จะแพงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต”
ทางด้าน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะต่อสัญญาสัมปทานไป 30 ปี และเรียกเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เพราะต้นทุนจริง เพียง 13 บาทต่อเที่ยว ดังนั้น เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน ในปี 2507 การเก็บ 25 บาท จึงมีความเป็นไปได้ เพราะไม่มีเรื่องโครงสร้างต้นทุน ขณะทีบีทีเอสยังมีรายได้อื่นๆ เช่น โฆษณาจากทุกช่องทาง “ทำไมจึงเร่งรีบนำเข้า ครม.ในช่วงที่คนกำลังให้ความสนใจเรื่องวัคซีนโควิด-19 กัน”นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ออกมาเรียกร้องเรื่องอัตราค่าโดยสารที่แพง ขอให้เก็บ 25 บาทตลอดสาย และชะลอการต่อสัญญาสัมปทานไปก่อนไม่ต้องเร่งรีบ เพราะยังเหลือเวลาอีก 8 ปี จึงจะหมดสัญญา จึงอยากให้ตั้่งคณะทำงานร่วมกันเอาข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมาหารือกัน


“ภูมิใจไทย-คมนาคม” จ่อ Walk Out ปมชง ครม. เคาะต่อสัมปทานสายสีเขียว 1 มิ.ย. 64
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 21:16 น.

“ภูมิใจไทย” ผนึก “สภาผู้บริโภค-TDRI-นักวิชาการ” ประสานเสียงค้านแหลกต่อสัมปทานสายสีเขียว “สิริพงศ์” ชี้ “คมนาคม” Walk Out แน่หากหยิบขึ้นมาพิจารณา และฟ้องศาลปกครองซ้ำ ด้าน “สภาผู้บริโภค-TDRI-นักวิชาการ” ตกใจผิดหวังที่รัฐยังดึงดันเสนอ ครม.

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30 น. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภคจัดเสวนา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม “Zoom”ค้านการนำเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะถูกบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ในวันอังคารที่ 1 มิถุนายน 2564

โดยมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย, ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI),รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมการเสวนาในครั้งนี้



“คมนาคม-ภูมิใจไทย” จ่อ WalkOut-ชงศาลปกครอง
เริ่มที่นายสิริพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนกระทรวงคมนาคมที่พรรคภูมิใจไทยดูแลด้วย ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการนำเรื่องเข้า ครม. ได้มีการยื่นหนังสือคัดค้าน ถึงนายกรัฐมนตรี ในเรื่องความครบถ้วนของสัญญาสัมปทาน. และเหตุใด กทม.ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงโอนหนี้ไปให้กับเอกชน เขาสามารถโอนหนี้ไปให้กับเอกชนได้ด้วยหรือไม่ รวมถึงประเด็นในข้อกฎหมายที่ กทม. ไปตั้งบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจขึ้นมาที่กำลังถูกฟ้องร้อง ชื่อ บริษัท กรุงเทพธนาคม และไปจ้างบริษัทอื่นเดินรถ เป็นการหลบเลี่ยงทางกฎหมายหรือไม่


ทั้งนี้หากมีการบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ คิดว่ากระทรวงคมนาคมจะไม่เข้าร่วมการพิจารณาใดๆ ส่วนตนอาจจะต้องดำเนินการยื่นฟ้องที่ศาลปกครองอีกครั้ง

“ผู้บริโภค-TDRI” ผิดหวังรัฐดึงดัน
ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง กล่าวว่า ตกใจและผิดหวังที่จะมีการนำเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ ครม.พิจารณา ทั้งนี้ในวันพรุ่งนี้.(1 มิถุนายน 2564) สิ่งที่อยากเห็นในมติ ครม.จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องราคา ต้องต่ำกว่า 44 บาท เพราะเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้า และยืนยัน 25 บาท กทม.ก็ยังมีกำไรถึง 23,200 ล้านบาท

อีกทั้งหวังว่าจะมีการชะลอการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว และตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาแก้ไขปัญหาได้หาทางออกร่วมกัน และหากพรุ่งนี้ในมติ ครม. รัฐบาลยืนยันจะเก็บ 65 ไป-กลับ 130 บาท หรือ 40% ของค่าแรงขั้นต่ำ รัฐบาลก็ไม่ควรเป็นรัฐบาล เพราะไม่ได้รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่รักษาประโยชน์ไม่ได้มีหน้าที่สร้างภาระให้กับประชาชนไปอีก 38 ปี

ด้านดร.สุเมธ องกิตติกุล กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังหน่วยงานที่จะนำเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วน ทั้งที่ไม่มีเปิดเผยรายละเอียดและแก้ไขสัญญา และเรียกเก็บ 65 บาท ตลอดสาย โดยไม่ลองพิจารณาทางเลือกอื่นๆมาเปรียบเทียบที่หลายฝ่ายได้เสนอ แต่ยังเอาเรื่องเดิมๆ ร่างสัญญาสัมปทานเดิมที่ไม่เปิดเผยรายละเอียด รวมถึงค่าโดยสารที่ระบุไว้ 65 บาทนั้นไม่มีที่มาที่ไป ไปบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนใน ครม.


นอกจากนี้ ในมุมมองตนอยากเห็นรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯเป็นระบบเดียวกันทั้งระบบเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลคือกระทรวงคมนาคมและ กทม. พัฒนาโครงการแยกกันคนละโครงข่าย ทำให้ปัญหาต่างๆที่ตามมา และมีค่าโดยสารที่จะแพงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต

นักวิชาการ ประสานเสียงไม่เห็นด้วย
รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะต่อสัญญาสัมปทานไป 30 ปี และเรียกเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เพราะต้นทุนจริง เพียง 13 บาทต่อเที่ยว ดังนั้น เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน ในปี 2507 การเก็บ 25 บาท จึงมีความเป็นไปได้ เพราะไม่มีเรื่องโครงสร้างต้นทุน นอกจากนี้ บีทีเอส ยังมีรายได้อื่นๆ เช่น โฆษณาจากทุกช่องทาง อีกทั้งตั้งข้อสังเกตว่าทำไมจึงเร่งรีบนำเข้า ครม. ในช่วงที่คนกำลังให้ความสนใจเรื่องวัคซีนโควิด-19กัน

สำหรับ นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ออกมาเรียกร้องเรื่องอัตราค่าโดยสารที่แพง ขอให้เก็บ 25 บาทตลอดสาย และชะลอการต่อสัญญาสัมปทานไปก่อนไม่ต้องเร่งรีบ เพราะยังเหลือเวลาอีก 8 ปี จึงจะหมดสัญญา ทั้งนี้อยากให้มีการตั้่งคณะทำงานร่วมกันเอาข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมาหารือกัน

“เมื่อเดือน เมษายน นายกรัฐมนตรีเคยออกมาพูดเรื่องรถไฟฟ้า ว่า ต้องคำนึงถึงเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งถือถว่าเป็นคำมั่นสัญญา หากพรุ่งนี้ ครม.มีมติออกมาว่าต่อสัญญาสัมปทาน ก็คงจะต้องร่วมกับทาง ส.ส.สิริพงศ์ ว่าเราจะไปฟ้องศาลปกครองและเราก็จะหยุดเรื่องนี้ และเดินหน้าฟ้องศาลปกครองแน่นอน” นายคงศักดิ์ กล่าว

“คมนาคม”เตรียม วอล์กเอาต์ ครม.วาระขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

สยามรัฐออนไลน์
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 21:22 น.

