RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179734
ทั้งหมด:13490966
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2021 1:48 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความก้าวหน้างานโยธา 84.13% ก้าวหน้ากว่าแผน 0.33% แบ่งเป็น
1. งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 คืบหน้า 89.64%
2. งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก คืบหน้า 85.82%
3. งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า คืบหน้า 81.94%
4. งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียะระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ คืบหน้า 76.03%
5. งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร คืบหน้า 84.85% และ
6. งานก่อสร้างระบบราง คืบหน้า 75.42%
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1145153872630629


Last edited by Wisarut on 14/08/2021 11:58 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2021 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อ สิ้นกรกฎาคม 2564 ความก้าวหน้างานโยธา 84.44 % ก้าวหน้ากว่าแผน 0.47% แบ่งเป็น
1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 คืบหน้า 90.23% 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก คืบหน้า 85.99%
3 งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า คืบหน้า 82.29%
4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียะระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ คืบหน้า 76.20%
5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร คืบหน้า 84.89% และ
6 งานก่อสร้างระบบราง คืบหน้า 75.65%
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/1163416407471042
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

ประเทศเสียหายปีละ 4.3 หมื่นล้าน! เหตุเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มช้า ใครต้องรับผิดชอบ?
หน้า เศรษฐกิจมหภาค - อุตสาหกรรม
08 สิงหาคม 2564 เวลา 11:56 น.

ประเทศเสียหายปีละ 4.3 หมื่นล้าน! เหตุเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มช้า ใครต้องรับผิดชอบ? : รายงานพิเศษโดย...ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

วันนี้ (8 ส.ค.64) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อเรื่อง “ประเทศเสียหายปีละ 4.3 หมื่นล้าน! เหตุเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มช้า ใครต้องรับผิดชอบ?” ระบุว่า



จากการที่ รฟม.เปลี่ยนทีโออาร์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มกลางอากาศ จนในที่สุดได้ล้มการประมูล และนำไปสู่การฟ้องคดี ทำให้ไม่สามารถเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ตามกำหนดการเดิม เป็นเหตุให้ประเทศชาติได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ซึ่ง รฟม.ได้ประเมินกรณีเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกช้า พบว่าประเทศจะเสียหายสูงถึงปีละ 4.3 หมื่นล้านบาท ถามว่าใครจะต้องรับผิดชอบ?



รฟม. เปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก



การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร วงเงิน 96,012 ล้านบาท และจัดหารถไฟฟ้ารวมทั้งให้บริหารจัดการเดินรถตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 32,116 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 128,128 ล้านบาท โดยให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 23 กันยายน 2563



แต่ก่อนถึงวันยื่นข้อเสนอ รฟม.ได้ประกาศเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลจากเดิมที่ต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิค ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านผลตอบแทนต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนสูงสุดก็จะชนะการประมูล เป็น “เกณฑ์ใหม่” ซึ่งพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทน โดยให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนด้านผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะชนะการประมูล



ทั้งนี้ จากการที่ รฟม.ได้เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล ทำให้ต้องเลื่อนวันยื่นข้อเสนอออกไปเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563
บีทีเอสฟ้องศาลปกครองขอความเป็นธรรม



การเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลกลางอากาศดังกล่าว ทำให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่ จึงได้ฟ้องต่อศาลปกครอง



แต่ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด รฟม.ได้ยกเลิกการประมูลในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นผลให้บีทีเอสฟ้องต่อศาลคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฯ




รถไฟฟ้าสายสีส้มจะล่าช้ากว่าแผนกี่ปี?



ถึงเวลานี้พบว่าการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าช้ากว่าแผนไปแล้วประมาณ 1 ปี เนื่องจากการประมูลครั้งใหม่ยังไม่คืบ ทั้งนี้ การประมูลครั้งใหม่นั้น รฟม.ตัดสินใจใช้เกณฑ์ใหม่ ซึ่งพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทน ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะชนะการประมูล ไม่ใช้เกณฑ์เดิมซึ่งต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิค ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านผลตอบแทนต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนสูงสุดก็จะชนะการประมูล



จากการตรวจสอบการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของ รฟม. รวมทั้งของหน่วยงานอื่น เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เลือกใช้เกณฑ์เดิมกันทั้งนั้น



กล่าวคือ กรณีหาผู้ร่วมลงทุนจะตัดสินด้วยคะแนนด้านผลตอบแทน ส่วนกรณีหาผู้รับเหมาจะตัดสินด้วยคะแนนด้านราคา ทั้งนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิคก่อน เช่น



1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคของ รฟม. ซึ่งต้องขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองของ รฟม. ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ไม่เคยมีการก่อสร้างในประเทศไทยมาก่อน



2. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของการรถไฟฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และใช้วงเงินลงทุนสูง



3. โครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 (บางปะอิน-นครราชสีมา) และหมายเลข 81 (บางใหญ่-กาญจนบุรี) ของกรมทางหลวง



4. โครงการทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ของการทางพิเศษฯ



5. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ของสำนักงาน EEC



ดังนั้น การที่ รฟม.เลือกใช้เกณฑ์ใหม่ในการประมูลครั้งใหม่ อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน ซึ่งจะทำให้การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าช้าออกไปอีก ประเมินว่าการเปิดให้บริการจะล่าช้ากว่าแผนอย่างน้อย 1 ปี



ทั้งนี้ ตามแผนเดิม รฟม.ต้องการจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในเดือนมีนาคม 2567 และจะเปิดให้บริการตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในเดือนกันยายน 2569



รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร อยู่ในระหว่างการก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 82,907 ล้านบาท ซึ่งถึงวันนี้ (8 สิงหาคม 2564) มีความคืบหน้าประมาณ 85% ใกล้จะแล้วเสร็จ แต่ที่สำคัญ แม้จะสร้างเสร็จแล้วก็ไม่สามารถเปิดให้บริการตามแผนได้ คาดว่าจะล่าช้ากว่าแผนอย่างน้อย 1 ปี เนื่องจาก รฟม.ยังไม่สามารถหาผู้ประกอบการเดินรถได้ เพราะการหาผู้ประกอบการเดินรถถูกผูกรวมอยู่กับการหาผู้ร่วมลงทุน ซึ่งจะต้องมาทำการก่อสร้างส่วนตะวันตก และเดินรถตลอดเส้นทาง

ประเทศเสียหายปีละ 4.3 หมื่นล้าน! เหตุเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มช้า ใครต้องรับผิดชอบ?
ประเทศเสียหายปีละ 4.3 หมื่นล้าน! เหตุเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มช้า ใครต้องรับผิดชอบ?



การเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าช้า จะทำให้ประเทศเสียหายเท่าไหร่?



รฟม.ได้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกล่าช้า พบว่าประเทศจะเสียหายสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท/ปี ประกอบด้วย



1. ค่าดูแลรักษา (Care of Works) โครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออก 495 ล้านบาท/ปี



รฟม.จะต้องเสียค่าดูแลรักษาโครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออกซึ่งกำลังจะแล้วเสร็จ ประกอบด้วยสถานียกระดับ 7 สถานี เป็นเงิน 103 ล้านบาท/ปี และสถานีใต้ดิน 10 สถานี เป็นเงิน 392 ล้านบาท/ปี รวมเป็นเงิน 495 ล้านบาท/ปี



2. ค่าเสียโอกาสเก็บค่าโดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก 1,764 ล้านบาท/ปี



รฟม.ประเมินว่าจะเก็บค่าโดยสารส่วนตะวันออกในปีแรกที่เปิดให้บริการได้ 1,764 ล้านบาท/ปี ซึ่งถ้าเปิดช้าจะทำให้เสียโอกาสได้รับค่าโดยสารจำนวนนี้



3. ค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจ 40,644 ล้านบาท/ปี



การเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกช้าจะทำให้ไม่สามารถบรรเทารถติดในพื้นที่ตามแนวเส้นทางและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องได้ ส่งผลให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเสียเวลาในการเดินทาง รฟม.จึงได้ประเมินเวลาที่ต้องเสียไปเป็นจำนวนเงิน
อีกทั้ง ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการใช้รถส่วนบุคคล เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าซ่อมบำรุงรักษา เหล่านี้ถือว่าเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ซึ่ง รฟม.ได้ประเมินพบว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกช้าจะมีมูลค่าสูงถึง 40,644 ล้านบาท/ปี



ใครต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น?


ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ชัดว่า หาก รฟม.ไม่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล ก็จะไม่มีการเลื่อนการยื่นข้อเสนอ และในที่สุดจะไม่มีการล้มการประมูล การฟ้องร้องก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ความล่าช้าในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รฟม.จะโทษคนอื่นไม่ได้ นอกจากตัวเอง!



แล้วใครจะต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นครับ?


-------------------


ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคน ชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2021 11:52 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:59 น.
#ภาพงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีรถไฟฟ้ายกระดับ 7 สถานี มีความก้าวหน้าในเดือน มิถุนายน 2564 รวม 76.03 % แยกเป็น
📌สถานีสัมมากร 52.72%
📌สถานีน้อมเกล้า 67.24%
📌สถานีราษฎร์พัฒนา 51.22%
📌สถานีมีนพัฒนา 63.69%
📌สถานีเคหะรามคำแหง 70.14%
📌สถานีมีนบุรี 54.61%
📌สถานีแยกร่มเกล้า 68.10%
ดำเนินการโดย สัญญาที่ 4 : บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์
อย่าลืมดูแลตัวเองและครอบครัว สวมหน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์
ไม่ประมาทการ์ดอย่าตก ปลอดภัยโควิด นะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2021 12:02 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:00 น.

#แค่เพียงกำแพงกั้นแล้วเราจะได้พบกันนะ
เก็บภาพมาฝากจ๊า #จุดเชื่อมต่อการเดินทางสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ของรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ได้ดำเนินการก่อสร้างจุดเชื่อมภายในสถานีส่วนใต้ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว อดทนรออีกหน่อยนะ เพื่อการเดินทางสะดวกมากยิ่งขึ้น
#งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพื่ออานาคตการเดินทาง #Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง
#ไม่ประมาทการ์ดอย่าตกกันนะขอให้ทุกคนปลอดภัยจากโควิด-19
หมายเหตุ เป็นภาพถ่าย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ก่อนปิดแคมป์ก่อสร้าง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
04 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:42 น.

เก็บภาพมาฝากให้หายคิดถึงนะ #เราจะสู้ไปด้วยกัน #โควิดเราต้องรอด
4 สิงหาคม 2564 ภาพงานก่อสร้างตามที่ได้รับการพิจารณาอนุญาตผ่อนคลายมาตรการฯ ซึ่งทางผู้รับจ้างได้ทยอยเริ่มงานบางส่วนแล้ว โดยวันนี้จะเก็บภาพงานก่อสร้างตำแหน่งทางขึ้น-ลงที่ 2 งานเทคอนกรีต Ramp Concourse Level To Landing Level ที่สถานีแยกลำสาลี และงานก่อสร้างปล่องระบายอากาศที่ 15 : งานติดตั้ง Central Ring มาให้ชมกันนะคะ โดย สัญญาที่ 3 : ITD ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ทั้งนี้ เราดำเนินการภายใต้มาตรการ Bubble and Seal โดยแรงงานจะจัดเตรียมอาหารกลางวันมารับประทานเอง และขึ้นรถจากแคมป์ที่พักมาลงที่สถานีก่อสร้าง ห้ามออกนอกเส้นทาง ในเวลาพักเที่ยงแรงงานทุกคน จะพักในบริเวณที่ตนทำงานอยู่ เราจะสู้ไปด้วยกัน โควิดเราต้องรอด
#งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพื่ออานาคตการเดินทาง #Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง
#ไม่ประมาทการ์ดอย่าตกกันนะขอให้ทุกคนปลอดภัยจากโควิด-19
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2021 8:34 am    Post subject: Reply with quote

ศาลปค.นัดตัดสินรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีระหว่าง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดี) จากกรณีคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชนและวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำสั่งว่าผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองได้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟสายสีส้มฯและการคัดเลือกตามประกาศดังกล่าวแล้ว เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงไม่มีอยู่ต่อไป ทำให้ศาลปกครองชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี แต่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2021 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.โล่งศาล ปค.สูงสุดสั่งจำหน่ายคดี ”สายสีส้ม” ปมบีทีเอสฟ้องเพิกถอนเปลี่ยนเกณฑ์ประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:50 น.
ปรับปรุง: วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:50 น.

ศาลปกครองสูงสุด สั่งจำหน่ายคดี “บีทีเอส”ฟ้องเพิกถอนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้า”สายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังบีทีเอสยื่นอุทธรณ์ ระบุเมื่อยกเลิกประมูลแล้ว จึงไม่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี ด้านรฟม.เผยประมูลใหม่ รอกก.มาตรา36 เคาะและต้องนำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้ตามมติครม.

