Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180148
ทั้งหมด:13491382
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 412, 413, 414 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องความคืบหน้า “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ถึงไหนแล้ว
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.


“คมนาคม” สั่งทุกหน่วยงานเตรียมรื้อย้ายสาธารณูปโภค แล้วเสร็จ ภายในเดือนก.ย.นี้ เร่งส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กว่า 5 พันไร่ ภายในเดือน ต.ค.64 ขณะที่การเวนคืนลุยทำสัญญาซื้อขายแล้ว 634 สัญญา มูลค่า 3.5 พันล้านบาท

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ครั้งที่ 4/2564 (ครั้งที่15) ว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยมีความก้าวหน้าที่สำคัญคือ การส่งมอบพื้นที่ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภาให้กับเอกชนคู่สัญญา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 88 โดยได้สั่งการและมอบนโยบายในการดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จตามกำหนด เวลาที่ตั้งไว้ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ได้ทั้งหมดในเดือนกันยายน 2564 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนฯ ก่อนถึงกำหนดส่งมอบตามสัญญาในเดือนตุลาคม 2564

สำหรับการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว 634 สัญญา มูลค่า 3,599 ล้านบาท จากจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท ด้านการโยกย้ายผู้บุกรุก ที่กีดขวางการก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ได้ดำเนินการโยกย้ายแล้วเสร็จ 100 % ส่วนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูโภคช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาแล้วเสร็จ 257 จุด และอยู่ระหว่างการรื้อย้าย 396 จุด ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินงาน เพื่อให้แล้วเสร็จทันตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ ภายในเดือนกันยายน 2564 ขณะที่ความคืบหน้าของเอกชนคู่สัญญาปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบและเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่ งานก่อสร้างถนน งานก่อสร้างสะพานชั่วคราว งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักพนักงาน และงานเจาะสำรวจดิน เป็นต้น ทั้งนี้ในส่วนการเข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปัจจุบัน เอกชนคู่สัญญา ได้นำผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบสถานะด้านเทคนิคแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างออกแบบเพื่อปรับปรุงการให้บริการ และเตรียมการฝึกอบรมบุคลากร นอกจากนี้ ยังเตรียมการปรับปรุงการให้บริการของสถานี ปรับปรุงการเดินรถไฟให้ทันสมัย ตรงเวลา และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับบริการที่ดี มีความสะดวกสบาย โดยเอกชนคู่สัญญามีกำหนดเข้าบริหารโครงการได้ในช่วงเดือนตุลาคม 2564
https://www.youtube.com/watch?v=yyyssuvIhc0

คมนาคมเคลียร์พื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบินจบใน ก.ย. 64 ส่งมอบ ซี.พี.ตอกเข็มช่วง “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” 170 กม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.


“คมนาคม” เคลียร์พื้นที่ เวนคืน บุกรุก “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. จบใน ก.ย. และออก NTP ส่งมอบ “ซี.พี.” ตอกเข็ม ต.ค. 64 ตามสัญญา พร้อมกับโอน “แอร์พอร์ตลิงก์” ยันบริการไม่สะดุด เสนออีอีซีเร่งก่อสร้างช่วงทับซ้อนรถไฟไทย-จีน ช่วง “บางซื่อ-ดอนเมือง”

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ครั้งที่ 4/2564 (ครั้งที่ 15) วันที่ 29 มิ.ย. ว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการส่งมอบพื้นที่ให้กับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) ซึ่งเป็นคู่สัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนอกเมือง สนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภาให้กับเอกชนคู่สัญญา ระยะทาง 170 กิโลเมตร และพื้นที่ในเมือง จากสุวรรณภูมิเข้ามาถึงดอนเมือง ซึ่งพื้นที่นอกเมืองช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภานั้นได้สั่งการและมอบนโยบายให้ รฟท.เร่งรัด ดำเนินการ รฟท.ให้เรียบร้อยในเดือน ก.ย. 2564 เพื่อพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ทั้งหมดตามสัญญากำหนดในวันที่ 24 ต.ค. 2564

รฟท.ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ โดยปัจจุบันมีความก้าวหน้ากว่า 88% โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. การโยกย้ายผู้บุกรุกที่กีดขวางการก่อสร้าง ดำเนินการโยกย้ายแล้วเสร็จ 100% พร้อมส่งมอบ

2. การเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งสิ้นจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท โดยได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว 634 สัญญา คิดเป็นมูลค่า 3,599 ล้านบาท เหลืออีก 103 แปลง มูลค่า 548 ล้านบาท โดยจะสามารถเข้าวางเงินได้ครบในเดือน ก.ค. 2564 เพื่อเข้าครอบครองพื้นที่ต่อไป โดยคาดจะแล้วเสร็จในวันที่ 30 ก.ย. 2564 ก่อนกำหนดส่งมอบพื้นที่

3. งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาแล้วเสร็จ 257 จุด และอยู่ระหว่างการรื้อย้าย 396 จุด ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินงานเพื่อให้แล้วเสร็จทันตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ (คือภายในเดือน ก.ย. 2564) สำหรับท่อก๊าซพบว่าอยู่ในแนวขวาง

