RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180210
ทั้งหมด:13491444
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

HBD!! ครบรอบ ”105 ปี สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)”
*ความทรงจำ&คุณค่าอันยิ่งใหญ่ของระบบรางไทย
*อนาคต(ยังไม่ชัด)รถไฟเข้าป้าย22ขบวนจาก118

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2936380343250131
https://www.youtube.com/watch?v=6KSoFbUaIRA

วันที่ 25 มิถุนายน 2459 เวลา 17.00 น.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ หลังจากเสร็จพิธีทรงพระราชทานเลี้ยงน้ำชาผู้มาร่วมงานบริเวณด้านมุขหน้าของสถานี
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6226356650711681

เรื่องรางเกี่ยวกับหัวลำโพง
https://www.facebook.com/baanlaesuanmag/posts/5675007082536874

ครบ 105 ปี สถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์การเดินทางของคนไทย จากวันวาน ปัจจุบัน สู่อนาคต
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 14:29 น.
ปรับปรุง: วันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 14:29 น.



วันที่ 25 มิ.ย. 2564 ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้เผยแพร่ข้อมูล 105 ปีสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) วันวาน ปัจจุบัน สู่อนาคต สถานีกรุงเทพ หรือที่เรียกกันว่าหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาถึง 105 ปี นับแต่มีการสร้างและเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งนำความเจริญให้บังเกิดขึ้นกับกรุงเทพและสยามประเทศในสมัยนั้นเหลือคณานับ

ศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่างๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว สถานีกรุงเทพ จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัย นำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน และเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่าง ๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ที่มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน คือ สถานีกรุงเทพ

แม้ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้นและแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจนถึงยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุครถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต แต่สถานีกรุงเทพ ยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทย ไปอีกตราบนานเท่านาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟเพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 และได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวง ไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวง จึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร โดยมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ

คุณค่าทางศิลปกรรม อาคารแสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ ฝีมือช่างที่ประณีตงดงาม และไม่สามารถที่จะสร้างทดแทนหรือหาใหม่ได้

คุณค่าทางประวัติศาสตร์ อาคารแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวพันกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และสามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงปัจจุบันกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

คุณค่าทางสถาปัตยกรรม อาคารแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและแนวคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะ สื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ และมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจที่สามารถนำมาปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยสนองความต้องการของคนในปัจจุบันได้

การคมนาคมขนส่ง ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากลองมองย้อนกลับไปในอดีตนั้น การคมนาคมหลัก และถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญของประเทศไทยนั้น ก็คงหนีไม่พ้นพาหนะอย่าง “รถไฟ”

การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาชาตินั้น ริเริ่มโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคมนาคมที่สะดวกสบาย ว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงกิจการ และสร้างความเจริญให้กับบ้านเมือง เปลี่ยนความยากลำบากให้กลายเป็นความเข้าถึงใกล้ไกลง่ายต่อการดูแลที่ทั่วถึงและรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้กิจการรถไฟจึงถือกำเนิดขึ้น และเมื่อมีพระราชดำริเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟแล้วนั้น ก็จำเป็นต้องมีการสร้างสถานีต่าง ๆ เพื่อใช้ดูแลควบคุมงาน และใช้เป็นจุดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งสถานีที่ถือว่ามีความสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางคือ สถานีกรุงเทพ

สถานีกรุงเทพดำรงคงอยู่มาเป็นระยะเวลา 105 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานีรถไฟแห่งนี้ได้ถูกปรับปรุงและดูแลรักษาเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดเรื่องราวและความทรงจำจากครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมากมาย และจะเป็นสถานีรถไฟคู่ใจของคนไทยตลอดไป


Last edited by Wisarut on 20/08/2021 11:45 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

หวังว่าหัวลำโพงเมื่อปรับปรุงใหม่จะเขียวสดเหมือนงานที่ได้รับรางวัลที่ 1 นี่นะครับ
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 : เขียวมาก
"รางสรรค์"
นำเสนอแนวคิดบรรยากาศเดิมของความเป็นสถานีรถไฟไว้ให้ได้มากที่สุด เน้นการเชื่อมโยงโครงการเข้ากับพื้นที่โดยรอบ และกระจายพื้นที่กิจกรรมไปจนทั่วโครงการ
มนัญชัย ภัทรพงศ์มณี
ทอย มฤคทัต
สังกัด: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/roomfan/posts/10159633188296419
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 5:56 pm    Post subject: Reply with quote