รายงานข่าวจากศาลปกครอง แจ้งว่า วันที่ 18 สิงหาคม 2564 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

และให้คำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราว สิ้นผลบังคับลงไปด้วย

เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับยกเลิกโครงการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ในครั้งนี้ไปแล้ว

โดยมติของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ ที่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมทั้งหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน เอกสารเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 อันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งจึงไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้วเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงไม่มีการกระทำที่ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาต่อไป อันเป็นเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหานี้ได้



นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีที่บีทีเอสฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การประมูล หลังจากบีทีเอสอุทธรณ์ไปตามขั้นตอน แต่ยังมีคดีที่บีทีเอสฟ้องเพิกถอนยกเลิกการคัดเลือกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้ง และขอให้คุ้มครองไม่ให้คัดเลือกใหม่ ซึ่งศาลไม่คุ้มครอง แต่รับคดีไว้พิจาณา

นอกจากนี้ บีทีเอส ยังยื่นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ฟ้องผู้บริหาร รฟม. และพวก จำนวน 7 คน ที่เกี่ยวข้องกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในคดีหมายเลขดำที่ อท 30/64 ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ซึ่งศาลยังไม่รับฟ้อง

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท นั้น รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน เมื่อเดือน มี.ค. 2564 ที่ผ่านมาและอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการ คัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ยังมีความรุนแรง ประกอบกับ พ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่บังคับใช้กับกรณีการคัดเลือกเอกชน และล่าสุด คณะรัฐมนตรี มีมติให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการด้วย รฟม.จึงทำหนังสือขอบรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนรอรายชื่อผู้ร่วมสังเกตการณ์ เข้าร่วมประชุม

ศาลปกครอง พิพากษายืนสั่งจำหน่ายคดี 'บีทีเอส' ฟ้อง 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม'
18 สิงหาคม 2564

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนสั่งจำหน่ายคดี บีทีเอส ฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม -รฟม. เหตุมติเดิมที่เป็นเหตุฟ้องคดีถูกยกเลิกไปเเล้ว ไม่มีการกระทำที่จะพิพากษาต่อไป
18 ส.ค. 2564 ที่ศาลปกครอง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36แห่ง พรบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เเละการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2
เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดจากคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครอง (อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีบางข้อหาเพราะเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดสิ้นไป)

คดีนี้ บีทีเอส ฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชนและวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตกการจัดหาระบบรถไฟฟ้าการให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหาฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2ข้อเสนอทางเทคนิคและซองที่ 3ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนรวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2จำนวน 30คะแนนและคะแนนซองที่ 3จำนวน 70 คะแนนในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และให้คำสั่งศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 19 ต.ค.63 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1ไว้เป็นการชั่วคราวสิ้นผลบังคับลงไปด้วย

เนื่องจากศาลฯ พิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีนี้ระหว่างพิจารณาคดีของศาลปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนโครงการรถไฟสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าวเหตุแห่งความเดือดร้อนหรือความเสียหายจากคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้หมดสิ้นไปแล้ว ผู้ฟ้องคดีไม่เป็นผู้เดือดร้อนเสียหายทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป ทั้งไม่มีวัตถุแห่งคดีที่จะให้ศาลกำหนดคำบังคับให้เพิกถอนและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะคืนข้อเสนอและหลักประกันซองให้เอกชนที่ยื่นข้อเสนอไว้ทั้งสองราย



โดยเอกสารข้อเสนอทั้งหมดยังไม่มีการพิจารณาเปิดซองข้อเสนอพร้อมคืนเงินค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอทั้งสองรายที่ได้ชำระไว้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อซองเอกสารคัดเลือกเอกชนทั้งสิบรายสามารถแสดงความจำนงขอคืนเงินค่าซื้อซองเอกสารการคัดเลือกหรือเปิดให้ผู้ซื้อซองเอกสารขอรับซองการคัดเลือกครั้งใหม่ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2จะออกประกาศเชิญชวนใหม่ไม่ต้องเสียเงินค่าซื้อซองเอกสารใหม่อีกกรณีไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อมีคำพิพากษาในประเด็นที่เป็นเนื้อหาคดีนี้อีกต่อไป และต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 39/2564 ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนโครงการรถไฟสายสีส้มฯ และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าวแล้วเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้รวมถึงเหตุแห่งการพิจารณาเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองจึงไม่มีอยู่ต่อไป

ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองขอถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและคำขอระงับการบังคับตามคำสั่งทางปกครองก่อนศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้อนุญาตให้ถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและคำขอให้ระงับคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของศาลและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ในส่วนข้อหาที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมฯ ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จึงหมดสิ้นไป

‘ไร่รวมใจ’ เชิญร่วมเป็นกองหนุนบุคลากรทางการแพทย์ต่างจังหวัดสู้ศึก ‘โควิด’ ผ่านข้าวกล่องสุขภาพ
ตลาดคอนโดให้เช่าโตแรง เน้นพื้นที่ใหญ่ตอบฟังก์ชั่น
เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีตามคำขอที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งพิพาทหมดสิ้นไปแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะให้ศาลต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อออกคำบังคับมาตรา 72วรรคหนึ่ง (1) แห่งพรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542ต่อไปอีก ส่วนความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายจากการที่ผู้ฟ้องคดีได้ไปจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิคในการยื่นข้อเสนอโครงการพิพาทและที่ปรึกษาทางกฎหมายนั้นเป็นคนละส่วนกับเงินค่าซื้อซองเอกสารการคัดเลือกและหลักประกันซองที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะคืนให้จากการยกเลิกการประกาศเชิญชวนฯ และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ และเป็นประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีที่ศาลจะได้พิจารณาพิพากษาต่อไปซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด

โดยวันนี้ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์พยานหลักฐานเเล้ว มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และให้คำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราว สิ้นผลบังคับลงไปด้วย

เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับยกเลิกโครงการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ในครั้งนี้ไปแล้ว
มติของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ ที่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมทั้งหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน เอกสารเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 อันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งจึงไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงไม่มีการกระทำที่ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาต่อไป อันเป็นเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหานี้ได้
รายละเอียดคำวินิจฉัยโปรดอ่านจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดฉบับเต็มที่แนบมาพร้อมนี้

📍 คดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม (คำสั่งจำหน่ายคดีบางข้อหา)
สำนักงานศาลปกครอง
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:24 น.

