Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180203
ทั้งหมด:13491437
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2021 4:42 am    Post subject: Reply with quote

อาคารทรงงานในหลวง ร.9 สิ่งล้ำค่าบนที่ดินมักกะสัน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
18 พฤษภาคม 2562 เวลา 05:01 น.

“บึงมักกะสัน” มีความสำคัญ ต่อกรุงเทพฯ หลังถูกใช้ประโยชน์เป็น “แก้มลิง” และเป็นแหล่งพักน้ำ รอบำบัดด้วยการใช้เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ “ผักตบชวา” ในการพัฒนาแหล่งน้ำเน่าเสียโครงการแห่งแรกของประเทศไทย

Advertisment
นับจากวันที่ 20 เม.ย.2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปรับปรุงบึงมักกะสันของพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยระบายน้ำ และบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน ตามโครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ข่าวแนะนำ
คำถามพบบ่อย เดินทางข้ามจังหวัด ต้องกักตัวหรือไม่

Premium Content
เนื้อหาพิเศษสำหรับสมาชิกไทยรัฐออนไลน์เท่านั้น สมัครสมาชิก
สลด กระบะซิ่งชนสาวใหญ่-ตายทั้งกลม โชเฟอร์เผ่น รถตามเสยท้าย 3 คันรวด

เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ชี้แจง หลังมีกระแสข่าว "เพนกวิน" เสียชีวิต

ในครั้งนั้น...พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์ มาในที่ดินโรงงานมักกะสัน ทอดพระเนตรบึงมักกะสันในการพัฒนาโครงการ

ทว่า...มีน้อยคนนักที่จะทราบถึงเรื่องราว “อาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน” ถูกสร้างขึ้นแบบเรียบง่าย ที่ไม่ใหญ่โตหรูหรา ลักษณะคล้ายศาลามุงด้วยจาก ใช้บังแดดบังฝน ในการเป็นสถานที่ประทับทรงงานชั่วคราว ตั้งอยู่ในที่ดินโรงงานมักกะสัน กลายเป็นสิ่งถาวรวัตถุล้ำค่า แหล่งให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้...


สมบุญ แดงอร่าม ที่ปรึกษาคณะผู้แทนโรงงานรถไฟมักกะสัน เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปในปี 2475 โรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟฯขุดดินพื้นที่มักกะสันขึ้นมา ใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงาน ทำให้บึงนี้มีขนาดกว้างใหญ่อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ มีพื้นที่ 92 ไร่ ก่อนถูกทอดทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนมีพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น

กระทั่งบึงมักกะสันเกิดการตื้นเขินจากการตกตะกอน ประกอบกับยุคนั้นมีชาวบ้านบุกรุก สร้างที่อยู่อาศัยทั้งบริเวณขอบบึงจนกลายเป็นชุมชนแออัด 3 ชุมชน ต่างถ่ายสิ่งปฏิกูล รวมถึงทิ้งขยะมูลฝอยลงบึงน้ำแห่งนี้ จนเป็นปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม น้ำเน่าเสีย และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคของกรุงเทพฯ

ต่อมาประมาณวันที่ 20 เม.ย.2528 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงภาวะมลพิษนี้ เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์มายังบึงมักกะสัน ผ่านเข้าทางประตู 1 โรงงานมักกะสัน เพื่อทอดพระเนตรปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยพระองค์เองถึง 2 ครั้ง

ทั้งนี้ มีพระราชประสงค์ใช้บึงมักกะสัน ที่มีป่ารกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นแหล่งเก็บน้ำ หรือระบายน้ำในยามมีภัยน้ำท่วม และใช้เป็นแหล่งทำให้น้ำที่โสโครกใสขึ้น จากการใช้วิธีธรรมชาติด้วยผักตบชวา และนำผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์

“การรถไฟฯทราบว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์มาทอดพระเนตรบริเวณริมบึงมักกะสัน การรถไฟฯจึงได้สนองพระราชดำริด้วยการรื้อถอนป่ารกร้างในบึงมักกะสัน และปรับหน้าดินโดยรอบบริเวณแปลงโซนเอของที่ดินมักกะสัน ให้ฝ่ายช่างโยธาสร้างอาคารที่ประทับทรงงานชั่วคราว ขนาดความยาว 30 เมตร และความกว้าง 10 เมตร ด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะคล้ายศาลามุงด้วยจาก ใช้บังแดดบังฝน ในการเป็นสถานที่ประทับทรงงาน” สมบุญ ว่า

ถัดจากนั้นไม่กี่วัน...ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯมาทอดพระเนตรบริเวณริมบึงมักกะสันเป็นครั้งที่ 3 ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆร่วมกันปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อใช้เป็นสถานที่กักเก็บน้ำ ช่วยในการระบายน้ำในหน้าฝน และบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน

