RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181448
ทั้งหมด:13492686
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2021 11:11 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดผลศึกษาทางคู่'นครสวรรค์-บ้านไผ่'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วจ้า : เปิดผลศึกษาทางคู่'นครสวรรค์-บ้านไผ่'
เดลินิวส์
ฉบับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:48 น.

1. นครสวรรค์ กม. 0+000.00 (กม. 245 + 780 จากสถานีกรุงเทพ)
2. สถานีท่าตะโก แถวตำบลหัวถนน (กม. 34 + 500 จากนครสวรรค์ ที่ หนองปลิง กม. 280 + 280 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก มีย่านคอนเทนเนอร์รับข้าว ที่ กม. 35+000 (กม. 280 + 780 จากสถานีกรุงเทพ)
3. สถานีไพศาลี (กม. 55 + 500 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 301 + 280 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดกลาง
4. สถานีบ้านพุเตย (กม. 98 + 075 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 343 + 855 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก จุดลงรถไฟวิเชียรบุรี มีย่านคอนเทนเนอร์รับมะขาวหวาน ที่ กม. 98+575 (กม. 344 + 355 จากสถานีกรุงเทพ) ไปเพชรบูรณ์ลงสถานีนี้
5. ที่หยุดรถบ้านวังไผ่ (กม. 105 + 900 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 351 + 680 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก
6. สถานีศรีเทพ (กม. 113 + 300 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 359 + 080 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดกลาง จุดลงรถไปอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หลังโดนคนเพชรบูรณ์ทักท้วง
7. สถานีบ้านคลองสระแก้ว, (กม. 140 + 825 จาก สถานีนครสวรรค์ ใกล้น้ำตกเทพประทาน กม. 386 + 605 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก
8. ชุมทางสถานีกุดน้ำใส (กม. 181 + 200 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 426 + 980 จากสถานีกรุงเทพ สถานีขนาดกลาง ใกล้ถนนโกสีย์ ห่างจากสถานีจตุรัสไปทางทิศตะวันตกแค่ 2 กิโลเมตรเอง สถานีใหม่บนทางช่วงแก่งคอย - บัวใหญ่ เพื่อไปต่อชัยภูมิได้)
9. สถานีบ้านเขว้า กม. 211 + 100 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 456 + 880 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดเล็ก
10. สถานีชัยภูมิ กม. 220 + 300 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 466 + 080 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดกลาง มีย่านคอนเทนเนอร์รับข้าวเหนียว ที่ กม. 220+300 (กม. 466 + 080 จากสถานีกรุงเทพ ) และเป็นสถานีประจำจังหวัดด้วย
11. สถานีบ้านผือ กม. 229 + 950 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 475 + 730 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดเล็ก
12. สถานีบ้านห้วยบง กม. 237 + 975 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 483 + 755 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดเล็ก
13. ที่หยุดรถยางหวาย, กม. 251 + 250 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 497 + 030 จากสถานีกรุงเทพ )
14. สถานีแวงใหญ่ กม. 282 + 300 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 528 + 080 จากสถานีกรุงเทพ สถานีขนาดเล็ก )
15. สถานีบ้านไผ่ กม. 304+318 (กม. 407 + 720 จากสถานีกรุงเทพ ถ้าไปจากนครราชสีมา หรือ กม. 550 + 098 จากสถานีกรุงเทพ ถ้าไปจากนครสวรรค์ สถานีลอยฟ้า สถานีขนาดเล็ก)

ที่น่าทึ่งก็คือมีอุโมงค์ ยาว 3.3 กิโลเมตร ระหว่าง เพชรบูรณ์กะลพบุรี และ อุโมงค์ยาว 8 กิโลเมตร ระหว่างลพบุรี กะ ชัยภูมิ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2876210172600482
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2021 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

การจัดกิจกรรมสัมภาษณ์เชิงลึกช่วงวันที่ 21-24 ธันวาคม 2563
25 ธ.ค. 2563


1. ประเด็นข้อคิดเห็น จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า
1.1. เวนคืนที่ลำบาก เพราะ หวงที่ดินกันนัก
1.2. ปัญหาพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณพื้นที่บ้านมะเกลือแต่ละปีจะประสบน้ำท่วมหลายครั้ง หากมีการวางรูปแบบควรยกระดับทางรถไฟขึ้นให้พ้นระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง
1.3. สถานีัถี่เกินไป โดยเฉพาะสถานีบึงเสนาท และสถานีบ้านมะเกลือ
1.4. ต้องการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการศึกษาเส้นทางรถไฟให้กับคนในพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในพื้นที่ไม่เคยมีเส้นทางรถไฟตัดผ่าน

2. ประเด็นข้อคิดเห็น จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า
2.1. กลัวสูญที่ดินทำกิน เพราะพื้ที่สีเขียวลดลง เช่นที่ตำบลหนองเต่า และ ตอนนี้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกำลังยื่นเรื่องขอโฉนดชุมชนให้คนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์
2.2. กังวลว่าคันทางรถไฟจะเป็นเขื่อนกั้นทางน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตามมา การออกแบบเพื่อทำให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ตามสภาพเดิม
2.3. กังวลว่าทางรถไฟจะกั้นการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างพื้นที่ จึงต้องการให้มีการกำหนดจุดตัดที่เป็นทางลอดหรือสะพาน และถนนเลียบทางรถไฟที่สามารถเดินทางไปใช้บริการที่จุดตัดดังกล่าว
2.4. ยุบสถานีลานดอกไม้ และโกสัมพี เข้าเป็นสถานีเดียวกัน

3. ประเด็นข้อคิดเห็น จังหวัดตาก
3.1 หอการค้าจังหวัด ขอให้มีการทบทวนตำแหน่งสถานีตาก เพราะจังหวัดตากได้รับพื้นที่บริเวณก่อนเข้าตัวจังหวัดจากกรมป่าไม้ น่าจะเหมาะกับสถานีและสามารถทำ CY และเชื่อมชุมชนได้ดีกว่า
3.2 ควรประสานงานกับผังเมือง เขตเศรษฐกิจพิเศษ กรมทางหลวง ศุลกากร ซึ่งมีการออกแบบผังเมืองแม่สอด ควรประสานงานกรมทางหลวง และทางหลวงชนบทด้วยเพื่อให้ระบบขนส่งมีความเชื่อมโยงกัน
3.3 กังวลเรื่องผลกระทบจากการก่อสร้างทางรถไฟ ความปลอดภัย/การเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่ง ด้านน้ำท่วม
3.4 ขอให้แก้ไขปัญหาทางรถไฟพาดผ่าน ชุมชนแม่ปาหลดที่มีแนวเส้นทางรถไฟพาดผ่านกลางหมู่บ้าน
3.5 กังวลการขอใช้พื้นที่จากอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช และอุทยานแห่งชาติลานสาง และ ในพื้นที่บริเวณใกล้แนววางท่อน้ำมันของ ปตท. ที่ส่งน้ำมันมาจากจังหวัดนครสวรรค์
3.6 แม้ ประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยกับการเกิดโครงการ แต่จะมีประเด็นเรื่องการค่าชดเชยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ขอให้ประชาชนจะสามารถเข้ามามีส่วนใช้พื้นที่สถานีในการค้าขายสินค้าชุมชน และสินค้าทางการเกษตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2021 4:09 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไปเชียงใหม่และเชียงแสนที่ไปตามลำน้ำปิง ผ่านเมืองตากและแยกไปแม่สอด ที่อังกฤษ สั่งทำ เมื่อปี 1886
1886 Sharbau and Milne Map of Burma (Myanmar) and Thailand
https://www.geographicus.com/P/AntiqueMap/burmahsiamshan-sharbaumilne-1886
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2021 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:20 น.

