Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180025
ทั้งหมด:13491257
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2007 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

แม้ว่าการเสด็จโคกโพธิ์เพื่อทอดพระเนตรสุริยคราส เมื่อ 9 พฤษภาคม 2472 จะไม่มีการใช้รถไฟ เพราะ ประทับเรือพระที่นั่งจักรีรฃ แต่ กองโรงแรม กรมรถไฟหลวงได้เป็นธุระจัดหาที่พักแถวสถานีโคกโพธิ์และอาหารให้ศาสตราจารย์อังกฤษและเยอร์มัน พร้อมคณะผู้ติดตามในหลวงและพระราชินีที่ตามเสด็จมากะเรือพระที่นั่งมหาจักรี รวมทั้งพันเอกพระอินทร์สรศัลย์ บิดาของ คุณลุงสรศัลย์ แพ่งสภา ด้วย
https://www.facebook.com/noomrattana3/photos/a.780955428607931.1073741828.780950968608377/793685057334968/?type=1


การทอดพระเนตรสุริยคราสนั้นมีรายละเอียด ที่ ม.อ. ปัตตานี ที่รูสะมีแล ได้บันทึกไว้ดังนี้

อ้างอิง: http://mis-pattani2.pn.psu.ac.th/mail/mail2/looknote.php?&Did=00949&PHPSESSID=ec28b44319e8ccafd57f8aac46fc6587

สุริยุปราคา : มืดกลางวันที่โคกโพธิ์

สุริยุปราคาคือ อุปราคาที่เกิดขึ้นมองเห็นบนโลกโดยดวงจันทร์โคจรผ่านดวงอาทิตย์ และทอดเงามาบนพื้นผิวโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์มืดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในประเทศไทยเราตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนและแบบเพียงบางส่วน แต่มืดแบบหมดดวง ในประเทศไทยมีเพียง 4 ครั้ง ที่นับได้ว่ามืดมากที่สุดคือ

ครั้งที่ 1 ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2411
ครั้งที่ 2 ที่ตำบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2472
ครั้งที่ 3 ที่พระราชวังบางปะอิน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2498 และ
ครั้งที่ 4 ที่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538


Sir Frank Watson Dyson นายกกรรมการร่วมประจำในเรื่องสุริยุปราคาของสมาคมนักดาราศาสตร์ในประเทศอังกฤษ (British Solar Eclipse Expedition of 1929) ได้มีหนังสือแจ้งว่าสมาคมนักดาราศาสตร์ได้คำนวณและพยากรณ์ว่าในวันที่ 9 พฤษภาคม 2472 จะเกิดสุริยุปราคาเป็นบูรณคราสเห็นได้ในบางตำบลในมณฑลปัตตานี โดยได้พยากรณ์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ทำให้เกิดเงามืดขึ้นบนพื้นโลก เป็นสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก มืดมากจนต้องจุดตะเกียง ผู้คนที่ยืนอยู่ห่างกันสองถึงสามวามองหน้าแล้วจำกันไม่ได้ เมื่อแหงนมองดูท้องฟ้าเห็นดาวระยิบระยับเป็นมืดกลางวัน เหตุการณ์ลักษณะนี้คาดว่าประมาณ 400 ปี จะเกิดขึ้นในตำแหน่งเดิมอีกครั้งหนึ่ง สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในลักษณะทางวิชาการเรียกว่าสุริยุปราคาหมดดวง ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์เคลื่อนตัวมาปิดบังจนมืดมิดไปหมดทั้งดวง

เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มนักดาราศาสตร์จากแฟ้มเอกสารเรื่อง “จดหมายเหตุการรองรับคณะนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมัน” ซึ่งมาติดตั้งเครื่องส่องสุริยุปราคาบูรณคราสที่ปัตตานีและโคกโพธิ์ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2472 เป็นเอกสารแนบประกอบวิชาการของ นายพลเรือตรีพระยาราชสัน (ซึ่งเป็นประธานกรรมการการจัดการรับรองนักดาราศาสตร์) สรุปเหตุการณ์ได้ว่า

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2469 สมาคมดาราศาสตร์ในประเทศอังกฤษ (Astronomer Royal of England) ได้มีหนังสือถึงรัฐบาลสยามเพื่อขอทราบข้อมูลที่จะทำการตั้งกล้องสุริยุปราคา ทางรัฐบาลสยามจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อเตรียมการรับรองคณะนักดาราศาสตร์ ซึ่งได้จัดการเหมาก่อสร้างเรือนพักรับรองขึ้น 6 หลัง โดยการออกแบบของอำมาตย์เอกพระยาสฤษดิการบรรจง (จากกรมรถไฟหลวง)

ส่วนกลุ่มนักดาราศาสตร์เยอรมันแห่งมหาวิทยาลัยเมืองคีล โดยศาสตราจารย์ ดร.โรเสนเบอร์ก (Profressor Dr. Resenberg) เป็นหัวหน้าคณะนักดาราศาสตร์ มีนักดาราศาสตร์ร่วมคณะ 6 คน ได้เลือกบริเวณที่ตั้งกล้องบนเนินเขาเตี้ย (เรียกว่าเขาบูน) อยู่หลังที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ในปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตร และอยู่ห่างจากสถานี
รถไพโคกโพธิ์ประมาณ 400 เมตร


การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่มณฑลปัตตานี

ในเหตุการณ์รับรองนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมัน ได้กล่าวดังนี้ “กำหนดการการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่จังหวัดปัตตานี” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลปัตตานีทางเรือ เพื่อเยี่ยมพสกนิกรและทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยประทับค้างแรมในเรือพระที่นั่ง ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมค่ายนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันที่ตำบลโคกโพธิ์ โดยก่อนถึงวันรับเสด็จทางอำเภอโคกโพธิ์โดยพระทำนุ นายอำเภอได้มอบท่านขุนอัคนี นายสถานีรถไฟโคกโพธิ์ในขณะนั้นให้เป็นผู้ออกแบบพลับพลา และได้จัดหาไม้ของการรถไฟหลวงมาสมทบร่วมกับของทางอำเภอให้พระครูมนัสสมณคุณ (สีพุด) ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอในขณะนั้นเป็นหัวหน้าช่างในการก่อสร้างโดยให้พระลูกวัดร่วมกับชาวบ้านดำเนินการสร้างพลับพลาที่ประทับ หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ มีพสกนิกรคอยรับเสด็จและในการเสด็จครั้งนี้ได้ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ต้นหนึ่ง บริเวณหลังสถานีรถไพโคกโพธิ์

ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2472 ตามจดหมายเหตุรับรองนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมันว่า

เวลา 09.00 นาฬิกา เสด็จจากเรือพระที่นั่งไปขึ้นท่าศุลกสถานและเสด็จไปประทับที่จวนเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี
เวลา 11.30 นาฬิกา เสวยพระกระยาหารกลางวัน
เวลา 13.00 นาฬิกา เสด็จค่ายนักดาราศาสตร์อังกฤษ คณะดาราศาสตร์อังกฤษได้จัดกล้องส่องดาวตั้งไว้เป็นพิเศษหน้าปรำที่ฝ่ายบ้านเมืองได้สร้างไว้ โดยจะมีนายโคเฮนกับท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษคอยรับเสด็จและนำเสด็จไปยังปรำและคอยประจำกราบบังคมทูลเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามที่จะมีได้ หลังจากทอดพระเนตรกีฬาชนวัวที่ขบวนรับเสด็จโดยที่ทางจังหวัด
ปัตตานีร่วมกับประชาชนถวายให้

เหตุการณ์ที่ประชาชนในตำบลโคกโพธิ์และในจังหวัดปัตตานีประทับใจและบอกเล่าลูกหลานสืบต่อกันมา
ในช่วงที่ใกล้จะมีเหตุการณ์สุริยุปราคา จังหวัดปัตตานีมีผู้คนพลุกพล่าน มีคนแปลกหน้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งคนชาติเดียวกันและต่างชาติ ทางการได้เรียกนายอำเภอประชุมและแจ้งให้กำนันผู้ใหญ่บ้านแจ้งให้ลูกบ้านของตนทราบ เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเตรียมความพร้อมในการรับเสด็จและการต้อนรับแขกจากที่อื่น

