Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180190
ทั้งหมด:13491424
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 117, 118, 119 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2021 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

กทท.ลุยพัฒนาท่าเรือบกใน ฉะเชิงเทรา,ขอนแก่น และนครราชสีมา ยกเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:14 น.



เดินหน้า “ท่าเรือบก” 4 จังหวัด ฮับขนส่งของประเทศ และภูมิภาค ที่ฉะเชิงเทรา (70 กม.) กุดจิก (320 กม.) น้ำพอง ขอนแก่น (550 กม.) และ เขาทอง (370 กม.) PPP 30 ปี กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย

22 ก.ค. 2564 นายกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยว่า กทท.เตรียมดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค พร้อมส่งเสริมบทบาทให้พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ให้เป็นประตูการค้าของกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


สำหรับการพัฒนาท่าเรือบก กทท. เตรียมดำเนินการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ Inland Container Depot (ICD) ฉะเชิงเทรา เป็นโครงการนำร่อง โดย กทท. ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาท่าเรือบก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบกของกระทรวงคมนาคม ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร กทท. ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 มีความเห็นให้เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาท่าเรือบก



ทั้งนี้ ได้แก่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมจัดทำแผนการพัฒนาท่าเรือบก ก่อนนำเสนอคณะกรรมการฝ่ายบริหาร กทท. พิจารณา ทั้งนี้แผนพัฒนาท่าเรือบก จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการ กทท. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564



สำหรับโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สนข. ได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจการเงิน และสิ่งแวดล้อม จัดทำแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) รวมทั้งรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ ICD ฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการรวบรวมและกระจายสินค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและราชอาณาจักรกัมพูชาผ่านจังหวัดสระแก้ว และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าเข้าสู่พื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และท่าเรือ 3 ท่า ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด เพื่อยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่ ครบวงจร
https://www.youtube.com/watch?v=ecK1pTGIRFU

Wisarut wrote:
พัฒนาท่าเรือบก 4 จังหวัด หนุนแหลมฉบัง เชื่อมโยงขนส่ง อ่าวไทย-อันดามัน
วันที่ 4 ตุลาคม 2563 -
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2021 3:36 am    Post subject: Reply with quote

โมเดลอุตฯ ราง 'อีอีซี' หนุนพัฒนาไฮสปีด-ทางคู่
24 กรกฎาคม 2564


สกพอ.-กรมการขนส่งทางรางลุยตั้งอุตสาหกรรมระบบรางในไทย ชี้เป้าหมาย5 ปีต้องประกอบชิ้นส่วน 100% เผย “บีทีเอส” นำร่องรถไฟฟ้าสายสีชมพู - เหลือง ดึงใช้ชิ้นส่วนซัพพลายเออร์ไทย
การพัฒนาระบบรางในประเทศขยายตัวมากขึ้นทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมระบบรางได้ โดยเฉพาะการวางแผนการเดินรถและซ่อมบำรุง การก่อสร้างและงานระบบ และการบริหารจัดการขนส่ง

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า สกพอ.ได้เตรียมแผนพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งอุตสาหกรรมใหม่ที่มีความน่าสนใจ คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับระบบราง โดยจะมีการส่งเสริมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนา “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ในประเทศไทยที่กำลังการการขยายเส้นทางเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนระบบรางของภูมิภาคได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับอิตาลี และสหภาพยุโรป (EU) ในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถรองรับแรงงานและอุตสาหกรรมบางส่วนจากภาคยานยนต์สันดาป และชิ้นส่วนยานยนต์แบบเดิมที่ต้องมีการปรับตัวเมื่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมความพร้อมให้กับภาคยานยนต์ของไทยด้วย

รายงานข่าวระบุว่า บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่ได้รับสิทธิพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ได้กำหนดพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่จะมาร่วมพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง คือ Ferrovie dello Stato Italiane จากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจบริการรถไฟในประเทศอิตาลี รวมทั้งดําเนินธุรกิจเป็นที่ปรึกษาและบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศ เช่น สหรัฐ ไต้หวัน

พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายให้ผลักดันอุตสาหกรรมระบบรางให้เกิดการพัฒนาในไทย โดยมีเป้าหมายภายใน 5 ปี ไทยจะเป็นประเทศในอาเซียนที่มีการประกอบชิ้นส่วนระบบราง เป็นฝีมือคนไทยในการผลิตและประกอบรถไฟ และรถไฟฟ้าเองได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการผลักดันระบบขนส่งทางรางให้เป็น 30% ของการขนส่งในประเทศ

“ตอนนี้กรมฯ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลระบบขนส่งทางราง ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง เพื่อเป็นองค์กรแรกในการเริ่มผลิตชิ้นส่วนและนำร่องนำชิ้นส่วนมาประกอบในไทย 100% ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จภายใน 5 ปีนับจากนี้”

อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งส่วนผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมระบบรางในไทย นอกจากการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว กระทรวงคมนาคมยังมีนโยบายกำหนดในการจัดซื้อจัดจ้างระบบรางหลังจากนี้ โดยขอให้ทุกสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างมีการพิจารณากำหนดนำชิ้นส่วนหรือการมีส่วนร่วมจากผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ในไทย เช่น กำหนดจัดซื้อชิ้นส่วนขนาดเล็ก น็อต หรือยางล้อ ที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตมาเป็นส่วนประกอบ

