Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270583
ทั้งหมด:13581872
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 402, 403, 404 ... 474, 475, 476  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 1:46 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเดินสายมอบของช่วยชาวบ้าน
เศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16.30 น.

รฟท.ช่วยเหลือเกษตรกร รับมอบ เงาะ 3,000 กิโล แจกประชาชนตามชุมชน กระทบโควิด-19
หน้าข่าวทั่วไป
วันพุธ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:47 น.


เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เวลา 10.30 น.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่ชุมชนซอยโรงน้ำแข็ง เขตลาดพร้าว นำอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ภายใต้โครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด” ซึ่งเป็นโครงการที่นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ร่วมผนึกกำลังกับบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) จิตอาสาโครงการต้องรอด โดยกลุ่ม อัพ ฟอร์ ไทย (Up for Thai) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน องค์กรต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่จิตอาสาร่วมแจกอาหารทั้งหมด 2,000,000 กล่อง กระจายไปสู่ชุมชนใน 40 จุดทั่วกรุงเทพฯ เพื่อช่วยเหลือและให้กำลังใจประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีทั้งผู้ที่ขาดรายได้ ว่างงาน กลุ่มเปราะบาง กลุ่มที่ต้องแยกกักตัวดูอาการ และผู้ที่รักษาตัวที่บ้านหรือ Home Isolation



ทั้งนี้ ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปัจจุบัน หลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีเป้าหมายเดียวกันในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมทำหน้าที่ในการช่วยเหลือดูแลประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือต้องกักตัวในที่พักอาศัย เป็นการสร้างกำลังใจให้ทุกคนสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

การรถไฟฯ นำผลผลิตโครงการต้นแบบสถานี/ซุ้มสวยงาม พืชผักกินได้ มาประกอบอาหารแจกจ่ายช่วยประชาชน พนักงาน ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายสุชีพ สุขสว่าง รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ รับมอบผลผลิต พืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ จากโครงการต้นแบบสถานี/ซุ้มสวยงาม พืชผักกินได้ ซึ่งปลูกโดยพนักงาน และลูกจ้างการรถไฟฯ ในสถานีต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารกล่อง นำไปแจกจ่ายช่วยเหลือประชาชน ชุมชน ตลอดจนครอบครัวพนักงาน ลูกจ้างการรถไฟฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ชุมชน ตลอดจนพนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
โดยในวันนี้ (20 สิงหาคม 2564) การรถไฟฯ ได้นำผลผลิตของโครงการไปประกอบเมนูอาหารกลางวันนำไปมอบให้กับประชาชน พนักงาน ลูกจ้างและครอบครัวที่ชุมชนรถไฟล้อเหล็ก ชุมชนร่วมพัฒนา เชื้อเพลิง 2 (ย่านสถานีแม่น้ำ) และโรงรถดีเซลรางกรุงเทพ พร้อมเจลแอลกอฮอล์ เพื่อส่งต่อกำลังใจให้ทุกคน ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4883955088285990
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4896736333674532
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 1:48 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย สนับสนุนมาตรการสาธารณสุขของรัฐ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4896808873667278
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 10:59 am    Post subject: Reply with quote

หน้าตารถจักรโหลดเพลา 16 ตัน ที่กำลังประกอบตัวรถจักรอยู่

ธีรยุทธ ขุนขำ wrote:
เห็นภาพรถจักรรุ่นใหม่ที่การรถไฟสั่งมาเพิ่มอีก50คัน น่าจะมีระบยการทำงานที่ ไม่ค่อยแตกต่างจากcsrแต่เป็นรถจักรประเภท16ตันเพลา อยากให้บริเวณด้านหน้ามีความเเข็ง ออกแบบให้ท่อลมต่างๆ อยู่ในมุมที่ไม่ถูกชนง่าย(แต่คิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะเอาไว้ตรงไหนที่จะสดวกใช้งาน)ขอชื่นชมว่ารถจักร csrแม้ว่าจะผลิตมาจากจีน จะมีโครงสร้างตัวถังที่แข็งแรงมาก เวลามีอุบัติเหตุหนัก โครงสร้างตัวรถเกือบไม่ได้รับความเสียหายมากนัก

https://www.facebook.com/groups/923310448202985/posts/1084478978752797/
https://www.facebook.com/TrainBusAirplane/posts/382964216733832
https://www.facebook.com/anwar.deae/posts/5178917725457746


Last edited by Wisarut on 26/08/2021 7:57 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2021 2:26 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแล้ว รถไฟขบวนพิเศษ มุ่งลงใต้ รับ-ส่งพัสดุ ตลอดเส้นทาง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 26 ส.ค. 64