วันนี้ครบรอบ 105 ปีของการเปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ วันนี้จึงมาชวนไปเที่ยวสถานีรถไฟกรุงเทพ ที่กำลังจะกลายอีกหนึ่งในหน้าของประวัตศาสตร์ไทยกัน พร้อมเดินทางจากหัวลำโพง (คือที่เดียวกัน 555) ผ่าน จุดหยุดรถยมราช จุดหยุดรถรามา สถานีรถไฟสามเสน จนถึงบางซื่อ เผื่อใครเคยมีความหลังกลับสถานที่เหล่านี้ ก่อนที่เส้นทางนี้จะกลายเป็นความทรงจำไปในเวลาอีกไม่นานนี้ล่ะครับ ยังไงผิดพลาดประการ มือใหม่ขออภัยด้วยครับ ^^
https://www.youtube.com/watch?v=vjZrE0cZ2tw


สถานีรถไฟหัวลำโพง 105 ปี จากวันวาน ปัจจุบัน สู่อนาคต
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มิถุนายน 2564 - 10:14 น.


สถานีกรุงเทพ หรือที่เรียกกันว่าหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาถึง 105 ปี นับแต่มีการสร้างและเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งนำความเจริญให้บังเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯและสยามประเทศในสมัยนั้นเหลือคณานับ

ศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว สถานีกรุงเทพ จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัย นำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯมาอย่างยาวนาน

และเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่าง ๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ที่มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน คือ สถานีกรุงเทพ



แม้ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้นและแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจนถึงยุคปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุครถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต แต่สถานีกรุงเทพยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทย ไปอีกตราบนานเท่านาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟเพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง


หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 และได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวงไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวง จึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร โดยมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ

คุณค่าทางศิลปกรรม อาคารแสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ ฝีมือช่างที่ประณีตงดงาม และไม่สามารถที่จะสร้างทดแทนหรือหาใหม่ได้

คุณค่าทางประวัติศาสตร์ อาคารแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวพันกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และสามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงปัจจุบันกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

คุณค่าทางสถาปัตยกรรม อาคารแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและแนวคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะ สื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ และมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจที่สามารถนำมาปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยสนองความต้องการของคนในปัจจุบันได้

การคมนาคมขนส่ง ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากลองมองย้อนกลับไปในอดีตนั้น การคมนาคมหลัก และถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญของประเทศไทยนั้น ก็คงหนีไม่พ้นพาหนะอย่าง “รถไฟ”



การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาชาตินั้น ริเริ่มโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคมนาคมที่สะดวกสบาย ว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงกิจการ และสร้างความเจริญให้กับบ้านเมือง เปลี่ยนความยากลำบากให้กลายเป็นความเข้าถึงใกล้ไกลง่ายต่อการดูแลที่ทั่วถึงและรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้กิจการรถไฟจึงถือกำเนิดขึ้น และเมื่อมีพระราชดำริเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟแล้วนั้น ก็จำเป็นต้องมีการสร้างสถานีต่าง ๆ เพื่อใช้ดูแลควบคุมงาน และใช้เป็นจุดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งสถานีที่ถือว่ามีความสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางคือ สถานีกรุงเทพ

สถานีกรุงเทพดำรงคงอยู่มาเป็นระยะเวลา 105 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานีรถไฟแห่งนี้ได้ถูกปรับปรุงและดูแลรักษาเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดเรื่องราวและความทรงจำจากครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมากมาย และจะเป็นสถานีรถไฟคู่ใจของคนไทยตลอดไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 2:24 pm    Post subject: Reply with quote


นับถอยหลัง!เปิดสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางระบบรางใหญ่สุดในอาเซียน | ข่าวเป็นข่าว | ช่วง 4 | TOP NEWS
https://www.youtube.com/watch?v=T_slBUh0p64
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

วิวัฒนาการหน่วยบริการสถานีกรุงเทพ
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6283131085034237
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2021 12:56 am    Post subject: Reply with quote

ย้อนรอย105ปีสถานีรถไฟหัวลำโพง วันวานที่มีคุณค่ามากกว่าการคมนาคม

18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:07 น.