รวมทั้งปัจจุบันมีเอกชนที่กำหนดเงื่อนไขจัดซื้อจัดจ้างหาชิ้นส่วนที่ผลิตในไทยมาเป็นส่วนประกอบรถไฟหรือรถไฟฟ้าแล้ว เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส มีการกำหนดจัดหาส่วนประกอบรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง โดยระบุให้บริษัทบอมบาร์ดิเอร์ ผู้รับผิดชอบงานระบบรถไฟฟ้า ต้องนำชิ้นส่วนล้อยางจากซัพพลายเออร์ในไทยมาเป็นส่วนประกอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คนไทย เพื่อเป็นการเริ่มต้นพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมระบบรางในไทย

“ตอนนี้ไทยเรามีความพร้อมเรื่องการผลักดันอุตสาหกรรมระบบรางอยู่แล้ว เรามีซัพพลายเออร์ที่ผลิตชิ้นส่วนทางรางอยู่ประมาณ 200 แห่ง แต่เป็นการผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็ก ตอนนี้เราต้องพัฒนาให้เริ่มมีการซ่อมระบบราง และต่อยอดไปถึงการผลิตของที่ซ่อม เริ่มนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบ และผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบเอง ส่วนเรื่องบุคลากรปัจจุบันเราก็มีพร้อม บุคลากรจบใหม่ที่มีความรู้เรื่องวิศวกรระบบรางจากสถาบันในไทยรวมกว่า 20 แห่ง”


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบัน และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงาน โดยสถาบันเทคโนโลยีระบบรางตั้งขึ้นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง

รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศอย่างแท้จริง มีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ ได้ตามนโยบาย Thai First

อย่างไรก็ดี เป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง เบื้องต้นประเมินว่าหากมีการลงทุนเพื่อรองรับการพัฒนารถไฟและรถไฟฟ้า 1,000 ตู้ จะก่อให้เกิดการลงทุนขั้นต่ำกว่า 500 ล้านบาท ไทยจะซื้อรถไฟได้ในราคาลดลงราว 2,800 ล้านบาท เกิดมูลค่าการจ้างงานกว่า 2,000 ล้านบาท และหากมีการพัฒนาชิ้นส่วนในประเทศ จะสร้างมูลค่าเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ เป้าหมายของรัฐบาลต่อการผลักดันอุตสาหกรรมระบบรางในไทย กำหนดไว้ว่าภายในปี 2565 จะส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ประกอบขั้นสุดท้ายในไทยเพื่อผลักดันให้เกิดการประกอบชิ้นส่วนในประเทศมากที่สุด

หลังจากนั้นในปี 2567 ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิจในไทยทั้งหมด โดยต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่า 40% ของราคารถไฟและรถไฟฟ้า และในปี 2568 ต้องส่งมอบเฉพาะตู้รถไฟและระบบอาณัติสัญญาณต้องผลิตในไทยทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ระบบตัวรถ ระบบช่วงล่าง ระบบขับและควบคุม เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=d-Xy-DQdR-o
https://www.youtube.com/watch?v=6n1174Y1wkg
https://www.facebook.com/ThaiDevReport/posts/2185786644896948


Last edited by Wisarut on 28/07/2021 12:33 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2021 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

ห้ามพลาด 28 ก.ค.64 นี้ เวลา 19.00 น.
มาคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ทาง Clubhouse
กับเรื่อง รถไฟ ชานสูง ชานต่ำ เพื่อผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม วันที่ 28 นี้ เราจะเปิดเวทีมาคุยกัน ชวนผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาแชร์ข้อมูล ปัญหา และ ประสบการณ์การใช้งานรถไฟชานสูง ชานต่ำ แบบไหนดี แบบไหนเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม ทุกคน มากที่สุด
.
มาคุยกันผ่านลิ้งค์นี้เลย https://www.clubhouse.com/event/M1v3LnQR
.
แล้วพบกันครับ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4273097599403819
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2021 9:46 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ทุ่ม 1.5 พันล้านเนรมิต “ถนนสวย-ริมทางรถไฟ-ท่าเรือ” ทั่วไทย
เดลินิวส์ 28 กันยายน 2564 21:25 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“ศักดิ์สยาม” รับนโยบายนายกฯ ทุ่ม 1.5 พันล้าน ลุยพัฒนา “ถนนสวย-ริมทางรถไฟฯ-ท่าเรือ” 793 โปรเจคท์ภายใต้แนวคิด ”คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีทัศนียภาพที่ร่มรื่นสวยงาม พร้อมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น จึงนำนโยบายดังกล่าวแปลงไปสู่การปฏิบัติติภายใต้แนวคิด ”คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” โดยได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ 2 ฝั่งถนน, เขตทางรถไฟ และท่าเรือให้สวยงาม และปลอดภัยในการสัญจร โดยได้พัฒนาปรับปรุงทั่วประเทศ 793 โครงการ งบประมาณรวม 1,517 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีหลายโครงการได้แล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการแล้ว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการต่างๆ มี 4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), กรมทางหลวง (ทล.), กรมเจ้าท่า (จท.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมทัศนียภาพทางถนนของ ทล. เพื่อเพิ่มความสวยงามร่มรื่น 2 ฝั่งทางหลวง ด้วยพันธุ์ไม้ประจำถิ่น สร้างเอกลักษณ์ของเส้นทาง และแลนด์มาร์คใหม่ในการเดินทางและการท่องเที่ยว โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ รวม 767 โครงการ วงเงินลงทุน 779 ล้านบาท โดยระยะที่ 1 ใช้งบประมาณบำรุงปกติ ปี 65 จำนวน 137 โครงการ วงเงินรวม 279 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน คือ แผนงานปรับภูมิทัศน์ริม 2 ข้างทาง จำนวน 20 สายทาง วงเงิน 39.99 ล้านบาท

ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณบำรุงปกติ ปี 66 จำนวน 630 โครงการ วงเงินรวม 500 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการเริ่ม ต.ค. 2565 คือ แผนงานเพิ่มศักยภาพจุดพักรถบรรทุก จำนวน 40 จุด, แผนงานปรับปรุงหมวดทางหลวงทั่วประเทศ จำนวน 584 แห่ง เพื่อเป็นจุดบริการและแวะพักของประชาชนที่ขับรถทางไกล นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริมทัศนียภาพทางถนนของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับพื้นที่ และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีแผนดำเนินการ 2 โครงการ ในเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว โดยไม่ต้องของบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากใช้งบประมาณของกรมฯ คือ โครงการจัดกิจกรรม “สีสันประเทศไทย ณ สะพานภูมิพล” ด้วยการประดับไฟ เพื่อเพิ่มความสง่างามให้กับสะพานของพ่อ ในช่วง พ.ย.64-ม.ค.65 และโครงการประดับไฟ “สะพานมหาเจษฎาบดินทรทนุสรณ์”

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับการส่งเสริมทัศนียภาพระบบรางของ รฟท. เป็นเส้นทางท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ โดยส่งเสริมทัศนียภาพริมทางรถไฟ 9 เส้นทาง วงเงินรวม 15 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ พ.ย. 64-เม.ย.65 แบ่งเป็น พัฒนาทางรถไฟเส้นทางท่องเที่ยว 7 เส้นทาง ด้วยพันธุ์ไม่สวยงามประจำถิ่น วงเงินรวม 7 ล้านบาท ส่วนการพัฒนาเส้นทางโดยสารสายหลักของประเทศ 2 เส้นทาง วงเงิน 8 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน เช่น แนวเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นต้น

ทั้งนี้ในส่วนของการการส่งเสริมทัศนียภาพท่าเรือของกรมเจ้าท่า เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวทางน้ำ และส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย 15 โครงการ วงเงินรวม 723 ล้านบาท และปริมณฑล 6 โครงการ วงเงิน 157 ล้านบาท ส่วนการพัฒนาท่าเรือในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ 9 โครงการ วงเงิน 566 ล้านบาท เช่น ท่าเรือเฟอร์รี่เกาะสมุย, ท่าเรืออเนกประสงค์ บริเวณอ่าวมะขามป้อม จ.ระยอง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2021 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“คมนาคม” ทุ่ม 1.5 พันล้านเนรมิต “ถนนสวย-ริมทางรถไฟ-ท่าเรือ” ทั่วไทย
เดลินิวส์ 28 กันยายน 2564 21:25 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


“ศักดิ์สยาม” รับนโยบาย “นายกฯ” เร่งพัฒนาพื้นที่ผุดแลนด์มาร์กแนว “ถนน-รถไฟ-ท่าเรือ” หนุนท่องเที่ยว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 กันยายน 2564 เวลา 12:54 น.
ปรับปรุง: 28 กันยายน 2564 เวลา 12:54 น.




“ศักดิ์สยาม” รับนโยบาย “นายกฯ” เร่งพัฒนาพื้นที่ปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งถนน ทางรถไฟ และท่าเรือทั่วประเทศกว่า 793 โครงการ งบ 1,517 ล้านบาท ผุดแลนด์มาร์กและสร้างเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ช่วยกระตุ้น ศก.ให้ยั่งยืน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทุกรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2557 และได้ทยอยเปิดให้บริการแล้วนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้กระทรวงคมนาคมในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้มีทัศนียภาพร่มรื่น สวยงาม และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ ตนได้นำนโยบายแปรไปสู่การปฏิบัติภายใต้แนวคิด “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” โดยสั่งการในสังกัดกระทรวงรวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมเจ้าท่า (จท.) ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่สองฝั่งถนนเขตทางรถไฟ และท่าเรือให้มีความสวยงาม และมีความปลอดภัยในการสัญจร โดยมีโครงการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ทั่วประเทศกว่า 793 โครงการ งบประมาณรวม 1,517 ล้านบาท

ประกอบด้วย กรมทางหลวง เป็นการส่งเสริมทัศนียภาพทางถนนเพื่อเพิ่มความสวยงาม ร่มรื่นสองฝั่งทางหลวงด้วยพันธุ์ไม้ประจำถิ่น สร้างเอกลักษณ์เส้นทางและแลนด์มาร์กใหม่ในการเดินทางและการท่องเที่ยว จำนวน 767 โครงการ โดยแบ่งเป็นการดำเนินการ ระยะที่ 1 ใช้งบประมาณซ่อมบำรุงปกติ ปี 2565 จำนวน 137 โครงการ งบประมาณ 279 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน

ประกอบด้วย แผนงานปรับภูมิทัศน์ริมสองข้างทางหลวงสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ จำนวน 20 สายทาง งบประมาณ 39.99 ล้านบาท, แผนงาน 1 จังหวัด 1 ถนนสวยงาม จำนวน 77 สายทาง งบประมาณ 198.90 ล้านบาท, แผนงานเพิ่มศักยภาพจุดบริการประชาชน จำนวน 4 จุด งบประมาณ 40 ล้านบาท

ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณปี 2566 จำนวน 630 โครงการ งบประมาณ 500 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือน ต.ค. 2565 ประกอบด้วยแผนงานเพิ่มศักยภาพจุดพักรถบรรทุกเพื่อการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ จำนวน 40 จุด, แผนงานปรับปรุงหมวดทางหลวงทั่วประเทศให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เพื่อเป็นจุดบริการและแวะพักของประชาชน จำนวน 584 แห่ง, แผนงานปรับภูมิทัศน์ทางหลวงเพื่อสร้างเป็นแลนด์มาร์กเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่สู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ จำนวน 4 แห่ง และแผนงานยกระดับพื้นที่บริเวณสี่แยกเพื่อเป็นจุดพักสายตาที่สวยงาม มีความโดดเด่น จำนวน 2 จุด
กรมทางหลวงชนบทมี 2 โครงการ เป็นการส่งเสริมทัศนียภาพเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับพื้นที่และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณเพิ่มติม ได้แก่ โครงการจัดกิจกรรมสีสันแห่งประเทศไทย ณ สะพานภูมิพล และโครงการประดับไฟสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์

รฟท.มีจำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 15 ล้านบาท เป็นการพัฒนาปรับภูมิทัศน์สองข้างทางรถไฟเพื่อให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ดำเนินงานระยะที่ 1 ช่วงเดือน พ.ย. 2564-เม.ย. 2565

ประกอบด้วย การพัฒนาภูมิทัศน์สองข้างทางรถไฟเส้นทางท่องเที่ยว 7 เส้นทาง งบประมาณ 7 ล้านบาท และพัฒนาแนวเส้นทางสำคัญ จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 8 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน เช่น แนวเส้นทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน

กรมเจ้าท่ามีโครงการส่งเสริมทัศนียภาพท่าเรือให้มีความสะดวก มีภูมิทัศน์สวยงามเป็นเอกลักษณ์ จำนวน 15 โครงการ งบประมาณ 723 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ ได้แก่ การยกระดับท่าเรือในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 โครงการ งบประมาณ 157 ล้านบาท, โครงการพัฒนาท่าเรือข้ามฟาก ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 566 ล้านบาท เช่น ท่าเรือเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ ท่าเรือเฟอร์รีเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ท่าเรืออเนกประสงค์บริเวณอ่าวมะขามป้อม ต.กล่ำ อ.แกลง จังหวัดระยอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2021 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ชวนนักลงทุนฝรั่งเศสร่วมทุนศูนย์ซ่อมฯอู่ตะเภา-แลนด์บริดจ์

วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:02 น.

“คมนาคม” ถก ทูตฝรั่งเศส ดึงต่างชาติร่วมทุนเมกะโปรเจ็คต์
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:07 น.

“คมนาคม” จับมือ ทูตฝรั่งเศส ลงนามร่วมมือด้านคมนาคมขนส่ง ดึงเอกชนต่างชาติร่วมทุนเมกะโปรเจ็คต์ หนุนโอกาสการค้าการลงทุน ดันแผนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ด้วยเฮลิคอปเตอร์ จ่อนำร่องพื้นที่อีอีซี

6 ต.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังนายตีแยรี มาตู เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเข้าพบ เนื่องในโอกาสเข้ารับหน้าที่ว่า ได้หารือถึงความร่วมมือด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างไทยและฝรั่งเศส ได้แก่ 1.การร่วมลงนามในร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือในสาขาคมนาคมขนส่ง ระหว่าง รมว.คมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และ รมช.การเปลี่ยนผ่านทางนิเวศวิทยา กำกับดูแลการคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งระหว่างกันในทุกมิติ โดยจะจัดพิธีลงนามปฏิญญาดังกล่าว ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยคลี่คลายลง

2. ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อต่อยอดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ที่มีระหว่างกันในด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน รวมถึงด้านเทคโนโลยี (Artificial Intelligence: AI) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน โดยกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอผลงานการคิดค้น และขับเคลื่อนการนำยางพารา มาผลิตเป็นแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ โดยการปรับรูปแบบนำยางพารามาใช้กับอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนในไทย เพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนให้กับประชาชน

หายตาพร่าเคืองตา โดยไม่ต้องหยอดตา ก่อนนอนให้ทำแบบนี้!
TAAP | Luta
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ทางฝรั่งเศสยังนำเสนอโครงการ Helicopter Emergency Medical Services (HEMS) บริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ โดยมีแผนนำร่องในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 3.ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (SUTRHE) กับสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD) ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในปี 2563-2564

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังครอบคลุมโครงการรถไฟฟ้ารางเบา กระเช้าไฟฟ้า และรถโดยสารสาธารณะ เพื่อพัฒนาเป็นเครือข่ายขนส่งสาธารณะของภูเก็ตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดก นอกจากนี้ยังยินดีให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของไทย รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงิน การวิจัย และการศึกษาในโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยด้วย และ 4. โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โดยได้เชิญชวนนักลงทุนจากประเทศฝรั่งเศสให้เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคม อาทิ โครงการก่อตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานของไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง (MR-MAP) และโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (Southern Land Bridge) ที่เชื่อมต่อการขนส่งทางน้ำระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทยผ่าน จ.ระนอง และ จ.ชุมพร เพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และยกระดับประเทศไทยสู่การเป็น Transshipment ศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาค นอกจากนี้ทางฝรั่งเศสยังมีท่าทีสนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2021 11:06 pm    Post subject: Reply with quote

ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวภายหลังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”
.
ว่าปัจจุบันระบบรางของไทยกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการบุคลากรในด้านต่างๆ ของระบบรางเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายสถาบันการศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ทั้งของภาครัฐและเอกชน ต่างก็มีความตื่นตัวและเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบรางเป็นอย่างมาก ที่สำคัญคือมีการริเริ่มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบรางขึ้นโดยคนไทยเองแล้ว นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบรางของไทยให้มีความยั่งยืน ต้องร่วมมือกัน แบ่งปัน แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทรัพยากร เครื่องมือ อุปกรณ์ทดสอบและทดลองที่แต่ละหน่วยมี เพื่อให้มีการต่อยอดการพัฒนา สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ อันจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป
.
เชื่อมั่นว่า 7 ภาคีเครือข่ายความร่วมมือครั้งนี้ พร้อมที่จะใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีดำเนินการเพื่อให้เกิดผลในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยพัฒนาแลกเปลี่ยนถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านระบบราง การพัฒนามาตรฐานด้านการขนส่งทางราง ที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้โดยสารและสาธารณะ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ รวมถึงเพื่อยกระดับขีดความสามารถของระบบรางไทยโดยฝีมือคนไทยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีมาตรฐานในระดับสากล นำประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางของภูมิภาคอย่างเต็มภาคภูมิ
https://www.salika.co/2021/09/26/salika-news-vol-269-2/
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4489229244457319
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2021 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโปรเจคท์65'ศักดิ์สยาม'1.4ล้านล้านไม่เหนื่อย!เต็มสิบให้กี่คะแนน..(ไม่)พูด!!
Source - เดลินิวส์
Tuesday, October 19, 2021 08:03

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม แถลงผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "สรุปผลงานปี 64 และขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในปี 65" ว่า ในปี 64 กระทรวงคมนาคม ดำเนินนโยบายแล้วเสร็จกว่า 30 นโยบาย และในปี 65 จะสานต่อนโยบายเดิม พร้อมขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 76 นโยบาย ทั้งนี้สำหรับนโยบายที่ดำเนินการสำเร็จเป็นรูปธรรม อาทิ นโยบายเพิ่มความเร็วสูงสุดเป็น 120 กิโลเมตร (กม.)ต่อชั่วโมง (ชม.) โดยปี 64 ประกาศใช้แล้วกว่า 178 กม. และปี 65 จะเพิ่มเติมอีก 9 เส้นทาง ระยะทาง 138 กม.

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีนโยบายพัฒนาระบบผ่านทางด่วนแบบไร้ไม้กั้น (M-Flow) โดยปี 64 กรมทางหลวง (ทล.) จะทดสอบระบบบนมอเตอร์เวย์สาย 9 จำนวน 4 ด่าน ปี 65 เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ 7 ด่าน (ทล. 4 ด่าน และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 3 ด่าน), นโยบายจัดระเบียบรถรับจ้าง (รถยนต์) ผ่านแอพพลิเคชั่น โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ประกาศจัดระเบียบรถรับจ้างผ่านแอพแล้ว ซึ่งปี 65 ผู้ประกอบการจะทยอยจดทะเบียนจนครบทุกราย, นโยบายเร่งรัดเปิดบริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะเปิดบริการอย่างเป็นทางการปลายเดือน พ.ย.นี้

นโยบายจัดทำแผนแม่บท MR-MAP โดยขณะนี้ศึกษา แผนแม่บทโครงข่ายแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบแล้ว เริ่มศึกษาออกแบบเบื้องต้น 4 โครงการนำร่อง และนโยบายเร่งรัดก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอินนครราชสีมา (M6) และมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ได้ลงนามในสัญญาให้เอกชนร่วมลงทุนสำหรับงาน O&M แล้ว และจะพร้อมเปิดให้บริการปี 66

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับในปี 65 กระทรวงคมนาคม มีแผนลงทุนทั้งหมด 37 โครงการ วงเงินลงทุน 1.49 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น โครงการลงทุนต่อเนื่อง 13 โครงการ วงเงินลงทุน 5.16 แสนล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 24 โครงการ วงเงินลงทุน 9.74 แสนล้านบาท ทั้งนี้ โครงการลงทุนต่อเนื่อง อาทิ ทางถนน 1 โครงการ ได้แก่ มอเตอร์เวย์ M82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงมหาชัย-บ้านแพ้ว วงเงิน 3.22 หมื่นล้านบาท ทางบก 1 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 2.86 พันล้านบาท

ทางราง 7 โครงการ วงเงิน 4.76 แสนล้านบาท อาทิ
1.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 2.06 หมื่นล้านบาท
2.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 2.74 หมื่นล้านบาท
3.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางนครปฐมชุมพร วงเงิน 4.03 หมื่นล้านบาท และ
4.โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท


และ ทางอากาศ 4 โครงการ วงเงิน 5.71 พันล้าน ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่น วงเงิน 2 พันล้านบาท 2.ท่าอากาศยานสุราษฎร์ ธานี วงเงิน 169 ล้านบาท 3.ท่าอากาศยานกระบี่ วงเงิน 2.92 พันล้านบาท 4.ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ วงเงิน 619 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการลงทุนใหม่ ประกอบด้วย ทางถนน 12 โครงการ วงเงิน 2.81 แสนล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการมอเตอร์เวย์ M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 5.60 หมื่นล้านบาท 2.โครงการมอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 2.78 หมื่นล้านบาท 3.โครงข่ายเชื่อมต่อ M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา กับ ทล.32 วงเงิน 4.7 พันล้านบาท 4.โครงการมอเตอร์เวย์ M7 ทางยกระดับ ช่วงศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงิน 2.95 หมื่นล้านบาท 5.โครงการมอเตอร์เวย์ M8 สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงิน 5.17 หมื่นล้านบาท 6.โครงการทางพิเศษ ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 และ N2 วงเงิน 3.78 หมื่นล้านบาท 7.โครงการทางพิเศษส่วน ต่อขยาย สายฉลองรัช ช่วงจตุโชติ-ถนนวงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 2.19 หมื่นล้านบาท

