Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179881
ทั้งหมด:13491113
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 176, 177, 178 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2021 11:11 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดจุดยืนทำไม รฟท.ไม่ฟ้อง ประชาชน บุกรุก"ที่ดินเขากระโดง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:02 น.

การรถไฟฯ ย้ำจุดยืนกรณีแก้ปัญหาข้อพิพาท ที่ดินเขากระโดง ยึดปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย-หลักธรรมมาภิบาล อย่างเคร่งครัด สาเหตุ ไม่ฟ้องประชาชนบุกรุก

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงและให้ข้อมูลต่อพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชน



กรณีการอภิปรายของนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนราธิวาส พรรคประชาชาติ ที่มีการกล่าวถึงการดำเนินการของการรถไฟฯ เกี่ยวกับกรณีการแก้ไขปัญหาที่ดินข้อพิพาทที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนบริเวณพื้นที่เขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้วางกรอบการดำเนินการและการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งองค์กร ประชาชน และประเทศชาติ ที่ดินของการรถไฟฯ ที่ดินของการรถไฟ มีจำนวนทั้งสิ้น 245,807.97 ไร่ มีที่มาของกรรมสิทธิ์ที่ดิน

จาก 6 ช่องทาง คือ การได้มาโดยพระบรมราชโองการ การเวนคืน การจัดซื้อ การรับมอบจากประชาชน การจับจอง และการแลกเปลี่ยนพื้นที่โดยรวมของการรถไฟฯ ทั้งหมดทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่


1. พื้นที่ใช้ในการเดินรถในปัจจุบัน 190,606.97 ไร่ อาทิ พื้นที่ย่านสถานี พื้นที่บ้านพักและที่ทำการ พื้นที่เขตทางรถไฟ พื้นที่โรงรถจักร โรงซ่อมบำรุง

2. พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการเดินรถในปัจจุบัน 55,201 ไร่ แบ่งออกเป็น

2.1 พื้นที่ที่นำมาจัดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้

นำออกจัดประโยชน์แล้ว 5,205 ไร่

อยู่ระหว่างดำเนินการ 49,996 ไร่

2.2 พื้นที่ที่ยังไม่สามารถนำมาจัดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ แบ่งออกเป็น

ที่ดินที่มีการบุกรุก มีผู้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินของการรถไฟฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน 18,822 ราย ประกอบด้วย พื้นที่ในเขตกรุงเทพปริมณฑล 1,538 ราย พื้นที่ในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 911 ราย นครราชสีมา ขอนแก่น ศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง 3,045 ราย นครสวรรค์ พิษณุโลก จังหวัดใกล้เคียง 869 ราย และพื้นที่ในจังหวัดอื่นๆ 12,459 ราย

ที่ดินที่มีข้อพิพาท ซึ่งมีการออกเอกสารสิทธิ์บนพื้นที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ เช่น พื้นที่บริเวณพังงา-ท่านุ่น จ.พังงา พื้นที่บริเวณอรัญประเทศ จ. สระแก้ว พื้นที่บริเวณบ้านโพธิ์มูล จ.อุบลราชธานี พื้นที่บริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น

สำหรับที่ดินที่มีข้อพิพาทนี้ การรถไฟฯ ได้ยึดแนวทางในการดำเนินการทุกขั้นตอนบนหลักการว่า ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการ และอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต โดยจะต้องมีการดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากกระบวนการสำรวจและออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อนในอดีตทำให้เกิดกรณีของการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน ซึ่งการรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ์และขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด

การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินทั่วประเทศของการรถไฟฯทำอย่างไร

กระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมการดำเนินการของการรถไฟฯ ในด้านการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินทั่วประเทศ การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ โดยการเจรจาให้ผู้บุกรุกเข้าทำสัญญาเช่า ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ อีกทางหนึ่งด้วย

2.การจัดตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สิน ตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการโดยตรงอย่างมืออาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ในการบริหารที่ดินให้กับ รฟท.

การดำเนินการของกระทรวงคมนาคม

ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ ดังนี้มีคำสั่ง ที่ 380/2563 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาในการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ตามนโยบายของรัฐ และติดตามกำกับนโยบายการจัดการรายได้จากทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างรายได้จากการใช้อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟฯ อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด

ได้มอบนโยบายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดี ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้การบูรณาการให้สอดคล้อง และตอบสนองต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 รวมถึงนโยบายของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชน ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามหลักธรรมาภิบาล ตามหนังสือของกระทรวงคมนาคม ที่ คค 0100/ว275 ลงวันที่ 29 มกราคม 2564

การสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

มีนโยบายในด้านการบริหาร และพัฒนาที่ดินโดยได้ดำเนินการ ดังนี้

มีนโยบายนำไปสู่การปฏิบัติแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมโดยได้ตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย อาทิ เครือข่ายสลัม 4 ภาค ผู้บุกรุกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส

ปัญหาที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

ปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน มีผู้บุกรุก จำนวนประมาณ83 ราย ที่ผ่านมา รฟท. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกตามขั้นตอนภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง มีปัญหามีมาอย่างยาวนาน และมีความสลับซับซ้อน เกิดขึ้นจากกระบวนการสำรวจ การออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อน ซึ่งในอดีต

ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้เสาะหาข้อเท็จจริง และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด โดยล่าสุดเมื่อต้นปี 2564 การรถไฟฯ ได้ดำเนินการสำรวจที่ดินบริเวณเขากระโดงโดยไม่ได้มีการสำรวจที่ดินของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ พบว่า มีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการประมาณ 900 ราย แบ่งเป็น

-โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย

-ที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย

-น.ส.3ก. จำนวน 7 ราย

-หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย

-ทางสาธารณประโยชน์ จำนวน 53 แปลง

-และอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏเลขที่ดินในระวางแผนที่อีก จำนวน 129 แปลง

การรถไฟฯ ได้ดำเนินการแก้ปัญหาที่ดินที่มีข้อพิพาทที่มีการออกเอกสารสิทธิ์บนพื้นที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยยึดหลักการที่ว่า “ประชาชนถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการ และอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต” ดังนี้

การดำเนินการกรณีประชาชนฟ้องการรถไฟฯ

ประชาชน ได้ฟ้อง รฟท. โดยอ้างสิทธิ์ตาม ส.ค.1 และ นส.3 ก. และการรถไฟฯ ได้เข้าต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาในคดีเหล่านั้นเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดยการรถไฟฯ ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ซึ่งการรถไฟฯ ได้ดำเนินบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในแต่ละคดีแล้ว

อย่างไรก็ดีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี โดยไม่ผูกพันบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความตามคดีนั้นๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145

การดำเนินการกรณีไม่มีข้อพิพาทในศาล

การรถไฟฯ ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อหาข้อยุติในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้กรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรและให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพิจารณาทบทวนการใช้อำนาจดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 การรถไฟฯ ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอให้กรมที่ดินดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61

ทำไมไม่ฟ้องประชาชนตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด

ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรณีที่กรมที่ดินได้มีหนังสือหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61

ซึ่งการรถไฟฯ ไม่ทราบว่ากรมที่ดิน ได้หารือประเด็นใดรวมถึงการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเพียงใด อย่างไรก็ดีการรถไฟฯ ได้นำคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาในการดำเนินการแล้วเห็นว่า การที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับบนที่ดินที่สันนิษฐานว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ

เป็นกรณีที่ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต การรถไฟฯ จึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยทางราชการ แต่จะดำเนินการโดยมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

เมื่อกรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรและให้บริการ

จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และมีข้อเท็จจริงปรากฏตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ทำให้การรถไฟฯ เชื่อได้ว่าการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่บริเวณเขากระโดงโดยความคลาดเคลื่อนเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินตามกฎหมายย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การรถไฟฯ จึงยืนยันขอให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยพิจารณาการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ต่อไป



การดำเนินการในปัจจุบันตามหลักการของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นอย่างไร ?

ปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้ดำเนินการทุกขั้นตอนตามกฎหมาย ด้วยความ โปร่งใส เป็นธรรม ทั่วถึง และ

ไม่เลือกปฏิบัติ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนมากที่สุด บนหลักการของ รฟท. ซึ่งตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานว่า “ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต”

การรถไฟฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ ในนาม บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งจะลงนามสัญญาบริหาร กระบวนการทางด้านกฎหมาย การส่งมอบพื้นที่ พิจารณาแผนธุรกิจ แนวทางบริหารจัดการทรัพย์สิน และการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลดิจิทัลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัย จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด สามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุก การออกเอกสารสิทธิ์ รวมถึงสามารถนำที่ดินมาจัดประโยชน์ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดให้กับองค์กร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2021 10:26 am    Post subject: Reply with quote

นับถอยหลังอวสาน ‘อาบอบนวด’ ทุนยักษ์ทุ่มพลิกโฉมรัชดา-พระราม 9 สู่ ‘ศูนย์กลางธุรกิจ’ แห่งใหม่
สกู๊ปประชาชื่น
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:14 น.


ว่ากันว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำเล “รัชดาภิเษก-พระราม 9” จะเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ ก้าวสู่การเป็น ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ หรือ New CBD ของกรุงเทพมหานคร เทียบชั้น “ถนนรปปงหงิ” กรุงโตเกียว ย่านธุรกิจ แหล่งช้อปปิ้งและสถานที่ท่องเที่ยวในยามค่ำคืน

หลังจากรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง “ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังก่อสร้าง กดปุ่มเปิดบริการภายในปี 2568 จะเป็นแม่เหล็ก สร้างจุดเปลี่ยนให้กับทำเล

โดยเฉพาะ “สถานีศูนย์วัฒนธรรม” เป็นจุดไข่แดง จะกลายเป็นซุปเปอร์สเตชั่น เพราะเป็นจุดต่อเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สาย 2 สี ทั้งสายสีส้มและสายสีน้ำเงิน จะเห็นการพัฒนาที่ดินในรัศมีโดยรอบอย่างคึกคัก

ผังเมืองใหม่ หนุนการพัฒนา อัพ ‘รัชดา-พระราม 9’ ศูนย์ธุรกิจแห่งใหม่

ขณะที่ผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงใหม่ กำลังรอการบังคับใช้ จะส่งเสริมการพัฒนา และอัพโซนทำเลนี้ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ซึ่งขยับขยายมาจากสีลม สาทร

“ชูขวัญ นิลศิริ” รองผู้อำนวยการ สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ย่านรัชดาภิเษกบริเวณที่เป็นจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกับสายสีส้มจะมีการพัฒนาใหม่ๆ เกิดขึ้น รองรับการขยายตัวจากในเมือง

จากปัจจุบันศูนย์กลางธุรกิจ หรือย่าน CBD จะอยู่แนวรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ย่านสีลม สาทร พระราม 4 ปทุมวัน เพลินจิต ต่อเนื่องไปถึงพระราม 9 มักกะสัน

เมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดบริการจะหนุนรัชดาภิเษกและพระราม 9 เป็นทำเล CBD มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันเป็นย่านสำนักงานและพาณิชยกรรมอยู่แล้ว รวมถึงยังมีสถานที่สำคัญ เช่น สถานทูตจีน

“ผังเมืองรวม กทม.ที่ปรับปรุงใหม่ จะเพิ่มพื้นที่พาณิชยกรรมแยกพระราม 9 และอัพเลเวลบริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมเป็นพื้นที่สีน้ำตาล ให้พัฒนาได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพของทำเลเป็นศูนย์กลางธุรกิจ เพราะย่านรัชดาภิเษกก่อนจะเกิดโควิด-19 มีพัฒนาใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก”

เป็นการตอกย้ำอนาคต “รัชดาภิเษก-พระราม 9” เฉิดฉายขึ้นอีกแน่นอนจากนักวิชาการผังเมือง

‘โบรกเกอร์อสังหาฯ’ชี้ทำเลมีศักยภาพ รถไฟฟ้าดันราคาที่ดินพุ่ง 5 เท่า ขายวาละ 1 ล้าน

ด้าน “โสภณ พรโชคชัย” ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์

เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวว่า คำนิยามของคำว่า CBD หรือ Central Business District หรือศูนย์กลางธุรกิจของเมือง จะเป็นศูนย์ธุรกิจที่สำคัญที่สุด และมักตั้งอยู่ใจกลางเมือง โดยศูนย์ธุรกิจมีทั้งสถาบันการเงิน การบริการค้าปลีก และสำนักงานขนาดใหญ่ เพื่อเป็นศูนย์รวมในการติดต่อธุรกิจของเมือง

ในกรณีประเทศไทยศูนย์กลางของเมืองค่อนข้างกระจัดกระจาย เช่น กรุงเทพฯ มีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่เกาะรัตนโกสินทร์ ต่อมากระจายตัวออกสู่รอบนอก และภายหลังมีการสร้างศูนย์ราชการที่ถนนแจ้งวัฒนะ และนนทบุรี แต่มีเพียงส่วนราชการจำนวนหนึ่งที่ได้ไปใช้พื้นที่เท่านั้น

ส่วนศูนย์กลางทางธุรกิจก็กระจัดกระจายเช่นกัน มีสีลม สุรวงศ์ สาทร เป็นศูนย์กลางทางการเงิน มีสถาบันการเงินอยู่รวมกันมากที่สุดถือเป็น Financial District

ด้านกิจการค้าปลีก อยู่ที่ย่านมาบุญครอง สยาม ชิดลม เพลินจิต ถูกแยกจากสีลมเพราะที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขณะที่ย่านบันเทิงคงอยู่ในย่านรัชดาภิเษกและพระราม 9 เพราะมีกิจกรรมบันเทิง เช่น อาบอบนวด และสถานบันเทิงอื่นอยู่รวมกันมากเป็นพิเศษ

“แล้วย่านรัชดาภิเษก จะเป็น CBD ของกรุงเทพฯได้หรือไม่ ในแง่หนึ่งอาจเห็นศักยภาพอยู่พอสมควร เพราะมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอยู่ใต้ดินบนถนนรัชดาภิเษก และยังมีสายสีส้มที่แยกออกไปสู่เขตมีนบุรี ทำให้ย่านนี้มีศักยภาพในการพัฒนาที่ดี”

