Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181565
ทั้งหมด:13492803
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 85, 86, 87 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2021 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม. โต้"สามารถ"เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้เปิดกว้าง รับเหมา"ไทย-เทศ" เข้าร่วมได้หลายราย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:16 น.
ปรับปรุง: 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:16 น.


เปิดหลักฐาน ฟาด รฟม.! กรณี “ประกวดราคานานาชาติ” รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:48 น.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ เปิดหลักฐานฟาด รฟม.!กรณี “ประกวดราคานานาชาติ” รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ7.8หมื่นล้าน

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โฟสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม2564 ระบุว่า รฟม.กำลังประกวดราคานานาชาติก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ หรือสายสีม่วงใต้ โดยไม่อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท. ให้ใช้ได้เฉพาะผลงานกับรัฐบาลไทยเท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาต่างชาติที่มีศักยภาพสูงหลายรายแต่ไม่มีผลงานกับรัฐบาลไทยไม่สามารถเข้าประมูลได้

แม้ผมจะสนับสนุนผู้รับเหมาไทยก็ตาม แต่จะต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้รับเหมาต่างชาติ ที่ผ่านมา รฟม.เคยให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท.ได้ แล้วทำไมครั้งนี้จึงไม่ให้? จึงมีเหตุที่เป็นข้อสงสัยของประชาชนทั่วไปว่า มีอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่?

รฟม.กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประกวดราคานานาชาติ (International Competitive Bidding) ต้องมีผลงานอะไร?

ทีโออาร์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดชัดว่าผู้เข้าประมูลจะต้องมีผลงานกับ “รัฐบาลไทย” เท่านั้น และต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ยื่นซอง ดังนี้

1. ก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท โดยก่อสร้างด้วยวิธีใช้เครื่องเจาะ TBM (Tunneling Boring Machine) และ

2. ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหรือลอยฟ้าในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และ

3. ออกแบบอุโมงค์ใต้ดินหรือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหรือลอยฟ้าในสัญญาเดียวที่มีค่าก่อสร้างไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท

นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาต่างชาติที่มีขีดความสามารถในการออกแบบและก่อสร้างสูงแต่ไม่มีผลงานกับรัฐบาลไทย จะไม่สามารถเข้าประมูลได้ ซึ่งในความเป็นจริงผู้รับเหมาต่างชาติที่มีประสบการณ์งานออกแบบและก่อสร้างในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหรือลอยฟ้า ย่อมมีความสามารถที่จะออกแบบและก่อสร้างงานดังกล่าวในประเทศไทยได้

รฟม.เคยอนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท.ได้

ที่ผ่านมา รฟม.ได้มีการประกวดราคานานาชาติ โดยอนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท.ได้เป็นจำนวนอย่างน้อย 2 โครงการ ดังนี้

1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-คูคต ประมูลปี 2556

ทีโออาร์อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาลใดในโลกก็ได้ แต่จะต้องเป็นผลงานที่แล้วเสร็จไม่เกิน 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นซอง และจะต้องเป็นผลงานที่สอดคล้องกับงานที่กำลังประมูล

2. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ-มีนบุรี) ประมูลปี 2559

ทีโออาร์อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาลใดในโลกก็ได้ แต่จะต้องเป็นผลงานที่แล้วเสร็จไม่เกิน 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นซอง และจะต้องเป็นผลงานที่สอดคล้องกับงานที่กำลังประมูล

หน่วยงานอื่นก็เคยอนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท.ได้

อย่างน้อยมีการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เคยอนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท.ได้เป็นจำนวนอย่างน้อย 3 โครงการ ดังนี้

1. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ประจวบคีรีขันธ์-หัวหิน ประมูลปี 2560

ทีโออาร์อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานในต่างประเทศนำมายื่นได้ แต่ต้องเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟฯ เชื่อถือ และต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ยื่นซอง

2. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายกลาง ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ประมูลปี 2560

ทีโออาร์อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานในต่างประเทศนำมายื่นได้ โดยมีเงื่อนไขเหมือนกับการประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้

3. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ประมูลปี 2564

ทีโออาร์อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานก่อสร้าง “อุโมงค์” ในต่างประเทศนำมายื่นได้ แต่

ต้องเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟฯ

เชื่อถือ และต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ยื่นซอง

กรณีประกวดราคานานาชาติรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ทำไม รฟม.จึงไม่อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานที่มีกับรัฐบาล ตปท.?

รฟม.อ้างว่าเป็นไปตามหนังสือหารือกับคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564

ก่อนได้เห็นหนังสือฉบับนี้ ผมคิดว่าคงเป็นหนังสือที่ รฟม.หารือกับคณะกรรมการวินิจฉัยฯ เกี่ยวกับการประมูลรถไฟฟ้า แต่กลับกลายเป็นหนังสือที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หารือเกี่ยวกับเอกสารประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กฟน. ตามแบบฟอร์มมาตรฐาน (อ้างอิงหนังสือที่ กค (กนบ) 0405.2/ว410 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2560) จึงเท่ากับเป็นการตีความนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ตามแบบฟอร์มมาตรฐานว่าหมายถึงหน่วยงานของรัฐไทยเท่านั้น

โดยหลักการแล้ว การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไม่จำเป็นต้องใช้แบบฟอร์มมาตรฐานในทุกกรณี แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้แตกต่างตามความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ โดยไม่ทำให้รัฐเสียเปรียบ (อ้างอิงข้อ 43 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกอบหนังสือที่ กค (กจว) 0405.3/59110 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563)

การประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เป็นการประกวดราคานานาชาติ ซึ่งมุ่งหวังให้มีการแข่งขันอย่างกว้างขวาง และให้ได้มาซึ่งผู้ที่ชำนาญ (อ้างอิงมติ ครม. 28 กุมภาพันธ์ 2560) อีกทั้ง ต้องการให้ช่วยลดการสมยอมราคา (ฮั้ว) ซึ่งจะส่งผลดีต่อความโปร่งใสในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ รวมทั้งเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี (อ้างอิงหนังสือกระทรวงคมนาคม ที่ คค 0208/2840 ลงวันที่ 7 เมษายน 2560) ดังนั้น รฟม.จึงสามารถที่จะปรับเปลี่ยนรายละเอียดของทีโออาร์ให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวได้

สรุป

การที่ รฟม.อ้างว่าได้ทำถูกต้องตามกฎหมาย เพราะได้ปฏิบัติตามหนังสือข้อหารือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างฯ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการอธิบายคำนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ในข้อความ “ผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่ (หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดจ้าง) เชื่อถือ” ตามแบบฟอร์มมาตรฐานที่ใช้บังคับกับการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปว่าหมายถึงหน่วยงานของรัฐไทยเท่านั้น



ทั้งนี้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ อนุญาตให้ปรับเปลี่ยนข้อความในแบบฟอร์มดังกล่าว รวมถึงคำนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ได้ ถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่ง รฟม.ไม่ได้ปรับเปลี่ยนคำนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” แต่ไม่ได้ระบุ “หรือหน่วยงานเอกชนที่ รฟม.เชื่อถือ” ไว้ในทีโออาร์ นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาจะใช้ผลงานที่มีกับเอกชนไม่ได้ ต้องใช้ผลงานที่มีกับรัฐไทยเท่านั้น

จึงมีเหตุชวนให้น่าสงสัยว่า ทำไม รฟม.จึงไม่ปรับเปลี่ยนคำนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ให้หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐ ตปท.ด้วย และทำไมจึงไม่ระบุ “หรือหน่วยงานเอกชนที่ รฟม.เชื่อถือ” ไว้ในทีโออาร์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประกวดราคานานาชาติตามที่ ครม.อนุมัติโดยมุ่งหวังให้มีการแข่งขันอย่างกว้างขวาง และให้ได้มาซึ่งผู้ที่ชำนาญ?


ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2021 1:35 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ”
*ตามนัดยื่นซอง 8 ต.ค.นี้ ได้ผู้ชนะปลายปี
*ติดโควิดชะลอลงพื้นที่เคลียร์เวนคืนที่ดิน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2974961322725366
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2021 9:03 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชน 8 รายซื้อซองชิงประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ 8.2 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
19 สิงหาคม 2564 เวลา 19:51 น.

เอกชนไทย-เทศ 8 ราย ตบเท้าซื้อซองประมูลชิงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 8.2 หมื่นล้าน ยังเปิดขายซองถึง 7 ต.ค.นี้ การันตีทุกขั้นตอนโปร่งใส ตรวจสอบได้ แจงได้ทุกประเด็นข้อสงสัย ย้ำแนวเส้นทางผ่านพื้นที่อ่อนไหว สถานที่สำคัญ ต้องได้ผู้รับจ้างที่มีสมรรถนะสูง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากเปิดจำหน่ายเอกสารการประกวดราคา (ประมูล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันมีผู้สนใจซื้อเอกสารประมูลแล้ว 8 ราย แบ่งเป็น บริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย ทั้งนี้ จะเปิดจำหน่ายเอกสารฯ จนถึงวันที่ 7 ต.ค.64 ยื่นข้อเสนอวันที่ 8 ต.ค. คาดว่าใช้เวลาในการพิจารณาทั้ง 3 ซองแล้วเสร็จประมาณเดือน ธ.ค.64 และจะได้ผู้ชนะการประมูลทั้ง 6 สัญญาภายในเดือน ม.ค.65 ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีระยะทาง 23.6 กม. มีแผนเริ่มก่อสร้างปี 65 และเปิดบริการปี 70 โครงการนี้ลงนามข้อตกลงคุณธรรมแล้ว และดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใส ตามกฎหมาย กฎระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และประกาศที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้


นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเกณฑ์การประมูล โดยเฉพาะการกำหนดให้ใช้ผลงานที่เป็นหน่วยงานของรัฐภายในประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งขอชี้แจงว่า การประมูลงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่ผ่านมาของ รฟม. ใช้วิธีประกวดราคานานาชาติ ภายใต้ข้อบังคับ รฟม. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ขณะที่การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ใช้วิธีประกวดราคานานาชาติ ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

ทั้งนี้ การกําหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ต้องออกแบบก่อสร้างอุโมงค์ และสถานีใต้ดินในกรุงเทพฯ ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สําคัญ และโบราณสถานมากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้าง และประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จ มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ในขณะที่การอ้างอิงผลงานต่างประเทศ จะตรวจสอบข้อมูลโครงการได้ยาก ไม่ว่าจะเป็น ประเภทงาน มูลค่าผลงานที่แท้จริง คุณภาพของผลงานที่แล้วเสร็จ รวมถึงประเด็นปัญหาระหว่างการก่อสร้าง

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า การที่มีบริษัทต่างชาติ 2 รายสนใจซื้อซองประมูล แสดงให้เห็น และยืนยันว่า รฟม. ไม่ได้กีดกันบริษัทต่างชาติ และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีบริษัทต่างชาติที่สามารถเข้าร่วมประมูลโครงการนี้ได้ 7-8 บริษัท แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นการเข้าประมูลในลักษณะร่วมค้า(Joint venture) กับบริษัทไทย

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการกําหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอในการประมูล โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30:70 นั้น เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีแนวเส้นทางผ่านสถานที่สําคัญ และอ่อนไหวหลายแห่ง เช่น รัฐสภาแห่งใหม่ โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย วัดต่างๆ รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจําเป็นต้องใช้เทคนิคทางวิศวกรรมในการออกแบบและก่อสร้างขั้นสูงจากผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสามารถดําเนินงานก่อสร้างให้สําเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผน

นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐหลายโครงการ ที่ใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา เช่น โครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover :APM) ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบินสุวรรณภูมิ, โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน – ปากเกร็ด (โครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ – บางพูน – บางไทร) โครงการจ้างเหมาเอกชนกําจัดมูลฝอย โดยระบบเตาเผามูลฝอย ที่ศูนย์กําจัดมูลฝอยหนองแขมของ กทม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลําโพง – บางซื่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงินรวม 8.23 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 7.73 หมื่นล้านบาท, ค่าก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1.33 พันล้านบาท และวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด (Provisional Sum) 3.58 พันล้านบาท..

มาแล้ว 8 ราย!! ซื้อซองประมูลชิงรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
*ช่วง”เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”วงเงิน 8.2 หมื่นล้าน
*รฟม.แจงข้อกังขารับประกันทุกขั้นตอนโปร่งใส
*2 ใน 8 บริษัทเป็นผู้รับเหมาต่างชาติไม่ได้กีดกัน
*ยื่นซอง8 ต.ค.ได้ผู้ชนะต้นปีหน้าลุยสร้างได้ใช้70
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2979721895582642


รฟม.ขึงไทม์ไลน์ต.ค.ประมูล”สายสีส้ม-สีม่วงใต้” ยึดกม.จัดซื้อฯ ยันเกณฑ์เทคนิคและราคาเหมาะสม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 สิงหาคม 2564 เวลา 21:51 น.
ปรับปรุง: 19 สิงหาคม 2564 เวลา 21:51 น.



รฟม.ปักธงเร่งประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มหลังศาลจำหน่ายคดีบีทีเอสฟ้อง ลุ้นโควิดคลี่คลาย ต.ค.นี้ขายซองเปิดชิงดำใหม่ คาดมี.ค.65 ได้ตัวผู้ร่วมทุน พร้อมปรับแผนเร่งงานระบบเปิดด้านตะวันออกกลางปี 68 ส่วนสีม่วงใต้ซื้อซองแล้ว 8 ราย ทั้งไทยและต่างชาติ คาดสรุปในม.ค.65

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2564 ที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนฯโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้นในส่วนของรฟม.จะเดินหน้าในการประมูลคัดเลือกตามขั้นตอน ซึ่งได้มีการเปิดรับฟัง เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนแล้ว

เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ยังมีความรุนแรง ประกอบกับพ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่บังคับใช้กับกรณีการคัดเลือกเอกชน และจะต้องบรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในข้อตกลงคุณธรรม ดังนั้น หากสถานการณ์คลี่คลาย รฟม.จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนทันที โดยคาดการณ์จะสรุป TOR และออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในเดือนต.ค. 2564 และสรุปผลการพิจารณาคัดเลือก และได้ตัวผู้ร่วมทุนประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. 2565

ผู้ว่าฯรฟม.ยอมรับว่า การประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมทุนฯโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มล่าช้าจากแผน แต่ยังสามารถเร่งรัดได้ โดยรฟม.ปรับแผนงาน ให้เอกชนเข้าดำเนินการติดตั้งระบบของสายสีส้มด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ทันที เนื่องจากขณะนี้งานโยธาของด้านตะวันออกมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่งจะสามารถเปิดเดินรถด้านตะวันออกได้ตามแผนช่วงกลางปี 2568 ส่วนด้านตะวันตก จะเร่งรัดการก่อสร้างและติดตั้งระบบ ซึ่งตามแผน จะเปิดให้บริการหลังจากเปิดด้านตะวันออกไปแล้วประมาณ 3 ปี หรือเปิดช่วงปี 2571