ในอดีตการสัญจรทางรถไฟนับเป็นความสะดวกสบายให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก และหากจะกล่าวถึง สถานีกรุงเทพ หรือที่มักจะเรียกกันจนติดปากว่า ลำโพง ก็คงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสถานีรถไฟที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาถึง 105 ปี นับแต่มีการสร้างและเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2459 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงนำความเจริญให้บังเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ และสยามประเทศในสมัยนั้นเหลือคณานับ


หากจะย้อนกลับไปสถานีรถไฟแห่งนี้ นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่างๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว ทำให้ “สถานีกรุงเทพ” จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัยนำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน


ลิฟต์ขึ้นบันไดเป็นเทรนด์ในปี 2564 - ดูตัวเลือกวันนี้
ลิฟท์บันได | ค้นหาโฆษณา
อีกทั้งยังเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่างๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกันคือ “สถานีกรุงเทพ” นั่นเอง


ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้น และแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไจากดีเซลรางไปสู่รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต


แต่ก็ต้องยอมรับว่าสถานีกรุงเทพยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทยไปอีกตราบนานเท่านาน


ด้วยล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง


และหลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวง ไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวงจึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร ยาวนานมาถึงปัจจุบันและเต็มเปี่ยมได้ด้วยคุณค่าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางศิลปกรรม ค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางสถาปัตยกรรม


ดังนั้นการคมนาคมขนส่งจึงถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากลองมองย้อนกลับไปในอดีตนั้น การคมนาคมหลักและถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญของประเทศไทยนั้น ก็คงหนีไม่พ้นพาหนะอย่าง “รถไฟ”


และไม่ว่าอนาคตสถานที่แห่งนี้จะถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างไร แต่ทว่าสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพงที่ดำรงคงอยู่มาเป็นระยะเวลา 105 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานีรถไฟแห่งนี้ได้ถูกปรับปรุงและดูแลรักษาเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดเรื่องราวและความทรงจำจากครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมากมาย และจะเป็นสถานีรถไฟคู่ใจของคนไทยตลอดไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งเนรมิตสร้างประโยชน์พื้นที่สถานีหัวลำโพงก่อนปี 68

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
15 กันยายน 2564 เวลา 20:48 น.

“ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งเนรมิตพื้นที่สถานีหัวลำโพงก่อนปี 68 รฟท.ลุยศึกษายกต่างประเทศเป็นต้นแบบ คาดได้ข้อสรุป พ.ย.นี้ ขณะที่พื้นที่ริมทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง เปิดแผนพัฒนา ธ.ค. มอบ กทพ. ศึกษาให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่ใต้ด่วนเพลินจิต

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามนโยบายเรื่อง แนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางบางซื่อ – หัวลำโพง ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM ว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย ส่งผลให้สถานีหัวลำโพง ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ลดบทบาทลง แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มีความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และเข้าถึงได้ง่ายด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีแดง (ในอนาคต) ดังนั้นจึงควรนำพื้นที่บริเวณดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ มีดังนี้

1.สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แม้ในอดีตที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพง แต่การศึกษายังไม่สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน รฟท. จึงได้ดำเนินการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยคำนึงถึงการเชื่อมต่อกับรูปแบบการเดินทางอื่นๆ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การใช้พื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะมีการนำกรณีศึกษาจากต่างประเทศมาใช้ในการพิจารณาร่วมด้วย ทั้งนี้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด จะเข้าร่วมการดำเนินการในครั้งนี้ด้วย คาดว่าจะสามารถนำเสนอแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ได้ในเดือน พ.ย.64