Click on the image for full size

วันแรกที่การรถไฟเปิดให้บริการ ขบวนพิเศษ รับ-ส่ง พัสดุ ตลอดเส้นทางสายใต้ กรุงเทพ-สุไหงโกลก-กรุงเทพ จากกรุงเทพ ไปภาคใต้และจากภาคใต้ เข้ากรุงเทพ เริ่ม 28 สิงหาคมเป็นต้นไป โดยในเดือนสิงหาคม 2564 จะให้บริการเดินรถวันเว้นวัน รอออกต้นทางเฉพาะวันเลขคู่ ส่วนในเดือนกันยายน 2564 จะเดินรถวันเว้นวัน รถออก ต้นทางเฉพาะวันเลขคี่

ขณะที่ บรรยากาศโดยทั่วไป ที่สถานีรถไฟยะลา พบว่ามีประชาชนมาใช้บริการโดยสารรถท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้นที่สถานีรถไฟยะลา รวมทั้งมีการใช้บริการส่งสินค้าไปกับทางรถไฟ เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ต่างๆ

เจ้าหน้าที่รถไฟบอกว่า วันนี้เป็นวันแรกที่การรถไฟจะเดินรถเฉพาะรับ-ส่ง พัสดุ จาก กทม. มายังพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่หยุดให้บริการไปนาน ด้วยสถานการณ์โควิด-19 แต่เป็นรถขบวนพิเศษเฉพาะสินค้าเท่านั้น โดยจะผ่านมาลงของที่สถานีรถไฟยะลาและต่อไปยังสถานีสุไหงโกลก ตอนนี้ประชาชนก็สามารถใช้บริการรับ-ส่งสินค้า ผลไม้ต่างๆ ได้แล้ว ส่วนอัตราหีบห่อ ก็ใช้ค่าบริการคงเดิม จะช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการรับ-ส่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดแล้ว รถไฟขบวนพิเศษ มุ่งลงใต้ รับ-ส่งพัสดุ ตลอดเส้นทาง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 26 ส.ค. 64


ตามข่าวนี้สินะ
การรถไฟฯ เปิดเดินรถขบวนพิเศษขนส่งสินค้าเส้นทางภาคใต้ อำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าและผลไม้ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว แก่ประชาชนและพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ เริ่ม 26 สิงหาคม ถึง 1 ตุลาคมนี้
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 16.27 น.
‘การรถไฟฯ’ เปิดเดินรถขบวนพิเศษขนส่ง ‘สินค้า-ผลไม้’ เส้นทางภาคใต้รับ-ส่ง 33 สถานี เริ่ม 26 ส.ค.-1 ต.ค.นี้
Last updated วันที่ 26 สิงหาคม 2564

ตามคำเรียกร้อง! รฟท.เปิดขบวนรถพิเศษสายใต้ขนส่งสินค้า-ผลไม้ ช่วยเหลือเกษตรกร
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 17.35 น.
ปรับปรุง: วันที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 17.35 น.

Click on the image for full size
Click on the image for full size
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้เปิดเดินรถขบวนพิเศษนำร่องขนส่งสินค้าประเภทหีบห่อเส้นทางภาคใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าให้แก่เกษตรกร และประชาชนในช่วงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) รวมถึงรองรับผลผลิตทางเกษตรที่จะออกมาจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ ให้สามารถขนส่งได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โดยการรถไฟฯ จะเปิดให้บริการรถขบวนพิเศษ แบบวันเว้นวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม – 1 ตุลาคม 2564 มีรายละเอียด ดังนี้
เที่ยวไป
เริ่มวันที่ 26, 28, 30 สิงหาคม และวันที่ 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 17, 19, 21, 23, 25, 27, 29 กันยายน 2564
- ขบวนรถด่วนที่ 985 กรุงเทพ – สุไหงโกลก ออกจากกรุงเทพ เวลา 12.00 น. ถึงสุไหงโกลก เวลา 12.10 น. (วันรุ่งขึ้น)
เที่ยวกลับ
เริ่มวันที่ 28, 30 สิงหาคม วันที่ 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 17, 19, 21, 23, 25, 27, 29 กันยายน และวันที่ 1 ตุลาคม 2564
- ขบวนรถด่วนที่ 986 สุไหงโกลก - กรุงเทพ ออกจากสุไหงโกลก เวลา 11.40 น. ถึงกรุงเทพ เวลา 13.00 น. (วันรุ่งขึ้น)
ทั้งนี้ ขบวนรถขนส่งสินค้าจะให้บริการรับ-ส่งสินค้าตามสถานีรายทาง จำนวน 33 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ สามเสน ชุมทางบางซื่อ บางบำหรุ ศาลายา นครปฐม บ้านโป่ง โพธาราม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สวี หลังสวน ไชยา สุราษฎร์ธานี นาสาร บ้านส้อง คลองจันดี ชุมทางทุ่งสง ชะอวด พัทลุง ชุมทางหาดใหญ่ จะนะ เทพา ปัตตานี ยะลา รือเสาะ ตันหยงมัส สุไหงปาดี และสุไหงโกลก
นายนิรุฒกล่าวว่า การรถไฟฯ พร้อมพิจารณาเปิดให้บริการเดินรถขบวนพิเศษรับ-ส่งสินค้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งขยายการขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาคอื่น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกร รวมถึงช่วยสนับสนุนการเชื่อมโยงสินค้าเกษตรจากผู้ผลิต และตลาดกลางสินค้าเกษตร ไปถึงมือผู้บริโภค ร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร และเครือข่ายตลาดกลางโดยตรง เป็นการช่วยระบายผลผลิตไม่เกิดปัญหาล้นตลาด และราคาตกต่ำ ตลอดจนเป็นการช่วยกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ทำให้เศรษฐกิจฐานรากเกิดความเข้มแข็ง
“ท้ายนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยขอให้คำมั่นสัญญาว่า พร้อมยืนเคียงข้าง ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในทุกภาคส่วนอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน โดยผู้สนใจใช้บริการขนส่งสินค้าโดยขบวนรถพิเศษ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง”
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4915486181799547
https://twitter.com/pr_srt/status/1430825791567253505
https://www.instagram.com/p/CTCGSgAhqA8/
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4362477080465870

