Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179621
ทั้งหมด:13490853
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าการคืนพื้นผิวถนนกรุงธนบุรี-เจริญนคร-สมเด็จเจ้าพระยา
โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 - 11:54 น.

โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองเร่งคืนพื้นผิวถนนกรุงธนบุรี เจริญนคร สมเด็จเจ้าพระยา หลังเนื้องานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองบนถนนเสร็จสิ้นไปแล้ว จากนี้กำลังทยอยคืนพื้นผิวถนน เนื่องจากในแนวถนนเจริญนครยังมีการก่อสร้างของระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ คือ โครงการก่อสร้างท่อร้อยสายใต้ดิน ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โครงการวางท่อ 1000 มม. และงานย้ายท่อที่กีดขวางงาน Duct bank และซ่อมแซมท่อประปาขนาด 500 มม.ของการประปานครหลวง (กปน.) จึงทำให้ในเส้นทางดังกล่าวยังมีการขุดก่อสร้างใช้ผิวการจราจรอยู่ เมื่อโครงการต่าง ๆ ดำเนินการเสร็จสิ้นเเล้วจะดำเนินการปรับปรุงถนนตลอดแนวโครงการให้กลับมาเป็นปกติ

ปรับพื้นผิวถนนเจริญนครจากแยกเจริญรัถ (ฝั่งขาเข้า) ถึง แยกคลองสาน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 - 19:31 น.

(23 ก.พ.64) ความคืบหน้าการปรับพื้นผิวถนนเจริญนคร จากแยกเจริญรัถ (ฝั่งขาเข้า) ถึง แยกคลองสาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการรองานวางระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้น หากเรียบร้อยแล้วทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองจะเข้าไปดำเนินการทำเกาะกลางถนน และปรับผิวจราจรต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2021 12:00 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าการคืนพื้นผิวถนน กรุงธนบุรี-เจริญนคร-สมเด็จเจ้าพระยา
โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน
5 มีนาคม 2564 เวลา 20:59 น.

โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองทยอยคืนพื้นผิวถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนคร และถนนสมเด็จเจ้าพระยา หลังงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองบนถนนเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยถนนกรุงธนบุรี และ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ได้ปรับพื้นผิวถนนเป็นที่เรียบร้อย เหลืองานเก็บพื้นที่เกาะกลางถนนและริมทางเท้า
ส่วนถนนเจริญนครตลอดเเนวขณะนี้ยังมีการก่อสร้างของระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ คือ โครงการก่อสร้างท่อร้อยสายใต้ดิน ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โครงการวางท่อ 1000 มม. และงานย้ายท่อที่กีดขวางงาน Duct bank และซ่อมแซมท่อประปาขนาด 500 มม.ของการประปานครหลวง (กปน.) จึงทำให้ในเส้นทางดังกล่าวยังมีการขุดก่อสร้างใช้ผิวการจราจรอยู่ เมื่อโครงการต่าง ๆ ดำเนินการเสร็จสิ้นเเล้วจะดำเนินการปรับปรุงถนนตลอดแนวโครงการให้กลับมาเป็นปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2021 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

“สายสีทอง” ทยอยคืนผิวถนน เจริญนคร-กรุงธนฯ-เจ้าพระยา จบ มิ.ย. 64
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 - 20:19 น.


รถไฟฟ้า “สายสีทอง” ทยอยคืนผิวถนน “เจริญนคร – กรุงธนฯ – เจ้าพระยา” จบเดือน มิ.ย. 64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 12 พ.ค. 2564 เพจเฟซบุ๊ก “โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน” ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ได้ทยอยคืนพื้นผิวจราจรบนถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนคร และถนนสมเด็จเจ้าพระยาตลอดแนวโครงการ หลังจากได้รับมอบพื้นที่จากผู้รับเหมาก่อสร้างของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการประปานครหลวง (กปน.)





ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองได้เร่งคืนพื้นผิวจราจร ปรับปรุงผิวถนนเสร็จเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือเพียงการคืนสภาพทางเท้าอีกบางจุดเท่านั้น โดยคาดว่าจะสามารถคืนสภาพถนนและทางเท้าได้ทั้งหมดไม่เกิน 31 พฤษภาคม 2564 ส่วนงานอื่น ๆ จะเสร็จสมบูรณ์ไม่เกิน 30 มิถุนายน 2564 เช่น งานตีเส้นจราจร งานปรับสภาพเกาะกลางถนน เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

ปฐมนิเทศโครงการรถไฟฟ้า LRT บางนา-สุวรรณภูมิ
Online ผ่าน Zoom พรุ่งนี้!!! 3 กันยายน 64 8:30-12:00 น.

2 กันยายน 2564 เวลา 21;57 น.