พร้อมกับเยี่ยมเยียนราษฎร และเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรทัศนียภาพบริเวณบึงมักกะสันด้วยเรือท้องแบน ในครั้งนั้นมีประชาชนอาศัยอยู่บริเวณริมบึง ทราบข่าวต่างออกมาเฝ้าฯรอรับเสด็จกันเป็นจำนวนมาก


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสกับผู้ว่าการการรถไฟฯ และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ร่วมเดินทางตรวจเยี่ยมประชาชน มีข้อความตอนหนึ่งว่า “อย่าไปไล่ชาวบ้านที่รุกล้ำเหล่านี้นะ ให้เขาอยู่ดูแลบึงแห่งนี้ด้วยการปลูกผักบุ้ง เพื่อมาช่วยบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่งด้วย”

พร้อมพระราชทานคำแนะนำให้ใช้ผักตบชวากรองน้ำเสีย เพราะผักตบชวามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรอง เรียกว่าเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ ใช้ผักตบชวา...วัชพืชที่มีอยู่มากมาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครกและสารพิษจากแหล่งน้ำเน่าเสีย และหมั่นนำผักตบชวาออกจากบึง นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ตามเหมาะสม เพื่อไม่ให้ผักตบชวาเจริญพันธุ์ รวมทั้งพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่รอบบริเวณบึงมักกะสันให้ดีขึ้นด้วย

เมื่อการกำจัดน้ำเน่าเสียด้วยผักตบชวาในบึงมักกะสันแห่งนี้ได้ผลดี ได้มีการนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำ หรือลำคลองอื่น

ปัจจุบันอาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มีสภาพเก่าแก่ ทรุดโทรม เนื่องจากผ่านมานานถึง 34 ปี ทำให้โครงสร้างที่เป็นไม้เสื่อมสภาพลง ตอนนี้อยู่ติดกับกำแพงเขตที่ดินการรถไฟฯ ก่อสร้างใหม่...กั้นพื้นที่ไว้หลังมีการสร้างถนนจตุรทิศ

สมบุญ เล่าต่ออีกว่า ในปี 2559 คณะผู้แทนโรงงานมักกะสันมีหนังสือถึงผู้ว่าการการรถไฟฯ พยายามเสนอให้บูรณะปรับปรุงพลับพลาที่ประทับทรงงาน และอาคารประกอบพื้นที่โดยรอบ เพราะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่การรถไฟฯ เพื่อให้เป็นการเทิดทูนที่ครั้งหนึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯที่บึงมักกะสัน สมควรบูรณะปรับปรุง

ในการให้เป็นอาคารถาวร สภาพแวดล้อมสวยงาม เพื่อเป็นสิ่งถาวรวัตถุ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และระลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และยุคนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร อดีตผู้ว่าการการรถไฟฯ สั่งการให้ฝ่ายช่างโยธา การรถไฟฯ สำรวจพื้นที่อาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน เพื่อปรับปรุงสร้างเป็นอนุสรณ์ แต่เรื่องเงียบไปจนถึงปัจจุบันนี้...

ประเด็นสำคัญน่าสนใจ...จุดตั้งอาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน ในที่ดินมักกะสัน อยู่บริเวณแปลงโซนเอ ถูกผนวกเข้ากับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ให้สิทธิ์เอกชนชนะประมูลโครงการเข้ามาพัฒนาสนับสนุนเชิงพาณิชย์ 150 ไร่


อาจจะต้องส่งมอบพื้นที่นี้ให้กับโครงการ

เท่าที่ทราบๆกันมาบ้างว่า...เดิมมีแผนพัฒนาที่ดินมักกะสันเพียง 105 ไร่ แต่มีการปรับเปลี่ยนโครงการ 150 ไร่ ผนวกพื้นที่ตั้งอาคารพลับพลาที่ประทับทรงงานไปด้วย ทำให้พนักงานการรถไฟฯมีความวิตกกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกเสียดายสิ่งถาวรวัตถุล้ำค่ากำลังจะถูกทำลายหายไป

ที่ดินมักกะสันเป็นสถานที่ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ล้ำค่า และเป็นหัวใจสำคัญในภารกิจหลักของการเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้กับกิจการรถไฟ เพื่อหาประโยชน์มาบำรุงกิจการ

“สิ่งมีค่านี้ไม่ได้ถูกตีราคาให้มีมูลค่าเป็นตัวเงินตามความต้องการของนายทุน แต่มีคุณค่า...มีความหมาย ทั้งประวัติศาสตร์ บ่งบอกถึงความเป็นอารยประเทศ เป็นพื้นที่ทรัพย์สมบัติล้ำค่าของชาติของประชาชน จึงจำเป็นให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป”