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเสวนา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom “ค้านครม. ต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว” ที่คาดว่า จะถูกบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ในวันอังคารที่ 1 มิถุนายน นี้

โดยมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย, ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมการเสวนาในครั้งนี้

ด้านนายสิริพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนกระทรวงคมนาคมที่พรรคภูมิใจไทยดูแลด้วย ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการนำเรื่องเข้า ครม. ได้มีการยื่นหนังสือคัดค้าน ถึงนายกรัฐมนตรี ในเรื่องความครบถ้วนของสัญญาสัมปทาน และเหตุใด กทม.ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงโอนหนี้ไปให้กับเอกชน เขาสามารถโอนหนี้ไปให้กับเอกชนได้ด้วยหรือไม่ รวมถึงประเด็นในข้อกฎหมายที่ กทม. ไปตั้งบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจขึ้นมาที่กำลังถูกฟ้องร้อง ชื่อ บริษัท กรุงเทพธนาคม และไปจ้างบริษัทอื่นเดินรถ เป็นการหลบเลี่ยงทางกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้หากมีการบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ คิดว่ากระทรวงคมนาคมจะไม่เข้าร่วมการพิจารณาใดๆ ส่วนตนอาจจะต้องดำเนินการยื่นฟ้องที่ศาลปกครองอีกครั้ง

“คมนาคม” ยันความเห็นค้านต่อสัมปทานสีเขียว ติงค่าโดยสาร 65 บาทสูงกว่าต้นทุนจริง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 10:48 น.
ปรับปรุง: วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 10:48 น.

“คมนาคม” ยันไม่เห็นด้วย กทม.ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว ชี้ราคา 65 บาทสูงเกินต้นทุนจริง เตรียมสรุปความเห็นเสนอเลขาฯ ครม. หลัง กทม.ยังไม่ยอมส่งรายละเอียดเพิ่มเติม

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้มีการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง กรณีการขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับบีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จากสิ้นสุดสัญญาปี 2572 ต่อไปอีก 30 ปี หรือจนถึงปี 2602 โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) ขอรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่ง กทม.ระบุว่าไม่สามารถให้ได้เนื่องจากเป็นความลับ และล่าสุดช่วงกลางเดือน เม.ย. 2564 ทาง กทม.ได้มีหนังสือตอบมายังกระทรวงคมนาคมอีกครั้งแต่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ เช่นเดิม

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมต้องการข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ปริมาณผู้โดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่นๆ เพื่อนำมาประกอบการศึกษา และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

โดยที่ประชุมเห็นว่าเมื่อได้สอบถามขอข้อมูลรายละเอียดไปยัง กทม.หลายครั้ง แต่ กทม.ไม่จัดส่งรายละเอียดให้ ดังนั้นไม่มีประโยชน์ที่จะถามไปอีก ขณะที่การศึกษาพิจารณาใดๆ ก็ไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีรายละเอียดจาก กทม. ดังนั้น ในสัปดาห์หน้ากระทรวงคมนาคมจะทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) นำเสนอความเห็นไปตามหลักการและเหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริง โดยกระทรวงคมนาคมไม่เห็นด้วยกับอัตราค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาทตามที่ กทม.เสนอ

ในขณะเดียวกันก็จะทำหนังสือ กทม.เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเอกสารที่ กทม.ส่งมานั้นยังไม่มีรายละเอียดตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการและขอไป

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมยังคงยืนยันการคิดอัตราค่าโดยสารหลักการใช้ฐานการคำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI (Consumer Price Index) เป็นแบบ Non-Food and Beverage ขณะที่ข้อมูล กทม.และบีทีเอส) นั้นใช้ All CPI ที่มีการนำต้นทุนอาหาร และเครื่องดื่มระหว่างการเดินทาง (Food and Beverage) มาคิดคำนวณด้วย ทำให้อัตราค่าโดยสารที่ 65 บาทยังคงสูงเกินไป

ขณะที่มีการระบุว่า การใช้ ALL CPI คำนวณจะมีค่าต่างจาก CPI Non- Food and Beverage ประมาณ 2 บาทต่อ Transection ในระยะ 20 ปีนั้น หากคำนวณว่ามีผู้โดยสารเดินทาง 700,000 Transection ต่อวัน ส่วนต่าง 2 บาทจะเท่ากับ 1.4 ล้านบาทต่อวัน หรือปีละกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งในอนาคตผู้โดยสารจะต้องเพิ่มมากขึ้นไปอีก ส่วนต่างจึงมีมูลค่ามหาศาล

โดยกระทรวงคมนาคมยังเห็นว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาทนั้นไม่เป็นธรรมต่อผู้มีรายได้น้อย และควรกำหนดให้ต่ำกว่านี้ โดยควรมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารโซนในเมือง และโซนจากชานเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน เช่น กำหนดค่าโดยสารในเมืองเป็นแบบปลายเปิด ส่วนชานเมืองกำหนดเป็นปลายปิดที่มีเพดานขั้นสูงเพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2021 10:59 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าทางตัน สัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียว "BTS" ยิ่งยืดยื้อ ยิ่งเสียหาย!
หน้า Politics
เสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 เวลา 09:17 น.

กระทรวงคมนาคม- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขวาง ชงครม. ขยายสัมปทาน BTS รถไฟฟ้าสายสีเขียว กระทรวงมหาดไทย-กทม.จี้ ผ่าทางตันสัมปทาน BTS ยิ่งยืดยื้อ ยิ่งเสียหาย!