8.โครงการทางพิเศษกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 1.44 หมื่นล้านบาท 9.โครงการทางพิเศษ ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต วงเงิน 3.04 หมื่นล้านบาท 10.โครงการถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จ.นครพนม วงเงิน 1.6 พันล้านบาท 11.โครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานีสาละวัน) จ.อุบลราชธานี วงเงิน 4.76 พันล้านบาท และ 12.โครงการนโยบายแต่งแต้มสีสันทางหลวง ส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 280 ล้านบาท, ทางบก 1 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงิน 1.36 พันล้านบาท

ทางราง 5 โครงการวงเงิน 6.24 แสนล้านบาท ได้แก่
1.โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ วงเงิน 8.53 หมื่นล้านบาท
2.โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทาง บ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 6.79 หมื่นล้านบาท
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เส้นทาง ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท
4.โครงการรถไฟฟ้าสาย สีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.24 แสนล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.24 แสนล้านบาท,


ทางน้ำ 2 โครงการ วงเงิน 7.56 พันล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการแนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง วงเงิน 6.11 พันล้านบาท และ 2.โครงการพื้นฟูชายหาด วงเงิน 1.44 พันล้านบาท

และ ทางอากาศ 4 โครงการ วงเงิน 5.94 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 1.58 หมื่นล้านบาท 2.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 3.68 หมื่นล้านบาท 3.ท่าอากาศยานชุมพร วงเงิน 3.25 พันล้านบาท และ 4. ท่าอากาศยานระนอง 3.55 พันล้านบาท ขณะนี้ยังมีเวลาเหลืออยู่ในตำแหน่ง รมว.คมนาคมอีก 1 ปี 8 เดือน หากได้อยู่จนครบตำแหน่ง ก็จะเดินหน้าสานต่อโครงการต่าง ๆ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งดูแลการพัฒนาระบบคมนาคมให้มีความสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา และราคาสมเหตุสมผล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในการเดินทางของประชาชน

ถือว่าผลงานในปี 64 มีผลสำเร็จอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่จะให้ตัวเองประเมินคะแนนคงไม่ได้ ขอให้ประชาชนประเมินและตัดสิน อยากให้ถามว่าเหนื่อยมั้ย "ไม่เหนื่อย" สำหรับงานทุกนโยบายนั้นจะสำเร็จขึ้นได้จะทำงานเพียงคนเดียวไม่ได้ ที่ผ่านมาเน้นความเป็นยูไนเต็ดจึงทำให้ผลงานสำเร็จลุล่วงไปได้ ขอบคุณ ทุกคน พวกเราพร้อมที่จะขับเคลื่อนงานต่าง ๆ ต่อไปในปี 65.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20 ต.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2021 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดโปรเจคท์65'ศักดิ์สยาม'1.4ล้านล้านไม่เหนื่อย!เต็มสิบให้กี่คะแนน..(ไม่)พูด!!
Source - เดลินิวส์
Tuesday, October 19, 2021 08:03


“ศักดิ์สยาม”กางแผนคมนาคมปี 65 กว่า 1.4 ล้านล้าน
*เปิดนิวโปรเจ็กท์”บก-น้ำ-ราง-อากาศ”9แสนล้าน
*จัดเต็มมอเตอร์เวย์สายใหม่/รถไฟทางคู่หลายเส้น
*ทางพิเศษกะทู้-ป่าตอง/ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์
*พัฒนาสนามบินภูธร/สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 6
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3025719140982917

“ศักดิ์สยาม” เปิดแผนปี 65 ทุ่มลงทุนกว่า 9.74 แสนล้านบาท ผุด 24 โครงการใหม่ พัฒนาโครงข่ายถนน-สนามบิน-ระบบราง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:23 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:23 น.


“ศักดิ์สยาม” ทุ่มลงทุนปี 65 กว่า 9.74 แสนล้านบาท ผุด 24 โครงการใหม่ เติมโครงข่ายถนน มอเตอร์เวย์-รถไฟฟ้า-ทางคู่ ขยายสนามบิน ผุดแลนด์บริดจ์เปิด PPP พัฒนาท่าเรือน้ำลึกสองฝั่ง พร้อมตั้งสายเดินเรือแห่งชาตินำร่องเส้นทางในประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิต กระตุ้น ศก.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในปี 2565 ของกระทรวงคมนาคมว่า มีกรอบการลงทุนโครงการใหม่ตามนโยบายจำนวน 24 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 974,454 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการทางถนนจำนวน 12 โครงการ วงเงินรวม 281,205 ล้านบาท ได้แก่ 1. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) วงเงิน 56,035 ล้านบาท (ปี 2565-2568) 2. มอเตอร์เวย์ M9 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน (หรือดอนเมืองโทลล์เวย์) วงเงิน 27,800 ล้านบาท (ปี 2566-2569) 3. โครงข่ายเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมา (M6) กับทางหลวงหมายเลข 32 วงเงิน 4,700 ล้านบาท 4. มอเตอร์เวย์ (M7) ช่วงศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงิน 29,550 ล้านบาท (ปี 2567-2570) 5. มอเตอร์เวย์ M 8 สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงิน 51,760 ล้านบาท

6. ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N1 และ N2 วงเงิน 37,870 ล้านบาท (ปี 2567-2570) 7. ทางด่วนส่วนต่อขยายสายฉลองรัช ช่วงจตุโชติ-ถนนวงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 21,919 ล้านบาท (ปี 2567-2570) 8. ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 14,470 ล้านบาท (ปี 2567-2570) 9. ทางด่วน ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต วงเงิน 30,456 ล้านบาท (ปี 2568-2571) 10. ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จ.นครพนม วงเงิน 1,600 ล้านบาท (ปี 2565-2567) 11. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) วงเงิน 4,765 ล้านบาท (ปี 2566-2568) 12. นโยบายแต่งแต้ม สีสันทางหลวงส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 280 ล้านบาท (ปี 2565-2566)

