RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263076
ทั้งหมด:13574358
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 239, 240, 241 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 10:23 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม-ม่วงใต้‘ขยับ’ ดันราคาที่ดินพุ่ง3เท่า
หน้า อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 6:00 น.

ที่ดินทั่วกรุงขยับ 3 เท่า พุ่งทะลุล้านทั่วกรุง รับอานิสงส์รถไฟฟ้าใหม่สาย “สีส้ม-ม่วงใต้” ขยับ รฟม.ขีดเส้นประมูลปีนี้ เปิดทำเลทองใหม่ขึ้นตึกสูง บิ๊กดีเวลอปเปอร์ปักหมุดล่วงหน้า สายสีเหลือง-ชมพูเร่งเต็มสูบ เปิดใช้ปี 2565



การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ประกาศขยับ ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีม่วงใต้ ภายในปลายปีนี้และมีเป้าหมายเปิดให้บริการภายในปี 2570 ยังไม่รวมโครงข่ายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่งผลให้หลายพื้นที่กลายเป็นทำเลทองใหม่ ดีเวลอปเปอร์รายใหญ่เคลื่อนไหวเข้าพื้นที่ ปักหมุดขึ้นโครงการ ผลักดันให้ ราคาที่ดินขยับสูง



รถไฟฟ้าใหม่ดันที่พุ่ง 3 เท่า

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทประเมินราคาที่ดินแถวหน้าของเมืองไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การขยับ ของโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ อย่างสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรีและสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน -ราษฎร์บูรณะ ของรฟม. ส่งผลให้ราคาที่ดิน ปรับตัวสูงขึ้น 2-3 เท่าจากราคาเดิม ทั้งนี้ มาจากหลายปัจจัย เช่น

ราคาที่ดินเดิมยังไม่สูงมาก
ผู้ประกอบการเข้าซื้อที่ดินขึ้นโครงการ
เจ้าของที่ดิน เริ่มปรับปรุงอาคารเพิ่มมูลค่าหรือรอเวลาขาย
ราคาประเมินกรมธนารักษ์ปรับเพิ่มขึ้น
ผังเมืองกทม.ใหม่เพิ่มประโยชน์การใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นได้ แต่รอบนี้ ขยับไม่หวือหวา เพราะอยู่ในช่วงโควิด-19 ที่การพัฒนาอาจลดลง เมื่อเทียบกับช่วงปกติ 50%


ดินแดงทำเลทองใหม่

ส่วนทำเลทองใหม่มีหลายย่าน ที่ราคาที่ดินปรับตัวสูง เริ่มตั้งแต่สายสีส้มตะวันตก จากศูนย์วัฒนธรรมผ่านเข้าสู่สามเหลี่ยมดินแดง ก่อนออกไปถนนราชวิถี ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมแบรนด์ชั้นนำเปิดขายรออยู่ก่อนหน้าแล้ว เพื่อชิงความได้เปรียบเรื่องต้นทุน ที่ดินที่ซื้อได้ถูกก่อนตอกเข็มรถไฟฟ้า ในราคาเพียง 3-4 แสนบาทต่อตารางวา โดยเฉพาะที่ดินแฟลตดินแดงของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นที่ผืนใหญ่กลางใจเมืองที่มีแผนให้เอกชนพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ อนาคตราคาที่ดินจะพุ่ง ตารางวาละกว่า 1 ล้านบาท เนื่องจากอยู่ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เชื่อมโยงถนนสายหลักหลายเส้นทาง ที่วิ่งเข้าสู่กลางใจเมืองได้สะดวก



ขณะที่ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและราชวิถี จะได้อานิสงค์จากรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ที่ดันราคาที่ดินขยับสูงมาก่อนหน้านี้ เมื่อมีสายสีส้มวิ่งเข้ามาสมทบ ยิ่งดันให้ราคาที่ดินปรับสูงขึ้นกว่าตารางวาละ 1 ล้านบาท ซึ่งบริเวณนี้มีทั้งบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) ค่ายอนันดา ศุภาลัย ปักหมุดชิงกำลังซื้อกลุ่ม แพทย์-พยาบาล เนื่องจากมีโรงพยาบาลตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก

รัชดา-พระราม 9 แตะ1.5 ล้านแน่

ทำเลร้อนแรงที่สุดและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่(นิวซีบีดี ) สำหรับย่านรัชดาภิเษก-พระราม 9 ราคาจะวิ่งไปแตะที่ 1.5 ล้านบาทต่อตารางวา เพราะมีความเคลื่อนไหวซื้อขายที่ดิน และยังเป็นจุดตัดรถไฟฟ้า 2 สายคือ สายสีส้มและสายสีน้ำเงินหลังที่ดินแปลงรัชดาฯ ของนายสาธิต วิทยากร ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) (PRINC) ตัดที่แบ่งขายให้บริษัท เอไอเอ ประเทศไทย (AIA) 8 ไร่ เป็นเงิน 3,500 ล้านบาท ในราคานิวไฮที่ 1.1 ล้านบาทต่อตารางวา โดยยังเหลือที่ดินอีก 20ไร่ด้านใน ที่อาจพัฒนาเองหรือตัดขายให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาพัฒนาโครงการ



ฝั่งธนฯ มาแรง

ข้ามมาย่านฝั่งธนบุรี เมื่อสายสีส้มวิ่งลอดแม่น้ำเจ้าพระยา มายังศิริราช แถบบางขุนนนท์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณนี้สร้างตึกสูงได้ ขณะราคาที่ดินไม่แพงเพียงตารางวาละ 3-4 แสน บาท ที่สำคัญยังเป็นจุดตัด หรือจุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟฟ้าถึง 3 สายคือ สายสีน้ำเงิน ตัดสายสีส้มตะวันตกที่สถานีบางขุนนนท์ และมีสายสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนก่อสร้างในอนาคต เชื่อมต่อกับ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-ตลิ่งชัน ที่เปิดให้บริการไปแล้ว