เที่ยวปฐมฤกษ์ รถพิเศษสัมภาระ(ห่อวัตถุด่วน) ขบวน 985 กรุงเทพ - สุไหงโกลก จอดรับสินค้าที่บ้านโป่ง
https://www.facebook.com/thituthai/posts/10223455593391457


Last edited by Wisarut on 28/08/2021 10:21 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ มอบ รฟท.-รฟม. พิจารณากำหนด TOR ใหม่-แก้ไขเพิ่มเติมให้ ‘เอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีกับสถาบันวิจัยระบบรางฯ’
วันที่ 26 สิงหาคม 2564
“ศักดิ์สยาม” เดินหน้าปั้น“สถาบันราง”เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ระบบ รางแบบครบวงจร-มั่นใจทำเองใช้เองในประเทศไม่ง้อต่างประเทศ ตามนโยบาย Thai First
By JNC Team - N
วันที่ 26 สิงหาคม 2564
“ศักดิ์สยาม” ตามความคืบหน้าจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบรางฯ ลุยสรรหาประธานกรรมการ–คณะกรรมการคุณวุฒิภายใน 180 วันนับตั้งแต่กฤษฎีกามีผลบังคับใช้ มอบหมาย รฟท.-รฟม. พิจารณากำหนดในสัญญาฯ ให้เอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีกับ “สถาบันรางฯ” พร้อมเผยโครงสร้าง 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ-1 สำนักงาน สั่ร. หารืง ขอผู้ให้บริการระบบรางวางแผนวิจัย–ผลิตชิ้นส่วนใช้ในประเทศ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ว่า ตามที่ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนที่ 46 ก เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ.1564 และต่อมากระทรวงคมนาคมได้มีคำสั่ง ที่ 110/2564 สั่ง ณ วันที่ 16 ส.ค. 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ในวาระเริ่มแรก ตามมาตรา 45 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนั้น



ทั้งนี่ ตนได้รับทราบกรอบระยะเวลาการดำเนินการของคณะกรรมการสถาบันวิจัยฯ ซึ่งจะดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมขึ้นเป็นผู้อำนวยการในระยะเริ่มแรก การสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยฯ และการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ โดยคณะกรรมการสถาบันวิจัยฯ ดังกล่าว ต้องดำเนินการในการสรรหาประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ขณะนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) อยู่ระหว่างการดำเนินการ เรื่อง บุคลากรที่จะมาช่วยดำเนินงานวิจัยในสถาบันวิจัยฯ โดยได้บูรณาการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และพิจารณาการนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ได้มีการทำกรอบบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม เพื่อมาช่วยตั้งต้นสถาบันวิจัยฯ ในระยะแรก



ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการพิจารณากำหนดในสัญญาที่จะลงนามใหม่ หรือพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในสัญญาที่ได้ลงนามแล้ว โดยให้สถาบันวิจัยฯ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางจากเอกชนคู่สัญญา และให้ครอบคลุมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยฯ ด้วย ซึ่ง ขร.จะมีการติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวต่อไป