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (2)" โครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง คลองขนาดใหญ่ และทางหลวงที่จำเป็นต้องมีช่วงพาดยาวนั้น อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดให้ได้ความเหมาะสม ความประหยัด รวมถึงผลกระทบต่อระดับคันทาง การรบกวนทางน้ำ หรือเขตทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด โดยในเบื้องต้นรูปแบบโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำทั้งสอง (สะพานข้ามแม่น้ำน่าน กม. 0 + 750 จาก bifurcation point ที่ สถานีปากน้ำโพ และ สะพานีข้ามแม่น้ำปิงที่ กม. 171 + 000 จาก bifurcation point ที่ สถานีปากน้ำโพ) แห่งคาดว่าจะใช้โครงสร้างสะพานรูปแบบ Balance Cantilever ซึ่งมีระยะช่วงพาดประมาณ 50-120 เมตร และสะพานเหล็กรูปแบบ Through Truss ซึ่งมีระยะช่วงพาดประมาณ 40-50 เมตร สำหรับข้ามคลองชลประทานหรือถนนเพื่อให้มีระยะลอดใต้สะพานที่มากที่สุด
(ข้อมูลสรุปความก้าวหน้าการศึกษาจากการศึกษาทบทวนความเหมาะสม การสำรวจ และการนำความเห็นจากกิจกรรมการมีส่วนร่วมมาพิจารณา ณ เดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อประกอบการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น อาจมีการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในระยะต่อไป)
#ข้อมูลเตรียมความพร้อมสัมมนา2

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:24 น.
"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (3)" โครงสร้างคันทางรถไฟ ประกอบด้วยชั้นโครงสร้างหลักได้แก่ ชั้นหินโรยทาง (Ballast), ชั้นรองหินโรยทาง (Sub Ballast), ชั้นรองพื้นทาง (Subbase), ชั้นวัสดุคัดเลือก (Subgrade) และดินถมคันทาง (Embankment) โดยวัสดุที่นำมาใช้จะคัดเลือกตามมาตรฐานที่การรถไฟกำหนด ส่วนดินถมคันทางจะเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับแนวรถไฟตัดผ่าน โดยชั้นดินถมคันทางจะต้องมีลักษณะและคุณสมบัติขั้นต่ำตามมาตรฐานเช่นกัน จากผลการสำรวจสภาพภูมิประเทศตามแนวเส้นทางรถไฟของโครงการ พบว่าพื้นที่โครงการส่วนแรกที่เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์มีระดับของดินเดิมอยู่ต่ำกว่าระดับของเส้นทางรถไฟที่ออกแบบไว้เป็นส่วนใหญ่ โดยโครงสร้างคันทางรถไฟที่เสนอจะกำหนดรูปแบบทั่วไปของงานถมคันทางทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบงานคันทางดินถมที่มีความสูงของคันทาง ไม่เกิน 7 เมตร และรูปแบบงานคันทางดินถมที่มีความสูงเกิน 7 เมตร สำหรับแนวเส้นทางที่มีระดับรางรถไฟสูงกว่าระดับดินเดิมมากกว่า 7 เมตรในบางช่วงที่มีข้อจำกัด จะกำหนดให้ใช้ระบบฐานรากของรถไฟเป็นแบบสะพาน
(ข้อมูลสรุปความก้าวหน้าการศึกษาจากการศึกษาทบทวนความเหมาะสม การสำรวจ และการนำความเห็นจากกิจกรรมการมีส่วนร่วมมาพิจารณา ณ เดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อประกอบการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น อาจมีการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในระยะต่อไป)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2021 11:23 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:20 น.

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (1)" เส้นทางรถไฟตามแนวสายทางที่ออกแบบช่วงระหว่าง อ.เมืองตาก และ อ.แม่สอด จะตัดผ่านพื้นที่ภูเขาสูง ซึ่งจะต้องก่อสร้างเป็นอุโมงค์เพื่อวางรางรถไฟทางคู่ทิศทางสวนกันในสามช่วงได้แก่ ดอยรวก แม่ละเมา และ พระวอ โดยแบ่งเป็น 4 อุโมงค์ ความยาว 15.5 กม., 1.4 กม., 0.8 กม. และ 12 กม. ซึ่งจะเรียกว่า อุโมงค์ I, II, III, IV ตามลำดับ สำหรับอุโมงค์ I จะอยู่ใกล้สถานีรถไฟตากมากที่สุด และไล่ตามลำดับไปหาสถานีแม่สอด เนื่องจากอุโมงค์ I และ IV จัดว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมาก เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะถือว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวมากที่สุดในประเทศไทย จึงได้เลือกใช้ระบบอุโมงค์คู่รางเดี่ยว (Twin tunnels) มีทางเชื่อม (Cross passages) ระหว่างอุโมงค์ทุกๆ ระยะ 500 เมตร ดังรูปที่ ก) ซึ่งทำให้ผู้โดยสารสามารถอพยพหนีภัยไปยังอุโมงค์อีกด้านหนึ่งได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สำหรับบริเวณปากอุโมงค์ได้ออกแบบให้รางรถไฟทั้งสองรางวิ่งเข้าปากอุโมงค์ใหญ่ร่วมกันแล้วค่อยผายออกเป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยวภายในภูเขา เพื่อลดขนาดพื้นที่ก่อสร้างบริเวณปากอุโมงค์ และทำให้เขตทางสำหรับทางยกระดับช่วงก่อนเข้าอุโมงค์แคบลง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการสร้างปากอุโมงค์แต่ละข้างแยกจากกัน
สำหรับอุโมงค์ II และ III จะมีความยาวแต่ละอุโมงค์ไม่มากและอยู่ติดต่อในพื้นที่บริเวณเดียวกัน จึงได้เลือกใช้ระบบอุโมงค์เดี่ยวรางคู่ ดังรูปที่ ข) เพื่อความต่อเนื่องของแนวการเดินรถไฟที่วิ่งออกจากปากอุโมงค์ I และ IV ในกรณีที่ต้องอพยพออกจากอุโมงค์ผู้โดยสารจะสามารถอพยพออกทางปากอุโมงค์ได้โดยตรง
"อุโมงค์คู่รางเดี่ยวรถไฟ" (Twin Single-track Tunnels) เป็นอุโมงค์สำหรับเดินรถไฟทางเดียวจำนวนสองอุโมงค์วิ่งขนานกัน สร้างเป็นรูปเกือกม้า อุโมงค์แต่ละอุโมงค์มีความสูงภายในประมาณ 7.1 เมตรและมีความกว้างภายในประมาณ 7.5 เมตร การขุดเจาะอุโมงค์ทำด้วยการระเบิดหิน (Drill and Blast) บนพื้นที่หน้าตัดประมาณ 45 ตร.ม.ต่ออุโมงค์
ระหว่างอุโมงค์ทั้งสองข้างจะมีทางเชื่อมระหว่างอุโมงค์ (Cross passages) เป็นอุโมงค์รูปเกือกม้าทุกๆ ระยะ 500 เมตร โดยอุโมงค์ทางเชื่อมมีความกว้างประมาณ 3.5 เมตร สูง 3.0 เมตร พื้นที่หน้าตัดของการขุดเจาะประมาณ 13 ตร.ม. ทางเชื่อมนี้ใช้เป็นเส้นทางอพยพไปยังอุโมงค์ด้านตรงข้ามเมื่อเกิดความจำเป็นต้องอพยพหนีภัย
"อุโมงค์เดี่ยวรางคู่" (Single Double-track Tunnels) เป็นอุโมงค์สำหรับเดินรถไฟสองสายสวนกันในอุโมงค์ สร้างเป็นรูปเกือกม้า อุโมงค์แต่ละอุโมงค์มีความสูงภายในประมาณ 7.3 เมตรและมีความกว้างภายในประมาณ 11.6 เมตร การขุดเจาะอุโมงค์ทำด้วยการระเบิดหิน (Drill and Blast) บนพื้นที่หน้าตัดประมาณ 74 ตร.ม.ต่ออุโมงค์
(ข้อมูลสรุปความก้าวหน้าการศึกษาจากการศึกษาทบทวนความเหมาะสม การสำรวจ และการนำความเห็นจากกิจกรรมการมีส่วนร่วมมาพิจารณา ณ เดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อประกอบการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น อาจมีการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในระยะต่อไป)
#ข้อมูลเตรียมความพร้อมสัมมนา2


Last edited by Wisarut on 26/07/2021 2:15 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2021 1:09 am    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด ประชุมรับฟังความคิดเห็น โครงการ ครั้งที่ 2
3-4 สิงหาคม 64 นี้!!! ผ่านระบบ Online รายละเอียดในโพสต์

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:28 น.

