Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180226
ทั้งหมด:13491460
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 63, 64, 65 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2021 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

วิวัฒนาการสถานีอุดรธานี ดูสิว่าสถานีอุดรธานีจะมีหน้าตาเป็นอน่างไรเมื่อทางคู่จากขอนแก่นไปหนองคายกลายเป็นจริงขึ้นมา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4187724554619374&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 2:19 am    Post subject: Reply with quote

16.30 น. #SpiritofAsia : รางรถไฟ สายใยคู่ลำคลอง (27 มิ.ย. 64)
...นอกจากลำคลองหลายสาย ชาวหัวตะเข้ในอดีตพึ่งพาเส้นทางอีกสายหนึ่งในการเดินทางไปนอกชุมชน รางโลหะและไม้หมอนนั้นยังอยู่คู่คลอง เป็นที่พึ่งมาหลายทศวรรษ
https://www.facebook.com/ThaiPBS/videos/503730597351345
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 12:03 am    Post subject: Reply with quote

#ตำนานงูยักษ์เมืองกาญจน์ 🐍🐍🐍🐍🐍
โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
6 กรกฎาคม 2564 เวลา 20:41 น.

📌เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาใน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจำนวนมากเพื่อทำที่มั่นในการโจมตีทหารอเมริกันและพันธมิตรในเขตภาคพื้นเอเชีย ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าดงดิบหนาทึบทำให้ทาง กองทัพญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงความปลอดภัยเพื่อการหลบลี้จากกองกำลังฝ่ายตรงข้าม ทหารญี่ปุ่นโหดร้ายมากใช้เชลยศึกที่จับมาได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อให้รถไฟวิ่งผ่านลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ได้อย่างสะดวก ว่ากันว่าก่อนจะสร้างได้สำเร็จนั้น ต้องสังเวยชีวิตเชลยศึกไปร่วมหลายหมื่นคนจนมีคำพูดเปรียบเปรยว่า “หนึ่งไม้หมอนรถไฟแทนหนึ่งชีวิตที่เสียไป” กันเลยทีเดียวหากมีโอกาสลองนับดูครับว่าเยอะแค่ไหน
🐍 มาถึงเรื่องหลักของเรากันบ้างครับ เรื่องตำนานงูยักษ์ที่เคยมีคนพูดถึง คุณลุงท่านหนึ่งเล่าว่า สมัยนั้นทหารญี่ปุ่นได้ใช้ใจกลางป่า จ.กาญจนบุรีเป็นที่มั่นในการทำสงครามแน่นอนว่าต้องรุกล้ำเข้าไปในเขตของสัตว์ป่าที่อยู่ลึกจนแทบไม่เคยมีชาวบ้านคนใดเคยเข้าไปสำรวจมาก่อน ทั้งในถ้ำ ซอกหิน ต้นไม้ต่างๆนานาถูกดัดแปลงทำเป็นป้อมปราการพร้อมรบ เมื่อตกกลางคืนก็ได้มีการจัดเวรยามออกลาดตระเวนรอบๆฐานที่มั่นแบ่งเป็นกะ 10-15 คน คอยออกลาดตะเวนทุกคืน
🥷 แต่แล้วบางคืน กองลาดตระเวนก็กลับมาไม่ครบ หายไปทีละ 3-5 คน เมื่อออกค้นหาไม่พบจึงคิดว่าเป็นข้าศึกแอบลอบเข้ามาโจมตี จึงได้จัดเวรยามให้เข้มงวดขึ้นอีกเท่าตัว แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์เช่นนี้คือมีทหารหายไปแทบๆจะ 3 คน ต่อครั้ง จนผู้บังคับบัญชาทนไม่ไหว รุ่งเช้าจึงจัดกำลังหลายร้อยนายออกค้นหาทหารที่หายไป จนในที่สุดก็ได้พบกับถ้ำแห่งหนึ่ง เป็นโพลงลึกมืดและบรรยากาศหนาวเย็น จึงส่งทหารจำนวนหนึ่งเข้าไปดู ระหว่างที่ส่งทหารเข้าไปนั้นฝ่ายที่เฝ้าดูอยู่ข้างนอกก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 1-2 ครั้ง จึงทำให้คิดว่าเจอข้าศึก จึงได้ส่งทหารอีกกลุ่มเข้าไปทันที ผ่านไปไม่กี่อึดใจ ทหารเหล่านั้นวิ่งกลับออกมาอย่างไม่คิดชีวิต พลางอุทานว่า “สัตว์ประหลาด” ผู้บังคับบัญชาและเหล่าทหารที่รออยู่ข้างนอกต่างพากันแตกตื่น ในที่สุดก็มีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาว่าให้เอาระเบิดมาระเบิดถ้ำนี้ซะ
💣ระเบิดจำนวนมากถูกส่งมาระเบิดปากถ้ำปริศนาดังกล่าว โดยเริ่มกดชนวนระเบิดไล่ไปเรื่อยๆตั้งแต่ปากถ้ำ จนถึงภายในถ้ำ อย่างระมัดระวัง และแล้วภาพที่ทุกคนไม่คาดคิดก็เผยอยู่ตรงหน้า เมื่อพบกับ งูเหลือมขนาดใหญ่ยักษ์ มีความยาวหลายสิบเมตร ความกว้างขนาดเท่าตู้กับข้าวที่อยู่ในครัว กำลังกระเสือกกระสนพาร่างอันสะบักสะบอม เลื้อยออกไปจากถ้ำ ทหารญี่ปุ่นไม่รอช้าจัดการกระหน่ำยิงไม่ยั้งไปยังงูยักษ์ต้นเหตุของการหายตัวไปของเหล่าทหารลาดตระเวน ก่อนที่ มันจะขาดใจตายอยู่ตรงนั้น ทางทหารก็ได้หั่นเนื้อของงูยักษ์ออกเป็นชิ้นๆเพื่อความสะใจ และเป็นการล้างแค้นให้กับผู้ที่ถูกมันคร่าชีวิตไปอย่างสาสม หลังจากเหล่าทหารสำรวจถ้ำโดยละเอียดแล้วก็พบว่ามีโครงกระดูกเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่าหลักร้อย ทั้งคนและสัตว์ใหญ่ เรื่องราวทั้งหมดจึงเป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมาอย่างยาวนานจนปัจจุบันที่จังหวัดกาญจนบุรี
👄ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาปากต่อปาก แต่ได้รับการยืนยันว่า เป็นเรื่องจริงแต่ข้อมูลบางอย่างอาจผิดเพี้ยนไปบ้างตามคนเล่าต่อๆกันมา เมื่อมีนักท่องเที่ยวทราบว่าคุณลุงเป็นคนพื้นที่ ก็มักจะมีคำถามเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

การขุดพบโครงกระดูกกรรมกรเอเชียที่มาสร้างทางรถไฟสายมรณะประมาณ 500 ศพ ที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อ ปี ค.ศ. 1990 หรือ พ.ศ.2533 (บทความยาวหน่อยแต่อยากให้อ่านให้จบครับ)
Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
7 กรกฎาคม 2564 เวลา 20:37 น.

