Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180080
ทั้งหมด:13491312
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 411, 412, 413 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2021 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

จากกรุงเทพฯ-อีอีซีความท้าทาย ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน
โดย ประธาน จิวจินดา หัวหน้าส่วนวิจัยนโยบายรัฐและปัจจัยทางธุรกิจ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
21 มิถุนายน 2564

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2564 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้นำเสนอความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2564 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้นำเสนอความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายหลังได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 เป็นโครงการสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2 แสนล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าทั้งด้านความพร้อมส่งมอบพื้นที่ซึ่งมีความคืบหน้า 86% ให้กับบริษัทเอกชนคู่สัญญาภายในเดือนก.ย.นี้

ขณะที่บริษัทเอกชนคู่สัญญาก็ได้ดำเนินการออกแบบและเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง (early work) แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ถึงอู่ตะเภา ในปี 2568

นอกจากนี้ ยังจะมีการส่งมอบระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ให้กับบริษัทเอกชนคู่สัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วย โดยใช้แนวเส้นทางแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เดิมที่เปิดให้บริการในปัจจุบันระยะทาง 29 กม. และการก่อสร้างส่วนต่อขยาย 2 ช่วงรวมระยะทาง 191 กม. คือจากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีสุวรรณภูมิไปยังสนามบินอู่ตะเภา รวมแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

หลังการส่งมอบระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงระบบไฟฟ้า การปรับปรุงสถานี ตลอดจนการปรับเปลี่ยนตู้ขนสัมภาระจำนวน 4 ตู้ ให้เป็นตู้รองรับผู้โดยสารทำให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น และลดการรอคอยขบวนรถไฟในชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างน้อย 4 ประการ คือ ประการแรก การพลิกสถานะแอร์พอร์ตลิงก์จากขาดทุนเป็นกำไร ซึ่งโครงการแอร์พอร์ตลิงก์เดิมมีหนี้ประมาณ 33,000 ล้านบาท และขาดทุนทุกปี ปีละประมาณ 300 ล้านบาท (ข้อมูลจากสกพอ.)

ประการที่สอง การพัฒนาสถานีมักกะสัน 150 ไร่โดยประมาณ และสถานีศรีราชา 25 ไร่ ให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งหมายถึงการเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นอย่างยั่งยืนด้วย ประการสำคัญต้องตระหนักถึงพฤติกรรมผู้บริโภคอาจเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่หลังโควิด-19

ประการที่สาม โครงการนี้เป็น PPP net cost กล่าวคือ เอกชนได้รับสิทธิในการจัดเก็บรายได้และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่​ภาครัฐตามข้อตกลง ทั้งนี้ เอกชนต้องลงทุนก่อสร้างก่อนใน 5 ปีแรก แล้วรัฐลงทุนตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นเวลา 10 ปี แต่เอกชนก็ต้องรับความเสี่ยงจากการดำเนินงานทั้งภาระดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงแรก รวมถึงในช่วงหลังหากเกิดกรณีจำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ประการสุดท้าย การเวนคืนที่ดินและการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างหากมีความล่าช้า ก็อาจส่งผลต่อต้นทุนการก่อสร้างและระยะเวลาการเปิดให้บริการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม.ซึ่งจำเป็นต้องใช้ปรับปรุงรูปแบบทางวิ่งบางช่วงที่ร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่เป็น Missing Link

อย่างไรก็ดี เมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเสร็จสมบูรณ์ จะช่วยสนับสนุนให้สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับสนามบินอู่ตะเภาเกิดเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหม่ของอีอีซีด้วย คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น การจ้างงานตลอดช่วงเวลาก่อสร้างสูงถึง 16,000 อัตรา รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ท่องเที่ยว วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ตลอดจนในอนาคต รถไฟความเร็วสูงเส้นนี้ก็จะเชื่อมโยงภูมิภาคทั้งใน CLMV อาเซียน และโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ “One Belt One Road” ของจีนอีกด้วย

สถานีลาดกระบัง เริ่มมีการเคลียร์พื้นที่สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้วครับ
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/4048158791932749
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/06/2021 7:34 am    Post subject: Reply with quote

เปิดดีเทล12หัวข้อทำHIAสถานีอยุธยา
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จับเวลา6เดือนอัพเดท'ยูเนสโก'ทุก30วัน
ลดไซซ์สถานีเหลือ20ม.หั่นทางวิ่งสูง15ม.