“โสภณ” ยังบอกอีกว่า ก่อนที่จะมีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ราคาที่ดินแถวถนนรัชดาภิเษก ขึ้นเร็วกว่าถนนพระราม 9 มาก เพราะถนนพระราม 9 ยังไม่มีรถไฟฟ้า

ทำให้ราคาที่ดินขึ้นแตกต่างกันมาก โดยในปี 2537 ราคาที่ดินของถนนทั้ง 2 สาย มีราคาใกล้เคียงกัน โดยถนนรัชดาภิเษก มีราคา 200,000 บาทต่อตารางวา ส่วนถนนพระราม 9 มีราคา 165,000 บาทต่อตารางวา ต่างกันเพียง 21%

แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปี 2564 หรือ 27 ปีถัดมา ราคาที่ดินบนถนนรัชดาภิเษกขึ้นเป็นตารางวาละ 1 ล้านบาท ส่วนที่ถนนพระราม 9 ก็ปรับตัวขึ้น แต่ขึ้นเป็นเพียง 500,000 บาท เท่ากับว่าที่ดินบนถนนรัชดาภิเษกเพิ่มขึ้น 5 เท่า หรือขึ้นปีละ 6.1% ส่วนที่ดินบนถนนพระราม 9 เพิ่มเพียง 3 เท่าหรือเพิ่มขึ้นปีละ 4.2% แต่ในอนาคตราคาที่ดินบนถนนพระราม 9 น่าจะขึ้นเร็วกว่านี้

“การที่มีรถไฟฟ้าผ่านในบริเวณนี้ ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น มีธุรกิจโยกย้ายมาอยู่มากขึ้น เข่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม เป็นต้น พัฒนาการบนถนนรัชดาภิเษกและพระราม 9 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่หากจะแทนที่ศูนย์ธุรกิจการเงินที่สีลมคงเป็นไปไม่ได้ เพราะคงไม่มีสถาบันการเงินย้ายมาอยู่รวมกันตรงนี้ หรือจะกลายเป็นศูนย์ค้าปลีก เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะศูนย์การค้าคุณภาพขนาดใหญ่ในย่านสยาม ชิดลม เพลินจิต ยังอยู่ที่เดิม”


“โสภณ” จึงประเมินว่ารัชดาภิเษก-พระราม 9 ยังคงเป็นศูนย์ธุรกิจรองของเมือง เช่นเดียวกับย่านบางนาช่วงต้น ย่านแจ้งวัฒนะ หรือย่านปิ่นเกล้า ที่เป็นศูนย์ธุรกิจรอง

‘สถานบันเทิง’ ธุรกิจเริ่มโรยรา ‘โพไซดอน’ เตรียมรีโนเวตเป็นโรงแรม

ในส่วนของสถานบันเทิงต่างๆ บนถนนรัชดาภิเษก “โสภณ” ประเมินว่า ยังคงอยู่ แต่ก็จะค่อยๆ ถูกแทนที่โดยธุรกิจอื่นๆ มากขึ้น



สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาต่อสัญญาเช่าที่ดินของ “โพไซดอน” สถานบันเทิงครบวงจรบนถนนรัชดาภิเษก เนื้อที่ 15.4 ไร่ จะสิ้นสุดในปี 2567 โดยบริษัทขอต่อสัญญาออกไปอีก 30 ปี

พร้อมกับขอปรับปรุงดัดแปลงอาคารสูง 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,656 ตารางเมตร ปัจจุบันประกอบธุรกิจอาบอบนวด เป็นธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ด้วยวงเงิน 200 ล้านบาท

โดยระบุเหตุผลว่า เนื่องจากธุรกิจเข้าสู่ช่วงขาลง ประกอบกับมีภาระต้นทุนมากขึ้น และมีปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว

จากกรณีของ “โพไซดอน” น่าจะเป็นการสะท้อนภาพธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดีว่าคงเป็นการยากที่จะกลับมาโชติช่วงเหมือนเดิม ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ยังระบาดไปทั่วโลก

เปิดพิกัดที่ดินแปลงใหญ่รอพัฒนา ‘เอไอเอ-เซ็นทรัล’ ลุยโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส

จากภาพอนาคต กลับมาดูภาพปัจจุบันของ “ถนนรัชดาภิเษก” ในวันนี้ ยังคงมีความเคลื่อนไหวด้านการลงทุน ซื้อขายที่ดิน แม้จะไม่คึกคักเหมือนหลายปีที่ผ่านมา

ล่าสุดยักษ์ใหญ่ธุรกิจประกัน “บริษัท เอไอเอ ประเทศไทย” ทุบสถิติปิดดีลซื้อที่ดิน 8 ไร่ ติดถนนรัชดาภิเษกและรถไฟฟ้าสถานีศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 3,500 ล้านบาท หรือเฉลี่ยราคาตารางวาละ 1.1 ล้านบาท จาก “สาธิต วิทยากร” ผู้ถือหุ้นใหญ่โรงพยาบาลพริ้นซ์และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทำให้ “ถนนรัชดาภิเษก” กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง



เมื่อเปิดพิกัดที่ดินในรัศมี “สถานีศูนย์วัฒนธรรม” ยังมีอยู่หลายแปลง กำลังเจรจาซื้อขายมี 2 แปลงของค่ายพร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค รวมเนื้อที่กว่า 20 ไร่ แปลงแรกประมาณ 13 ไร่ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า อีกแปลงประมาณ 9 ไร่ อยู่ฝั่งตรงข้าม ติดกับปั๊มน้ำมันซัสโก้

โดยตั้งราคาขายตารางวาละ 1 ล้านบาท และคาดว่าจะมีรายได้จากการขายที่ดิน 2 แปลงนี้กว่า 3,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีนักลงทุนไทยและต่างชาติ สนใจจะซื้อเพื่อพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส

ยังมีที่ดิน 20 ไร่ ของสาธิตยังเหลืออยู่ กำลังรอจังหวะนำมาลงทุนพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส หรือขายต่อให้เศรษฐีเงินเย็น เช่นเดียวกับที่ดินอยู่ใกล้กันอีก 28 ไร่ มูลค่าหมื่นล้านของ “กลุ่มแหลมทองค้าสัตว์” ยังคงรอจังหวะเช่นกัน

ขยับไปด้านหลังศูนย์วัฒนธรรม อยู่ในรัศมีไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้า มีที่ดิน 50 ไร่ ของ อสมท มูลค่า 5,033 ล้านบาท แว่วว่ากำลังจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ ตั้งเป้าจะได้ผู้ชนะประมูลไตรมาสที่ 4 นี้ ขณะที่ด้านหน้าศูนย์วัฒนธรรม ติดถนนเทียมร่วมมิตร มีที่ดิน 27 ไร่ของเจ้าสัวเจริญ เตรียมไว้รอพัฒนาโครงการ