หากวิ่งจากบางขุนนท์ ไปตลิ่งชันจนถึงย่านราชพฤกษ์ทำเลนี้นอกจากได้อานิสงส์รถไฟฟ้าหลายสาย รวมทั้งบีทีเอสบางหว้าด้วยแล้ว ผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ยังปรับให้ย่านราชพฤกษ์ จากสีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม)พัฒนาได้เฉพาะบ้านเดี่ยว เปลี่ยนเป็นพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) สร้างตึกสูงได้ ดันให้ราคาที่ดินจาก1 แสนบาทต่อตารางวา พุ่งพรวด 6 เท่า เป็น 6 แสนบาทต่อตารางวาทันที โดยไม่รอผังประกาศใช้



ม่วงใต้ร้อนฉ่า “แลนด์ ”จอง

อีกทำเลที่น่าจับตา มีบิ๊กอสังหาฯ ซุ่มซื้อที่ดินปักหมุดรออย่าง บมจ.แลนด์แอนเฮ้าส์ เข้าซื้อที่ดินโรงไม้เก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ 17 ไร่เศษ มูลค่า 1,550 ล้านบาท เพื่อขึ้นคอนโดมิเนียมสูง 50 ชั้น 4 อาคาร มูลค่ากว่า 1หมื่นล้านบาท ซึ่งทำเลติดโรงเรียนราชินีบนย่านสามเสน ใกล้กรมชลประทานรองรับรัฐสภาใหม่ และข้าราชการย่านดังกล่าว



นายวสันต์ประเมินว่า ทำเลนี้ราคา 1.5-2 แสนบาทต่อตารางวา อนาคตวิ่งไปได้ที่ 5-6 แสนบาท เท่ากับสถานีบางโพ ขณะที่บางซื่อทำเลยอดฮิต อนาคตทะลุล้านบาทต่อตารางวาแน่นอน เพราะปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 แสนบาทต่อตารางวาแล้ว มีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 10,000 หน่วย



ทำเลบนถนนกรุงธนบุรี ย่านฝั่งธนบุรี อีกทำเลที่ขึ้นตึกสูงได้ และมีกลุ่มกำลังซื้อสูงคือ เป็นคนพื้นที่ที่อยู่อาคารพาณิชย์ หันมาสนใจซื้อคอนโดมิเนียมไว้เป็นสินทรัพย์และให้ลูกหลาน ราคา 2-3 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งกลุ่มคนเก่าแก่ดังกล่าวเป็นเศรษฐีเงินเย็น ชอบซื้อคอนโดฯราคาถูกเก็บไว้



ส่วนราคาที่ดินจะไม่ต่างจากท่าพระ สายสีน้ำเงินที่ 5-6 แสนบาทต่อตารางวา ขณะทำเลดาวคะนอง พระปะแดง พระราม 2 ราคาที่ดินจากตารางวาละ 1แสนบาท ขยับเป็น 2-3 แสนบาท ต่อตารางวา ทันทีเมื่อสายสีม่วงมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 10:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดินหน้าศึกษาแทรมลาดกระบังปลุกโซนตะวันออก
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ
โควิดสงบ ดัน“แทรมลาดกระบัง” ปลุกโซนตะวันออก
หน้าเศรษฐกิจมหภาค
Mega Project
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:15 น.

โควิดสงบ บีทีเอส-สจล.-บางกอก สมาร์ทการ์ดฯ เดินหน้าลงพื้นที่ศึกษา แทรมลาดกระบัง รถไฟฟ้าล้อยาง แห่งแรกในเมืองไทยเชื่อมโยงสถาบันการศึกษา ยันช่วงนี้ระบาดรุนแรง ลงพื้นที่ลำบาก-คนบางตา คาดช่วยปลุกโซนตะวันออกคึกคักที่อยู่อาศัย-การเดินทางเข้าเมืองในอนาคต อีก 2-3ปีข้างหน้า

โดยบีทีเอสได้มีแผนที่จะศึกษารูปแบบระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tram Bus) ในเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ไว้จำนวน 2 เส้นทาง
เส้นทางที่ 1 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากสถานีลาดกระบัง-หัวตะเข้ ระยะทาง 4 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่ สถานีพระจอมเกล้า และสถานีหัวตะเข้
ส่วนเส้นทางที่ 2 วิ่งรอบภายในพื้นที่ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยจะใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะ ระบบ E-Payment และ Non-Payment ผ่านบัตรแรบบิท ที่สามารถเชื่อมต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
https://www.thansettakij.com/pr-news/economy/493441
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2021 1:25 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ “ตั๋วร่วม” แจงเหตุช้าจากสัมปทานเดิม ยันได้ใช้แน่เร็วๆ นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:21 น.
ปรับปรุง: วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:21 น.