วันนี้เอาข่าวการประชุมเพื่อศึกษาโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โครงการนี้เป็นโครงการภายใต้ความรับผิดชอบของ กทม. ซึงจะมีการปฐมนิเทศโครงการ (เริ่มการศึกษา) ของรถไฟฟ้าสายนี้โดยจะมีการศึกษาในรายละเอียดพร้อมกับทำ EIA และเตรียมทำ PPP เพื่อรองรับแผนการให้เอกชนมาก่อสร้างและบริหารในอนาคต
—————————
รายละเอียดโครงการ
โครงการใช้เงินลงทุน 27,892 ล้านบาท ตลอดระยะทาง มี 14 สถานี แบ่งก่อสร้าง 2 ระยะ ในระยะแรกสร้างจาก “แยกบางนา-ธนาซิตี้” จำนวน 12 สถานี
ระยะที่ 2 จาก “ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้” จำนวน 2 สถานี
ตลอดเส้นทางมีจุดต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีบางนากับสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงที่สถานีวัดศรีเอี่ยม
รูปแบบก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับบนแนวถนนบางนา-ตราด ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.)ได้อนุมัติให้เข้าใช้พื้นที่แล้ว สำหรับจุดที่ตั้งสถานี เริ่มจาก
1) “สถานีบางนา” อยู่ใกล้สี่แยกบางนามีสกายวอล์กเดินเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสฝั่งอาคารไบเทค ระยะทางประมาณ 550 เมตร
2) “สถานีประภามนตรี” อยู่ใกล้โรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์และเยื้องกับโรงเรียนประภามนตรี
3) “สถานีบางนา-ตราด 17” อยู่ปากซอยบางนา-ตราด 17 และยังเป็นซอยที่เชื่อมไปยังอุดมสุข 42
4) “สถานีบางนา-ตราด 25” ใกล้ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีและเซ็นทรัลบางนา
5) “สถานีวัดศรีเอี่ยม” จะสร้างคร่อมทางแยกต่างระดับวัดศรีเอี่ยม และรองรับกับสายสีเหลือง
6) “สถานีเปรมฤทัย” อยู่ตรงข้ามกับอาคารเนชั่น
7) “สถานีบางนา-กม.6” อยู่บริเวณกม.6
8 ) “สถานีบางแก้ว”อยู่ตรงด่านบางแก้ว เลยไปเป็น
9)“สถานีกาญจนาภิเษก” อยู่ตรงข้ามกับเมกะบางนา
10) “สถานีวัดสลุด” อยู่เยื้องกับซอยวัดสลุดกับห้างบุญถาวร
11) “สถานีกิ่งแก้ว” อยู่หน้าตลาดกิ่งแก้ว
12) ปิดท้ายสถานีสุดท้ายของเฟสแรก “สถานีธนาซิตี้” อยู่หน้าหมู่บ้านธนาซิตี้ จะอยู่ใกล้กับอาคารโรงจอดและซ่อมบำรุง(เดโป้) ที่จะขอใช้พื้นที่ว่าง 29 ไร่ ด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ก่อสร้าง
สำหรับ 2 สถานีที่จะสร้างในอนาคตมี
13) “สถานีมหาวิทยาลัยเกริก”
14) “สถานีสุวรรณภูมิใต้” อยู่ภายในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิส่วนด้านใต้

ส่วนระยะเวลาก่อสร้างเนื่องจากไม่มีการเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน 3 ปี นับจากเริ่มตอกเข็ม
ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของบริษัทที่ปรึกษา ในปีแรกเปิดบริการจะมีปริมาณผู้โดยสาร 42,720 เที่ยวคนต่อวัน ขณะที่อัตราค่าโดยสารเก็บตามระยะทาง เริ่มต้น 12 บาท และเก็บเพิ่มกิโลเมตรละ 2 บาท
แต่เพื่อเป็นการจูงใจให้คนมาใช้บริการมากขึ้น ทางที่ปรึกษามีทางเลือกเป็นออปชั่นเสริมให้ กทม.พิจารณา คิดค่าโดยสารราคาเดียวในอัตรา 20 บาทตลอดสาย
ถึงจะยังไม่ได้ฤกษ์ตอกเข็มที่แน่นอน แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายนี้เป็นที่เฝ้ารอของภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนในย่านบางนา ไม่ว่าตระกูลอัมพุชที่จะลงทุนศูนย์การค้าขนาดยักษ์ “แบงค็อก มอลล์” รวมถึง “คีรี กาญจนพาสน์” เจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอส
ซึ่งก็สนใจไม่น้อย และบันทึกโครงการนี้ไว้ในบัญชีที่เจ้าพ่อบีทีเอสจะร่วมประมูลมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดธุรกิจทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ตอนนี้ต่อขยายไปถึงสมุทรปราการและพลิกฟื้นที่ดินย่านบางนายังเหลืออยู่ในมืออีกหลาย 100 ไร่ให้คึกคัก
ตอนนี้ทุกอย่างพร้อม รอแค่ “กทม.” กดปุ่มโครงการเท่านั้นเอง
ลิ้งค์รายละเอียด
https://www.prachachat.net/property/news-174784
—————————
รายละเอียดการสัมมนา
พรุ่งนี้มีงานสัมมนาปฐมนิเทศโครงการถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านทางระบบ Zoom เผื่อสะดวกเข้าร่วมฟังรายละเอียดตามนี้นะคะ
📍สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร ขอเชิญเข้าร่วมประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการ ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
📍ในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30- 12.00 น.
โดยสามารถเข้าร่วมฟังการสัมมนาผ่านทาง ระบบ Zoom ตาม รายละเอียด Link ด้านล่างนี้ค่ะ
📌Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/98856384790...
Meeting ID: 988 5638 4790
Passcode: 368765
https://zoom.us/j/98856384790
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1264032100701933
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปฐมนิเทศโครงการรถไฟฟ้า LRT บางนา-สุวรรณภูมิ
Online ผ่าน Zoom พรุ่งนี้!!! 3 กันยายน 64 8:30-12:00 น.

2 กันยายน 2564 เวลา 21;57 น.

เฮ! กทม.ผุดรถไฟรางเบา ‘บางนา–สนามบินสุวรรณภูมิ’

03 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.

Click on the image for full size


3 ก.ย. 2564 นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ว่า เพื่อแนะนำโครงการ พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูล ทบทวนผลการศึกษา รูปแบบรายละเอียด ปัจจัยความเป็นไปได้ และสิทธิประโยชน์ที่ภาคเอกชนให้ความสนใจในการลงทุน พร้อมทั้งรับทราบความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding)

สำหรับโครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา–สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจ.สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสี่แยกบางนา จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตามทางคู่ขนานถนนบางนา–ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับบศรีเอี่ยม เข้าสู่เขต จ.สมุทรปราการ ผ่านทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว และบริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 3 และมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 19.7 กิโลเมตร (กม.) รวมทั้งหมด 14 สถานี

อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา–สุวรรณภูมิ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 จากแยกบางนา–ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม.
และระยะที่ 2 จากธนาซิตี้–สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานีระยะทาง 5.1 กม. และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีธนาซิตี้

โดยเบื้องต้น กทม. มีแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) เฉพาะระยะที่ 1 ก่อน ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา มีขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ มีความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาเดินทางไป–กลับ 56 นาที คาดว่าสามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง

รายละเอียดโครงการรถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิ (ฝั่งใต้)
วันนี้เพื่อนๆหลายๆ คนคงได้เข้าร่วมสัมมนาโครงการรถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิ (ฝั่งใต้)
ที่ผมได้ประชาสัมพันธ์การปฐมนิเทศโครงการ พร้อมกับรับฟังความคิดเห็น โครงการในครั้งแรก ผ่านทาง Zoom ไปเมื่อเช้า
เลยขอเอาคลิปสรุปรายละเอียดโครงการในครั้งแรกมาให้เพื่อนได้ชมกันก่อน ส่วนในรายละเอียดจากการประชุม ขอมาสรุปให้ชมกันอีกทีนะครับ
https://www.facebook.com/watch/?v=384284019731113&notif_id=1630676280284993
ใครสนใจรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์โครงการ ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.lrt-bangna-ppp.com


Last edited by Wisarut on 05/09/2021 2:45 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2021 7:02 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

เฮ! กทม.ผุดรถไฟรางเบา ‘บางนา–สนามบินสุวรรณภูมิ’

03 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.



โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา(LRT) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l สำนักการจราจรและขนส่ง l 1-9-64
Sep 3, 2021
Daoreuk Creation & Studio
12.2K subscribers
วีดิทัศน์โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันที่ 1 กันยายน 2564

โดย สำนักการจราจรและขนส่ง


https://www.youtube.com/watch?v=H4P8Eoc9EBA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2021 5:57 am    Post subject: Reply with quote

กทม. ฟื้นรถไฟฟ้า “LRT บางนา – สุวรรณภูมิ” เร่งสรุปผลศึกษา ม.ค. 65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:10 น.


คืบหน้าไปอีกขั้น"รถไฟฟ้ารางเบา บางนา-สุวรรณภูมิ

กทม.ปัดฝุ่น “LRT บางนา – สุวรรณภูมิ” ศึกษาใหม่ทั้งหมด คาดสรุปผล ม.ค. 65 จ่อนำร่องระยะที่ 1 ทางยาว 14 กม. ก่อน

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สจส. จัดประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการ งานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit: LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กม.

ฟื้นโครงการ-เล็งทำ PPP
ปัจจุบันถนนบางนา-ตราด เป็นหนึ่งในทำเลศักยภาพที่มีถนนสายหลักใช้เดินทางสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและภาคตะวันออก นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมที่ค่อนข้างหนาแน่น แม้ว่าจะมีรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เชื่อมต่อการเดินทางมายังย่านบางนาและจ.สมุทรปราการ และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่เชื่อมสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

แต่ในพื้นที่ถนนสายบางนา-ตราด ยังไม่มีรถไฟฟ้าให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน ขณะเดียวกัน โครงการนี้เคยมีผลการศึกษาที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2556 ด้วยสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนไป จึงควรจะนำโครงการนี้มาศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน

ล่าสุด กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาและดำเนินการศึกษาวิเคราะห์โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมในการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน

โดยมีขอบเขตการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1.จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ 2.วิเคราะห์ความจำเป็นของโครงการ 3.ดำเนินการจัดทำรายงานหลักของโครงการร่วมลงทุนเพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดให้พิจารณา 4.ดำเนินการจัดประชาสัมพันธ์และการทดสอบความสนใจของนักลงทุนภาคเอกชน (Market Sounding)


จุดสตาร์ต “สี่แยกบางนา”
สำหรับโครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และ จ.สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสี่แยกบางนา

จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตามทางคู่ขนานถนนบางนา-ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม เข้าสู่เขต จ.สมุทรปราการ

ผ่านทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว และบริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ อันเป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ

แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 3 และมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิด้านใต้ รวมระยะทาง 19.7 กม. มี 14 สถานี

โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม.และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีธนาซิตี้






เฟสแรก 14 กม.-สรุปผลศึกษา ม.ค. 65
เบื้องต้นกรุงเทพมหานคร มีแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) เฉพาะระยะที่ 1 ก่อน ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา มีขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ มีความเร็ว 80 กม./ชม.ใช้ระยะเวลาเดินทางไป–กลับ 56 นาที คาดว่าสามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง

ทั้งนี้ ภายหลังการสัมมนาครั้งนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) และการทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Interview) ในช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม 2564

และจะจัดสัมมนาสรุปผลโครงการ ในช่วงในเดือนมกราคม 2565 เพื่อนำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง

โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.lrt-bangna-ppp.com

https://www.youtube.com/watch?v=CJ2Ye6f3tQM

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:

เฮ! กทม.ผุดรถไฟรางเบา ‘บางนา–สนามบินสุวรรณภูมิ’

03 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.



โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา(LRT) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l สำนักการจราจรและขนส่ง l 1-9-64
Sep 3, 2021
Daoreuk Creation & Studio
12.2K subscribers
วีดิทัศน์โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันที่ 1 กันยายน 2564

โดย สำนักการจราจรและขนส่ง
https://www.youtube.com/watch?v=H4P8Eoc9EBA
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2021 6:10 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งศึกษารถไฟฟ้า LRT บางนา-สุวรรณภูมิ
แนวหน้า ฉบับวันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2564

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนัก การจราจรและขนส่ง กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ดำเนินการว่าจ้าง ที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาและดำเนินการศึกษาวิเคราะห์โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการ เตรียมความพร้อมในการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) แบ่งดำเนินการ 2 ระยะ รวม 14 สถานี ระยะทาง 19.7 กม.

สำหรับโครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และ จ.สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสี่แยกบางนา มุ่งไปทางทิศตะวันออก ตามทาง คู่ขนานถนนบางนา-ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม เข้าสู่เขต จ.สมุทรปราการ ผ่านทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว และบริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ เลี้ยวซ้ายเข้าตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 3 และสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 19.7 กม. รวม 14 สถานี โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และระยะที่ 2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม. และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีธนาซิตี้ เบื้องต้น กรุงเทพมหานคร มีแนวคิดเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนใน รูปแบบ PPP (Public Private Partnership) เฉพาะระยะที่ 1 ก่อน ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ขนาดราง 1.435 ม. มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 80 กม./ชม. ใช้ระยะเวลาเดินทางไป-กลับ 56 นาที คาดว่าสามารถรองรับ ผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชม. จะช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางในถนนบางนา-ตราด ที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าให้บริการ

ทั้งนี้ จากการสัมมนาปฐมนิเทศโครงการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ และจะจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) การทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Interview) ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 และจัดสัมมนาสรุปผลโครงการ ช่วงประมาณเดือนมกราคม 2565 เพื่อนำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง แผนดำเนินโครงการ จัดทำรายงาน PPP แล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จากนั้น กทม.นำเสนอเข้า ครม. พิจารณา เมื่อ ครม. อนุมัติแล้ว จะใช้เวลาจัดทำเอกสารร่วมลงทุนและหาผู้ร่วมลงทุน ประมาณ 1.5 ปี และใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการได้ที่เว็บไซต์ www. lrt-bangna-ppp.com
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2021 8:37 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า LRT ปลุกทำเลกรุงเทพฯตะวันออก ยักษ์ธุรกิจแข่งลงทุนแน่นเอี้ยด
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 กันยายน 2564 - 08:00 น.

กทม.ปัดฝุ่นรถไฟฟ้ารางเบา “LRT บางนา-สุวรรณภูมิ” 19.7 กิโลเมตรในรอบ 8 ปี ปลุกตลาดอสังหาฯแนวเส้นทาง 14 สถานีคึกคักกระชุ่มกระชวย “คอลลิเออร์สฯ” เผยยักษ์ธุรกิจปักหมุดโครงการท่วมทำเล พื้นที่ค้าปลีก 6.3 แสนตารางเมตร เช่าเกือบเต็ม 96% ออฟฟิศบิลดิ้งพรึ่บ 17 โครงการ ตลาดบ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวมทะลุ 5.4 หมื่นล้าน “MQDC-แสนสิริ-แอสเสทไวส์-CMC-AIA-WHA” แข่งลงทุนรับอนาคตทำเลไร้รอยต่อเชื่อม EEC

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร วงเงิน 27,892 ล้านบาท ซึ่งมีผลศึกษาครั้งแรกเมื่อปี 2556 ล่าสุดทางต้นสังกัดเจ้าของโครงการ คือ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ได้ฤกษ์หยิบโครงการมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ในอนาคตจะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้กับทำเลย่านกรุงเทพฯตะวันออก ตามแนวถนนบางนา-ตราด อย่างเห็นได้ชัด

แนวเส้นทาง 14 สถานี รถไฟฟ้าบางนา
งบฯ 21 ล้านจ้างรีวิวโครงการ
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สจส.ใช้งบประมาณดำเนินการ 21.795 ล้านบาท ในการว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษา 5 บริษัท ทำการศึกษาความเป็นไปได้โครงการใหม่

เนื่องจากผลศึกษาเดิมไม่ได้รวมการจัดทำรายงานวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ประกอบกับสถานการณ์โควิดทำให้ปัจจัยบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลง

รายละเอียด 5 บริษัท ประกอบด้วย 1.บริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด 2.บริษัท อวานการ์ด แคปปิตอล จำกัด 3.บริษัท อินฟราทรานส์ คอนซัลแตนท์ จำกัด 4.บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

และ 5.บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด มีเวลาศึกษา 200 วัน เริ่มตั้งแต่ 11 มิถุนายน 2564-กุมภาพันธ์ 2565 โดยคาดว่ามีการจัดสัมมนาสรุปผลโครงการภายในมกราคม 2565 เพื่อนำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาโครงการ

มาเลย์โมเดล “เกอลานาจายา”
แหล่งข่าวจาก กทม.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไทม์ไลน์ล่าสุดโครงการนี้ คาดว่าสรุปผลการศึกษาแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2565 จากนั้น กทม.จะนำเสนอโครงการตามขั้นตอนให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในปี 2566

จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการจัดทำเอกสารและหาผู้ร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ใช้เวลาอีก 1 ปีครึ่ง คาดว่าจะได้ตัวผู้ร่วมลงทุนและเริ่มก่อสร้างภายในปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้างอีก 4 ปี กำหนดแล้วเสร็จในปี 2572

ทั้งนี้ นอกจากให้ศึกษาโครงการใหม่แล้ว อีกด้านหนึ่งกำลังจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ซึ่งคาดว่ามีผลกระทบน้อย

เพราะแนวเส้นทางใช้เขตทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กรมทางหลวง (ทล.) และองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ ซึ่งเคยมีหนังสืออนุญาตการใช้พื้นที่แล้ว ล่าสุดจะมีหนังสือขอคำยืนยันอีกครั้งหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้น รูปแบบโครงการ LRT บางนา-สุวรรณภูมิ ออกแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเบาที่วิ่งได้ทั้งระดับดินและยกระดับ โดยมีโมเดลต้นแบบจากรถไฟฟ้ารางเบา “เกอลานาจายา” (Kelana Jaya LRT Line) ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2541 มีผู้โดยสารใช้งานปี 2562 วันละ 329,406 เที่ยวคน

เชื่อมรถไฟฟ้า “เขียว-เหลือง”
สำหรับ LRT บางนา-สุวรรณภูมิ ตามแผนที่วางไว้แบ่งก่อสร้าง 2 เฟส ออกแบบเป็นทางยกระดับทั้งหมด ประกอบด้วย เฟสที่ 1 ช่วงบางนาธนาซิตี้ ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร มี 12 สถานี

ส่วนเฟสที่ 2 ช่วงธนาซิตี้-สนามบินสุวรรณภูมิ 5.1 กิโลเมตร มี 2 สถานี และกำหนดให้มีโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงพื้นที่ 29 ไร่ อยู่ติดกับสถานีธนาซิตี้

ไฮไลต์จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีก 2 สาย ได้แก่ สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-คูคต ที่ “สถานีบางนา” ใกล้กับ BTS อุดมสุข และ BTS บางนา มีแผนทำทางเลื่อนอัตโนมัติ 150 เมตร เพื่อเชื่อมกับ sky walk ที่ กทม.สร้างไว้


และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่ “สถานีวัดศรีเอี่ยม” ใกล้กับสถานีศรีเอี่ยม และสถานีศรีลาซาล ซึ่งจะทำ sky walk เชื่อมต่อกับสถานีวัดศรีเอี่ยมของสายสีเขียว และเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจรที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน

ค้าปลีกทะลุ 6.3 แสนตารางเมตร
นายภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” เพิ่มเติมว่า องค์ประกอบหนึ่งของเมืองน่าอยู่คือการมีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่อย่างมหานครกรุงเทพ

โดยโครงการ LRT บางนา-สุวรรณภูมิไม่มีการเวนคืนที่ดิน คาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีนับจากเริ่มตอกเสาเข็ม และผลการศึกษาเดิมคาดว่าในปีแรกที่เปิดบริการมีปริมาณผู้โดยสาร 42,720 เที่ยวคน/วัน ขณะที่อัตราค่าโดยสารเก็บตามระยะทางเริ่มต้น 12 บาท และเก็บเพิ่มกิโลเมตรละ 2 บาท

สำหรับย่านบางนา-ตราด เป็นหนึ่งในทำเลคุณภาพที่มีถนนสายหลักใช้เดินทางสู่ภาคตะวันออกหรือ EEC ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมค่อนข้างหนาแน่น

ณ สิ้นไตรมาส 2/64 แวดล้อมด้วยพื้นที่ค้าปลีกรวมกัน 638,294 ตารางเมตร แบ่งเป็นศูนย์การค้า 532,198 ตารางเมตร คิดเป็น 83.4% ของพื้นที่ค้าปลีกในทำเล

รองลงมาคอมมิวนิตี้มอลล์ 82,046 ตารางเมตร คิดเป็น 12.8% สเปเชียลิตี้สโตร์ 22,500 ตารางเมตร คิดเป็น 3.5% และพื้นที่ค้าปลีกสนับสนุนอีก 1,550 ตารางเมตร สัดส่วน 0.5%

ปัจจุบันพื้นที่ค้าปลีกย่านบางนามีอัตราเช่าพื้นที่แล้วเกิน 96.7% ถือว่าเป็นทำเลที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจค้าปลีกทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เซ็นทรัล-เดอะมอลล์-MQDC พรึ่บ
ฝ่ายวิจัยและการสื่อสารคอลลิเออร์สฯพบว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาเปิดให้บริการ Central Village Luxury Outlet เป็น luxury outlet แห่งแรกในประเทศไทย,

กลุ่มสยามพิวรรธน์ร่วมทุนกับไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป เปิดตัวสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต โครงการอินเตอร์เนชั่นแนลลักเซอรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเช่นเดียวกัน

โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้บนทำเลบางนา-ตราดจะมีพื้นที่ค้าปลีกอีกเกือบ 1 ล้านตารางเมตร ทั้งในส่วนของโครงการแบงค็อก มอลล์ของกลุ่มเดอะมอลล์ กรุ๊ป บนที่ดิน 100 ไร่ บริเวณสี่แยกบางนา มูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท วางแผนให้เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่รวม 650,000 ตารางเมตร

อภิโปรเจ็กต์ยังรวมถึง “The Forestias-เดอะ ฟอเรสเทียส์” โครงการ mix-used บนพื้นที่ 300 ไร่ พัฒนาโดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) มูลค่าโครงการ 125,000 ล้านบาท


AIA-WHA แข่งลงทุนออฟฟิศ
นอกจากพื้นที่ค้าปลีกแล้ว ทำเลย่านบางนา-ตราดยังแวดล้อมด้วยอาคารสำนักงานให้เช่าหรือออฟฟิศบิลดิ้งไม่ต่ำกว่า 17 โครงการ พื้นที่เช่ารวม 284,457 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่สำนักงานถูกใช้ไปแล้ว 245,458 ตารางเมตร สัดส่วน 86.3% ราคาเสนอเช่าอยู่ในช่วงระหว่าง 350-700 บาท/ตารางเมตร

อัพเดตล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2564 บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA Group ผู้พัฒนาชั้นนำครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของไทย เดินหน้าขยายธุรกิจเปิดตัว WHA Tower พื้นที่สำนักงานเกรด A บนถนนบางนา-ตราด กม. 7 พื้นที่ใช้สอย 52,000 ตารางเมตร

ขณะเดียวกัน มีพื้นที่สำนักงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกไม่ต่ำกว่า 100,000 ตารางเมตร ที่เตรียมจะเปิดตัวในอนาคตประกอบด้วย ออฟฟิศในโครงการ The Forestias และโครงการเอไอเอ อีสต์ เกตเวย์ (AIA East Gateway)

พัฒนาโดยบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด อาคารสำนักงานระดับพรีเมี่ยมเกรด A ออกแบบเป็นอาคารไฮไรส์ความสูง 33 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 70,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 10 ไร่


บ้าน-คอนโดเปิดขาย 5.4 หมื่นล้าน
สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยตลอดแนวเส้นทาง 14 สถานีของโครงการ LRT บางนา-สุวรรณภูมิ พบว่ามีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 54,000 ล้านบาท (ดูตารางประกอบข่าว) แบ่งเป็นสินค้าบ้านจัดสรรมีโครงการเปิดขายอยู่ในปัจจุบัน 22 โครงการ จำนวน 2,209 ยูนิต มูลค่าโครงการ 21,929 ล้านบาท

ขายได้แล้ว 1,388 ยูนิต คิดเป็น 62.8% เป็นบ้านเดี่ยว 823 ยูนิต ขายไปแล้ว 40.3% ทาวน์เฮาส์ 1,018 ยูนิต ขายไปแล้ว 80.2% บ้านแฝด 346 ยูนิต ขายได้ 61.2% และอาคารพาณิชย์ 22 ยูนิต ขายไปแล้ว 81.2%

คอนโดมิเนียมมี 10 โครงการ รวม 5,171 ยูนิต มูลค่าโครงการ 30,252 ล้านบาท ขายไปแล้ว 3,512 ยูนิต คิดเป็น 67.9% มียูนิตเหลือขาย 1,645 ยูนิต คิดเป็น 32.1%