ส่วนท่อน้ำมันและท่อก๊าซกีดขวางบริเวณพื้นที่ก่อสร้างนั้นได้ตรวจสอบร่วมกัน โดยในส่วนของท่อน้ำมันที่มีอยู่ในพื้นที่แนวขนานกับรถไฟนั้นไม่จำเป็นต้องรื้อย้าย แต่จะมีการจ้างที่ปรึกษาคนกลางซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบยืนยันความปลอดภัย และให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เพื่อดำเนินการก่อสร้างและควบคุมภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับเอกชนคู่สัญญานั้น ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบและเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่ งานก่อสร้างถนน งานก่อสร้างสะพานชั่วคราว งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักพนักงาน และงานเจาะสำรวจดิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่ รฟท.จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) อย่างเป็นทางการ

@เจรจา ซี.พี.เร่งก่อสร้าง โครงสร้างร่วมรถไฟไทย-จีน ช่วง “บางซื่อ-ดอนเมือง”

สำหรับพื้นที่ในเมือง ตั้งแต่สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ระยะทางประมาณ 50 กม.นั้น ยังมีเวลาอีก 2 ปีในการส่งมอบหรือภายในเดือน ต.ค. 2566 นั้น นายชยธรรม์กล่าวว่า เนื่องจากช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งตามสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะต้องเป็นผู้ก่อสร้าง โดยกระทรวงคมนาคมได้เสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ให้เจรจากับทางกลุ่ม ซี.พี.เพื่อให้เร่งก่อสร้างช่วงนี้ก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ซึ่งมีการลงนามก่อสร้างไป 10 สัญญาแล้ว

ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องทั้งอีอีซี รฟท. และเอกชน เร่งหารือในรายละเอียด และวางแผนร่วมกัน หากเป็นไปได้ รฟท.จะเปิดประมูลรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 4-1 ช่วง บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. เพื่อให้ก่อสร้างพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างได้ในปี 2565

@พร้อมโอน “แอร์พอร์ตลิงก์” ต.ค. 64 บริการไม่สะดุด


ในส่วนการเข้าบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) นั้น ปัจจุบันกลุ่ม ซี.พี.ได้นำผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบสถานะด้านเทคนิคแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างออกแบบเพื่อปรับปรุงการให้บริการ และเตรียมการฝึกอบรมบุคลากร นอกจากนี้ ยังเตรียมการปรับปรุงการให้บริการของสถานี ปรับปรุงการเดินรถไฟให้ทันสมัย ตรงเวลา และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับบริการที่ดี มีความสะดวกสบาย โดยเอกชนคู่สัญญามีกำหนดเข้าบริหารโครงการในวันที่ 24 ต.ค. 2564 โดยไม่มีรอยต่อในการให้บริการแต่อย่างใด พร้อมชำระเงินค่าใช้สิทธิจำนวน 10,671 ล้านบาท ตามสัญญา

นายชยธรรม์กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าทาง ซี.พี.ขอเจรจาเพื่อปรับเปลี่ยนการชำระเงินค่าใช้สิทธิ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ว่า เป็นเรื่องของ รฟท.และอีอีซี ซึ่งเรื่องนี้เป็นเทคนิคระหว่างคู่สัญญาที่มีสิทธิ์เจรจาได้ เนื่องจากเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) ที่รัฐและเอกชนเป็นพาร์ตเนอร์กัน ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือ ทำให้โครงการสำเร็จเปิดให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการไปตามเงื่อนไข ส่วนหากจะมีการปรับเปลี่ยนใดๆ ก็ต้องเจรจา และหากตกลงกันได้ ไม่มีผลกระทบ ก็ทำเป็นแนบท้ายสัญญาได้ โดยโครงการต้องสำเร็จตามแผนแล้ว ได้เงินครบตามสัญญา ส่วนกระบวนการอยู่ที่คู่สัญญาเจรจากัน


Last edited by Wisarut on 30/06/2021 11:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจี้ รฟท.เร่งเคลียร์ส่งมอบพื้นไฮสปีด 3 สนามบิน ก.ย.64

30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 09:28 น.


30 มิ.ย. 2564 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ครั้งที่ 4/2564 (ครั้งที่15) ว่าที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยมีความก้าวหน้า การส่งมอบพื้นที่ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภาให้กับเอกชนคู่สัญญา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ มีความก้าวหน้ากว่า88%

ชีวิตดี เริ่มต้นที่ห้องนอน
IKEA ประเทศไทย
“ได้สั่งการและมอบนโยบายในการดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จตามกำหนด เวลาที่ตั้งไว้ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ได้ทั้งหมดในเดือนกันยายน 2564 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนฯ ก่อนถึงกำหนดส่งมอบตามสัญญาในเดือนตุลาคม 2564”นานชยธรรม์ กล่าว

สำหรับรายละเอียดเนื้องานที่สำคัญ ได้แก่ การเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว 634 สัญญา มูลค่า 3,599 ล้านบาท จากจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท ,การโยกย้ายผู้บุกรุก ที่กีดขวางการก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ได้ดำเนินการโยกย้ายแล้วเสร็จ 100 % และ ,งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูโภคช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาแล้วเสร็จ 257 จุด และอยู่ระหว่างการรื้อย้าย 396 จุด ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินงาน เพื่อให้แล้วเสร็จทันตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ ภายในเดือนกันยายน 2564

สำหรับความคืบหน้าของเอกชนคู่สัญญาปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบและเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่ งานก่อสร้างถนน งานก่อสร้างสะพานชั่วคราว งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักพนักงาน และงานเจาะสำรวจดิน เป็นต้น

ทั้งนี้ในส่วนการเข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปัจจุบัน เอกชนคู่สัญญา ได้นำผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบสถานะด้านเทคนิคแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างออกแบบเพื่อปรับปรุงการให้บริการ และเตรียมการฝึกอบรมบุคลากร นอกจากนี้ ยังเตรียมการปรับปรุงการให้บริการของสถานี ปรับปรุงการเดินรถไฟให้ทันสมัย ตรงเวลา และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับบริการที่ดี มีความสะดวกสบาย โดยเอกชนคู่สัญญามีกำหนดเข้าบริหารโครงการได้ในช่วงเดือนตุลาคม 2564
https://www.youtube.com/watch?v=IQ4VbSS77MI

ไฮสปีด 3 สนามบิน เร่งเคลียร์ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ก.ย. 64
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:04 น.