“ศักดิ์สยาม” ตอบกระทู้ “ระบบตั๋วร่วม” เผยเหตุล่าช้า 2 ประการ ชี้สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าในอดีตไม่ระบุเรื่องตั๋วร่วม และไทยยังไม่มีกฎหมาย-หน่วยงานกำกับดูแลชัดเจน ยันเร่งหน่วยงานพัฒนาให้เป็นรูปธรรมเร็วๆ นี้ เดินทางเชื่อมบก-น้ำ-ราง-อากาศ สะดวก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการตอบกระทู้ถามทั่วไป เรื่องความคืบหน้าในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมรถไฟฟ้า (บัตรแมงมุม) และระบบตั๋วร่วมขนส่งมวลชน ตามที่นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล กรุงเทพมหานคร (กทม.) วันนี้ (26 ส.ค. 2564) ณ รัฐสภา ว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องเดิมในอดีต โดยการขนส่งสาธารณะนั้นประเทศไทย เริ่มต้นจากระบบไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งถือเป็นเส้นทางแรกในปี 2542 ภายใต้การกำกับดูแลของ กทม. ถัดมาในปี 2547 ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ภายใต้กำกับของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ ในสัญญาสัมปทานทั้ง 2 สัญญาของโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้มีการระบุถึงการใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้ในปี 2555 กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เริ่มโครงการศึกษาการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาจะต้องใช้เวลาเล็กน้อย เพราะว่าในปี 2556-2558 มีการศึกษาวางแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ขณะที่ในปี 2558-2560 มีการศึกษาระบบจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ซึ่งในขณะนี้ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นในปี 2561 สนข.ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอออก พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.

นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า โดยสรุปเบื้องต้นนั้น ปัญหาระบบตั๋วร่วมที่มีความล่าช้า ไม่สามารถเปิดบริการให้แก่ประชาชนได้มี 2 ประการ ประกอบด้วย 1. มีผู้ประกอบการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหลายราย ซึ่งในสัญญาสัมปทานไม่ได้ระบุให้มีการดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วม ทำให้ต้องอาศัยการเจรจา ซึ่งในขณะนี้การเจรจาต่างๆ ได้ผลลุล่วงเป็นอย่างดี และ 2. ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องระบบตั๋วร่วมอย่างชัดเจน ทำให้ไม่มีอำนาจไปบังคับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าให้เข้าร่วมใช้ระบบตั๋วร่วมได้

“ผมเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือน ก.ค. 2562 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้สำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว หรือใช้บัตรอะไรก็ได้ เพื่อผ่านเข้าระบบได้เป็นระบบเดียว เพื่อที่จะสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ไม่เฉพาะแค่เรื่องรถไฟฟ้า ขณะนี้ต้องเรียนว่าการศึกษาของกระทรวงคมนาคมเราสามารถที่จะไปใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เรือโดยสาร และสามารถใช้ซื้อตั๋วโดยสารขึ้นสายการบินได้” นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวต่ออีกว่า สำหรับระบบตั๋วร่วมนั้น เพื่อเพิ่มความสะดวกประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด และลดมลพิษปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขต กทม. และปริมณฑล สำหรับการเร่งรัดใช้ระบบตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้รัฐบาลโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. 2563 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ

นอกจากนี้ ตนยังได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อกำหนดมาตรฐานและรูปแบบบัตรโดยสารร่วม และ 2. คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ เพื่อกำหนดมาตรฐานของอัตราค่าโดยสารร่วม และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เหมาะสม ซึ่งในขณะนี้คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดสามารถศึกษารูปแบบออกมาอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถดำเนินการให้ประชาชนได้ใช้ระบบตั๋วร่วมในเร็วๆ นี้

‘ศักดิ์สยาม’ แจงเหตุ ‘ระบบตั๋วร่วม’ ล่าช้า ยันเร่งพัฒนาระบบ คาดเตรียมเปิดให้ใช้ได้เร็วๆนี้
26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:35 น.
'ศักดิ์สยาม'แจงปมตั๋วร่วมอืดชี้ติดปัญหาสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าในอดีต
27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:10 น.

...“ศักดิ์สยาม” ลุกตอบกระทู้ถาม “ระบบตั๋วร่วม” เผยเหตุล่าช้า 2 ประการ ชี้สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าในอดีต ไม่ได้ระบุเรื่องตั๋วร่วม พร้อมไทยยังไม่มีกฎหมาย-หน่วยงานกำกับดูแลชัดเจน ยัน เร่งหน่วยงานพัฒนาให้เป็นรูปธรรม หวังอำนวยความสะดวกการเดินทางประชาชน เชื่อม บก-น้ำ-ราง-อากาศ เชื่อเตรียมเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้
วันที่ 26 สิงหาคม ที่รัฐสภา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการตอบกระทู้ถามทั่วไป เรื่องความคืบหน้าในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมรถไฟฟ้า (บัตรแมงมุม) และระบบตั๋วร่วมขนส่งมวลชน ตามที่นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล กรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า เรื่องดังกล่าว ถือเป็นเรื่องเดิมในอดีต โดยการขนส่งสาธารณะนั้น ประเทศไทย เริ่มต้นจากระบบไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งถือเป็นเส้นทางแรกในปี 2542 ภายใต้การกำกับดูแลของ กทม. ถัดมาในปี 2547 ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ภายใต้กำกับของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม
ทั้งนี้ ในสัญญาสัมปทานทั้ง 2 สัญญาของโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้มีการระบุถึงการใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้ในปี 2555 กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เริ่มโครงการศึกษาการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมา จะต้องใช้เวลาเล็กน้อย เพราะว่าในปี 2556-2558 มีการศึกษาวางแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ขณะที่ในปี 2558-2560 มีการศึกษาระบบจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ซึ่งในขณะนี้ ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นในปี 2561 สนข. ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอออก พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า โดยสรุปเบื้องต้นนั้น ปัญหาระบบตั๋วร่วมที่มีความล่าช้า ไม่สามารถเปิดบริการให้กับประชาชนได้ มี 2 ประการ ประกอบด้วย
1.มีผู้ประกอบการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหลายราย ซึ่งในสัญญาสัมปทาน ไม่ได้ระบุให้มีการดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วม ทำให้ต้องอาศัยการเจรจา ซึ่งในขณะนี้การเจรจาต่าง ๆ ได้ผลลุล่วงเป็นอย่างดี
2.ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องระบบตั๋วร่วมอย่างชัดเจน ทำให้ไม่มีอำนาจไปบังคับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าให้เข้าร่วมใช้ระบบตั๋วร่วมได้
“ผมเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือน กรกฎาคม 2562 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้สำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว หรือใช้บัตรอะไรก็ได้ เพื่อผ่านเข้าระบบได้เป็นระบบเดียว เพื่อที่จะสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ไม่เฉพาะแค่เรื่องรถไฟฟ้า ขณะนี้ต้องเรียนว่า การศึกษาของกระทรวงคมนาคมเราสามารถที่จะไปใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เรือโดยสาร และสามารถใช้ซื้อตั๋วโดยสารขึ้นสายการบินได้” นายศักดิ์สยาม กล่าว
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับระบบตั๋วร่วมนั้น เพื่อเพิ่มความสะดวกประชาชน หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อแก้ปัญหาหารจราจรติดขัด และลดมลพิษปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขต กทม. และปริมณฑล สำหรับการเร่งรัดใช้ระบบตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้ รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. 2563 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ
นอกจากนี้ นายศักดิ์สยาม ระบุว่า ยังได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อกำหนดมาตรฐาน และรูปแบบบัตรโดยสารร่วม และ 2.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสาร และการจัดสรรรายได้ เพื่อกำหนดมาตรฐานของอัตราค่าโดยสารร่วม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งในขณะนี้คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดสามารถศึกษารูปแบบออกมาอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถดำเนินการให้ประชาชนได้ใช้ระบบตั๋วร่วมในเร็ว ๆ นี้