*** โครงสร้างสถาบัยวิจัยระบบรางฯ ***
สำหรับโครงสร้างสถาบันวิจัยฯ จะถูกจัดเป็น 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ และ 1 สำนักงาน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานของสถาบันวิจัย ได้แก่

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูง (Excellent Center of High Speed Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนารับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟความเร็วสูง
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า (Excellent Center of Freight Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟขนส่งสินค้า
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง (Excellent Center of Metro Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟฟ้าในเมือง
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแบตเตอรี่สำหรับรถไฟ (Excellent Center of Battery Power Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยพัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบพลังงานอนาคตสำหรับรถไฟ เช่น Battery รถไฟ EV เป็นต้น
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมระบบรางและการออกแบบสำหรับผู้โดยสาร (Excellent Center of Innovation Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรางในอนาคต เช่น MAGLEV TOD เป็นต้น
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง (Excellent Center of Training Center) ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเทคโนโลยีระบบราง เช่น รถไฟความเร็วสูง ความรู้ทางด้านรถไฟ เป็นต้น
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง (Excellent Center of Rail Data Center) ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลระบบรางทั้งระบบ เช่น งานวิจัยด้านระบบราง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง องค์ความรู้ด้านระบบราง นอกจากนี้ จะทำวิจัยพัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในระบบราง ระบบอาณัตสัญญาณ 5G และความปลอดภัยทางดิจิทัล และ
สำนักบริหารงานทั่วไป ทำหน้าที่ในการบริหารงานทั่วไป ทางด้านการเงิน/การบัญชี บุคลากร สถานที่ รวมถึง การจดทะเบียนสิทธิบัตรการวิจัย


นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ได้สั่งการให้ ขร.ร่วมกับสถาบันวิจัยฯ สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา โดยให้จัดทำกรอบความร่วมมือ (MOU) กับแต่ละสถานศึกษา ในเรื่องการวิจัยและบุคลากร พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและจัดทำ MOU ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยฯ และบุคลากร รวมถึงการจัดทำแผนกลยุทธ์(Roadmap) การประสานความร่วมมือให้ชัดเจน นอกจากนี้ ให้ ขร. หารือกับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบราง(Operator) เกี่ยวกับชิ้นส่วนระบบรางที่ต้องการใช้ในการซ่อมบำรุง เพื่อเป็นข้อมูลให้สถาบันวิจัยฯ วางแผนการวิจัยและผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้น ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) นั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง พัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง โดยมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบายThai First รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV มาใช้ในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันฯ และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานยังสถาบันฯ ในระยะแรกเริ่ม (ปีที่ 1 หรือประมาณ 6 เดือน) จำนวน 80 คนแบ่งเป็น ผู้บริหารระดับสูง 3 คน, ผู้บริหารระดับกลาง 9 คน, ผู้บริหารระดับต้น 14 คน, ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน, ผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับสูง 14 คน และผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับต้น 31 คน และจะเพิ่มในปีที่ 2 อีก 46 คน รวมมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่ 126 คน อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ จะมีการพิจารณาหาสถานที่ เพื่อจัดตั้งอาคารของสถาบันฯ โดยในเบื้องต้น จะเป็นการเช่า โดยกระบวนการทั้งหมดนั้นจะแล้วเสร็จ และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง(องค์การมหาชน) อย่างเป็นทางการใน ต.ค. 2564 ตามแผน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2021 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม'หนุนใช้รถไฟขับเคลื่อนระบบไฟฟ้า
ไทยโพสต์ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:39 น.

27 ส.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเรื่อง การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ครั้งที่ 3 ว่าได้เร่งรัดการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ในการปรับปรุงแผนการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในตัวรถไฟ มาใช้ในประเทศให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม ปี 2568 เป็นปี 2566

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ในปี 2564 จะดำเนินการศึกษา และออกแบบรถไฟ EV ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากนั้นปี 2565 จะเตรียมการและดำเนินการดัดแปลงรถไฟ EV จากรถจักรเก่า และในปี 2566 ดำเนินการทดสอบรถไฟ EV ในศูนย์ทดสอบและทดลองวิ่งในเส้นทาง ขณะเดียวกันได้จัดทำแผนการดำเนินงาน นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในไทย โดยมีแผนครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564-2576 โดยมีโครงการระยะสั้น ที่ทางกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) และสถาบันการศึกษา จะร่วมมือกันปรับปรุงรถจักรเก่า GEK หรือ Alsthom เป็นระบบ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน ให้แล้วเสร็จในปี 66 และโครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน ที่จะนำมาใช้งานภายในปี 67