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), กรมการขนส่งทางราง (ขร.), กรมศิลปากร และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อหารือถึง กรอบแนวทางการจัดทำการศึกษาประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กรณีการก่อสร้างสถานีอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด)ไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ- นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า มีขอบเขต การศึกษา 12 บท ได้แก่

1.การอธิบายคุณค่าความสำคัญของแหล่ง มรดกโลกฯ
2.สภาพปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมของแหล่งมรดกโลกฯ
3.การอธิบายลักษณะพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นทางรถไฟ
4.รายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย
5.การกำหนดเกณฑ์และวิธีในการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกฯ
6.การประเมินผลกระทบโครงการรถไฟความเร็วสูงที่มีต่อแหล่งมรดกโลกฯ
7.แนวทางและมาตรการ ลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกฯ
8.ผลที่ อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง ทั้งเชิงบวกและลบ
9.กรอบระยะเวลาในการดำเนินงานทุกขั้นตอน
10.เอกสารอ้างอิง
11.ภาคผนวก และ
12.องค์กรหรือบุคคลที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งอีกว่า จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือน โดยกระทรวงคมนาคมเสนอที่ประชุมว่า จะรายงานผลความคืบหน้าการศึกษาทุก 1 เดือนให้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ทราบทันที จะไม่รอให้ผลการศึกษาแล้วเสร็จทั้งหมดจึงจะรายงาน เพื่อลดข้อกังวลของยูเนสโก รวมถึงให้ยูเนสโกได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และมีความใหม่อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมยินดีรับฟังทุกข้อเสนอแนะ ซึ่งการประชุมครั้งนี้กรมศิลปากรยอมรับว่า ยูเนสโกไม่ได้ระบุว่าต้องสร้างอุโมงค์ลอดพื้นที่มรดกโลก หรือเปลี่ยนเส้นทางใหม่อ้อมเมือง เพียงแค่กังวลว่าอาจกระทบต่อแหล่งมรดกโลกหรือไม่ จึงให้ทำ HIA ซึ่งกระทรวงคมนาคมไม่ได้ขัดข้อง และพยายามจะทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะความสูงของตัวสถานีอยุธยา และโครงสร้างทางวิ่ง (สันราง) ซึ่งจะลองปรับลดขนาดลง และศึกษาดูว่าหากปรับแล้วจะมีผลกระทบใด ๆ หรือไม่

เบื้องต้นจะลองปรับขนาดตัวสถานีลงอีกเป็นครั้งที่ 2 จากเดิมครั้งแรกสูง 45 เมตร เหลือ 32 เมตร หรือลดลง 13 เมตร และล่าสุดจะให้เหลือไม่เกิน 20 เมตร หรือลดลงไปอีก 12 เมตร โดยจะใช้วิธีตัดพื้นที่ชั้น 2 ที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารออกไป และย้ายมาจำหน่ายตั๋วที่ชั้น 1 ในจุดเดียวกับจุดที่จำหน่ายตั๋วรถไฟทางคู่ ดังนั้นสถานีจะเหลือแค่ 2 ชั้นคือ ชั้นที่ 1 จำหน่ายตั๋ว และชั้น 2 ชานชาลา ส่วนโครงสร้างทางวิ่งเดิมสูง 19 เมตร จะลดลงไป 4 เมตรเหลือ 15 เมตร ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง เพราะยังมีปัจจัยเรื่องสะพานเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นบางจุดใกล้สะพานอาจยังต้องสูง 19 เมตรอยู่ แต่จะลองดูว่าหากข้ามสะพานแล้วลดระดับลงทันทีได้หรือไม่ ซึ่งน่าจะปลอดภัย แต่ผู้โดยสารอาจรู้สึกหวาดเสียวเล็กน้อย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2021 11:36 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดดีเทล12หัวข้อทำHIAสถานีอยุธยา
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2934675223420643
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2021 11:39 am    Post subject: Reply with quote

อาคารไม้หลังสถานีรถไฟ แก่งคอย ที่หายไปบ้างแล้ว และกำลังจะหายไปทั้งหมด จากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=105630325106494&id=105362371799956
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2021 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายจีน โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ประชุมทางไกล (Video Conference) กับหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายจีน เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) การจัดทำร่างบันทึกแนบท้ายสัญญา 2.2 ความก้าวหน้าการออกแบบโครงการฯ และความร่วมมือของโครงการ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เพื่อนำข้อสรุปในการหารือร่วมกันเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 29 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 (รูปแบบการประชุมทางไกล Video Conference) โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่วมประชุม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4180747028638877

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายจีน โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 น. นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายจีน เกี่ยวกับการเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงหนองคาย - เวียงจันท์ และข้อกำหนดในการออกแบบ (Design Criteria) ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง เพื่อนำข้อสรุปในการหารือร่วมกันเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 29 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 (รูปแบบการประชุมทางไกล Video Conference) โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่วมประชุม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4180853758628204
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยรถไฟไทย-จีน เชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง-อาเซียน

หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 25 มิถุนายน 2564 19:24 น.