Last edited by Wisarut on 29/08/2021 12:57 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2021 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

ส้ม-ชมพู-เหลืองช้ากว่าแผน ขาดแรงงานพิษโควิด-19-ต้องเลื่อนเปิดทุกโครงการ
ข่าวในประเทศ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:05 น.

พิษโควิด-19 ส่งผลสร้างรถไฟฟ้าล่าช้ากว่าแผน ประสานรับเหมาปรับแผน ยอมรับต้องเลื่อนเปิดให้บริการทุกเส้นทาง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างทุกสัญญาทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เริ่มมีผลงานล่าช้ากว่าแผนงาน จากเดิมทุกโครงการจะเร็วกว่าแผนประมาณ 4-5% ปัจจุบันล่าช้ากว่าแผน 2-3% ถึงแม้จะมีมาตรการผ่อนผันให้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โครงการก่อสร้างใต้ดิน หากหยุดก่อสร้างอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างจึงให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคยังรุนแรง ประกอบกับมาตรการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน บางส่วนถูกกักตัวภายในแคมป์คนงาน สามารถออกมาทำงานได้บางส่วน จึงทำให้ขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง

นายภคพงศ์กล่าวว่า ทั้งนี้ ปัญหาความล่าช้าดังกล่าวเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยนอกเหนือการควบคุม รฟม. ได้สั่งการให้ผู้รับเหมาก่อสร้างทุกสัญญาของโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง พิจารณาปรับแผนงานก่อสร้างใหม่เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป รฟม.ยอมรับว่าอาจจะส่งผลทำให้กำหนดการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเดินรถแต่ละสายต้องเลื่อนออกไปจากเดิม เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เดิมจะทยอยเปิดให้บริการปลายปี 64 เลื่อนไปต้นปีหรือกลางปี 65 สายสีชมพู จากต้นปี 65 เลื่อนเป็นกลางปี 65 เป็นต้น ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนต้องรอผลการประเมินอีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2021 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

นำร่องตั๋วร่วมสีแดง-ขสมก.เริ่มใช้พ.ย.นี้
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผู้จัดการรายวัน360 - "ศักดิ์สยาม" เร่งตั๋วร่วม รถไฟสีแดงนำร่องตั๋วใบเดียว "สีแดง-รถ ขสมก." แบบเหมารายเดือน เริ่มใช้ พ.ย.นี้ เร่งกำหนดค่าโดยสารร่วมแบบไม่มีแรกเข้า ส่วนตั๋วร่วม EMV ใช้ได้ปลายปี 64 พร้อมขยายใช้กับ MRT สีน้ำเงิน และสายสีม่วง ต้นปี 65

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 5/2564 ได้ติดตามในเรื่องการกำหนดราคาค่าโดยสาร และตั๋วร่วม ซึ่งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนการดำเนินงาน และพิจารณาผลประกอบการจากการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง

ทั้งนี้ ด้านความพร้อมเข้าสู่ระบบตั๋วร่วม ภายใต้มาตรฐานEMV Contactless (Europay Mastercard and Visa) รองรับการใช้งานในรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และเรือโดยสาร MINE Smart Ferry โดยจะสามารถเปิดใช้ระบบการชำระค่าโดยสารตามมาตรฐาน EMV ของรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้ ภายในปลายปี 64 ส่วนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง จะใช้งานได้ภายในต้นปี 65