ดูเหมือนการพัฒนาที่ดินมักกะสัน...ต้องควบคู่กับวัตถุล้ำค่าทางใจ ...ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ไม่ให้เกิดผลกระทบ เพราะหากเกิดความเสียหาย การพัฒนาทั้งหมด อาจจะไม่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม...ก็เป็นไปได้...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2021 4:57 am    Post subject: Reply with quote

"บึงมักกะสัน"พ่อฝากไว้...ช่วยฟอกไตคนกรุง
โดย - โต๊ะข่าวเกษตร
'คมชัดลึก'
23 ตุลาคม 2559 - 06:30 น.


โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 15 เมษายน และวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2528 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อช่วยระบายน้ำและบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน โดยใช้รูปแบบ “เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ” ความตอนหนึ่งว่า



Quote:
“...บึงมักกะสันนี้ ทำโครงการที่เรียกว่าแบบคนจน โดยใช้หลักว่าผักตบชวาที่มีอยู่ทั่วไปนั้น เป็นพืชดูดความโสโครกออกมาแล้วก็ทำให้น้ำสะอาดขึ้นได้ เป็นเครื่องกรองธรรมชาติใช้พลังงานแสงอาทิตย์และธรรมชาติของการเติบโตของพืช...”


บึงมักกะสันเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขุดขึ้น ในปี พ.ศ.2474 เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสัน ทำให้บึงมักกะสันตื้นเขิน จากการตกตะกอนของสารแขวนลอย ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็ถ่ายสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่บึงมักกะสัน จนเกิด ปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและน้ำเน่าเสียกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคแห่งหนึ่ง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงภัยแห่งภาวะมลพิษนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริ โดยใช้วิธีการในรูปแบบของ "เครื่องกรองน้ำ ธรรมชาติ" กล่าวคือ ให้มีการทดลองใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วนี้ มาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย โดยทรงเน้นให้ทำการปรับปรุงอย่างประหยัด และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมบึงการทำงานของระบบอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง พืชน้ำ ได้แก่ สาหร่าย หรือ อัลจี กับแบคทีเรีย
โดยในเวลากลางวัน อัลจีซึ่งเป็นพืชน้ำสีเขียวจะทำการสังเคราะห์แสง โดยใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในน้ำและแสงแดด อัลจีจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้สร้างเซลล์ใหม่ ส่วนออกซิเจนที่เป็นผลพลอยได้นั้น ก็จะถูกแบคที่เรียนำ ไปใช้ในการย่อยสลายน้ำเสีย ซึ่งผลของปฏิกิริยานี้จะได้ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการ ดำรงชีพของอัลจี ดังนั้น อัลจี และแบคทีเรียจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยต่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน


พระองค์ท่านทรงเปรียบเทียบว่า "บึงมักกะสัน" เป็นเสมือนดั่ง "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หลายอย่างเช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและการปลูกพืชน้ำอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น รวมทั้งมีการเลี้ยงปลาด้วย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะทำให้เป็นสวนสาธารณะแต่อย่างใด
บึงมักกะสัน จึงเป็นบึงที่สร้างภาวะแวดล้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เรียบง่าย ประหยัด ที่สำคัญเป็นแหล่งค้นคว้าทดลองที่พระราชทานเพื่อปวงประชาจักได้มีสุขถ้วนทั่วหน้ากัน
การพัฒนาบึงมักกะสันจึงนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจากพระปรีชาสามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แก่ชาวไทยทั้งมวล

บึงมักกะสัน
28 มกราคม 2557
โครงการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช บึงมักกะสัน กรุงเทพมหานคร

บึงมักกะสันเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขุดขึ้น ในปี พ.ศ. 2474 เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสัน ทำให้บึงมักกะสันตื้นเขินจากการตกตะกอนของสารแขวนลอย กอปรกับรอบบึงมักกะสันมีชุมชนแออัด 3 ชุมชน รวม 729 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็ถ่ายสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่บึงมักกะสัน จนเกิดปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและน้ำเน่าเสียกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคแห่งหนึ่ง