ในการรับรู้เรื่องราวทางรถไฟสายมรณะของประชาชนทั่วไปนั้น เราจะมองเห็นแค่ภาพของเชลยศึกชาวตะวันตกที่ผอมเหลือแต่กระดูก ทำงานอย่างหนัก ถูกกระทำด้วยความรุนแรงจากผู้คุมเกาหลีและทหารญี่ปุ่น และหลายคนคิดว่าทางรถไฟนั้นแล้วเสร็จได้เพราะหยาดเหงือแรงกายและชีวิตเชลยศึกตะวันตกเท่านั้ย
แต่ที่จริงแล้วมีตัวเลขที่น่าสนใจครับ กรรมกรเอเชีย จากหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย พม่า จีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา มลายู ชวา อินโดนิเซีย รวมถึงแรงงานไทยด้วย แรงงานเหล่านี้มีจำนวนกว่า 230,000-250,000 คนเป็นแรงงานในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ
ในส่วนของเชลยศึกตะวันตกมีประมาณ 60,000 คน ซึ่งจริงๆแล้วมีจำนวนน้อยกว่ากรรมกรเอเชียถึง 4 เท่าเลยทีเดียว แต่เราเองกลับรับรู้เรื่องราวของกรรมกรเอเชียน้อยมากๆ
จำนวนผู้เสียชีวิตของกรรมกรเอเชียอยู่ที่ประมาณ 90,000-100,000 คน หรือ 40% ของกรรมกรเอเชียทั้งหมด พูดภาษาชาวบ้านคือ ใน100 คนจะมีประมาณ 40 คนที่เสียชีวิต ก็เนื่องด้วยความเป็นอยู่ที่แออัด ขาดการดูแลเรื่องความสะอาด ยาไม่ต้องพูดถึงครับไม่มี อาหารก็ไม่เพียงพอ โรคระบาด
หันกลับมาดูฝ่ายเชลยศึกกันบ้าง จำนวนผู้เสียชีวิตมีประมาณ 13,000 คน หรือ 21% ของเชลยศึกทั้งหมด พูดภาษาชาวบ้านคือใน 100 คนมรเชลยศึกเสียชีวิตประมาณ 21 คน หาเราอ่านหนังสือแล้วพบว่า สภาพความเป็นอยู่ของเชลยศึกแย่ อย่างนู้น อาหารไม่พอ ยาไม่พอ งานหนัก แต่หากมาเจอเรื่องราวของกรรมกรเอเชียแล้วคุณจะรู้เลยว่า เชลยศึกมีสภาพความเป็นอยู่ดีกว่ากรรมกรเอเชียครับ
เชลยศึกปรกติจะเป็นทหารที่มีความรู้ในเรื่องของระเบียบวินัยและรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันโรคระบาด ตลอดจนในหน่วยเชลยศึกอต่ละหน่วยมีแพทย์ทหารอยู่ด้วยครับ เพราะฉนั้นแพทย์เหล่านี้ยังพอสามารถให้คำแนะนำหรือสามารถออกแบบดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ รวมถึงการขอแบ่งยารักษาโรคจากญี่ปุ่น เพื่อใช้รักษาเชลยศึกที่มีอาการหนัก ค่ายเชลยศึกมีการจัดการเรื่องความสะอาดที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับค่ายกรรมกร มีการทำค่ายแยกสำหรับผู้ป่วยโรคระบาดต่างๆ และทำการแยกผู้ป่วยออกไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคระบาด และยังมีเรื่องราวอีกมากที่ความเป็นอยู่เชลยศึกนั้นดีกว่ากรรมกรเอเชีย
เพราะฉนั้นกล่าวได้ว่ากำลังแรงงานกรรมกรเอเชียนั้นเป็นแรงงานหลักในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ก็ดูจะไม่ผิดนะครับ
ขอเข้าเรื่องเลยละกันครับในเรื่องการค้นพบโครงกระดูกจำนวนมากของกรรมกรเอเชียที่บริเวณข้างศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี 2533 หรือ ค.ศ.1990
เริ่มต้นเรื่องมันดูลึกลับและเป็นสิ่งที่ทางวิทยาศาสตร์ ตอบได้ยากครับ เพราะเรื่องมีอยู่ว่า คืนหนึ่งเจ้าของร้านซ่อมจักรยายนต์ที่ชื่อว่า คุณสมปอง ชาววังไทร ได้ฝันเห็นว่าตนเองได้ไปยืนในบริเวณพื้นที่แห่งหนึ่งที่เป็นไร่อ้อย
ในบริเวณไร้อ้อยนั้นมีคนอยู่มากมาย แต่สภาพของผู้คนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีสภาพผอมโซ หิวโหย เจ็บป่วย และสวมเสื้อผ้าขาดๆ ดูน่าสงสารเวทนา ในความฝันนั้นมีคนเดินเข้ามาบอกว่ามาช่วยปลดปล่อยพวกเขาด้วย ในความฝันคุณสมปองจำได้ว่าบริเวณไร่อ้อยนั้นมีต้นกร่างขนาดใหญ่เป็นจุดสังเกตุ
หลังจากนั้นไม่นาน ทางคุณสมปอง ชาววังไทร ก็พยายามตามหาพื้นที่ตามในฝัน จึงขับรถจักรยานยนต์ตระเวนหา