ปลัดคมนาคม คุมหัวโต๊ะส่งมอบพื้นที่ “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เร่งส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ให้จบใน ก.ย. 64 ส่งมอบ “ซี.พี.” ให้ทันกำหนดพร้อมออก NTP ต.ค. 64 หลังส่งมอบพื้นที่คืบไปกว่า 88%

วันที่ 29 มิถุนายน 2564 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ได้รับทราบความก้าวหน้าโครงการ โดยมีความก้าวหน้าที่สำคัญคือ การส่งมอบพื้นที่

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม
นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม
สุวรรณภูมิ-อูาตะเภาคืบ 88%
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ – สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. เป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ มีความก้าวหน้าในการส่งมอบพื้นที่แล้ว 88% โดยได้สั่งการและมอบนโยบายในการดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จตามกำหนด เวลาที่ตั้งไว้ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมดในเดือน ก.ย. 2564 ก่อนถึงกำหนดส่งมอบตามสัญญาในเดือน ต.ค. 2564 และคาดว่าจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ได้ในวันที่ 24 ต.ค. 2564

สำหรับรายละเอียดเนื้องานที่สำคัญประกอบด้วย
(1) การเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว 634 สัญญา มูลค่า 3,599 ล้านบาท จากจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท

(2) การโยกย้ายผู้บุกรุก ที่กีดขวางการก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ได้ดำเนินการโยกย้ายแล้วเสร็จ 100 %


(3) งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูโภคช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาแล้วเสร็จ 257 จุด และอยู่ระหว่างการรื้อย้าย 396 จุด ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินงาน เพื่อให้แล้วเสร็จทันตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้คือ ภายในเดือน ก.ย. 2564

เร่งบางซื่อ – ดอนเมือง เคลียร์งานซ้อนไทยจีน
ส่วนช่วงพญาไท – บางซื่อ – ดอนเมือง ระยะทาง 22 กม. จะต้องแยกช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ออกมาเร่งดำเนินการก่อน เพราะเป็นช่วงที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ซึ่งเดิมช่วงนี้มีกำหนดส่งมอบพื้นที่ภายในปี 2566

โดยช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง เคลียร์ผู้บุกรุกเกือบเสร็จแล้ว ส่วนการเวนคืนในส่วนนี้มีไม่มากนัก แต่มีเรื่องการจัดการกับระบบสาธารณูปโภคมากหน่อย โดยได้ให้ อีอีซี ไปคุยกับหน่วยงานต่างๆ แล้ว และด้านหนึ่งก็เตรียมความพร้อมด้านงานก่อสร้างด้วย เพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ส่วนรูปแบบการดำเนินการยังอยู่ระหว่างคุยกัน

“ลักษณะงานที่ทางฝั่งรถไฟ 3 สนามบิน จะเริ่มตั้งแต่การตอกเสาเข็ม หล่อขึ้นโครงตอม่อ ขึ้นมาเป็นโครงสร้างร่วมที่แยกออกไปเป็น 2 Track ซึ่งวางไว้ให้ Track ทั้ง 2 ด้านไปพร้อมกัน โดยอาจมีผลกับสัญญา 4-1 ในเรื่องเนื้องานที่ลดลง แต่กำลังดูอยู่ว่าลดลงมากไหม ซึ่งตอนนี้ให้ที่ปรึกษาเจ้าของงาน (Project Management Consultant :PMC) เข้าหารือกับจีน เพื่อเร่งออกแบบและก่อสร้าง ให้งานเสร็จเร็ว” ปลัดคมนาคมกล่าว









จ้าง ITD เข้าเตรียมงานแล้ว
ด้านความคืบหน้าของเอกชนคู่สัญญาปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบและเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่ งานก่อสร้างถนน งานก่อสร้างสะพานชั่วคราว งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักพนักงาน และงานเจาะสำรวจดิน เป็นต้น โดย บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่ม ซี.พี.) ผู้รับสัมปทาน 50 ปี ว่าจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้ดำเนินการ 3,603.728 ล้านบาท ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-31 ส.ค. 2564

ยันตามเดิม 24 ต.ค. รับมอบแอร์พอร์ตลิงค์
ในส่วนการเข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปัจจุบัน เอกชนคู่สัญญา ได้นำผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบสถานะด้านเทคนิคแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างออกแบบเพื่อปรับปรุงการให้บริการ และเตรียมการฝึกอบรมบุคลากร นอกจากนี้ ยังเตรียมการปรับปรุงการให้บริการของสถานี ปรับปรุงการเดินรถไฟให้ทันสมัย ตรงเวลา และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับบริการที่ดี มีความสะดวกสบาย และยืนยันว่าจะชำระค่าใช้สิทธิ์ วงเงิน 10,671 ล้านบาทให้กับรัฐได้ตามกำหนดในช่วงเดือนต.ค. 2564

โยนอีอีซีตัดสินใจแบ่งชำระ
ส่วนกระแสข่าวการขอแบ่งชำระค่าใช้สิทธิ์เป็นงวดๆ ที่ประชุมไม่ได้หารือกันในกรณีนี้และน่าจะเป็นเพียงข่าวลือ แต่มองว่าหาก ซี.พี. จะแบ่งจ่ายเป็นงวดก็สามารถหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามหลักการของ PPP
Wisarut wrote:
ส่องความคืบหน้า “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ถึงไหนแล้ว
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.