@เอกชนไทย-เทศ 8 รายซื้อซองประมูลสีม่วงใต้ คาดม.ค.65 ได้ผู้รับจ้าง

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า รฟม.ได้ดำเนินการเปิดขายเอกสารประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา จำนวน 6 สัญญา ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2564 จนถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ส.ค. 2564) มีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาฯ แล้วทั้งสิ้น 8 ราย โดยแบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย

โดยกำหนดยื่นเอกสารประมูลวันที่ 8 ต.ค.2564 ใช้เวลาประเมินข้อเสนอ ถึงปลายเดือนธ.ค.2564 คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างทั้ง 6 สัญญา ในเดือนม.ค.2565

ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ฯ รฟม. ได้ลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 โดยการดำเนินการในทุกขั้นตอนของประกวดราคาฯ เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

สำหรับกรณีที่ มีการนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ในประเด็นการกำหนดให้ใช้ผลงานที่เป็นของหน่วยงานรัฐภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว นั้น ที่ผ่านมา การประมูลก่อสร้างงานโยธาของรฟม. ได้ใช้วิธีประกวดราคานานาชาติภายใต้ข้อบังคับ รฟม. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ในขณะที่การประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เป็นการประกวดราคานานาชาติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกอบกับการวินิจฉัยตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 กรณีผลงานกับรัฐให้หมายถึงผลงานกับรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ การกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯต้องมีการออกแบบก่อสร้างอุโมงค์และสถานีใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ และโบราณสถานต่างๆ มากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้างและประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จ มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ในขณะที่การอ้างอิงผลงานต่างประเทศ จะตรวจสอบข้อมูลโครงการได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นประเภทงาน มูลค่าผลงานที่แท้จริง คุณภาพของผลงานที่แล้วเสร็จ รวมถึงประเด็นปัญหาระหว่างดำเนินการก่อสร้างและการที่ไม่ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างสามารถใช้ผลงานเอกชนที่ รฟม. เชื่อถือได้นั้น

เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้า หรือโครงการระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีผลงานประเภทเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ในประเทศไทย มีหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการทั้งหมด ดังนั้น รฟม. จึงไม่ได้พิจารณาให้ใช้ผลงานจากหน่วยงานเอกชนซึ่งสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดให้หน่วยงานพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมหรือจำเป็น
ส่วนการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอ ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30:70 นั้น เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านสถานที่สำคัญและอ่อนไหวหลายแห่ง เช่น รัฐสภาแห่งใหม่ โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย วัดต่างๆ รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคทางวิศวกรรมในการออกแบบและก่อสร้างขั้นสูงจากผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผน

การกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา มีจุดประสงค์เพื่อให้การดำเนินโครงการได้รับประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงจุดประสงค์ทางด้านราคาที่ต่ำเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อเสนอด้านเทคนิคที่มีความเหมาะสมหรือดีที่สุดด้วยเป็นไปตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 65 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ข้อ 83 (2) ประกอบกับหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค(กวจ)0405.2/ว198 เรื่องแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงเพียงพอและ มีความเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานโครงได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้

ซึ่งมีตัวอย่างโครงการที่ ใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา เช่น โครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) สนามบินสุวรรณภูมิ งานจ้างปรับปรุงระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด และงานจ้างปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระในโครงการพัฒนา สนามบินสุวรรณภูมิ การจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

รวมถึงในโครงการร่วมลงทุนสาธารณูปโภคของภาครัฐขนาดใหญ่ เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน - ปากเกร็ด (โครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ – บางพูน - บางไทร) โครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอย โดยระบบเตาเผามูลฝอย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมของกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เกณฑ์คะแนนรวมด้านเทคนิคกับผลตอบแทนด้านการเงิน รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ก็ใช้เกณฑ์การประเมินคะแนนรวมด้านเทคนิคกับด้านผลตอบแทนเช่นกัน


รฟม.ย้ำประมูล “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” โปร่งใส-ยึดกฎหมาย ปักปี 70 ได้นั่ง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 21:56 น.


รฟม.โต้ยิบครหาประมูล “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” ย้ำ 2 ประเด็น “ยึดประสบการณ์สร้างกับรัฐไทย” เพราะที่ กทม.ละเอียดอ่อน บวกใช้ประสบการณ์ต่างประเทศตรวจสอบยาก ส่วนใช้เกณฑ์ “ราคาพ่วงเทคนิค” เพราะเส้นทางผ่านสถานที่สำคัญเยอะ ต้องใช้คะแนนด้านนี้ร่วมด้วย ปักหมุดปี 70 ได้นั่งแน่

วันที่ 19 สิงหาคม 2564 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แถลงข่าวผ่านระบบ ZOOM ว่า การประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ราคากลางที่ 78,720 ล้านบาท (ค่างานโยธา 77,385 ล้านบาท และค่างานก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาท) ปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างการดำเนินงานการประกวด



โดยได้ขายเอกสารประกวดราคา ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 มีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 7 ตุลาคม 2564 โดยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาแล้วทั้งสิ้น 8 ราย โดยแบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ (เอเชีย) 2 ราย รวมทั้งสิ้น 8 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2564) ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ได้รายงานให้กระทรวงคมนาคมทราบ

พร้อมกันนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดย รฟม.ได้ลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ยืนยันว่า การดำเนินการในทุกขั้นตอนของประกวดราคา เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในประเด็นการกำหนดให้ใช้ผลงานที่เป็นของหน่วยงานรัฐภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว และประเด็นการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอในการประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30 : 70 ซึ่ง รฟม.ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว ดังนี้

ผูกงานรัฐ เพราะที่ดิน กทม.ละเอียดอ่อน-ตปท.ตรวจยาก
1) ประเด็นการกำหนดให้ใช้ผลงานที่เป็นของหน่วยงานรัฐภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว


การประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่ผ่านมาของ รฟม. ได้ใช้วิธีประกวดราคานานาชาติภายใต้ข้อบังคับ รฟม. ว่าด้วยการพัสดุ 2546 ในขณะที่การประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นการประกวดราคานานาชาติตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560

ประกอบกับการวินิจฉัยตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 กรณีผลงานกับรัฐให้หมายถึงผลงานกับรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ การกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงต้องมีอุโมงค์และสถานีใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ๆ และโบราณสถานต่าง ๆ มากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้างและประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จ มีคุณภาพ เชื่อถือได้

ในขณะที่การอ้างอิงผลงานต่างประเทศ จะตรวจสอบข้อมูลโครงการได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นประเภทงาน มูลค่าผลงานที่แท้จริง คุณภาพของผลงานที่แล้วเสร็จ รวมถึงประเด็นปัญหาระหว่างดำเนินการก่อสร้างและการที่ไม่ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างสามารถใช้ผลงานเอกชนที่ รฟม.เชื่อถือได้นั้น เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้า หรือโครงการระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีผลงานประเภทเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในประเทศไทย มีหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการทั้งหมด ดังนั้น รฟม.จึงไม่ได้พิจารณาให้ใช้ผลงานจากหน่วยงานเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลัง ที่กำหนดให้หน่วยงานพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมหรือจำเป็น



ผ่านสถานที่สำคัญเยอะ เลยใช้เทคนิคร่วมราคาตัดเกรด
2) ประเด็นการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอในการประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30 : 70


โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีแนวเส้นทางผ่านสถานที่สำคัญและอ่อนไหวหลายแห่ง เช่น รัฐสภาแห่งใหม่ โรงพยาบาลวชิระ หอสมุดแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย วัดต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคทางวิศวกรรมในการออกแบบและก่อสร้างขั้นสูงจากผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผน

ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา มีจุดประสงค์เพื่อให้การดำเนินโครงการได้รับประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงจุดประสงค์ทางด้านราคาที่ต่ำเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อเสนอด้านเทคนิคที่มีความเหมาะสมหรือดีที่สุดด้วย เป็นไปตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง 2560 มาตรา 65 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 ข้อ 83 (2) ประกอบกับหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่กค (กวจ) 0405.2/ว198 เรื่องแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงเพียงพอและ มีความเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานโครงได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้

ตัวอย่างโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐหลายโครงการที่ใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา เช่น โครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบินสุวรรณภูมิ งานจ้างปรับปรุงระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด และงานจ้างปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระในโครงการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงในโครงการร่วมลงทุนสาธารณูปโภคของภาครัฐขนาดใหญ่ เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (โครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ–บางพูน-บางไทร) โครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอย โดยระบบเตาเผามูลฝอย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมของกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เกณฑ์คะแนนรวมด้านเทคนิคกับผลตอบแทนด้านการเงิน รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ก็ใช้เกณฑ์การประเมินคะแนนรวมด้านเทคนิคกับด้านผลตอบแทนเช่นกัน

ทั้งนี้ รฟม.ขอเรียนว่าการดำเนินการในทุกขั้นตอนของ รฟม.เป็นไปด้วยความละเอียด ถี่ถ้วน สอดคล้องตามกฎเกณฑ์ กฎ ระเบียบ มติ ครม.และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์ของประชาชน ผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มีระยะทางรวม 23.6 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2021 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน-ม่วงขยายเวลาอีก 3 เดือนขอคืนเที่ยวหมดอายุได้
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
20 สิงหาคม 2564 เวลา 17:52 น.

รถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน-ม่วง ขยายเวลาอีก 3 เดือน ช่วยเหลือผู้โดยสารที่มีเที่ยวโดยสารหมดอายุ ติดต่อขอรับคูปองเดินทางคงเหลือได้ที่ห้องออกบัตรทุกสถานีถึง 31 ธ.ค.นี้


การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม. และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้โดยสารในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงได้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ที่มีเที่ยวโดยสาร (Trip Pass) ที่หมดอายุสามารถเปลี่ยนเที่ยวโดยสารที่หมดอายุเป็นคูปองเดินทางตามจำนวนเที่ยวโดยสารคงเหลือ จากเดิมผู้โดยสารที่มีเที่ยวโดยสารในบัตร MRT และ MRT Plus ประเภท 30 วัน ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.- 31 พ.ค.64 ขยายเป็นวันที่ 18 เม.ย.-31 ส.ค.64 และเที่ยวโดยสารประเภท 60 วัน ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.-30 มิ.ย.64 ขยายเป็นวันที่ 18 เม.ย.-30 ก.ย.64 สามารถติดต่อขอรับเป็นคูปองเดินทางตามจำนวนเที่ยวโดยสารที่คงเหลือได้


ผู้โดยสารสามารถนำบัตรโดยสารไปติดต่อขอรับคูปองตามประเภทของเที่ยวโดยสารที่หมดอายุ ได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วงทุกสถานี จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.64 ซึ่งคูปองการเดินทางดังกล่าวจะมีอายุการใช้งาน 60 วัน นับจากวันที่ได้รับคูปอง และไม่สามารถซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือคืนได้ทุกกรณี โดยมีเงื่อนไขการใช้เดินทางเป็นไปตามที่ รฟม. และ BEM กำหนด ทั้งนี้ รฟม. และ BEM จะยังคงดำเนินมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระบบรถไฟฟ้า MRT อย่างเข้มงวด และพร้อมสนับสนุนมาตรการของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัย รวมทั้งร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2021 12:11 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน-ม่วงขยายเวลาอีก 3 เดือนขอคืนเที่ยวหมดอายุได้
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
20 สิงหาคม 2564 เวลา 17:52 น.


MRT ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารที่มีเที่ยวโดยสารหมดอายุจากผลกระทบ COVID-19
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 21 สิงหาคม 2564 เวลา 08:55 น.
ปรับปรุง: 21 สิงหาคม 2564 เวลา 08:55 น.



ตามที่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ซื้อเที่ยวโดยสารแล้วไม่ได้ใช้เดินทางทำให้เที่ยวโดยสารหมดอายุนั้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้โดยสาร จึงได้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วงที่มีเที่ยวโดยสาร (Trip Pass) ที่หมดอายุ สามารถเปลี่ยนเที่ยวโดยสารที่หมดอายุเป็นคูปองเดินทางตามจำนวนเที่ยวโดยสารคงเหลือ จากเดิม ผู้โดยสารที่มีเที่ยวโดยสารในบัตร MRT และ MRT Plus ประเภท 30 วัน ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน-31 พฤษภาคม 2564 และเที่ยวโดยสารประเภท 60 วัน ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน-30 มิถุนายน 2564 ขยายเวลาเป็น ผู้โดยสารที่มีเที่ยวโดยสารในบัตร MRT และ MRT Plus ประเภท 30 วัน ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน-31 สิงหาคม 2564 และเที่ยวโดยสารประเภท 60 วัน ที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน-30 กันยายน 2564

สามารถติดต่อขอรับเป็นคูปองเดินทางตามจำนวนเที่ยวโดยสารที่คงเหลือ โดยนำบัตรโดยสารไปติดต่อขอรับคูปองตามประเภทของเที่ยวโดยสารที่หมดอายุได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วงทุกสถานี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งคูปองการเดินทางดังกล่าวจะมีอายุการใช้งาน 60 วัน นับจากวันที่ได้รับคูปอง และไม่สามารถซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือคืนได้ทุกกรณี โดยมีเงื่อนไขการใช้เดินทางเป็นไปตามที่ รฟม. และ BEM กำหนดทั้งนี้ รฟม.และ BEM จะยังคงดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในระบบรถไฟฟ้า MRT อย่างเข้มงวด และพร้อมสนับสนุนมาตรการของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน และขอขอบคุณผู้โดยสารทุกท่านที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ด้วยดีเสมอมา ตลอดจนขอให้ประชาชนทุกท่านมีความเข้มแข้ง ยืนหยัด และปลอดภัยสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว เราพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างดูแลผู้โดยสารและขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0-2624-5200 เฟซบุ๊ก: MRT Bangkok Metro ทวิตเตอร์: MRT Bangkok Metro อินสตาแกรม: mrt bangkok หรือโมบายล์แอปพลิเคชัน: Bangkok MRT และติดตามข้อมูลข่าวสาร รฟม.เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2021 12:16 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ประกาศ ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 7.8 หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 12:49 น.



รฟม.ล้มประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 7.8 หมื่นล้าน ผู้ว่าการ รฟม.จ่อแถลงบ่ายนี้

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ลงนามโดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ความว่า ตามประกาศของ รฟม. เรื่อง การประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยการประกวดราคานานาชาติลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นั้น เนื่องจากเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากขึ้น รฟม.จึงขอยกเลิกประกาศดังกล่าว


ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. จะแถลงข่าวถึงกรณีนี้อีกครั้งในช่วงบ่ายวันนี้

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570


โดยก่อนล้มประมูลออกแบบก่อสร้างเป็น 6 สัญญา วงเงินรวม 78,720 ล้านบาท ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา งานทางยกระดับ 1 สัญญา และงานระบบราง 1 สัญญา

ด่วน! รฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 7.8 หมื่นล้าน ผู้ว่าฯ เร่งแถลงเหตุผลบ่ายนี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 12:57 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 12:57 น.