จนมาถึงหน้าซอยแสงชูโต 14 มีอะไรบางอย่างดลใจให้คุณสมปองหยุดรถ และสอบถามชาวบ้านแถวนั้น คุณสมปองถามว่าในซอยนี้มีที่ฝังศพบ้างไหม ชายชราที่อยู่หน้าปากซอยไม่พูดอะไรเพียงชี้เข้าไปในซอย
คุณสมปองจึงขับรถเข้าไปดูพบว่ามีไร่อ้อย และในนั้นมีต้นกร่างต้นใหญ่ดังที่ตนเองฝันไว้ พื้นที่ตั้งบริเวณนั้นอยู่ห่างจากกำแพงศาลากลางประมาณ 100 เมตร และอยู่ห่างจากถนนแสงชูโตประมาณ 200 เมตร
แต่เมื่อพบแล้วก็ใช่ว่าจะไปทำอะไรได้เลย ทางคุณสมปอง ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้
ในช่วงเวลานั้นให้มีเหตุประจวบเหมาะ เพราะมีคนในมูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์มาติดต่อ จะขอซื้อที่ดินของคุณสมปอง
คุณสมปองจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยปรึกษาเรื่องแปลกๆที่ตนฝันถึงและสถานที่ในฝันที่พบ
ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิดังกล่าวก็ให้คำแนะนำ แล้วคุณสมปองก็ได้ติดต่อขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของที่ดินคือ ครูอนัญญา วัฒนแย้ม
ก่อนลงมือทำการขุดศพขึ้นมา ในเบื้องต้นครูอนัญญาปฏิเสธว่าตนไม่เคยเอาใครไปฝัง แต่เพื่อนบ้านซึ่งเป็นผู้อาวุโสยืนยันว่า ไร่อ้อยแห่งนี้เคยเป็นที่ฝังศพกรรมกรสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ครูอนัญญาจึงยินยอมเซ็นใบอนุญาตให้ขุดศพได้โดยไม่ขอรับเงินค่าเสียหายในการที่ต้องไถต้นอ้อยออกไปแต่อย่างใด
ในการไถต้นอ้อย รถไถได้รับการสนับสนุนจาก พล.ต.ท. จำรัส มังคลารัตน์ ภายหลังปรับพื้นที่จนเหลือแต่หน้าดินเพื่อรอการขุดโครงกระดูกขึ้นมาด้วยจอบและเสียบ
ก่อนที่จะเริ่มการเข้ามาขุดล้างป่าช้าจากมูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์ โดยในการขุดนั้นจะมีการเข้าทรงและร่างทรงจะชี้จุดที่เป็นหลุมศพ มีการปักธงแดง และทำการขุด มีผู้คนเข้าร่วมงานบุญนี้มากมาย
ในวันที่ 15 พ.ย. 1990 วันแรกของการขุดศพไร้ญาตินั้น พบโครงกระดูกจำนวนกว่าร้อยศพ นอนทับกันในหลุม หลายหลุม มีภาชนะแก้วน้ำ ชามข้าวที่เป็นแบบสังกะสีเคลือบจำนวนพอสมควร
ในวันที่ 16 พ.ย.1990 มีการขุดศพไร้ญาติต่อครับ พบโครงกระดูกประมาณ 104 ศพ
ในวันที่ 18 พ.ย.1990 หลังจากที่ข่าวแพร่กระจายออกไปว่ามีการขุดค้นพบโครงกระดูกจำนวนมากอยู่ข้างๆศาลากลาง จังหวัดกาญจนบุรี ทางอธิบดีกรมศิลปากรได้มาตรวจดูพื้นที่การขุด เห็นว่าการขุดแบบนี้อาจจะเป็นการทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์
จึงมีหนังสือไปยังผู้ว่าราชการ จ.กาญจนบุรี ให้มีคำสั่งให้มูลนิธิยุติการขุดชั่วคราว และได้ให้กองโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์นำโดย คุณสถาพร ขวัญยืน เป็นผู้เข้าขุดสำรวจ และมีอาจารย์วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ เลขาธิการศูนย์วัฒนธรรมราชภัฏกาญจนบุรี (หรือวิทยาลัยครูในสมัยนั้น) เข้าร่วมด้วย
ในวันที่ 20 พ.ย.1990
กองโบราณคดี ได้เริ่มทำการขุดหลุม 2 หลุม เลยจากบริเวณที่มูลนิธิขุดพบศพไปทางใต้ แต่ไม่พบศพ
ในวันที่ 23 พ.ย. 1990
จึงมีการขุดหลุมที่สามใกล้กับบริเวณที่ชาวบ้านขุดพบก่อนหน้านี้
ในหลุมที่ 3 มีการขุด 4 ×5 เมตร พบโครงกระดูก 35 โครง โดยทั้งหมดหันหัวไปทางทิศเหนือใต้ มี 24 โครงหันหัวไปทางเหนือ มี11 โครงหันหัวไปทางใต้ ถูกฝังทับซ้อนกัน สภาพโครงกระดูกผุกร่อนเนื่องจากอยู่ใต้ไร่อ้อยและมีน้ำใต้ดินขังอยู่ โครงกระดูกส่วนใหญ่อยู่ใต้ผิวดินประมาณ 60-70 ซม.