ศักดิ์สยาม ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้าน รถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 29 ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และอาเซียน ความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน การเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ .



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้าน รถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 29 ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และอาเซียน ความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน การเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์
.
วันที่ 25 มิถุนายน 2564 การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ ๒๙ จัดขึ้นใน รูปแบบของการประชุมทางไกล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิ่ง จีเจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เป็นประธานร่วมการประชุม โดยมีผู้แทนกรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า ภายใต้นโยบายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย ส่งเสริมความเชื่อมโยงภายในประเทศไทย อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และอาเซียน ตลอดจนได้มีการเสนอประเด็นที่ไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถขยายความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ที่สอดคล้องกับนโยบายและวาระแห่งชาติของไทย รวมทั้งวิสัยทัศน์และแผนงานที่เกี่ยวข้องของนายศักดิ์สยามฯ ภายใต้ กรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน โดยมีเป้าหมายหลักในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน และนําไปสู่ “การสร้างใหม่ให้ดีกว่าเดิม” โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งมีข้อสรุปสําคัญจากการประชุม ดังนี้
.
1. ฝ่ายไทยแจ้งความก้าวหน้างานโยธา ระยะแรก สําหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ฝ่ายจีน รับทราบความก้าวหน้างานโยธาระยะแรกในช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งงานโยธาส่วนใหญ่ได้เริ่มดําเนินการ แล้ว ฝ่ายไทยได้จัดตั้งสํานักงานบริหารโครงการเพื่อเร่งรัดการดําเนินการ ทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่าง สูงสุดเพื่อให้สามารถดําเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน
.
2. ฝ่ายจีนรับทราบความก้าวหน้าของโครงการช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ซึ่งอยู่ระหว่างการ ดําเนินการ ฝ่ายไทยได้ข้อสรุปสําหรับงานออกแบบรายละเอียดแล้ว โดยผลการศึกษาใกล้ที่จะแล้วเสร็จ ฝ่าย ไทยขอให้ฝ่ายจีนจัดหาที่ปรึกษาตรวจสอบแบบ ฝ่ายจีนเห็นว่างานบริการที่ปรึกษาควรดําเนินการในรูปแบบ การลงนามในสัญญาบริการที่ปรึกษา ซึ่งจะต้องดําเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายจะหารือใน ประเด็นดังกล่าวต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานงานโยธาและระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
.
3. ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ฝ่ายไทยเสนอให้มี การประชุมไตรภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับเส้นทางการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ ทั้งสองฝ่ายจะ หารือกับฝ่ายลาวเพื่อผลักดันให้มีการประชุมระดับคณะทํางานสามฝ่ายและจัดการประชุมทุกเดือนเพื่อให้มี ความคืบหน้าในการเชื่อมโยงต่อไป

4. ทั้งสองฝ่ายได้หารือการดําเนินการช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง โครงการความร่วมมือ ด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ได้ใช้ทางวิ่งและโครงสร้างร่วม โดยจะพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้กระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา ๒.๓ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปรับงานออกแบบรายละเอียดของช่วงดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานจีน และสนับสนุนฝ่ายไทยในการแก้ปัญหาประเด็นทางด้าน เทคนิค คณะทํางานด้านเทคนิคจะหารือประเด็นดังกล่าวต่อไป

5. ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในร่างบันทึกแนบท้ายสัญญา ครั้งที่ ๑ ของสัญญาที่ปรึกษาควบคุมงาน การก่อสร้างงานโยธาที่ได้หารือกันไว้ ทั้งสองฝ่ายจะลงนามในร่างบันทึกแนบท้ายสัญญาฯ หลังจากการประชุม คณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ ๒๙ แล้วเร็วโดยเร็วต่อไป
.
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 30 หลังการประชุม ไตรภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อไป
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4183842238329356