และ 2.พื้นที่ริมทางรถไฟ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ – สถานีหัวลำโพง ทาง รฟท. เตรียมแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ให้มีความชัดเจนเมื่อได้มีการสำรวจรายละเอียดตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง เช่น สายสีแดงส่วนต่อขยาย รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การเชื่อมต่อสถานีจิตรลดา เป็นต้น คาดว่าจะสามารถนำเสนอแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ได้ในเดือน ธ.ค.64 ส่วนการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ(ด่วน) บริเวณเพลินจิต การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ได้หารือกับ รฟท. เพื่อกำหนดแนวทางการในการบูรณาการให้มีการพัฒนาพื้นที่ที่ต่อเนื่องกัน โดยการปรับให้รูปแบบโครงการให้มีลักษณะที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน คาดว่าจะได้ผลสรุปร่วมกันในเดือน ต.ค.65




นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้สั่งการให้กำหนดรูปแบบการพัฒนาสถานีหัวลำโพงที่ชัดเจนโดยเร็ว รวมทั้งให้เร่งรัดแผนการพัฒนาสถานีหัวลำโพงที่เดิมกำหนดไว้ในช่วงปี 68 ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ให้พิจารณานำรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ของภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งให้เน้นการพัฒนาพื้นที่แนวดิ่ง รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีต่างๆ ด้วย โดยกรณีที่เป็นพื้นที่ของภาคเอกชนหรือส่วนราชการอื่น ให้พิจารณาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน


นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันการให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาสถานีหัวลำโพง ให้พิจารณาเปรียบเทียบจนถึงข้อสรุปถึงรูปแบบที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และ รฟท. เช่น การเปรียบเทียบระหว่างการให้เอกชนร่วมลงทุนทั้งแปลง หรือการแบ่งการพัฒนาเป็นแปลงย่อย เป็นต้น สำหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณใต้ทางด่วนเพลินจิต ให้ กทพ. พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน แทนการให้เช่าพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ กทพ. มีรายได้มากขึ้น รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว.

วัดฝีมือ “ศักดิ์สยาม” วางอนาคต”สถานีหัวลำโพง”
*รื้อผลศึกษายกต่างประเทศต้นแบบพัฒนา
*ให้เอสอาร์ทีร่วมทำคลอดแผนแม่บท พ.ย.
*ชวนเอกชนร่วมลงทุนพื้นที่ใต้ด่วนเพลินจิต
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3000555943499237


“ศักดิ์สยาม” จี้คลอดพิมพ์เขียวหัวลำโพงโฉมใหม่ พฤศจิกายน นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 23:18 น.



“ศักดิ์สยาม” ส่องแผนพัฒนาที่ดินรถไฟ 3 แปลง เร่ง “หัวลำโพง” คลอดผลการศึกษาพัฒนาโครงการ พ.ย. 64 หวังดันให้เร็วขึ้นจากปี 68 พร้อมดันพัฒนาริมทางรถไฟ “บางซื่อ-หัวลำโพง/เพลินจิต” ต่อ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางบางซื่อ – หัวลำโพง ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย ส่งผลให้สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทยลดบทบาทลง

ส่อง 3 แปลงเด็ดที่ดินรถไฟ
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และเข้าถึงได้ง่ายด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีแดง (ในอนาคต) ดังนั้น จึงควรนำพื้นที่บริเวณดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยมีแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ดังนี้

1.สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยคำนึงถึงการเชื่อมต่อกับรูปแบบการเดินทางอื่นๆ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การใช้พื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะมีการนำกรณีศึกษาจากต่างประเทศมาใช้ในการพิจารณาร่วมด้วย

โดยบริษัทลูกของการรถไฟฯ “บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด” จะเข้าร่วมการดำเนินการในครั้งนี้ด้วย คาดว่า จะสามารถนำเสนอแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2564




2.พื้นที่ริมทางรถไฟ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ – สถานีหัวลำโพง การรถไฟฯ เตรียมพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ให้มีความชัดเจนเมื่อได้มีการสำรวจรายละเอียดตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง เช่น สายสีแดงส่วนต่อขยาย รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การเชื่อมต่อสถานีจิตรลดา เป็นต้น คาดว่าจะสามารถนำเสนอแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ได้ในเดือนธันวาคม 2564