⚖️ วันที่ 18 สิงหาคม 2564 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และให้คำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราว สิ้นผลบังคับลงไปด้วย
⚖️ เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับยกเลิกโครงการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ในครั้งนี้ไปแล้ว
มติของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ ที่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมทั้งหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน เอกสารเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 อันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งจึงไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงไม่มีการกระทำที่ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาต่อไป อันเป็นเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหานี้ได้
📝 รายละเอียดคำวินิจฉัยโปรดอ่านจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดฉบับเต็มที่แนบมาพร้อมนี้ ⬇️
https://drive.google.com/file/d/1IscGttImv9U5QOXOLbt-c8uTUc4rNRu0/view
Mongwin wrote:
ศาลปค.นัดตัดสินรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564


Last edited by Wisarut on 20/08/2021 1:41 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2021 12:56 am    Post subject: Reply with quote

ต.ค.นี้ ขายซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
19 สิงหาคม 2564 เวลา 19:57 น.

คดียังไม่หมด! รอศาลตัดสินถูกฟ้องละเมิดเอกชน รฟม.โชว์ความโปร่งใสขอเข้าร่วมโครงการข้อตกลงคุณธรรม รอคลังส่งรายชื่อผู้สังเกตการณ์ คณะกรรมการ ม.36 พร้อมประชุมทันที เปิดไทม์ไลน์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ขายซองประมูล ต.ค.นี้ ได้ผู้ชนะ มี.ค.-เม.ย.65 ยันยังไม่กระทบกับการเปิดให้บริการสายสีส้ม ตะวันออก ชี้กลางปี 68 ได้ใช้แน่


เมื่อวันที่ 19 ส.ค. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผ่านระบบ Zoom ว่า ขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีบางข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว แต่ยังมีคดีที่เอกชนฟ้องศาลว่าถูกละเมิด โดยบริษัทเอกชนแจ้งว่าได้รับความเสียหายจากการยกเลิกประมูลประมาณ 5 แสนบาท ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล


นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้เกิดความโปร่งใส จึงได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อขอนำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเข้าร่วมระบบข้อตกลงคุณธรรมด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลังที่จะส่งรายชื่อคณะผู้สังเกตการณ์มาเข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งทันทีที่กระทรวงการคลังส่งรายชื่อมา ทางคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 จะประชุมเตรียมการประมูลทันที คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน และภายในเดือน ต.ค.64 จะประกาศเชิญชวน และจะหน่ายเอกสารการประมูลได้ คาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.65

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า หลังจากได้ผู้ชนะประมูลแล้วผู้รับจ้างจะสามารถเริ่มงานระบบรถไฟฟ้าได้ทันที ซึ่ง รฟม. จะพยายามเร่งรัดงานในส่วนนี้ด้วย เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จทันตามแผนงานที่วางไว้ ไม่กระทบกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเดิมมีแผนจะเปิดให้บริการประมาณกลางปี 68 ส่วนการเดินรถส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) จะเปิดให้บริการได้หลังจากสายตะวันออกประมาณ 3 ปี


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ทิศตะวันออกและตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็น ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กม. 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย).


ถูกฟ้องคดียังไม่จบ!! แต่รถไฟฟ้าสายสีส้มไม่หยุด!!!
*รฟม.ไปต่อขอเกาะระบบ”ข้อตกลงคุณธรรม”
*เปิดไทม์ไลน์ประมูลเริ่มขายซองเดือนต.ค.นี้
*ได้บริษัทผู้ชนะมี.ค.-เม.ย.65เริ่มงานระบบรถ
*ยันยังไม่กระทบแผนให้บริการเส้นตะวันออก
*ช่วง”ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี”ได้นั่งกลางปี68
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2979740248914140

รฟม.ขึงไทม์ไลน์ต.ค.ประมูล”สายสีส้ม-สีม่วงใต้” ยึดกม.จัดซื้อฯ ยันเกณฑ์เทคนิคและราคาเหมาะสม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 สิงหาคม 2564 เวลา 21:51 น.
ปรับปรุง: 19 สิงหาคม 2564 เวลา 21:51 น.



รฟม.ปักธงเร่งประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มหลังศาลจำหน่ายคดีบีทีเอสฟ้อง ลุ้นโควิดคลี่คลาย ต.ค.นี้ขายซองเปิดชิงดำใหม่ คาดมี.ค.65 ได้ตัวผู้ร่วมทุน พร้อมปรับแผนเร่งงานระบบเปิดด้านตะวันออกกลางปี 68 ส่วนสีม่วงใต้ซื้อซองแล้ว 8 ราย ทั้งไทยและต่างชาติ คาดสรุปในม.ค.65

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2564 ที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนฯโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้นในส่วนของรฟม.จะเดินหน้าในการประมูลคัดเลือกตามขั้นตอน ซึ่งได้มีการเปิดรับฟัง เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนแล้ว

เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ยังมีความรุนแรง ประกอบกับพ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่บังคับใช้กับกรณีการคัดเลือกเอกชน และจะต้องบรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในข้อตกลงคุณธรรม ดังนั้น หากสถานการณ์คลี่คลาย รฟม.จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนทันที โดยคาดการณ์จะสรุป TOR และออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในเดือนต.ค. 2564 และสรุปผลการพิจารณาคัดเลือก และได้ตัวผู้ร่วมทุนประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. 2565

ผู้ว่าฯรฟม.ยอมรับว่า การประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมทุนฯโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มล่าช้าจากแผน แต่ยังสามารถเร่งรัดได้ โดยรฟม.ปรับแผนงาน ให้เอกชนเข้าดำเนินการติดตั้งระบบของสายสีส้มด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ทันที เนื่องจากขณะนี้งานโยธาของด้านตะวันออกมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่งจะสามารถเปิดเดินรถด้านตะวันออกได้ตามแผนช่วงกลางปี 2568 ส่วนด้านตะวันตก จะเร่งรัดการก่อสร้างและติดตั้งระบบ ซึ่งตามแผน จะเปิดให้บริการหลังจากเปิดด้านตะวันออกไปแล้วประมาณ 3 ปี หรือเปิดช่วงปี 2571