ระอุขึ้นมาอีกครั้งกับเรื่องของสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียว ที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) และกระทรวงมหาดไทย(มท.)ตั้งแท่นจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ชี้ขาดกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา สุดท้ายต้องวืดไปอีกหน เพราะถูกกระทรวงคมนาคมและเครือข่ายในภาคประชาชนที่นำโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ออกมาร้องแรกแหกกระเชอ ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐจะพิจารณาต่อขยายสัมปทานให้กับบมจ.บีทีเอส BTS ในห้วงเวลานี้ด้วยข้ออ้างเดิม ๆ อัตราค่าโดยสารที่กำหนดตามร่างสัญญาที่ 65 บาทตลอดสายสูงเกินไป ยิ่งในสถานการณ์ไวรัสโควิดด้วยแล้ว โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายยังคงยืนยัน นั่งยันว่า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมนั้นคิดแค่ 25 บาทตลอดสาย ก็ยังทำให้กทม.มีกำไรกว่า 23,000 ล้าน จึงสมควรที่รัฐจะดึงโครงการกลับมาโม่แป้งเองเห็นจุดยืนของกระทรวงคมนาคมและเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคข้างต้นแล้ว สังคมต่างก็ตั้งข้อกังขาจุดยืนการออกโรงคัดง้างการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวที่ว่านี้เป็นไปเพื่อผู้บริโภคแน่หรือ หรือว่าไป “รับจ๊อบ” กลุ่มทุนใดมาหรือไม่? เพราะเครือข่ายเหล่านี้เอาแต่ “ค้านตะบี้ตะบัน” โดยไม่ยอมนำเสนอหนทางออกว่า จะให้ กทม.ทำอย่างไรกับหนี้ท่วมหัวกว่า 30,000 ล้านที่กำลังถูก BTS ฟ้องหัวเอาในเวลานี้ยังไม่รวมหนี้ระบบรถไฟฟ้า ดอกเบี้ยที่จะทยอยครบดีล และค่าจ้างเดินรถในระยะ 8-9 ปีข้างหน้าก่อนสัญญาสัมปทานหลักสิ้นสุดลงในปี 2572 อีกกว่า 60,000-70,000 ล้านบาท!จะปล่อยให้บีทีเอสทวงหนี้ออกสื่อไปอย่างนี้ไปจนบริษัทถอดใจไปเองหรือไม่ก็ “เจ๊งยับคามือ”ไปเองหรืออย่างไร? จะปล่อยให้เขาประจานความไม่เอาถ่านของรัฐ ประจานเครดิตของรัฐบาลกันไปอย่างนี้ แล้วเครดิตของรัฐบาลของประเทศจะเป็นอย่างไร จะไปเพรียกหานักลงทุนหน้าไหนเข้ามาลงทุนในประเทศได้อีก แน่นอนว่า หนี้มหาศาลก้อนหนี้ถึงอย่างไร กทม.ไม่อาจบิดพลิ้วหรือชักดาบคู่สัญญาเอกชนได้ ต่อให้ต้องทอดยาวไป 5 ปี 10 ปียังไงเสียก็ต้องได้รับการจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยกองพะเนินจากรัฐอย่างแน่นอน แต่ก็อย่าลืมว่า บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)หรือBTSที่ว่านี้เคยผ่านบทเรียนที่ต้องแบกหนี้ท่วมจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ศาลล้มละลายแบบ “การบินไทย”มาแล้ว บริษัทต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ต้องยอม "แฮร์คัตหนี้" ไประลอกหนึ่งแล้วหากต้องแบกหนี้ท่วมจากที่รัฐเอาแต่ซื้อเวลาไม่ยอมชดใช้หนี้ให้อีก จนไม่อาจจะให้บริการเดินรถไฟฟ้าได้อีก ถึงเวลานั้นรัฐจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคมและเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคจะบากหน้าเข้ามารับผิดชอบแทนได้หรือ?เรื่องของค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียวที่กำหนดไว้ในร่างสัญญาสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย (จาก 3 โครงข่ายระยะทาง 68 กม.)หากจะมีการต่อสัญญาสัมปทานออกไป 30 ปีนั้น อัตราดังกล่าวแพงหรือไม่อย่างไร ทุกฝ่ายที่กำลังออกมาร้องแรกแหกกระเชอต่างก็รรู้แก่ใจกันดีอยู่ เพราะนั่นคืออัตราค่าโดยสารในระยะ 20-30 ปีข้างหน้าที่ค่าเงิน 10-15 บาทในวันนี้อาจเทียบเท่ากับเงิน 30-40 บาทไปแล้วการจะให้รัฐกำหนดค่าโดยสารไว้แค่ 25 บาทตลอดสาย เป็น "รถไฟฟ้าประชารัฐ" ดั่งที่เครือข่ายเพื่อผู้บริโภคตีปี๊บกันเป็นรายวันอยู่น้ัน จะมีหลักประกันใดว่า จะไม่ทำให้รถไฟฟ้าสายนี้ “เจ๊งยับคามือ”เอา เพราะบทเรียนจากรถไฟฟ้า "แอร์พอร์ตลิงค์"ของการรถไฟฯ เป็นอย่างไร ทุกฝ่ายก็รู้เช่นเห็นชาติกันอยู่โทนโท่ จะว่าไปอัตราค่าโดยสาร 25 บาทที่เครือข่าย “ยกเมฆ” กันขึ้นมานั้น มีที่ไปที่มาอย่างไร คำนวณมาจากไหนถึงได้ต่ำติดดินกันซะขนาดนั้น ที่แม้แต่ค่าโดยสารรถเมล์แอร์ ชสมก.ยังทำไม่ได้เลยนั้น ทางเครือข่ายเองก็ไม่เคยให้ความกระจ่างแก่สังคมเช่นกัน และหากรถไฟฟ้า สายเขียวที่เอกชนลงทุนโครงข่ายหลักทั้ง 100% (กทม.มาต่อยอดลงทุนเฉพาะโครงข่ายส่วนต่อขยาย 2 สายทาง) เครือข่ายยังสามารถคำนวณค่าโดยสารแค่ 25 บาทก็ยังมีกำรี้กำไรตั้ง 23,000 ล้านบาทแล้วแล้วเหตุใดเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคถึงไม่กระทุ้งรัฐ และกระทรวงคมนาคมที่เคยขึ้นเวทีร่วมสัมมนากับเครือข่ายมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้ว ให้ปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ที่ให้สัมปทานแก่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ที่กำหนดค่าโดยสาร 15-42 บาท และสูงสุดตั้ง 69 บาทลงให้เป็นตัวอย่างให้ได้เสียก่อนเลยตั้งแต่วันนี้เพราะรัฐบาลและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ได้จ่ายค่าก่อสร้างงานโยธาและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ (คิดเป็น 70-80% ของมูลค่าโครงการ)ไปหมดแล้ว เอกชนที่รับสัมปทานเดินรถแค่มาลงทุนระบบรถไฟฟ้าและจัดหาขบวนรถเข้ามาว่ิงให้บริการเท่านั้น แถมรัฐเองไม่ได้จัดเก็บค่าต๋งสัมปทานเลยสักสตางค์แดงเดียว จึงไม่เห็นจะต้องไปจัดเก็บค่าโดยสารเทียบเท่า หรือใกล้เคียงกับรถไฟฟ้า กทม.ที่เอกชนต้องลงทุนเองทั้ง 100 % เลยนี่ท้ายที่สุดแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นว่าอัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้ 65 บาทตลอดสายสูงเกินไป มันก็มีหนทางในอันที่จะปรับลดราคาลงมาได้อยู่แล้ว เพราะในร่างสัญญาที่ กทม.กับคู่สัญญาเอกชนจัดทำกันไว้นั้น นอกจาก BTS ต้องตรึงค่าโดยสารไว้ที่ 65 บาทตลอดสายแล้ว ยังต้องแบกรับภาระหนี้ทั้งหมดของ กทม.ไปด้วยอีก รวมทั้งยังต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ กทม.อีกกว่า 200,000 ล้านบาทด้วยหากนายกฯจะสั่งให้กทม.ปรับลดค่าต๋งสัมปทานลงมาสัก 50% เหลือเพียง 100,000 ล้านบาทเพื่อให้บริษัทนำส่วนลบดค่าสัมปทานที่มีไปปรับลดค่าโดยสารให้ประชาชน ก็อาจกดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงมาเหลือ 40-50 บาทได้ ดีไม่ดี หาก กทม.ไม่เรียกเก็บค่าสัมปทานจาก BTS แบบสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ รฟม.ทำไว้กับ BEM แล้ว จะกำหนดหรือลดค่าโดยสารลงมาให้เหลือ 25 บาทตลอดสายตบหน้ารถไฟฟ้า รฟม.อย่างที่เครือข่ายภาคประชาชนเรียกร้องก็มีความเป็นไปได้ทั้งนั้น แต่จะต้องรีบเคลียร์หน้าเสื่อให้มันจบเสียตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่เอาแต่ “ซื้อเวลา-ซุกปัญหาใต้พรม” จนกลายเป็นประเด็นที่พรรคร่วมรัฐบาลนำเอาไปเป็นประเด็นต่อรองทางการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ จริงไม่จริง ฯพณฯท่านนายกฯ!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2021 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