แนวพระราชดำรินั้นทรงให้ทำโครงการง่าย ๆ โดยสูบน้ำจากคลองสามเสนเข้าบึงทางหนึ่ง และสูบน้ำออกจากคลองสามเสนอีกทางหนึ่ง ระยะห่างกัน 100-200 เมตร หรือฝังท่อระบายน้ำออกทางระบายน้ำอโศก-ดินแดง โดยให้คงมีผักตบชวาอยู่ในบึงและทำการตกแต่งให้ดีไว้บริเวณกลางบึงเพื่อกรองน้ำเสียแต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บผักตบชวาขึ้นบ้างเป็นครั้งคราวก็ให้นำไปใช้ประโยชน์ เช่นทำปุ๋ยหมักหรือเชื้อเพลิง แต่อย่านำไปทำอาหารสัตว์ เพราะมีธาตุโลหะหนัก หลักการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย “บึงมักกะสัน”ระบบบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสันเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติที่เรียกว่าระบบ Oxidation Pondหรือ “ระบบสายลมและแสงแดด” ซึ่งจะมีบ่อดินที่มี ความลึก 0.5-2 เมตร สามารถให้แสงส่องลงไปได้ มีการใส่ผักตบชวาเพื่อเป็นตัวดูดซับสารอาหารและโลหะหนักในน้ำเสียจากคลองสามเสน ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละ 30,000-100,000 ลูกบาศก์เมตร

การพัฒนาและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน จากการที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้างทางด่วนมหานครขั้น 2 ระยะที่ 1 โดยมีแนวผ่านบึงมักกะสันและมีตอม่อโครงสร้างอยู่กลางบึง ทำให้น้ำในบึงไม่ถูกแสงแดด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้เครื่องพ่นอากาศเข้าช่วย มูลนิธิชัยพัฒนาและกรุงเทพมหานครจึงรับสนองพระราชดำริในการปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อให้สามารถฟอกน้ำในคลองสามเสนให้สะอาดขึ้น วันละ 260,000 ลูกบาศก์เมตร ด้วยการใช้เครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอย ผสมกับการใช้ผักตบชวา ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้เพิ่มจากเดิม10 เท่า โดยมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้จัดหา และติดตั้งเครื่องเติมอากาศขนาด 11 KW จำนวน 10 เครื่องและกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการขุดลอกบึง พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำและปลูกผักตบชวา

ผลการดำเนินการศึกษา

การทำงานของระบบอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง พืชน้ำ ได้แก่ สาหร่าย หรือ อัลจี กับแบคทีเรีย โดยในเวลากลางวัน อัลจีซึ่งเป็น พืชน้ำสีเขียวจะทำการสังเคราะห์แสง โดยใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในน้ำและแสงแดด อัลจีจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้สร้างเซลล์ใหม่ ส่วนออกซิเจนที่เป็นผลพลอยได้นั้น ก็จะถูกแบคที่เรียนำ ไปใช้ในการย่อยสลายน้ำเสีย ซึ่งผลของปฏิกิริยานี้จะได้ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการ ดำรงชีพของอัลจี ดังนั้น อัลจี และแบคทีเรียจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยต่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน การดำรงชีวิตในลักษณะนี้ เรียกว่าSymbiosis เนื่องจาก อัตราการเติมออกซิเจน ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น การเจริญเติบโตของแบคทีเรียจึงถูกกำจัดด้วยปริมาณออกซิเจนเมื่อเป็นเช่นนี้อัตราเร็วของปฏิกิริยาของการ ทำลาย BOD จึงค่อนข้างช้า ระบบ Oxidation Pond จึงต้องใช้บ่อที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบบึงมักกะสันขึ้นอยู่กับ ปริมาณของออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แล้ว ดังนั้น ในบึงต้องไม่ ปลูกผักตบชวามากเกินไป เพราะจะบดบังแสงแดดสำหรับผักตบชวานั้นก็จะทำหน้าที่ดูดซึมอาหารต่าง ๆ และโลหะหนักในน้ำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผักตบชวามีการเจริญสูงสุด ในเวลาภายหลังการปลูก 16-17 สัปดาห์ จึงต้องดูแลระบบนี้โดยการเอาผักตบชวาออกทุก 10 สัปดาห์ ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของบึงมักกะสัน พบว่าสามารถลดค่า BOD ได้ระหว่าง 19-85% โดยเฉลี่ยได้ 51% มีประสิทธิภาพในการฟอกตัวด้านการ กำจัด Total Coliformแบคทีเรีย และ FeCA Coliform แบคทีเรียเฉลี่ย 90% และ 89% ตามลำดับ

ผลการศึกษาประโยชน์ของผักตบชวา

ในน้ำเน่าเสียจะมีไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทางเคมี เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และไนเตรทไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ทั้ง 3 ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่นๆ คือ ประมาณ 95 % ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจน จะเป็นประมาณ 80 % และ 77 % ตามลำดับ