วันนี้เอาข่าวมาฝากพี่น้องในจังหวัด ตาก, กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ซึ่งมีโครงการทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด กำลังทำการศึกษารายละเอียด พร้อมทำ EIA โครงการอยู่
—————————
ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ประชาสัมพันธ์ของการประชุมรอบแรกไปตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1153248705113607/?d=n
รายละเอียดโครงการจากการประชุมครั้งแรก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1154695914968886/?d=n
ผ่านมาร่วม 5 เดือน ก็ต้องประชุมรอบที่ 2 เพื่อรายงานความคืบหน้า แต่จากมาตรการโควิด ทำให้ไม่สามารถประชุมในรูปแบบปรกติได้ เลยต้องเปลี่ยนมาเป็นประชุมผ่านระบบ Online โดยใช้ Zoom แทน
โดยจะแบ่งการประชุมเป็นทั้งหมด 3 รอบในแต่ละพื้นทื่คือ
🧨พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
วันที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 12.30 น.
ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมออนไลน์
https://docs.google.com/forms/d/1vpZPAmrxQtgz6rhY4YFWx8quzbU96SEVpxoL78eQEQE/viewform?edit_requested=true
ลงทะเบียนทางโทรศัพท์โทร. 06 1269 3340 (นครสวรรค์)
🧨 พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร
วันที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 12.30 – 16.30 น.
ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมออนไลน์
https://docs.google.com/forms/d/1yZe4_7A43Yr6Udd0NcajGxn6lPAGvUKEkX2gRETZoAE/viewform?edit_requested=true
ลงทะเบียนทางโทรศัพท์โทร. 08 1907 9678 (กำแพงเพชร)
🧨 พื้นที่จังหวัดตาก
(calendar)วันที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 12.30 น.
ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมออนไลน์
https://docs.google.com/forms/d/1yZe4_7A43Yr6Udd0NcajGxn6lPAGvUKEkX2gRETZoAE/viewform?edit_requested=true
ลงทะเบียนทางโทรศัพท์โทร. 09 1575 4112 (ตาก)
—————————
ใครที่สนใจในรายละเอียดโครงการสามารถไปติดตามโครงการเพิ่มเติมได้จากช่องทางโครงการ
ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/
เว็บไซต์โครงการ
https://tescoconsult.com/th/railwaymaq.nsn/home
—————————
รายละเอียดทางรถไฟ ทางคู่สายใหม่ แม่สอด-ตาก-นครสวรรค์ และตำแหน่งสถานี จากการประชุมครั้งแรก
เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน และระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (E-W Corridor)
ซึ่งได้ทำการประชุมปฐมนิเทศโครงการไปเมื่อวันที่ 17-19 มีนาคม ที่ผ่านมาใน 3 พื้นที่ คลิปประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการ ตามลิ้งค์นี้
https://youtu.be/kzqAtZwNmiw
—————————
จากในคลิปเลยเอารายละเอียดโครงการและตำแหน่งสถานี มาให้เพื่อนๆ ดูกันครับ
เดิมโครงการนี้ได้มีการศึกษารายละเอียดโครงการเบื้องต้นไปในปี 2558 แล้วรอบนึง
โดยจากการศึกษารอบนั้น โครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) ถึง 17% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถ้าเทียบกับรถไฟความเร็วสูง EIRR มีแค่ 12% เท่านั้นเอง
ดังนั้นโครงการนี้เลยถูกมาศึกษาในรายละเอียด เพื่อเตรียมการในการก่อสร้างในอนาคต โดยแบ่งรายละเอียดการศึกษาเป็น 3 ส่วนคือ
- ความเหมาะสมของโครงการ
- ออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคา
- จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
โดยใช้เวลาศึกษา ประมาณ 12 เดือน
—————————
รายละเอียดโครงการเบื้องต้น
- โครงการออกแบบเป็นรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร (เท่ากับรถไฟในปัจจุบัน)
- เขตทางกว้าง 50 เมตร
- โครงการแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก ระยะทาง 181 กิโลเมตร มีสถานี 22 สถานี
2. ตาก - แม่สอด ระยะทาง 69.875 กิโลเมตร
มีสถานี 5 สถานี
- ระยะทางรวม 254 กิโลเมตร มีรูปแบบเส้นทางคือ
1. ทางวิ่งระดับดิน 193 กิโลเมตร
2. ทางวิ่งยกระดับ 31.5 กิโลเมตร
3. อุโมงค์ 29.7 กิโลเมตร
- มีสถานีทั้งหมด 27 แห่ง
- มีลานกองเก็บคอนเทนเนอร์ (CY) 4 แห่งได้แก่
1. สถานีเจริญผล
2. สถานีหนองปลิง
3. สถานีหนองบัวใต้
4. สถานีด่านแม่สอด
- มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ที่สถานีหนองบัวใต้
—————————
โครงการนี้มีจุดประสงค์หลักๆ 2 ประเด็นคือ
1. ขยายโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมพื้นที่มีศักยภาพ ในการขนส่งสินค้า เช่น นครสวรรค์, กำแพงเพชร และ ตาก ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม ใหญ่ของประเทศ
2. เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเปิดประตูในการขนส่งสินค้า
3. แก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะช่วงผ่านเขา ตาก-แม่สอด ซึ่งมีรถบรรทุกในการเดินทางไปชายแดนแม่สอดเป็นจำนวนมาก และมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
ดังนั้น ในเบื้องต้นโครงการเลยเลือกเส้นทาง เชื่อม จาก นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - แม่สอด
—————————
แนวเส้นทางโครงการ เบื้องต้น
ช่วงที่ 1 นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก
โครงการเริ่มต้นจากสถานีนครสวรรค์ ใช้ทางร่วมกับทางรถไฟทางคู่ช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ แล้วแยกจากทางหลักที่สถานีปากน้ำโพ (ในอนาคตจะเป็นสถานีชุมทางปากน้ำโพ)
แล้วแยกออกซ้าย ข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านอำเภอเมืองนครสวรรค์ ตัดเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ตะวันออก
ผ่านอำเภอเก้าเลี้ยว ผ่าน ทางหลวง 117 ผ่านอำเภอบรรพตพิสัย เข้าสถานีเจริญผล ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY)
จากนั้นเส้นทางทางรถไฟเข้าจังหวัดกำแพงเพชรเพชร ที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง แล้วเข้าสู่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัดผ่านทางหลวง 115 และเข้าสถานีกำแพงเพชร ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY)
แล้วมุ่งหน้าสู่อำเภอพรานกระต่าย เข้าอำเภอโกสัมพี
และเข้าอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ตัดกับทางหลวง 104
แล้วข้ามแม่น้ำปิง เข้าสู่สถานีหนองบัวใต้ ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY) แล้วเลี้ยวซ้ายตัดกับทางหลวง 1 เข้าสถานีตาก
ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด
ช่วงนี้จะผ่านเขา มีจำนวนสถานีน้อย ส่วนมาจะตัดผ่านป่า และเป็นอุโมงค์ลอดเขา ถึง 4 ช่วงเพื่อแก้ปัญหาความชัน และก่อสร้างในเขตอุทยาน
เริ่มต้นจากสถานีตาก เข้าอุโมงค์ดอยรวก ระยะทาง 15.52 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่สถานีด่านแม่ละเมา
จากนั้นจะเข้าสู่อุโมงค์แม่ละเมา 1 ระยะทาง 1.42 กิโลเมตร และเข้าสู่อุโมงค์แม่ละเมา 2 ระยะทาง 0.775 กิโลเมตร
หลังจากนั้นเข้าสู่อุโมงค์ ดอยพะวอ ระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่พื้นที่ราบ อำเภอแม่สอด เข้าสถานีแม่ปะ แล้วเลี้ยวซ้ายตัดกับทางหลวง 130 (เลี่ยงเมืองแม่สอด ไปด่านแม่สอด 2)
แล้วเข้าสู่สถานีแม่สอด และมุ่งหน้าสู่สถานีด่านแม่สอด ซึ่งเป็นลานคอนเทนเนอร์ (CY)
—————————
โดยเส้นทางจะออกแบบเป็นระบบปิดสมบูรณ์ ไม่มีจุดตัดทางรถไฟระดับดิน เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุในอนาคต และการเดินรถไฟ ได้อย่างคล่องตัว
พร้อมกับการทำจุดตัดทางรถไฟเป็นหลายๆรูปแบบคือ
- สะพานข้ามทางรถไฟ (overpass)
- ทางรถไฟยกระดับ
- ทางลอดทางรถไฟ
- ถนนบริการ
—————————
อยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบ เข้าร่วมเพื่อทราบรายละเอียด หรือแย้งก็รีบทำตั้งแต่ตอนนี้เลยครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปค้านกันตอนจะก่อสร้าง….
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2021 2:17 am    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 21:37 น.