ยิ่งยืดเยื้อ ก็ยิ่งเสียหาย!

07 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 08:25 น.


ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน จึงได้เร่งเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า โดยมีนโยบายที่จะขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อกระจายเส้นทางการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว และขนส่งผู้โดยสารได้ในปริมาณมาก ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและคับคั่งบนถนนที่มีพื้นที่จำกัด รวมไปถึงลดปริมาณการใช้รถยนต์ของประชาชน เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณในการนำเข้า และยังช่วยลดมลพิษที่ปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสภาพอากาศของโลก



รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ 'รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1' สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการเมื่อปี 2542 และได้มีการขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่องจนสามารถเชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับฝั่งธนบุรี และขยายในแนวเหนือ-ใต้ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เชื่อมไปหมอชิต ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ไม่ว่าจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และเตรียมจะเชื่อมรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างใหม่อีก 2 สาย คือ เชื่อมกับสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และเชื่อมกับสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ที่สถานีสำโรง ซึ่งช่วยลดปัญหาความคับคั่งของการจราจรลงได้อย่างมาก



โดยเฉพาะสายสีเขียว ที่ประสบความสำเร็จเปิดให้บริการครบทุกสถานีตลอดเส้นทางทั้ง 59 สถานี รวมระยะทางกว่า 68 กิโลเมตร มีรถไฟฟ้าให้บริการมากที่สุดถึง 98 ขบวน 392 ตู้ และมีการจัดรูปแบบการเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งระบบได้สูงสุดมากกว่า 1.5 ล้านเที่ยวคนต่อวัน ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ตลอดจนส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยรอบเส้นทางรถไฟฟ้า รองรับการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต



ปัจจุบัน การเดินรถในช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เชื่อมไปหมอชิต ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการนั้น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริษัทในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้รับสัมปทานเดินรถ และจะสิ้นสุดปี 2572 ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเดินรถจึงมีแนวคิดที่จะต่อสัญญากับผู้รับสัมปทานรายเดิมออกไปอีก 30 ปี



ซึ่งก็ลุ้นกันตัวโก่งสำหรับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่ตั้งแท่นจะนำเสนอที่ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้ขาดเกี่ยวกับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในวันที่ 1 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา แต่แล้วก็ต่องวืดไปอีกครั้ง หลังจากที่กระทรวงคมนาคม และเครือข่ายในภาคประชาชนที่นำโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคออกโรงค้านหัวชนฝา ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐจะพิจารณาต่อขยายสัมปทานให้กับ บมจ.บีทีเอส BTS จากเดิมสิ้นสุดปี 2572 ออกไปอีก 30 ปี



โดยให้ข้ออ้างว่า อัตราค่าโดยสารที่กำหนดตามร่างสัญญาที่ 65 บาทตลอดสายนั้นสูงเกินไป ยิ่งในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ด้วยแล้ว ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายยังคงยืนยันเห็นว่าอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมนั้นคือ 25 บาทตลอดสาย ก็ยังทำให้กรุงเทพมหานครมีกำไรกว่า 23,000 ล้านบาทแล้ว และที่สำคัญรัฐควรที่จะนำโครงการมาดำเนินการเอง



ในส่วนของกระทรวงคมนาคม เห็นว่า ภาครัฐจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปจ่ายคืนหนี้ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายแทนกรุงเทพมหานคร รวมถึงจ่ายค่าจ้างเดินรถให้กับบีทีเอส และเมื่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวสิ้นสุดลงในปี 2573 ให้รัฐเปิดประมูลการเดินรถใหม่ โดยนำโครงการเข้าสู่กระบวนการ PPP (รัฐร่วมลงทุนเอกชน) เพื่อกำหนดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมต่อไป



ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวนั้นจะทำให้รัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวและนโยบายอื่นๆ เพื่อสวัสดิการของประชาชน และสามารถลดค่าโดยสารจาก 65 บาทต่อเที่ยวเหลือ 50 บาทต่อเที่ยว หรือต่ำกว่า ซึ่งเป็นระดับค่าโดยสารที่เหมาะสมที่ทำให้ประชาชนมีกำลังบริโภคเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ขณะที่ภาครัฐจะมีรายได้จากเงินนำส่งระหว่างปี 2573-2602 เป็นเงิน 380,200 ล้านบาท พร้อมทั้งยังระบุอีกว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดรายได้สูง รวมทั้งมีโอกาสในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์



แต่ก่อนอื่นต้องยอมรับกันว่า กรุงเทพมหานครเป็นหนี้บีทีเอสจำนวน 33,222 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้บีทีเอสอยู่ระหว่างปรึกษาทนายความของบริษัท และรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายคาดว่าจะเริ่มกระบวนการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเร็วๆ นี้ ยังไม่รวมหนี้ระบบรถไฟฟ้า ดอกเบี้ยที่จะทยอยครบดีล และค่าจ้างเดินรถในระยะ 8-9 ปีข้างหน้าก่อนสัญญาสัมปทานหลักสิ้นสุดลงในปี 2572 อีกกว่า 60,000-70,000 ล้านบาท!