@เอกชนไทย-เทศ 8 รายซื้อซองประมูลสีม่วงใต้ คาดม.ค.65 ได้ผู้รับจ้าง

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า รฟม.ได้ดำเนินการเปิดขายเอกสารประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา จำนวน 6 สัญญา ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2564 จนถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ส.ค. 2564) มีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาฯ แล้วทั้งสิ้น 8 ราย โดยแบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย

โดยกำหนดยื่นเอกสารประมูลวันที่ 8 ต.ค.2564 ใช้เวลาประเมินข้อเสนอ ถึงปลายเดือนธ.ค.2564 คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างทั้ง 6 สัญญา ในเดือนม.ค.2565

ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ฯ รฟม. ได้ลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 โดยการดำเนินการในทุกขั้นตอนของประกวดราคาฯ เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

สำหรับกรณีที่ มีการนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ในประเด็นการกำหนดให้ใช้ผลงานที่เป็นของหน่วยงานรัฐภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว นั้น ที่ผ่านมา การประมูลก่อสร้างงานโยธาของรฟม. ได้ใช้วิธีประกวดราคานานาชาติภายใต้ข้อบังคับ รฟม. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ในขณะที่การประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เป็นการประกวดราคานานาชาติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกอบกับการวินิจฉัยตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 กรณีผลงานกับรัฐให้หมายถึงผลงานกับรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ การกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯต้องมีการออกแบบก่อสร้างอุโมงค์และสถานีใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ และโบราณสถานต่างๆ มากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้างและประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จ มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ในขณะที่การอ้างอิงผลงานต่างประเทศ จะตรวจสอบข้อมูลโครงการได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นประเภทงาน มูลค่าผลงานที่แท้จริง คุณภาพของผลงานที่แล้วเสร็จ รวมถึงประเด็นปัญหาระหว่างดำเนินการก่อสร้างและการที่ไม่ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างสามารถใช้ผลงานเอกชนที่ รฟม. เชื่อถือได้นั้น

เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้า หรือโครงการระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีผลงานประเภทเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ในประเทศไทย มีหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการทั้งหมด ดังนั้น รฟม. จึงไม่ได้พิจารณาให้ใช้ผลงานจากหน่วยงานเอกชนซึ่งสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดให้หน่วยงานพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมหรือจำเป็น
ส่วนการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอ ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30:70 นั้น เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านสถานที่สำคัญและอ่อนไหวหลายแห่ง เช่น รัฐสภาแห่งใหม่ โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย วัดต่างๆ รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคทางวิศวกรรมในการออกแบบและก่อสร้างขั้นสูงจากผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผน

การกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา มีจุดประสงค์เพื่อให้การดำเนินโครงการได้รับประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงจุดประสงค์ทางด้านราคาที่ต่ำเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อเสนอด้านเทคนิคที่มีความเหมาะสมหรือดีที่สุดด้วยเป็นไปตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 65 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ข้อ 83 (2) ประกอบกับหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค(กวจ)0405.2/ว198 เรื่องแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงเพียงพอและ มีความเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานโครงได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้

ซึ่งมีตัวอย่างโครงการที่ ใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา เช่น โครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) สนามบินสุวรรณภูมิ งานจ้างปรับปรุงระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด และงานจ้างปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระในโครงการพัฒนา สนามบินสุวรรณภูมิ การจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

รวมถึงในโครงการร่วมลงทุนสาธารณูปโภคของภาครัฐขนาดใหญ่ เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน - ปากเกร็ด (โครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ – บางพูน - บางไทร) โครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอย โดยระบบเตาเผามูลฝอย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมของกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เกณฑ์คะแนนรวมด้านเทคนิคกับผลตอบแทนด้านการเงิน รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ก็ใช้เกณฑ์การประเมินคะแนนรวมด้านเทคนิคกับด้านผลตอบแทนเช่นกัน



รฟม.อัพเดต ปักหมุดเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้ม ปี 2570
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 21:13 น.


ผู้ว่าการ รฟม. แถลงอัพเดตสายสีส้ม ลุ้นประมูลใหม่ ตุลาคมนี้ คาดได้เอกชนก่อสร้างฝั่งศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ปีหน้า

วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 18.30 น. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แถลงข่าวผ่านระบบ ZOOM ว่า ความคืบหน้าในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 128,128 ล้านบาท และการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ราคากลางที่ 78,720 ล้านบาท (ค่างานโยธา 77,385 ล้านบาท และค่างานก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาท) ดังนี้



1. ความคืบหน้าในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.ได้ออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ตามประกาศดังกล่าว โดยติดประกาศ ณ ที่ทำการ รฟม. และเผยแพร่ทางหน้าเว็บไซต์ www.mrta.co.th เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564


2) รฟม.ได้ยื่นคำร้องชี้แจงข้อเท็จจริงและขอให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ต่อศาลปกครองกลาง และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่ง ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้เหตุผลว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีตามคำขอที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งพิพาทหมดสิ้นไป ไม่มีเหตุที่จะให้ศาลต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อออกคำบังคับตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ต่อไปอีก และศาลยังได้มีคำสั่งให้คำสั่งศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 สิ้นผลบังคับลงไปด้วย

และเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ศาลปกครองกลางได้นัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2564 โดยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยืนตามที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีบางข้อหา

เข้าข้อตกลงคุณธรรม
3) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เห็นชอบการนำแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหรือการร่วมลงทุนภายใต้กฎหมายอื่น นอกเหนือจากพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ไปกำหนดใช้โดยอนุโลม

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ปราศจากข้อครหาในการดำเนินงาน รฟม.จึงได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เสนอคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตเพื่อพิจารณาบรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)


โดยคาดว่าจะสามารถออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนได้ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 นี้ โดยจะใช้เวลายื่นข้อเสนอประมาณ 60 วัน จากนั้นจะเป็นช่วงของการพิจารณาซองข้อเสนอ และคาดว่าประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน 2565 จะได้ตัวเอกชนร่วมลงทุน

ปักเป้าเปิดปี’68
ทั้งนี้ จะเร่งรัดเอกชนที่ได้ตัวเข้าพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อวางงานระบบเดินรถและจัดหาขบวนรถไฟฟ้าก่อน เพราะตอนนี้ตัวโครงการถไฟฟ้าสายสีส้มได้ดำเนินการก่อสร้างฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กม. คืบหน้าไปมากแล้ว จึงคาดว่าการเปิดให้บริการฝั่งตะวันออกน่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 และจะเปิดให้บริการทั้งสายทางในปี 2570