วันที่ 9 พฤษภาคม เวลาเที่ยงกว่า บนท้องฟ้ามีก้อนเมฆเคลื่อนตัวเรื่อย ๆ เข้ามาบังดวงตะวันและแสงตะวันค่อย ๆ มืดลงเรื่อย ๆ ทำให้รู้สึกเย็น พอมืดมากเข้า นกเอี้ยง นกบินหลา ร้องทักกันลั่นเหมือนกับว่า นกชุมรัง (นกจะร้องก่อนเข้ารังนอนตอนพลบค่ำ) พวกสัตว์ต่าง ๆ ร้องหาที่นอนมองบนท้องฟ้าก็มืดจนเห็นดวงดาว ประมาณ 2 – 3 ดวง มีพวกฝรั่งเยอรมันใช้กล้องใหญ่ส่องกล้องเลือกบริเวณจุดตั้งกล้องให้กับคณะดาราศาสตร์อังกฤษที่บริเวณสนามหญ้าใกล้ศาลารัฐบาล มณฑลปัตตานี เมืองปัตตานีในการรับรองคณะนักดาราศาสตร์ ทางประธานจัดการรับรองได้มอบให้สมุหเทศภิบาลมณฑลปัตตานี
ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด เป็นมิ่งขวัญและมิ่งมงคลอย่างยิ่ง และในวันที่มีเหตุการณ์ที่ไม่เคยพบเห็นมาชั่วชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีหมดทั่วทั้งจังหวัด แต่จุดที่มืดมากที่สุดเกิดขึ้นที่ตำบลโคกโพธิ์ เพราะอยู่ใน
แนวรัศมีเวคเตอร์เส้นเดียวกันระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์


Last edited by Wisarut on 24/01/2022 12:52 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2007 11:43 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ขุดเจอบทความนิตยสาร Time ที่กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืjอเสด็จพระราชดำเนินยังสหรัฐอเมริกา และ แคนาดา โดยผ่านประเทศญี่ปุ่น เมื่อ เมษายน 2474 ดังมีรายละเอียดดังนี้

อ้างอิง: http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,741424-1,00.html

Mighty Monarch
Time Monday, Apr. 20, 1931

The only monarch absolute both in theory and in fact is the King of Siam. Last week this potent small man (98 Ib.) was en route to clasp hands in Washington with President Hoover. When he does so the King of Siam will be the first Oriental ever to enter the White House with the rank and dignity of Reigning Sovereign.

The name of His Majesty is Prajadhipok, easily pronounced with accent on the second syllable pra-chat´-ti-pok. Like nearly all Siamese the King is a Buddhist, officially Defender of the Faith.

No other monarch has a Cabinet predominantly composed of princes, his relatives. The Crown Prince of Siam (Prince Boripat) is now Minister of Interior, has been Minister of Marine. No other Crown Prince holds Cabinet office, no other king is in effect his own Prime Minister.

The famed sacred white elephants of Siam were never white, are rapidly losing in popular Siamese opinion their sacred character, and have disappeared entirely from the national flag which today is red, white, blue, white and red (five horizontal stripes).

A prominent member of the Hoover cabinet recently asked a representative of Siam,
"How far is it from the coast?" But Siam is not in fact an island, quite the reverse.
Shaped like a plump spider, Siam squats between French Indo-China and British Burma on the mainland of Asia, faces the Gulf of Siam, darts a narrow tongue of Siamese territory 600 miles down the Malay Peninsula. Population: 11,506,200. Area: more than four times that of the State of New York.

Royal Progress. Steaming away last month from sunny Bangkok, King Prajadhipok and Queen Rambai[bannee] (115 Ib.) were imperially feted fortnight ago (2 weeks ago) in Japan, the only other independent oriental monarchy.

In Tokyo in the Phoenix Hall of the Imperial Palace, the Son of Heaven collared King Prajadhipok with the Grand Order of the Chrysanthemum with Collar. Queen Rambai received from His Imperial Majesty the Order of the Sacred Crown First Class, and from Her Imperial Majesty a symbolic Japanese doll richly bedight. Neither Queen nor Empress has ever had a son. Sorrow unites them.

Emperor Hirohito addressed King Prajadhipok in Japanese. He replied in English. An interpreter did the rest.

According to cables from Japan, His Majesty highly praised the cherry tree grove of His Imperial Majesty, then gracefully introduced a less weighty topic, saying: "Have you a golf course?"

"Yes we have," replied the Son of Heaven, "six holes—and you?"

"Nine holes," admitted King Prajadhipok who plays both golf and midget golf but prefers: as an exercise, rowing & punting; as a hobby, color photography* (still & cinema); and as a penchant, collecting canes (the unrivaled Royal Siamese Cane Collection is publicly exhibited once a year).

Statue of Liberty Puzzle. Conspicuous in the Royal Party as they sailed from Japan for Vancouver in the S. S. Empress of Japan was handsome, majestic old Prince Svasti, father of Queen Rambai.

For the last time a few favored U. S. passengers were regaled by His Royal Highness with his favorite humorous puzzle, which would be killed the moment he stepped on U. S. soil. Puzzle:

"I have been inside your Statue of Liberty, and yet I have never been in America. Can you explain that?"

While the statue was being built in Paris (1876-84), Prince Svasti (Father in law of King Prajadhipok) by going inside it laid the firm foundation of a goodwill-puzzle that has made Americans smile half a century. Another Siamese good one is this:

"Who was Prince George Washington?"

"George Washington was not a prince," answer the unwary, "he was the first President of the United States."

"Wrong my American friend! You must know that in Siam we had at one time an official called the 'Second King' or as you would say the 'Vice President.' The last Siamese who held this office, which has now been abolished, was Prince George Washington. That was his real name but people called him 'Prince George' for short.

"I suppose you know, my American friend, that the first treaty your country ever made with an oriental power was signed in Bangkok on March 20, 1833? That was ten years before your first treaty with China, twenty years before your first treaty with Japan!

"Our friendship, you see, is very old. Of their own free will our kings have hired American advisers." For the past five years King Prajadhipok has employed the former Vice-Chairman of your Shipping Board, Mr. Raymond B. Stevens, as adviser to the Royal Foreign Office.

Golden Umbrellas, After landing at Vancouver, after greetings from Canadian officials, Siam's King & Queen will board the Canadian Pacific private car Van Home, their suite will board two compartment Pullmans, detectives and guards will board two ordinary Pullmans, and, with diner, club car and baggage car attached the Royal special will speed Eastward, crossing the U. S. frontier at Portal, N. Dak. about midnight April 19. Drowsy officials despatched 1,700 miles by the State Department will extend greetings to H. R. H. the Prince of Sukhodaya (King Prajadhipok's incognito).

Not until he reaches Washington, and then for only 48 hours, will Prajadhipok assume the style of King. Sensible & modern, His Majesty will not use in the U. S. his more poetic titles, inherited from long ago: King of the North and of the South, Descendant of Buddha, Supreme Arbiter of the Ebb and Flow of the Tide, Brother of the Moon, Half-Brother of the Sun, Possessor of the Four & Twenty Golden Umbrellas. (Resembling in theory the Pope's triple-tiered tiara, multiple umbrellas are in many parts of the Orient the symbol of regal power.)

Incognito, and with scarcely more pomp than surrounds the movements of J. P. Morgan for whom a private gangplank, etc. is always provided, Siam's somewhat frail King will spend some three months in the U. S. taking what would be called in Europe "the cure."

First a cataract must be skillfully extracted from one of His Majesty's eyeballs.

All through the Spring convalescence will take place at "Ophir Hall." This stone messuage, owned by rich & widowed Mrs. Whitelaw Reid, castellated like an English royal residence of the time of William the Conqueror, is at Purchase, N. Y.

"Land of the Free." Siamese call their country Muang Thai ("Land of the Free") and are in fact free to drink, to take plural wives, etc. etc.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2007 11:46 am    Post subject: Reply with quote

เนื่องจากบทความนิตยสาร Time ฉบับ 20 เมษายน 2474 นี้ยาวมาก เลยต้องแบ่งครึ่ง หนะ นี่คือครึ่งหลัง

The last two Kings of Siam have fostered temperance and monogamy by precept & example. After studying conditions throughout the Occident, after pondering the advisability of restrictive regulations, King Prajadhipok and his predecessor decided that the risk of inflicting on Siam bootleg liquor and bootleg immorality was too great.

Matter of fact Siamese polygamy is steadily on the wane, has been for at least two generations, and is expected to die out because increased living costs are making it difficult to support more than one wife.

Just as the last King of Siam lay dying his only child was born. Had the babe been a boy and born a few hours later it would have been "born a king" like Spain's Alfonso XIII. Had the dying monarch been polygamous he might have had a son long before.