ในจำนวนโครงกระดูก 35 โครง มีหนึ่งโครงกระดูกเป็นของเด็กหญิงอายุไม่เกิน 10 ขวบ เนื่องจากยังมีฟันน้ำนมอยู่ และพร้อมกันนั้นยังพบกำไลข้อมือที่แขนข้างซ้ายของโครงกระดูกนี้
จากการขุดค้นของนักโบราณคดีพบว่ามีลักษณะการขุดหลุมฝังจะขุดความหลุมเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้ายาว 2-2.5 เมตร ความกว้างไม่แน่นอน มีการฝังศพสองครั้งในหลุมเดียวกัน กล่าวคือเมือฝังศพแรกแล้วก็จะเอาดินกลบลงไปประมาณ 30 ซ.ม.แล้วนำอีกศพมาฝังด้านบนแล้วค่อยเอาดินกลบ
นอกจากการขุดพบโครงกระดูกแล้ว ยังขุดพบข้าวของเครื่องใช้ของผู้ตาย โดยมีทั้งกระบอกน้ำโลหะ บางใบมีตราประทับเขียนแหล่งผลิตที่ ฮ่องกงหรือญี่ปุ่นด้วย บางใบบอกปีผลิตว่าเป็นปี 1939 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แน่นอน
กำไลโลหะที่ข้อมือของโครงกระดูกเด็ก
พบตะกรุดโลหะ 2 ชิ้น และพบเศษเชือกในหูร้อยเชือกของตะกรุด ตะกรุดนั้นพบที่ช่วงสะโพกของโครงกระดูก (คนมัดตะกรุดคาดเอว)
พบบางศพมีฟันเลี่ยมด้วยทอง บางศพพบมีการใส่ฟันปลอม
7 ศพพบว่ามีลักษณะฟันสีดำที่เกิดจากการเคี้ยวหมาก
จากหลักฐานทางโบราณคดีนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นค่ายกรรมกรเอเชีย และมีพยานเคยพบเห็นการขุดหลุมฝังศพของกรรมกรเอเชีย (อินเดีย)
โดยคำบอกเล่ามีดังนี้
นาง อุไร บ่อทรัพย์
วัย 65 ปี ชาวบ้านปากแพรก สัมภาษณ์ 21 พ.ย. 2543
เล่าว่าสมัยนั้นตนเอง อายุ 15 ปี ญี่ปุ่นได้เข้ามาในกาญจนบุรี มีการสร้างค่ายกรรมกรเอเชียตั้งตามแนวทางรถไฟจากบ้านเขาดินถึงบ้านบ่อ (บริเวณโรงพยาบาลพหลในปัจจุบัน) กรรมกรเอเชียนั้นมีชีวิตลำบากตื่นแต่เช้าออกไปทำงานอย่างหนัก อาหารไม่พอกิน ยารักษาโรคก็ไม่มี งป่วยเป็นมาลาเลีย บิด อหิวา เสียชีวิตจำนวนมาก เด็กบางคนไม่มีข้าวกินไม่มีนมกินผอมโซ
เคยแอบมองเข้าไปในค่ายกรรมกรเอเชียเห็นการฝังศพของชาวอินเดียหรือพวกกุลีโต้ (กุลีโต้คือคำเรียกที่ทหารญี่ปุ่นใช้เรียกกรรมกรเอเชียหรือพวกกุลี) โดยหลุมจะถูกขุดไว้ก่อน กรรมกรที่เสียชีวิตจะถูกนำมาฝัง มีการจับศพโยนลงไปซ้อน ๆ ทับกัน
และมีการโรยด้วยปูนขาวเพื่อลดกลิ่นเหม็น เนื่องจากหลุมจะยังไม่ถูกกลบในทีเดียวเพราะในหลุมหนึ่งๆ ต้องใช้ทิ้งศพหลายศพ เมื่อได้ปริมาณศพเพียงพอแล้วจึงจะมีการกลบดิน
นายเอี่ยม บ่อทรัพย์ วัย 81 ปี สัมภาษณ์ 20 มีนาคม 2551
ค่ายญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านบ่อ ส่วนค่ายกรรมกรอินเดีย ชวา มลายู อยู่ที่โรงพยาบาลบ้านบ่อ(โรงพยาบาลพหล) นายเอี่ยมเห็นกรรมกรล้มป่วยเป็นจำนวนมาก บางคนเป็นอหิวา บางคนมีแผลตามเนื้อตัวเต็มไปหมด มีผู้เสียชีวิตมากมาย และศพจะถูกนำไปฝังหลังโรงพยาบาลพหล(ในปัจจุบัน)
คำบอกเล่าจากเจ้าอาวาสวัดในแถวบ้านโป่งที่เคยเห็นกรรมกรเอเชียเชื้อสายอินเดียมาลงรถไฟที่สถานีหนองปลาดุกและเดินเท้าไปยัง จังหวัดกาญจนบุรี ในขบวนนั้นมีเด็กและผู้หญิงร่วมเดินทางไปด้วย โดยผุ้หญิงส่วนใหญ่ก็คือภรรยาของกรรมกรชายที่ออกไปทำงาน ผู้หญิงเองก็มีหน้าที่เป็นแม่บ้านและเป็นคนทำอาหาร
Robert Hardie แพทย์ประจำกองทัพอังกฤษที่ตกเป็นเชลยศึกได้กล่าวถึงกรรมกรเอเชียว่า มีกรรมกรชาวจีน มาเลย์ อินเดียทมิฬ จำนวนมากถูกชักชวนให้มาทำการสร้างทางรถไฟสายมรณะ โดยทางญี่ปุ่นอ้างว่า เป็นงานที่ไม่หนักและมีรายได้ดี พวกเขาถูกส่งมายังประเทศไทยโดยทางรถไฟ เมื่อมาถึงบ้านโป่ง ก็มีการเดินเท้าต่อมายังกาญจนบุรี กรรมกรเอเชียนั้นมีจำนวนหลายพันคนและมีการตั้งค่ายตามแนวทางรถไฟหลายค่าย