คมนาคมเคลียร์พื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบินจบใน ก.ย. 64 ส่งมอบ ซี.พี.ตอกเข็มช่วง “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” 170 กม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.



Last edited by Wisarut on 12/07/2021 6:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2021 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดตำนานอาคารไม้ร้านเต่าข้าวหน้าเป็ดหลังสถานีรถไฟแก่งคอยช่างเริ่มมารื้อแล้ว .....เนื่องจากต้องคืนพื้นที่สร้างรถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1206764753095244&id=100012851913766
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2021 1:05 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูง สายอีสานสัญญา 3-4
ช่วงสถานีหนองน้ำขุ่น คืบหน้าไปมาก!!! กำลังทำฐานรากเสาทางวิ่ง เร็วกว่าแผน 1.04%!!!!
วันนี้เอาความคืบหน้าของ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสานมาฝากกันหน่อยครับ ซึ่งเป็นช่วงสถานีหนองน้ำขุ่น ของสัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว ,กิดจิก-โคกกรวด กันหน่อย
ซึ่งล่าสุดวันนี้ ผ่านเลยถ่ายรูปช่วงสะพานข้ามทางรถไฟใกล้กับอำเภอสีคิ้ว บนถนน 201 มาให้เพื่อนๆ ชมกันหน่อย
อย่างที่เห็นว่ามีความคืบหน้าไปค่อนข้างมาก จากการเปิดหน้าดิน ทำเสาทางวิ่ง เป็นทิวแถวชัดเจน…..
ซึ่งล่าสุดจากความคืบหน้าไปแล้ว 1.71% เร็วกว่าแผน 1.04%!!!

รายละเอียดสัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว ,กิดจิก-โคกกรวด
ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
- ก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- มูลค่าโครงการ 9,848 ล้านบาท
ซึ่งหนึ่งในนั้นมีสัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว ,กิดจิก-โคกกรวด โดยช่วงนี้จะคร่อมกับสัญญาที่ 2-1 ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในช่วง สีคิ้ว-กุดจิก

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1224549921316818
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2021 1:08 am    Post subject: Reply with quote

ศรีสุวรรณจ่อร้อง DSI สอบ รฟท.ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน พบสอดไส้ใช้รางเก่า

04 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:31 น.


4 ก.ค. 2564 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ตรวจสอบติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีการแบ่งการก่อสร้างงานโยธาเป็น 14 สัญญา ซึ่งขณะนี้ผู้รับเหมาโครงการแต่ละสัญญากำลังดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งจะประกอบไปด้วยโครงสร้างยกระดับสำหรับวางรางรถไฟความเร็วสูง โครงสร้างทางรถไฟบนดิน นอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างโรงซ่อมรถไฟ และอาคารประกอบอีก หลายอาคาร โดยมีบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนร่วมทำงานกันอย่างใกล้ชิดนั้น


แต่จากการตรวจสอบบางสัญญาพบความผิดปกติในการก่อสร้างและการดำเนินงานซึ่งอาจไม่เป็นไปตามข้อสัญญาการจ้าง หรือ ทีโออาร์ หลายจุด อาทิ การวางรางรถไฟ ซึ่งตามสัญญาจะต้องใช้รางเหล็กคุณภาพดีที่มีปีการผลิตในปี 2019 เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีการสอดใส้นำรางเหล็กเก่าที่ผลิตในปี 2013 และปี 2014 มาสอดใส้ใช้สลับแทนในบางจุดเพื่อตบตาผู้ตรวจสอบ (ซึ่งอาจไม่ได้ลงดูพื้นที่จริง)โดยเบื้องต้นพบว่ามีการนำรางเก่ามาใช้ทั้งหมด 48 ท่อน แยกเป็นปี 2013 จำนวน 28 ท่อน(PZH2013) ปี 2014 จำนวน 20 ท่อน(BISG2014) โดยตรวจพบในจุดที่ Sta.3+513 ไปจนถึงจุด 4+113 ซึ่งการสอดใส้นำรางเก่ามาใช้แทนรางใหม่จะทำให้ผู้รับเหมาประหยัดเงินไปได้อย่างมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวทราบมาว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้ตรวจพบแล้ว และได้ทำหนังสือรายงานไปยังผู้จัดการโครงการฯของ รฟท.แล้ว แต่ทว่าเรื่องกลับเงียบไป เป็นที่น่าพิรุธ