3.การพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ บริเวณเพลินจิต การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้หารือกับการรถไฟฯ เพื่อกำหนดแนวทางการในการบูรณาการให้มีการพัฒนาพื้นที่ที่ต่อเนื่องกัน โดยการปรับให้รูปแบบโครงการให้มีลักษณะที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน คาดว่าจะได้ผลสรุปร่วมกันในเดือนตุลาคม 2564


นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้กำชับและสั่งการเพิ่มเติม ดังนี้ 1.ให้กำหนดรูปแบบการพัฒนาสถานีหัวลำโพงที่ชัดเจนโดยเร็ว รวมทั้งให้เร่งรัดแผนการพัฒนาสถานีหัวลำโพงที่เดิมกำหนดไว้ในช่วงปี 2568 ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2. ให้พิจารณานำรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ของภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งให้ให้เน้นการพัฒนาพื้นที่แนวดิ่ง 3.ให้พิจารณาแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีต่างๆ ด้วย โดยกรณีที่เป็นพื้นที่ของภาคเอกชนหรือส่วนราชการอื่น ให้พิจารณาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน

4.การให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาสถานีหัวลำโพง ให้พิจารณาเปรียบเทียบจนถึงข้อสรุปถึงรูปแบบที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่น การเปรียบเทียบระหว่างการให้เอกชนร่วมลงทุนทั้งแปลง หรือการแบ่งการพัฒนาเป็นแปลงย่อย เป็นต้น

5.สำหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณใต้ทางด่วนเพลินจิต ให้การทางพิเศษฯ พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน แทนการให้เช่าพื้นที่ ซึ่งจะทำให้มีรายได้มากขึ้น รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
https://www.youtube.com/watch?v=njoLrzDujhY


Last edited by Wisarut on 19/09/2021 10:08 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2021 10:27 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งเนรมิตสร้างประโยชน์พื้นที่สถานีหัวลำโพงก่อนปี 68

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
15 กันยายน 2564 เวลา 20:48 น.


วัดฝีมือ “ศักดิ์สยาม” วางอนาคต”สถานีหัวลำโพง”
*รื้อผลศึกษายกต่างประเทศต้นแบบพัฒนา
*ให้เอสอาร์ทีร่วมทำคลอดแผนแม่บท พ.ย.
*ชวนเอกชนร่วมลงทุนพื้นที่ใต้ด่วนเพลินจิต
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3000555943499237


“ศักดิ์สยาม” จี้คลอดพิมพ์เขียวหัวลำโพงโฉมใหม่ พฤศจิกายน นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 กันยายน 2564 - 23:18 น.



พลิกโฉม “หัวลำโพงศตวรรษใหม่” จุฬาฯ นำวิจัยแบบมีส่วนร่วม “สร้างแหล่งเศรษฐกิจ-สร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้า”
หน้าหลัก Green Innovation & SD Discovery CSR & SD
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13:03 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13:03 น.



อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯร่วมมือนักวิชาการจาก 4 สถาบันการศึกษา วิจัยอนาคต “หัวลำโพง”พลิกโฉมสู่พื้นที่สร้างสรรค์ อนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เชื่อมโยงย่านเมืองเก่าและย่านการค้าใหม่ หลังย้ายศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อภายในปีนี้

“หัวลำโพง” หรือสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนานกว่า105 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการวางรากฐานการคมนาคมในสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 แต่นับจากนี้ หัวลำโพงต้องเปลี่ยนรางสู่บทบาทใหม่ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของหัวลำโพงจะเป็นเช่นไร? จากการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันอาศรมศิลป์ ดำเนินการวิจัยเพื่อหาทิศทางอนาคตของหัวลำโพงในศตวรรษใหม่



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ประธานสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการแผนงานการศึกษาเพื่อวางกรอบ “ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)” กล่าวว่าแผนการศึกษาโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ เน้นวิจัยคุณค่าเชิงอนุรักษ์และนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการวิจัยเปิดให้หลายภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของหัวลำโพงด้วย