The babe turned out to be a girl. The Crown passed to Prajadhipok (brother). Today, since his monogamous Majesty has no son, the heir is his brother, Prince Paribatra of Nagor Svara.

Pride & Piety. Siamese are famed as a gentle people, prone to smile and take life easily; but they are intensely proud of independence won by ceaseless vigilance (both Britain and France have seized Siamese territory by a process called "rectifying the frontier").

Today the Siamese Army is modern, mechanized. Siamese build all their own airplanes, importing only the motors. On the Royal Siamese Air Mail bi-weekly service has been maintained for seven years, 44,000,000 pounds of mail and merchandise have been carried, with two accidents, no deaths.

Siamese are proud that 91% of their paper money is covered by securities readily convertible into gold, almost a world record. They are proud that their budget has balanced for years, grateful that King Prajadhipok has cut the royal civil list 30%, pepped up princely officials by discharging dullards no matter how royal they may be.

Finally Siamese are unaffectedly religious, which is not to say good or goody-goody. Buddhist priests in plain yellow robes go from house to house in the early mornings, stop motionless and silent before each door proffering a bowl. If no food is placed in the bowl the priest moves on. If food is forthcoming, as it nearly everywhere is, he hurries with his bowl to the Buddhist monastery, shares with his fellows, devotes the rest of the morning and the day to religious duties.

Anyone can see that the priests are popular, that Buddhism is popular in Siam. The eighty-odd French and English cars in King Prajadhipok's garage are all the color of a Buddhist's robe, yellow, national color of Siam.

Educated in England (Eton & Woolwich), preferring U. S. advisers, the King of Siam nevertheless transacts the business of his realm at Bangkok in an Italian setting. Like Dictator Benito Mussolini, this mighty little monarch has as his workroom a vast white marble hall, pure Renaissance in style, alien to Siam as an iceberg, but dramatic, breathtaking.

Quote:
*Films exposed by the King of Siam are developed by experts attached to the Royal State Railways. Ably administered by His Majesty's brother, Prince Purachatra, the Royal State Rail ways develop & print merely as an accommodation, are justly famed for punctual service, punctual profits.


To whet U. S. appetites for the statue a fore arm was sent to Philadelphia for the Centennial Exposition in 1876, transferred to Madison Square, New York, for the next ten years, was finally joined by the rest of the statue in 1886 when the whole was solemnly unveiled on Bedloe's Island in New York Harbor.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2007 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

18 กรกฎาคม 2471สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร สมเด็จพระพันวษามาตุจฉาเจ้า กรมหลวงกำแพงเพชีอัครโยธิน และ พระองค์เจ้าหญิงมยุรฉํตร ฉัตรชัย ได้เสด็จไป มลายูและสุมาตรา เพื่อให้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ได้พักผ่อนบรรเทาอาการพระโรคทางพระวักกะซึ่ง กำเริบ จนแพทย์ชาวอังกฤษต้องตัดเอาพระวักกะซ้ายที่อักเสบจนเกินกว่าจะเยียวยาไว้ได้ เมื่อคราวเสด็จไปรักษาพระอาการโรคทางพระวักกะครั้งแรกที่ยุโรป เมื่อปี 2465 ตามคำแนะนำของแพทย์หลวง และ พระอนุชา (สมเด็จพระบรมราชชนก)
Click on the image for full size


ในคราวนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และคณะได้เสด็จประทับรถไฟพิเศษที่พ่วงมากับขบวนรถด่วนสายใต้

19 กรกฎาคม 2471 ถึงเมืองไปร จากนั้นจึงข้ามฟากไปพักเกาะปีนัง ประทับแรม ณ โรงแรมรันนีมีด ก่อนเสด็จไปสุมาตรา ในวันถัดไป

9 สิงหาคม 2471 เสด็จกลับจากประพาสเกาะสุมาตรา ถึงเกาะปีนัง ประทับแรม ณ โรงแรมรันนีมีด

10 สิงหาคม 2471เสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่งเข้ากรุงสยามทางเบตง
เมื่อถึงเบตงมีกระบวนเสด็จ

11 สิงหาคม 2471เสด็จประทับแรมที่เมืองหาดใหญ่ 1 คืน

12 สิงหาคม 2471เวลา 0600 ประทับรถไฟพิเศษ จากสถานีหาดใหญ่ไปยังพระนคร
13 สิงหาคม 2471รถไฟพิเศษถึง พระนคร เสด็จกลับเข้าวังสระปทุม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2007 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทับรถไฟพระที่นั่งเพื่อเสด็จไปที่มณฑลพายัพ (พฤษภาคม พ.ศ. 2471 และ กุมภาพันธ์ 2474), หัวหิน - เมืองเกาะหลัก (แทบทุกปี), และหัวเมืองปักษ์ใต้ พระองค์จะให้จองโบกี้จัดเฉพาะแยกต่างหากโดยให้มหาดเล็ก ต้นเครื่อง และข้าราชบริพารประทับร่วมกับพระองค์ด้วย เพื่อให้สะดวกต่อการดูและพระองค์ ซึ่งประชวรด้วยโรคทางพระวักกะเรื้อรัง

Click on the image for full size
หม่อมเอลิซาเบธ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ในหลวง ที่ วังถนนวิทยุ ปี 2493

ต่อมาได้ปลุกวังคันธาวาส ถนนวิทยุ ซึ่งวังนี้เป็นวังที่ประทับแห่งสุดท้ายของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ...เพราะพระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อ เวลา 2315 ของคืนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2481 ขณะนั้นกรมหมื่นชัยนาทนเรนทร แพทย์ประจำพระองค์และเจ้าของวังไม้ที่อยู่ใกล้ๆวังคันธาวาส ต้องกลายเป็น นักโทษชายรังสิต ที่บางขวางเพราะมรสุมทางการเมือง
Click on the image for full size



ต่อมา วังคันธาวาส แปรสภาพเป็นโรงแรมอิมพีเรียล ตั้งแต่ปี 2516 - 2537 ... ปัจจุบันได้แปรสภาพเป็น โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพ หลังจากครอบครัวของคุณอากร ฮุนตระกูล (เจ้าของโรงแรมอิมพีเรียล) ได้ขายกิจการโรงแรมให้เสี่ยเจริญ เพื่อเอามาล้างหนี้โรงแรมอิมพีเรียลควินสปาร์ก และ ใช้จ่ายค่ารักษาโรคมะเร็งให้คุณอากร ซึ่งที่สุดถึงแก่กรรมเมื่อ 4 มีนาคม 2543 Crying or Very sad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2007 2:43 pm    Post subject: Reply with quote

วันที่ 8 พฤษภาคม 2473

เวลา 0845 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี พร้อมข้าราชบริพาร ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จจากบ้านพักเรสิดังต์ พะตะบอง ไปประทับแรมที่อรัญญะประเทศ มีราษฎรมาชื่นชมพระบารมีกันมืดฟ้ามัวดิน และมีการเกณฑ์ชาวบ้านมายืนประจำเสาโทรเลขตลอดระยะทาง 10 กิโลเมตร ในตัวเมืองพะตะบอง ระหว่างทางเห็นชาวนาเริ่มไถนาด้วยกระบือ เพราะแถบนั้นมีฝนบ้างแล้ว นางามพอใช้ ระยะทางตอนนี้ 120 กิโลเมตร ถนนตอรกดี ตอนหลังเป็นถนนดินขรุขระ เทียบกับต้นทางแล้วของเราดีกว่ามาก

เมื่อข้าพระราชอาณาเขตต์ ทางบ้านเมืองได้จัดซุ้มรุปช้างชูงวงถือจักรซึ่งธรรมดาต้องมียอด ได้ความว่าเวลากระชั้นชิดเลยทำยอดพระมหามงกุฎไม่ทัน จนต้องตัดเสีย

ที่ประรำมีพระสงฆ์สวดชัยมงคล ตำรวจภูธรยืนแถววันทยาวุธ

เวลา 1115 เสด็จถึงสถานีอรัญญะประเทศ เมื่อใกล้ถึงสถานีผ่านซุ้มประตูประดับธงทำด้วยใบไม้ดอกไม้ของพ่อค้าเมืองอรัญญะประเทศ เมื่อถึงสถานีอรัญญะประเทศได้พบกับสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (อภิรัฐมนตรี - เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม) พระยาสารศาสตร์สิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์ - ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง) พระยาอินทราธิบดี (ท้องย้อย เศวตศิลา - สมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีน) พร้อมข้าราชการและนักเรียนมารับเสด็จที่สถานี ส่วนนายพันโท วิอองต์ ม. กาโร ได้กราบบังคมทูลลากลับพะตะบอง

