RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181772
ทั้งหมด:13493011
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 240, 241, 242 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2021 7:00 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา(LRT) สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ l สำนักการจราจรและขนส่ง l 1-9-64
Sep 3, 2021
Daoreuk Creation & Studio
12.2K subscribers
วีดิทัศน์โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันที่ 1 กันยายน 2564

โดย สำนักการจราจรและขนส่ง


https://www.youtube.com/watch?v=H4P8Eoc9EBA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2021 9:51 pm    Post subject: Reply with quote

2 โครงการรถไฟฟ้าล้มประมูล สะท้อนนโยบายผิดพลาด “ขว้างงูไม่พ้นคอ”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 2 กันยายน 2564 เวลา 15:57 น.
ปรับปรุง: 2 กันยายน 2564 เวลา 15:57 น.


ผู้เชี่ยวชาญโครงการรถไฟฟ้าแฉเบื้องหลัง คค.-รฟม.ต้องถอยกรูดประมูลรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ตามรอยรถไฟฟ้า สายสีส้ม สะท้อนความล้มเหลวและนโยบายขว้างงูไม่พ้นคอขนานแท้ เหตุนำเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกสุดพิสดารมาใช้ ตอบคำถามสังคมไม่ได้ ขณะรถไฟฟ้า สายสีเขียวยังลูกผีลูกคน เผยยอดหนี้คงค้างทะลักมากว่า 40,000 ล้าน

จากการที่ ฝ่ายบริหาร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศล้มประมูลการประกวดราคาก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงินกว่า 78,720 ล้านบาทไปล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า เกิดความคลาดเคลื่อนในการส่งเอกสารประกวดราคาให้ผู้สังเกตการณ์ ตามข้อตกลงคุณธรรมที่ลงนามกันไว้เมื่อปี 2561 จึงต้องยกเลิกเพื่อดำเนินการให้ครบถ้วน พร้อมยืนยันว่าจะสามารถเร่งดำเนินการคลอด TOR ภายในเดือน ก.ย.นี้ และจัดประมูลหาผู้รับเหมาได้ ภายในไตรมาสแรกปีของ 65 อย่างแน่นอน

แหล่งข่าวในวงการรับเหมา และอดีตผู้บริหารโครงการรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า เบื้องหลังการล้มประมูลรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้นั้น ทุกฝ่ายต่างรู้เต็มอกเป็นไปเพื่อ ไม่ให้พลพรรคฝ่ายค้านหยิบยกกรณีประมูลอื้อฉาวนี้ ไปอภิปราย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของรัฐมนตรีที่ถูกฝ่ายค้านจ้องซักฟอก ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรายบุคคล เพราะ ลำพังแค่โครงการรถไฟทางคู่ 2 สายทาง มูลค่ากว่า 1.28 ล้านบาท ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม เปิดประมูลกันไปก่อนหน้า ก็ทำเอา รมต.คมนาคม ปาดเหงื่อหายใจไม่ทั่วท้องพออยู่แล้ว ไม่รู้จะปัดข้อครหาจัด ”ฮั้วประมูล” ไปให้พ้นตัวไปได้อย่างไร และไม่รู้จะต้องเสียกล้วยเลี้ยงลิงในสภาฯ ไปอีกเท่าไหร่ เนื่องจากประมูลโครงการร่วม 1.28 แสนล้าน แต่ผู้นรับเหมาที่เข้าร่วมประมูล 5 ราย5-6 สัญญาต่างพร้อมใจกันเสนอต่ำกว่าราคากลางชนิด “เส้นยาแดงผ่าแปด”แค่ 30-40 ล้านหรือ 0.08% เท่านั้น

กับข้ออ้างของ รฟม.ที่ยังคงยืนยันจะสามารถเปิดประมูลโครงการนี้ภายในปลายปีนี้และได้ผู้รับเหมาต้นปี 65 นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ก็ไม่รู้นายกฯและฝ่ายการเมืองจะคิดอย่างไรกับเหตุผลสุดคลาสสิคของ รฟม. เพราะครั้งก่อนที่ไปยกเลิกประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม รฟม.ก็เคยยืนยันว่า จะสามารถเร่งรัดจัดประกวดราคาใหม่ภายในเดือนนั้น เดือนนี้ สุดท้ายผ่านมากว่า 6-7 เดือนเข้าไปแล้ว รภไฟฟ้าสายสีส้มก็ยังไม่ขยับไปไหน