นอกจากปัญหาการสอดใส้การนำรางเก่ามาใช้แล้ว ยังมีปัญหาการนำรถกระบะยี่ห้อหนึ่งมาใช้ในโครงการโดยในสัญญาระบุว่าต้องเป็นรถที่มีแรงม้า 2,900 แรงม้า แต่เอามาใช้จริงกลับเป็นรถที่มีแรงม้าเพียง 2,200 แรงม้าเท่านั้น อาจไม่ตรงกับสเปกตามสัญญา และยังพบว่าการก่อสร้างอาคารสำนักงานจำนวน 3 อาคารที่ อ.ปากช่อง พบว่ามีการก่อสร้างเกินไปกว่าแบบแปลนที่กำหนดจากพื้นที่ใช้สอย 1,550 ตร.ม. กลับเพิ่มเป็น 1,940 ตร.ม. ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ค่าบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีฉนวนกันความร้อนบนผ้าเพดานไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดอีกด้วย และเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคารโครงการฯพบว่ามีการจัดซื้อจัดหามาใช้ในราคาที่แพงกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหลายเท่ามาก และยังพบข้อพิรุธอื่น ๆ อีกมากมาย



ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความพร้อมพยานหลักฐานทั้งหมดไปร้องเรียนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ทำการตรวจสอบว่าโครงการรถไฟไทย-จีนดังกล่าว มีการทุจริตคอรัปชั่นกันหรือไม่ หากพบความผิดและมีใครเกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบบ้าง จะได้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายขั้นสูงสุดต่อไป โดยจะเดินทางไปในวันจันทร์ที่ 5 ก.ค.64 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน DSI ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด


Last edited by Wisarut on 05/07/2021 4:29 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2021 1:13 am    Post subject: Reply with quote

ร่วมกันทำแบบสำรวจ เพื่อออกแบบรถไฟความเร็วสูง!!!
สจล. วิจัยร่วมกับ CRRC Sifang Qingdao ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา…..
วันนี้มาชวนเพื่อนๆ มาทำแบบสำรวจ รถไฟความเร็วสูงที่เราต้องการกันหน่อย เนื่องจาก พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ เค้า ร่วมมือกับ CRRC Sifang Qingdao ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูง CR300AF ซึ่งจะมาใช้กับรถไฟความเร็วสูงสายอีสานของเรา
ซึ่งอาจจะนำผลจากการทำแบบสำรวจนี้บางส่วนไปประกอบการออกแบบรายละเอียดตัวรถไฟความเร็วสูงที่จะทำมาใช้ในสายอีสานเราจริงๆด้วยน๊า….
ฝากไปทำแบบสำรวจกันในลิ้งค์นี้เลยครับ

แบบสอบถามความต้องการของผู้โดยสาร ต่อรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา(Questionaire for demand of passengers about high-speed rail Bangkok-Nakhon Ratchasima)

งานสัญญาที่ 2.3 มีรายละเอียดคือ
1. วางรางรถไฟความเร็วสูง เป็นทางคู่ ระยะทาง 253 กิโลเมตร ขนาดราง 1.435 เมตร (European Standard Guage)
ระบบหมอนรองราง
- ในพื้นที สถานี, ช่วงบางซื่อ-รังสิต และในอุโมงค์ เป็นแบบไม่ใช้หินรองราง (Ballastless Track) เพื่อง่ายในการซ่อมบำรุง
- ส่วนอื่นๆ เป็นแบบหินรองราง Ballasted Track
2. จัดหาขบวนรถไฟ ซึ่ง Confirm!!! ว่าเป็น Series : Fuxing Hao Model : CR300 แล้วแน่นอนครับ
ซึ่งรถไฟ Series : Fuxing hao Mode : CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน)
ความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม

ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
3. งานระบบควบคุม และอาณัติสัญญาณรถไฟ ซึ่งจะเป็นระบบ CTCS-2 พร้อมกับ GSM-R (รองรับการพัฒนาเป็น CTSC-3)
4. ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่ฝั่งไทย เพื่อให้บริการ และซ่อมบำรุงได้เอง มากที่สุด
—————————
รูปแบบทางวิ่งโครงการ
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
- สถานีสระบุรี
- สถานีปากช่อง
- สถานีนครราชสีมา (โคราช)
รูปแบบการเดินรถไฟ ค่าโดยสาร และการคาดการณ์ประมาณผู้โดยสาร
รูปแบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรก (ปีที่เปิดให้บริการ) จะเดินรถไฟฟ้าที่ความถี่ 90 นาที/ขบวน (1:30 ชั่วโมง)
ค่าโดยสารในโครงการ
จะคิดตามระยะทาง 1.8 บาท/กิโลเมตร และมีค่าแรกเข้าระบบ 80 บาท
จากต้นทางกรุงเทพ ไปยังสถานีต่างๆดังนี้ครับ
- ดอนเมือง 105 บาท
- อยุธยา 195 บาท
- สระบุรี 278 บาท
- ปากช่อง 393 บาท
- นครราชสีมา 536 บาท
ในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ 5,315 คน/วัน จากผู้โดยสาร กรุงเทพ-โคราช วันละ 20,000 คน/วัน
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1224414334663710
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2021 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ส่องความคืบหน้า “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ถึงไหนแล้ว
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.

https://www.youtube.com/watch?v=yyyssuvIhc0

คมนาคมเคลียร์พื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบินจบใน ก.ย. 64 ส่งมอบ ซี.พี.ตอกเข็มช่วง “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” 170 กม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:23 น.




เริ่มมีการถางทางแถวบางพระถึงศรีราชา แล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=tf-s_sBeN3I


เริ่มถางทางช่วงลาดกระบังไปแม่น้ำบางปะกงแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=QKKgSCPb-pc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2021 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ศรีสุวรรณจ่อร้อง DSI สอบ รฟท.ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน พบสอดไส้ใช้รางเก่า

04 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:31 น.