แน่นอนว่า หนี้มหาศาลก้อนนี้ถึงอย่างไรกรุงเทพมหานครก็ไม่อาจบิดพลิ้วหรือชักดาบคู่สัญญาเอกชนได้ ต่อให้ต้องทอดยาวไป 5 ปี 10 ปี ยังไงเสียก็ต้องได้รับการจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ย แต่ก็อย่าลืมว่าบีทีเอส (BTS) ที่ว่านี้เคยผ่านบทเรียนที่ต้องแบกหนี้ท่วมจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ศาลล้มละลายกลางแบบ “การบินไทย” มาแล้ว บริษัทต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ต้องยอม "แฮร์คัตหนี้" ไประลอกหนึ่งแล้ว



ดังนั้น หากต้องแบกหนี้จากที่รัฐเอาแต่ซื้อเวลาไม่ยอมชดใช้หนี้ให้จนไม่อาจจะให้บริการเดินรถไฟฟ้าได้อีก ถึงเวลานั้นรัฐจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคมและเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคจะบากหน้าเข้ามารับผิดชอบแทนได้หรือ?



และที่สำคัญ งานนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องเร่งให้จบโดยเร็ว เพราะหากโอ้เอ้ ซื้อเวลา-ซุกปัญหาใต้พรม อาจจะกลายเป็นประเด็นการเมืองที่จับเอามาต่อรองหรือโจมตีรัฐบาลโดยใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน ก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย เหมือนระบบตั๋วร่วม จนแล้วจนรอดผ่านไป 10 ปียังไม่ได้ใช้กันสักที.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2021 9:46 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”สงวนท่าที! โอนสายสีเขียวส่วนขยายคืนรฟม.
*โยนรัฐบาลตัดสินใจข้อเสนอกทม.แก้ปมปัญหา
*มั่นใจกดค่าโดยสารสูงสุดลงต่ำกว่า65บาทได้
*ต.ค.นี้กรมรางอำนาจเต็มมือมีสิทธิ์เข้าคุมราคา
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2924721397749359
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2021 11:29 pm    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส” เผยพนักงานด่านหน้าประจำทุกสถานี ฉีดวัคซีน 100% แล้ว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564 เวลา 12:32 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564 เวลา 12:32 น.

บีทีเอสเผยพนักงานส่วนหน้าฉีดวัคซีนโควิดครบ 100% แล้ว ทั้งเจ้าหน้าที่สถานี คนขับ รปภ. แม่บ้าน สร้างความมั่นใจ พนักงานด่านหน้ากลุ่มที่ต้องสัมผัสผู้ใช้บริการโดยตรง พร้อมยกระดับมาตรการป้องกันเข้มข้น ต่อเนื่อง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้นำพนักงานส่วนหน้าที่ปฏิบัติงานประจำสถานีรถไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และแม่บ้านประจำสถานีรถไฟฟ้าทุกคน เข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบทุกคน ตามประกาศนโยบายของรัฐบาล โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่อง การฉีดวัคซีนให้เป็นวาระแห่งชาติ และเป็นไปตามนโยบายกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกระทรวงคมนาคม ที่ได้ให้กลุ่มบริการระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทในเขตกรุงเทพฯ เข้ารับวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง และเป็นกลุ่มที่ต้องสัมผัสกับผู้ใช้บริการโดยตรง เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการแก่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสได้มั่นใจมากยิ่งขึ้นในการเดินทาง

นายสุรพงษ์กล่าวว่า บริษัทฯ ต้องขอขอบพระคุณความห่วงใยดังกล่าว จากหน่วยงานรัฐทุกฝ่ายอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนแล้ว จะสามารถเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และผู้โดยสารรถไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ ทั้งเพิ่มความถี่ในการเช็ดทำความสะอาด ในขบวนรถไฟฟ้าทุกๆ ชั่วโมง เพิ่มความถี่ในการฉีดพ่น และเช็ดทำความสะอาดภายในขบวนรถไฟฟ้า และจุดสัมผัสร่วม ภายในสถานีทุกชั่วโมง และบริเวณรอบสถานีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ จาก 2 ชั่วโมงครั้ง เป็นทุกๆ 1 ชั่วโมง ในทุกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการแอลกอฮอล์เคลื่อนที่เพิ่มเติม บนชั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกช่วงเวลา

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้บริการผู้โดยสารอย่างมั่นใจและผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ ตามปณิธานของ คุณคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริษัทฯ ที่เคยกล่าวไว้ว่า “มหันตภัยโควิด-19 ครั้งนี้ยิ่งใหญ่มาก และเราทุกคนต่างได้รับความเจ็บปวดเพราะมันถึงแม้จะลำบาก แต่เราก็ต้องสู้กับโรคโควิด-19 ไม่ทิ้งกัน และสู้ไปด้วยกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2021 2:55 am    Post subject: Reply with quote

BTS ยื่นไฟลิ่งออกหุ้นกู้ 3 ชุด ขายรายใหญ่ ส.ค.นี้
หน้า ตลาดเงิน - ตลาดทุน
พุธที่ 9 มิถุนายน 2564 เวลา 19:53 น.

BTS ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. เตรียมออกหุ้นกู้ 3 ชุด “3 ปี 5 ปี 10 ปี” ภายในเดือน ส.ค. 64 โดยขายรายใหญ่ จองขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ยื่นร่างแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน (ยังไม่ประกาศอัตราดอกเบี้ย) จำนวน 3 ชุด เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ บริษัทมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อชำระคืนหนี้เดิม

สำหรับหุ้นดังกล่าวแบ่งออกเป็นชุดที่ 1 อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2567ชุดที่ 2 อายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2569ชุดที่ 3 อายุ 10 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2574




ผู้ลงทุนรายใหญ่จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท ซึ่งหุ้นกู้ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้โครงการตราสารหนี้ ของปี 63 วงเงินหุ้นกู้ทั้งสิ้นไม่เกิน 6 หมื่นล้านบาทจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ A แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หุ้นกู้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ A แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2021 10:30 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส แจงปมไม่อนุญาตให้รับ-ส่งของข้ามเขตชำระเงิน

15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 20:24 น.