แสนสิริ-ASW-CMC ผุดคอนโดฯ
นายภัทรชัยกล่าวต่อว่า ย่านบางนา-ตราดเป็นทำเลที่บิ๊กแบรนด์บริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจและเตรียมที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ในอนาคตอีกเป็นจำนวนมาก เช่น บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW เตรียมเปิดตัวแบรนด์ “แอทโมซ บางนา-Atmoz Bangna”

คอนโดฯโลว์ไรส์สไตล์รีสอร์ตสูง 8 ชั้น 5 อาคาร จำนวน 1,101 ยูนิต ร้านค้า 2 ยูนิต มูลค่า 2,239 ล้านบาท บนพื้นที่โครงการ 10 ไร่ ทำเลต้นถนนบางนา-ตราด กม.4

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดตัวโครงการ “เดอะ มูฟ บางนา” ในซอยบางนา-ตราด 37 เป็นอาคาร 8 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 464 ยูนิตในช่วงกลางปี 2564 ที่ผ่านมา และในช่วงครึ่งปีหลังบริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC เตรียมเปิดตัวโครงการ Cerocco บางนา 36

เป็นคอนโดฯโลว์ไรส์ 8 ชั้น สไตล์ Moroccan จำนวน 4 อาคาร พื้นที่โครงการ 5-3-98 ไร่ จำนวน 752 ยูนิต เป็นการสะท้อนได้ว่าทำเลย่านนี้ค่อนข้างคึกคักเป็นอย่างมากสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2021 9:35 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายบางนา-สุวรรณภูมิ มีความคืบหน้าแล้วนะ! เราไปเข้าร่วมการประชุมกับโครงการมาด้วย เลยจะมาสรุปเบื้องต้นให้ 10 ข้อที่น่าสนใจ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันได้เลยฮะ! 😁
🔵🚈
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาวิเคราะห์โครงการ ของ "ระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail) สายบางนา-สุวรรณภูมิ" หรือที่หลายคนเคยได้ยินว่า "รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน" ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งพวกเรา LivingPop ก็ได้เข้าร่วมประชุมด้วยครับ
เราได้มีการสอบถามข้อมูลที่น่าสนใจที่หลายคนคงจะสงสัยกันอยู่ และรวบรวมมาให้เป็น Fun Fact 10 ข้อให้ไล่ดูกันไปทีละข้อ กดดูที่รูปต่อไปกันได้เลยคร้าบ 👉👉

----- ข้อที่ 1️⃣ -----
รถไฟฟ้าสายนี้ "ยังไม่มีสี"

ใช่ครับ จากที่เราเห็นๆ กันในข่าวว่ารถไฟฟ้าสายนี้มักจะถูกเรียกว่ารถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน หรือถ้าเก่ากว่านั้นเราก็อาจจะเคยเห็นในแผนที่ masterplan เวอร์ชันเก่าเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นสีเขียวคล้ายๆ BTS สายสุขุมวิทบ้าง

แต่จริงๆ แล้ว รถไฟฟ้าสายนี้ #ยังไม่ได้ถูกกำหนดสี เลยครับ

----- ข้อที่ 2️⃣ -----
รถไฟฟ้าสายนี้อยู่ตรงไหนของกรุงเทพฯ

สำหรับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้า Light Rail สายบางนา-สุวรรณภูมิ จะอยู่บนถนนเทพรัตน หรือชื่อเดิมก็คือ ถนนบางนา-ตราด นั่นเอง โดยจะเริ่มตั้งแต่หัวถนนตรงแยกบางนา ยาวไปจนถึงทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วเลี้ยวเข้าสนามบินไปสิ้นสุดที่ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารผู้โดยสารทิศใต้

มีระยะทางรวมโดยประมาณ 19.7 กิโลเมตร มีสถานี 14 สถานี

โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่ อยู่บริเวณด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ ใกล้กับทางเข้าสนามบินครับ

----- ข้อที่ 3️⃣ -----
แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ ไม่ได้สร้างพร้อมกันทีเดียวทั้งสาย

จากข้อที่แล้วที่เราพูดถึงภาพรวมของแนวเส้นทาง จะเห็นว่าช่วงปลายจะมีการเลี้ยวเข้าไปในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในปัจจุบัน ทาง AOT ยังไม่ได้มีแผนจะสร้างอาคารผู้โดยสารฝั่งทิศใต้ในเร็วๆ นี้ ทางโครงการรถไฟฟ้าสายนี้จึงมีการแบ่งช่วงก่อสร้างเป็น 2 ระยะครับ

โดยช่วงที่ 1 จะมีระยะทางประมาณ 14.6 กิโลเมตร เริ่มจากแยกบางนา มาจนถึงสถานีธนาซิตี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง ในช่วงนี้จะมีสถานีจำนวน 12 สถานี

ส่วนช่วงที่ 2 ระยะทางประมาณ 5.1 กิโลเมตร ที่เป็นช่วงเลี้ยวซ้ายจากถนนเทพรัตน ตรงเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ จะมีการก่อสร้างในภายหลัง เมื่อมีการพัฒนาสนามบินในฝั่งทิศใต้ โดยจะมีสถานีเพิ่มเติมมา 2 สถานี

----- ข้อที่ 4️⃣ -----
ใช้ขบวนรถไฟล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก แต่เล็กกว่า MRT

จากการศึกษาโครงการเมื่อปี 2556 ได้มีการออกแบบระบบรถไฟเบื้องต้นเอาไว้ให้เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา หรือ Light Rail ซึ่งในไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคยเพราะเรายังไม่ได้มีการใช้งานรถไฟฟ้าสเกลนี้ครับ

เรามาทำความรู้จักกับชนิดของระบบรถไฟฟ้า Metro ในเมืองกันก่อน โดยทั่วไปมักจะมีการจัดประเภทเอาไว้ตาม "ความจุในการขนส่งผู้โดยสาร" ครับ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ MRT และ LRT

- MRT หรือ Mass Rapid Transit คือระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความจุสูง ความถี่ขบวนรถสูง สามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารได้ปริมาณมากๆ ถึง 50,000-80,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