รฟม.ประกาศยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 6 สัญญา ราคากลางรวม 7.871 หมื่นล้านบาท ระบุสาเหตุเพื่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากขึ้น ด้านผู้ว่าฯ รฟม.เตรียมแถลงรายละเอียดเพิ่มบ่ายนี้

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (27 ส.ค.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศบนหน้าเว็บไซต์ รฟม.ยกเลิกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยการประกวดราคานานาชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เนื่องจากเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากขึ้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า จะมีการแถลงรายละเอียดในช่วงบ่ายวันนี้ (27 ส.ค.)

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม. เพิ่งแถลงข่าวชี้แจงถึงการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ว่า ได้ประกาศร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) และขายเอกสารประกวดราคาฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2564 โดยมีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาฯ แล้วทั้งสิ้น 8 ราย แบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย รวมทั้งสิ้น 8 ราย โดยการดำเนินการในทุกขั้นตอนของการประกวดราคาฯ เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม. และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

พร้อมกันนี้ ได้ชี้แจงถึงการกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ต้องมีการออกแบบก่อสร้างอุโมงค์และสถานีใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ และโบราณสถานมากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้างและประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จมีคุณภาพ เชื่อถือได้

รวมถึงประเด็นการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอในการประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30:70 เพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงาน ไม่ได้กีดกันผู้รับเหมาต่างชาติ

สำหรับโครงการก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. (โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 11 กม.) 6 สัญญา ราคากลางรวม 7.871 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2021 12:22 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจงล้มประมูลสีม่วงใต้ หวั่นผิดข้อตกลงคุณธรรม ไม่เกี่ยวอภิปราย เร่งทำราคากลางใหม่ยันไทม์ไลน์เปิดปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 19:10 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 19:10 น.

รฟม. แจงยกเลิกประมูล ก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ไม่เกี่ยวกับอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือถูกวิจารณ์ทีโออาร์ ชี้เหตุจากทำข้อตกลงคุณธรรมยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ เร่งทำราคากลาง -ประมูลใหม่ ก.พ.65 ได้ตัวผู้รับจ้าง เปิดเดินรถปี 70ไม่หลุดไทม์ไลน์
วันนี้ (27ส.ค. 2564) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยว่า กรณีที่มีประกาศ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2564 เรื่อง ยกเลิกประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน –ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยการประกวดราคานานาชาติ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น นั้น เนื่องจากในการดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ รฟม. ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดย รฟม. และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา รฟม. ได้มีการประสานงานเชิญผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ตามข้อตกลงคุณธรรมมาโดยตลอด แต่เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ทำให้การสื่อสารกับผู้สังเกตการณ์ มีความคลาดเคลื่อน จึงทำให้เอกสารบางรายการส่งไปไม่ถึงผู้สังเกตการณ์ และถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ครบถ้วนตามระบบข้อตกลงคุณธรรม ดังนั้น รฟม. จึงเห็นสมควรยกเลิกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ฉบับลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 และเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้ครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

“ ที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่รฟม.ต้องกักตัว เนื่องจากใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้การจัดส่งเอกสารบางรายการไม่ถึงผู้สังเกตการณ์ ซึ่งรฟม.กังวลเรื่องข้อตกลงคุณธรรม ที่บกพร่อง ซึ่งคณะผู้สังเกตการณ์เป็นผู้แทนภาคประชาชน ได้มีโอกาสให้ข้อสงเกตเกี่ยวกับเอกสาร ขั้นตอนประกวดราคา ทั้งหมด เมื่อบกพร่องไม่ครบถ้วนจึงเห็นว่า จะต้องกลับมาดำเนินการใหม่ ซึ่งผมในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้มีอำนาจลงนามในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนนี้ ต้องรับผิดชอบทั้งหมด โดยจะเชิญผู้สังเกตการณ์ ตามบันทึกข้อตกลงคุณธรรม มาร่วมกระบวนการใหม่ “

ทั้งนี้ ยืนยันว่า การยกเลิกประกวดราคาครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีการตั้งข้อสังเกตเรื่องเงื่อนไขหลักเกณฑ์ประมูล หรือ ที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ช่วงปลายเดือนนี้แต่อย่างใด

โดย รฟม.จะเริ่มดำเนินการในขั้นตอนการประกวดราคาใหม่ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ เป็นการประกวดราคานานาชาติ ใช้หลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการพิจารณาเดิม ซึ่งจะมีการรับฟังความเห็นจากคณะผู้สังเกตการณ์ด้วย ซึ่งจะดำเนินการทันที พร้อมกับจะเร่งรัดการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ให้เป็นไปตามกำหนดการณ์ ในแผนงานเดิมโดยไม่ให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ ซึ่งตนได้รายงานเรื่องนี้ต่อ ผู้บริหารกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยเห็นว่าเรื่องข้อตกลงคุณธรรมเป็นสาระสำคัญที่ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ฯ และการมีส่วนของประชาชนผ่านตัวแทนที่มาสังเกตการณ์ ซึ่งจะแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ ซึ่งได้กำชับให้รฟม.ดำเนินการให้ครบถ้วน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้

@เร่งทำราคากลาง -ประมูลใหม่ ก.พ.65 ได้ตัวผู้รับจ้าง

ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้จะมีการจัดทำราคากลางใหม่ โดยทบทวนให้เป็นปัจจุบัน ตามดัชนีผู้บริโภค และตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะทำราคากลางเสร็จต้นเดือนก.ย. และจัดทำร่างทีโออาร์ เปิดทีโออาร์วิจารณ์ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาโดยทุกขั้นตอนจะเชิญผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมมาร่วมทั้งหมด คาดว่าจะสามารประกาศเชิญชวน ขายเอกสารประกวดราคาได้ต้นเดือนต.ค. ถึงสิ้นเดือนพ.ย. 2564 ให้ยื่นข้อเสนอประมาณปลายเดือนพ.ย.-ต้นเดือนธ.ค. 2564 จากนั้นจะประเมินข้อเสนอ ใช้เวลาประมาณ 2เดือนและคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ประมาณ ปลายเดือนม.ค.- ต้นเดือนก.พ.2565

ซึ่งยอมรับว่า ราคากลางใหม่อาจจะปรับขึ้นบ้างแต่เชื่อว่าจะไม่มากนัก เนื่องจากยังเป็นช่วงเวลาที่ห่างกันประมาณ 2-3 เดือน ดัชนีผู้บริโภคจะเปลี่ยนไม่มากนัก

นายภคพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้ มีเอกชนซื้อเอกสารประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ไปแล้ว รวม 9 ราย แบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 3 ราย ซึ่งในการประมูลครั้งใหม่ จะคงสิทธิ์ให้ผู้ที่ซื้อเอกสารเดิม สามารถเข้ารับเอกสารประมูลฉบับใหม่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม การประกวดราคาใหม่ จะกระทบต่อแผนงานโครงการประมาณ 1 เดือน โดยจะเร่งรัดขั้นตอนการประเมินข้อเสนอให้กระชับขึ้น และแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการในปี 2570 ซึ่งยังคงเป็นไปตามแผนภาพรวมของรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เดิม

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้า ที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี การประมูลเดิม รฟม.ขายเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2564 โดยกำหนดยื่นเอกสารประมูลวันที่ 8 ต.ค.2564 ใช้เวลาประเมินข้อเสนอ ถึงปลายเดือนธ.ค.2564 คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างทั้ง 6 สัญญา ในเดือนม.ค.2565

รฟม. แจงเหตุล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีม่วง” 7.8 หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 17:09 น.