"ศรีสุวรรณ" จ่อร้อง DSI สอบ รฟท.จับพิรุธก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
04 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
"ศรีสุวรรณ" จับพิรุธก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ชี้มีข้อที่ผิดปกติหลายเรื่อง เช่นสอดไส้ใช้เหล็กเก่าทำรางรถไฟในบางช่วง ก่อสร้างอาคารสำนักงานเกินจากแบบแปลน จ่อร้อง DSI สอบ รฟท. จันทร์นี้

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ตรวจสอบติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีการแบ่งการก่อสร้างงานโยธาเป็น 14 สัญญา



ซึ่งขณะนี้ผู้รับเหมาโครงการแต่ละสัญญากำลังดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งจะประกอบไปด้วยโครงสร้างยกระดับสำหรับวางรางรถไฟความเร็วสูง โครงสร้างทางรถไฟบนดิน นอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างโรงซ่อมรถไฟ และอาคารประกอบอีก หลายอาคาร โดยมีบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนร่วมทำงานกันอย่างใกล้ชิดนั้น


แต่จากการตรวจสอบบางสัญญาพบความผิดปกติในการก่อสร้างและการดำเนินงานซึ่งอาจไม่เป็นไปตามข้อสัญญาการจ้าง หรือ ทีโออาร์ หลายจุด อาทิ การวางรางรถไฟ ซึ่งตามสัญญาจะต้องใช้รางเหล็กคุณภาพดีที่มีปีการผลิตในปี 2019 เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีการสอดไส้นำรางเหล็กเก่าที่ผลิตในปี 2013 และปี 2014 มาสอดไส้ใช้สลับแทนในบางจุดเพื่อตบตาผู้ตรวจสอบ (ซึ่งอาจไม่ได้ลงดูพื้นที่จริง)โดยเบื้องต้นพบว่ามีการนำรางเก่ามาใช้ทั้งหมด 48 ท่อน แยกเป็นปี 2013 จำนวน 28 ท่อน(PZH2013) ปี 2014 จำนวน 20 ท่อน(BISG2014) โดยตรวจพบในจุดที่ Sta.3+513 ไปจนถึงจุด 4+113 ซึ่งการสอดไส้นำรางเก่ามาใช้แทนรางใหม่จะทำให้ผู้รับเหมาประหยัดเงินไปได้อย่างมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวทราบมาว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้ตรวจพบแล้ว และได้ทำหนังสือรายงานไปยังผู้จัดการโครงการฯของ รฟท.แล้ว แต่ทว่าเรื่องกลับเงียบไป เป็นที่น่าพิรุธ



นอกจากปัญหาการสอดไส้การนำรางเก่ามาใช้แล้ว ยังมีปัญหาการนำรถกระบะยี่ห้อหนึ่งมาใช้ในโครงการโดยในสัญญาระบุว่าต้องเป็นรถที่มีแรงม้า 2,900 แรงม้า แต่เอามาใช้จริงกลับเป็นรถที่มีแรงม้าเพียง 2,200 แรงม้าเท่านั้น อาจไม่ตรงกับสเปกตามสัญญา และยังพบว่าการก่อสร้างอาคารสำนักงานจำนวน 3 อาคารที่ อ.ปากช่อง พบว่ามีการก่อสร้างเกินไปกว่าแบบแปลนที่กำหนดจากพื้นที่ใช้สอย 1,550 ตร.ม. กลับเพิ่มเป็น 1,940 ตร.ม. ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ค่าบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีฉนวนกันความร้อนบนผ้าเพดานไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดอีกด้วย และเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคารโครงการฯพบว่ามีการจัดซื้อจัดหามาใช้ในราคาที่แพงกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหลายเท่ามาก และยังพบข้อพิรุธอื่น ๆ อีกมากมาย




ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความพร้อมพยานหลักฐานทั้งหมดไปร้องเรียนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ทำการตรวจสอบว่าโครงการรถไฟไทย-จีนดังกล่าว มีการทุจริตคอรัปชั่นกันหรือไม่ หากพบความผิดและมีใครเกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบบ้าง จะได้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายขั้นสูงสุดต่อไป โดยจะเดินทางไปในวันจันทร์ที่ 5 ก.ค.64 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน DSI ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

“พี่ศรี”ร้องดีเอสไอตรวจสอบ ก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ค่า 1.7 แสนล้าน
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:12 น.

“ศรีสุวรรณ” หอบหลักฐานร้องดีเอสไอ ตรวจสอบก่อสร้างรถไฟไทย-จีน มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท สอดไส้รางเก่า 48 ท่อนตบตาผู้ตรวจสอบจีน แจ้งผู้จัดการโครงการฯ รฟท. แต่เรื่องเงียบ


เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยยื่นคำร้องต่ออธิบดีดีเอสไอ เพื่อขอให้ตรวจสอบเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมี ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ผอ.กองคดีพิเศษ เป็นผู้รับเรื่อง


นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีการแบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ซึ่งขณะนี้ผู้รับเหมาแต่ละสัญญา กำลังดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา โดยมีบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนร่วมทำงานกันอย่างใกล้ชิด แต่จากการตรวจสอบบางสัญญาพบความผิดปกติในการก่อสร้างและการดำเนินงาน ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามข้อสัญญาการจ้าง (ทีโออาร์) หลายจุด อาทิ สัญญาที่ 2-1 งานโยธาระหว่างช่วงสี่คิ้ว-กุดจิก ใกล้สถานีรถไฟโคกสะอาด เป็นงานย้ายรางเก่าออกให้พ้นทางแนวรางความเร็วสูง และก่อสร้างแนวรางใหม่ ซึ่งต้องใช้รางใหม่ที่ผลิตในปี 2019 ทั้งหมด แต่พบว่ามีการสอดไส้นำรางเก่าที่ผลิตในปี 2013 และปี 2014 มาใช้สลับแทนในบางจุดเพื่อตบตาผู้ตรวจสอบ โดยเบื้องต้นพบว่ามีการนำรางเก่ามาใช้ในจุดที่ Sta.3+513 ไปจนถึงจุด 4+113 รวมทั้งหมด 48 ท่อน แยกเป็นปี 2013 จำนวน 28 ท่อน (PZH2013) และรางเก่าปี 2014 จำนวน 20 ท่อน (BISG2014)

นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า การสอดไส้นำรางเก่ามาใช้แทนจะทำให้ผู้รับเหมาประหยัดเงินไปได้อย่างมาก อีกทั้งระยะทางการก่อสร้างก็สั้นกว่าที่ระบุในสัญญา ซึ่งปัญหาดังกล่าวทราบมาว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้ตรวจพบแล้ว และได้ทำหนังสือรายงานไปยังผู้จัดการโครงการฯ ของ รฟท.แล้ว แต่เรื่องกลับเงียบผิดสังเกต นอกจากนี้ ยังพบการก่อสร้างอาคารสำนักงานจำนวน 3 อาคารที่ อ.ปากช่อง มีการก่อสร้างเกินแบบแปลงที่กำหนด จากพื้นที่ใช้สอย 1,550 ตร.ม. กลับเพิ่มเป็น 1,940 ตร.ม. ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ค่าบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีฉนวนกันความร้อนบนผ้าเพดาน ซึ่งไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนด

ขณะที่เฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร ก็มีการจัดซื้อจัดหาในราคาที่แพงกว่าราคาตลาดหลายเท่ามาก รวมถึงยังพบข้อพิรุธอื่นๆ อีกมากมาย สมาคมฯ จึงนำหลักฐานมาร้องเรียนให้ดีเอสไอตรวจสอบว่าโครงการรถไฟไทย-จีน มีการทุจริตหรือไม่ หากพบความผิดและมีผู้เกี่ยวข้อง ขอให้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายต่อไป

ADVERTISEMENT


ร.ต.อ.ปิยะ กล่าวว่า ดีเอสไอจะรับเรื่องไว้ตรวจสอบ และพิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่


Last edited by Wisarut on 07/07/2021 5:36 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 1:26 am    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองสูงสุดตีตกคำขอ"ธีระชัย"เลิกมติครม."รถไฟเชื่อมสามสนามบิน"
หน้าการเมือง
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:04 น.

ศาลปกครองสูงสุดตีตกคำฟ้อง "ธีระชัย" อดีตรมว.คลัง ปมขอยกเลิกมติครม.เกี่ยวกับโครงการ “รถไฟเชื่อมสามสนามบิน” ชี้เป็นแค่ผู้เสียภาษี-ผู้บริโภคไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง

วันนี้( 6 ก.ค.64) ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ในคดีที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง และนายสุวิช ศุมานนท์ ยื่นฟ้องขอให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) กับเอกชน และยกเลิกสัญญาร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว



โดยศาลฯ ให้เหตุผลว่า เนื่องจากปรากฎตามคำฟ้องว่า นายธีระชัย และนายสุวิช เป็นเพียงผู้เสียภาษี และผู้บริโภค ที่ใช้บริการรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ นายสุวิช เป็นพนักงานบำนาญ โดยเป็นประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ และเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ เท่านั้น
ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย



เป็นผู้ดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับเอกชน หรือ กระบวนการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน หรือ เป็นคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนตามโครงการดังกล่าว ที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองแต่อย่างใด


นายธีระชัย และ นายสุวิช จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ที่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542



และเมื่อสิทธิในการฟ้องคดีของ นายธีระชัย และ นายสุวิช ต้องห้ามโดยกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการเข้าข้อยกเว้นของการห้ามใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ 2560 แล้ว นายธีระชัยและนายสุวิช จึงไม่อาจอ้างการใช้สิทธิดังกล่าวถ้าอาจมี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกันนี้ได้อีก

ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งคดีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:58 น.



ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำฟ้อง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ร้องขอยกเลิกมติ ครม. และยกเลิกสัญญาร่วมทุน

วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ในคดีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล กับพวกรวม 2 คน ยื่นฟ้องขอให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) กับเอกชน และยกเลิกสัญญาร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว


เนื่องจากปรากฎตามคำฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเพียงผู้เสียภาษีและผู้บริโภคที่ใช้บริการรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นพนักงานบำนาญ โดยเป็นประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ และเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ เท่านั้น มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับเอกชน หรือกระบวนการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน หรือเป็นคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนตามโครงการดังกล่าวที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ที่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

และเมื่อสิทธิในการฟ้องคดีของผู้ฟ้องคดีทั้งสองต้องห้ามโดยกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการเข้าข้อยกเว้นของการห้ามใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่อาจอ้างการใช้สิทธิดังกล่าวถ้าอาจมี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกันนี้ได้อีก

https://drive.google.com/file/d/1e4aBztWZoN0aKjxS182HcUlJgbLPjTAu/view
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 8:22 am    Post subject: Reply with quote

ห้องฝึกจำลองการขับ (Simulation) รถไฟความเร็วสูง ณ วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ ราชมงคลอีสาน ศูนย์หนองระเวียง รองรับการฝึกหัด และออกใบขับขี่ในอนาคต
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
6 กรกฎาคม 2564 เวลา 20:36 น.