15 มิ.ย.2546 ฝ่ายสื่อสารองค์กรบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า สืบเนื่องจาก กรณีเพจรถไฟฟ้าบีทีเอสมีการเผยแพร่ ข้อความให้ความรู้ผู้โดยสารเรื่อง “การไม่อนุญาต ให้มีการรับ-ส่งของข้ามเขตชำระเงิน (Gate) ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลกันอย่างกว้างขวางในวันนี้ (15 มิ.ย. 2564) นั้น (ที่มาโพสต์ : https://www.facebook.com/185513641494259/posts/4168428126536104/)

ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า เนื่องจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งสาธารณะ ที่มีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก และมีพื้นที่บริเวณสถานีจำกัด ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของส่วนรวม และเป็นการป้องกันเหตุอันเกิดจากการส่งวัตถุต้องห้ามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในระบบรถไฟฟ้า และผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการตามข้อบังคับระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 ระบุว่า

“ข้อ 45 ห้ามบุคคลใดส่งสิ่งของ หรือสินค้า ผ่านเข้าออกระหว่างเขตชำระเงิน กับเขตไม่ได้ชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นการส่งสิ่งของ หรือสินค้า ผ่านข้ามประตูกั้นหรือผ่านช่องใด ๆ โดยที่ผู้ส่งสิ่งของอยู่ในเขตชำระเงิน หรือเขตไม่ได้ชำระเงิน และส่งสิ่งของหรือสินค้าให้แก่ผู้รับ ซึ่งอยู่ในเขตตรงข้าม โดยไม่ได้เดินผ่านประตูที่กั้นระหว่างเขตชำระเงิน กับเขตไม่ได้ชำระเงิน ทั้งนี้ ยกเว้นกรณีที่บุคคล เป็นผู้ถือสิ่งของ หรือสินค้า เดินผ่านเข้าออกประตูที่กั้นระหว่างเขตทั้งสองดังกล่าว ด้วยตนเอง”

สำหรับการเดินผ่านเข้าออกประตูอัตโนมัติ จะทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสังเกตได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามแนวทางการปฏิบัติจริงนั้น ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับการใช้บริการของผู้โดยสาร เพื่อให้เกิดความสะดวกพร้อมกับการให้บริการที่ปลอดภัยควบคู่กัน อย่างไรก็ตาม บีทีเอสขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น พร้อมขอน้อมรับทุกความคิดเห็น คำติชม และจะรวบรวมทุกความเห็น ไปปรับใช้ในการให้บริการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีดังกล่าว อ้างอิงโพสต์ https://www.facebook.com/185513641494259/posts/4168428126536104/ (มอง…ฉันมองเธออยู่…แอดมินแอบมองอยู่ ไม่รับ-ส่งของข้ามเขตชำระเงิน) นั้น โดยโพสต์ ระบุว่า มีผู้โดยสารส่งเรื่อง และแจ้งมาถามแอดมินว่า "มีการนัดรับ-ส่งของบริเวณประตูทางเข้า-ออกสถานี" ทำได้หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโพสต์ของรถไฟฟ้าบีทีเอส ยังระบุอีกว่า ในวันนี้แอดมินจึงมาขอความร่วมมือผู้โดยสารที่รักทุกคนว่า บีทีเอสไม่อนุญาตให้มีการ รับ-ส่ง ของข้ามเขตชำระเงิน ทั้งนี้ หากต้องการส่งของ หรือรับของ สามารถแตะบัตรเข้า-ออกให้อยู่ในเขตเดียวกัน สะดวกในการพูดคุย และไม่เป็นการกีดขวางผู้โดยสารท่านอื่นด้วย กล่าวคือ ผู้โดยสารท่านอื่น จะต้องทำการบันทุกบัตรออกจากระบบ หรือผู้โดยสารอีกท่าน ซื้อบัตรโดยสารขั้นต่ำ (ราคาขั้นต่ำ 16 บาท) เข้ามาในระบบเพื่อรับ-ส่ง

บีทีเอสแจงห้ามรับ-ส่งของข้ามประตูเขตชำระเงินเป็นไปตามกฎเพื่อความปลอดภัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:55 น.
ปรับปรุง: 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:55 น.



บีทีเอสชี้แจงกรณีไม่อนุญาตให้มีการรับ-ส่งของข้ามประตูเข้าออกเขตชำระเงิน เผยเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ป้องกันอันตรายในระบบรถไฟฟ้า และผู้โดยสาร เผยปฏิบัติยืดหยุ่นให้ปลอดภัยและความสะดวกของผู้โดยสาร

วันที่ 15 มิ.ย. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า สืบเนื่องจากกรณีเพจรถไฟฟ้าบีทีเอสมีการเผยแพร่ข้อความให้ความรู้ผู้โดยสารเรื่อง “การไม่อนุญาตให้มีการรับ-ส่งของข้ามเขตชำระเงิน (Gate) ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลกันอย่างกว้างขวางนั้น

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า เนื่องจากรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่มีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก และมีพื้นที่บริเวณสถานีจำกัด ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของส่วนรวม และเป็นการป้องกันเหตุอันเกิดจากการส่งวัตถุต้องห้ามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในระบบรถไฟฟ้า และผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการตามข้อบังคับระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของกรุงเทพมหานคร และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 ระบุว่า

“ข้อ 45 ห้ามบุคคลใดส่งสิ่งของ หรือสินค้า ผ่านเข้าออกระหว่างเขตชำระเงิน กับเขตไม่ได้ชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นการส่งสิ่งของ หรือสินค้า ผ่านข้ามประตูกั้นหรือผ่านช่องใดๆ โดยที่ผู้ส่งสิ่งของอยู่ในเขตชำระเงิน หรือเขตไม่ได้ชำระเงิน และส่งสิ่งของหรือสินค้าให้แก่ผู้รับ ซึ่งอยู่ในเขตตรงข้าม โดยไม่ได้เดินผ่านประตูที่กั้นระหว่างเขตชำระเงิน กับเขตไม่ได้ชำระเงิน ทั้งนี้ ยกเว้นกรณีที่บุคคลเป็นผู้ถือสิ่งของ หรือสินค้า เดินผ่านเข้าออกประตูที่กั้นระหว่างเขตทั้งสองดังกล่าวด้วยตนเอง”

ทั้งนี้ การเดินผ่านเข้าออกประตูอัตโนมัติ จะทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสังเกตได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามแนวทางการปฏิบัติจริงนั้น ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับการใช้บริการของผู้โดยสาร เพื่อให้เกิดความสะดวกพร้อมกับการให้บริการที่ปลอดภัยควบคู่กัน ทั้งนี้ บีทีเอสขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2021 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

สาวดิ่งBTSดับ พ้อติดโควิดจาก'พี่หมวด'-ไร้คนจ้างงาน
จันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 19.55 น.