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้ ขร. และ รฟท. จัดทำแผนการดำเนินการและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ นอกจากนี้ให้ รฟท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยการนำรถไฟ EV on Train มาใช้สำหรับลากจูงขบวนรถไฟที่จะเข้ามาใช้สถานีกลางบางซื่อในระยะเร่งด่วน พร้อมทั้งให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่ใช้พลังงานไฟฟ้าศึกษาความต้องการ และการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีความคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจพิจารณาการจัดสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินรถ และส่วนที่เหลือสามารถนำมาจ่ายคืนไปยังระบบไฟฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2021 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'คมนาคม'หนุนใช้รถไฟขับเคลื่อนระบบไฟฟ้า
ไทยโพสต์ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:39 น.


ผลักดันเทคโนโลยี รถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train
กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล
27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:17 น.

(26 ส.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมเรื่อง การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ครั้งที่ 3 เพื่อดำเนินการติดตามนโยบายเร่งรัดการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ซึ่งมีสาระสำคัญในการปรับปรุงแผนการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในตัวรถไฟมาใช้ในประเทศให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม ปี 2568 เป็น ปี 2566 โดยในปี 2564 จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟ EV ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากนั้นในปี 2565 จะเป็นการเตรียมการและดำเนินการดัดแปลงรถไฟ EV จากรถจักรเก่า และในปี 2566 ดำเนินการทดสอบรถไฟ EV ในศูนย์ทดสอบและทดลองวิ่งในเส้นทาง
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทย โดยมีแผนครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564 จนถึง ปี 2576 โดยมีโครงการระยะสั้น ที่ทาง ขร. ร่วมกับ รฟท. สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) และสถาบันการศึกษา จะร่วมมือกันปรับปรุงรถจักรเก่า GEK หรือ Alsthom เป็นระบบ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน ให้แล้วเสร็จในปี 2566 และโครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน ที่จะนำมาใช้งานภายในปี 2567
รมว.คมนาคมได้รับทราบ และมีข้อสั่งการเพิ่มเติม ดังนี้
1. ให้ ขร. และ รฟท. จัดทำแผนการดำเนินการและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ
2. ให้ รฟท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยการนำรถไฟ EV on Train มาใช้สำหรับลากจูงขบวนรถไฟที่จะเข้ามาใช้สถานีกลางบางซื่อในระยะเร่งด่วน
3.ให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่ใช้พลังงานไฟฟ้าศึกษาความต้องการและการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจพิจารณาการจัดสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินรถ และส่วนที่เหลือสามารถนำมาจ่ายคืนไปยังระบบไฟฟ้า

ขยับไทม์ไลน์! ใช้รถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ‘EV On Train’ เร็วขึ้น 2 ปี เล็งสร้างโรงไฟฟ้าเอง จ่ายกระแสใช้เดินรถ
27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“ศักดิ์สยาม” ดันใชัรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า “EV on Train” ขยับไทม์ไลน์ใช้ในไทยเร็วขึ้น 2 ปี ลุยประเดิมปรับปรุงรถเก่าใช้ระบบ Battery Locomotiv จำนวน 4 คันใช้ภายในปี 66 เดินหน้าวิจัยใช้ลากจูงเข้าสถานีกลางบางซื่อโดยด่วน พร้อมเล็งสร้างโรงไฟฟ้าใช้เดินรถ–จ่ายคืนระบบไฟฟ้า
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ว่า ตนได้เร่งรัดการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ซึ่งมีสาระสำคัญในการปรับปรุงแผนการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในตัวรถไฟ มาใช้ในประเทศให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม ปี 2568 เป็นปี 2566


รถไฟในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ในปี 2564 จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟ EV ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากนั้นในปี 2565 จะเป็นการเตรียมการและดำเนินการดัดแปลงรถไฟ EV จากรถจักรเก่า และในปี 2566 ดำเนินการทดสอบรถไฟ EV ในศูนย์ทดสอบและทดลองวิ่งในเส้นทาง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทย โดยมีแผนครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564 จนถึง ปี 2576

โดยมีโครงการระยะสั้น ที่ทางกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) และสถาบันการศึกษา จะร่วมมือกันปรับปรุงรถจักรเก่า GEK หรือAlsthom เป็นระบบ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน ให้แล้วเสร็จในปี 2566 และโครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน(Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน ที่จะนำมาใช้งานภายในปี 2567



นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ตนได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ ขร. และ รฟท. จัดทำแผนการดำเนินการและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ รวมถึงให้ รฟท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยการนำรถไฟ EV on Train มาใช้สำหรับลากจูงขบวนรถไฟที่จะเข้ามาใช้สถานีกลางบางซื่อในระยะเร่งด่วน

นอกจากนี้ ให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่ใช้พลังงานไฟฟ้าศึกษาความต้องการและการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจพิจารณาการจัดสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินรถ และส่วนที่เหลือสามารถนำมาจ่ายคืนไปยังระบบไฟฟ้า


Last edited by Wisarut on 28/08/2021 10:24 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2021 12:34 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ดันแผนรถไฟ EV ปรับปรุงรถจักรเก่า 4 หัว นำร่องปี 66 เร่งจัดหา 20 คันปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:16 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:16 น.