"แนวเส้นทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ที่ปรับปรุงโดยนำข้อมูลจากการสำรวจและกระบวนการมีส่วนร่วมที่ผ่านมามาประกอบการพิจารณา......"
ห่างหายกันไปพักใหญ่ ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทั้งในพื้นที่ และตอนนี้ใน 13 จังหวัด อย่างต่อเนื่องตั้งแต่สงกรานต์มา ทางโครงการก็มีภารกิจในการนำความคิดเห็นจาดพื้นที่มาทบทวนเพื่อกำหนดแนวเส้นทางที่เหมาะสม และนำเสนอให้การรถไฟฯ พิจารณา วันนี้ เรามีแนวเส้นทางที่ปรับปรุงเพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด และมีความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการที่สุดมาเป็นข้อมู
กัน โดยท่านสามารถเข้าชมได้ทางลิงค์ที่ระบุด้านล่าง และ ใน QR CODE โดยข้อมูลนี้ เป็นข้อมูลล่าสุด ณ เดือนกรกฎาคม ที่ยังคงอยู่ในช่วงการดำเนินการศึกษา เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นในสันที่ 3-4 สิงหาคม 2564 (ด้วยช่องทางออนไลน์)
แนวเส้นทางรถไฟ สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 27 สถานี ระยะทางรวม 250.875 กม.จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่สถานีปากน้ำโพ และสิ้นสุดที่สถานีด่านแม่สอด แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มีสถานีทั้งหมด 22 สถานี CY 3 แห่ง ระยะทาง 181 กม. และช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 5 สถานี CY 1 แห่ง ระยะทาง 69.875 กม. แนวเส้นทางรถไฟมี โครงสร้างอุโมงค์ 4 แห่ง ประกอบด้วย อุโมงค์แห่งที่ 1 อุโมงค์ดอยรวก มีระยะทางความยาวอุโมงค์ 15.5 กิโลเมตร อุโมงค์แห่งที่ 2 อุโมงค์ด่านแม่ละเมา มีระยะทางความยาวอุโมงค์ 1.42 กิโลเมตร และอุโมงค์แห่งที่ 3 มีระยะทางความยาวอุโมงค์ 0.765 กิโลเมตร ส่วนอุโมงค์แหง่ที่ 4 อุโมงค์ดอยพะวอ มีระยะทางความยาวอุโมงค์ 12 กิโลเมตร มีระยะทางรวมประมาณ 29.6 กม. โครงสร้างทางรถไฟระดับพื้น ระยะทางประมาณ 195.3 กม. และเป็นโครงสร้างทางยกระดับ ระยะทางประมาณ 26 กม. มีสะพานข้ามแม่น้ำสำคัญ 2 แห่ง คือ แม่น้ำน่านในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์บริเวณสถานีปากน้ำโพ และแม่น้ำปิงในพื้นที่จังหวัดตากบริเวณ กม. 172.8 ในส่วนย่านขนส่งสินค้า CY 4 แห่ง แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ช่วงที่ 1 มี 3 แห่ง สถานีเจริญผล สถานีหนองปลิง และสถานีหนองบัวใต้ ช่วงที่ 2 มี 1 แห่ง ที่สถานีด่านแม่สอดและมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง สำหรับในการศึกษาครั้งนี้ เมื่อทบทวนความเหมาะสม ประกอบการสำรวจสภาพในปัจจุบัน ได้มีการปรับแนวเส้นทางให้มีความเหมาะสม

แนวทางรถไฟ ทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ มี google map แล้ว

https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=19y3v07m_FwPxVAzZjc2gW_09kNSWu0bd&ll=16.434092387370512%2C99.34415713974523&z=9


โผบัญชีรายชื่อ สถานีรถไฟสายนครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - แม่สอด
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:50 น.
"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (4)" รูปลักษณ์และอัตลักษณ์อาคารสถานี สำหรับสถานีขนาดใหญ่

โดยภาพรวมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของทั้ง 3 จังหวัด นครสวรรค์ กำแพงเพชร และตากจะมีความคล้ายคลึงกัน ที่ปรึกษาฯ จึงนำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี ดังนี้
1. จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมญานามว่าเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และยังเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางการคมนาคมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็น “ตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรก” ของประเทศไทย รวมถึงเอกลักษณ์การทอผ้าที่มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีตอนต้น เป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหมทอมือลวดลายต่างๆ เช่น ลายปลาเสือตอ ลายดอกเสลา ลายดอกบัว เป็นต้น
คำขวัญประจำจังหวัดมีการพูดถึงในเรื่องของการ แห่มังกร (ในเทศกาลตรุษจีน) ประเพณีการแห่มังกร เป็นประเพณีประจำจังหวัดนครสวรรค์และจัดขึ้นในวันตรุษจีนของทุกปี จึงเรียกที่นี้ว่า ‘นครสวรรค์ ถิ่นแคว้นแดนมังกร’
2. จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองมรดกโลก มีโบราณสถานที่เป็นงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ใช้ “อิฐศิลาแลง” เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งโบราณสถานดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ “อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” จังหวัดกำแพงเพชร
3. จังหวัดตาก เป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ทำให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม “การทอผ้า” ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตากจึงมีลักษณะเฉพาะตัว มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายลวดลายต่างๆ เช่น ลายดอกปีกค้างคาว ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร และลายดอกแก้ว
4. อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และเป็นหนึ่งในย่านการค้าอัญมณีที่สำคัญของโทย โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของเมืองไว้ว่า “นครแม่สอด เมืองอัญมณีแห่งเอเชีย สู่ศูนย์หยกโลก” มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่น่าสนใจ มีลักษณะทาง
5. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมาย ทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด และบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย มี “ถ้ำสีฟ้า” เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ตั้งอยู่ที่สำนักสงฆ์พุทธคยาถ้ำสีฟ้า


โผบัญชีรายชื่อ สถานีรถไฟสายนครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - แม่สอด
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 23:15 น.