ทุกแปลง ทุกโปรเจ็กต์จะเป็นส่วนมาเติมเต็มศักยภาพทำเลรัชดาภิเษก-พระราม 9 ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันมี “ยักษ์ธุรกิจ-ตระกูลดัง” เข้าไปปักฐานอยู่หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประกันชีวิต อสังหาฯ ค้าปลีก

โดยธุรกิจอสังหาฯ มีบิ๊กแบรนด์ เข้าไปลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมอยู่หลายค่าย เช่น โนเบิล พฤกษา อนันดา ศุภาลัย เอพี (ไทยแลนด์)

ขณะที่ธุรกิจประกันก็ไม่น้อยหน้า มีการขยายการลงทุนเพิ่มต่อเนื่อง ล่าสุด “ไทยประกันชีวิต” มีกระแสข่าวว่ากำลังขยับขยายอาคารสำนักงานไปปักหมุดบนพื้นที่ใหม่ถนนพระราม 9 ตรงข้ามอาคารว่องวานิช

ส่วน “เอไอเอ” รุกธุรกิจอสังหาฯให้เช่ามากขึ้น หลังทุ่ม 6,000 ล้านบาท สร้างตึกสูง 34 ชั้น “เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์” อาคารสำนักงานเกรดเอและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า บนเนื้อที่ 9.5 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ประชิดติดอาคารตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย ที่ได้ย้ายจากย่านพระราม 4-คลองเตย มาปักหลักที่รัชดาภิเษก

ล่าสุด “เอไอเอ” เตรียมทุ่มเงินก้อนใหญ่ ขึ้นโครงการมิกซ์ยูสระดับหมื่นล้าน บนที่ดินกว่า 8 ไร่ อยู่ฝั่งตรงข้าม สร้างอาคารสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า

ฟาก “ธุรกิจค้าปลีก” มีตระกูลดังเข้าไปปักหลักอยู่หลายแบรนด์ เริ่มจาก “แยกเทียมร่วมมิตร” ปัจจุบันเป็นที่มั่นของตระกูลสิริวัฒนภักดี เพราะมีทั้งศูนย์การค้าเดอะสตรีท (โรบินสันเดิม), บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า และอาคารไซเบอร์เวิลด์ ทาวเวอร์ มีสกายวอล์กเชื่อมอาคารและศูนย์การค้า

ไม่ไกลกันมากเป็นศูนย์การค้า “เอสพลานาด” ของ บมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์หรือ SF เจ้าของศูนย์การค้าเมกาบางนา ที่วันนี้ “กลุ่มเซ็นทรัล” ได้เทกโอเวอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นที่จับตาหลังจากนี้จะพลิกโฉมใหม่อีกหรือไม่ เพราะอยู่ในทำเลจุดตัดรถไฟฟ้าพอดี

ขณะที่ “แยกพระราม 9” มีศูนย์การค้ายักษ์ของ 2 ตระกูลดัง ตั้งประจันหน้า ระหว่าง “เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9” ของตระกูลจิราธิวัฒน์ กับ “ฟอร์จูนทาวน์” ของตระกูลเจียรวนนท์ เจ้าถิ่นเดิมที่นอกจากเนรมิตศูนย์การค้า ยังมีโรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ และเทสโก้ โลตัส (เยาฮันเดิม) รวมถึงอาคารทรูทาวเวอร์ที่อยู่เยื้องๆ กัน

สำหรับศูนย์การค้า “เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9” ทางกลุ่มเซ็นทรัลได้เช่าพื้นที่ของ บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (จีแลนด์) ของตระกูลบุญดีเจริญ เนรมิตห้างยักษ์ เจาะทะลุสถานีรถไฟฟ้าพระราม 9

ต่อมาในปี 2561 ได้เข้าเทกโอเวอร์ “จีแลนด์” ครอบครองโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ 73 ไร่ ที่ภายในประกอบด้วย อาคารสำนักงาน โรงแรม ค้าปลีก ที่อยู่อาศัย

แหล่งข่าวจากกลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า ในปี 2565 จะนำที่ดินที่เหลืออีก 26 ไร่ จากเดิมจีแลนด์จะสร้างอาคาร “เดอะ ซูเปอร์ ทาวเวอร์” สูง 125 ชั้น สูงที่สุดของประเทศและอาเซียน มาปรับแผนใหม่

พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มีหลายอาคาร เช่น โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงาน โดยยังมีพื้นที่ใช้สอยเท่าเดิมประมาณ 3 แสนตารางเมตร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาท จะพลิกโฉมย่านพระราม 9 ให้เป็น CBD แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

ซีพีทุ่มแสนล้านพัฒนา ‘มักกะสัน’ 140 ไร่ ผุดตึกสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จาก “รัชดาภิเษก-พระราม 9” การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ จะขยับขยายไปถึงย่าน “มักกะสัน” ซึ่งในอนาคตจะเป็นเกตเวย์ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและแอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือเอราวัน (AERA 1) เป็นตัวเชื่อมการเดินทางเข้าใจกลางเมืองและจังหวัดทางภาคตะวันออก

สำหรับย่าน “มักกะสัน” ทาง บจ.เอเชีย เอราวัน (กลุ่มซีพี) ผู้รับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จะได้พื้นที่ด้านหน้าสถานีมักกะสัน ประมาณ 140 ไร่ พัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี หรือ TOD เพื่อเป็นการต่อยอด และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงการ

ปัจจุบันกลุ่มซีพีอยู่ระหว่างการออกแบบและวางผังการพัฒนาพื้นที่ โดยจะพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มูลค่าเป็นแสนล้านบาท สร้างเมืองอัจฉริยะ และอาคารสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแลนด์มาร์กใหม่ของประเทศไทย

เป็นความเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นบน “ถนนรัชดาภิเษก” ซึ่งหลั่งไหลมาจากสุขุมวิท เกาะมาตามเส้นทางรถไฟฟ้า มาพลิกโฉม “ถนนเอ็นเตอร์เทนเมนต์” ที่ไม่เคยหลับไหล ให้เป็นศูนย์ธุรกิจแห่งใหม่ หลังเศรษฐกิจและโควิด-19 คลี่คลาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2021 5:37 am    Post subject: Reply with quote

🚂 ฤกษ์ดี! 9.9 เวลา 9 โมงเช้า ‘การรถไฟฯ’ ลงนามให้ ‘เอสอาร์ที แอสเสท’ เข้าพัฒนาทรัพย์สินฯ เร่งทยอยโอนบิ๊กโปรเจ็กต์ มูลค่า 1.64 พันล้านภายใน ต.ค.นี้
วันที่ 9 กันยายน 2564