ผลการศึกษาแหล่งน้ำเมื่อบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา

น้ำเน่าเสียได้ผลดี และสามารถนำไปแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำหรือลำคลองอื่นๆต่อไป และผลพลอยได้หลายอย่าง เช่น ปุ๋ย เชี้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและปลูกพืชน้ำอื่นๆเช่น ผักบุ้ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หลายอย่างเช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและการปลูกพืชน้ำอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น รวมทั้งการเลี้ยงปลาด้วย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะทำให้เป็น สวนสาธารณะแต่อย่างใด บึงมักกะสันจึงเป็นบึงที่สร้างภาวะแวดล้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เรียบง่าย ประหยัด และที่สำคัญเป็น แหล่งค้นคว้าทดลองที่พระราชทานเพื่อปวงประชา จักได้มีสุขถ้วนทั่วหน้ากัน การพัฒนาบึงมักกะสันจึงนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจาก พระปรีชาสามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ ด้วย สายพระเนตรที่ยาวไกล จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แก่ชาวไทยทั้งมวล

ประโยชน์ของโครงการ

บำบัดน้ำเสียรวมทั้งได้ผักตบชวาสำหรับทำปุ๋ยหมักหรือเชื้อเพลิงและอาหารสัตว์ตามเหมาะสม รวมทั้งเป็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชองประประชาชนในพื้นที่รอบบริเวณบึงมักกะสัน ให้ดีขึ้นอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2021 6:31 am    Post subject: Reply with quote

ความหวังสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์มักกะสัน แทนการสร้างมักกะสัน คอมเพล็กซ์
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
10 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

อาจเป็นความบังเอิญบนความโชคดีของคนกรุงเทพฯ ที่ทุกวันนี้ เรายังเหลือพื้นที่สีเขียวขนาดเกือบ 700 ไร่ ที่ยังอุดมสมบูรณ์ ทำหน้าที่เป็นปอดฟอกมลพิษ เป็นแก้มลิงกลางเมือง และเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
.
“มักกะสัน” คือ ที่ดินใจกลางเมืองผืนงามของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กำลังจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชย์เต็มรูปแบบ ภายใต้ชื่อโครงการ “มักกะสันคอมเพล็กซ์” ที่มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้าน โดยจะให้เอกชนที่ได้รับสัมปทานเข้ามาเปลี่ยนที่ดินแปลงนี้ให้เป็นป่าคอนกรีตทุกตารางนิ้ว ซึ่งจะทำลายโรงงานซ่อมรถไฟอายุร่วม 100 ปีที่ควรอนุรักษ์ ต้นไม้ใหญ่มากมาย และผู้คนชุมชนดั้งเดิมออกไปทั้งหมด
.
นายอาทิตย์ โกวิทวรางกูร เครือข่ายมักกะสัน มองว่าโจทย์ในการพัฒนาที่ดินมักกะสัน ควรมุ่งไปที่ประโยชน์ของสาธารณะส่วนรวม คุณภาพชีวิต คุณค่าทางสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และประวัติศาสตร์อย่างรอบด้าน ไม่ใช่ตัวเลขทางการเงินเพียงอย่างเดียว เครือข่ายเสนอให้มีแนวทางปฏิบัติตามนี้
.
1. พัฒนาพื้นที่มักกะสันเพื่อประโยชน์ของสาธารณะเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อผลกำไรด้านธุรกิจ เช่น สวนสาธารณะ ให้ผู้คนได้ทำกิจกรรมมากขึ้นหากมีพื้นที่สาธารณะ จะมีสิ่งๆ ดีเกิดขึ้นอีกมากมาย และพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุดในสวน พื้นที่กิจกรรม ฯลฯ
2. รักษาพื้นที่สีเขียวแห่งนี้ให้เป็นปอดของกรุงเทพฯ ให้ได้มากที่สุด สร้างจุดศูนย์กลางสำหรับคนที่อยากเรียนรู้เรื่องเมือง และออกแบบการมีส่วนร่วมจากคนรุ่นใหม่ๆ
3. ทำประชาพิจารณ์ หาความต้องการที่แท้จริงของคนกรุงเทพฯ ว่าต้องการให้พื้นที่นี้ถูกพัฒนาไปในทิศทางใด รักษาวิถีชีวิตเดิมๆ ไม่ให้สูญหายไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2021 11:14 pm    Post subject: Reply with quote

จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมโรงงานมักกะสัน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2500
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6162609353753078
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2021 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