หมุดหมายรถไฟไทย!! ยังวิ่งไปแผ่นดินจีนผ่านเวียงจันทน์
*”คมนาคม” ประชุมกรรมการอัพเดทการก่อสร้าง
*เตรียมปรับแบบช่วงพื้นที่ร่วมเส้นเชื่อม3สนามบิน
*ลุยเฟส 2ถึงหนองคายจ้างที่ปรึกษาจีนตรวจแบบ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2936681976553301
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2021 6:44 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทยยังพุ่งสปีดไปจีน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบของการประชุมทางไกล โดยมีนายนิ่ง จี่เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เป็นประธานร่วมว่า ฝ่ายไทยโดยกระทรวงคมนาคม ได้แจ้งความก้าวหน้างานโยธาระยะแรกสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งฝ่ายจีนรับทราบความก้าวหน้างานโยธาระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ส่วนใหญ่เริ่มดำเนินการแล้ว ฝ่ายไทยได้จัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการเพื่อเร่งรัดการดำเนินการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่างสูงสุด เพื่อให้ก่อสร้างได้ตามแผนงาน(เปิดบริการเต็มระบบปี 69)

2. ฝ่ายจีนรับทราบความก้าวหน้าของโครงการช่วงนครราชสีมา- หนองคาย ฝ่ายไทยได้ข้อสรุปสำหรับงานออกแบบรายละเอียดแล้ว โดยผลการศึกษาใกล้แล้วเสร็จ ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนจัดหาที่ปรึกษาตรวจสอบแบบ ฝ่ายจีนเห็นว่างานบริการที่ปรึกษาควรดำเนินการในรูปแบบการลงนามในสัญญาบริการที่ปรึกษา ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายจะหารือในประเด็นดังกล่าวต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานงานโยธา และระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

3. ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการเชื่อมทางรถไฟระหว่าง หนองคาย-เวียงจันทน์ ฝ่ายไทยเสนอให้ประชุมไตรภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทย สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับ เส้นทางการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ทั้งสองฝ่าย จะหารือกับฝ่ายลาว เพื่อผลักดันให้มีการประชุมระดับคณะทำงานสามฝ่าย และจัดการประชุมทุกเดือนเพื่อให้มีความคืบหน้าในการเชื่อมโยงต่อไป

4.ทั้งสองฝ่ายได้หารือช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โครงการความ ร่วมมือ ด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ใช้ทางวิ่งและโครงสร้างร่วม โดยจะพยายามไม่ให้กระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา 2.3 (สัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ) รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปรับงานออกแบบรายละเอียดของช่วงดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานจีน และสนับสนุนฝ่ายไทยในการแก้ปัญหาประเด็นทางด้านเทคนิค โดยคณะทำงานด้านเทคนิคจะหารือต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า 5.ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในร่างบันทึกแนบท้ายสัญญา ครั้งที่ 1 ของสัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างงานโยธาที่ได้หารือกันไว้จะลงนามในร่างบันทึกแนบท้ายสัญญาฯ โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกำหนดประชุมคณะกรรมการร่วม ครั้งที่ 30 หลังการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป.ลาว และจีนต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2021 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

มาหาที่ตั้ง สำนักงานใหม่ แถวๆ เชียกรากน้อย 4-3
https://www.facebook.com/chatchaysrt/posts/4376923975653289
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 1:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟไทยยังพุ่งสปีดไปจีน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ลิงก์มาแล้วครับ
"คมนาคม" ถกจีนอัพเดทสร้างรถไฟไทย-จีน
ศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 18.10 น.

“คมนาคม” ถกจีน อัพเดทสร้างรถไฟไทย-จีน เตรียมปรับแบบช่วงพื้นที่ร่วมไทยจีน-เชื่อม 3 สนามบิน “บางซื่อ-ดอนเมือง” ลุยต่อช่วง “โคราช-หนองคาย” จ้างที่ปรึกษาจีนตรวจสอบแบบก่อสร้าง เร่งเข็นรถไฟเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์..

https://www.dailynews.co.th/economic/852408

รถไฟไทย-จีนเตรียมลุยเฟส 2 โคราช-หนองคาย,ผลักดันเจรจาไตรภาคีเชื่อมโยงเวียงจันทน์
ข่าวเศรษฐกิจ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:22น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 29 ผ่านระบบการประชุมทางไกล กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.64 ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 179,413 ล้านบาท
ฝ่ายไทยแจ้งความก้าวหน้างานโยธาระยะแรก 14 สัญญา ซึ่งส่วนใหญ่เริ่มดำเนินการแล้ว และฝ่ายไทยได้จัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการเพื่อเร่งรัดการดำเนินการ โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน

ADVERTISEMENT


ส่วนแผนงานระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม.ฝ่ายจีนรับทราบความก้าวหน้าของโครงการ ซึ่งฝ่ายไทยจะสรุปงานออกแบบรายละเอียดในเร็ว ๆ นี้ โดยไทยขอให้ฝ่ายจีนจัดหาที่ปรึกษาตรวจสอบแบบ ขณะที่ฝ่ายจีนเห็นว่าควรมีการลงนามในสัญญาบริการที่ปรึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจะหารือในประเด็นดังกล่าวต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานงานโยธาและระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งฝ่ายไทยเสนอให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทยลาว และ จีน เกี่ยวกับเส้นทางการเชื่อมโยง โดยทั้งสองฝ่ายจะหารือกับฝ่ายลาวเพื่อผลักดันให้มีการประชุมระดับคณะทำงานสามฝ่ายและจัดการประชุมทุกเดือนเพื่อให้มีความคืบหน้าต่อไป

ADVERTISEMENT


สำหรับการดำเนินการช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งเป็นความร่วมมือของโครงการรถไฟไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อใช้ทางวิ่งและโครงสร้างร่วม ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปรับงานออกแบบรายละเอียดให้เป็นไปตามมาตรฐานของจีน และสนับสนุนฝ่ายไทยในการแก้ปัญหาประเด็นทางด้านเทคนิค คณะทำงานด้านเทคนิคจะหารือประเด็นดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ)

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในร่างบันทึกแนบท้ายสัญญา ครั้งที่ 1 ของสัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างงานโยธาที่ได้หารือกันไว้ ทั้งสองฝ่ายจะลงนามในร่างบันทึกแนบท้ายสัญญาฯ โดยเร็วต่อไป

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 30 ในช่วงเดือนพ.ย.64 หลังการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีนต่อไป


Last edited by Wisarut on 28/06/2021 2:58 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 10:42 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟไทยยังพุ่งสปีดไปจีน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564


ไฮสปีดไทย-จีนสะดุด!มรดกโลกอยุธยา “ศักดิ์สยาม”ชง”นายกฯ” ผ่าทางตัน จ่อหารือ”ยูเนสโก”แจงข้อเท็จจริงช่วยปลดล็อก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 07:32 น.
ปรับปรุง: วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 07:32 น.

เช็กสถานะโครงการก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาทซึ่งมีงานโยธา 14 สัญญา ล่วงเลยกว่า 6 ปีครึ่ง ก่อสร้างเสร็จแค่ 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา ผู้รับเหมาเตรียมเข้าพื้นที่ก่อสร้าง 3 สัญญา รอเซ็นสัญญา 1 สัญญา อุทรธณ์ 1 สัญญา ติดปัญหาปรับแบบ 1 สัญญาและยังไม่ได้ประมูลอีก 1 สัญญา

โดยผลงานก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนพ.ค. 2564 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. เซ็นสัญญาตั้งแต่ปี 2562

คืบหน้า 62.18 % ล่าช้ากว่าแผนถึง 37.82 % จากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และโควิด-19 ทำให้มีการขยายเวลาก่อสร้างแล้ว 1 ครั้งส่วนสัญญาอื่นๆ เพิ่งได้เข้าพื้นที่ งานยังคืบหน้าไม่มาก และยังมีอุปสรรคเรื่องเวนคืนที่ดินและการขอใช้พื้นที่จากทั้งกรมป่าไม้กรมชลประทาน และกรมธนารักษ์

แต่อุปสรรคเหล่านี้ไม่น่าหนักใจเท่า ประเด็นมรดกโลก สถานีอยุธยา ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. ที่ประมูลได้ผู้รับจ้างมาเป็นปีแล้ว ได้ยังเซ็นสัญญากันไม่ได้

กรมศิลปากร หวั่นแบบ”สถานีอยุธยา” จะกระทบมรดกโลกทางวัฒนธรรม และที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2564 ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติให้ รฟท. จัดทำรายงาน เรื่อง HIA (Heritage Impact Assessment) ผลกระทบมรดกวัฒนธรรม

ขณะที่ 5 แนวทางในการก่อสร้างที่กระทรวงคมนาคมเสนอ กรรมการมรดกโลกและกรมศิลปากร เห็นด้วยกับแนวทางที่1 และ 2 คือ 1. ก่อสร้างเป็นลักษณะสถานีและทางวิ่งใต้ดิน ค่าก่อสร้างขยับเป็น 15,000 ล้านบาท เวลาเพิ่มอย่างน้อย 5 ปี