สำหรับบัตรโดยสารในการเดินทางร่วมนั้น มอบหมายให้ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ประสานการหารือร่วมระหว่าง รฟท. ขสมก. กรมเจ้าท่า(จท.) ผู้ให้บริการเรือโดยสาร รวมทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เพื่อให้ได้ข้อสรุปในรายละเอียดโปรโมชันส่งเสริมการเดินทางร่วมระหว่างกัน รวมทั้ง แนวทางการดำเนินงานในด้านเทคนิคของบัตรโดยสาร และรูปแบบของข้อตกลงทางธุรกิจร่วมกัน

โดยความคืบหน้าการดำเนินงานจัดทำบัตรโดยสารในการเดินทางร่วมสายสีแดงกับ ขสมก. เพื่อชำระค่าโดยสารแบบเหมาจ่ายรายเดือนในบัตรเดียวกัน กำหนดให้สามารถเดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ในระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันแรกที่ใช้งาน โดยสามารถซื้อบัตรโดยสารร่วม ได้ที่เขตการเดินรถตามที่ขสมก. กำหนด และห้องจำหน่ายบัตรโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง และยังสามารถเติมเงินเข้าบัตรได้หลายช่องทาง เช่น ตู้เอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงไทย แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ตู้เติมเงิน รวมทั้ง การเติมเงินผ่าน QR Code การเติมเงินที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ซึ่งการชำระเงินค่าโดยสารในการเดินทางนั้น ผู้โดยสารจะใช้บัตรดังกล่าว ชำระผ่านเครื่อง EDC บนรถเมล์ ขสมก. และแตะเข้า Gate ของสถานีสายสีแดง ซึ่งจะทำให้การใช้บัตรโดยสารร่วมดังกล่าวเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วในการเดินทางเชื่อมต่อ

ออกตั๋วร่วม "สีแดง-ขสมก."

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ขสมก. จับมือกับ รฟท. ในการจัดทำบัตรโดยสารใบเดียว สามารถใช้เดินทางได้ 2 โหมด คือรถไฟสายสีแดง และรถโดยสาร ขสมก.ทุกคัน ทุกชนิด โดยจะเริ่มต้นทดลองใช้บัตรโดยสารแบบเหมาจ่ายรายเดือนนี้ ตั้งแต่เดือน พ.ย. 64 เพื่อรองรับรถไฟสายสีแดง จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีค่าแรกเข้าสำหรับผู้ใช้บัตรโดยสารร่วมแบบเหมารายเดือน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาราคาบัตรที่เหมาะสม ซึ่งในส่วนของ ขสมก.ปัจจุบัน มีบัตรโดยสารรายเดือน (30 วัน) ราคา 1,020 บาท สามารถใช้บริการรถ ขสมก. ได้โดยไม่จำกัดเที่ยว ไม่จำกัดประเภทรถ

"ช่วงแรก จะออกเป็นบัตรโดยสารร่วมเหมารายเดือนก่อน ขณะที่จะมีการพิจารณารูปแบบบัตรโดยสารร่วมระหว่าง ขสมก.กับรถไฟสายสีแดง ที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เช่น แบบรายสัปดาห์ หรือแบบรายเที่ยว เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก และช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน" ผอ. ขสมก. กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2021 3:40 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 4 สายใหม่ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 ดังนี้
DDproperty.com
8 สิงหาคม 2564 เวลา 08:02 น.

1. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
- มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44 %
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3fJnDL0
.
2. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
- มีความก้าวหน้างานโยธา 85.53 %
- ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 76.03 %
- ความก้าวหน้าโดยรวม 81.40 %
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2X7GPM1
.
3. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
- ความก้าวหน้างานโยธา 80.56 %
- ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 76.12 %
- ความก้าวหน้าโดยรวม 78.77 %
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3lIrTOL
.
4. รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน
- ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 100%
- เปิดทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 และคาดว่าจะเปิดใช้บริการจริงเดือนพฤศจิกายน 2564
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2U0D9dF
.
.
อัปเดตเส้นทางแผนที่รถไฟฟ้าทั้งหมด: https://bit.ly/3yy9zLK
https://www.facebook.com/DDproperty/posts/4203716256388161
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

ชำแหละเบื้องหลัง รฟม.ล้มประมูลสายสีส้ม-ม่วงใต้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
ชำแหละเบื้องหลัง รฟม.ล้มประมูลสายสีส้ม-ม่วงใต้
01 กันยายน 2564 เวลา 13:51 น.

เปิดเบื้องลึกรฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ม่วงใต้ อ้างคาดเคลื่อนส่งเอกสารประกวดราคาพลาด หวั่นฝ่ายค้านซักฟอกอภิปรายไม่ไว้วางใจ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ซัดนายกฯ-รัฐบาล เมินแก้ปัญหาสายสีเขียว กระทบเอกชน-กทม.รับศึกหนัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศล้มประมูลการประกวดราคาก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงินกว่า 78,720 ล้านบาท โดยอ้างว่า เกิดความคลาดเคลื่อนในการส่งเอกสารประกวดราคาให้ผู้สังเกตการณ์ ตามข้อตกลงคุณธรรมที่ลงนามกันไว้เมื่อปี 2561 จึงต้องยกเลิกเพื่อดำเนินการให้ครบถ้วน พร้อมยืนยันว่าจะสามารถเร่งดำเนินการคลอด TOR ภายในเดือน ก.ย.นี้ และจัดประมูลหาผู้รับเหมาได้ ภายในไตรมาสแรกปีของ 65 นั้น