เวลา 1135 ประทับรถไฟพระที่นั่ง จากนั้นรถไฟใช้จักรทำขบวนรถพระที่นั่งยังกรุงเทพมหานคร อนึ่งได้ทรงโปรดเกล้าให้ส่งพระราชโทรเลขไปยังท่านข้าหลวงใหญ่ (กูแวร์เนอร์เยเนอรัล) อินโดจีนฝรั่งเศสและได้พระราชโทรเลขตอบกลับ

เวลา 1235 ประทับโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวันในรถพระที่นั่ง พร้อมข้าราชบริพาร

ขณะรถหยุดเติมน้ำเติมฟืนที่โยธะกา พระยาอินทราธิดีได้จัดตะกร้าเครื่องว่างขึ้นทูลเกล้าถวาย และ แจกให้บรรดาข้าราชบริพารกันทั่วหน้า โดยตะกร้าแต่ละใบมีเข้าเม่าหมี่ ขนมฝรั่ง เข้าตังเนื้อเค็ม ผลไม้ โซดา 1 ขวด ถ้วยแก้ว 1 จาน 1 ช้อนซ่อม 1 คู่ มีดบาง 1 คู่ นับว่าเป็นประโยชน์ดีมาก

ระหว่างทางรถหยุดเติมน้ำเติมฟืนที่กระบินทร์บุรีและโยธะกา เท่านั้นแต่ ทุกสถานีมีพระสงฆ์สวดชัยมงคล ลุกเสือ นักเรียนตำรวจทหารข้าราชการราษฎร คอยรับเสด็จกันเนืองแน่น

เวลา 1740 รถไฟพระที่นั่งมาถึงสถานีจิตรลดา สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้รักษาพระนคร พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย มาเฝ้ารับเสด็จ ทรงมีพระราชปฏิสันฐานราว 10 นาที ก่อนเสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่งยังพระบรมมหาราชวัง ไปยังหอพระธาตุมนเทียร เพื่อสักการะพระบรมอัฐบูรพมหากษัตริย์และ จุดเทียนบูช้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สมเด้จพระสังฆราชเจ้าถวายอติเรก แล้วถวายพระพรลา จากนั้นจึกงเสด็จประทับวังสุโขทัย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2007 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 2469 พระยาราชเสนา -ขึ้นตรวจราชการ ภาคอีสานตามเส้นทางต่อไปนี้
กรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย –ตรวจลําน้ำโขง – นครพนม – นครราชสีมา – กรุงเทพฯ

ปี 2471 พระยาจ่าแสนยบดี (ชิต สุนทรวร) อธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ขึ้น
ตรวจการรถไฟกรุงเทพฯ – อุบลฯ

ปี 2472 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเสด็จตรวจการรถไฟกรุงเทพฯ – อุบลฯ

ปี 2472 พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากรเสนาบดีกระทรวงธรรมการตรวจการศึกษา มณฑลนครราชสีมา และอุบลราชธานี

อ้างอิง: นางสาวอุศนา นาศรีเคน(Aussana Nasriken), การสร้าง “ความเป็น (ไทย) อีสาน” : ความคิด “การพัฒนา” อีสาน(The Construction of “(Thai) Isanness” : Thought of Isan Development),เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ ๒, โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่, 10-11 สิงหาคม 2548

http://www.human.cmu.ac.th/~thai/html2/usana.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2007 6:52 pm    Post subject: Reply with quote

ระหว่างการเยือนแคนาดา และ สหรัฐอเมริกาเพื่อให้จักษุแพทย์อเมริกันถวายการผ่าตัดเอาต้อออกจากพระเนตร ระหว่าง ๒๘ เมษายน - ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๔ นั้น มีการเจรจาขอกู้เงินจากสหรัฐอเมริกา เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นเงิน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ (33.6 ล้านบาทในยุคที่ 1 ดอลลาร์ทองคำเท่ากับ 2.24 บาทสยาม) แต่ก็ต้องเลิกเจรจาเนื่องจากเงื่อนไขการกู้เงินโหดร้ายมากกล่าวคือ

1. ต้องยกทางรถไฟสายเหนือ และ ทางรถไฟสายใต้ ให้เอกชนสหรัฐ เพื่อค้ำประกันเงินกู้
2. ต้องยกกิจการเหมืองแร่ และ ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของชาวอังกฤษให้เอกชนสหรัฐ เพื่อค้ำประกันเงินกู้
3. ให้สิทธิ์เอกชนสหรัฐในการควบคุมการส่งออกข้าวของกรุงสยาม
4. ต้องงดเก็บภาษีขาเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง: อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม โดย เบนจามิน เอ. บัทสัน แปลโดย กาญจนี ละอองศรี, ยุพา ชุมจันทร์ ; คณะแปล พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2007 1:39 pm    Post subject: Reply with quote

การขึ้นระวางช้างพลายสำคัญจากเชียงใหม่ เป็นพระเศวตรคชเดชนดิลกฯ ที่ลานพระราชวังดุสิต เมื่วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ มีการแสดงกายกรรมแบบโบราณ เช่นญวนหก ไต่ลวด โดย ถือแพนหางนกยูง เป็นต้น ซึ่งหาดูที่ไหนอีกไม่ได้แล้ว

การนำช้างพลายสำคัญพร้อมพังล่า (แม่ของคุณพระเศวตรคชเดชนดิลกฯ) จากเชียงใหม่ดูยุ่งยากเอาการ ต้องให้ สมเด็จในกรมฯ (กรมพระกำแพงเพชร) ไปคุมเอง เพราะ แม้จะขนขึ่นรถไฟมาได้ก็ต้องดัดแปลงรถ บตญ. ให้มีพัดลมไฟฟ้า และ ฝักบัวจ่ายน้ำโดยพ่วงรถ บทน. เพื่อไม่ให้คุณพระเศวตร ร้อน แถมมี รถ บตญ. ขนกล้วยอ้อย ให้ช้างสำคัญและแม่เสวยด้วย แถมต้องมีทางลาดขึ้นลงซึ่งต้องมาการทดสอบก่อน

วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ รถไฟนำช้างสำคัญออกจากเชียงใหม่ เมื่อ เวลา ๑๐:๓๔ น. ถึงลำปาง เวลา ๑๕:๕๐ น.

วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ให้พักยืนโรงที่ลำปาง เวลาค่ำพราหมณ์กล่อมช้างลาไพร

วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ รถไฟนำช้างสำคัญออกจากสถานีนครลำปาง เมื่อ เวลา ๐๙:๐๐ น. ถึงสถานีเด่นชัยเวลา ๑๒:๕๐ น. มีการเวียนเทียนและมหรสพสมโภช เวลา ๑๔:๒๐ น. รถไฟพิเศษออกจากสถานีเด่นชัย เวลา ๑๙:๐๕ น. ถึงสถานีพิษณุโลก เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย) และข้าราชการแต่งครึ่งยศออกมาต้อนรับ แล้วพาช้างสำคัญยืนโรงพร้อมโรงอาบน้ำและโรงมหรศพ เวลาค่ำพราหมณ์กล่อมช้างลาไพร

วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ทำพิธีสมโภชต่อ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี สมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด และ กรมการจังหวัด นิมนต์พระ ๑๐ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ เวลาบ่ายนำช้างสำคัญขึ้นรถ เวลา ๑๘:๐๐ น. รถไฟพิเศษออกจากสถานีพิษณุโลกไปตลอดคืน

วันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลา ๐๘:๑๒ น. รถไฟพิเศษนำช้างสำคัญมาถึงสถานีบางปะอิน ให้สมเด็จพระราชปิตุลาฯ (เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) เป็นประธาน ร่วมกับสมุหเทศาภิบาลมณฑล พระนครศรีอยุธยา ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ กรมการจังหวัด หมอควาญนำช้างสำคัญขึ้นโรงสมโภช ๓ ห้องใกล้พระที่นั่งวโรภาสพิมาร และ ได้ปลูกหอพระปริต ๒ ห้อง โรงพิธีพราหมณ์ ๒ ห้อง และ โรงมหรศพ ๕ โรงได้แก่ โรงละคอนไทย โรงลิเก โรงเพลงทรงเครื่อง โรงมอญรำ และ โรงงิ้ว มีพระสงฆ์สวดชยันโต ขณะช้างสำคัญข้ามสะพาน วัดชุมพลนิกายาราม มีโหรบูชาฤกษ์ จัดบายศรีและศีรษะสุกร มีการใช้คานหามลิงเผือกเข้ากรง

วันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลา ๐๘:๐๐ น. เจ้าพนักงานแห่ช้างสำคัญอาบน้ำ พร้อมลั่นกลองชนะ มีการเจริญพระพุทธมนต์ เจ้าพนักงานกรมช้างต้นทำพิธีสังเวยบาศครูและ ทอดเชือกรำพัดชา

วันอังคารที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ได้เร่งซ่อมโรงช้างที่พระราชวังดุสิตเพื่อรับช้างสำคัญ เนื่องจากเป็นวันที่ยาตราช้างสำคัญ ลงมาถึงพระมหานคร เวลาเช้าเจ้าพนักงานจัดเตรียมเทียบกระบวนรถไฟพิเศษ จัดเตรียมไว้พร้อมสรรพโดยให้รถพ่วง หลัง ๑ เป็นรถพระราชพิธี วางสายสิญจน์แขวนยันตร์ไว้ที่พระกรรณภิรมย์ มีเครื่องหมู่แขวนพระชัยหลังช้าง มีเครื่องนมัสการกระบะมุงเชิง มีอาสนะสำหรับพระสงฆ์ ๔ รูปสวดภาณวาร

เวลา ๐๖:๐๐ น. เจ้าพนักงานแห่ช้างสำคัญอาบน้ำ พร้อมลั่นกลองชนะ
เวลา ๑๑:๐๐ น. เจ้าพนักงานนำช้างออก พระสงฆ์สวดชยันโตที่วัดชุมพลนิกายาราม มีการปล่อยนก ปล่อยไก่
สมเด็จพระราชปิตุลาฯ (เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) และเจ้าหน้าที่ต่างมาพร้อมที่สถานี รถขบวนนี้ได้จัดรถดังนี้

รถที่ ๑ สำหรับเจ้าพนักงาน
รถที่ ๒ รถสมเด็จพระราชปิตุลาฯ (เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช)
รถที่ ๓ รถพิธีเป็นรถโถงไม่มีห้อง มีพระกรรภิรมย์ ๓ องค์ ประดิษฐานพระชัยหลังช้าง มีวงสายสิญจน์ไปถึงรถช้าง
รถที่ ๔ รถช้างสำคัญและพังล่าผู้มารดา ตั้งกรงวานรเผือก
รถที่ ๕ รถถังน้ำและอาหารช้าง
รถที่ ๖ รถเจ้าพนักงานกรมช้าง
รถที่ ๗ รถเจ้าแก้วนวรัตน์และเจ้าลาวเชียงใหม่
รถที่ ๘ รถเสบียงเล้ยงอาหาร
รถที่ ๙ รถสมุหเทศาภิบาล กับกรมการเชียงใหม่
รถที่ ๑๐ รถสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี
รถที่ ๑๑ รถกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการรถไฟ อยู่ท้าย

เวลาบ่ายก่อนเวลารถไฟออกมีการสวดชัยมงคลคถา

ฝ่ายทางกรุงเทพมหานครได้ตกแต่งสถานีจิตรลดาเป็น พลับพลาพร้อมปลูกโขลนทวารสำหรับกระทำพิธีแห่ช้างสำคัญเข้าสู่พระนคร เตรียมขบวนแห่อย่างใหญ่ และ มีคู่แห่เครื่องสูงและกลองชนะ มีพระยาช้างและช้างสำคัญร่วมกระบวนแห่ด้วย

ส่วนทางพระราชวังดุสิตได้ปลุกโรงช้างถาวร เป็นโรงพิธีและสมโภช ตามแบบโรงพิธีและโรงช้างภายนอก ตั้งอาสน์สงฆ์และม้าหมู่ตั้งพระพุทธรูป ๖ องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปบุศยรัตน์น้อย พระชัยประจำรัชกาลปัจจุบัน พระชัยเงินหลังช้าง พระชัยนวโลหะรัชกาลที่สี่ พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ห้า พระพุทธรัตนนาวิน พระเต้าเงิน พระเต้าทอง พระเต้าหิน หม้อน้ำเงินใหญ่ ๕ ใบ หม้อน้ำ และ ทราย ๒ ใบ ตั้งเครื่องนมัสการทองทิศ ตั้งพานทองรองอ้อยแดง ๓ ท่อน กรมพระอาลักษณ์จารึกนามช้างสำคัญ

เวลา ๑๔.๐๐ น. รถออกจากสถานีบางปะอิน
เวลา ๔.๐๐ ลท. (๑๖.๐๐ น.) พระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากพระที่นั่งอัมพรสถานี มายังสถานีจิตรลดาเพื่อรับช้างสำคัญ
เวลา ๔.๑๐ ลท. (๑๖.๑๐ น.) รถถึงสถานีหลวงจิตรลดา โดยเทียบชานทางใต้พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่ยืนพื้นท้ายสถานี พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในเข้าเฝ้า เจ้าพนักงานกรมช้างนำช้างอาบน้ำ พระหมอเฒ่าและราชบัณฑิตย์ ประพรหมน้ำมนตร์ ปล่อยนกปล่อยไก่กวาดเคราะห์ เจ้าพนักงานพาช้างสำคัญ ช้างแม่และวานรเผือกผ่านโขลนทวาร

จากนั้นได้นำช้างสำคัญ พังล่าและวานรเผือกไปตามถนนสวรรคโลกเลี้ยวถนนศรีอยุธยา ข้ามคลองเปรมประชากร ผ่านวัดเบญจมบพิตร พระสงฆ์วัดเบญจมบพิตรสวดชยันโต (ชัยมงคลคถา) โหรบูชาเทวดา กลางวันมีมหรสพเล่นไม้สูง ไม่ต่ำ สิงโตญวนหก โขนระบำละคอน และหนังกลางวันเบิกโรง ขบวนออกทางประตูประสิทธิ์สุรเดช เมื่อช้างสำคัญเข้าโรง พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเป็นองค์ประธาน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และ พระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร สวดชัยมงคลคาถา และ สัตตปริต (สวดเจ็ดตำนาณ) มีการประโคมสังข์แตรฆ้องชัยด้วย มีการจัดกองเกียรติยศ

เวลากลางคืนหม่อมเจ้าจุลดิศ ดิสกุลได้จัดให้มีรำโคม มังกรไฟคู่ ๑ สิงโตไฟคู่ ๑ โดยใช้ไฟฟ้าจุดแทนการใช้เทียน พราหมณ์พฤติบาศตั้งเครื่องกระยาบวดผลไม้ ๗ สิ่ง บูชาพระเทวกรรม พราหมณ์คู่สวดอ่านคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง กรมพระแสงแกว่งบัณเฑาะก์ พราหมณ์เป่าสังข์ บรรเลงเสียงขับไม้ คลอเสียงซอสามสายจบแล้วเสด็จกลับ

วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ กรมพระอาลักษณ์เชิญพานทองรองท่อนอ้อยแดง ๓ ท่อนจารึกนามช้างสำคัญ จากนั้นได้พระราชทานอ้อยแดง ๓ ท่อนให้พระเศวตรคชเดชนดิลกฯ ทรงเจิม กรมพระคลังนำทองคำก้อนผูกคอพระเศวตรฯ เพื่อทำขวัญ พราหมณ์รดน้ำ กรมพระอาลักษณ์นำป้ายจารึกนามช้างเต็มตามที่ถวายทรงเจิมแล้วนำมาติดเสาประธานด้านใต้ มีกระบวนแตรวงทการรักษาวัง นักเรียนสตรีถือธงช้างเรียง ๔ จำนวน ๑๒๐ ธง กระบวนแห่ม้าเทศกระทรวงวัง พระบวนยักษ์ วานร และ คน พร้อมกระบสวนทัพอิเหนาและทัพกะหมังกุหนิง และกระบนระเบ็งของกรมมหรสพ กระบวนสลากภัตรของในหลวงและ พระราชินีอย่างละกระบวน จากนั้นมีกระบวนแห่ฝ่ายใน ๒๐ กระบวนนำโดยกระบวนสมเด็จพระพันวสามาตุจฉาเจ้า เป้นต้น และ กระบวนของคุณท้าววรจันทร์ ท้าววรคณานันท์ ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์ ซึ่งเป็นกระบวนขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายใน เป็นขบวนที่สุด