รฟม.แจงล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” เพราะขาดการดำเนินการตามข้อตกลงคุณธรรม เร่งรัดทำราคากลาง-ประมูลใหม่ปลายปี ได้ตัวก.พ. 65 ชี้ยังไม่หลุดเป้าเปิดปี 70 ยันไม่เกี่ยวโดนโจมตีเกณฑ์ประมูล-อภิปรายรัฐมนตรี ก่อนเยียวยาเอกชน 9 รายไม่ต้องซื้อซองซ้ำ

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า การประกาศยกเลิกการประมูลจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 78,720 ล้านบาท สืบเนื่องมาจากขาดการดำเนินในขั้นตอนของการให้ความเห็นของผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม จึงตัดสินยกเลิกไปก่อน



รายงาน “ศักดิ์สยาม” แล้ว
ประกอบกับช่วงนี้มีสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงจนทำให้พนักงานบางส่วนของ รฟม. ติดเชื้อและกลายเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งกระทบกับการส่งเอกสารประกวดราคาไปให้กับผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมลงความเห็นประกอบ ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยากลำบากด้วย และทั้งหมดนี้ได้รายงานนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทราบแล้ว


ไม่กระทบเปิดใช้ปี 70
ดังนั้น รฟม.จะเริ่มกระบวนการทำเอกสารประกงดราคาใหม่ โดยจะคิดคำนวณราคากลางของโครงการใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะกระทบกับกรอบเวลาประมาณ 1 เดือน แต่ไม่กระทบกับเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการโครงการในปี 2570 เพราะจะเร่งรัดกระบวนการต่างๆให้ไวขึ้น

ประมูลปลายปี ได้ตัว ก.พ. 65
ส่วนไทม์ไลน์หลังจากนี้ เมื่อยกเลิกการประกวดราคาแล้ว จะเร่งคำนวณราคากลางใหม่ให้เสร็จในช่วงเดือนกันยายน 2564 นี้ จากนั้นจะดำเนินการเชิญผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมมาร่วมให้ความเห็นประกอบให้ครบถ้วนทุกขั้นตอน หลังจากนั้นคาดว่าจะเปิดขายซองประมูลโครงการในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2564 และจะเปิดให้เอกชนยื่นซองข้อเสนอโครงการในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายน -ต้นเดือนธันวาคม 2564 หลังจากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกจะใช้เวลาพิจารณาซองข้อเสนอประมาณ 1-2 เดือน คาดว่าจะได้ตัวเอกชนในช่วงปลายเดือนมกราคม – ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยหลักเกณฑ์และกติการการประมูลต่างๆยังคงเดิมทั้งหมด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ คาดว่าราคากลางที่จะเพิ่มขึ้นจะแพงขึ้นไม่มากนัก เพราะตามสมมติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี ในระยะ 2-3 เดือนที่ต้องทำราคากลางใหม่ จะมีราคาสูงขึ้นไม่มาก


ยันไม่เกี่ยวโดนโจมตี-อภิปรายรัฐมนตรี
ผู้ว่ารฟม.กล่าวต่อว่า ขอย้ำอีกครั้งว่า การยกเลิกประมูลครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการถูกหลายฝ่ายโจมตีกรณีการใช้หลักเกณฑ์เทคนิคควบราคาในการพิจารณาและไม่เกี่ยวกับการที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้แต่อย่างใด

และไม่กระทบกับรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เพราะไม่เกี่ยวกับขั้นตอนประกวดราคา ส่วนพ.ร.ฎ.เวนคืน ฝก็ไม่กระทบเช่นกัน เพราะยังอยู่ในกรอบเวลาดำเนินการตามกฎหมาย แต่จะมีอุปสรรคในขั้นตอนสำรวจทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องทำราคาค่าทดแทนเวนคืน เพราะมีชาวบ้านบางส่วนไม่ให่ความร่วมมือ เพราะกลัวสถานการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

เยียวยา 9 เอกชนไม่ต้องซื้อซองใหม่
ส่วนผู้ซื้อซองเอกสารก่อนหน้านี้ รฟม.จะคงสิทธิ์ให้ทั้ง 9 รายไม่ต้องเข้ามาซื้อซองใหม่อีกรอบหนึ่ง โดยจะทำการติดต่อให้มารับซองเอกสารฉบับใหม่ในภายหลัง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ยังเปิดเผยรายชื่อเอกชนที่ซื้อซองทั้ง 9 รายไม่ได้ แต่ระบุได้แค่ว่า เป็นผู้ประกอบการในประเทศ 6 ราย และมาจากต่างประเทศ 3 ราย

เปิดสาเหตุ รฟม. ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
หน้า เศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 11:57 น.

รฟม.ลงนามยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ วงเงิน 8.23 หมื่นล้าน หลังอยู่ระหว่างประกาศขายซองทีโออาร์ เผยต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศวันนี้ (27 ส.ค.) ประเด็นประกาศยกเลิกประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 8.23 หมื่นล้านบาท โดยการประกวดราคานานาชาติ โดยระบุถึงเหตุผลในการยกเลิกประกวดราคาว่า เนื่องจากเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากขึ้น


ที่ผ่านมารฟม.อยู่ระหว่างการเปิดจำหน่ายเอกสารการประมูลมาตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม- 7 ตุลาคม 2564 โดยมีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาฯ แล้วทั้งสิ้น 8 ราย โดยแบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย หลังจากสิ้นสุดการเปิดขายซองฯแล้ว จากนั้นจะให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 8 ตุลาคม 2564 และคาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลปลายปี 2564 ลงนามสัญญาประมาณเดือนมกราคม 2565 เริ่มก่อสร้างปี 2565 และเปิดให้บริการปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2021 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้า เริ่มต้นผิดก็เดินต่อไม่ได้
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: วันที่ 29 สิงหาคม 2564 เวลา 18:04 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 สิงหาคม 2564 เวลา 18:04 น.


ปีนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ล้มการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าไป 2 โครงการแล้ว ในช่วงเวลาที่ห่างกันเพียง 6 เดือน

ทั้งสองโครงการ เป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนเหยียบแสนล้านบาท เป็น 2 โครงการสุดท้ายของแผนแม่บทรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลระยะที่ 1 โครงการแรกคือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่าการลงทุน 128,128 ล้านบาท รฟม.สั่งล้มประมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

โครงการที่สองคือ รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 78,720 ล้านบาท รฟม.ประกาศเชิญชวน และขายเอกสารประกวดราคาไปแล้วตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม-7 ตุลาคม ยื่นข้อเสนอวันที่ 8 ตุลาคม ถูกยกเลิกการประมูลเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา รฟม.ให้เหตุผลว่า เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
รฟม.อ้างว่าเกิดความคลาดเคลื่อนในการส่งเอกสารประกวดราคาให้กับผู้สังเกตการณ์ ตามข้อตกลงคุณธรรมที่ลงนามกันไว้เมื่อปี 2561 จึงต้องยกเลิก เพื่อแก้ไข ดำเนินการให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลนัก เพราะแค่ส่งเอกสารไม่ครบ ถึงกับต้องล้มประมูลเชียวหรือ ในเมื่อยังอยู่ในช่วงขายเอกสารประมูล มีเวลาอีก 1 เดือนกว่าจะถึงวันยื่นซอง สามารถส่งเอกสารที่ขาดไปให้ผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมได้

การยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง เกิดขึ้น 5 วันก่อนหน้าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 4 คน ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้นสังกัด รฟม.รวมอยู่ด้วย จึงถูกมองว่า เลิกประมูลเพื่อไม่ให้ฝ่ายค้านใช้เป็นประเด็นอภิปรายนายศักดิ์สยาม เพราะ รฟม.ถูกกล่าวหาว่า เขียนทีโออาร์ที่ใช้เกณฑ์เทคนิค 30% ผสมกับเกณฑ์ราคา 70% เป็นเกณฑ์ตัดสินหาผู้ชนะ เพื่อเอื้อประโยชน์ ล็อกสเปกให้กับกลุ่มทุนก่อสร้าง สัมปทานระบบขนส่งมวลชนรายใหญ่

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ก็มีข้อครหาในทำนองเดียวกันนี้ คือ รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ตัดสินจากปกติ ที่ผู้เข้าประมูลต้องผ่านเกณฑ์เทคนิคก่อน จึงจะเข้าไปสู้กันในการเสนอราคา มาเป็นเกณฑ์ผสมเทคนิค 30% กับราคา 70% รฟม.ขายซองไปแล้ว มาแก้ไขทีโออาร์ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มอิตาเลียนไทย ทำให้บีทีเอส ซึ่งเข้าร่วมประมูลด้วยยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้ รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ทำให้ รฟม.ตัดสินใจยกเลิกการประมูล

รฟม.อ้างว่า รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และสีม่วง มีเส้นทางบางส่วนที่อยู่ใต้ดิน ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีพระบรมมหาราชวัง และสถานที่สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งตั้งอยู่ จึงให้ความสำคัญกับการก่อสร้าง ที่ผู้ประมูลต้องมีประสบการณ์ในการขุดเจาะอุโมงค์เส้นทางใต้ดินมาก่อน ไม่ใช่ดูแต่เรื่องราคาอย่างเดียวว่า ใครเสนอผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดก็ได้ทำโครงการ

ข้อโต้แย้งของฝ่ายที่เห็นว่า การใช้เกณฑ์เทคนิค 30% ผสมราคา 70% น่าสงสัยว่า จะเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็คือ ตามทีโออาร์แบบเดิม ซึ่ง รฟม.ใช้กับทุกโครงการในอดีต กำหนดให้ผู้ร่วมประมูลทุกรายต้องผ่านเกณฑ์เทคนิค 85-90% ก่อน จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการเสนอราคา ใครที่สอบตกซองเทคนิค ไม่มีสิทธิเปิดซองราคา จึงเป็นการคัดกรองผู้ที่มีคุณสมบัติด้านเทคนิคในตัวอยู่แล้ว การใช้เกณฑ์เทคนิค 30% ผสมราคา 70% กลับจะเป็นการลดความเข้มข้นในการตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้าง จาก 90% เหลือแค่ 30% เท่านั้น ขัดแย้งกับข้อกล่าวอ้างของ รฟม.ที่ว่า ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการก่อสร้าง

ทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นโครงการรถไฟฟ้าสายหลักขนาดใหญ่ 2 โครงการสุดท้ายแล้ว เป็นเค้กก้อนใหญ่ 2 ก้อนที่เหลืออยู่ หมดจากนี้ไม่มีแล้ว จึงเป็นที่ต้องการของกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง สัมปทานรถไฟฟ้า โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งให้เอกชนลงทุนครบวงจรทั้งก่อสร้างงานโยธา วางระบบ และรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกเชื่อมต่อตะวันออก ตลอดสายตั้งแต่บางขุนนนท์ไปถึงมีนบุรี

ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นการประมูลการก่อสร้างงานโยธา และงานระบบ ไม่มีสัมปทานเดินรถ



เช่นเดียวกันทั้งสองโครงการนี้ เป็นรถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้ายที่ผู้มีอำนาจจะแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน ผ่านการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกติกาที่มีผลต่อการตัดสินหาผู้ชนะได้

การใช้เกณฑ์เทคนิค 30% ผสมกับเกณฑ์ราคา 70% มีผลต่องบประมาณที่ รฟม. ต้องจ่ายให้กับผู้ชนะมากขึ้นกว่าการใช้เกณฑ์ราคา 100% ในการชี้ขาดรอบสุดท้ายด้วย เพราะผู้ที่เสนอราคาค่าก่อสร้างต่ำสุด ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่จำเป็นต้องชนะการประมูล หาก รฟม.อ้างว่า ผู้เสนอราคาสูงกว่า มีประสบการณ์การก่อสร้างที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจกว่า

ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐ เอกชน หรือ พีพีพี รัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธาด้วย ผู้ชนะไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสนอขอเงินอุดหนุนต่ำสุด ผู้ขอเงินอุดหนุนมากกว่า อาจเป็นผู้ชนะได้ ถ้ากรรมการให้คะแนนเทคนิคสูงกว่าผู้ขอเงินอุดหนุนน้อยกว่า

การใช้เกณฑ์เทคนิค 30% ผสมกับเกณฑ์ราคา 70% จึงทำให้ รฟม.ซึ่งก็คือ รัฐบาล ต้องใช้งบประมาณลงทุนสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีม่วง มากกว่าการใช้เกณฑ์ราคา 100% อย่างน้อยที่สุด โครงการละหลายพันล้านไปจนถึงหลักหมื่นล้านบาท เงินก้อนใหญ่นี้คือ “ส่วนเกิน” ที่ผู้ชนะการประมูลไม่ควรจะได้ เพราะไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนทีโออาร์ ไปใช้เกณฑ์เทคนิคผสมเกณฑ์ราคา ซึ่งแน่นอนว่า ส่วนเกินนี้จะถูกกันส่วนหนึ่งไว้เป็น “เงินทอน” ตอบแทนผู้มีอำนาจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 1:03 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า MRT น้ำเงิน-ม่วง ขานรับจำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 75%
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
2 กันยายน 2564 เวลา 11:32 น.

รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ม่วง ขานรับมาตรการคลายล็อกเดินทาง จำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 75% ยังคุมเข้มโควิด ชี้หากผู้โดยสารแน่นจะจัดลำดับการเข้าใช้บริการ ลดแออัดทั้งในสถานี-ขบวนรถ


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. พร้อมขานรับนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม โดยร่วมมือกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ในการควบคุมความหนาแน่นของผู้โดยสารให้ไม่เกิน 75% ของความจุภายในขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งขอความร่วมมือผู้โดยสารตระหนักถึงการดูแลสุขอนามัยของตนเอง และส่วนรวมตลอดการเข้าใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ดังนี้ กรณีที่มีผู้โดยสารหนาแน่น จะจัดลำดับการเข้าใช้บริการของผู้โดยสาร (Group Release) เพื่อควบคุมปริมาณผู้ใช้บริการไม่ให้เกิดความแออัดทั้งในสถานี และในขบวนรถไฟฟ้า


นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ขอความร่วมมือผู้โดยสารรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing),  ตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิก่อนเข้าใช้บริการรถไฟฟ้า MRT โดยต้องมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส, สวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดการเข้าใช้บริการ, งดการสนทนาขณะโดยสารภายในขบวนรถ, ไม่หันหน้าเข้าหากันเมื่ออยู่ภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า, สแกน QR Code ไทยชนะ ที่ติดอยู่ในตู้โดยสาร และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังการใช้บริการทุกครั้ง ทั้งนี้ รฟม. และ BEM ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระบบรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สาย อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการ และความปลอดภัยของทุกคน


นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT ได้ปรับเวลาในการให้บริการ โดยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ให้บริการเวลา 06.00 – 21.00 น. และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ให้บริการเวลา 05.30 – 21.00 น. (รถไฟขบวนสุดท้ายถึงสถานีปลายทาง เวลา 21.00 น.) ทั้งนี้ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบตารางการเดินรถและเวลารถไฟฟ้าขบวนสุดท้าย ได้จากประกาศภายในสถานี หรือเฟซบุ๊ก: MRT Bangkok Metro / โมบายแอพพลิเคชั่น: Bangkok MRT และเว็บไซต์ www.bemplc.co.th หรือสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0-2624-5200.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2021 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ยุคไฮเทคล้มประมูล รถไฟฟ้าม่วงใต้7.8 หมื่นล้านอ้างโควิดทำ “จดหมายเป็นหมัน”
หน้า เศรษฐกิจมหภาค Mega Project
7 กันยายน 2564 เวลา 08:31 น.