“การวิจัยครั้งนี้ประชาชนเป็นทั้ง “ผู้ร่วมคิด” คือมีส่วนร่วมในการออกแบบในฐานะ“ผู้ใช้ประโยชน์” เพราะทุกคนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็น”ผู้รับผิดชอบ” คือเมื่อใช้ประโยชน์แล้วต้องช่วยกันรักษสมบัติของคนไทยทุกคน จากการวิจัยครั้งนี้ ชัดเจนว่าประชาชนเห็น “สถานีรถไฟหัวลำโพง” เป็นของคนไทย ทุกคน” ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ กล่าว

“สถานีหัวลำโพง” ชุมทางเชื่อมคุณค่าเดิมกับเศรษฐกิจใหม่

ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ เผยผลการวิจัยในระยะที่ 1 ซึ่งเน้นศึกษามิติคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และความต้องการทางสังคมเบื้องต้นว่า “แนวทางการพัฒนาต้องทำให้หัวลำโพงเป็นพื้นที่ที่พึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจและเป็นจุดเชื่อมโยงกับย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เช่น เยาวราช วงเวียน 22 กรกฎาคม ตลาดน้อย ฯลฯ และย่านการค้าใหม่บนถนนพระราม 4” มี ผศ.ธิป ศรีสกุลไชยรัก สถาบันอาศรมศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการ

ผลการวิจัยจากโครงการสอดคล้องกับแนวคิดของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ได้วางแผนลงทุนพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงจำนวน 121 ไร่ ให้เป็น “บ้านรถไฟ” โดยจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟและวางโครงการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ในเส้นทางเลียบทางรถไฟในลักษณะการสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นและพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนบูรณาการร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในเขตเมืองเก่า

แนวทางแปลง“หัวลำโพง” ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งอนาคต

จากแนวทางพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพงที่ได้จากการวิจัยระยะที่ 1 ต่อยอดสู่การค้นหาลักษณะการใช้ประโยชน์ของอาคารและพื้นที่ภายนอกหัวลำโพงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งนี้ แผนการศึกษาในระยะที่ 2 ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย

1. การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟ หัวลำโพง ได้ข้อเสนอลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่างๆ 3 รูปแบบคือ
แบบที่ 1 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด มีสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 30
แบบที่ 2 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือ ลานกิจกรรม พื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่อนุรักษ์ ในสัดส่วนเท่าๆ กันคือร้อยละ 18
แบบที่ 3 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาคือ ลานกิจกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ในสัดส่วนเท่าๆ กันคือร้อยละ 18

2. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงิน เพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพพื้นที่หัวลำโพง โดย ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ขยายความว่า “เมื่อพิจารณาลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่างๆ พบว่าทั้ง 3 แบบ (ตามผลการศึกษาวิจัยในส่วนที่ 1) เป็นทางเลือกที่คนในสังคมยอมรับได้ แต่อาจจะต้องมีการชดเชยในสิ่งที่คนในสังคมสูญเสียไป เช่น บางคนอาจไม่รู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากการใช้พื้นที่เป็นศูนย์การค้า”

3. การศึกษาระบบโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่หัวลำโพงแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ระบบเชื่อมโยงพื้นที่ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง และระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ด้วยรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย อาทิ รถประจำทาง รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า BTS และ MRT และเรือ โดยมีสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นจุดศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ การศึกษายังได้นำเสนอตัวอย่าง 4 เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียง (Virtual Tour) https://hlpvirtualtour.com


ภาคส่วนสังคมหลากหลาย ร่วมวาดฝันหัวลำโพง

การวิจัยระยะที่ 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณโดยรูปแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เน้นการสื่อสารสู่สาธารณะเพื่อสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงและเกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มผู้ที่อาศัยบริเวณพื้นที่หัวลำโพง บุคลากรที่ปฏิบัติงานใน หัวลำโพง ผู้ที่ใช้บริการที่หัวลำโพง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาปนิก นักอนุรักษ์ เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ภาคประชาสังคม รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ” ผศ.ดร.เฟื่องอรุณอธิบาย