เวลา ๑๑:๐๐ น. พระเจ้าอยู่หัวทรงบาตร และประเคนภัตตาหาร แก่ พระสงฆ์ ๒๐ รูป จากนั้นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี ได้นำนายดี เอฟ. แมคไฟ ผู้จัดการบริษัทบอเนียว รับพระราชทานขันทองคำมีอักษรจากรึกพร้อมพานทองคำ ๑ สำรับเป็นบำเหน็จ พระราชทานนาฬิกาพกเรือนทองคำมีจารึก และเหรียญรัตนาภรณ์เป็นบำเหน็จให้สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ และ เจ้าแก้วนวรัตน์ พราะราชทานสัญญาบัตรให้นายแดง นิลรัตตนนท์เป็นขุนคชเดชน์บริบาล ถือศักดินา ๔๐๐ นายอุ๋น นามคำ เป็นหมื่นคชสารบริรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐ และ อวยยศให้ หลวงศรีนัจวิไสย (ปุ้ม คชาชีว) เป็นพระราชวังเมืองสุริยชาติสมุห ปลัดกรมช้างต้น ในฐานะที่กำกับช้างลงจากเชียงใหม่มายังพระนคร

เวลา ๑๕.๐๐ น. นำพระเศวตรฯไปอาบน้ำ

เวลา ๑๗.๒๐ น. มีการเล่นญวนหก ไม้สูงสมโภช พระเศวตรฯ


Last edited by Wisarut on 24/07/2014 9:57 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2007 6:28 pm    Post subject: Reply with quote

วันพฤหัสบดีที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙เวลา ๐๘:๑๐ น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จเลียบมณฑลพายัพ เดินทางจากสถานีหลวงจิตรลดา ระหว่างทางได้เยี่ยมเยือนพสกนิกรที่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ (เสด็จผ่าน) เด่นชัย แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย เชียงแสน เสด็จถึงนครเชียงใหม่เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ และ เสด็จกลับถึงพระนคร ณ สถานีหลวงจิตรลดา วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๑๑:๔๐ น.

ระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถ่ายภาพยนตร์เหตุการณ์ระหว่างเสด็จเลียบมณฑลพายัพด้วยพระองค์เอง หรือมอบภาระการถ่ายภาพยนตร์ให้เจ้าพนักงานที่ตามเสด็จในกรณีที่ไม่สะดวกเนื่องด้วยพระราชกรณียกิจ ไว้เป็นอันมาก เช่น

วันศุกร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๑๐:๐๐ น. เสด็จถวายเครื่องราชสักการะ พระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และเสด็จฯวัดนางพญา วัดราชบูรณะ แล้วทอดพระเนตรการประชุมสหกรณ์พร้อมพระราชทานพระบรมราโชวาทแล้วมีพระราชดำรัสแก่พวกสหกรณ์ เวลา ๑๓:๐๐ น. เสด็จกลับที่ประทับ เวลา ๑๘:๓๐ น. เสด็จฯประทับ ณ ปะรำ หน้าวิหารพระพุทธชินราช ในงานสมโภชพระพุทธชินราช มีการเจริญพระพุทธมนต์ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เป็นพุทธบูชา พระองค์ละ ๑ คู่ แล้วให้ชาวที่จุดดอกไม้เพลิงเป็นพุทธบูชา มีมหรศพสมโภช เช่นลิเกและเพลงพื้นเมือง

วันเสาร์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๐๙:๐๐ น. เสด็จทอดพระเนตรวัดจุฬามณี และโปรดฯให้กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธินเสด็จแทนพระองค์ยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วันนี้เวลาบ่ายโมง ที่หน้าวัดพระศรีมหาธาตุ อ้ายหนอม นักโทษเรือนจำจังหวัดพิษณุโลก ได้นำลิงเผือกที่จับได้ที่ ตำบลผีมอ อำเภอป่าหมาก พิษณุโลกมาถวาย โปรดให้ทางบ้านเมืองจัดลิงเผือกไปอยู่เป็นเพื่อนกับช้างสำคัญที่มณฑลพายัพ เพราะตามธรรมเนียมแล้วเมื่อได้ช้างเผือก ก็จะได้ลิงเผือก และ/หรือ กาเผือก มาเป็นเพื่อนด้วย เสด็จประทับพระวิหาร ถวายแท่นเชิงเทียนหินสลัก ๑ คู่ เป็นพุทธบูชา แล้วประเคน เครื่องไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนาพระมงคลเทพมุณี ถวายอติเรก เจ้าพนักงานเบิกแว่นเทียนเวียนสมโภชน์ ครบ ๓ รอบแล้วรวมแว่นดับเทียนจุณเจิมแล้วเสด็จกลับ

เวลา ๑๖:๐๐ น. เสนด็จบวงสรวง มหาราราชในอดีตที่โบราณราชวังจันทร์ มีทหารและเสือป่าพร้อมด้วยแตรวงธงประจำกองรับเสด็จ พระราชทานผ้าตาดและผ้าแพรสีชมพูใหจ้าพนักงานผูกหน้าศาล แล้วทอดพระเนตรสระสองห้อง ของโบราณ แล้วเสด็จเปิดนาม โรงเรียนพิษณุวิทยาคม สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกนำครูและนักเรียนฝ่ายหญิงถวายของต่างๆ เช่นหมอนอิงมีตราโรงเรียน พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานธงกองลูกเสือ ลูกเสือถือพลองสวนสนามเท้าเปล่าให้ทอดพระเนตร แล้วเปล่งเสียงไชโยเข้ามาใกล้ที่ประทับ พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ลุกเสือแล้วเสด็จทอดพระเนตรโรงทหารพิษณุโลก เสด้จกลับพลับพลา

วันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๐๙:๑๕ น. เสด็จจากที่ประทับยังสถานีพิษณุโลก พระราชทานตราชั้น จัตุรถาภรณ์พรช้างเผือกแก่ พระยากัลยาณวัฒวิศิษฐ์ (สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก) และเหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๔ ให้พระยาพิพิธาสมบัติ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก)

เวลา ๑๑:๔๐ น. รถไฟออกจากสถานีพิษณุโลก ไปหยุดเปลี่ยนหัวรถจักร เตืมน้ำและฟืนที่ สถานีอุตรดิตถ์ ข้าราชการทหารพลเรือนตั้งแถวรับเสด็จ พระราชทานผ้าเหลืองและธูปเทียนทองเงินให้ฝ่ายบ้านเมืองนำไปบูชาพระแท่นศิลาอาศน์

จากนั้นรถไฟใช้จักรต่อไปยังสถานีเด่นชัย มีข้าราชการทหารพลเรือนตั้งแถวรับเสด็จ จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่งยังศาลาว่าการจังหวัดแพร่ วางพวงมาลาหน้าอนุสาวรีย์พระยาฤทรานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ย่านคำกราบบังคมทูล ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานพระแสงราชศาสตรา แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา และถวายพระพร มีพระราชดำรัสตอบแล้วพระสงฆ์ถวายอติเรก พระราชทานตรา ตติยามงกุฏสยาม แล้วเสด็จจวนผู้ว่าราชการจังหวัด เสวยเครื่องว่า ทรงรถยนต์ทอดพระเนตรในเมือง เวลาสมควรเสด็จกลับมาประทับแรมในรถไฟ สถานีเด่นชัย

ตามระยะทางที่รถไฟพระที่นั่งผ่าน ประชาชนเชิญพีระบรมรูปประดิษฐานจุดธูปเทียนสักการบูชา โปรยข้าวตอกดอกไม้ตลอดทาง


วันจันทร์ที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙พระองค์ ได้ถ่ายภาพน้ำตกตามลำธาร และ ช้างลากซุงไม้สัก ในทางตอนแก่งหลวง-บ้านปิน ช่วง เด่นชัย – ลำปาง นอกจากนี้ได้มีการถ่ายภาพยนตร์ภาพช้าแสดงการโยนฟืนจากกองฟืนย่านสถานีไปให้ช่างไฟ ๒ ประจำขบวนรถ เพื่อเตรียมฟืนทำขบวนรถพระที่นั่งที่สถานีนครลำปาง
https://www.youtube.com/watch?v=icPPd3SDTps

วันพุธที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ทอดพระเนตรการซ้อมรบของทหารกรมทหารราบที่ ๑๗ ในนครลำปาง