- LRT หรือ Light Rail Transit คือระบบรางแบบที่เล็กกว่า MRT โดยจะสามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000-50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ตัวอย่างเช่นโมโนเรลสายสีเหลืองของเรา มีตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ 48,000 ครับ

--------------------

ซึ่งจริงๆ LRT จะหมายความรวมหมดไม่ว่าจะเป็น Tram (รถราง), Monorail แบบสายสีเหลืองและชมพู, APM แบบสายสีทอง และรถไฟที่วิ่งบนรางคู่ที่เป็นเหล็กคล้ายๆ MRT แต่มีขนาดของระบบที่เล็กกว่า ก็นับเป็น LRT ด้วยเช่นกันครับ

โดยรถไฟฟ้าสายบางนา-สุวรรณภูมิสายนี้ ในการออกแบบได้เลือกใช้ระบบ Light Rail รางคู่-ทางคู่ รูกแบบคล้ายๆ รถไฟฟ้า LRT ในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในปัจจุบันมีให้บริการอยู่ 3 สาย

ตัวอย่างในภาพจะเป็น LRT สาย Kelana Jaya Line ซึ่งใช้รถไฟฟ้า Bombardier Innovia Metro 300 ที่เป็นซีรี่ส์เดียวกับ Monorail สายสีเหลือง-ชมพู และ APM สายสีทอง ที่เราใช้กันเลยครับ

--------------------

แต่ทั้งนี้ในการศึกษา PPP ซึ่งจะมีการสอบถามความสนใจจากภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ อาจจะมีการเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบอื่นก็ได้ครับ

----- ข้อที่ 5️⃣ -----
จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น

ทีนี้เรามาดูกันครับ ว่ารถไฟฟ้า Light Rail สายบางนา-สุวรรณภูมิ จะมีจุดเชื่อมต่อกับสายอื่นที่ไหนได้บ้าง โดยรถไฟฟ้าสายนี้จะมีจุดเชื่อมต่ออยู่ 2 สถานี ก็คือ "สถานีบางนา" และ "สถานีวัดศรีเอี่ยม" ครับ

🟢 สถานีบางนา - เชื่อมต่อ BTS สายสุขุมวิท

สถานีบางนาจะเป็นสถานีต้นทาง โดยจะมีการทำสกายวอล์กยาว 150 เมตร ไปเชื่อมกับปลายทางลงของระบบสกายวอล์กเดิมที่สร้างเชื่อม BTS สถานีอุดมสุขกับสถานีบางนาครับ โดยทางโครงการจะมีการติดตั้งทางเดินเลื่อนอัตโนมัติบนสกายวอล์กที่สร้างใหม่ (150 เมตร) นี้ด้วย แต่นอกนั้นไม่ได้มีแผนการพัฒนาหรือปรับปรุงสภาพของสกายวอล์กเดิมรวมอยู่ในโครงการนี้นะครับ (เราจะบ่นไว้ในรูปถัดไปฮะ)

🟡 สถานีวัดศรีเอี่ยม - เชื่อมต่อ Monorail สายสีเหลือง

สถานีนี้จะมีทางเดินยาวประมาณ 180 เมตร เชื่อมต่อเข้ากับสถานีศรีเอี่ยมของสายสีเหลืองครับ รวมถึงบริเวณสถานีนี้ก็ยังมีอาคารจอดรถของสายสีเหลืองตั้งอยู่ด้วยนะ เป็นจุดเชื่อมต่อที่ค่อนข้างสะดวกพอสมควรเลยครั

อย่างที่เราบอกว่าในโครงการนี้ไม่ได้มีการบอกว่าจะปรับปรุงเส้นทางเดินที่มีอยู่เดิม มีเพียงการสร้างทางเดินจากตัวสถานีมาแปะกับของเดิมเท่านั้น

ก็หวังว่าเราจะมีทางเลือกอื่นในการเดินเชื่อมต่อกับ BTS ได้ดีกว่าทางนี้ครับ

หรือเราอาจจะต้องคาดหวังว่า BITEC จะมีทางเชื่อมมาจุ๊บกับสถานีให้เราเดินเชื่อมผ่านทะลุไป BTS บางนา หรือว่า Bangkok Mall จะมีทางให้เราได้เดินทะลุไป BTS อุดมสุขได้ ... หวังกับ กทม. ไม่ได้ ไปหวังกับเอกชนแทนละกันฮะ 😭

----- ข้อที่ 6️⃣ -----
ทางรถไฟฟ้าจะปักเสาตรงไหน?

แนวเส้นทางของรถไฟฟ้า Light Rail สายบางนา-สุวรรณภูมิ หลักๆ จะปักเสาอยู่บนร่องคูน้ำที่คั่นระหว่างทางหลักกับทางคู่ขนานในฝั่งขาออกของถนนเทพรัตน (บางนา-ตราด) โดยจะมีบางช่วงที่จะหลบไปอยู่ชิดฝั่งทางเท้า เช่น ช่วงที่มีด่านเก็บเงินหรือทางขึ้นลงทางด่วน

โดยตัวสถานีรถไฟฟ้าก็จะอยู่ตำแหน่งร่องคูน้ำเช่นเดียวกัน แต่ตัวเสาของบางสถานีก็จะมีเสาแบบคร่อมถนน ที่มีเสาไปปักอยู่บนทางเท้าด้วยครับ รวมถึงบันไดทางขึ้นลงสถานี ก็จะอยู่บนทางเท้า ไม่ได้เวนคืนที่ดินทำเป็นอาคารขึ้นลงแบบหลายๆ สายที่กำลังสร้างใหม่ในปัจจุบัน

จากแบบที่ทางบริษํทที่ปรึกษานำเสนอในที่ประชุม ทำให้เราเห็นว่าบางจุดเหลือทางเท้าแค่ 1.55 เมตรเท่านั้นเอง!...

--------------------

น่ามหัศจรรย์เหมือนกันนะครับ ถนนที่มีความกว้างเขตทาง 100 เมตร สามารถสร้างสิ่งต่างๆ ให้เหลือทางเท้าแค่เมตรครึ่งได้ 😰

---- ข้อที่ 7️⃣ -----
ระดับรางรถไฟ สูงกว่าระดับพื้นถนนของทางด่วน!