รายงานข่าวจากวงการผู้รับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า เบื้องหลังการล้มประมูลรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้นั้น ทุกฝ่ายต่างรู้เต็มอกเป็นไปเพื่อ ไม่ให้พลพรรคฝ่ายค้านหยิบยกกรณีประมูลอื้อฉาวนี้ ไปอภิปราย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของรัฐมนตรีที่ถูกฝ่ายค้านจ้องซักฟอก ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรายบุคคล เพราะแค่โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสานทั้ง 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.28 ล้านบาท ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกระทรวงคมนาคม เปิดประมูลกันไปก่อนหน้า ก็ไม่รู้จะปัดข้อครหาการฮั้วประมูลไปให้พ้นตัวไปได้อย่างไร เนื่องจากประมูลโครงการร่วม 1.28 แสนล้านบาท แต่ผู้รับเหมาที่เข้าร่วมประมูล 5 ราย พร้อมใจกันเสนอต่ำกว่าราคากลางชนิดแค่ 30-40 ล้านบาทหรือ 0.08% เท่านั้น





“ก็ไม่รู้นายกฯและฝ่ายการเมืองจะคิดอย่างไรกับเหตุผลของ รฟม.ที่ใช้ข้ออ้างและยืนยันจะเปิดประมูลโครงการฯภายในปลายปีนี้และได้ผู้รับเหมาต้นปี 65 เพราะครั้งก่อนที่ไปยกเลิกประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม รฟม.ก็เคยยืนยันว่า จะสามารถเร่งรัดจัดประกวดราคาใหม่ภายในเดือนนั้น สุดท้ายผ่านมากว่า 6-7 เดือนเข้าไปแล้ว รถไฟฟ้าสายสีส้มก็ยังไม่ขยับไปไหน”



รายงานข่าว กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ รฟม.ยังคงยืนยัน จะนำเอาเกณฑ์ประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอราคาประกอบกัน (เทคนิค30% +ราคา 70%)นั้น พบว่าความล้มเหลวของการประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม และม่วงใต้ที่ผ่านมาน่าจะเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า หากยังคงดึงดันที่จะจัดประมูลด้วยเกณฑ์ดังกล่าวจะลงเอยอย่างไร ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบขนส่ง คือนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรค ปชป.ขุและอดีตรองผู้ว่าการฯ กทม.ได้นำข้อมูลออกมาโต้แย้ง จน รฟม.ไปไม่เป็นมาแล้ว จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดฝ่ายบริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกยังคงจะดั้นเมฆเปิดประมูลภายใต้หลักเกณฑ์อื้อฉาวต่อไปอีก





ขณะเดียวกันการใช้เกณฑ์เทคนิคและราคาดังกล่าว ทำให้ รฟม. ต้องใช้งบประมาณลงทุนสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีม่วง มากกว่าการใช้เกณฑ์ราคา 100% อย่างน้อยที่สุด โครงการละหลายพันล้านไปจนถึงหลักหมื่นล้านบาท เงินก้อนใหญ่นี้คือส่วนเกิน ที่ผู้ชนะการประมูลไม่ควรจะได้ เพราะไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนทีโออาร์ ไปใช้เกณฑ์เทคนิคผสมเกณฑ์ราคา ทำให้เป็นเหตุผลที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ งัดข้อมูลได้มาทักท้วงว่าเกณฑ์ผสมข้างต้น ซึ่งจะทำให้ รฟม.ต้องเสียงบประมาณมากขึ้นกว่าการใช้เกณฑ์ราคา 100% เพราะผู้ที่เสนอราคาค่าก่อสร้างต่ำสุด ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่จำเป็นต้องชนะการประมูล หากรฟม.อ้างว่า ผู้เสนอราคาสูงกว่า มีประสบการณ์การก่อสร้างที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจกว่า

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (คูคต-สมุทรปราการ) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าเชื่อมโยงการเดินทางข้าม 3 จังหวัดจากปทุมธานี-กทม.ไปสิ้นสุดที่จ.สมุทรปราการ ระยะทางรวมกว่า 68.5 กม.ซึ่งก่อนหน้านี้ กทม.และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส(BTS) ได้มีการเจรจาจัดทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาหนี้ค้าง และค่าข้างเดินรถรวมกว่า 100,000 ล้านบาท โดยจัดทำข้อเสนอใหม่ให้บริษัทเอกชนรับสัมปทานโครงการไปบริหารจัดการ 30 ปีเพื่อ แลกกับแบกภาระมูลหนี้ค้างต่างๆแทน กทม.รวมทั้งตรึงราคาค่าโดยสารเอาไว้ไม่ให้เกิน 65 บาทตลอดสาย ทั้งยังต้องจ่ายค่าต๋งให้แก่ กทม.อีก 2 แสนล้าน ทั้งนี้การต่อขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวให้กับบีทีเอสข้างต้น พบว่าทางฝ่ายบริหารบีทีเอสได้ยื่นฟ้อง กทม.และบริษัทกรุงเทพธนาคม(KT) วิสาหกิจของ กทม.ไปแล้ว เพื่อทวงหนี้ค้างที่ทะลักขึ้นมากว่า 40,000 ล้านบาท





“การที่นายกฯและรัฐบาล ไม่ตัดสินใจใด ๆ ลงไป ทำให้กทม.กับบริษัทเอกชนคู่สัญญาก็ต้องรับกรรมกันไป แต่อย่าลืมว่า โครงการดังกล่าวเป็นสัมปทานร่วมลงทุน (PPP) ระหว่างรัฐ-เอกชน ที่ต้องร่วมมือกัน แต่เมื่อรัฐเอาแต่ลอยแพไม่ยอมแก้ไขปัญหา หากท้ายที่สุด เอกชนผู้รับสัมปทานบอกเลิกศาลา ไม่สามารถจะให้บริการเดินรถไฟฟ้าได้แล้ว เพราะไม่สามารถจะแบกรับภาระหนี้ท่วมบักโกรกที่สุมหัวอยู่ได้ แบบเดียวกับที่ แอร์เอเชีย และการบินไทยเผชิญอยู่ รัฐบาลเองก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่พ้นเช่นกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 11:58 pm    Post subject: Reply with quote

“บางขุนนนท์” ฮับใหญ่รถไฟฟ้า3สาย ดึงบิ๊กทุนเข้าพื้นที่
หน้าอสังหาริมทรัพย์
29 สิงหาคม 2564 เวลา 9:47 น.