“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนยานยนต์ไฟฟ้า ผลักดันรถไฟ EV ร่วมมือสถาบันการศึกษาปรับปรุงหัวรถจักรเก่า 4 คัน นำร่องใช้ปี 66 เร่งจัดหาใหม่ 20 คันปี 67 สั่งการ ขร.รฟท.ทำแผนเร่งด่วนลากขบวนรถเข้าสถานีกลางบางซื่อ

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมเรื่อง การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ครั้งที่ 3 ด้วย Application “Zoom” โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าร่วมการประชุม

ที่ประชุมติดตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่เร่งรัดผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ซึ่งจะมีการปรับปรุงแผนการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในตัวรถไฟมาใช้ในประเทศให้เร็วขึ้นจากแผนเดิมปี 2568 เป็นปี 2566 โดยในปี 2564 จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟ EV ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากนั้นในปี 2565 จะเป็นการเตรียมการและดำเนินการดัดแปลงรถไฟ EV จากรถจักรเก่า และในปี 2566 ดำเนินการทดสอบรถไฟ EV ในศูนย์ทดสอบและทดลองวิ่งในเส้นทาง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ใประเทศไทย โดยมีแผนครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2576

โดยมีโครงการระยะสั้นที่ทาง ขร.ร่วมกับ รฟท. สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) และสถาบันการศึกษา จะร่วมมือกันปรับปรุงรถจักรเก่า GEK หรือ Alsthom เป็นระบบ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน ให้แล้วเสร็จในปี 2566 และโครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน ที่จะนำมาใช้งานภายในปี 2567

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้ให้ ขร.และ รฟท.จัดทำแผนการดำเนินการและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ และให้ รฟท.ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยการนำรถไฟ EV on Train มาใช้สำหรับลากจูงขบวนรถไฟที่จะเข้ามาใช้สถานีกลางบางซื่อในระยะเร่งด่วน

ส่วนหน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ให้ศึกษาความต้องการและการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจพิจารณาการจัดสร้างโรงไฟฟ้า
เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินรถ และส่วนที่เหลือสามารถนำมาจ่ายคืนไปยังระบบไฟฟ้า

คมนาคมกางแผน “รถไฟ EV” เล็งทดสอบรถต้นแบบปี 66
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:54 น.


“คมนาคม” กางแผนนำร่อง “รถไฟ EV” เล็งพัฒนารถไฟต้นแบบนำทดสอบในศูนย์ทดสอบและนำวิ่งบนเส้นทางในปี 66 ก่อนเข็นแผนระยะยาวถึงปี’76 3 หน่วยงานราง “กรมราง-รถไฟ-สถานบันวิจัย” ปูพรมปรับปรุงรถจักร 4 คัน นำร่องทดสอบปี’66 เช่นกัน

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ครั้งที่ 3 ได้เห็นชอยในการปรับปรุงแผนการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในตัวรถไฟมาใช้ในประเทศให้เร็วขึ้นจากแผนเดิมปี 2568 เป็นปี 2566

ปี 66 ทดสอบ รถไฟ EV ต้นแบบ
โดยในปี 2564 จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟ EV ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากนั้นในปี 2565 จะเป็นการเตรียมการและดำเนินการดัดแปลงรถไฟ EV จากรถจักรเก่า และในปี 2566 ดำเนินการทดสอบรถไฟ EV ในศูนย์ทดสอบและทดลองวิ่งในเส้นทาง

3 หน่วยงานนำร่องปรับปรุงรถจักรเก่าภายในปี 66
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทย โดยมีแผนครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564 จนถึง ปี 2576 โดยมีโครงการระยะสั้น ที่ทางกรมการขนส่งทางราง ( ขร.) ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) และสถาบันการศึกษา จะร่วมมือกันปรับปรุงรถจักรเก่า GEK หรือ Alsthom เป็นระบบ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน ให้แล้วเสร็จในปี 2566 และโครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน ที่จะนำมาใช้งานภายในปี 2567

โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับทราบ และมีข้อสั่งการเพิ่มเติม ดังนี้