🚂 “การรถไฟฯ” ถือฤกษ์ 9 เดือน 9 เวลา 9 โมงเช้า ลงนามความร่วมมือให้ “เอสอาร์ที แอสเสท” เข้าพัฒนาทรัพย์สินหวังเพิ่มรายได้ด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพ ลุยทยอยโอนสินทรัพย์โครงการขนาดใหญ่ 75 สัญญา มูลค่า1,645 ล้านภายใน ต.ค.นี้ ตั้งเป้าโอนครบ 3.16 พันล้านภายในปี 65
...เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการรถไฟ ชั้น 3 การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และ น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการบริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ได้ทำพิธีลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการทรัพย์สินระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด และ คณะผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ ถือเป็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินครั้งสำคัญของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นการดำเนินภารกิจตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ที่เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ขึ้น เพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟู สร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ ตามแผนฟื้นฟูกิจการฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด แล้วเสร็จไป
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 การลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งมอบทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้กับบริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการแทน อย่างไรก็ดี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทั้งหมดนั้น ยังคงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเช่นเดิม “ในช่วงแรกการรถไฟแห่งประเทศไทย จะเริ่มทยอยโอนทรัพย์สินโครงการขนาดใหญ่ที่มีการทำสัญญาไว้แล้ว จำนวน 75 สัญญา มูลค่าทรัพย์สิน 1,645 ล้านบาท โดยใช้เวลาโอนเสร็จสิ้นภายในเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ซึ่งจะทำให้บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด สามารถดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินได้ทันที และหลังจากนั้นจะมีการทยอยโอนส่งมอบทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายดำเนินการโอนทรัพย์สินทั้งหมด 12,839 สัญญา มูลค่า 3,166 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในปี 2565”
นายนิรุฒ กล่าวว่าต่อว่า บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารจัดการและสร้างรายได้ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งด้านการบริหารสัญญาเช่าที่ได้รับมอบจากการรถไฟแห่งประเทศไทย การจัดหาผู้ลงทุนและการเช่าพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาด้วยตนเอง การซื้อหรือเช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกเพื่อพัฒนาหรือร่วมทุน หวังสร้างการเติบโตในระยะยาวให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น มีระบบบริหารจัดการที่มีมาตรฐานสากล และมีทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นๆ ตลอดจนยังส่งผลดีต่อภาพรวมในอีกหลายมิติ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจในการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ การจ้างงานการท่องเที่ยว ด้านสังคมช่วยให้การบริหารพื้นที่ชุมชนที่บุกรุกสามารถดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
“ท้ายนี้การรถไฟฯ คาดหวังว่าภายหลังการส่งมอบการบริหารทรัพย์สินแล้ว บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นอิสระและเป็นมืออาชีพด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์จะสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถสร้างรายได้แก่องค์กร และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยพลิกฟื้นการรถไฟฯ ให้กลับมาเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง สามารถดูแลและให้บริการแก่พี่น้องประชาชนตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมได้อย่างยั่งยืน”

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4404210886292489
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2021 11:17 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เซ็นโอนทรัพย์สินให้ “เอสอาร์ที แอสเสท” ชุดแรก 75 สัญญาใหญ่ 1.64 พันล้านบาท บูมทำเลทองสร้างรายได้เพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 16:11 น.
ปรับปรุง: วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 16:11 น.



รฟท.ลงนามความร่วมมือ “เอสอาร์ที แอสเสท” เริ่มโอนทรัพย์สินชุดแรกโครงการใหญ่ 75 สัญญา มูลค่าทรัพย์สิน 1,645 ล้านบาทเสร็จใน ต.ค.นี้ และทยอยโอนที่เหลือต่อเนื่องทั้งหมด 12,839 สัญญา มูลค่า 3,166 ล้านบาท เสร็จภายในปี 2565 หวังมืออาชีพช่วยพัฒนาเพิ่มรายได้จากทรัพย์สินให้ รฟท.ได้มากกว่าเดิม

วันนี้ (9 ก.ย.) ณ ห้องปฏิบัติการรถไฟ ชั้น 3 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และ น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ได้ทำพิธีลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการทรัพย์สินระหว่าง รฟท.กับ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด และคณะผู้บริหาร รฟท. และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท. เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ถือเป็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินครั้งสำคัญของการรถไฟฯ และเป็นการดำเนินภารกิจตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ที่เห็นชอบให้การรถไฟฯ ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ขึ้นเพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟู สร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ ตามแผนฟื้นฟูกิจการฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)

ซึ่งการรถไฟฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด แล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 การลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งมอบทรัพย์สินของการรถไฟฯ ให้แก่บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการแทน อย่างไรก็ดี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทั้งหมดนั้นยังคงเป็นของการรถไฟ ฯ เช่นเดิม

“ในช่วงแรกการรถไฟฯ จะเริ่มทยอยโอนทรัพย์สินโครงการขนาดใหญ่ที่มีการทำสัญญาไว้แล้วจำนวน 75 สัญญา มูลค่าทรัพย์สิน 1,645 ล้านบาท โดยใช้เวลาโอนเสร็จสิ้นภายในเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ซึ่งจะทำให้บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด สามารถดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินได้ทันที และหลังจากนั้นจะมีการทยอยโอนส่งมอบทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายดำเนินการโอนทรัพย์สินทั้งหมด 12,839 สัญญา มูลค่า 3,166 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในปี 2565”

สำหรับ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารจัดการและสร้างรายได้ให้การรถไฟฯ ทั้งด้านการบริหารสัญญาเช่าที่ได้รับมอบจากการรถไฟฯ การจัดหาผู้ลงทุนและการเช่าพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการบนที่ดินของการรถไฟฯ รวมทั้งการพัฒนาด้วยตนเอง การซื้อหรือเช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกเพื่อพัฒนาหรือร่วมทุนเพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวให้แก่การรถไฟฯ ซึ่งจะส่งผลให้การรถไฟฯ มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น มีระบบบริหารจัดการที่มีมาตรฐานสากล และมีทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นๆ ตลอดจนยังส่งผลดีต่อภาพรวมในอีกหลายมิติ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจในการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ การจ้างงานการท่องเที่ยว ด้านสังคม ช่วยให้การบริหารพื้นที่ชุมชนที่บุกรุกสามารถดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น



เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ถูกออกแบบมาให้เป็นอิสระและเป็นมืออาชีพด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการรถไฟฯ คาดหวังว่าภายหลังการส่งมอบการบริหารทรัพย์สินแล้ว บริษัทฯ จะสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟฯ สามารถสร้างรายได้แก่องค์กร และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยพลิกฟื้นการรถไฟฯ ให้กลับมาเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง สามารถดูแลและให้บริการแก่พี่น้องประชาชนตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมได้อย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2021 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ตั้งคณะทำงานร่วม “คมนาคม-พม.-ภาคประชาชน” เร่งแก้ปัญหาที่ดิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 14:39 น.
ปรับปรุง: วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 14:39 น.



“ศักดิ์สยาม” สั่งตั้งคณะทำงานร่วม “คมนาคม-พม.-ภาคประชาชน” เร่งแก้ปัญหาที่ดินของหน่วยงานคมนาคมภายใน 30 วัน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนจากการดำเนินโครงการต่างๆ

วานนี้ (9 ก.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 2/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง (ทล.) และกรมเจ้าท่า (จท.)