"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (ุ6)" ที่ตั้งอาคารสถานีวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ที่ครอบคลุมปัจจัยหลัก 4 ด้าน คือ ด้านการเดินรถ ด้านวิศวกรรมจราจร ด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยหลักด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งช่วงสถานีทั้ง 27 สถานี ออกเป็น 2 ช่วง โดยแบ่งเป็นช่วงที่ 1 จำนวน 23 สถานี และช่วงที่ 2 จำนวน 4 สถานี

0. ปากน้ำโพ กม. 250 + 560 จากสถานีกรุงเทพ
1. สถานีบึงเสนาท สถานีขนาดกลาง
2. บ้านมะเกลือ สถานีขนาดกลาง
3. มหาโพธิ์ - สถานีขนาดเล็ก => ควรแก้เป็น มหาโพธิ ไม่ใช่ มหาโพธิ์ //โพด ไม่ใช่ โพ //Phot ไม่ใช่ Pho
4. เก้าเลี้ยว - สถานีขนาดกลาง - ใกล้ศูนย์จัดจำหน่าย CP All distribution ประจำนครสวรรค์
5. บ้านตาหงาย - ที่หยุดรถ
6. เจริญผล - สถานีขนาดกลาง มีลานคอนเทนเนอร์ (น่าจะตั้งเป็นสถานีบรรพตพิสัยเพราะใกล้ บรรพตพิสัยที่สุด)
7. ตาขีด - ที่หยุดรถ หมดเขตนครสวรรค์ เข้ากำแพงเพชร
8. ป่าพุทรา - สถานีขนาดเล็ก น่าจะตั้งชื่อว่า ขานุวรลักษณบุรีเพราะใกล้ อำเภอ ขานุวรลักษณบุรี ที่สุด
9. ยางสูง - ที่หยุดรถ
10. วังแขม - สถานีขนาดเล็ก
11. วังยาง - ที่หยุดรถ น่าจะตั้งชื่อว่าคลองขลุง เพราะ ใกล้คลองขลุงที่สุด
12. ท่ามะเขือ - สถานีขนาดเล็ก
13. วังบัว - ที่หยุดรถ
14. คณฑี - สถานีขนาดกลาง - ใกล้โรงงานอายิโนะโมโต๊ะประเทศไทย (5 กิโลเมตร ด้านตะวันอออกเฉียงใต้) มีการแก้เส้นทางอ้อมหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรไปทางตะวันออก
15. เทพนคร - ที่หยุดรถ
16. กำแพงเพชร - สถานีประจำจังหวัด สถานีขนาดใหญ่ ใกล้ทางหลวง 115 ตรงแยก เลี่ยงเมือง ใกล้เทศบาลเมือง กำแพงเพชร
17. หนองปลิง - สถานีขนาดเล็ก มีย่านคอนเทนเนอร์ สำหรับกำแพงเพชร ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ MCOT Radio จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ
18. ลานดอกไม้ - สถานีขนาดเล็ก จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ
19. โกสัมพี - ที่หยุดรถ จุดลงรถไฟโกสัมพีนคร
20. วังเจ้า- สถานีขนาดเล็กประมาณ กม. 161 จุดลงรถไฟอำเภอวังเจ้า บนทางหลวง 104 มีการแก้ไขทางให้ตรงขึ้นกว่าเดิมโดยไม่อ้อมเขา
21. วังหิน - ที่หยุดรถ แก้จาก ประดาง จากนั้นข้ามแม่น้ำปิงตรงศูนย์เทคโนโลยีถ่ายทอดการเกษตรไปทางโรงเรียน บ้านคลองห้วยทราย
22. หนองบัวใต้ กม. 180 + 300.00 - ใกล้สวนสาธารณะหนองบัวใต้ และ โรงเรียนบ้านคลองห้วยทราย มี ลานตู้คอนเทนเนอร์ เพราะ ย้ายสถานีตากมาแถวสามแยกแม่สอดแล้ว มีศูนย์ซ่อมบำรุงด้วย


ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 4 สถานี ยาว 68.147 กิโลเมตร จากตากไปสุดระหว่างตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 1 และ ตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 2
23. ตาก - สถานีประจำจังหวัด สถานีขนาดใหญ่ ได้ย้ายมาทางสามแยกแม่สอด ใกล้ สถานีพัฒนาที่ดินตาก เป็นสถานีลอยฟ้า แทนที่เก่าที่ใกล้วิทยาลัยเทคนิคตาก และ แขวงทางหลวงตากเลขที่ 1
24. ด่านแม่ละเมา - สถานีขนาดเล็ก
25. แม่ปะ - สถานีขนาดเล็ก ใกล้ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน อยู่ใกล้ปลายซอยทางเข้าไร่เปี่ยมสุข
26 แม่สอด - สถานีขนาดใหญ่ ใกล้เทศบาลนครแม่สอด และ แยกแม่ปะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าตาก
27. สถานีด่านแม่สอด - สถานีขนาดกลาง มี ย่านขนส่งสินค้า (CY ลานคอนเทนเนอร์) และ โรงซ่อมบำรุงขนาดย่อมด้วย ปลายรางที่ กม. 250.875
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/239172848033088

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 23:37 น.

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (7)" สถานีขนาดเล็ก ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,060 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 535 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร
(ข้อมูลสรุปความก้าวหน้าการศึกษาจากการศึกษาทบทวนความเหมาะสม การสำรวจ และการนำความเห็นจากกิจกรรมการมีส่วนร่วมมาพิจารณา ณ เดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อประกอบการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น อาจมีการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในระยะต่อไป)

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 23:42 น.
"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (8) " สถานีขนาดกลาง ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,200 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 675 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตรสถานีขนาดเล็ก ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,060 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 535 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 23:50 น.
"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (9)" สถานีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 350 เมตร กว้างชานละ 4-7 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 7,950 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 1,400 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 6,550 ตารางเมตร

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 23:54 น.
"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (10)" ทางข้ามชานชาลามีทั้งหมด 2 รูปแบบ แบ่งตามชนิดชั้นของสถานี ที่มีจำนวนของชานชาลา ความยาว และแนวรางรถไฟที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
1. ทางข้ามชานชาลาสำหรับที่หยุดรถ มีชานชาลา 2 ฝั่ง สำหรับขาขึ้นและขาล่อง ชานชาลายาว 210 เมตร โดยทุกแห่งจะมีทางเชื่อมที่กลางชานชาลา 1 จุด ดังนี้
1.1 บันไดสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้พิการหรือทุพพลภาพ 2 บันได บันไดแต่ละช่วงมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร โดยผลรวมของลูกตั้งกับลูกนอนไม่น้อยกว่า 43 เซนติเมตรและไม่เกิน 48 เซนติเมตร
1.2 ไม่มีลิฟต์โดยสาร เพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา
2. ทางข้ามชานชาลาสำหรับสถานีขนาดเล็ก สถานีขนาดกลาง และสถานีขนาดใหญ่ มีชานชาลา 2 ฝั่ง สำหรับขาขึ้นและขาล่อง ชานชาลายาวฝั่งละ 210 และ 350 เมตรตามลำดับ โดยทั้ง 2 ชานชาลาจะมีทางเชื่อม 2 จุด ตั้งห่างจากจุดกึ่งกลางสถานีข้างละประมาณ 40-50 เมตร แต่ละฝั่งชานชาลาจะมีบันไดสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้พิการหรือทุพพลภาพ 2 บันได บันไดแต่ละช่วงมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร โดยผลรวมของลูกตั้งกับลูกนอนไม่น้อยกว่า 43 เซนติเมตรและไม่เกิน 48 เซนติเมตร และมีลิฟต์โดยสารที่มีขนาดของห้องลิฟต์ไม่น้อยกว่า 1.40x1.60 เมตร และมีช่องกระจกใสนิรภัยที่สามารถมองเห็นระหว่างภายนอกและภายในได้ เพื่อรองรับผู้พิการและผู้เดินทางที่มีสัมภาระ
(ข้อมูลสรุปความก้าวหน้าการศึกษาจากการศึกษาทบทวนความเหมาะสม การสำรวจ และการนำความเห็นจากกิจกรรมการมีส่วนร่วมมาพิจารณา ณ เดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อประกอบการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น อาจมีการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในระยะต่อไป)