ส่วนกรณีที่ รฟม.ยังคงยืนยัน จะนำเอาเกณฑ์ประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอราคาประกอบกัน (เทคนิค30% +ราคา 70%)นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ความล้มเหลวของการประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม และม่วงใต้ที่ผ่านมาน่าจะเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า หากยังคงดึงดันที่จะจัดประมูลด้วยเกณฑ์ดังกล่าวจะลงเอยอย่างไร ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบขนส่ง คือนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรค ปชป.ขุและอดีตรองผู้ว่าการฯ กทม.ได้นำข้อมูลออกมาโต้แย้ง จน รฟม.ไปไม่เป็นมาแล้ว จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดฝ่ายบริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกยังคงจะดั้นเมฆเปิดประมูลภายใต้หลักเกณฑ์อื้อฉาวต่อไปอีก

ทั้งนี้ การใช้เกณฑ์เทคนิค ราคาดังกล่าว ทำให้ รฟม.ซึ่งก็คือ รัฐบาล ต้องใช้งบประมาณลงทุนสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีม่วง มากกว่าการใช้เกณฑ์ราคา 100% อย่างน้อยที่สุด โครงการละหลายพันล้านไปจนถึงหลักหมื่นล้านบาท เงินก้อนใหญ่นี้คือ “ส่วนเกิน” ที่ผู้ชนะการประมูลไม่ควรจะได้ เพราะไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนทีโออาร์ ไปใช้เกณฑ์เทคนิคผสมเกณฑ์ราคา

“นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ งัดข้อมูลได้มาทักท้วงว่าเกณฑ์ผสมข้างต้นรังแต่จะทำให้ รฟม.ต้องเสียงบประมาณมากขึ้นกว่าการใช้เกณฑ์ราคา 100% เพราะผู้ที่เสนอราคาค่าก่อสร้างต่ำสุด ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่จำเป็นต้องชนะการประมูล หากรฟม.อ้างว่า ผู้เสนอราคาสูงกว่า มีประสบการณ์การก่อสร้างที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจกว่า”


X


แหล่งข่าวกล่าวว่า แม้ 2 โครงการรถไฟฟ้าข้างต้น จะถูก “เคลียร์คัต”ลงไปแล้ว แต่ยังมีโครงการรถไฟฟ้าอีกสายทาง ที่ยังคงคั่งค้างคารารอนายกฯและรัฐบาลชี้ขาดอยู่ นั่นก็คือ รถไฟฟ้า สายสีเขียว (คูคต-สมุทรปราการ) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าเชื่อมโยงการเดินทางข้าม 3 จังหวัดจากปทุมธานี-กทม.ไปสิ้นสุดที่จ.สมุทรปราการ ระยะทางรวมกว่า 68.5 กม.ซึ่งก่อนหน้านี้ กทม.และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส(BTS) ได้มีการเจรจาจัดทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาหนี้ค้าง และค่าข้างเดินรถรวมกว่า 100,000 ล้านบาท โดยจัดทำข้อเสนอใหม่ให้บริษัทเอกชนรับสัมปทานโครงการไปบริหารจัดการ 30 ปีเพื่อ แลกกับแบกภาระมูลหนี้ค้างต่างๆแทน กทม.รวมทั้งตรึงราคาค่าโดยสารเอาไว้ไม่ให้เกิน 65 บาทตลอดสาย ทั้งยังต้องจ่ายค่าต๋งให้แก่ กทม.อีก 2 แสนล้าน

แม้ข้อสรุปการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวให้กับบีทีเอสข้างต้น จะเป็นการดำเนินการตามคำสั่ง ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ใครต่อใคร ต่างก็ชื่นชมกันนักหนาว่า เป็นนายกฯที่กล้าตัดสินใจ แต่เอาเข้าจริง! แค่จะตัดสินใจจะเอายังไงกับผลเจรจาที่ได้ข้อยุตินี้ จะต่อขยายสัญญาสัมปทานให้กับ BTS เพื่อเคลียร์คัตหนี้ค้างทั้งหมดที่มี หรือ "ล้มกระดาน-ล้างไพ่ใหม่" กันดีแต่นายกฯก็กลับไม่มีการตัดสินใจใด ๆ ลงมา ได้แต่ซื้อเวลาไปวัน ๆ โดยไม่มีกำหนด จนล่าสุดมีข่าวว่า ทางฝ่ายบริหารบีทีเอสได้ยื่นฟ้อง กทม.และบริษัทกรุงเทพธนาคม(KT) วิสาหกิจของ กทม.ไปแล้ว เพื่อทวงหนี้ค้างที่ทะลักขึ้นมากว่า 40,000 ล้านบาท