นายศักดิ์สยามเปิดเผยว่า ในกรณีประชาชนได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการของ รฟท.นั้น ได้สั่งการให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รฟท. และภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของ รฟท. เพื่อบูรณาการการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพภายใน 30 วัน

ทั้งนี้ ให้ รฟท.ลงพื้นที่ร่วมกับภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการต่างๆ เพื่อรับทราบปัญหาอย่างชัดเจนและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน และเร่งรัดให้ รฟท.พิจารณาการคิดอัตราค่าเช่าใหม่ให้เป็นไปตามอัตราค่าเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยของชุมชนพระราม 6 เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

ส่วนกรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางด่วนยกระดับพระรามสอง-วังมะนาว ตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ให้ ทล.เร่งดำเนินการตรวจสอบจำนวนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการให้ชัดเจน พร้อมสำรวจความต้องการของประชาชนกรณีโครงการก่อสร้างสำนักงานแขวงการทาง ชุมชนสะพานร่วมใจ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ให้ ทล.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ร่วมกับภาคประชาชนเพื่อหาข้อสรุปต่อไป

นอกจากนี้ ได้มอบนโยบายในการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ โดยให้ยึดแนวทางการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกันในทุกด้านร่วมกับภาคประชาชนในการแก้ปัญหา และการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลข้อเท็จจริง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 11:44 am    Post subject: Reply with quote

แจ้งข่าวไปยังพี่น้องสื่อมวลชน
วันนี้พุธที่ 15 ก.ย.2564 เวลา 14.00 น. นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน และแกนนำคณะไทยไม่ทน จะไปยื่นเรื่องกล่าวหาผู้ว่าการรถไฟฯ ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีละเว้นไม่ดำเนินการตามกฎหมาย กับผู้ที่บุกรุกครอบครองที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง ต.อิสาน อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ทั้งที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วว่าที่ดินจำนวนกว่า 5 พันไร่ เป็นที่หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของการรถไฟฯ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=394245538732904&id=100044423829531
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2021 11:46 am    Post subject: Reply with quote

ส่งมอบพื้นที่ตลาดคลองสานพลาซ่าให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/550554705804937/posts/957824085077995

ชาวฝั่งธนฯใจหาย ชาวเน็ตเผยภาพทุบ ‘ตลาดคลองสาน พลาซ่า’ เตรียมส่งคืนการรถไฟฯ
วันที่ 20 กันยายน 2564 - 10:25 น.

เรียกว่าเป็นที่คนฝั่งธน แอบรู้สึกใจหายอยู่ไม่น้อย เมื่อผู้ใช้ เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์สภาพล่าสุดของตลาดคลองสาน ลงในกรุ๊ป กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่กำลังจะต้องปิดตัวลง

โดยมีหนังสือ ของคลองสาน พลาซ่า ที่ระบุว่า “ด้วยทาง บริษัท ที่ปรึกษาการวางแผนและพัฒนา จำกัด จะทำการรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างหน้าอาคารพาณิชย์ เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปิดช่องทางเดินหน้าอาคารทั้งหมดตลอดแนว เพื่อทำการรื้อถอน และเพื่อความปลอดภัยกับผู้สัญจร ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน เป็นต้นไป โดยได้จัดทางเดินสำหรับคนใช้เรือข้ามฟาก อีกฝั่งหนึ่ง”


เผยให้เห็นภาพของร้านรวงต่างๆ ที่ถูกทุบไปแล้วฝั่งหนึ่ง โดยมีหลายคนเข้าไปคอมเมนต์แสดงความเสียดายจำนวนมาก

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนที่จะนำที่ดินบริเวณตลาดคลองสาน หรือตลาดคลองสานพลาซ่าและท่าเรือข้ามฟากคลองสาน รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5 ไร่ ออกประมูลให้เอกชนเข้ามาเช่าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ระยะยาว โดยสัญญาตลาดคลองสานพลาซ่า หมดในเดือน เมษายน 2564 ขณะที่ สัญญาให้ผู้ประกอบการเช่าทำท่าเรือข้ามฟากคลองสาน จะหมดสัญญาในเดือน ธันวาคม 2564 นี้ ซึ่งรฟท.ได้เจรจา ขอขึ้นค่าเช่ากับผู้เช่าทั้ง 2 รายแล้ว แต่ผู้เช่าไม่ประสงค์ต่อสัญญา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/09/2021 6:53 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟรื้อย่านพหลฯ 2,325 ไร่ 'ที่ดินอกแตก' แปลง A ทำออฟฟิศ ร.ฟ.ท. สวอปแปลง E เปิดประมูลมิกซ์ยูสโปรเจ็กต์
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

เปิดใช้ฮับบางซื่อ ได้เวลาคิกออฟเมืองใหม่รถไฟทั้งนี้ ฮับบางซื่อหรือสถานีกลางบางซื่อ (Bangsue Grand Station) เปิดใช้เป็นทางการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา อวดโฉมสถานีรถไฟฟ้าแห่งใหม่ของไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยหน่วยงานต้นสังกัดคือการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มี "นิรุฒ มณีพันธ์" ผู้ว่าการการรถไฟฯ เป็นผู้รับผิดชอบ

โดยบทบาท "สถานีกลางบางซื่อ" ถูกอัพเกรดสู่ศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบรางของประเทศไทย เป็นจุดเชื่อมทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง ใช้วงเงินก่อสร้าง 34,142 ล้านบาท บนที่ดินของ ร.ฟ.ท.กว่า 400 ไร่ รูปแบบเป็นอาคารขนาดใหญ่ 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 300,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 300,000 คนต่อวัน

ภารกิจคู่ขนานกับการเปิดใช้ฮับบางซื่อก็คือขับเคลื่อนการลงทุนโครงการภายใต้ "แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน" พื้นที่รวม 2,325 ไร่ ที่กล่าวได้ว่าเป็นไพรมแอเรียผืนใหญ่ มหึมา

ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. วันที่ 16 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบผลการศึกษาใหม่ "แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน" พื้นที่รวม 2,325 ไร่ เนื่องจากมีการเปิดประมูลพัฒนาพื้นที่ 2 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา ปรากฏว่าเอกชนไม่ให้ความสนใจ ไฮไลต์อยู่ที่มีการปรับคอนเซ็ปต์การพัฒนา 2 แปลง คือ แปลง A กับ แปลง E

ปัญหาแปลง A "ที่ดินอกแตก"

ทั้งนี้ เดิมแปลง A (ทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ) มีขนาดที่ดิน 32 ไร่ วางแผนพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบผสมผสาน หรือมิกซ์ยูสโปรเจ็กต์ และแปลง E (ย่านตึกแดง) ขนาดที่ดิน 128 ไร่ แผนเดิมจะพัฒนาเป็นสำนักงานใหญ่ แห่งใหม่ของการรถไฟฯ

ข้อจำกัดของแปลง A เนื้อที่ 32 ไร่ แต่ไม่ใช่แปลงที่ดินผืนเดียวกัน มีทางด่วนผ่ากลางแปลงที่ดินทำให้มีสภาพเป็นที่ดินอกแตก ดังนั้น แม้ทำเลจะอยู่ประชิดสถานีกลางบางซื่อ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนในการเสนอตัวเข้าแข่งขันประมูล