เราได้ข่าวความน่ากลัวของการตายจากโรคระบาดในหมู่กรรมกรเอเชีย หลายคนป่วยจนพูดแทบไม่ไหว กรรมกรเอเชียบางคนเสียชีวิตในป่าศพขึ้นอืดเน่าไม่ได้รับการฝัง ระบบสุขาภิบาลไม่มี ผู้คนอยู่กันอย่างแออัด ฝูงแมลงวันมีอยู่เต็มไปหมด ที่สำคัญไม่มีการรักษาพยาบาลในค่ายเหล่านี้
Muthammal Palanisamy อดีตครูในประเทศมาเลเซียผู้ที่พยายามรวบรวมเรื่องราวของกรรมกรเอเชียที่รอดชีวิตกลับไปยังมาเลเซียหลังสงคราม เธอได้รวบรวมข้อมูลจากกรรมกรมาเลเซียได้จำนวน 12 คน และเรื่องราวนั้นกำลังรวบรวมและจะเขียนลงบนหนังสือต่อไป โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า กรรมกรเอเชียชาวมาเลย์อินเดียหลายคนพูดตรงกันว่า ทหารญี่ปุ่นมาเชิญชวนให้ไปทำงานสร้างทางรถไฟ โดยให้เหตุผลที่ว่า การสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ และการสร้างทางรถไฟนี้จะช่วยญี่ปุ่นให้ส่งทหารเข้าไปรบกับอังกฤษ และทางรถไฟสายนี้จะช่วยปลดปล่อยอินเดียจากการตกอยู่ภายในอาณานิคมของอังกฤษ นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวอินเดียทมิฬที่ถูกอังกฤษส่งมาใช้แรงงานในมลายูตัดสินใจไปร่วมสร้างทางรถไฟสายนี้
หลังจากที่มีการขุดพบโครงกระดูกมีการศึกษาพบว่าไม่ได้เป็นศพที่เกี่ยวกับอารยธรรมโบราณก่อนประวัติศาสตร์ ข้อมูลหลังจากนี้ผมคาดการณ์ว่า ทางกรมศิลป์เองก็เลยไม่ได้ทำการสำรวจต่อ และให้ทางมูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์เข้ามาขุดศพทั้งที่เหลือออกจากพื้นที่
คำถามตามมาคือแล้วศพตอนนี้ไปอยู่ที่ใดบ้าง
จากการหาข้อมูลมีดังนี้
ส่วนแรก จำนวนมากหลายร้อยศพ
ในเอกสารของมูลนิธิแจ้งว่าขุดได้ 10 วัน ได้โครงกระดูกบรรทุกเต็มรถหกล้อ 1 คัน ผมได้สอบถามไปยังมูลนิธิว่าหลังจากการล้างป่าช้าครั้งนั้นศพของกรรมกรเอเชียที่ขุดได้ อยู่ที่ใด มูลนิธิได้ให้คำตอบว่าในการล้างป่าช้าแต่ละครั้ง จะมีการนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศลและทำการฌาปนกิจและนำเถ้ากระดูกไปไว้ในสุสานรวมหรือที่เรียกว่าฮวงซุ้ยรวมของศพไร้ญาติ
ซึ่งจะมีการไหว้ตามพิธีกรรมจีนในช่วงเชงเม้งของทุกปี มีของเซ่นไหว้ครับ สุสานของมูลนิธิอยู่ที่ จ.สระบุรีครับ (ก่อนที่จะมีการเผา จนท.กรมศิลป์ได้ไปตรวจสอบโครงกระดูกที่ มูลนิธิโพธิภาวนาสงเคราะห์ ที่กทม. รวบรวมไว้ เพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่ได้หลักฐานอะไรมาก เพราะโครงกระดูกต่างๆ ล้วนแล้วแต่ปะปนกันไปหมด จากสุสานอื่นๆที่ทางมูลนิธิได้ไปทำการขุดศพไร้ญาติครับ)
ส่วนที่สองมีการมอบศพให้กับพิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก ที่อยู่ข้างสะพานแม่น้ำแคว ที่จัดแสดงในครอบแก้วจะมีโครงกระดูกกรรมกรเอเชียสองโครง ส่วนอีก 104 โครงนั้นอยู่ด้านล่างลงไปในบ่อปูน รวมที่พิพิธภัณฑ์นี้มี 106 โครงกระดูก
ส่วนสุดท้ายอีก 33 โครงกระดูก ตามที่มีการเขียนไว้ใน international Herald Tribune, New York Times โดย Thomas Fuller วันที่ 11 มีนาคม ปี 2008
Thomas Fuller ได้เดินทางมาที่ประเทศไทยทำข่าวเกี่ยวกับกรรมกรเอเชียที่ร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสัมภาษณ์ อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ เกี่ยวกับเรื่องรางการของทางรถไฟสานมรณะและเรื่องศพของกรรมกรเอเชีย รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น นางอุไร บ่อทรัพย์ ชาวบ้านที่บ้านอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ค่ายกรรมกร / นายทองอยู่ ชาลวันกุมภีร์ อดีตกรรมกรเอเชียชาวมาเลเซียที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย (ปัจจุบันนี้เสียชีวิตแล้ว)
ในเนื้อข่าวตอนหนึ่งระบุว่า