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)


ผ่านสถานที่สำคัญเยอะ เลยใช้เทคนิคร่วมราคาตัดเกรด
2) ประเด็นการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอในการประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30 : 70


Last edited by Wisarut on 21/08/2021 4:28 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2021 1:37 am    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส' ลุ้นอีก 3 คดีสายสีส้ม รฟม.ยื้อเคาะร่างทีโออาร์
19 สิงหาคม 2564

ศาลปกครองสูงสุดจำหน่ายคดี “บีทีเอส” ฟ้อง รฟม.ปมสายสีส้ม ด้าน “สุรพงษ์” เผยมีอีก 3 คดี รอศาลพิจารณากรณีปรับหลักเกณฑ์ประมูล-ล้มประมูล ด้าน รฟม.ชี้ติดโควิดเลื่อนนัดประชุม ม.36 คลอดทีโออาร์ใหม่
เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2564 ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เเละการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดจากคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครอง

ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของ รฟม. ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

และให้คำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2563 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราว สิ้นผลบังคับลงไปด้วย

โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับยกเลิกโครงการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้ไปแล้ว

ADVERTISEMENT


มติของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ที่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมทั้งหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน เอกสารเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 อันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งจึงไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้วเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีในข้อหาที่หนึ่งไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงไม่มีการกระทำที่ศาลปกครองจะพิจารณาพิพากษาต่อไป อันเป็นเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในข้อหานี้ได้


นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดจากคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครอง (อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีบางข้อหาเพราะเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดสิ้นไป) บีทีเอสในฐานะผู้ยื่นฟ้องรับทราบข้อพิจารณาดังกล่าว

“ศาลตัดสินไม่เหนือความคาดหมาย เรายื่นอุทธรณ์เรื่องนี้เพราะต้องการให้ปรากฏในชั้นศาล เนื่องจากการพิจารณาของศาลชั้นต้นพิจารณาเรื่องนี้ไปแล้ว และทาง รฟม.ก็ยังเดินหน้าต่อ จนกระทั่งมีการพิจารณาจำหน่ายคดี เราเลยต้องยื่นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการศาลที่สามารถดำเนินการได้”

บีทีเอสลุ้นศาลอีก3คดี

อย่างไรก็ดี การยื่นฟ้องระหว่างบีทีเอส และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ รฟม.เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ปัจจุบันยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 3 คดี ประกอบด้วย

1.ศาลปกครอง คดีที่ภาครัฐออกประกาศยกเลิกประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการชี้แจงข้อมูล

2.คดีเรียกร้องค่าเสียหาย จากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกวดราคา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี

3.คดีตามกระบวนการศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 1 คดี ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอนัดไต่สวน

‘ไร่รวมใจ’ เชิญร่วมเป็นกองหนุนบุคลากรทางการแพทย์ต่างจังหวัดสู้ศึก ‘โควิด’ ผ่านข้าวกล่องสุขภาพ
ตลาดคอนโดให้เช่าโตแรง เน้นพื้นที่ใหญ่ตอบฟังก์ชั่น
กต. แจงปมตั้งงบฯ 'รถประจำตำแหน่ง - ซื้อตู้แช่ไวน์' ยันอายุเกินกว่าใช้งาน
กมธ.ตรวจสอบประมูล

รายงานข่าว เปิดเผยว่า นอกจากกระบวนทางกฎหมายที่บีทีเอสยื่นฟ้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกวดราคา และยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ดำเนินการโดย รฟม. ขณะนี้ยังมี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทยเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบการดำเนินโครงการนี้ด้วย

“ช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการชุดนี้ ได้เริ่มเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึง รฟม.และบีทีเอส ไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชน และการยกเลิกประกวดราคา รวมทั้งยังเรียกหน่วยงาน และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปเพิ่มเติม คาดว่าเร็วๆ นี้ น่าจะมีผลการพิจารณาเรื่องนี้ออกมา”

รอคลอดเอกสารประมูลใหม่

รายงานข่าวระบุว่า ความคืบหน้าของการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่นั้น ขณะนี้พบว่า รฟม.ยังอยู่ระหว่างจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ภายหลังจากเปิดรับฟังความเห็นไปแล้ว และยังไม่มีการนัดประชุมคณะกรรมการ ม.36 เพื่อพิจารณาทีโออาร์ใหม่ โดยให้เหตุผลว่ายังติดปัญหาโควิด 19 ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถนัดประชุมคคณะกรรมการ ม.36 เพื่อพิจารณาทีโออาร์และประกาศประกวดราคา

ก่อนหน้านี้ รฟม.เคยประเมินว่าหลังจากยกเลิกการประมูลครั้งที่ 1 ไปแล้ว จะดำเนินการออกเอกสารการประมูลใหม่ โดยจะเปิดให้มีการรับฟังความเห็นและเปิดขายเอกสารในเดือน เม.ย.2564 และให้เวลาเอกชนเตรียมข้อเสนอ 60 วัน หลังจากนั้นให้เอกชนยื่นข้อเสนอ ซึ่งกำหนดเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในเดือน มิ.ย.2564 เข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อรอง มิ.ย.-ก.ค.นี้ หากแล้วเสร็จภายใน ก.ค.ก็จะเสนอคณะกรรมการ ม.36 และเสนอ ครม.ภายในเดือน ส.ค.2564

สำหรับการประมูลรถไฟสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถตลอดเส้นทางสายสีส้ม (มีนบุรี-บางขุนนนท์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 142,789 ล้านบาท ต้องยุติลงเมื่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เห็นชอบให้ล้มการประมูลวันที่ 3 ก.พ.2564 ซึ่งก่อนหน้านั้นมีผู้ยื่นซอง 2 ราย คือ

1.กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์

2.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม

ในขณะที่การประมูลรอบแรกมีผู้ซื้อซองทั้งหมด 10 ราย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2021 2:49 am    Post subject: Reply with quote

โต้ รฟม. ปมเกณฑ์ประมูลฉาว รถไฟฟ้า สายสีส้มน่าเวทนา! “อ้างผิดโครงการ”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
22 สิงหาคม 2564 เวลา 10:25 น.