สาววัย 38 กระโดดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพระโขนง เขียนจดหมายลาตาย 2 ฉบับ ระบุติดโควิดจากพี่หมวด ตัดพ้อหมดอนาคตแล้ว ตั้งแต่ติดโควิดไม่มีใครจ้างงานเลย พร้อมขออโหสิกรรมพ่อแม่

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ร.ต.อ.พลากร ถนอมพันธ์ รอง สว.(สอบสวน) สน.คลองตัน ได้รับแจ้งเหตุหญิงกระโดดลงมาจากสถานีรถไฟฟ้า BTS พระโขนง ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แล้วรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตพร้อมมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พบร่างของ น.ส.นง (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี นอนแน่นิ่งบนพื้นถนน สวมเสื้อแจ๊กเกตยีนสีเทาทับเสื้อยืดสีดำ นุ่งกางเกงขายาวสีดำ รองเท้าผ้าใบสีดำ มีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ พลเมืองดีพยายามเข้าช่วยเหลือทำ CPR แต่ผู้บาดเจ็บอาการสาหัส จึงประสานรถรพ.จุฬาฯ มารับตัวส่ง รพ.ตำรวจ ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบจดหมายลาตายของ น.ส.นง อยู่ที่ตัว 2 ฉบับ ฉบับแรกเขียนถึงบิดาและมารดา ใจความระบุ "ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว ตั้งแต่ติดโควิด ไม่มีงานทำเลย ขออโหสิกรรมกับพ่อและแม่นะคะ ชาตินี้คงหมดบุญแล้ว ไม่ไหวแล้วจริงๆ" ส่วนอีกฉบับเขียนข้อความว่า "ผู้หมวด ..ตนติดโควิดจากพี่หมวด หมดอนาคตแล้ว ชาตินี้ขอตายแล้ว พี่หมวดช่วยมาเก็บศพที ยอมแพ้ต่อโชคชะตาแล้วจริงๆ"

เบื้องต้นตำรวจจะตรวจสอบกล้องวงจรปิด ก่อนประสานญาติให้รับทราบ และสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ ในส่วนของประเด็นที่ระบุไว้ในจดหมายถึงการติดเชื้อโควิด-19 นั้น ต้องรอผลตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดอีกครั้งว่า ติดเชื้อจริงตามที่ระบุไว้ในจดหมายหรือไม่ ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป.

ขอบคุณภาพจากปกจาก ผู้ใช้ Pantip หมายเลข 3636807

สลด..สาวดิ่งบีทีเอส พระโขนง ทิ้งจม.ลาชีวิตพ่ายแพ้"โควิด"
คมชัดลึก
จันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 19:28 น.

สาว วัย 38 กระโดดทิ้งร่างจาก บีทีเอส พระโขนง ลงพื้นถนนสุขุมวิท เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาล พบ จม.2 ฉบับ เขียนถึงพ่อแม่ ขออโหสิกรรม ระบายทุกข์หลังการระบาดโควิด ทำให้ตกงาน ชีวิตต้องพ่ายแพ้ และบอกลาผู้หมวดรายหนึ่ง ด้านตำรวจ ระบุ ต้องสอบปากคำบุคคลที่เกี่ยว
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ร้อยตำรวจเอก พลากร ถนอมพันธ์ รองสารวัตรสอบสวน สน.คลองตัน รับแจ้งเหตุหญิงสาวกระโดดลงมาจากสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส พระโขนง ตกลงสู่พื้นผิว ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย


ในที่เกิดเหตุ พบร่างของนางสาวนุช อายุ 38 ปี มีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ อยู่ในสภาพนอนหมดสติ ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์ได้พยายามปั๊มหัวใจ(ซีพีอาร์) เพื่อการกู้ชีพกลับคืนมา ขณะที่มีการประสานขอรถพยาบาล มารับตัวผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลตำรวจ แต่ก็มาเสียชีวิตในเวลาต่อมา


จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบจดหมายลาตาย ของ นางสาวนุช จำนวน 2 ฉบับพกติดตัว ฉบับแรกเขียนถึง บิดาและมารดา ใจความระบุ “นุชไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว ตั้งแต่ติดโควิด ไม่มีงานทำเลย นุช ขออโหสิกรรมกับพ่อและแม่นะคะ ชาตินี้นุชคงหมดบุญแล้ว นุชไม่ไหวแล้วจริงๆ”


ส่วนอีกฉบับเขียนถึงผู้หมวดรายหนึ่ง ระบุว่า “นุชติดโควิดจากพี่หมวด นุชหมดอนาคตแล้ว ชาตินี้ขอตายแล้ว พี่หมวดช่วยมาเก็บศพที นุชยอมแพ้ต่อโชคชะตาแล้วจริงๆ”


ด้านพนักงานสอบสวน เตรียมตรวจสอบกล้องวงจรปิด ก่อนประสานญาติให้รับทราบ และสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ในส่วนของประเด็นที่ระบุไว้ในจดหมายถึงการติดเชื้อโควิด-19 ต้องรอผลตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป.


Last edited by Wisarut on 24/06/2021 7:45 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2021 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

ยันพลเมืองดีไม่ต้องกังวล ว่าจะติดโควิดจากสาวดิ่งBTS
อังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 17.27 น.

ญาติยันสาวคิดสั้นโดดบีทีเอส หายป่วยโควิดแล้ว ขอพลเมืองดีที่เข้าช่วยอย่ากังวล คาดสาเหตุเครียดสะสมและตกงาน ส่วน "พี่หมวด" ที่ถูกระบุในจดหมายไม่มีใครทราบเรื่อง 


เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ญาติพร้อมกลุ่มเพื่อนของ น.ส.นงนุช (สงวนนามสกุล) อายุ 38 ปี ที่กระโดดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พระโขนง ได้รับบาดเจ็บก่อนไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ได้มาติดต่อรับศพไปประกอบพิธีตามศาสนา จากการสอบถามน้องชายผู้ตาย กล่าวว่า ส่วนตัวแล้วไม่ติดใจกับการเสียชีวิตของพี่สาว ยอมรับว่าพี่สาวป่วยเป็นโรคโควิด-19 จริง แต่ได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.รามาธิบดี โดยเข้ารักษาตั้งแต่วันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา จนหายดี และแพทย์ให้กลับบ้านได้ พร้อมยืนยันกับพลเมืองดีที่เข้าช่วยเหลือพี่สาวให้คลายความกังวลได้ เนื่องจากพี่สาวผ่านการรักษาตัวหายดีแล้ว ไม่ติดเชื้อโควิดตามไปด้วยแน่นอน

สาวดิ่งBTSดับ พ้อติดโควิดจาก'พี่หมวด'-ไร้คนจ้างงาน

"โดยก่อนหน้านี้พี่สาวทำงานเป็นพนักงานร้านสะดวกซื้อและลาออกมา โดยพี่สาวเตรียมตัวจะกลับบ้านเกิดที่จ.สุรินทร์ เนื่องจากไม่มีงานทำ ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตตนเองไม่ทราบมาจากเรื่องใด โดยเฉพาะเรื่องที่มีจดหมายเขียนพาดพิงถึงนายตำรวจนายหนึ่งตนก็ไม่ทราบเรื่อง เนื่องจากพี่สาวจะไม่บอกอะไรให้ครอบครัวทราบมาก สำหรับการนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่ใดอยู่ระหว่างการปรึกษาของทางครอบครัวอีกครั้ง" น้องชาย กล่าว