ล่าสุดบอร์ดตัดสินใจตามข้อเสนอให้มีการสวอปแผนพัฒนาแปลง A นำมาทำสำนักงานใหญ่แห่งใหม่แทน และแปลง E เป็นพื้นที่ทำโครงการมิกซ์ยูส

"แปลง A แม้ปรับเปลี่ยนมาสร้างออฟฟิศของการรถไฟฯแล้ว บอร์ดให้โจทย์กลับไปคิดด้วยว่าจะต้องหาเลี้ยงตัวเองให้ได้ ทางเลือกคือการกำหนดพื้นที่เชิงพาณิชย์ประกอบไปด้วย โดยมอบหมายให้บริษัทลูก เอสอาร์ที แอสเสท เป็นผู้รับผิดชอบ"

อัพเกรดแปลง E 128 ไร่

ขณะเดียวกัน แผนแม่บทแบ่งพื้นที่พัฒนา 9 แปลง บนที่ดินที่มีเนื้อที่รวม 2,325 ไร่ มีการปรับเปลี่ยนให้มีการเปิดประมูลพื้นที่แปลง E ก่อน จากผล การศึกษาเดิมประเมินผลตอบแทน ตลอดอายุสัญญา 3,000-4,000 ล้านบาท คาดว่าจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนมากขึ้นอีก 1,900 ล้านบาท หรือสร้างผลตอบแทนตลอดอายุสัญญา 6,400 ล้านบาท

สำหรับที่ดินแปลง E แนวทางการเปิดประมูลพัฒนาพื้นที่เบื้องต้นเป็นการให้สิทธิเช่าที่ดินระยะยาว 50 ปี แบ่งเป็นช่วงก่อสร้างและพัฒนาโครงการ 4 ปี บริหารสัมปทานเช่า 46 ปี โดยบริษัทลูก เอสอาร์ที แอสเสท เป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าแผนลงทุนจะต้องทำ ภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 หรือไม่

ตีกลับทีโออาร์พาณิชย์บางซื่อ

นอกจากนี้ บอร์ดการรถไฟฯได้ตีกลับร่างประกาศเชิญชวนการจัดประโยชน์เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณาบริเวณสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง 12 สถานี โดยพบว่าเอกสารการประมูลไม่ครบถ้วน จึงให้กลับไปรวบรวมมาใหม่และเสนอให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้งในการประชุม 29 กันยายน 2564 นี้

แผนงานเบื้องต้นที่วางไว้ แบ่งประมูล 3 เนื้องาน ประกอบด้วย 1.พื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ 52,000 ตารางเมตร 2.พื้นที่โฆษณาบริเวณ สถานีกลางบางซื่อ 2,300 ตารางเมตรทั้ง 2 งานมีระยะเวลา 20 ปี คาดว่าใช้เวลาจัดซื้อจัดจ้าง 2 เดือน

และ 3.พื้นที่เชิงพาณิชย์ 12 สถานี นำไปรวมกับแผนงาน PPP รถไฟชานเมืองสายสีแดงในอนาคต คาดว่าหลังจากมีมติบอร์ดในวันที่ 29 กันยายนนี้แล้ว กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะเริ่มได้ในช่วงปลายปี 2564 นี้

"สถานการณ์โควิดถึงแม้การเปิดหาผู้รับจ้างพัฒนาเชิงพาณิชย์ฮับบางซื่อจะเลื่อนออกไป แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการผู้โดยสารที่อาจจะไม่มีร้านค้า ร้านอาหารให้บริการ เพราะปัจจุบันพื้นที่ฮับบางซื่อถูกใช้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีน ขณะที่มีผู้โดยสารเพียง 3,000 เที่ยวคน/วัน แนวทางตอนนี้มีการจัดจุดขายน้ำดื่มรองรับไว้แล้ว"

พิมพ์เขียวผลศึกษาไจก้า

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แผนแม่บท การพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ทางองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) รีวิวแผนเมื่อปี 2562 พื้นที่รวม 2,325 ไร่ แบ่งการลงทุน เป็น 3 เฟส เฟสละ 5 ปี พัฒนา 9 โซน จากเดิม 4 โซน แผนระยะสั้นลงทุน 40,100 ล้านบาท ระยะกลาง 167,100 ล้านบาท และระยะยาว 151,500 ล้านบาท รวมวงเงิน 358,700 ล้านบาท

รูปแบบการลงทุนเปิดให้เอกชน ร่วมลงทุน PPP (public private partner ship) 30-50 ปี หรือรายบุคคลแบบเฉพาะเจาะจง แต่ละเฟสมีการลงทุน 5 ส่วน ได้แก่ 1.ลงทุนเชิงพาณิชย์ เช่น ออฟฟิศ ร้านค้า โรงแรม คอนโดมิเนียม ศูนย์ประชุม 2.สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบสมาร์ทซิตี้ 3.โครงข่ายคมนาคม เช่น บีอาร์ที 4.โครงข่ายการพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น สวนสาธารณะ ระบบกักเก็บน้ำ และ 5.โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ

การลงทุน 5 ปีแรก เริ่มแปลง A, E, D ภายในปี 2565, ระยะที่ 2 ในปี 2566-2570 พัฒนาแปลง C, F, G และระยะ 3 ปี 2571-2575 แปลง B, D, H, I โดยวางคอนเซ็ปต์การพัฒนาแต่ละแปลงไว้ ดังนี้

"แปลง A" ศูนย์กลางธุรกิจใหม่ "แปลง B" ศูนย์กลางธุรกิจและการค้า ในอาเซียน "แปลง C" ศูนย์แสดงสินค้า งานประชุมครบวงจร "แปลง D" พื้นที่ตลาดนัดจตุจักร "แปลง E" ศูนย์ราชการ "แปลง F" ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ "แปลง G" ย่านที่อยู่อาศัย "แปลง H" มิกซ์ยูสโปรเจ็กต์ และ "แปลง I" ย่านที่อยู่อาศัย

ข้อสั่งการ "ศักดิ์สยาม"

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯประสบความ ล้มเหลวจากการนำพื้นที่แปลง A มาประมูล ถึง 2 ครั้ง โดยไม่มีผู้ใดมายื่นซองประมูลแม้แต่รายเดียว ทำให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการนโยบายใหม่ โดยกำหนดให้การบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อจะต้องมีรายได้มากกว่ารายจ่ายเท่านั้น

โดยการรถไฟฯปรับแผนลงทุนใหม่พื้นที่ 9 แปลง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกพื้นที่ที่มีความพร้อม 5 แปลง กรอบเวลาที่วางไว้ภายในต้นปี 2565 เปิดประมูลก่อน 3 แปลง คือ แปลง A, แปลง E (ย่านตึกแดง) และแปลง G เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมากที่สุด อีก 2 แปลงคือ แปลง B และแปลง D ติดสัญญาเช่าระยะยาว

กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ยังไม่มีความพร้อม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้งานพื้นที่ 4 แปลง ได้แก่ แปลง C พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด, แปลง F (ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต 2 ติดกับถนนเทอดดำริ) ติดโรงซ่อมรถจักรบางซื่อ จะเร่งแผนย้ายไปที่แก่งคอยภายใน 3-4 ปี และแนวทางรถไฟสายใต้, แปลง H มีโรงตรวจซ่อมวาระรถโดยสาร (LD Depot) และแปลง I มีโรงซ่อมรถไฟฟ้า CT (CT Depot)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/10/2021 8:38 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.เบรกต่อสัญญาเช่า ”ตลาดศาลาน้ำร้อน” สั่งศึกษาทบทวนร่วมแผนพัฒนาพื้นที่สถานีธนบุรี
เผยแพร่: 1 ต.ค. 2564 07:18 ปรับปรุง: 1 ต.ค. 2564 07:18 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บอร์ด รฟท.เบรกต่อสัญญาเช่าที่ ”ตลาดศาลาน้ำร้อน” สั่ง เอสอาร์ที แอสเสท ทบทวนศึกษาร่วมกับการพัฒนาสถานีธนบุรีเป็นฮับสุขภาพ “นิรุฒ” เผยแผนถ่ายโอน 75 โครงการให้บริษัทลูกในสิ้นปีนี้ คาดสร้างรายได้เพิ่มปีแรก 1,000 ล้าน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ได้มีการพิจารณากรณีที่บริษัท ยูไนเต็ด โกลเบิล เอเยนซี (ประเทศไทย) ขอต่อสัญญาเช่าที่ดิน บริเวณสถานีธนบุรี (ตลาดศาลาน้ำร้อน) เนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร มีสัญญาเช่า 15 ปี โดยจะสิ้นสุดสัญญาช่วงกลางปี 2565 โดยบอร์ดยังไม่เห็นชอบการต่อสัญญาเช่าดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ รฟท.มีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี เนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน 65.22 ตารางวา รูปแบบ Mixed User Project ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล หรือ Health & Wellness ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณใกล้กัน

ดังนั้นจึงมอบหมายให้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ไปดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาที่ดินโซนดังกล่าวในภาพรวม เพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่องและสอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคาดว่าจะสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้

ทั้งนี้ ที่ประชุมบอร์ด รฟท.ยังได้มีมติเห็นชอบให้ บ.เอสอาร์ที แอสเสท ศึกษาทบทวนการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี จำนวน 21 ไร่ ซึ่งบอร์ดเคยมีมติเห็นชอบผลการศึกษาและอนุมัติให้ดำเนินการพัฒนาไปเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563

นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังเห็นชอบให้ทบทวนการดำเนินการในการประกาศเชิญชวนให้เช่าที่ดินอาคารและทรัพย์สินของโรงแรมหัวหิน (ปัจจุบันคือโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน) เนื้อที่ 71.65 ไร่ และลงทุนพัฒนาปรับปรุงที่ดิน ซึ่งบอร์ดเคยเห็นชอบให้ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 เป็นการอัปเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และนำไปสู่การประมูลหาเอกชนในปี 2565

“ทั้ง 3 กรณีเป็นส่วนหนึ่งของการทยอยถ่ายโอนสัญญาการบริหารทรัพย์สินของ รฟท.ไปยัง บ.เอสอาร์ที แอสเสท ซึ่งตามแผนภายในสิ้นปีนี้จะมี 75 โครงการที่ บ.เอสอาร์ทีแอสเสท ดูแล ซึ่งเดิม รฟท.มีรายได้จากทรัพย์สินประมาณ 3,000 ล้านบาท/ปี คาดว่าในปีแรก รฟท.จะมีรายได้เพิ่มประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยในการประชุมบอร์ดครั้งหน้าจะติดตามความคืบหน้าในโครงการที่ รฟท.มอบหมายและมีการอนุมัติให้มีการศึกษา เชื่อว่าความเป็นมืออาชีพจะทำงานได้รวดเร็วและคล่องตัว“

ขณะนี้ บ.เอสอาร์ที แอสเสท อยู่ในขั้นตอนการสร้างระบบ รับพนักงาน และสรรหาซีอีโอ นอกจากนี้ จะมีการตกลงกับ รฟท.เรื่องค่าบริหารสัญญาต่างๆ โดยจะกำหนดจัดแบ่งประเภทพื้นที่เป็นกลุ่มๆ เนื่องจากการที่ รฟท.ตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สิน เพื่อให้การพัฒนาที่ดินมีศักยภาพที่สุด

ในขณะเดียวกัน บริษัทลูกต้องมีความแข็งแรง เลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งไม่อยากให้เหมือนกับตั้ง รฟฟท.ขึ้นแต่ทำงานแล้วมีสภาพเหมือนขาขาด แขนขาด

@ พัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อยังไม่จบ บอร์ดห่วงสัญญาใหญ่ ระยะยาวต้องใช้โมเดลที่คุ้มค่าที่สุด

ส่วนการจัดประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณาบริเวณสถานีกลางบางซื่อ และสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี บอร์ด รฟท.ยังไม่อนุมัติออกประกาศเชิญชวน โดยให้ไปทำข้อมูลเพิ่มเติมกลับมา เนื่องจากเห็นว่าเป็นสัญญาใหญ่ที่มีระยะเวลาดำเนินการยาว อีกทั้งยังผูกกับสถานีกลางบางซื่อทั้งหมด ดังนั้นการจะเปิดประมูลอย่างไรนั้นจะต้องมีความมั่นใจและรอบคอบมากที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนจึงให้ทำข้อมูลเพิ่มเติม โดยให้ บ.เอสอาร์ที แอสเสท ช่วยพิจารณาโมเดลที่ดีที่สุด และนำเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2021 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ บูรณาการการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ พัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชน
การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อบูรณาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกัน ตามนโยบายของทางรัฐบาลและทิศทางการพัฒนาของประเทศ ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย
วันนี้ (8 ตุลาคม 2564) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านบูรณาการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยมี พลตรี ดร. เจียรนัย วงษ์สอาด ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ นายมงคล จันทษี ผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคาร 5 สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ เปิดเผยว่า ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบูรณาการการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระหว่างการรถไฟฯ กับการเคหะแห่งชาติในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย และคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งความร่วมมือนี้ถือเป็นภารกิจเพื่อสังคมที่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมระหว่างสองหน่วยงาน ตามกรอบระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2569) ในการวางแผนพัฒนาและขับเคลื่อนโครงการฯ โดยใช้ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ข้าราชการบำนาญ พนักงานรถไฟที่ปฏิบัติงานหรือเกษียณอายุไปแล้ว รวมถึงกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ และประชาชนทั่วไป
ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ทั่วประเทศ เพื่อนำมาจัดประโยชน์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด และในขณะเดียวกันก็จัดพื้นที่บางส่วนมาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายของรัฐบาล และทิศทางการพัฒนาของประเทศ ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย การบูรณาการร่วมกันของทั้งสององค์กร คือการรถไฟแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติในครั้งนี้ มุ่งหวังที่ช่วยแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ให้มีที่อยู่อาศัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4495915113788732

การรถไฟฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ บูรณาการการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ พัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชน
https://www.thailandplus.tv/archives/388849
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 176, 177, 178 ... 197, 198, 199  Next
Page 177 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©