17 มิ.ย.64 วันเกิดปีนี้ เป็นอีกปีที่ดี มีโอกาสมาสักการะหลวงพ่อนาคปรก พระศักดิ์สิทธิ์แห่งโรงงานมักกะสัน ก่อนประชุมหารือระหว่างผู้บริหารกรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทเอกชนด้านระบบราง ในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ (Made in Thailand) และตามนโยบาย Thai First รวมถึงติดตามการดำเนินงานตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) การส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนรถไฟ รวมถึงเยี่ยมชมโรงรถจักรประวัติศาสตร์ โรงงานมักกะสัน โรงผลิตแท่งห้ามล้อ
ป.ล. วันนี้นับเป็นโอกาสดีที่ได้เข้าชมรถไฟพระที่นั่งอย่างใกล้ชิดด้วย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4161298593917054

อ่านข่าวแจกกรมรางตลกมากกกก!!! “ไทยทำ ไทยใช้”
*ติดตามปรับปรุงตู้รถโดยสารรับชานฯสูง1.1เมตร
*แต่ไม่ฟาดการรถไฟฯยกรางสูงหรือยังเตี้ย50ซม.
*ปชช.ฝากบอกหาข้อสรุปชานชาลาสูง&ต่ำด่วนๆๆ

"กรมฯราง"ดันรถไฟไทยใช้แบตเตอรี่ขับเคลื่อน
พฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 18.17 น.

เริ่มแล้ว!! “ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน” ใช้วัสดุในประเทศงานขนส่งทางราง ดันรถไฟไทยใช้แบตเตอรี่ขับเคลื่อน รฟท. ลุยทดสอบไบโอดีเซลกับเครื่องยนต์ ก.ค.นี้ เร่งปรับปรุงตู้รถโดยสารรองรับชานฯ สูง คาดแล้วเสร็จปี 66

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านระบบขนส่งทางราง ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชนว่า ที่ประชุมได้ติดตามการขับเคลื่อนการนำนโยบายการส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ (Made in Thailand) ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบาย Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไปสู่การปฏิบัติ โดยปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ส่วนเอกชนจะต้องปรับตัวให้รองรับกับกฎกระทรวงกำหนดพัสดุ และวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 เช่นเดียวกัน ซึ่ง รฟท. มีแนวทางสนับสนุนผู้ประกอบผลิตชิ้นส่วน และประกอบรถไฟในประเทศแล้ว



นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้หารือถึงการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งในส่วนของ รฟท. ทางผู้ว่า รฟท. ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปี 64  สำหรับการทดลองใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล B10 และ  B20 รวมทั้งแผนการติดตั้งหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง B10 ในเส้นทางรถไฟหลักทั่วประเทศแล้ว โดยอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะมีการทดสอบเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ Cummins ในเดือน ก.ค.64 รวมทั้งซ่อมปรับปรุงรถจักรและล้อเลื่อนให้สามารถรองรับ B20


นายกิตติพันธ์ กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ รฟท. จะจัดหารถดีเซลรางและรถจักรเพิ่มเติม ปรับปรุงโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) 20 คัน ดำเนินการแล้วเสร็จ 8 คัน อยู่ระหว่างประกวดราคา 12 คัน รวมถึงปรับปรุง/ดัดแปลงตู้รถโดยสาร เพื่อใช้งานร่วมกับ รถ บฟก.ป. สำหรับนำเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ และการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (ย่านสายสีแดง) ขณะเดียวกันได้ย้ายสถานที่ซ่อมรถโดยสารที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองจากโรงงานมักกะสันไปยังส่วนภูมิภาคแทน  ซึ่งจะช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขตกรุงเทพฯ ได้


นายกิตติพันธ์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินงานปรับปรุงตู้รถโดยสาร เพื่อรองรับชานชาลาสูง 1.10 เมตร ซึ่งปัจจุบัน รฟท. ปรับปรุงเสร็จแล้ว 315 คัน จาก 1,071 คัน คิดเป็น 29% และอยู่ระหว่างปรับปรุงตู้รถโดยสารในส่วนที่เหลือ คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 66 นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อนของ รฟท. (EV on Train) ตามนโยบายของ รมว.คมนาคม โดยรถดีเซลรางใหม่ที่ รฟท. จัดหาจะเป็น Hybrid Diesel Electric Multiple Units : Hybrid-DEMU สำหรับกลุ่มรถจักรสับเปลี่ยน รฟท.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงรถจักร GEK จากระบบ Diesel Electric Locomotive เป็น  Battery Locomotive (BL)  ร่วมกับผู้ผลิตรถไฟ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา 