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ถ่ายภาพยนตร์ที่บริเวณถ้ำผาไทยก่อนถึงอำเภองาว ก่อนประทับแรมที่ พะเยา

วันศุกร์ ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ได้เสด็จประพาสวัดพระเจ้าตนหลวง พระธาตุจอมทอง และหมู่บ้านในเมืองพะเยา วันนั้นเวลาบ่าย ๔ โมง พวกพ่อค้าชาวพม่าเมืองพะเยา ถวายงาช้าง ๑ คู่

วันเสาร์ ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ได้เสด็จประพาสดอยจอมแว่ พร้อมถ่ายภาพยนตร์ดอยจอมแว่ ที่เมืองพาน จังหวัดเชียงรายเวลาบ่าย ๒ โมง

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลาบ่าย ๔ โมง ได้เสด็จ วัดพระสิงห์ วัดพระแก้ว วัดงำเมือง และโรงพยาบาลคณะมิสชันนารีเมืองเชียงราย

วันจันทร์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เสด็จถึงเมืองเชียงแสน ทอดพระเนตรโบราณสถานในเมือง

วันอังคารที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เสด็จทอดพระเนตรแม่น้ำโขงที่เชียงแสน แล้วเสด็จต่อยัง ถ้ำพระและถ้ำยุบ และทอดพระเนตรโรงทหารที่เชียงราย ก่อน เสด็จยังลำปางในวันพุธที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙

วันศุกร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๑๖:๓๐ น. เสด็จสปอร์ตคลับสำหรับนายห้างป่าไม้ฝรั่งในนครลำปาง


วันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ รถไฟพระที่นั่งทำขบวนออกจากสถานีนครลำปาง ระหว่างทาง พระเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายภาพยนตร์ ทางตอนแม่ตาลน้อย-ขุนตาล ซึ่งกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้สนองพระราชประสงค์โดยการติดตั้ง พระที่นั่งชั่วคราวหน้ารถจักรสวิสคอนโซลิเดต ที่ทำขบวนรถพระที่นั่ง เพื่อให้พระองค์สามารถถ่ายภาพยนตร์โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง กรณีเช่นนี้ คนรถไฟทุกคนที่คุมรถพระที่นั่ง และ ตอนทางสะดวกสมัยยังใช้โทรเลข ต้องทำงานแบบ ถวายชีวิตเป็นราชพลี เพื่อให้พระองค์ทรงกล้องถ่ายภาพยนตร์บนหน้ารถจักรโดยปลอดภัย เมื่อเสด็จถึงสถานีเชียงใหม่ ได้ทอดพระเนตรกระบวนแห่ช้างจากพลับพลา เมื่อช้างเทียบเกย จึงเสด็จประทับช้างพระที่นั่งนำพระองค์เข้านครเชียงใหม่ก่อนเสด็จประทับแรมที่พลับพลาหน้าศาลาว่าการมณฑลพายัพ (ปัจจุบันเป็นบริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์)
https://www.youtube.com/watch?v=cJkiXEE91bw

วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๑๐:๓๐ น. ให้ พระราชชายา (เจ้าดารารัศมี) และเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งหน้าและใน พร้อมข้าราชการและอาณาประชาราษฎร์เข้าเฝ้า

พระยาราชนิกุล (สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ) กราบบังคมทูลเบิกกระบวนแห่พิธีทูลพระขวัญ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่าน ผู้มีอายุสูง อ่านคำกราบบังคมทูล พระราชชายา เจ้ามหาพรหมสุรธาดา นายพลตรีเจ้าแก้วนวรัตน์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้าจามรี (ภรรยาเจ้าแก้วนวรัตน์) นายพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองเมืองลำพูน รับสมมติให้ผูกพระกร และ พระบาท ให้พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี พระสงฆ์ ๑๐ รูปสวดชัยมงคลคาถา แล้วพระองค์พระราชทานพระแสงราชศาสตรา ให้เจ้าแก้วนวรัตน์ พระสงฆ์สวดชยันโต เจ้าแก้วนวรัตน์กรบังคมทูลแสดงความสวามิภักดิ์

จากนั้นพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าให้เจ้าแก้วนวรัตน์ ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าให้เจ้าจามรี มหาปฐมาภรณ์ช้างเผือกให้เจ้ามหาพรหมสุรธาดา มหาวชิรมงกุฏสยาม แก่พระราชชายา ทุติยมงกุฏสยามให้พระยาวรวิชัยวุฒิกร กับพระยาเพชรพิสัยสิริสวัสดิ์ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น ๓ ฝ่ายใน แก่หม่อมทิพวัลย์ในหม่อมเจ้าบวรเดช พระราชาคณะถวายอติเรก

ต่อมาเวลา ๑๖:๓๐ น. เสด็จจากที่ประทับแรม ยังพลับพลาหน้าโรงเรียนหลวง พระราชทานพระบรมราโชวาท และธงประจำกองลูกเสือมณฑลพายัพ ให้พระยาเพชรพิสัยสิริสวัสดิ์ก่อนส่งต่อให้นายเสือป่าเชิญเข้าประจำกองลูกเสือ ลูกเสือมณฑลพายัพถือพลองเดินสวนสนามด้วยเท้าเปล่าถวายตัว จากนั้น ทางบ้านเมืองจัดมวยมาเปรียบชกหน้าพระที่นั่ง ๓ คู่ มีมหรสพฉลองพระแสงราชศาสตรา

วันจันทร์ที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๐๙:๓๐ น. ทอดพระเนตรช้างสำคัญ (ต่อมาได้ขึ้นระวางเป็น พระเศวตรคชเดชนดิลกฯ เมื่อ วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐) ที่เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นช้างพลายของพังล่าซึ่งเป็นช้างของบริษัทบอเนียวที่ทำกิจการป่าไม้สักที่เชียงใหม่นอกเหนือจากกิจการค้าขายที่กรุงเทพ ช้างพลายสำคัยนี้แสนรู้มาก เพราะรู้ว่าใครคือพระเจ้าอยู่หัวโดยไม่ได้ดูพระบรมฉายาลักษณ์มาก่อนเลย จากนั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรวัดเจดีย์หลวง และ วัดพระสิงห์ พร้อมบริเวณนครเชียงใหม่ ต่อมาเวลา ๑๕:๓๐ น. เจ้าแก้วนวรัตน์ ได้นำชนเผ่าละว้า ถวายดอกเอื้องแซะ ทรงรับและพระราชทานพร ก่อนเสด็จขึ้นพลับพลา

วันพุธที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙เวลา ๑๐:๐๐ น. เสด็จนครลำพูน นายพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองเมืองลำพูน กราบบังคมทูลเชิญเสด็จวิหารหลวงวัดมหาธาตุ

เมื่อจุดเทียนเครื่องนมัสการแล้ว เจ้าจักรคำขจรศักดิ์กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระแสงราชศาสตราแก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พระสงฆ์สวดชยันโต เจ้าจักรคำขจรศักดิ์กราบบังคมทูลแสดงความสวามิภักดิ์

พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นปฐมภรณ์ช้างเผือก และสัญญาบัตรยศพันตำราจตรีแก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ และ ชั้นตติยาภรณ์พรช้างเผือกแก่ พระยาวิชิตตักศิลาบุรินทร์ พระราชาคณะถวายอติเรก ทรงพระสุหร่ายสรงน้ำพระมหาธาตุหริภุญไชย แล้วให้เจ้าพนักงานห่มผ้าสีชมพูแก่องค์พระธาตุ

จากนั้น พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ๒ คู่ และ เสาศิลา ๑ คู่ เจ้าพนักงานเบิกแว่นเวียนเทียน จากนั้น ได้เสด็จพิพิธภัณฑ์วัดมหาธาตุ แล้วเสด็จยังวัดกู่กุด และ วัดพระยืน ก่อนเสด็จประทับแรม ณ ศาลาว่าการมณฑลพายัพ

วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ โปรดให้จัดงานสมโภชช้างพลายสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ พระยาราชนกุล (สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ) และ เจ้าแก้วนวรัตน์ นำมิสเตอร์แมคไฟ ผู้จัดการบริษัทบอเนียวผู้เป็นเจ้าของช้างนำถวาย เจ้าพนักงานจัดกระบวนแห่ช้างสำคัญจากโรงช้างเชิงดอยสุเทพเข้าโรงช้างหน้าศาลาว่าการมณฑลพายัพ