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 23:03 น.
"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (5)" ผังย่านสถานี ออกแบบโดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับแผนการเดินรถ และการสัญจรเข้า-ออกสถานี มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคครบถ้วน รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาของย่านสถานีและพื้นที่โดยรอบสถานีในอนาคต......
ในการออกแบบวางผังแม่บทของย่านสถานี โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในด้านพื้นที่ใช้สอยของที่ตั้งสถานีแห่งใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน รองรับการสัญจรและการขยายตัวในอนาคต รวมถึงการให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการจัดสรรพื้นที่ด้วยการออกแบบวางผังอย่างเหมาะสม โดยผังย่านสถานีรถไฟจะประกอบด้วย
(1) ส่วนสถานีและลานสถานี เป็นพื้นที่ที่จะมีการใช้งานสูงสุดสำหรับผู้โดยสาร การวางผังส่วนนี้ต้องคำนึงถึงการเข้า-ออกสู่สถานีและสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ได้อย่างสะดวก
(2) ส่วนขนส่งสินค้าและลานรับสินค้า ในย่านสถานีที่สำคัญๆ ควรมีการจัดเตรียมย่านสำหรับขบวนสินค้าและลานรับ-ส่งสินค้าไว้ด้วย
(3) ส่วนพื้นที่เพื่อระบบการเดินรถ เป็นส่วนสำคัญสูงสุดเพื่อให้รองรับการเดินรถทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างเพียงพอ การวางผังส่วนนี้ต้องจัดเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับขบวนรถที่จะเข้าสู่สถานี พื้นที่สำหรับรางสับหลีกของขบวนรถ และมีการกำหนดเขตพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ
(4) ส่วนพื้นที่เพื่อการซ่อมบำรุง สำหรับย่านสถานีขนาดใหญ่ที่ต้องมีโรงซ่อมบำรุงและที่ทำการของเจ้าหน้าที่ส่วนซ่อมบำรุงต้องมีการจัดเตรียมพื้นที่ส่วนนี้ไว้
(5) ส่วนพื้นที่พักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยเป็นกลุ่มอาคารบ้านพักสำหรับเจ้าหน้าที่ รวมถึงพื้นที่เพื่อการสันทนาการต่างๆ
(6) ส่วนพื้นที่เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟส่วนมากจะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาของเมือง ผังแม่บทของย่านสถานีควารมีการจัดเตรียมพื้นที่ส่วนนี้ไว้ตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อป้องกันปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ และการก่อสร้างอาคารที่จะเป็นปัญหาต่อการขยายตัวในอนาคตของรถไฟ
(7) ส่วนพื้นที่เพื่อชุมชน การวางผังส่วนนี้อาจรวมอยู่ในพื้นที่ของลานสถานีและกลุ่มบ้านพักอาศัยเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถานีและย่านสถานี


"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (4)" รูปลักษณ์และอัตลักษณ์อาคารสถานี
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
25 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:50 น.

โดยภาพรวมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของทั้ง 3 จังหวัด นครสวรรค์ กำแพงเพชร และตากจะมีความคล้ายคลึงกัน ที่ปรึกษาฯ จึงนำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี ดังนี้
1. จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมญานามว่าเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และยังเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางการคมนาคมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็น “ตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรก” ของประเทศไทย รวมถึงเอกลักษณ์การทอผ้าที่มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีตอนต้น เป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหมทอมือลวดลายต่างๆ เช่น ลายปลาเสือตอ ลายดอกเสลา ลายดอกบัว เป็นต้น
คำขวัญประจำจังหวัดมีการพูดถึงในเรื่องของการ แห่มังกร (ในเทศกาลตรุษจีน) ประเพณีการแห่มังกร เป็นประเพณีประจำจังหวัดนครสวรรค์และจัดขึ้นในวันตรุษจีนของทุกปี จึงเรียกที่นี้ว่า ‘นครสวรรค์ ถิ่นแคว้นแดนมังกร’
2. จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองมรดกโลก มีโบราณสถานที่เป็นงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ใช้ “อิฐศิลาแลง” เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งโบราณสถานดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ “อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” จังหวัดกำแพงเพชร
3. จังหวัดตาก เป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ทำให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม “การทอผ้า” ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตากจึงมีลักษณะเฉพาะตัว มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายลวดลายต่างๆ เช่น ลายดอกปีกค้างคาว ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร และลายดอกแก้ว
4. อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และเป็นหนึ่งในย่านการค้าอัญมณีที่สำคัญของโทย โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของเมืองไว้ว่า “นครแม่สอด เมืองอัญมณีแห่งเอเชีย สู่ศูนย์หยกโลก” มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่น่าสนใจ มีลักษณะทาง
5. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมาย ทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด และบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย มี “ถ้ำสีฟ้า” เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ตั้งอยู่ที่สำนักสงฆ์พุทธคยาถ้ำสีฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2021 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

แนวเส้นทางรถไฟสายนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก แม่สอด ที่ผ่านแต่ละอำเภอ

0. ปากน้ำโพ กม. 250 + 560 จากสถานีกรุงเทพ

กม. 0 +000 อยู่ที่ประแจตัวสุดท้าย ห่างจากสถานีปากน้ำโพ ไปทางเหนือ 1 + 860 กิโลเมตร

สะพานข้ามแม่น่้ำน่าน กม. 0 + 700 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km เหนือสะพานดุสิดาภิรมย์

1. สถานีบึงเสนาท สถานีขนาดกลาง กม. 3 + 700 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

2. สถานีบ้านมะเกลือ สถานีขนาดกลาง กม. 10 + 300 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

3. มหาโพธิ - สถานีขนาดเล็ก กม. 15 + 650 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

4. เก้าเลี้ยว - สถานีขนาดกลาง กม. 23 + 250 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km - ใกล้ศูนย์จัดจำหน่าย CP All distribution ประจำนครสวรรค์

5. บ้านตาหงาย - ที่หยุดรถ กม. 30 + 250 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้วัดศิลาทองสามัคคีธรรม

6. เจริญผล - สถานีขนาดกลาง กม. 38 + 100 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km มีลานคอนเทนเนอร์ (น่าจะตั้งเป็นสถานีบรรพตพิสัยเพราะใกล้ บรรพตพิสัยที่สุด)

7. ตาขีด - ที่หยุดรถ กม. 49 + 400 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km หมดเขตนครสวรรค์ เข้ากำแพงเพชร

8. ป่าพุทรา - สถานีขนาดเล็กกม. 55 + 850 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km น่าจะตั้งชื่อว่า ขานุวรลักษณบุรีเพราะใกล้ อำเภอ ขานุวรลักษณบุรี ที่สุด

9. ยางสูง - ที่หยุดรถ กม. 64 + 000 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

10. วังแขม - สถานีขนาดเล็ก กม. 69 + 400 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

11. วังยาง - ที่หยุดรถ กม. 71 + 250 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km น่าจะตั้งชื่อว่าคลองขลุง เพราะ ใกล้คลองขลุงที่สุด

12. ท่ามะเขือ - สถานีขนาดเล็ก กม. 78 + 700 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

13. วังบัว - ที่หยุดรถ กม. 87 + 800 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้ บ้านสวนยายตู่

14. คณฑี - สถานีขนาดกลาง กม. 94 + 900 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km - ใกล้โรงงานอายิโนะโมโต๊ะประเทศไทย (5 กิโลเมตร ด้านตะวันอออกเฉียงใต้) มีการแก้เส้นทางอ้อมหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรไปทางตะวันออก

15. เทพนคร - ที่หยุดรถ กม. 104 + 700 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km โดนลดชั้น

16. กำแพงเพชร - สถานีประจำจังหวัด สถานีขนาดใหญ่ กม. 113 + 350 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้ทางหลวง 115 ตรงแยก เลี่ยงเมือง ใกล้เทศบาลเมือง กำแพงเพชร