วันนี้เอาอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่เตรียมความพร้อมให้กับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย คือ เครื่องจำลองการขับรถไฟความเร็วสูง (Simulation) ภายในวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ ราชมงคลอีสาน ศูนย์หนองระเวียง
ซึ่งเราได้จัดซื้อมาเพื่อเตรียมรองรับการฝึกเจ้าหน้าที่ในขับรถไฟ และใช้สอนนักศึกษาในการขับรถไฟฟ้าในหลักสูตรการเรียนการสอนทั้ง ปวส. และ ปริญญาตรี

รายละเอียดของเครื่องจำลองการขับ (Simulation)
เป็นเครื่องจำลอง จากห้องคนขับของ รถไฟความเร็วสูงรุ่น CRH380B ของจีน (เป็นรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตในประเทศจีน) เป็นม้างานหลักของระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่เราเคยสนใจจะมาใช้ในรถไฟความเร็วสูงของสายอีสาน แต่เรา Upgrade เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด Fuxing hao CR300AF
รู้จักพัฒนาการของรถไฟความเร็วสูงของจีน จนมาเป็น Fuxing hao ได้จากลิงค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/730949204010228/?d=n

รายละเอียดของเครื่องจำลองการขับ (Simulation)
เป็นเครื่องจำลอง จากห้องคนขับของ รถไฟความเร็วสูงรุ่น CRH380B ของจีน (เป็นรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตในประเทศจีน) เป็นม้างานหลักของระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่เราเคยสนใจจะมาใช้ในรถไฟความเร็วสูงของสายอีสาน แต่เรา Upgrade เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด Fuxing hao CR300AF
รู้จักพัฒนาการของรถไฟความเร็วสูงของจีน จนมาเป็น Fuxing hao ได้จากลิงค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/730949204010228/?d=n
ภายในเครื่องจำลองการขับ จะมี อุปกรณ์ 3 ส่วนหลักๆ คือ
- ห้องและแผงควบคุมรถไฟความเร็วสูง (cockpit)
- หน้าจอแสดงผลภาพจำลอง (Display)
- เครื่องควบคุมสถานการณ์ (Simulation Controller)
ซึ่งภายในเครื่องจำลองการขับ สามารถจำลองสถานการณ์ได้ 20 เหตุการณ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ
- ระบบขัดข้อง
- จำลองสภาพอากาศ
- อุบัติเหตุต่างๆ
—————————
ในการฝึกคนขับรถไฟความเร็วสูงซักคนหนึ่ง ต้องผ่านการฝึกขับในเครื่องจำลองการขับ ก่อนไปขับของจริง เพื่อมั่นใจได้ว่าเข้าใจ และมีความชำนาญเพียงพอในการขับรถไฟจริงได้ ไม่ทำให้เกิดเหตุ
นอกจากนั้น จะมีการทวนสอบคนขับรถเป็นประจำ ตัวอย่างในกรณีคนขับรถไฟความเร็วสูงของเยอรมัน ต้องมีการทวนสอบมาตรฐานคนขับ ทุก 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีมาตรฐานที่ดีพอ และไม่ลืมขั้นตอนในการรับเหตุฉุกเฉิน
ซึ่งที่เยอร์มัน ก็มีเครื่องจำลองการขับรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน แต่จะเป็นแบบเสมือนจริง เป็น Cockpit แบบปิด (เหมือน Simulator เครื่องบิน) เหมือนนั่งอยู่ในหัวรถไฟความเร็วสูงเลย พร้อมกับมีการสั่นและโยกได้ตามการขับจริง
โดยการฝึกจะใส่อุปสรรคต่างๆมาให้เจ้าหน้าที่ขับรถไฟได้ลองตอบสนอง ว่าทำได้ดีตามขั้นตอนมาตรฐานของรถไฟหรือไม่
ใครอยากดูรายละเอียดของรถไฟความเร็วสูงเยอรมันดูได้จากโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1024624651309347/?d=n

คลิปเต็ม
https://www.youtube.com/watch?v=FjqgwKsLjbo

ซึ่งในไทยเราก็มีเครื่อง Simulation อยู่หลายเครื่อง และหลายรูปแบบให้สอดคล้องกับรถของแต่ละหน่วยงาน
เท่าที่ผมทราบ มีเครื่อง Simulator รถไฟความเร็วสูงอยู่ 4 เครื่อง คือ
- ศูนย์หนองระเวียง ราชมงคลอีสาน
- วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่
- วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคอยุธยา
เครื่อง Simulation ของการรถไฟ มีอยู่หลายระบบ ติดตั้งอยู่ที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
เครื่อง Simulation รถไฟฟ้าในเมือง เท่าที่ทราบมี 2 ที่คือ
- BTS
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://www.gotoknow.org/posts/503744
- MRT สายสีม่วง
—————————
ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างมาเพื่อรองรับการพัฒนาระบบรางของแต่ละหน่วยงาน เพื่อผลักดันให้ระบบรางในประเทศสามารถโต
ใช้งานได้ประโยชน์กับประชาชนมากสุด และปลอดภัยสูงสุด…..
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 412, 413, 414 ... 542, 543, 544  Next
Page 413 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©