ต่อมาเวลา ๑๖:๓๐ น. ได้นำลิงเผือก และ กาเผือก ผ่านหน้าพลับพลา เมื่อนำช้างสำคัญยืนโรงแล้วจึงเสด็จฯตามลาดพระบาท ยังโรงช้าง กองเกียรติยศทำวัทยาวุธ และบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทรงประเคนไตรย่ามแก่พระสงค์ ๒๐ รูปออกไปครองผ้า แล้วเจริญพระพุทธมนตร์ พระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนใบวัตถุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ ๒๐ รูปถวายอนุโมทนา พระราชาคณะถวายอติเรก ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ และทรงสวมพวงมาลัยถวายช้างพลายสำคัญ แล้วเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช มีประโคม ครบ ๓ รอบ แล้วพราหมณ์รวมแว่นดับเทียน แล้วเสด็จขึ้น

เวลา ๒๐:๐๐ น. เสวยพระกระยาหารค่ำโดยเชิญ กรมพระดำรงราชานุภาพ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน เจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าจามรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา และเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มารับพระราชทานอาหารในที่เสวย

เวลา ๒๑:๓๐ น. พระราชชายาจัดระบำ ที่หน้าพลับพลาเพื่อสนองพระเดชพระคุณ และมีรำโคมสมโภชช้างพลายสำคัญ วันนี้ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตติยาภรณ์ช้างเผือก แก่เจ้าราชวงศ์ เจ้าบุรีรัตน์ และ ชั้นจัตุรถาภรณ์พรช้างเผือกแก่ เจ้าภาคิไนย เจ้าราชบุตร เหรียญรัตนภรณ์ชั้น ๓ แก่พระยาอมรวิสัยสรเดช เหรียญจักรมาลาแก่ พระยาเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์

วันศุกร์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เสด็จทอดพระเนตรโรงพยาบาลแมคคอมิก โรงเรียนดาราวิทยา โรงเรียนปรินสรอแยล หัวหน้าครูกราบบังคมทูลพระกรุณา พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี มีพระราชดำรัสตอบแล้วเสด็จกลับ

วันเสาร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เสด็จข่วงช้างเผือก ข่วงสิงห์ วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดกู่เต้า ตอนเหนือนครเชียงใหม่ โดยผ่านโรงเรียนกสิกรรม

ต่อมาเวลา ๑๖:๐๐ น. เสด็จทอดพระเนตรกีฬาวึ่งสโมสรยิมคานา (สโมสรกีฬาของฝรั่งในนครเชียงใหม่) จัดถวาย

วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๐๙:๐๐ น. เสด็จด้วยรถยนต์พระที่นั่งจากที่ประทับแรมยังเชิงดอยสุเทพ แล้วทรงพระเก้าอี้หามขึ้นดอยวึ่งเป็นที่ประทับแรม

เวลา ๑๗:๐๐ น. เสด็จจากที่ประทับยังลานพระธาตุ เพื่อนมัสการพระธาตุ พระเทพมุนี เป้นประธานสวดมนตร์และสวดเบิกตามประเพณี และเทศนามหาเวสันดรชาดก นครกัณฑ์ ตามประเพณี ๑จบ แล้วเสด็จจากพระวิหารทรงปทักษิณ (เวียนขวารอบพระธาตุ) แล้วจุดบอกไฟ (ไต้) ซึ่งเจ้าแก้วนวรัตน์จัดมาสนองพระเดชพระคุณจึงเสด็จกลับที่ประทับแรม

วันจันทร์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลาเช้า ทอดพระเนตรบริเวณวัดมหาธาตุดอยสุเทพ เวลาบ่าย เสด็จประพาส ดอยแหลมสนและดอยบวกห้า และทรงถ่ายรูปวิว เวลาสมควรจึงเสด็จกลับ

วันอังคารที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๑๐:๐๐ น.เสด็จกลับจากดอยสุเทพพร้อมสมเด็จพระบรมราชินีมาประทับแรมศาลารัฐบาล

เวลา ๒๑:๓๐ น. เสด็จทอดพระเนตรการแสดง ศิลปหัตถกรรม ซึ่งสโมสรนวรับจัดแสดงที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยแล้วเสด็จกลับ

วันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ โปรดให้มีการสมโภชพระสิงห์

เวลา ๑๖:๐๐ น. พ่อค้าจีนถวายกิมฮวยอั้งติ๋ว เนื่องในเทศการตรุษจีน แล้ว พระเจ้าอยู่และสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จงานปอยหลวง ณ วัดพระสิงห์ ทหารกองเกียรติยศกระทำวันทยาวุธ แล้วบรรเลงเพลิงสรรเสริญพระบารมี ก่อนประทับพระราชอาศน์เพื่อฟังการเจริญพระพุทธมนตร์ จากนั้นทอดพระเนตรการเต้นสิงโตและการแห่ครัวทานเรื่องพระเวสสันดรชาดก ได้พระราชทานเงินติดกัณฑ์ทศพร ๔๐ บาท และ กัณฑ์อื่นๆ กัณฑ์ละ ๑๐ บาท ก่อนเสด็จต่อยังสโมสรนวรัตน์ แล้วเสด็จกลับที่ประทับแรม

เวลา ๒๐:๐๐ น. โปรดให้เชิญ หม่อมเจ้าอลงกฎ กฤษฎากร พระยาอมรวิสัยสรเดชกับคุณหญิง พระยาจตุรงค์สงคราม และ พระศักดิ์ศัลยวุธ มารับพระราชทานอาหารในที่เสวย

วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๐๙:๐๐ น. เสด็จวัดพระสิงห์ จุดเทียนเครื่องนมัสการแล้วทอดพระเนตรการตักบาตรทำบุญเลี้ยงพระตามประเพณี แล้วเสด็จประพาสในเมือง ก่อนเสด็จกลับที่ประทับแรม

เวลา ๑๕:๐๐ น. เสด็จสถานีอนามัยพิทักษ์ที่ ๓ แล้วเสด็จทอดพระเนตรการฝึกซ้อมทหารของกรมทหารราบที่ ๘ กรมทหารตั้งเครื่องว่างในที่เสวย

เวลา ๒๐:๐๐ น. โปรดให้เชิญมองสิเออร์ W.A.Wood (กงสุลอังกฤษประจำเชียงใหม่) มองสิเออร์ C. Knottong (รองกงสุลอังกฤษประจำเชียงใหม่) นายแพทย์ J.W. McKoan นายแพทย์ E.C.Cort นักพรต (สาธุคุณ) W. Harris นาย D.F. Macfie และนาย A.L. Queripel มารับพระราชทานอาหารในที่เสวย

วันนี้ขณะประทับศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ พระราชทานตราแก่ชาวต่างประเทศ คือ จัตุรถาภรณ์วชิรมงกุฏสยาม แก่ นายแพทย์ J.W. McKoan เบญจมภรณ์ช้างเผือก แก่ นาย D.F. Macfie เบญจมภรณ์มงกุฎสยามแก่ นาย A.L. Queripel และ นักพรต W. Harris กับ นายแพทย์ E.C.Cort

วันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๑๐:๐๐ น. พระราชทาน ชั้นจัตุรถาภรณ์พรช้างเผือกแก่เจ้าไชยสงคราม แล้วเสด็จประพาสเวียงเจ็ดริน ทอดพระเนตรน้ำตกห้วยแก้วเชิงดอยสุเทพ แล้วเสด็จสโมสรนวรัฐ เสวยเครื่องว่างที่นั่น แล้วเสด็จกลับ

เวลา ๒๐:๐๐ น. โปรดให้เชิญ พระราชชายา หม่อมเจ้าอลงกฎ กฤษฎากร เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าจามรี และ พระยาราชนกูลกับคุณหญิงมารับพระราชทานอาหารในที่เสวย

วันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ เวลา ๐๗:๓๐ น. ทรงรถยนต์พระที่นั่ง จากศาลาที่ประทับแรมพร้อมสมเด็จพระบรมราชินีถึงสถานีเชียงใหม่

เวลา ๐๘:๐๐ น. รถไฟพระที่นั่ง ออกจากสถานีเชียงใหม่กลับคืนพระนคร กระบวนหลวงแต่งครึ่งยศ ข้าราชการมณฑลพายัพแต่งเต็มยศส่งเสด็จ รถไฟเดิรตลอดทั้งกลางวันกลางคืน

วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙เวลา ๑๑:๔๐ น. รถไฟพระที่นั่งถึงสถานีหลวงจิตรลดา


Last edited by Wisarut on 24/05/2022 11:42 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 6 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©