"สามารถ" จวกยุคไฮเทค ล้มประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้ อ้างจดหมายเป็นหมัน
07 กันยายน 2564 เวลา 11:29 น.

"สามารถ" จวกยุคไฮเทค ล้มประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้ อ้างจดหมายเป็นหมัน
รฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้ จับสังเกตุหนีอภิปรายไม่ไว้วางใจ "สามารถ" จี้แสดงหลักฐานโต้ตอบผู้สังเกตุการณ์

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสบนเฟสบุ๊คส่วน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte

ตั้งข้อสังเกตถึงการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ โดยระบุว่า ยุคไฮเทค! ล้มประมูล “ม่วงใต้” 7.8 หมื่นล้าน อ้างโควิดทำ “จดหมายเป็นหมัน”

เมื่อเร็วๆ นี้ รฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 78,720 ล้านบาท โดยอ้างว่าส่งเอกสารบางรายการไปไม่ถึงผู้สังเกตการณ์ เนื่องจากมีการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าแท้จริงอาจเป็นเพราะต้องการหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สุดท้ายไม่มีการอภิปรายเรื่องนี้ จึงมีเหตุชวนให้น่าสงสัยว่าข้ออ้างของ รฟม.เป็นจริงหรือไม่? ถ้าจริง รฟม.ต้องกล้าแสดงหลักฐาน!

บทบาทของผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม

ในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ลงนามในข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) กับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ภายใต้โครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ข้อตกลงคุณธรรมเป็นการตกลงร่วมกันระหว่าง รฟม.กับผู้เข้าร่วมประมูลว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการประมูล โดยมีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงาน (ร่างทีโออาร์) ร่างประกาศเชิญชวน จนถึงขั้นตอนสิ้นสุดการประมูล

ผู้สังเกตการณ์เป็นบุคคลภายนอกหรือภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ และประสบการณ์ซึ่งจำเป็นต่อการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้เสียกับการประมูล

"สามารถ" จวกยุคไฮเทค ล้มประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้ อ้างจดหมายเป็นหมัน


ทั้งนี้ รฟม.จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์การประมูลทุกขั้นตอน โดย รฟม.จะต้องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ผู้สังเกตการณ์ เช่น ร่างทีโออาร์ ร่างประกาศเชิญชวน และร่างสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น

กรณีที่พบว่า รฟม.มิได้ปฏิบัติตามหรือได้กระทำการใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงคุณธรรม หรือพบเห็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตหรืออาจนำไปสู่การทุจริตได้ ผู้สังเกตการณ์จะต้องแจ้งให้ รฟม.ทราบ เพื่อให้ รฟม.ชี้แจงหรือแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนด หาก รฟม.ไม่ชี้แจงหรือชี้แจงไม่ชัดเจนหรือไม่แก้ไข ผู้สังเกตการณ์จะต้องรายงานต่อ ACT เพื่อให้ ACT รายงานต่อฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) พิจารณาดำเนินการต่อไป

รฟม.ไม่ทำตามข้อลงคุณธรรมอย่างไร?

ในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รฟม.อ้างว่าส่งเอกสารบางรายการไปไม่ถึงผู้สังเกตการณ์ เนื่องจากมีอุปสรรคที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 แต่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า รฟม.อาจต้องการหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในประเด็นการใช้เกณฑ์ประมูลเหมือนกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกที่ถูกฟ้องร้องอยู่ ซึ่งในที่สุดก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดมีคำถามต่อ รฟม. ดังนี้

1. รฟม.ส่งเอกสารไปทางใดจึงไม่ถึงผู้สังเกตการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นพบว่าแม้จะอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ไม่ว่าไปรษณีย์หรือผู้ประกอบการส่งเอกสารอื่นก็ยังคงทำงาน อาจจะล่าช้าไปบ้าง แต่ถ้า รฟม.ส่งเอกสารผ่านทางอีเมล หรือไลน์ด้วยก็จะสามารถไปถึงผู้สังเกตการณ์ได้ในพริบตา

"สามารถ" จวกยุคไฮเทค ล้มประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้ อ้างจดหมายเป็นหมัน


2. เอกสารใดบ้างที่ รฟม.ส่งไปไม่ถึง หากเป็นร่างทีโออาร์ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะชี้ให้เห็นถึงเกณฑ์ประมูล ผู้สังเกตการณ์ก็ไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าร่างทีโออาร์เหมาะสมหรือไม่? ทั้งนี้ รฟม.ใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาซึ่งถูกกล่าวหาว่า “ย้อนแย้ง” กับความต้องการของ รฟม.ที่มุ่งหวังจะได้ผู้รับเหมาที่เก่งด้านเทคนิค เนื่องจากถ้าใช้เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาจะลดความสำคัญด้านเทคนิคลง

อีกทั้ง รฟม.ไม่อนุญาตให้ผู้รับเหมาต่างชาติใช้ผลงานจากต่างประเทศมาอ้างเป็นผลงานได้ ทำให้ผู้รับเหมาต่างชาติเข้าร่วมประมูลได้น้อยราย ทั้งๆ ที่เป็นการประกวดราคานานาชาติที่ต้องการให้มีการแข่งขันอย่างกว้างขาง และช่วยลดการสมยอมราคา (ฮั้ว)

3. ผู้สังเกตการณ์ได้แจ้งไปที่ รฟม.หรือไม่? ว่าไม่ได้รับเอกสารใด หรือทั้งหมด และแจ้งไปกี่ครั้ง? เมื่อใด?

4. รฟม.ได้ชี้แจงหรือแก้ไขหรือไม่? เมื่อใด?

5. รฟม.จะกล้าแสดงเอกสารหลักฐานการโต้ตอบระหว่าง รฟม.กับผู้สังเกตการณ์หรือไม่? เพื่อทำให้สังคมเชื่อได้ว่าข้ออ้างของ รฟม.ตามที่ได้แถลงข่าวว่าส่งเอกสารบางรายการไปไม่ถึงผู้สังเกตการณ์ เนื่องจากอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้การสื่อสารกับผู้สังเกตการณ์คลาดเคลื่อนนั้นเป็นจริง

สรุป

หาก รฟม.ไม่สามารถแสดงเอกสารหลักฐานการโต้ตอบกับผู้สังเกตการณ์ได้ ความเคลือบแคลงสงสัยก็คงไม่จางหายไปจากพี่น้องประชาชนที่ติดตามการประมูลโครงการสำคัญนี้ได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่มุ่งหวังที่จะให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

กรณีข้ออ้างของ รฟม.รับฟังไม่ขึ้น ผมขอเรียกร้องให้ ค.ป.ท.พิจารณารายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

------------------------

ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
ยุคไฮเทค! ล้มประมูล “ม่วงใต้” 7.8 หมื่นล้าน อ้างโควิดทำ “จดหมายเป็นหมัน”
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์
7 กันยายน 2564 เวลา 07:27 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 85, 86, 87 ... 120, 121, 122  Next
Page 86 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©