หลังจากที่มีการขุดพบซากโครงกระดูกกรรมกรเอเชียจำนวนมาก ที่ ปากแพรก กาญจนบุรี อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ร้องขอไปยังทางจังหวัดให้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานหรือสุสานแก่กรรมกรเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดจากหน่วยงานภาครัฐ
ในข่าวยังระบุว่าอาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ได้ขุดศพกรรมกรเอเชียด้วยทุนทรัพย์ของตนเองและนำโครงกระดูกไปฝากไว้ที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จำนวน 33 ศพ เพื่อเก็บรักษา
หลังจากนั้นในปี 2008 อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ และ Thomas ได้เดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์เพื่อจะขอดูโครงกระดูกที่เคยนำมาฝากไว้ แต่กลับได้รับคำตอบว่า โครงกระดูกเหล่านั้นถูกนำไปขุดหลุมฝังเมื่อสองสามปีก่อนหน้านี้ เหตุผลที่นำโครงกระดูกไปฝังนั้น เนื่องจากห้องเก็บโครงกระดูกมีกลิ่นเหม็นอับและได้รับการร้องเรียนจากเจ้าหน้าที่และแขกผู้มาเยี่ยมชม เจ้าหน้าที่คนหนึ่งจึงได้ขุดหลุมฝังโครงกระดูกจำนวน 33 โครง
ตัวผมเองก็อยากรู้ว่าสิ่งที่นักข่าวเขียนนั้นเป็นจริงหรือไม่อย่างไร จึงได้โทรไปที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ มีพี่ จนท.ผู้หญิงท่านหนึ่งรับสายและผมได้สอบถามบุคคลที่มีชื่อในข่าว(ขอสงวนนามนะครับ) ยืนยันว่ามีขุดหลุมฝังศพเหล่านั้นจริง แต่คนที่ขุดฝังเป็นเหมือนกับลูกจ้างชั่วคราวและหลังจากฝังได้ไม่นานก็ลาออกไป และตอนนี้ไม่มีใครทราบว่าหลุมที่ขุดฝังโครงกระดูกกรรมกรเอเชียทั้ง 33 ศพอยู่ที่ใด เพราะเจ้าหน้าที่ในสมัยนั้นเกษียรหมดแล้วบางคนก็เสียชีวิตแล้ว แต่เมื่อกลับมาดูเนื้อหาข่าวในสำนักข่าว New York times ในปี 2008 ยังบอกเพิ่มเติมว่า หลุมที่ฝังโครงกระดูกพวกนั้นอยู่ใกล้กับกองปุ๋ยหมักเขาใช้คำว่า compost heap ซึ่งปัจจุบันคงไม่มีใครรู้อีกนั้นแหละครับเพราะหลายปีแล้ว นั้นหมายความว่า Thomas และอาจารย์วรวุธ รู้ว่าศพ33 ศพฝังที่ใด (แต่ อ.วรวุธ เสียชีวิตแล้วครับ)
ผมไม่ได้มาโจมตีการทำงานของหน่วยงานหรือบุคคลใดนะครับ แค่นำเอาเรื่องราวที่ไปที่มา รวมถึงข้อเท็จจริงมาเผยแพร่ให้คนได้ทราบเท่านั้น เพราะผมเชื่อว่ามีคนอีกมากอยากจะรู้ว่าโครงกระดูกที่ขุดพบนั้นอยู่ที่ใดบ้างก็เท่านั้น
และข้อมูลในหนังสือและเอกสารหลายฉบับ รวมถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ของอาจารย์ วรวุธ เชื่อว่าในพื้นที่บริเวณศาลากลาง โรงพยาบาลพหล ตลอดจน พื้นที่แถวซอย แสงชูโต 14 และรอบข้าง น่าจะยังมีศพหลงเหลืออยู่มากเพราะอดีตเป็นค่ายกรรมกรเอเชีย แต่ก็อย่างว่าแหละครับไม่มีใครอยากที่จะขุดหรือทำอะไร
ข้อมูลการมีอยู่ของค่ายกรรมกรเอเชียของทางไทยนั้นตรงกับที่ผมได้รับจากเพื่อนชาวต่างชาติที่บอกว่า บริเวณศาลากลางและ โรงพยาบาลพหล ในอดีตเป็นค่ายกรรมกรเอเชียเชื้อสายอินเดีย(ชาวทมิฬ) เพราะมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายทางอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ส่วนตัวผมเองก็เชื่อว่าในพื้นที่บริเวณนั้นก็คงจะมีโครงกระดูกของกรรมกรเอเชียหลงเหลืออยู่ครับ ไม่ได้พูดให้เกิดความแตกตื่น สำหรับคนในพื้นที่นะครับ แต่เพียงต้องการให้รับรู้ประวัติที่มาของพื้นที่ตรงนั้น บางพื้นที่เป็นสุสานของกรรมกรเอเชียที่ฝังตามยังคงไม่มีการขุดค้น
หลังจากที่ผมสำรวจทางรถไฟอย่างจริงจังได้คุยกับชาวบ้านหลายคน ได้รับรู้เรื่องราวมาว่าในอดีตเคยมีชาวบ้านที่อยู่ตามแนวทางรถไฟสายมรณะ ขุดพบโครงกระดูกจำนวนมาก เช่นแถวกุยแหย่ หรือ แถวสถานีถ้ำผี(ก่อนถึงช่องเขาขาด) ต่างมีการขุดพบแต่ไม่เป็นข่าวครับ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเมื่อนานมาแล้วเป็นพื้นที่ห่างไกล ไร้คนสนใจ ศพเหล่านั้นถูกขนไปวัด หรือนำไปเผาทำบุญ