2. เปลี่ยนแนวเส้นทาง อ้อม เลี่ยงพื้นที่มรดกโลก ซึ่งจะทำให้ระยะทางเพิ่มประมาณ 30 กม. ค่าใช้จ่ายบานกว่า 26,000 ล้านบาท ต้องเวนคืน เวลาดำเนินการเป็น 7 ปี

3. ก่อสร้างสถานีที่บ้านม้าก่อนถึงสถานีรถไฟอยุธยาเดิม หรือสร้างเลยออกไป เวนคืนเพิ่ม ใช้เวลาเพิ่ม ราว1 ปี

4. ก่อสร้างสถานีในตำแหน่งเดิม โดยจัดทำผังเมืองเฉพาะ ใช้เวลาเพิ่มประมาณ 1 ปี

5. ก่อสร้างเฉพาะทางวิ่งไปก่อน โดยจะกำหนดที่ตั้งสถานีภายหลัง เวลาดำเนินการตามแผน

@ ปรับแบบสถานีใหม่ ใหญ่ อลังการ จนเป็นปัญหา

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เดิมสถานีอยุธยาเสร็จแล้ว มีสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องและไม่มีปัญหาเรื่องทัศนียภาพและมรดกโลก รวมถึงผ่าน EIA เรียบร้อย ต่อมาเมื่อปี2562 รฟท.มีการปรับแบบสถานีอยุธยาใหม่ร่วมกับจีน ซึ่งสถานีอยุธยาจะเป็นจุดจอดของรถไฟความเร็วสูงและรถไฟสายสีแดงในอนาคตด้วย

ดังนั้น รูปแบบสถานีใหม่ ใหญ่โต อลังการ จนทำให้มองว่า แบบใหม่ของสถานีอยุธยา ไปข่ม!!!สถาปัตยกรรมในพื้นที่...กลายเป็นปัญหาใหญ่

แต่เมื่อมีเสียงท้วงติงรฟท.ได้ปรับแก้ โดยถอยกลับไปใช้แบบสถานเดิมก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นรูปแบบสถานีรถไฟธรรมดา ตัดโครงสร้างที่กระทบต่อภูมิทัศน์ และสถาปัตยกรรม เช่น ปรับส่วนหลังคาใช้วัสดุ เป็นกระจก และเรซินพลาสติกใส

มีการปรับสถานีลดจาก 3 ชั้นเหลือ2 ชั้น โดยตัดพื้นที่ชั้นที่2 (ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร) มาใช้ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร ร่วมกับ รถไฟทางคู่ ทำให้ลดระดับความสูงจาก 46 เมตรเหลือ 37.45 เมตร ลดระดับสันรางมาอยู่ที่ 15 เมตร

ตำแหน่งสถานี อยู่ห่างจากจุดอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ประมาณ 1.5 กม. ขณะที่บริเวณใกล้เคียงกับสถานี มีอาคารสูง 10 ชั้น ของโรงแรมกรุงศรีริเวอร์ และอาคารสูง 8 ชั้น ของโรงแรมอโยธยาริเวอร์ไซด์ ใกล้กัน จากการทำภาพจำลองมุมอง สามารถเปรียบเทียบผลกระทบด้านทัศนียภาพได้ชัดเจน

“ลดขนาด ลดความสูง ปรับวัสดุ แต่กรมศิลปากร ยังไม่ยอม!!!

@“ศักดิ์สยาม”ยันใช้แบบเดิมชง”นายกฯ”ตัดสินใจ

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เรื่องสถานีอยุธยาได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง(ขร.) เร่งประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปข้อมูลรายละเอียดแนวทางทั้งหมด เพื่อเสนอพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจ ในเร็วๆนี้

ตอนนี้ มี 2 ความเห็นคือ ความเห็นของคณะกรรมการมรดกโลก กับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเราจะเสนอ 5 ทางเลือกเดิม และจะทำรายละเอียดทางเลือกที่ 6 เพิ่มเติม คือการก่อสร้างในระดับดิน พร้อมชี้ให้เห็นถึงจุดดี จุดด้อย ในแต่ละทางเลือกเพื่อให้นายกฯ พิจารณาตัดสินใจ ในขณะเดียวกันได้มอบหมายให้นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ศึกษาเรื่องกฎหมาย มรดกโลกอย่างละเอียด เพื่อดูว่าจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างไร

“ชาวอยุธยา ต้องการให้มีการก่อสร้างตามที่รฟท.ออกแบบ แต่ติดเรื่องมรดกโลก ซึ่งคนอยุธยาเองก็มองว่า กรณีความสูงรถไฟไทย-จีน มีความสูงที่ 12 เมตร แต่ในขณะที่ มีอาคารที่สูงกว่า อีกหลายแห่ง แต่ไม่มีปัญหาทางกรรมการมรดกโลก อ้างว่าตึกสูงแต่ลักษณะเป็นจุดๆ แต่รถไฟสูง เป็นแนวยาว ขณะที่ ความเป็นมรดกโลก การมีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวจะยิ่งเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย”