"สามารถ ราชพลสิทธิ์" โต้ รฟม. ปมเกณฑ์ประมูลฉาว รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีม่วงใต้ ไม่ต่างกับรถไฟฟ้าไร้คนขับสนามบินสุวรรณภูมิ น่าเวทนา! “อ้างผิดโครงการ”



ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ว่าการ รฟม.ได้ออกมาชี้แจงเสียงวิพากษ์วิจารณ์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ แม้ว่าไม่ได้ระบุว่าเป็นการชี้แจงต่อข้อสงสัยของผมก็ตาม แต่ผู้ที่ติดตามเรื่องนี้ย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นการชี้แจงข้อสงสัยของ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงจำเป็นต้องโต้แย้งคำชี้แจงของท่าน ซึ่งไม่ได้ชี้แจงให้ตรงประเด็นข้อสงสัยอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ผู้ที่ติดตามเข้าใจคลาดเคลื่อน

สรุปคำชี้แจงของ รฟม.ได้ 3 ประเด็น ดังนี้

1. เกณฑ์ประมูล

1.1 ตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใด รฟม.จึงเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจาก “เกณฑ์เดิม” ซึ่งต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิค (กรณีสายสีส้มตะวันตก ต้องได้ไม่น้อยกว่า 85%) ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านราคา (กรณีสายสีส้มตะวันตกใช้ “ผลตอบแทน”)

ต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ในวงการประมูลมักเรียกเกณฑ์นี้ว่า “เกณฑ์ราคา” (แต่อย่าลืมว่าต้องผ่านเทคนิคก่อน) ซึ่งเป็นที่ยอมรับและยึดถือปฏิบัติกันตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของ รฟม. และของหน่วยงานอื่น

รฟม.เปลี่ยนไปใช้ “เกณฑ์ใหม่” ซึ่งต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านราคาหรือผลตอบแทน มักเรียกเกณฑ์นี้ว่า “เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา” กรณีรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกและสีม่วงใต้ รฟม.กำหนดคะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนด้านผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะชนะการประมูล

โต้ รฟม. ปมเกณฑ์ประมูลฉาว รถไฟฟ้า สายสีส้มน่าเวทนา! “อ้างผิดโครงการ”
โต้ รฟม. ปมเกณฑ์ประมูลฉาว รถไฟฟ้า สายสีส้มน่าเวทนา! “อ้างผิดโครงการ”


1.2 รฟม.ชี้แจงว่าเหตุที่ใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกและสีม่วงใต้ เนื่องจากรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้มีเส้นทางผ่านพื้นที่สำคัญและอ่อนไหวหลายแห่ง รวมถึงพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จึงจำเป็นต้องได้ผู้ชนะการประมูลที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูง

1.3ข้อโต้แย้งว่าถ้าเป็นไปตามข้ออ้างดังกล่าวจริง รฟม.ต้องใช้เกณฑ์ราคา เพราะเป็นเกณฑ์ที่ให้ความสำคัญข้อเสนอด้านเทคนิคถึง 100% เต็ม การใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาเป็นการลดทอนความสำคัญข้อเสนอด้านเทคนิคลงจากเดิมที่มีคะแนนเต็ม 100% เหลือ 30% เท่านั้น ซึ่ง “ย้อนแย้ง” กับเหตุผลของ รฟม.ที่อ้างว่าต้องการได้ผู้ชนะการประมูลที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูง

อีกทั้ง ขอยกตัวอย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ซึ่งมีเส้นทางลอดใต้เกาะรัตนโกสินทร์และต้องขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรกก็ใช้เกณฑ์ราคา ปรากฏว่า รฟม.สามารถคัดเลือกผู้รับเหมาที่ทำให้งานก่อสร้างสำเร็จสมบูรณ์ และได้เปิดใช้งานในปี 2562 ทั้งๆ ที่ผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลไม่เคยมีประสบการณ์ในการขุดเจาะอุโมงค์ใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน จึงถือได้ว่าเกณฑ์ราคาเป็นเกณฑ์ที่ใช้ได้ผลดี

นอกจากนี้ ได้ยกตัวอย่างการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ซึ่งมีเส้นทางผ่านแหล่งชุมชนหนาแน่นและสถานที่สำคัญหลายแห่งโดยใช้เกณฑ์ราคาเช่นเดียวกัน ปรากฏว่า รฟม.สามารถคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์สูงจนทำให้งานก่อสร้างมีความคืบหน้าตามแผนงานที่วางไว้



1.4 รฟม.ไม่ได้ชี้แจงข้อสงสัยในประเด็น “ความย้อนแย้ง” และในประเด็นการใช้เกณฑ์ราคากับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายและสายสีส้มตะวันออกที่ได้ผลดี แล้วทำไมจึงไม่ใช้เกณฑ์ราคากับโครงการอื่นอีก?

รฟม.พยายามยกตัวอย่างโครงการที่ใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาของหน่วยงานอื่นซึ่งมีไม่มาก รวมทั้งโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม.แค่เพียงโครงการเดียวเท่านั้นที่เคยใช้เกณฑ์นี้เมื่อกว่า 20 ปีแล้ว

1.5 ขอโต้แย้งว่าโครงการทั้งหลายที่ รฟม.อ้างนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่โครงการรถไฟฟ้า และไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่อย่างเช่นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกและสีม่วงใต้ บางโครงการมีปัญหาถูกร้องเรียน เหตุที่ยกตัวอย่างโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม.เพียงแค่ตัวอย่างเดียวเป็นเพราะโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม.ใช้เกณฑ์ราคาทั้งนั้น ใช่หรือไม่? ถ้าเกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาใช้ได้ผลดี แล้วทำไม รฟม.จึงเลิกใช้ไปอย่างยาวนาน น่าเสียดายที่ รฟม.ไม่ได้ยกตัวอย่างโครงการที่ใช้เกณฑ์ราคาซึ่งมีมากมายโดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า

“ที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่งก็คือ รฟม.อ้างว่าโครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover หรือ APM) ในสนามบินสุวรรณภูมิก็ใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา รฟม.ไม่รู้จริงๆ หรือว่า มีการใช้เกณฑ์นี้ในการประมูลแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต้องยกเลิกการประมูลไป 2 ครั้ง สุดท้ายในการประมูลครั้งที่ 3 ต้องใช้เกณฑ์ราคา”

อีกโครงการหนึ่งที่ รฟม.อ้างว่าใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา นั่นก็คือโครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอยโดยระบบเตาเผามูลฝอย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมของ กทม. ก่อนอ้างโครงการใดโครงการหนึ่ง รฟม.ควรรู้ภูมิหลังของโครงการนั้นก่อนว่ามีปัญหาถูกร้องเรียนหรือไม่ สำหรับโครงการนี้นั้นในระหว่างการประมูลมีเสียงวิจารณ์ว่าอาจเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย จึงมีการร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช. อีกทั้ง ถูก ส.ส.ฝ่ายค้านนำไปอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่ควรนำมาอ้าง