สุสานหรือหลุมศพของกรรกรเอเชียนั้นไม่สามารถเทียบกับสุสานของเชลยศึกสัมพันธมิตรได้เลยครับ
สุสานเชลยศึกสัมพันธมิตรดูร่มรื่นสวยงามเป็นระเบียบ ป้ายจารึกบนหลุมศพของเชลยศึกตะวันตกต่างเป็นคำที่สร้างถึงความรักและความภาคภูมิใจการรำลึก แต่สุสานของกรรมกรนั้นอยู่กลางป่าดง ในไร่นาสวนของชาวบ้าน บ้างก็อยู่ในพื้นที่ของประชาชนหรือสถานที่ราชการ ศพต้องนอนในพื้นดินหนาวเย็นไร้ผู้คนสนใจและไร้ตัวตน ไม่มีใครรู้การมีอยู่ของพวกเขา
อย่างที่ผมบอกข้างต้น หนึ่งผมขออุทิศงานเขียนนี้ให้แก่กรรมกรเอเชีย เพื่อให้พวกเขายังคงมีตัวตนอยู่ในความรับรู้ของคนในปัจจุบันซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่เคยรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ สองผมขออุทิศการค้นคว้านี้ให้แก่อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ผมรักและเคารพมาก อาจารย์ วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ท่านต้องการให้เกิดพิพิธภัณฑ์หรือสุสานของกรรมกรเอเชีย แต่ก็ไม่สามารถผลักดันให้มันเกิดขึ้นได้ ผมเองอยากขอให้บทความนี้ช่วยส่งสัญญาณไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า เราอย่าได้หลงลืมกรรมกรเอเชียเหล่านี้ ทางรถไฟที่คนไทยได้ใช้สัญจรจากหนองปลาดุกถึงสถานีน้ำตกนั้น ที่คนไทยได้ใช้ทำมาหากินรับนักท่องเที่ยว รายได้จาดทางตรงและทางอ้อม แรงงานส่วนใหญ่ที่สร้างก็คือกรรมกรเอเชียครับ ด้วยเหงื่อ แรงกาย ชีวิต หยดน้ำตา ของกรรมกรเอเชีย
แต่สิ่งที่พวกเรารับรู้นั้นมีเพียงว่าเชลยศึกตะวันตกเท่านั้นที่สร้างทางรถไฟสายนี้
การที่จะเวนคืนที่ดินของประชาชนที่อาศัยอยู่แล้วไปทำเป็นสุสานนั้นผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ผมอยากเสนอว่าให้เอาดินจากพื้นที่ที่เคยเป็นค่ายหรือสุสานของกรรมกรเอเชียมาครับ แล้วสร้างรูปหล่อหรือรูปปั้นเป็นอนุสรณ์ให้แก่พวกเขาหรือจะเป็นป้ายที่มีข้อความไว้อาลัยรำลึกถึงพวกเขาแล้วเอาดินที่นำมาจากพื้นที่สุสานของกรรมกรเอเชียบรรจุไว้ที่ฐานของอนุสรณ์นั้นครับ ที่ให้เอาดินมาก็เพราะดินนั้นก็คือเนื้อหนัง เส้นผม กระดูกของกรรมกรเอเชียที่ตายไปแล้วถูกย่อยสลายตามกาลเวลาครับ ผมพูดไปเหมือนจะทำเองได้ แต่ผมทำเองไม่ได้ต้องให้ทุกคนช่วยสื่อสารออกไปครับ
เรื่องราวและรูปภาพของกรรมกรเอเชีย ตามลิงค์นี้ครับ https://www.facebook.com/110480247217381/posts/313541240244613/?sfnsn=mo
หากใครสนใจเข้ากลุ่มนักสำรวจทางรถไฟสายมรณะ ตามลิงค์เลย https://www.facebook.com/groups/2342060092765924/?ref=share
เอกสารอ้างอิงผมใช้หนังสือพิมพ์ New York times ตามที่ผมเขียนไว้ด้านบน
บทความสุสานสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมเมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2534 ที่เขียนโดย คุณสถาพร ขวัญยืน เจ้าหน้าที่กรมศิลป์ที่จุดค้นครับ
หนังสือที่เขียนโดยอาจารย์วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ คือหนังสือสงครามมหาเอเชียบูรพา
และบทความของต่างชาติอีกชุดหนึ่ง
เอกสาร ภูมิเมืองกาญจน์ ย่านปากแพรก เขียนโดย โสมชยา ธนังกุล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2021 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเดินรถดีเซลรางพิเศษ กรุงเทพ - สุพรรณบุรี
โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
9 กรกฎาคม 2564 เวลา 12:32 น.