ซึ่งหากตัดสินใจเร็ว มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อการเปิดเดินรถไฟไทยจีน และเห็นว่า กรณีที่กก.มรดกโลก ให้ ทำเป็นอุโมงค์ต้องใช้เวลาก่อสร้าง 7 ปี นั้นท่านนายกฯก็คงไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้แน่นอน

@กรมรางฯนัด”ยูเนสโก”ให้ข้อมูลตรง

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบหนังสือ ยูเนสโก ซึ่งแจ้งให้ทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) แต่ไม่มีเรื่องให้ก่อสร้างเป็นอุโมงค์หรือปรับแนวเลี่ยงเมืองแต่อย่างใด ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ กรมรางฯจะประสานกับ ยูเนสโก กรุงเทพฯ เพื่อชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องแบบสถานี ที่ปรับไปใช้รูปแบบเดิมและตัดส่วนที่คาดว่าจะมีผลกระทบออกหมดแล้ว

ส่วนรฟท.ต้องเดินหน้า ทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) แต่เนื่องจากในประเทศไทยไม่เคยมีการจัดทำมาก่อน จึงต้องพยายามหาผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีเข้ามาช่วย โดยใช้เวลาดำเนินการ 180 วัน

@ เปิดหัวข้อ 12 บท ยูเนสโก ศึกษาประเมิน HIA

สำหรับขอบเขตการศึกษาประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 12 บท ได้แก่ 1. การอธิบายคุณค่าความสำคัญของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 2. สภาพปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมของแหล่งมรดกโลกฯ

3. การอธิบายลักษณะพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นทางรถไฟ (ภาพรวมแผนแม่บทรถไฟ , การพัฒนารถไฟทางคู่,รถไฟสายสีแดง,รถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่/เชียงรายและช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย) การพัฒนาพื้นที่โดยรอบ(TOD)

4.รายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย เช่น ภาพรวมของโครงการ ,ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่แหล่งมรดกโลก 5.การกำหนดเกณฑ์และวิธีในการประเมินผลกระทบ 6.การประเมินผลกระทบที่มีต่อแหล่งมรดกโลกฯทั้งเมืองประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน

7.แนวทางและมาตรการการลดผลกระทบ 8. ผลที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง ทั้งผลเชิงบวก ผลเชิงลบ 9.กรอบระยะเวลาในการดำเนินงานทุกขั้นตอน 10. เอกสารอ้างอิง 11.ภาคผนวก 12. องค์กรหรือบุคคลที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

@จีนยอมลดสปีด”บางซื่อ – ดอนเมือง” 160 กม./ชม.เร่งสร้างช่วงทับซ้อน3สนามบิน

สำหรับการก่อสร้างช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง สัญญา4-1 ซึ่งเป็นช่วงที่ รถไฟไทย-จีน ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ต้องใช้ทางวิ่งและโครงสร้างร่วม ล่าสุด การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน(Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564 เห็นชอบที่จะปรับงานออกแบบรายละเอียดของช่วงดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานจีนและสนับสนุนฝ่ายไทยในการแก้ปัญหาประเด็นทางด้านเทคนิค

โดยให้รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นผู้ก่อสร้างงานโยธาร่วมของ ไทย-จีน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง โดยฝ่ายจีนเห็นชอบการออกแบบ ลดความเร็วในช่วงดังกล่าว เป็น 160 กม./ชม. เนื่องจากเป็นการเดินรถในเขตเมือง อีกทั้งจากสถานีกลางบางซื่อถึงดอนเมืองมีระยะ15.21 กม. ซึ่งถือว่าห่างกันไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องเดินรถด้วยความเร็วสูงสุด และพบว่า การปรับลดสปีดความเร็วไทย-จีน เหลือ160 กม./ชม. นั้น จะช้าลงแค่ 40.80 วินาที เท่านั้น

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” กล่าวว่า จะหารืออีอีซี เพื่อให้เร่งรัดซี.พี.ก่อสร้างช่วงทับซ้อนกับรถไฟไทย-จีนภายใน 2 ปี ดังนั้นงานโยธาของเฟสแรก ขณะนี้ ยังเป็นไปตามแผนงาน เหลือสถานีอยุธยาหากท่านนายกฯ ตัดสินใจ จะแก้อุปสรรคใหญ่ได้ และเชื่อว่าโครงการจะเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2569ตามแผน