1.ให้ ขร. และ ร.ฟ.ท. จัดทำแผนการดำเนินการและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ


2. ให้ ร.ฟ.ท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยการนำรถไฟ EV on Train มาใช้สำหรับลากจูงขบวนรถไฟที่จะเข้ามาใช้สถานีกลางบางซื่อในระยะเร่งด่วน

3. ให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่ใช้พลังงานไฟฟ้าศึกษาความต้องการและการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจพิจารณาการจัดสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินรถ และส่วนที่เหลือสามารถนำมาจ่ายคืนไปยังระบบไฟฟ้า

“คมนาคม” ดันระบบรถไฟอีวี บูมระบบขนส่งทางราง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:28 น.


“คมนาคม” เร่งผลักดันรถไฟอีวี หวังอัพเกรดระบบขนส่งทางราง เล็งศึกษาออกแบบรถไฟอีวี จ่อดัดแปลงรถจักรเก่า 24 คันคาดแล้วเสร็จปี 66-67

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเรื่องการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ครั้งที่ 3 ว่า ที่ประชุมได้เร่งรัดการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ซึ่งมีสาระสำคัญในการปรับปรุงแผน การนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในตัวรถไฟ มาใช้ในประเทศให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม ปี 2568 เป็น ปี 2566


“ เบื้องต้นได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติม ให้ ขร. และ รฟท. จัดทำแผนการดำเนินการและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดหาทุนในการดำเนินการ และ รฟท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยการนำรถไฟ EV on Train มาใช้สำหรับลากจูงขบวนรถไฟที่จะเข้ามาใช้สถานีกลางบางซื่อในระยะเร่งด่วน รวมทั้งให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางที่ใช้พลังงานไฟฟ้าศึกษาความต้องการและการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจพิจารณาการจัดสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินรถ และส่วนที่เหลือสามารถนำมาจ่ายคืนไปยังระบบไฟฟ้า”


สำหรับในปี 2564 จะดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟ EV ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากนั้นในปี 2565 จะเป็นการเตรียมการและดำเนินการดัดแปลงรถไฟ EV จากรถจักรเก่า และในปี 2566 ดำเนินการทดสอบรถไฟ EV ในศูนย์ทดสอบและทดลองวิ่งในเส้นทาง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทย โดยมีแผนครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564 จนถึง ปี 2576 โดยมีโครงการระยะสั้น ที่ทาง ขร. ร่วมกับ รฟท. สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) และสถาบันการศึกษา จะร่วมมือกันปรับปรุงรถจักรเก่า GEK หรือ Alsthom เป็นระบบ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน ให้แล้วเสร็จในปี 2566 และโครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน ที่จะนำมาใช้งานภายในปี 2567

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
'คมนาคม'หนุนใช้รถไฟขับเคลื่อนระบบไฟฟ้า
ไทยโพสต์ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:39 น.


ผลักดันเทคโนโลยี รถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train
กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล
27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:17 น.


Last edited by Wisarut on 28/08/2021 4:28 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2021 12:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘ศักดิ์สยาม’ มอบ รฟท.-รฟม. พิจารณากำหนด TOR ใหม่-แก้ไขเพิ่มเติมให้ ‘เอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีกับสถาบันวิจัยระบบรางฯ’
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564
“ศักดิ์สยาม” เดินหน้าปั้น“สถาบันราง”เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ระบบ รางแบบครบวงจร-มั่นใจทำเองใช้เองในประเทศไม่ง้อต่างประเทศ ตามนโยบาย Thai First
By JNC Team - N
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564



เปิดโครงสร้าง “สถาบันวิจัยระบบราง” ศักดิ์สยาม จี้ให้ร่วมมือกับทุกฝ่าย
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:02 น.

“ศักดิ์สยาม” สั่งลุยพัฒนาระบบราง สถาบันวิจัยฯ วาง 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ เร่งศึกษาผลิตชิ้นส่วนใน ปท.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:41 น.
ปรับปรุง: วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:41 น. โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size


“ศักดิ์สยาม” สั่งสถาบันวิจัยฯ ระบบรางเร่งทำโครงสร้าง จัดหาบุคลากร และจับมือสถาบันการศึกษาลุยงานวิจัย วาง 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ หารือผู้ให้บริการร่วมวางแผนผลิตชิ้นส่วนในประเทศ

เปิด 8 หน่วยงานใต้โครงสร้าง “สถาบันวิจัยระบบราง” เผย 3 ข้อภารกิจเริ่มแรก “ศักดิ์สยาม” สั่ง “กรมราง” ประสานร่วมมือกับทุกฝ่าย “สถาบันศึกษา-ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ-โอเปอเรเตอร์ในประเทศ” หวังเก็บข้อมูลวางแผนงานวิจัยต่อไป