ด้าน น.ส.ดวงใจ บุญเติม อายุ 38 ปี เพื่อนสนิทผู้ตาย กล่าวว่า ยอมรับว่าเพื่อนติดโควิด-19 จริง โดยได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดีตั้งแต่วันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา จนรักษาตัวหายดีแล้วซึ่งแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. ก่อนให้กลับมากักตัวที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งช่วงที่เกิดเหตุนี้ยังอยู่ในช่วงระหว่างการกักตัวตามคำสั่งแพทย์ 

ส่วนกรณีที่มีพลเมืองดีช่วยเหลือเพื่อนในวันเกิดเหตุและหลังจากนั้นพบว่ามีการเขียนจดหมายระบุว่า ติดโควิด-19 นั้น ยืนยันว่าเพื่อนรักษาจนหายดีแล้ว ไม่อยากให้เป็นกังวล ส่วนสาเหตุในการคิดสั้นเชื่อว่าเป็นเพราะความเครียดสะสมเรื่องส่วนตัวหลายๆ เรื่อง รวมถึงปัญหาเรื่องการตกงานช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดไม่สามารถหางานทำได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกันผ่านช่องทางออนไลน์ เรื่องที่จะกลับบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ แต่มาพบข่าวว่าเพื่อนคิดสั้นกระโดดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสฆ่าตัวตายก่อน


ส่วนเรื่องนายตำรวจที่ถูกระบุไว้ในจดหมายตนเองไม่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ รู้เพียงว่าก่อนหน้านี้เพื่อนเคยมีครอบครัวมาก่อน และมีลูก 1 คน แต่เลิกรากันไปนานแล้ว ทั้งนี้หากย้อนเวลาได้ตนเองอยากบอกกับเพื่อนว่าไม่น่าคิดสั้นแบบนี้

ญาติสาว กระโดดรถไฟฟ้า ยอมรับ "ติดโควิด"จริง แต่แพทย์รักษาหายแล้ว
คมชัดลึก
อังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 16:21 น.

ญาติกลุ่มเพื่อนรับศพสาวโดดบีทีเอส น้องชายรับ "ติดโควิด" จริง แต่รักษาตัวหายแล้วขอให้พลเมืองดีคลายกังวล ส่วนชื่อตร.ที่ระบุในจม. ไม่รู้เรื่องมาก่อน ส่วนสาเหตุเครียดสะสมหลายเรื่อง เพื่อนเผยเตรียมตัวกลับบ้านเกิดหลังตกงาน ย้อนเวลาได้จะบอกเพื่อนไม่น่าคิดสั้น
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ญาติ พร้อมด้วยกลุ่มเพื่อนๆ ของ น.ส.นุช (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี ซึ่งก่อเหตุกระโดดสถานีรถไฟฟ้า ย่านพระโขนง จนทำให้เสียชีวิต และงจากที่ในจดหมายมีการระบุว่า "ติดโควิด" ได้เดินทางมาติดต่อรับศพไป เพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนา



จากการสอบถาม "น้องชายของผู้ตาย" ทราบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ติดใจกับการเสียชีวิตของพี่สาว และยอมรับว่า พี่สาวได้มีอาการป่วยติดเชื้อโควิด-19 "ติดโควิด"จริง แต่ได้เข้ารับการรักษาอาการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเข้าพบแพทย์และเข้าสู่กระบวนการรักษาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา จนหายดีแล้ว กระทั่งต่อมาแพทย์จึงได้อนุญาติให้กลับบ้านได้ ทั้งนี้ ขอยืนยันกับพลเมืองดี ที่เข้าให้การช่วยเหลือพี่สาว ให้คลายความกังวลได้ เนื่องจากพี่สาวผ่านการรักษาตัวจนหายดีแล้ว




“โดยก่อนหน้านี้ พี่สาวทำงานเป็นพนักงานของร้านสะดวกซื้อ และได้ลาออกมา โดยพี่สาวเตรียมตัวจะกลับบ้านเกิดที่จังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากไม่มีงานทำ ส่วนสาเหตุของการเสียชีวิต ตนเองไม่ทราบมาจากเรื่องใด โดยเฉพาะเรื่องที่มีจดหมายเขียนพาดพิงถึงนายตำรวจนายหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ตนก็ไม่ทราบเรื่อง เพราะพี่สาวจะไม่บอกอะไรให้ครอบครัวทราบมากนัก สำหรับการนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่ใดนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรึกษากับทางครอบครัวอีกครั้ง”น้องชายระบุ



ทางด้าน น.ส.น้ำส้ม (สงวนนามสกุล) เพื่อนสนิทผู้ตาย ระบุว่า ยอมรับว่าเพื่อน "ติดโควิด" จริง โดยได้รับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 3มิถุนายนที่ผ่านมา จนอาการป่วยหายดีแล้ว ซึ่งแพทย์ก็ได้อนุญาตให้กลับบ้าน ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน และมาทำการกักตัวที่บ้านอีก 14 วัน ซึ่งช่วงที่เกิดเหตุนี้ ยังอยู่ในช่วงระหว่างการกักตัวตามคำสั่งแพทย์



ญาติสาว กระโดดรถไฟฟ้า ยอมรับ "ติดโควิด"จริง แต่แพทย์รักษาหายแล้ว


ส่วนกรณีที่มีพลเมืองดีช่วยเหลือเพื่อนในวันเกิดเหตุ และหลังจากนั้นพบจดหมายส่วนตัว ที่มีใจความว่า ติดเชื้อ"โควิด-19" นั้น ยืนยันว่าเพื่อนรักษาจนหายดีแล้ว ไม่อยากให้เป็นกังวลเรื่องการ "ติดโควิด" ส่วนสาเหตุในการคิดสั้นเชื่อว่าเป็นเพราะความเครียดสะสม เรื่องส่วนตัวหลายๆ เรื่อง รวมถึงปัญหาเรื่องการตกงาน ในช่วงโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด จนกระทั่งไม่สามารถหางานทำได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกันผ่านช่องทางออนไลน์ เรื่องที่จะกลับบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ แต่ก็มาพบว่า เพื่อนได้คิดสั้นกระโดดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส. ฆ่าตัวตายไปแล้ว



ส่วนเรื่องนายตำรวจที่ถูกระบุไว้ในจดหมาย เรื่องนี้ตนเองไม่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ รู้เพียงว่า ก่อนหน้านี้เพื่อนเคยมีครอบครัวมาก่อน และมีลูก 1 คน แต่ก็ได้เลิกรากันไปนานแล้ว ทั้งนี้ หากย้อนเวลาไปได้ ตนเองอยากบอกกับเพื่อนว่า ไม่น่าคิดสั้นแบบนี้



รายงานแจ้งว่า ทางโรงพยาบาลที่ผู้ตายเข้ารักษาตัวโควิด-19 ได้มีการออกเอกสารใบรับรองแพทย์ผู้ป่วยใน เป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่า ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน และให้กลับบ้านได้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 128, 129, 130 ... 155, 156, 157  Next
Page 129 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©