@ แบบเฟส 2 เสร็จ ก.ค.นี้ เร่งสร้างสะพานเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์

สำหรับการออกแบบรายละเอียด ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะตรวจรับงานในเดือนมิ.ย.-ก.ค.นี้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีนครราชสีมา สิ้นสุดที่ริมแม่น้ำโขง ฝั่งไทย ระยะทาง356 กม. มี 5 สถานี คือ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่นสถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง ( Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย มีศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Bese) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านกองเก็บตู้สินค้า(Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่งที่นาทา

ทั้งนี้ไทยขอให้ฝ่ายจีนจัดหาที่ปรึกษาตรวจสอบแบบ ฝ่ายจีนเห็นว่างานบริการที่ปรึกษาควรดำเนินการในรูปแบบการลงนามในสัญญาบริการที่ปรึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายจะหารือในประเด็นดังกล่าวต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานงานโยธาและระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับการเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งฝ่ายไทยเสนอให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป. ลาว และจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับเส้นทางการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคาย – เวียงจันทน์

“สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์” รองปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หลังออกแบบ เฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย จะเป็นขั้นตอนในการทบทวนรายงาน EIA เดิมเพื่อให้สอดคล้องกับการออกแบบใหม่ และ จะปรับแผน เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ก่อน เพื่อให้สามารถเชื่อม หนองคาย-เวียงจันทน์ได้เร็วขึ้น เนื่องจาก ทางสปป.ลาวจะมีการเปิดเดินรถ ลาว -จีน ในเดือนธ.ค. 2564 ซึ่งคาดว่าจะมีการเดินทางทั้งคนและสินค้า เพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะศักยภาพของ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ไม่เพียงพอ

สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ระยะทาง1,500 เมตร อยู่ในพื้นที่ฝั่งไทย 750 เมตร พื้นที่ฝั่งสปป.ลาว 750 เมตร สะพานกว้าง 7 เมตร มีรางขนาด 1.435 เมตรจำนวน 1 ราง รางขนาด 1 เมตร จำนวน 1 ราง โดยตำแหน่งอยู่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร ซึ่งจะหารือ 3 ฝ่ายเพื่อสรุปแนวเส้นทาง รูปแบบจำนวนทางวิ่ง ตำแหน่ง Port Station และ Transshipment Station การลงทุน การบริหารจัดการเดินรถ

โดยการดำเนินการมี 3 รูปแบบ คือ กรณีไทยก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประเมินค่าใช้จ่ายราว 1,700 ล้านบาท โดยมีการเวนคืนพื้นที่ฝั่งไทย 100 ไร่ ฝั่งลาว 100 ไร่ ค่าเวนคืน 200 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท ค่าวางรางรถไฟ และระบบอาณัติสัญญาณ 300 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี

ข้อดี คือไทยกำหนดแผนงานและกรอบเวลาได้ชัดเจน และได้ประโยชน์จากการขนส่งสินค้า ข้อเสีย คือการที่ไทยต้องหาแหล่งเงินก่อสร้าง

กรณี ลาว/จีนก่อสร้าง และออกค่าใช้จ่าย ไทยจะต้องดำเนินการและจ่ายเวนคืนฝั่งไทยเอง ข้อดี ไม่ต้องต้ังงบก่อสร้าง แต่ เป็นไปได้ยากและอาจมีความล่าช้า

กรณี ไทย-ลาว/จีน ก่อสร้างและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง โดยจะใช้เวลา 4 ปี ไทยมีค่าใช้จ่าย 1,000 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืน 100 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 600 ล้านบาท (ระยะทาง 750 เมตร) โดยไทยรับผิดชอบวางรางและระบบอาณัติสัญญาณ 300 ล้านบาทมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะจะสามารถกำหนดแผนงานให้สอดคล้องกับการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ได้

โครงการรถไฟไทย-จีน มีอุปสรรคตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งสมัยคสช.นั้น มีการใช้มาตรา 44 เข้ามาแก้ไข เพื่อให้ขับเคลื่อนไปได้ส่วนปัจจุบัน การดำเนินการ จะต้องเป็นไปตามระเบียบ ข้อกฎหมายปกติ กรณีสถานีอยุธยา ปมมรดกโลก คงอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลว่า จะเลือกแนวทางไหน...ปลดล็อกเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 411, 412, 413 ... 542, 543, 544  Next
Page 412 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©