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุม เรื่อง การติดตาม ความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ได้รับทราบกรอบเวลาการดำเนินการของคณะกรรมการสถาบันวิจัย ตามที่ราชกิจจานุเบกษา ได้มีประกาศ
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) 2564 และต่อมากระทรวงคมนาคมได้มีคำสั่ง ที่ 110/2564 สั่ง ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)


เร่งภารกิจด่วน 3 ข้อ
ในวาระเริ่มแรก ตามมาตรา 45 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนั้น จะดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมขึ้นเป็นผู้อำนวยการในระยะเริ่มแรก 2.การสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัย และ 3.การสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัย โดยคณะกรรมการสถาบันวิจัย ดังกล่าว ต้องดำเนินการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) อยู่ระหว่างการดำเนินการ เรื่อง บุคลากรที่จะมาช่วยดำเนินงานวิจัยในสถาบันวิจัย โดยได้บูรณาการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและพิจารณาการนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ได้มีการทำกรอบบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมเพื่อมาช่วยตั้งต้นสถาบันวิจัยในระยะแรก

ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการพิจารณากำหนดในสัญญาที่จะลงนามใหม่หรือพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในสัญญาที่ได้ลงนามแล้ว

โดยให้สถาบันวิจัย รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางจากเอกชนคู่สัญญา และให้ครอบคลุมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันวิจัย ด้วย ซึ่งขร.จะมีการติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวต่อไป

เปิดโครงสร้าง “สถาบันวิจัย”
สำหรับโครงสร้างสถาบันวิจัยฯจะถูกจัดเป็น 7 ศูนย์ความเป็นเลิศ และ 1 สำนักงาน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานของสถาบันวิจัย ได้แก่

1.1 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูง (Excellent Center of High Speed Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถ และบำรุงรักษารถไฟความเร็วสูง


1.2 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า (Excellent Center of Freight Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถ และบำรุงรักษารถไฟขนส่งสินค้า

1.3 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง (Excellent Center of Metro Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ วิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินรถและบำรุงรักษารถไฟฟ้าในเมือง

1.4 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแบตเตอรี่สำหรับรถไฟ (Excellent Center of Battery Power Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบพลังงานอนาคตสำหรับรถไฟ เช่น Battery รถไฟ EV เป็นต้น

1.5 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมระบบรางและการออกแบบสำหรับผู้โดยสาร (Excellent Center of Innovation Rail Tech) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรางในอนาคต เช่น MAGLEV TOD เป็นต้น

1.6 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง (Excellent Center of Training Center) ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเทคโนโลยีระบบราง เช่น รถไฟความเร็วสูง ความรู้ทางด้านรถไฟ เป็นต้น

1.7 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง (Excellent Center of Rail Data Center) ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลระบบรางทั้งระบบ เช่น งานวิจัยด้านระบบราง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง องค์ความรู้ด้านระบบราง

นอกจากนี้ จะทำวิจัย พัฒนา รับและถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในระบบราง ระบบอาณัตสัญญาณ 5G และความปลอดภัยทางดิจิทัล และ


1.8 สำนักบริหารงานทั่วไป ทำหน้าที่ในการบริหารงานทั่วไป ทางด้านการเงิน/การบัญชี บุคลากร สถานที่ รวมถึง การจดทะเบียนสิทธิบัตรการวิจัย

ศักดิ์สยาม สั่ง “กรมราง” ร่วมมือกับทุกฝ่าย
โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับทราบการดำเนินการของกรมการขนส่งทางราง และได้สั่งการเพิ่มเติม ดังนี้

1.ให้กรมการขนส่งทางรางร่วมกับสถาบันวิจัยฯ สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา โดยให้จัดทำกรอบความร่วมมือ (MOU) กับแต่ละสถานศึกษา ในเรื่องการวิจัยและบุคลากร

2.ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและจัดทำกรอบความร่วมมือ (MOU) ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยฯ และบุคลากร รวมถึงการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Roadmap) การประสานความร่วมมือให้ชัดเจน

3.ให้กรมการขนส่งทางรางหารือกับหน่วยงานผู้ให้บริการระบบราง (Operator) เกี่ยวกับชิ้นส่วนระบบรางที่ต้องการใช้ในการซ่อมบำรุง เพื่อเป็นข้อมูลให้สถาบันวิจัยฯ วางแผนการวิจัยและผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 402, 403, 404 ... 474, 475, 476  Next
Page 403 of 476

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©