นอกจากนี้ รฟม.ยังได้ควานหาโครงการทางด่วนที่ใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคามาอ้าง ซึ่งพบว่ามี 2 โครงการ เป็นโครงการที่ประมูลนานมาแล้ว ประกอบด้วยโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ซึ่งประมูลนานกว่า 30 ปีแล้ว และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ซึ่งประมูลนานเกือบ 30 ปีแล้ว แต่ทำไมจึงไม่พูดถึงโครงการทางด่วนสายอื่นที่ล้วนแล้วแต่ใช้เกณฑ์ราคา โดยเฉพาะทางด่วนสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ที่บางสัญญาอยู่ในระหว่างการประมูล บางสัญญาเพิ่งประมูลเมื่อไม่นานมานี้

2. ผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอ

2.1 ตั้งข้อสงสัยกรณีประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ซึ่งเป็นการประกวดราคานานาชาติ แต่ รฟม.กำหนดให้ผู้เข้าประมูลจะต้องมีผลงานกับ “รัฐบาลไทย” เท่านั้น นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาต่างชาติที่มีขีดความสามารถแต่ไม่มีผลงานกับรัฐบาลไทย จะไม่สามารถเข้าประมูลได้ ซึ่งต่างกับการประกวดราคานานาชาติในโครงการอื่นของ รฟม.และของหน่วยงานอื่นที่อนุญาตให้ใช้ผลงานในต่างประเทศได้ แม้ว่าผมจะสนับสนุนผู้รับเหมาไทยก็ตาม แต่เราจะต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้รับเหมาต่างชาติด้วย

2.2 รฟม.ชี้แจงว่าได้ทำถูกต้องตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

2.3 ขอโต้แย้งโดยให้ รฟม.กลับไปดู พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 8(2) ที่บัญญัติว่า “ต้องเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน” และระเบียบการทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 45 ที่ระบุว่า “ต้องไม่มีการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม”

ทำไม รฟม.ไม่พูดถึงมติ ครม. 28 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งมุ่งหวังให้การประกวดราคานานาชาติมีการแข่งขันอย่างกว้างขวาง และให้ได้มาซึ่งผู้ที่ชำนาญ อีกทั้ง ทำไมไม่เหลียวดูหนังสือกระทรวงคมนาคม ที่ คค 0208/2840 ลงวันที่ 7 เมษายน 2560 ที่ต้องการให้การประกวดราคานานาชาติช่วยลดการสมยอมราคา (ฮั้ว) ซึ่งถ้าเปิดให้ผู้รับเหมาต่างชาติเข้าแข่งขันได้หลายราย จะช่วยลดการฮั้วได้

2.4 รฟม.อ้างว่าทำถูกต้องตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 กรณีผลงานกับรัฐให้หมายถึงผลงานกับรัฐบาลไทยเท่านั้น

2.5ขอโต้แย้งว่าการที่ รฟม.อ้างว่าได้ปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าวไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการอธิบายคำนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ตามแบบฟอร์มมาตรฐานที่ใช้บังคับกับการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปว่าหมายถึงหน่วยงานของรัฐไทยเท่านั้น แต่สามารถปรับเปลี่ยนข้อความในแบบฟอร์มนี้ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ โดยไม่ทำให้รัฐเสียเปรียบ (อ้างอิงข้อ 43 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกอบหนังสือที่ กค (กจว) 0405.3/59110 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563)จึงมีเหตุชวนให้น่าสงสัยว่า ทำไม รฟม.จึงไม่ปรับเปลี่ยน “หน่วยงานของรัฐ” ให้หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐ ตปท.ด้วย

3. ข้อกฎหมาย

3.1 รฟม.มักกล่าวอ้างเสมอว่าได้ดำเนินการประมูลถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่เกี่ยวข้อง

3.2ขอให้ รฟม.ย้อนไปดู พรบ. ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่ผมได้อ้างถึงข้างต้นว่า รฟม.ได้ทำถูกต้องจริงหรือไม่? ที่สำคัญ “การอ้างว่าได้ทำถูกต้องตามกฎ ระเบียบทุกอย่างนั้นก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น และไม่สามารถรับประกันได้ว่าประเทศชาติจะได้ประโยชน์สูงสุด”

3.3 รฟม.อ้างว่าจะจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก

3.4ถามว่า ถ้ามีข้อตกลงคุณธรรมแล้ว จะป้องกันการทุจริตหรือการฮั้วได้จริงหรือ? เนื่องจากหลายโครงการที่มีข้อตกลงคุณธรรมแต่กลับมีปัญหาในการประมูล เช่น รถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานที่ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางแค่เพียง 0.08% เท่านั้น

รฟม.ไม่ชี้แจงกรณีประเทศเสียหายปีละ 4.3 หมื่นล้าน

ตั้งข้อสงสัยว่า หาก รฟม.ไม่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ก็จะไม่มีการล้มการประมูล ความล่าช้าในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มก็จะไม่เกิดขึ้น ประเทศก็จะไม่เสียหาย ซึ่ง รฟม.ได้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกล่าช้า พบว่าประเทศจะเสียหายสูงถึงปีละ 4.3 หมื่นล้านบาท แล้วใครจะต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น?

สรุป

ในอดีตที่ผ่านมา ไม่เคยมีการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้ากลางอากาศมาก่อน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่ผู้บริหาร รฟม.จะชี้แจงให้มีเหตุผลที่น่ารับฟัง หรือไม่ย้อนแย้งกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นใจผู้บริหาร รฟม.อย่างยิ่งที่อยู่ในสภาพ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก”เชื่อว่าข้อสงสัยและข้อโต้แย้งของผมนั้นมีเหตุผลที่ผู้บริหาร รฟม.ยอมรับได้ แต่ไม่สามารถพูดออกมาได้ว่าเห็นด้วย จำเป็นต้องค้าน มีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่?

ทั้งนี้หากใครเห็นด้วย ก็ไม่จำเป็นต้องเปล่งเสียงออกมา แค่พยักหน้าเท่านั้นก็เพียงพอ ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ ทั้งผม ดร.สามารถ และประชาชน ทุกคน ชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 89, 90, 91  Next
Page 55 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©