รูปแบบของกระบวนการวิจัยมีทั้งการสำรวจ การสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมต่างๆ และการสื่อสารและรับฟังความเห็นผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ Facebook Fanpage โครงการวิจัยอนุรักษ์และพัฒนาสถานีรถไฟกรุงเทพ-หัวลำโพงกิจกรรม Community Walk การเสวนาวิชาการ การจัดเวทีสาธารณะโดยร่วมกับสื่อสาธารณะ เช่น ThaiPBS The Active และ The Cloud นอกจากนี้ได้ทำการสนทนากลุ่มย่อยของผู้แทนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การสำรวจความคิดเห็นผ่าน Google Form การสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะและสถานีวิทยุจุฬาฯ การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว”หัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียง”(HuaLamphong Virtual Tour) และการจัดนิทรรศการออนไลน์สรุปผลการวิจัยของแผนงานและโครงการย่อยทั้งสามโครงการ ซึ่งมีสนใจ ผู้เข้าชมกว่า 900 คน

ผศ.ดร.เฟื่องอรุณเผยถึงความท้าทายในการวิจัยครั้งนี้ว่า “การศึกษาวิจัยนี้เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ทั้งสถาปัตยกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งเป็นการวิจัยที่ศึกษาในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการเก็บข้อมูลและการทำงานหลายด้านให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ในขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์การวิจัยให้ครบถ้วน”

ผลการวิจัยจากโครงการนี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายมิติ

ผศ.ดร.เฟื่องอรุณแนะว่า“การรถไฟแห่งประเทศไทยและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเป็นกรอบในการประกวดแบบการพัฒนาหัวลำโพงคนกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวลำโพงจะเกิดความเข้าใจและรับรู้ถึงคุณค่าของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย”

นอกจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และเครือข่ายธุรกิจ เพื่อสังคมกรุงเทพฯ สามารถนำผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงินไปใช้เป็นแนวทางในการร่วมลงทุนในพื้นที่หัวลำโพง ทั้งการลงทุนในการจัดการท่องเที่ยวและการประกอบการเชิงสร้างสรรค์รวมถึงคนในชุมชนรอบสถานีรถไฟหัฃฃลำโพงสามารถนำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนรอบสถานีรถไฟหัวลำโพงได้อีกด้วย


ผู้สนใจสามารถเข้าชมเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ได้ตามลิงก์ต่อไปนี้

นิทรรศการ “หัวลำโพงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน”
https://hlpvirtualtour.com/exhibition/
เนื้อหาในนิทรรศการ ประกอบด้วย
1) เรื่องราวความเป็นมาของสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
https://hlpvirtualtour.com/exhibition-1/
2) ผลการศึกษา: กรอบการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
https://hlpvirtualtour.com/exhibition-2/
3) เวทีสาธารณะ ความคิดเห็นต่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
https://hlpvirtualtour.com/exhibition-3/
4) ผลการประกวดการออกแบบ “การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
https://hlpvirtualtour.com/exhibition-4/
5) virtual tour เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียง
https://hlpvirtualtour.com
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 7:36 am    Post subject: Reply with quote

ปรับผังเมือง'สถานีหัวลำโพง'เป็นสีแดง
Source - เดลินิวส์
Monday, October 25, 2021 05:37

พัฒนาเชิงพาณิชย์1.4หมื่นล้าน ยึดโมเดลเวนิส-โตเกียว-เซี่ยงไฮ้

รายงานข่าวจากรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ในเดือน พ.ย.นี้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด บริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ของ รฟท. จะนำเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดเส้นทางบางซื่อ-หัวลำโพงให้ รฟท. พิจารณา โดยในส่วนของสถานีหัวลำโพงนั้น ตามกฎหมายผังเมืองปัจจุบันเป็นพื้นที่สีน้ำเงินคือ ที่ดินประเภทหน่วยงานราชการ สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ไม่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ รฟท. จะเร่งปรับผังเมืองให้เป็นพื้นที่สีแดงคือ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม เพื่อให้สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ และจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน

สำหรับพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์มี 120 ไร่ มูลค่าที่ดินราว 14,400 ล้านบาท ได้แก่
1.พื้นที่ถนนทางเข้า-ออกและลานจอดรถบริเวณถนนพระราม 4 จำนวน 16 ไร่ มูลค่า 1,920 ล้านบาท
2.อาคารสถานีกรุงเทพหัวลำโพง 13 ไร่ มูลค่า 1,560 ล้านบาท
3.ชานชลา ทางรถไฟ และย่านสับเปลี่ยน 49 ไร่ มูลค่า 5,880 ล้านบาท
4.โรงซ่อมรถดีเซลราง และรถโดยสาร 22 ไร่ มูลค่า 2,640 ล้านบาท และ
5.อาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุ 20ไร่ มูลค่า 2,400 ล้านบาท


รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เบื้องต้นที่ปรึกษาได้จัดทำแอ๊คชั่นแพลนการพัฒนาที่ดินย่านหัวลำโพง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซนคือ โซน A 16 ไร่ บริเวณอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะ จัดทำเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์และพัฒนาทัศนียภาพโดยรอบ, โซน B 13 ไร่ ปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์, โซน C 22 ไร่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่โรงซ่อมรถรางและรถโดยสาร จะให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบปิด และเปิด เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม และจะปรับปรุงให้เป็นทางเดินริมน้ำ (water front Promenade) เลียบคลองผดุงกรุงเกษม ผสมผสานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นความเป็นพื้นที่ สีเขียวรอบโครงการ โดยดูต้นแบบจากเวนิส ประเทศอิตาลีโซน D 49 ไร่ ปัจจุบันคือ พื้นที่ชานชาลา ทางรถไฟ และย่านสับเปลี่ยน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งระบบการสัญจรและพื้นที่ฝั่งเมือง มีแผนพัฒนาได้ในหลายรูปแบบ โดยจะพัฒนาเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบมิกซ์ยูส lifestyle mixed-use อาทิ โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมทั้งที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่จัดแสดงงาน โดยยึดต้นแบบโตเกียว มิดทาวน์ ประเทศญี่ปุ่น

และ โซน E 20 ไร่ บริเวณอาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุเดิม จะ พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบ Urban mixed-use อาทิ โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม รวมถึงพื้นที่ให้ร่มรื่นผสมผสานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเชื่อมต่อรูปแบบสิ่งปลูกสร้างเชิงอนุรักษ์โครงสร้างอาคารเดิม กำหนดจุดสำหรับกิจกรรมพิเศษ หรือ สวนสาธารณะ ซึ่งจะมีระยะห่างกันไม่เกิน 500 เมตรตลอดแนวคลอง และยังได้ศึกษาชุมชนต่าง ๆ ริมน้ำ โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน รวมทั้งจะพัฒนาจักรยานริมทางรถไฟด้วย

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ที่ปรึกษาเสนอให้นำร่องโซน A, B และ C ก่อนในระยะสั้น 3-5 ปี (ปี 64-68) แต่กระทรวงคมนาคมมีข้อท้วงติง โดยให้กลับมาจัดทำแผนการพัฒนาทั้ง 5 โซนไปพร้อมกัน เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่า เพราะมองว่าหากเปิดประมูลที่ดินผืนใหญ่ผืนเดียวจะจูงใจเอกชนให้เข้ามาร่วมทุนมากกว่าการซอยแปลงย่อยประมูล นอกจากนี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้ขอให้เอสอาร์ทีฯ ปรับแผนพัฒนา ที่ดินโซน D ให้เป็นพื้นที่แนวสูงเหมือนศูนย์การค้ามาบุญครอง โดยให้เป็นคอมมูนิตี้มอลล์ หรือตลาด เพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า และสร้างรายได้สูงสุดให้กับ รฟท. คาดว่าในเดือน ธ.ค. จะเสนอแบบการพัฒนาเสมือนจริงให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาได้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 ต.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2021 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปรับผังเมือง'สถานีหัวลำโพง'เป็นสีแดง
Source - เดลินิวส์
Monday, October 25, 2021 05:37

พัฒนาเชิงพาณิชย์1.4หมื่นล้าน ยึดโมเดลเวนิส-โตเกียว-เซี่ยงไฮ้


Zone D จะทำให้ รฟท. ต้องเปิดศึกกับกทม. และ คณะกรรมการเกาะรัตนโกสิทร์ที่ขยายพื้นที่มาถึงคลองผดุงกรุงเกษม แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 31, 32, 33  Next
Page 11 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©