ส่วนรถจักรที่ใช้ในเส้นทางหลัก ประกอบด้วย รถจักร Hybrid Electric Locomotive 20 คัน ที่ใช้วิ่งบนเส้นทางสายสีแดง รถจักร Hybrid Diesel Electric Locomotive 30 คันสำหรับขนส่งสินค้า รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาข้อมูลทางเทคนิค และวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. นอกจากนี้ รฟท. กำลังรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาความเป็นได้ในการปรับปรุงรถจักรเก่าให้สามารถใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนได้ด้วย อย่างไรก็ตามภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น ทางผู้บริหาร ขร. ได้เยี่ยมชมส่วนจัดแสดงรถจักรประวัติศาสตร์ และโรงงานมักกะสัน ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตแท่งห้ามล้อ ผลิตชิ้นส่วนงานเหล็ก และผลิตงานไม้ที่ใช้วัสดุภายในประเทศสำหรับงานระบบรางอีกด้วย....
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2930191613869004

"กรมราง" เปิด 4 โปรเจคต์ บูมขนส่งทางราง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 17:11 น.

"กรมราง" เดินหน้า 4 โปรเจคต์ ส่งเสริมใช้วัสดุภายในประเทศ ลุยขับเคลื่อนรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ เร่งปรับปรุงตู้รถไฟ รับชานชาลาสูง คาดแล้วเสร็จปี 66

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า สำหรับการประชุมร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทเอกชนด้านระบบราง จำนวน 10 บริษัท ที่ประชุมได้ข้อสรุปใน 4 เรื่อง ดังนี้


1.การส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ (Made in Thailand) ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบาย Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และการดำเนินงานตามหนังสือกรมบัญชีกลาง เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยปัจจุบัน รฟท. ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตามแนวทางดังกล่าวด้วยแล้ว โดยเอกชนจะต้องปรับตัวให้รองรับกับกฎกระทรวงดังกล่าว และ รฟท. มีแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถไฟ ในประเทศ

2.การดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดย ผู้ว่าการรฟท. ได้ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปี 2564 สำหรับการทดลองใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล B10 และ B20 รวมทั้งแผนการติดตั้งหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง B10 ในเส้นทางรถไฟหลักทั่วประเทศแล้ว โดย รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะมีการทดสอบเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ Cummins ในเดือนกรกฎาคม 2564 รวมทั้งดำเนินการซ่อมปรับปรุงรถจักรและล้อเลื่อนให้สามารถรองรับ B20 การจัดหารถดีเซลรางและรถจักรเพิ่มเติม การปรับปรุงโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) 20 คัน ซึ่ง รฟท.ดำเนินการแล้วเสร็จ 8 คัน และอยู่ระหว่างการประกวดราคาอีก 12 คัน รวมถึงการปรับปรุง/ดัดแปลงตู้รถโดยสารเพื่อใช้งานร่วมกับ รถ บฟก.ป. สำหรับนำเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ การจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (ย่านสายสีแดง) การย้ายสถานที่ซ่อมรถโดยสารที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองไปจากโรงงานมักกะสันไปยังส่วนภูมิภาคแทน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขตกรุงเทพมหานคร

3. การดำเนินงานปรับปรุงตู้รถโดยสารเพื่อรองรับชานชาลาสูง 1.10 เมตร ซึ่งปัจจุบันดำเนินการปรับปรุงเสร็จแล้ว จำนวน 315 คัน จาก 1,071 คัน คิดเป็นร้อยละ 29 และอยู่ระหว่างปรับปรุงตู้รถโดยสารในส่วนที่เหลือ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2566

4.แนวทางการส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อนของ รฟท. (EV on Train) ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยรถดีเซลรางใหม่ที่ รฟท. จัดหาจะเป็น Hybrid Diesel Electric Multiple Units : Hybrid-DEMU) สำหรับกลุ่มรถจักรสับเปลี่ยน รฟท.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงรถจักร GEK จากระบบ Diesel Electric Locomotive เป็น Battery Locomotive (BL) ร่วมกับผู้ผลิตรถไฟ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ส่วนรถจักรที่ใช้ในเส้นทางหลัก ประกอบด้วย รถจักร Hybrid Electric Locomotive 20 คัน ที่ใช้วิ่งบนเส้นทางสายสีแดง รถจักร Hybrid Diesel Electric Locomotive 30 คันสำหรับขนส่งสินค้า รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคและวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ต่อไป นอกจากนี้ รฟท. อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาความเป็นได้ในการปรับปรุงรถจักรเก่าให้สามารถใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนได้ อย่างไรก็ตามการประชุมหารือในวันนี้จะเป็นการขับเคลื่อนการนำนโยบายการส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ การส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อน และการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ไปสู่การปฏิบัติ โดยจะมีการดำเนินการร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนด้านระบบรางต่อไป ทั้งนี้ภายหลังการประชุมคณะได้เดินทางเยี่ยมชมส่วนจัดแสดงรถจักรประวัติศาสตร์ และโรงงานมักกะสัน ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตแท่งห้ามล้อ ผลิตชิ้นส่วนงานเหล็ก ผลิตงานไม้ที่ใช้วัสดุภายในประเทศสำหรับงานระบบรางอีกด้วย

กรมขนส่งทางราง เร่งยกเครื่องรถไฟไทย เป็นระบบ “ไฮบริด –อีวีเทรน”
เศรษฐกิจ
พฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 18:16 น.