17. หนองปลิง - สถานีขนาดเล็ก มีย่านคอนเทนเนอร์ สำหรับกำแพงเพชร กม. 120 + 750 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร และ MCOT Radio จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ

18. ลานดอกไม้ - สถานีขนาดเล็ก กม. 134 + 750 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

19. โกสัมพี - ที่หยุดรถ กม. 147 + 400 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้ ศาลพ่อปู่ยมราช

20. วังเจ้า- สถานีขนาดเล็ก กม. 157 + 100 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เสริมกสิกิจ จุดลงรถไฟอำเภอวังเจ้า บนทางหลวง 104 มีการแก้ไขทางให้ตรงขึ้นกว่าเดิมโดยไม่อ้อมเขา

21. วังหิน - ที่หยุดรถ กม. 168 + 100 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km แก้จาก ประดาง ใกล้ สำนักสงฆ์บ้านไร่สามัคคี



สะพานข้ามแม่น้ำปิง ตรง กม. 171 + 000 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km เหนือสะพานวังหิน-ประดาง (กิตติคุณ) ใกล้ทองมาฟาร์ม ตรงข้าม ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลประดาง อำเภอวังเจ้า ตาก



22. หนองบัวใต้ กม. 175 + 300 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km สถานีขนาดกลาง ใกล้โรงแรมแม่ปิงการ์เดน บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และ โรงเรียนบ้านคลองห้วยทราย มี ลานตู้คอนเทนเนอร์ เพราะ ย้ายสถานีตากมาแถวสามแยกแม่สอดแล้ว



ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 4 สถานี ยาว 68.147 กิโลเมตร จากตากไปสุดระหว่างตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 1 และ ตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 2

23. ตาก - สถานีประจำจังหวัด สถานีขนาดใหญ่ กม. 181 + 400 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ได้ย้ายมาทางสามแยกแม่สอด ใกล้ สำนักสงฆ์ห้วยนึ่งเทพนิมิต เป็นสถานีลอยฟ้า แทนที่เก่าที่ใกล้วิทยาลัยเทคนิคตาก และ แขวงทางหลวงตากเลขที่ 1



24. ด่านแม่ละเมา - สถานีขนาดเล็ก กม. 214 + 800 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km

25. แม่ปะ - สถานีขนาดเล็ก กม. 236 + 250 จาก ปากน้ำโพใกล้ + 1.86 km อยู่ใกล้ปลายซอยทางเข้าไร่เปี่ยมสุข

26 แม่สอด - สถานีขนาดใหญ่ กม. 245 + 550 จาก ปากน้ำโพ + 1.86 km ใกล้ที่พักสงฆ์วิปัสสนามอญ และ แยกแม่ปะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าตาก

27. สถานีด่านแม่สอด - สถานีขนาดกลาง กม. 250 + 100 จาก ปากน้ำโพ+ 1.86 km มี ย่านขนส่งสินค้า (CY ลานคอนเทนเนอร์) และ โรงซ่อมบำรุงขนาดย่อมด้วย ปลายรางที่ กม. 250 + 875 จาก ปากน้ำโพ+ 1.86 km

https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/239397668010606


Last edited by Wisarut on 29/07/2021 1:36 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2021 1:02 am    Post subject: Reply with quote

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (15)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:59 น.

แนวคิดประกอบการออกแบบของรูปลักษณ์อาคาร “สถานีตาก”
1) อัตลักษณ์ของเมือง : นำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี จังหวัดตาก เป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ทำให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม “การทอผ้า” ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตาก จึงมีลักษณะเฉพาะตัว มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายลวดลายต่างๆ เช่น ลายดอกปีกค้างคาว ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร และลายดอกแก้ว
2) อัตลักษณ์อาคารสถานีรถไฟ : ปลาตะพากส้ม สัตว์ประจำจังหวัดตาก อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำปิง มีสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นจุดชมวิวของเมือง
3) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลักษณะเด่นของสถานี ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก : ดอกเสี้ยวขาว
4) วัสดุประจำจังหวัด : จังหวัดตาก แสดงถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศคิดเป็นร้อยละ 72.1 ของพื้นที่จังหวัด สภาพพื้นที่ประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (16)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:16 น.

แนวคิดประกอบการออกแบบของรูปลักษณ์อาคาร “สถานีแม่สอด”
1. อัตลักษณ์ของเมือง : นำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และเป็นหนึ่งในย่านการค้าอัญมณีที่สำคัญของโทย โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของเมืองไว้ว่า “นครแม่สอด เมืองอัญมณีแห่งเอเชีย สู่ศูนย์หยกโลก” มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่น่าสนใจ มีลักษณะทาง
2) อัตลักษณ์อาคารสถานีรถไฟ : ตำนานหงส์ทองคู่จารึกเป็นภาษามอญเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้เป็นครั้งแรก ได้ทอดพระเนตรเห็นหงส์ทอง 2 ตัว เล่นน้ำอยู่
3) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลักษณะเด่นของสถานี ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก : ดอกเสี้ยวขาว
4) วัสดุประจำจังหวัด : สามารถใช้ความงดงามของถ้ำสีฟ้าซึ่งเกิดจากหินปูนทำปฏิกิริยาทางธรรมชาติ หินตะกอนมีการทับถมเป็นชั้นๆ เกิดเป็นลายสลับกัน การออกแบบโดยนำรูปแบบการเรียงตัวของชั้นหินผสมผสานกับสีของอัญมณี สามารถแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของแม่สอดได้เป็นอย่างดี

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (17)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:33 น.

แนวคิดประกอบการออกแบบของรูปลักษณ์อาคาร “สถานีกำแพงเพชร”
1) อัตลักษณ์ของเมือง : นำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองมรดกโลก มีโบราณสถานที่เป็นงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ใช้ “อิฐศิลาแลง” เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งโบราณสถานดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ “อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” จังหวัดกำแพงเพชร
2) อัตลักษณ์อาคารสถานีรถไฟ : ปลาตะพากเหลือง เป็นสัตว์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นปลาพื้นเมืองในแม่น้ำปิง อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในจังหวัดมายาวนาน ใช้ฐานหินศิลาแลงก่อเรียงล้อมตัวปลาเป็นเสมือนชื่อเมือง “กำแพงเพชร” หมายถึงกำแพงที่แข็งแรงและสวยงาม
3) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลักษณะเด่นของสถานี ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร : ดอกพิกุล
4) วัสดุประจำจังหวัด : สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่นี่ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยศิลาแลง เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรเป็นแหล่งที่สามารถพบเจอได้ ทำให้ศิลาแลงเข้ามามีบทบาทต่องานสถาปัตยกรรมในยุคนั้น การนำศิลาแลงมาใช้จึงช่วยแสดงถึงความเป็นเมืองทางประวัติศาสตร์

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (18)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:34 น.

การออกแบบแนวเส้นทางรถไฟ สาย แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตร ได้กำหนดความกว้างเขตทางรถไฟไว้ที่ 50 เมตร จากกึ่งกลางทางคู่ และมีระยะระหว่างราง 5 เมตร ส่วนบริเวณสถานีจะกำหนดเขตทางตามรูปแบบความต้องการใช้งานของแต่ละสถานี การเดินขบวนรถในระบบทางคู่ ความเร็วของขบวนรถโดยสารประมาณ 100-120 กม./ชม.และขบวนรถสินค้าประมาณ 80-100 กม./ชม ขึ้นกับชนิดของหัวรถจักร แคร่ และตู้ที่ใช้


"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (19)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:50 น.
สถานีขนาดเล็ก ประกอบด้วย ชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,060 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 535 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร ตัวอย่างที่แสดงคือสถานี ลานดอกไม้ ทางไปพรานกระต่าย

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (20)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:51 น.

สถานีขนาดกลาง ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,200 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 675 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร ตัวอย่างที่แสดงคือสถานี คณฑี ใกล้โรงงานอายิโนะโมโต๊ะ

"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (20)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:53 น.