ทางราง มี 5 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 624,879 ล้านบาท ได้แก่ 1. รถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท (ปี 2565-2569) 2. รถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 67,965 ล้านบาท (ปี 2565-2569) โครงการรถไฟฟ้าใน กทม.และปริมณฑล 3. สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 122,067 ล้านบาท (ปี 2565-2570) 4. สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,958 ล้านบาท (ปี 2565-2570) 5. รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท (ปี2565-2571)

ทางอากาศ มี 4 โครงการ วงเงินรวม 59,448.01 ล้านบาท ได้แก่ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818.51 ล้านบาท (ปี 2565-2569) 2. โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 36,829.50 ล้านบาท (ปี 2565-2572) 3. โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานชุมพร วงเงิน 3,250 ล้านบาท (ปี 2565-2570) 4. โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานระนอง วงเงิน 3,550 ล้านบาท (ปี 2565-2571)

ทางบก มี 1 โครงการ คือ ศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,361.36 ล้านบาท (ปี 2565-2567) ทางน้ำมี 2 โครงการ ได้แก่ 1. แนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งช่วง อ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 4 กม. วงเงิน 1,010 ล้านบาท (ปี 2565) เขื่อนป้องกันตลิ่ง อ.
พระนครศรีอยุธยา ถึง อ.คลองหลวง ระยะทาง 13 กม. วงเงิน 5,105 ล้านบาท (ปี 2566) 2. โครงการฟื้นฟูชายหาดจอมเทียน ระยะที่ 1 วงเงิน 586 ล้านบาท (ปี 2565) ชายหาดจอมเทียน ระยะที่ 2 วงเงิน 420 ล้านบาท (ปี 2566) ชายหาดบางแสน วงเงิน 440 ล้านบาท (ปี 2566)

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วทั้งประเทศอย่างบูรณาการ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่พี่น้องประชาชนมาโดยตลอด โดยในปี 2565 กระทรวงคมนาคมจะเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมในเชิงรุก โดยมุ่งเน้นการบูรณาการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมระหว่างรูปแบบการขนส่ง และการกำกับดูแลการพัฒนาระบบคมนาคมให้มีความสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา และราคาสมเหตุสมผล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ตั้งแต่ปี 2558-2565 คิดเป็นมูลค่าวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 1.44 ล้านล้านบาท โดยการขนส่งทางรางมีการลงทุนสูงที่สุด วงเงินรวมประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ได้แก่ การพัฒนารถไฟทางคู่ ซึ่งในปี 2564 ได้ดำเนินการจำนวน 7 โครงการ วงเงิน 241,822 ล้านบาท โดยการก่อสร้างจะทยอยแล้วเสร็จ โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 1 วงเงิน 403,927 ล้านบาท การพัฒนารถไฟฟ้าในเขต กทม.และปริมณฑล ปี 2565 จำนวน 5 โครงการวงเงินลงทุน 455,255 ล้านบาท การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน 14 เรื่อง วงเงิน 261,854 ล้านบาท โครงการด้านขนส่งทางบก จำนวน 19 เรื่อง วงเงินลงทุน 4,200 ล้านบาท การคมนาคมขนส่งทางน้ำ 11 เรื่อง วงเงินรวม 12,600 ล้านบาท การขนส่งทางอากาศ วงเงินรวม 58,300 ล้านบาท

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ในปี 2565 จะเร่งขับเคลื่อนโครงการสำคัญให้เกิดเป็นรูปธรรม เช่น โครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ซึ่งจะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกระนอง-ชุมพร และรถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรือสองฝั่ง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างศึกษา คาดว่าต้นปี 2565 จะมีกรอบชัดเจนเสนอ ครม.เพื่อศึกษาการลงทุนรูปแบบ PPP ในปี 2565 ตามแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ไม่เกินปี 2572 รวมไปถึงเร่งการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินเรือ Domestic ในอ่าวไทยเชื่อมโยงภาคตะวันออกกับภาคใต้ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2565 และในระยะต่อไปจะเปิดให้บริการเดินเรือ International ไปทางฝั่งตะวันออก (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น) และทางฝั่งตะวันตก (อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2021 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

แผนแลนด์บริดจ์ 3 แสนล้าน “คมนาคม” เร่งเครื่องประมูลปี 65
By วรรณิกา จิตตินรากร
24 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:00 น.

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย หรือ แลนด์บริดจ์ เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ตัวสำคัญของการเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมเพื่อสนับสนุนการค้า การขนส่ง การเดินทางและการท่องเที่ยว

โดยปัจจุบันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทางรถไฟ โครงข่ายทางน้ำ และก่อสร้างทางพิเศษ (มอเตอร์เวย์) เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่แลนด์บริดจ์กับภูมิภาคอื่น รวมถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการนี้ว่า ในปี 2565 กระทรวงคมนาคม จะผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของรัฐบาลนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำ และสามารถเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน เอเชียและยุโรปได้อย่างสะดวกสบาย และลดต้นทุนการเดินทางจากเส้นทางขนส่งที่กระชับไม่ต้องอ้อมไปยังช่องแคบมะละกา

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สนข.อยู่ระหว่างเร่งรัดศึกษาโครงข่ายคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่แลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย เส้นทางรถไฟช่วงชุมพร-ระนอง โครงการมอเตอร์เวย์ชุมพร-ระนอง และท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง ในจังหวัดชุมพรและระนอง คาดว่าผลการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของโครงการต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2565 หลังจากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเริ่มงานออกแบบได้ทันที