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง หารือร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทเอกชนด้านระบบราง 10 บริษัท เร่งยกเครื่องรถไฟไทยเป็นระบบ “ไฮบริด –อีวีเทรน” ลดพีเอ็ม2.5


วันที่ 17 มิ.ย.2564 นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า วันนี้ได้หารือร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และบริษัทเอกชนด้านระบบราง 10 บริษัท เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานรถไฟที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ เบื้องต้นให้ รฟท. เน้นการใช้วัสดุภายในประเทศเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถไฟในประเทศ ตามนโยบาย” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน” ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม




” เพื่อเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กพีเอ็ม 2.5 ซึ่งล่าสุด รฟท. ได้ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปี 2564 การทดลองใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล บี10 และ บี 20 รวมทั้งแผนการติดตั้งหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงบี10 ในเส้นทางรถไฟหลักทั่วประเทศแล้ว โดย รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะมีการทดสอบเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ ในเดือน ก.ค. 2564
รวมทั้งดำเนินการซ่อมปรับปรุงรถจักรและล้อเลื่อนให้สามารถรองรับบี 20 การจัดหารถดีเซลรางและรถจักรเพิ่มเติม, การปรับปรุงโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) 20 คัน ซึ่ง รฟท.ดำเนินการแล้วเสร็จ 8 คัน และอยู่ระหว่างการประกวดราคาอีก 12 คัน



นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า ได้ขอให้ รฟท.ส่งเสริมการใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อนของรฟท.ด้วย โดยรถดีเซลรางใหม่ที่ รฟท. จัดหาจะเป็นไฮบริด สำหรับกลุ่มรถจักรสับเปลี่ยน รฟท.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงรถจักรจีอีเค ชนิดรถ​จักรดีเซลไฟฟ้า เป็น แบตเตอรี่ ร่วมกับผู้ผลิตรถไฟ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ส่วนรถจักรที่ใช้ในเส้นทางหลัก คือ รถจักรไฮบริด 20 คัน ที่ใช้วิ่งบนเส้นทางสายสีแดง รถจักรดีเซลไฟฟ้า 30 คันสำหรับขนส่งสินค้า รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคและวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการ(บอร์ด) ต่อไป นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาความเป็นได้ในการปรับปรุงรถจักรเก่าให้สามารถใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2021 10:34 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพบรรยากาศโรงงานมักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/949273979182880
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2021 2:31 am    Post subject: Reply with quote

ลักษณะการติดเชื้อ เป็นวงกว้าง อันตรายมาก. บ้านพักนิคมฯ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา การ์ดห้ามตก
https://www.facebook.com/pongthep.prampratin.7/posts/3056734924545289
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2021 3:46 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อฯ ณ บ้านพักและแฟลตนิคมรถไฟมักกะสัน. ประจำวันที่ 5. กค.64
ติดเชื้อ 32
นอนโรงพยาบาล 23
หาย 4
ตาย 2
รอรถพยาบาลมารับ 3
ติดเชื้อเพิ่ม 2
https://www.facebook.com/pongthep.prampratin.7/posts/3058759641009484
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

มาจริงใช่มั๊ย !!!!!!!
มีการติดป้ายขอยกเลิกทางจักรยานสถานีมักกะสัน ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปออกกำลังกาย เพื่อเตรียมพื้นที่ทำรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
รู้สึกจะเป็น CP ที่ได้สัมปทาน ....แบบนี้เมืองใหม่มักกะสันใกล้ความจริงอีกก้าวแล้วหรือไม่?อย่างไร?

ตอนนี้ศูนย์ซ่อมบำรุงที่แปดริ้วกำลังสร้าง แถว บางเตย- แปดริ้ว ตลอดข้างทางที่ชลบุรีก็เริ่มเคลียร์พื้นที่แล้วครับ
https://www.facebook.com/propholic2014/posts/3861785320587910
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2021 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

คืนชีวิตชีวา"โรงซ่อมมักกะสัน"
เปลี่ยนประตูไม้อาคาร "ร.ฟ.ผ.2465"
ทรงคุณค่าประวัติศาสตร์เก่าแต่เก๋า
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4365617046818540
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15  Next
Page 11 of 15

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©