ที่หยุดรถ ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่ไม่มีลิฟต์ จำนวน 2 จุดทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 2,250 ตารางเมตร


"เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (14)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 14:08 น.

หลายท่านได้ให้ความสนใจในแนวคิดประกอบการออกแบบสถานี โดยตลอดแนวเส้นทางได้ออกแบบให้มีภาพลักษณ์ขอสถานีที่เชื่อมโยงกัน องค์ประกอบหลักจำเป็นต้องกำหนดโดยความต้องการใช้งานในหน้าที่ของสถานีรถไฟแต่ละขนาด และออกแบบภายในสถานี การตกแต่ง และการจัดภูมิทัศน์ ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์แต่ละพื้นที่
ในการออกแบบจัดวางสถานีรถไฟและย่านสถานีจะประกอบด้วย
1. อาคารสถานี เป็นอาคารหรือกลุ่มอาคาร ภายในมีห้องปฏิบัติงานของนายสถานี ห้องผู้ช่วยสถานี ห้องควบคุมอาณัติสัญญาณ ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ห้องเก็บเอกสาร ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า ห้องรับส่งสินค้าด่วน และชานชาลามีหลังคาคลุม
2. ย่านสถานีและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ ห่างจากจุดศูนย์กลางสถานีออกไปประมาณ 1-2 กม. ตามความเหมาะสมเพื่อที่จะพัฒนาระบบเครือข่ายถนน และการขนส่งอื่นๆ เข้าสู่สถานี ในด้านการเดินรถย่านสถานีจะจัดวางให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการเดินรถ สำหรับการสับหลีกการเดินรถรางสำหรับการขนส่งสินค้า และ/หรือ สำหรับการซ่อมบำรุง รวมถึงพื้นที่สำหรับเจ้าหน้าที่รถไฟและพื้นที่สำหรับชุมชน เช่น บ้านพัก ห้องแถว สวนหย่อม หรือพื้นที่สีเขียว
3. เขตสถานี เป็นพื้นที่สำหรับการเดินรถ มีระบบอาณัติสัญญาณไฟสีที่ทันสมัย ให้การเดินขบวนรถไฟเป็นไปอย่างปลอดภัย รวมถึงมีประแจเปลี่ยนทิศทางของขบวนรถ การออกแบบขนาดของอาคารสถานีและย่านสถานีจะขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้บริการและความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ สำหรับในการออกแบบระบบรถไฟรางคู่ จำนวนราง (Track) และตำแหน่งชานชาลา (Platform) ของสถานีแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการเดินรถ (Train Operation) รวมถึงอาจมีการปรับแนวเส้นทางรถไฟก่อนเข้าสู่สถานี
4. แนวเส้นทางก่อนเข้าสู่สถานีพยายามใช้แนวศูนย์กลางของทางรถไฟเป็นศูนย์กลางแนวควบคุม (Control Line) ของระบบทางรถไฟรางคู่หรืออาจจะเป็นศูนย์กลางทางขึ้นหรือศูนย์กลางทางล่องของระบบทางคู่ที่สถานีนั้นๆ เพื่อให้ตำแหน่งสถานีอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
5. ตำแหน่งอาคารสถานีจัดให้อยู่ใกล้กึ่งกลางของชานชาลาเพื่อความสะดวกในการสัญจรของผู้โดยสาร โดยคำนึงถึงการขยายตัวในอนาคต


Last edited by Wisarut on 29/07/2021 1:31 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2021 1:23 am    Post subject: Reply with quote

เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (12 เพิ่มเติม)"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
28 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:46 น.
จากการสำรวจตรวจสอบ พบว่าในจำนวนจุดตัดของถนนสายหลักและถนนที่ผ่านในพื้นเกษตรกรรม ถนนเลียบคลองชลประทาน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 140 แห่ง โดยแบ่งเป็น ช่วงที่ 1 นครสวรรค์ - ตาก จำนวน 126 แห่ง และช่วงที่ 2 ตาก - อ.แม่สอด จำนวน 14 แห่ง ในการออกแบบทางรถไฟจะเป็นการออกแบบให้มีการยกคันทางรถไฟสูงเพื่อที่จะสามารถกำหนดรูปแบบให้ถนนลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาของจุดตัดได้ทั้งหมด รถทุกประเภท คนเดินเท้า หรือสัตว์เลี้ยง ก็สามารถที่จะใช้จุดตัดรูปแบบนี้ได้ ซึ่งจากการก่อสร้างของโครงการรถไฟทางคู่ฯ ที่ผ่านมาการกำหนดรูปแบบของการแก้ไขปัญหาจุดตัด ทั้งรูปแบบถนนข้ามทางรถไฟซึ่งจะต้องก่อสร้างทางลอดขนาดเล็กสำหรับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เพิ่มเติม หรือ ทางลอดทางรถไฟแบบลดระดับทางลอดต่ำกว่าถนนเดิม เนื่องจากไม่สามารถยกคันทางรถไฟให้สูงขึ้นพอสำหรับทางลอดได้นั้น ก็เกิดปัญหาในการดูแลบำรุงรักษาทั้งในส่วนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำในทางลอด เกิดน้ำท่วมขังในกรณีไฟฟ้าดับ ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างมากในการบริหารจัดการ ดังนั้นการกำหนดรูปแบบจุดตัดให้ถนนลอดใต้สะพานรถไฟ (Railway Bridge) โดยถนนทางลอดมีระดับเท่าเดิม จะเป็นการแก้ไขปัญหาจุดตัดได้ดีกว่าในระยะยาว

"จุดตัดระหว่างถนนกับทางรถไฟของเส้นทางนี้ จะเป็นจุดตัดต่างระดับ 100%" การเดินทางบนโครงข่ายถนนเดิมทุกเส้น จะเดินทางเชื่อมโยงทั้งสองฝั่งได้เหมือนเดิมในทุกจุด "เรามาดูข้อมูลโครงการกัน (12)"
"
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
27 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:03 น.

จากการสำรวจตรวจสอบ พบว่าในจำนวนจุดตัดของถนนสายหลักและถนนที่ผ่านในพื้นเกษตรกรรม ถนนเลียบคลองชลประทาน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 140 แห่ง โดยแบ่งเป็น ช่วงที่ 1 นครสวรรค์ - ตาก จำนวน 126 แห่ง และช่วงที่ 2 ตาก - อ.แม่สอด จำนวน 14 แห่ง ในการออกแบบทางรถไฟจะเป็นการออกแบบให้มีการยกคันทางรถไฟสูงเพื่อที่จะสามารถกำหนดรูปแบบให้ถนนลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาของจุดตัดได้ทั้งหมด รถทุกประเภท คนเดินเท้า หรือสัตว์เลี้ยง ก็สามารถที่จะใช้จุดตัดรูปแบบนี้ได้ ซึ่งจากการก่อสร้างของโครงการรถไฟทางคู่ฯ ที่ผ่านมาการกำหนดรูปแบบของการแก้ไขปัญหาจุดตัด ทั้งรูปแบบถนนข้ามทางรถไฟซึ่งจะต้องก่อสร้างทางลอดขนาดเล็กสำหรับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เพิ่มเติม หรือ ทางลอดทางรถไฟแบบลดระดับทางลอดต่ำกว่าถนนเดิม เนื่องจากไม่สามารถยกคันทางรถไฟให้สูงขึ้นพอสำหรับทางลอดได้นั้น ก็เกิดปัญหาในการดูแลบำรุงรักษาทั้งในส่วนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำในทางลอด เกิดน้ำท่วมขังในกรณีไฟฟ้าดับ ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างมากในการบริหารจัดการ ดังนั้นการกำหนดรูปแบบจุดตัดให้ถนนลอดใต้สะพานรถไฟ (Railway Bridge) โดยถนนทางลอดมีระดับเท่าเดิม จะเป็นการแก้ไขปัญหาจุดตัดได้ดีกว่าในระยะยาว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 25, 26, 27  Next
Page 21 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©