แผนแลนด์บริดจ์ 3 แสนล้าน “คมนาคม” เร่งเครื่องประมูลปี 65


ขณะที่แผนผลักดันงานก่อสร้างในเบื้องต้นประเมินว่าขั้นตอนการออกแบบน่าจะใช้เวลาราว 1 ปีแล้วเสร็จ ดังนั้นกระบวนการประกวดราคาจะเริ่มต้นดำเนินการในปี 2566-2567 โดยรูปแบบในการดำเนินการจะเป็นการเปิดหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) แบบ International Bidding ประเมินวงเงินลงทุนกว่า 2-3 แสนล้านบาท โดยจะเป็นการประกวดราคารวมทุกโครงการไม่แยกสัญญา เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมประเมินว่าหากขั้นตอนทุกอย่างเกิดขึ้นตามแผนข้างต้นจะใช้เวลาก่อสร้างโครงการราว 2-3 ปี และคาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570-2572 ซึ่งจะสอดคล้องไปกับระยะเวลาเปิดให้บริการโครงการในอีอีซี โดยทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าอย่างสมบูรณ์ สามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากเอเชียในอีอีซีส่งต่อมายังแลนด์บริดจ์ ผ่านทะเลอ่าวไทย และไปยังอันดามัน เพื่อเชื่อมต่อกับยุโรป

“แลนด์บริดจ์จะเป็นตัวเลือกการขนส่งสินค้าที่ลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้อย่างมาก เพราะไม่ต้องใช้เส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่งในเส้นทางช่องแคบมะละกา ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณเรือสูงถึง 1 แสนลำต่อปี และคาดว่าในปี 2567 ช่องแคบมะละกาจะเต็มศักยภาพในการรองรับปริมาณเรือ รวมทั้งในปี 2593 ปริมาณเรือจะขยายตัวไปอีก 4 เท่า ดังนั้นไทยควรเร่งพัฒนาเพื่อรองรับดีมานด์”


รวมทั้งกระทรวงคมนาคม มั่นใจว่าหากมีการพัฒนาแลนด์บริดจ์แล้วเสร็จ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของพื้นที่ภาคใต้ จะเติบโตจากสัดส่วน 2% เป็น 10% เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี และเมื่อโครงข่ายคมนาคมเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ จะผลักดันให้ปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ เส้นทางเรือ จากตะวันออกของภูมิภาค ไปยังตะวันตกของภูมิภาค เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

สำหรับบทบาทของแลนด์บริดจ์จะเป็นประตูการค้ารองรับการนำเข้าส่งออกของประเทศไทย รวมถึงเป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศในภูมิภาค เช่น อาเซียน และ BIMSTEC ส่วนด้านการขนส่ง จะเป็นทางเลือกในการถ่ายโอนสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก โดยขนถ่ายจากคมนาคมทางน้ำ เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟ และมอเตอร์เวย์

นอกจากนี้ แลนด์บริดจ์จะยังเป็นทางเลือกในการขนส่งน้ำมันดิบ โดยขนส่งทางเรือจาก “ช่องแคบฮอร์มุซ” มายังท่าเรือระนอง และส่งผ่านทางท่อไปยังท่าเรือชุมพร เพื่อกระจายในภูมิภาค เช่น อาเซียน BIMSTEC รวมถึงจีนบางส่วน โดยการพัฒนาแลนด์บริดจ์ในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่าแนวคิดการขุดคอคลอดกระ เพราะคอคลอดกระจะใช้งบประมาณสูงกว่า 4 ล้านล้านบาท

รายงานข่าวจาก สนข.ระบุว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาแนวเส้นทางของการก่อสร้างรถไฟและมอเตอร์เวย์ รวมไปถึงจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เหมาะสมต่อการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่ใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว สนข.คาดว่าจะทันเสนอกระทรวงคมนาคมภายในต้นปี 2565 โดยเบื้องต้น สนข.ได้ทบทวนเส้นทางรถไฟสายชุมพร-ระนอง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เคยศึกษามาก่อนหน้านี้ ปรับแนวเส้นทางทั้งหมด เน้นให้เป็นเส้นทางตรง ไม่เน้นตัดผ่านเข้าชุมชน เพื่อให้การขนส่งประหยัดเวลาและต้นทุน

“ตอนนี้เราไม่ได้ใช้แนวเส้นทางเดิมของ ร.ฟ.ท.เพราะเป้าหมายของการพัฒนาได้ปรับใหม่จากเดิมจะพัฒนาเส้นทางชุมพร-ระนอง เพื่อขนคน ตอนนี้เราปรับเพื่อเน้นขนส่งสินค้า ดังนั้นไม่ต้องตัดผ่านเข้าชุมชน เส้นทางรถไฟต้องไม่อ้อม ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนผู้ประกอบการได้ และจากการปรับแนวเส้นทางไม่อ้อมนั้น จะช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างด้วย”

ทั้งนี้การก่อสร้างโครงการคมนาคมในพื้นที่แลนด์บริดจ์ จะสร้างไปพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องตามแผนบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ (MR-MAP) ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน โดยแนวเส้นทางรถไฟและมอเตอร์เวย์จะเป็นการศึกษาใช้แนวเส้นทางเดียวกัน เป็นพื้นที่ทับซ้อน และเชื่อมต่อเข้ากับท่าเรือน้ำลึก โดยเน้นหลักเส้นทางต้องเป็นแนวตรง กระชับและประหยัดเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 117, 118, 119 ... 121, 122, 123  Next
Page 118 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©