ใครที่ผ่านไปผ่านมาเส้นเทพรัตน บางนา-ตราด คงจะเคยว้าวกับความสูงชะลูดของทางด่วนบูรพาวิถีใช่ไหมครับ... และในอนาคตรถไฟฟ้าสายนี้จะมาทำสถิติความสูงตีคู่กับไปกับทางด่วน เพราะมีความสูงมากกว่าถึง 2 เมตร!

เรามาดูตัวเลขชัดๆ กันครับ

🚗 ทางด่วนบูรพาวิถี มีความสูงจากระดับดินถึงพื้นถนนเฉลี่ยประมาณ 19 เมตร
-----
🚈 รถไฟฟ้า Light Rail ช่วงบางนา-กาญจนาภิเษก มีความสูงจากพื้นดินถึงสันรางประมาณ 20 เมตร
🚈 รถไฟฟ้า Light Rail ช่วงกาญจนาภิเษก-แยกสนามบินสุรรณภูมิ มีความสูงจากพื้นดินถึงสันรางประมาณ 16.5 เมตร
-----
🚈 ช่วงทีรถไฟฟ้าข้ามทางแยกต่างระดับวัดสลุต (Mega Bangna) มีความสูงจากพื้นดินถึงสันราง 23 เมตร


เรียกว่าสูงเย้ยฟ้าท้าลมกันไปเลย ใครที่ขับรถบนทางด่วนสายนี้น่าจะเข้าใจดีฮะ ⛱🌪🌪

----- ข้อที่ 8️⃣ -----
ชื่อสถานียังไม่นิ่ง อาจมีการเปลี่ยนแปลง

ข้อนี้เป็นเรื่งที่เรายกมือสอบถามทางผู้จัดการโครงการไป ด้วยความสงสัยว่าชื่อสถานีหลายๆ สถานีค่อนข้างแปลก ทั้งสถานีที่ใช้ชื่อสถานที่ของเอกชน สถานีที่ใช้ชื่อไม่ตรงกับสถานี interchange อื่น เช่น "สถานีวัดศรีเอี่ยม" ที่ชื่อดันไม่ตรงกับสายสีเหลืองที่เขาชื่อ "สถานีศรีเอี่ยม" หรือสถานี "บางนา-ตราด" ตามด้วยเลข กม. หรือเลขซอย ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนเทพรัตนไปแล้ว

ทางโครงการบอกว่า "อาจจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีอีกทีนึง" ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเหมือน BTS ส่วนต่อขยาย ที่มีการเปลี่ยนชื่อสถานีในช่วงสุดท้ายก่อนการเปิดบริการครับ

---- ข้อที่ 9️⃣ -----
ตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษา PPP

อย่างที่ติดค้างเอาไว้ตอนแรกครับ ที่เราบอกไว้ว่าตอนนี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษา PPP ทีนี้เรามาดูกันว่า PPP เนี่ยคืออะไร?

ก่อนอื่นมาดูแบบแรกกันก่อน คือ "ภาครัฐทำเอง" คือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่การก่อสร้าง การจัดหาขบวนรถไฟ การติดตั้งระบบเดินรถไฟ และการให้บริการตลอดจนการซ่อมบำรุงระบบ ยกตัวอย่างเช่น Airport Rail Link ครับ

-----------------

ส่วน PPP ย่อมาจาก Public Private Partnership เป็นชื่อเรียกของวิธีการร่วมลงทุนในโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนครับ โดยจะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เราจะยกตัวอย่างแบบง่ายๆ ประมาณนี้ครับ

โดยแบบ PPP ทั้ง 3 รูปแบบนั้น การก่อสร้าง การจัดหาขบวนรถไฟ ติดตั้งระบบเดินรถไฟ จะเป็นรัฐ และ/หรือ เอกชนร่วมกันลงทุน โดยรัฐอาจจ่ายค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างบางส่วน หรือค่าก่อสร้างทั้งหมด ตามแต่มูลค่าโครงการและความคุ้มทุน แต่จุดที่แตกต่างกันคือการแบ่งรายได้ที่ได้รับจากโครงการครับ โดยที่

📍 PPP Net Cost - เอกชนรับรายได้ (ไม่ว่าจะกำไร/ขาดทุน) แล้วจ่ายคืนให้รัฐในรูปแบบของส่วนแบ่ง หรือค่าสัมปทาน ที่จะมีการกำหนดสูตรคำนวณไว้ในสัญญา ยกตัวอย่างเช่น BTS สายสุขุมวิทและสายสีลม MRT สายสีน้ำเงิน เหลือง และชมพูครับ

📍 PPP Gross Cost - รัฐรับรายได้ โดยเอกชนจะรับหน้าที่เดินรถให้ได้ตามจำนวนรอบที่กำหนด รวมถึงการให้บริการและการบำรุงรักษา และจ่ายค่าจ้างให้เอกชน ตัวอย่างเช่น MRT สายสีม่วง

📍 PPP Modified Gross Cost - คล้ายกับ PPP Gross Cost แต่อาจจะมีเงื่อนไขจูงใจเพิ่มเติม เช่น ให้ส่วนแบ่งรายได้ เป็นต้น อาจจะใช้ในกรณีที่โครงการไม่น่าลงทุน แต่มีผลดีทางเศรษฐกิจ

-----------------

ซึ่งตอนนี้โครงการนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อพิจารณาว่าจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบไหนนั่นเองครับ

----- ข้อที่ 🔟 -----
Timeline การดำเนินการ

มาถึงข้อสุดท้ายที่หลายคนน่าจะอย่างรู้กันว่า "แล้วจะได้ใช้เมื่อไหร่?" เราหยิบ timeline จากเอกสารการประชุมมาให้ดูกันครับ

ปีที่คาดว่าจะเปิดบริการ คือปี 2572 หรือนับจากนี้ไปอีก 8 ปี

โดยระหว่างทางยังมีอีกหลาย step ที่ต้องติดตามกันต่อไป โดยใน step ปัจจุบันที่เป็นการศึกษา PPP นั้นจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าครับ
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/1206493539864315
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 30, 31, 32  Next
Page 25 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©