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2539 การรถไฟฯ ได้เปิดเดินขบวนรถด่วนพิเศษชานเมือง กรุงเทพ -สุพรรณบุรี เพิ่มขึ้น 4 ขบวน โดยมีนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ขบวนรถที่เปิดบริการใหม่นี้ ใช้รถดีเซลรางปรับอากาศรุ่นใหม่(แดวู) จากประเทศเกาหลี วิ่งให้บริการเก็บค่าโดยสารอัตราพิเศษเป็นโซน คือ ช่วงกรุงเทพ - นครปฐม เก็บคนละ 50 บาท ช่วงนครปฐม - สุพรรณบุรี คนละ 50 บาท หากเดินตลอดเส้นทาง คนละ 80 บาท
ขบวนรถออกจากสถานีสุพรรณบุรี วันละ 2 เที่ยว คือเวลา 06.13 น.และเวลา 13.13 น. ออกจากสถานีกรุงเทพ วันละ 2 เที่ยว เวลา 09.55 น.และเวลา 16.50 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชม.เศษ และจะหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีสามเสน บางซื่อ บางบำหรุ ศาลายา วัดงิ้วราย นครปฐม ชุมทางหนองปลาดุก ที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี และที่หยุดรถถนนมาลัยแมน ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางระหว่าง กรุงเทพ - สุพรรณบุรี ได้ถึงวันละประมาณ 500 คน
#ท่านใดเคยใช้บริการบ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2021 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

พันเอก แสง จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการเดินรถระหว่างสถานีจันทึก - คลองไผ่ ที่ กม.190+640.00 ซึ่งเป็นทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่ทดแทนเส้นทางรถไฟเดิมเนื่องจากมีการสร้างเขื่อนลำตะคอง เมื่อวันที่ 01 ธันวาคม 2510
โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ

01 ธันวาคม 2563 เวลา 13:39 น.


กรมชลประทานได้เริ่มโครงการก่อสร้างโครงการลำตะคองเมื่อปี พ.ศ.2507 เป็นโครงการสร้างเขื่อนเก็บน้ำกั้นลำตะคองที่คลองไผ่ อำเภอปากช่อง เพื่อเก็บกักน้ำที่มีปริมาณมากมายของลำตะคองตอนต้นน้ำไว้ แล้วปล่อยให้ไหลไปสู่ลำตะคองตอนล่างให้มีปริมาณสม่ำเสมอตลอดปี เพื่อให้โครงการลำตะคองเดิมและโครงการทุ่งสัมฤทธิ์ได้รับน้ำพอเพียง และช่วยพื้นที่เพาะปลูกในอำเภอสีคิ้ว โนนสูง และอำเภอเมืองนครราชสีมาให้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการที่จะสร้างขึ้นนี้
อ่างเก็บน้ำโครงการลำตะคองอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 277 เมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความยาวของอ่าง 19 ก.ม. ส่วนกว้างที่สุด 7.5 ก.ม. หรือคิดเป็นพื้นที่ท้องน้ำประมาณ 44.5 ตารางกิโลเมตร มีบริเวณกว้างใหญ่ท่วมทางหลวงแผ่นดินสายสระบุรี – นครราชสีมา เป็นระยะทาง 15 ก.ม. คือระหว่างหลัก ก.ม. 179 – 193 และท่วมทางรถไฟระหว่างสถานีจันทึกและคลองไผ่ ระหว่างหลัก ก.ม. 191 – 205 ด้วย ซึ่งมีระยะทาง 15 ก.ม.เช่นเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2021 1:39 am    Post subject: Reply with quote

ใบโฆษณา รถไฟสายปีนัง-บางกอกน้อย สมัยรัชกาลที่ 6
https://www.facebook.com/2483RG/posts/1295480230885548
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2021 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

นาย Ernst Peter กับรถจักรดีเซลกล Schweizerische Lokomotiv und Maschinenfabrik(SLM) ที่ย่านสถานีกรุงเทพ ก่อนเอารถจักรไปทดสอบที่ขุนตาน
https://webspecial.24heures.ch/longform/von-winterthur-einmal-um-die-welt/von-winterthur-einmal-um-die-welt/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2021 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

22 กรกฎาคม 2534
นายสมชาย จุละจาริตต์ ผู้ว่าการรถไฟฯ เป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถด่วนพิเศษ "สปรินเตอร์" กรุงเทพ - หนองคาย ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4266874166704412&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2021 4:40 pm    Post subject: Reply with quote

ขบวนรถพิเศษทดลองระบบรถนอนพัดลมชั้น 2 (บนท.) ที่การรถไฟฯ สั่งซื้อมาจากประเทศญี่ปุ่น ทำการวิ่งทดสอบระบบระยะไกลและทางลาดชันตอนภูเขา จากสถานีเชียงใหม่ปลายทางสถานีกรุงเทพ ขณะขบวนรถจะนำขบวนเข้าสู่สถานีขุนตาน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2510
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4295975050460990&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 63, 64, 65 ... 73, 74, 75  Next
Page 64 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©