รถไฟฟ้า3สายจุดพลุ บางขุนนนท์ ฮับใหญ่เชื่อมการเดินทาง สายสี น้ำเงิน สายสีส้ม- สายสีแดง ผังเมืองรวมกทม.ใหม่เปิดทางขึ้นตึกสูงพัฒนาเชิงพาณิชย์ ดึงบิ๊กทุนเข้าพื้นที่

"บางขุนนนท์" กลายเป็นทำเลทองใหม่ย่านฝั่งธนบุรี ที่มีบริษัทพัฒนาที่ดินให้ความสนใจปักหมุดขึ้นตึกสูงกันมาก เพราะนอกจากผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่จะให้ความสำคัญเปิดพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ ได้มากแล้ว ยังเป็นจุดตัดรถไฟฟ้ามากถึง3สาย





แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานครระบุว่า นอกจาก มีนบุรีแล้ว อนาคตสถานีบางขุนนนท์จะเป็น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สำคัญ ย่านอยู่อาศัยแนวสูง ย่านเศรษฐกิจการค้าพาณิชยกรรมขนาดใหญ่แหล่งรวมของความเจริญ เพราะมีรถไฟฟ้าเชื่อมถึง3สาย ได้แก่สายสีส้ม น้ำเงิน และสายสีแดง ผังเมืองกทม.ใหม่ เปิดให้พัฒนาเต็มศักยภาพ เพื่อสร้างแหล่งงาน ที่อยู่อาศัยไว้ในที่เดียวกัน

ขณะปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมตึกสูงเกิดขึ้นอย่างมากบนถนนจรัญสนิทวงศ์ จากอานิสงค์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สร้างความเจริญเข้าสู่พื้นที่ พลิกจาก ชุมชนอยู่อาศัยเก่าแก่ ตึกแถวอาคารพาณิชย์ ขึ้นตึกสูงตลอดแนว หากย้อนไปในอดีตย่านนี้ห่างไกลความเจริญมาก การเดินทางใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน เพราะการเดินทางค่อนข้างลำบาก

ส่วนที่ดิน ราคา 3-4แสนบาทต่อตารางวาและมีแนวโน้มขยับขึ้น อนาคตจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเข้าสู่กลางใจเมือง ออกนอกเมืองสามารถ เชื่อมโยงถึงกันเพียงไม่กี่นาที

“บางขุนนนท์” ฮับใหญ่รถไฟฟ้า3สาย ดึงบิ๊กทุนเข้าพื้นที่
“บางขุนนนท์” ฮับใหญ่รถไฟฟ้า3สาย ดึงบิ๊กทุนเข้าพื้นที่


โดยสถานี บางขุนนนท์ มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เปิดให้บริการรออยู่แล้ว บริเวณแยกบางขุนนนท์ และอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี) วิ่งใต้ดินโผล่ เหนือพื้นดิน เชื่อมเข้ากับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่วิ่งลอยฟ้า รับส่งผู้โดยสาร

อีกเส้นทางที่เชื่อมเป็นสถานีร่วม คือรถไฟฟ้าสายสีแดง หรือรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ศิริราช – ตลิ่งชัน) ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะเปิดประมูลอย่างช้าปลายปีนี้อย่างเร็วต้นปีหน้า อีกด้วย

“ บางขุนนนท์เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าถึง 3 สาย จึงทำให้สถานีนี้เป็นจุดสำคัญที่คนที่ใช้บริการตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์จะมาเปลี่ยนสายที่นี่เพื่อต่อสายสีส้มเข้าเมือง หรือต่อสายสีแดงออกนอกเมืองได้สะดวก”

สำหรับ สถานีบางขุนนนท์เป็นสถานีร่วมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน กับ สายสีส้ม ส่วน สถานีจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งอยู่พื้นที่บริเวณเดียวกัน เป็นของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงสำหรับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ตัวสถานีอยู่คนละชั้นกัน สายสีน้ำเงินอยู่ลอยฟ้า แต่สายสีส้มอยู่ใต้ดิน ทำให้การเชื่อมต่อต้องมีการแตะบัตรออกก่อน แล้วจึงแตะบัตรเข้าใหม่ แต่จะสามารถใช้บัตรของทางรฟม.โดยสารข้ามกันได้

แหล่งข่าวในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า สำหรับ บิ๊กเนมที่ปักหมุดบนถนนจริญสนิทวงศ์แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีทุกแบรนด์ เพราะศักยภาพของทำเลที่เติบโตสูง อีกทั้งมีถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชันที่เชื่อมสู่ถนนสายหลักทั้งถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ได้สะดวก

ขณะสถานีบางขุนนนท์ ปัจจุบัน มีคอนโดฯปักหมุดจำนวนมากไม่แพ้กัน เพราะทั้งผู้บริโภคและ ผู้ประกอบการต่าง รอจุดเชื่อมต่อแห่งอนาคตของรถไฟฟ้า 3 สายที่กำลังจะมาถึงนั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2021 12:06 am    Post subject: Reply with quote

เช็คเลย รถไฟฟ้าใหม่ ทำเลไหน เป็นที่นิยมบ้านแนวราบ
หน้าอสังหาริมทรัพย์
29 สิงหาคม 2564 เวลา 10:06 น.

รัฐขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ กระจายโครงข่ายสู่ชานเมือง บ้านแนวราบได้อานิสงค์ ขณะรฟม.เร่งเต็มสูบ ก่อสร้าง-ประมูล เปิดใช้เส้นทาง ตามแผน แม้ สายสีม่วงใต้จะยกเลิกประมูลออกไปมั่นใจเปิดทันปี70



เมื่อรถไฟฟ้าขยายไปยังพื้นที่ชานเมือง ย่อมส่งผลดี ต่อโครงการ บ้านแนวราบ ประกอบกับเกิดสถานการณ์โควิด ผู้บริโภค นิยมซื้อบ้านอยู่อาศัยชานเมืองมากขึ้น



นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัดเปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมออกนอกเมือง เป็นผลดีต่อบ้านจัดสรร เพราะสามารถใช้เป็นจุดขาย ขณะ ราคาที่ดินไม่สูงเมื่อเทียบกับในเมือง ความนิยมของผู้ซื้อมีมากกว่าคอนโดมิเนียม เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ทั้งนี้หากค่าตั๋วรถไฟฟ้าสูง เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ยังคงหันมาใช้รถส่วนตัว

บ้านแนวราบเส้นทางรถไฟฟ้าทำเลไหนน่าสนใจ

สำหรับทำเลบ้านแนวราบที่น่าจับตา ส่วนใหญ่ จะมีรถไฟฟ้าแผ่ขยายกระจายออกไปยังชานเมือง ไม่ว่าจะเป็นทำเลรามอินทรา รถไฟฟ้าสายสีชมพู ทีี่มีที่ดินรอพัฒนาอยู่มาก ราคาไม่สูง สร้างบ้านขายในราคา 2-3ล้านบาทได้

แจ้งวัฒนะ อีกทำเลสายสีชมพูที่น่าสนใจ แม้ราคาติดถนนใหญ่จะสูง แต่โซนบริเวณด้านในน่าจะมองหาที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงได้ เช่นเดียวกับทำเลพระราม2 พระปะแดง ราษฎร์บูรณะ ทำเลสายสีม่วงใต้ที่ยังจับจองบ้านแนวราบได้ ในราคาไม่ต่างจากคอนโดมิเนียมมากนัก




บ้านจัดสรรติดรถไฟฟ้าราคาแพงหรือไม่

ย่านคูคต-ลำลูกกา ปทุมธานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทำเลชานเมือง อีกทำเลที่มีโครงการบ้านจัดสรรขยายตัวเข้าไปจำนวนมาก เช่นเดียวกับโซนรังสิต รถไฟฟ้าสายสีแดง มีนบุรี สุวินทวงศ์ รามคำแหงตอนปลาย รถไฟฟ้าสายสีส้มที่ยังมีที่ดินรอพัฒนาบ้านแนวราบอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ต่างกับ ย่านลาดกระบัง สนามบินสุวรรณภูมิ ถนนวงแหวน

ขณะฝั่งธนบุรี ที่ปัจจุบันมีตึกสูงขึ้นมาก รับสายสีน้ำเงิน แต่ ปัจจุบัน คนในพื้นที่ยังนิยมบ้านแนวราบ เพราะห่างจากถนนสายหลัก สถานีรถไฟฟ้า ออกไปก็สามารถพัฒนาหรือมองหาซื้อบ้านแนวราบราคาพอๆกับคอนโดมิิเนียม 2-3ล้านบาทบนถนนจรัญสนิทวงศ์ได้

รวมถึงทำเลลาดพร้าวตอนปลายในซอยลึก ศรีนครินทร์ ที่มีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง กำลังก่อสร้างปัจจุบันบ้านจัดสรรเกิดขึ้นจำนวนมากแข่งกับคอนโดมิเนียม เช่นเดียวกับ ทำเลเกษตรนวมินทร์ ประเสริฐมนูกิจ ที่จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีบ้านแนวราบปักหมุดราคาจับต้องได้ ราคา3ล้านบาทก็สามารถหาซื้อได้ เป็นต้น



อัพเดทรถไฟฟ้าใหม่ สายไหนเปิดให้บริการก่อน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. ) เปิดเผยว่า นอกจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงแล้ว ได้เร่งรัดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความก้าวหน้า 81.40% และสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้า 78.77% คาดว่าทั้งสองโครงการจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565

สำหรับสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ก้าวหน้างานโยธา 84.44% เมื่อรวมกับ สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ จะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570

นอกจากนี้ รฟม. ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 อีก 2 โครงการ ได้แก่ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) และสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วน ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)

อย่างไรก็ตาม สายสีม่วงใต้ แม้รฟม.จะเปิดขายซองไปแล้วแต่ต้องประกาศยกเลิกประมูลออกไปก่อน เพราะขั้นตอนเปิดรับฟังความคิดเห็น อาจกระจายไม่ทั่วถึงประชาชนหลายๆคน แต่ในที่สุดแล้วคาดว่าการก่อสร้างจะเป็นไปตามแผน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2021 6:59 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา(LRT) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l สำนักการจราจรและขนส่ง l 1-9-64
Sep 3, 2021
Daoreuk Creation & Studio
12.2K subscribers
วีดิทัศน์โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันที่ 1 กันยายน 2564

โดย สำนักการจราจรและขนส่ง


https://www.youtube.com/watch?v=H4P8Eoc9EBA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 239, 240, 241 ... 278, 279, 280  Next
Page 240 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©