“การที่นายกฯและรัฐบาลเอาแต่ซื้อเวลา ไม่ตัดสินใจใด ๆ ลงไป ด้วยอาจจะมองว่ายังเป็นเรื่องไกลตัว เอาโควิดกับเสถียรภาพรัฐบาลให้อยู่ก่อน หรือยังไงซะ กทม.กับบริษัทเอกชนคู่สัญญาก็ต้องรับกรรมกันไป แต่อย่าลืมว่า โครงการดังกล่าวเป็นสัมปทานร่วมลงทุน (PPP) ระหว่างรัฐ-เอกชน ที่ต้องร่วมมือกัน แต่เมื่อรัฐเอาแต่ลอยแพไม่ยอมแก้ไขปัญหา หากท้ายที่สุด เอกชนผู้รับสัมปทานบอกเลิกศาลา ไม่สามารถจะให้บริการเดินรถไฟฟ้าได้แล้ว เพราะไม่สามารถจะแบกรับภาระหนี้ท่วมบักโกรกที่สุมหัวอยู่ได้ แบบเดียวกับที่ แอร์เอเชีย และการบินไทยเผชิญอยู่ รัฐบาลเองก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่พ้นเช่นกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2021 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

ยกระดับ "ขนส่งทางราง" เทียบชั้นโลก "ซีเมนส์ โมบิลิตี้" ชูนวัตกรรมเข็นไทย
หน้า เศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:20 น.

" ซีเมนส์ โมบิลิตี้ " บริษัทข้ามชาติ ตั้งเป้าผู้นำด้านขนส่งมวลชนระดับโลก Moving Beyond ในปี 2568 ดึงนวัตกรรม “ดิจิทัล ซีเมนส์ โมบิลิตี้” ยกระดับระบบขนส่งทางรางไทยเทียบชั้นโลก รับไทยศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐาน

มร.โธมัสค์ มาซัวร์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด เปิดเผยว่า “ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการเป็นฟันเฟืองหนึ่งเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนการเดินทางของคนไทยให้ง่ายและสะดวกขึ้น ตอบโจทย์ชีวิตคนในเมือง ลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมระบบขนส่งที่รองรับการเดินทางหลายประเภทและการพัฒนาโครงสร้างการขนส่งระบบรางของประเทศไทยให้ครอบคลุม


โดยซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้ส่งมอบสุดยอดเทคโนโลยีด้านคมนาคมขนส่งระบบรางและระบบควบคุมระดับสูง ควบคู่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโนบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เพื่อสร้างระบบขนส่งที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงง่าย และสะดวกสบาย



ที่ผ่านมา “ซีเมนส์ โมบิลิตี้” มีประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ด้านระบบรางในประเทศไทยมากว่า 20 ปี ผ่านโครงการต่าง ๆ จำนวนมาก โดยการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯ มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบคมนาคมขนส่งในประเทศที่เชื่อมโยงเข้าหากันอย่างไร้รอยต่อ ด้วยการนำสุดยอดเทคโนโลยีด้านคมนาคมขนส่งระบบรางและระบบควบคุมระดับสูงที่หลายเมืองชั้นนำในโลกใช้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟ VDE 8 ในประเทศเยอรมัน ที่ช่วยลดอัตราการเดินทางจากเบอร์ลินถึงมิวนิค จาก 6 ชั่วโมง เหลือเพียง 4 ชั่วโมง

รถไฟฟ้า Velaro RUS ในประเทศรัสเซียที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในสภาพอากาศที่รุนแรงของรัสเซีย พร้อมวิ่งระหว่างเมืองเซนส์ปีเตอร์เบิร์กถึงมอสโคระยะทาง 650 กิโลเมตรด้วยเวลาเดินทางเพียง 3.5 ชั่วโมง หรือแม้กระทั่งรถไฟ Desiro City ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ 115 ขบวน เป็นจำนวนตู้ทั้งหมด 1,140 ตู้ ฯลฯ เพื่อยกระดับการเดินทางและพัฒนาขับเคลื่อนให้ทุกการเดินทางของคนไทยง่ายขึ้น สะดวกขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโนบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)


โดย ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งระบบรางในประเทศไทยในหลากหลายโครงการ อาทิ



1. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ถือเป็นหนึ่งเรื่องราวความสำเร็จของซีเมนส์ โมบิลิตี้ ในฐานะที่เป็นการขนส่งแบบครบวงจรแห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย โดยซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้ปรับปรุงระบบของ BTS ให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบรางอัตโนมัติ ตั้งแต่การเปิดให้ใช้บริการครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสถานีทั้งหมด 59 สถานี รวม 2 เส้นทาง คือ สายสุขุมวิท ให้บริการจากเคหะสมุทรปราการ ถึงคูคต และสายสีลม



2. MRT สายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ที่ช่วยเชื่อมต่อการคมนาคมช่วยทำให้ชีวิตของคนไทยสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันรวมสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทั้งหมดจะมี 38 สถานี ประกอบไปด้วยช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ช่วงหัวลำโพง - บางแค ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับ



3. ทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link and City Air Terminal)

4. โครงการรถไฟทางคู่ “จิระ-ขอนแก่น” ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ทางซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้เข้ามาดูแลงานออกแบบและติดตั้ง ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ระยะทาง 187 กิโลเมตร 26 สถานีโดยใครงการนี้จะเป็นรากฐานสำคัญในการขยายโครงข่ายสายทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วภาคอีสาน



5. ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ซึ่งจะพร้อมใช้บริการในปี 2565 นี้ ถือเป็นรถไฟฟ้ารางเบาล้อยางไร้คนขับคันแรกของประเทศไทยที่ผลิตโดยซีเมนส์ โมบิลิตี้ ที่นำมาวิ่งใต้อุโมงค์เพื่อเชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเดิมกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซทเทิลไลท์ 1 (แซทเทิลไลท์ วัน)


นอกจากนี้ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาที่ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาโดยได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ตั้งแต่ปี 2556 จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ Dual Education Program ในการยกระดับและพัฒนาทักษะวิชาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาในหลากหลายวิทยาลัยและสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อรองรับตำแหน่งงานในอนาคต ตลอดจนยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับรถไฟและระบบขนส่งทางราง โดยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ นอกจากนี้ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้ร่วมจัดทำโครงการพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับเยอรมนีเพื่อยกระดับการขนส่งทางรางของประเทศไทยอีกด้วย


“ทั้งนี้ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ เป็น ผู้นำธุรกิจระบบคมนาคมด้านการขนส่งมวลขนและขนส่งระบบรางของโลกสัญชาติเยอรมัน มีผลิตภัณฑ์และบริการ ประกอบไปด้วย โครงสร้างการขนส่งระบบราง (Rail Infrastructure) โซลูชันระบบรถไฟแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) ตู้รถไฟ (Rolling Stock) ระบบการจัดการจราจรอัจฉริยะ (Intelligence Traffic Systems) โซลูชันการขนส่งแบบไร้รอยต่อ (Intermodal Solutions) และการซ่อมบำรุงระบบราง (Customer Services)



" ในปี 2564 เป็นต้นไป ซีเมนส์ โมบิลิตี้ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบรถไฟ และระบบรางให้อัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบด้วยระบบ “ดิจิทัล ซีเมนส์ โมบิลิตี้” ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีนโยบายด้านการบริหารงานและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีพันธกิจในการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณคาร์บอนให้เป็นศูนย์ให้ได้มากที่สุดและมุ่งหวังให้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งหมดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์แห่งอนาคต Moving Beyond หรือการก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทสอดรับกับโลกเทคโนโลยีสมัยใหม่”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2021 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

ถก 3 รถไฟฟ้า ส้ม,ชมพู,เหลือง ขวางทางน้ำ กทม.เตรียมหารือ รฟม.แก้ปัญหา
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าวในประเทศ
วันอังคาร ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:05 น.


นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า จากการตรวจโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า หลายจุดที่มีผลกระทบและกีดขวางทางระบายน้ำ จึงมอบหมายให้นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผอ.สำนักการโยธา ประชุมแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตพื้นที่ที่อยู่ในแนวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง รวมถึงหน่วยงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวง เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อระบบระบายน้ำที่เกิดจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ











รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงจากศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี แนวโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีแนวโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตมีนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว -สำโรง แนวโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ และเขตบางนา

ทั้งนี้ การประชุมจะรับฟังสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งร่วมกันพิจารณาเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะลงพื้นที่สำรวจโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายทาง เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชนให้มากที่สุดภายในเดือน ต.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2021 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 🔛 ดังนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:57 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
🏗ความก้าวหน้างานโยธา 86.26%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-orangelineeast.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: Orangeline
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
🏗ความก้าวหน้างานโยธา 87.07%
🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 82.06%
ความก้าวหน้าโดยรวม 84.90%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://mrta-yellowline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: mrtyellowline
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
🏗ความก้าวหน้างานโยธา 82.58%
🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 78.89%
ความก้าวหน้าโดยรวม 81.16%
ติดตามรายละเอียดโครงการฯ https://www.mrta-pinkline.com
อัพเดทปิดเบี่ยงจราจร/แสดงความคิดเห็น/ร้องเรียน ช่องทางLine: @mrtpinkline
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2021 1:33 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ถก 3 รถไฟฟ้า ส้ม,ชมพู,เหลือง ขวางทางน้ำ กทม.เตรียมหารือ รฟม.แก้ปัญหา
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าวในประเทศ
วันอังคาร ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:05 น.


สนย.ประชุมแก้ไขปัญหาโครงการ สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ชมพู-เหลืองกระทบระบบระบายน้ำ กทม.
หน้า ในประเทศ
วันพุธ ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.



นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายสำนักการโยธาประชุมแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตพื้นที่ที่ในอยู่แนวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง รวมถึงหน่วยงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวง โดยมีนายไทวุฒิ ขันแก้วผู้อำนวยการสำนักการโยธา เป็นประธานการประชุม โดยเปิดเผยว่า รองผู้ว่าฯได้สั่งการสำนักการโยธา ลงพื้นที่ตรวจสอบผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีผลกระทบและกีดขวางทางระบายน้ำจนเป็นเหตุทำให้ระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ในหลายจุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนรวมถึงกระทบต่อระบบคมนาคม จึงได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมรับฟังสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และร่วมพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อระบบระบายน้ำที่เกิดจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งแนวโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง และเขตมีนบุรี โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี แนวโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตมีนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง แนวโครงการอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตจตุจักร เขตห้วยขวางเขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวงเขตประเวศ และเขตบางนา

ทั้งนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. มีกำหนดลงพื้นที่สำรวจโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีชมพูและสายสีเหลือง ในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชนให้มากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2021 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อแผนลุยรถราง ART รฟม.บูม3 หัวเมืองใหญ่
หน้า เศรษฐกิจ
Mega Project
วันพฤหัสบดี ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:49 น.

รฟม.บูม 3 หัวเมืองใหญ่ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช ลงพื้นที่ซาวด์เสียงผู้ประกอบการท่องเที่ยว ปรับแผนศึกษาสร้างรถรางล้อยาง ภายในเดือน พ.ย.นี้ หวังลดต้นทุนงบประมาณ สอดรับภาวะเศรษฐกิจในไทย คาดชงบอร์ด-คมนาคม ไฟ เขียว ช่วงไตรมาส 2 ปี 65 เริ่มเปิดประมูลปี 66

ปัจจุบันหลายจังหวัดมีการขยายเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดขนาดใหญ่ อย่าง เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดด้านการท่องเที่ยว หัวเมืองเศรษฐกิจสำคัญของไทย อีกทั้งจะมีการเปิดประเทศภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทำให้ เร่งลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน เพื่อลดระยะเวลาการเดินทาง การจราจรติดขัดบนท้องถนน ซึ่งจะส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึง การพัฒนาเชิงพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สร้างเม็ดเงินสะพัดตามมา





นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 30,000 ล้านบาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นร่วมกับสภาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมารฟม.มีการศึกษาโครงการฯเบื้องต้น พบว่ามีกระแสของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและสภาอุตสาหกรรมต้องการกลับไปลงทุนโครงการในรูปแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) แบบเดิม รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้รฟม.ยังไม่ได้ลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว คาดว่าจะเปิดรับฟังความคิดเห็นได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นโครงการสายแรกที่จะนำร่องลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาการก่อสร้างโครงการในรูปแบบรถรางล้อยาง (ART)


“จากกระแสดังกล่าวให้กลับมาใช้รูปแบบการก่อสร้างแทรมนั้น รฟม.จะลงพื้นที่สร้างความเข้าใจร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและสภาอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบรถไฟฟ้า ความจุผู้โดยสารไม่ได้แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุนที่ถูกลงและสอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐและภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ หากต้องการให้โครงการเกิดได้เร็ว ทุกส่วนก็ควรช่วยลดภาระต้นทุนในการดำเนินการด้วย”





สำหรับการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนดังกล่าวจะช่วยประหยัดงบประมาณการลงทุน จำนวน 10,000 ล้านบาท ลดลง 30% จากงบประมาณโครงการ เพราะรูปแบบการการสร้าง ART ไม่ต้องวางระบบราง โดยใช้รูปแบบการก่อสร้างบนพื้นผิวจราจรตามปกติ ทั้งนี้หลังจากลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ จะนำผลจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อมาจัดทำข้อมูลการมีส่วนร่วมในภาคประชาชน (Pubiic Hearing)อีกครั้ง และจะนำข้อมูลทั้งหมดมาปรับปรุงเพื่อดำเนินการจัดทำร่างประกาศเชิญชวนอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) คาดว่าไตรมาส 2 ของปี 2565 จะสามารถเสนอคณะกรรมการรฟม.,กระทรวงคมนาคม,คณะกรรมการPPP และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงปลายปี 2565 ตามลำดับต่อไป และจะเริ่มเปิดประมูลและเริ่มก่อสร้างภายในปี 2566 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยบางช่วงจะใช้รูปแบบทางยกระดับและบางช่วงจะดำเนินการเป็นอุโมงค์ทางลอด

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า หากลงพื้นที่สำรวจโครงการนี้แล้วเสร็จ หลังจากนั้นจะนำข้อมูลจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นไปใช้ในโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (แทรมเชียงใหม่) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (แทรมโคราช) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7,115 ล้านบาท ขณะที่โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพิษณุโลก มีระยะทาง 12.6 กม. ปัจจุบันรฟม.ยังไม่ได้ศึกษา เนื่องจากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ขึ้นอยู่กับการเปิดใช้สถานีพิษณุโลกของโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ (ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก) ทำให้รฟม.ต้องรอแผนงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสายดังกล่าวก่อนว่าเป็นอย่างไร


แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ระบุว่าหากมีระบบขนส่งมวลชนรางเกิดขึ้นในพื้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเชิงพาณิชย์บริเวณโดยรอบสถานี นอกจากส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ลดความแออัดคับคั่งจราจรบนท้องถนน จากการใช้รถยนต์ส่วนตัว

ได้เวลาสนองนโยบาย! รื้อแทรม 3 จังหวัดเป็นรถเมล์ ART
*”ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช”หมดความหวังนั่งรถไฟฟ้า
*ผู้ว่าการรฟม.ลงพื้นที่ทำความเข้าใจประชาชน พ.ย.นี้
*ยกเหตุผลชนกระแสต้านเซฟเงิน2.8หมื่นล้านยุคโควิด
*ส่วน”พิษณุโลก”เบรกก่อนรอดูผู้โดยสารรถไฟไฮสปีด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3026187267602771
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2021 3:06 pm    Post subject: Reply with quote

ขายฝัน “ระบบตั๋วร่วม” ความหวังผู้ใช้ระบบรถไฟฟ้าที่ไปไม่ถึง
หน้าแรก Insights
ฐานเศรษฐกิจ 22 ต.ค. 2564 เวลา 13:18 น.

ลุ้นอีกรอบ “กรมราง” เปิดแผนระบบตั๋วร่วม ดึงกรุงไทยทำระบบ EMV ชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเดบิต-เครดิต ตอบโจทย์สังคมไร้เงินสด นำร่องทดสอบรถไฟสายสีแดงเดือนพ.ย.นี้ คาดใช้ข้ามระบบรถไฟฟ้าร่วมกันช่วง ก.พ.65

ท่ามกลางประชาชนผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าMRTต่างเฝ้ารอที่จะใช้ระบบตั๋วร่วมที่สามารถใช้บริการข้ามระบบขนส่งมวลชนได้เพียงแค่ถือบัตรในใบเดียวเท่านั้น

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้เร่งกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการระบบตั๋วร่วมโดยเร็ว หวังจะให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งกระแสข่าวออกมาหลายครั้งหลายคราจะได้เห็นเดือนนั้นเดือนนี้ปีนั้น ปีนี้ แต่ก็มีสาเหตุที่ไม่สามารถใช้ได้ทันตามแผนที่วางไว้สักที ขณะที่ทั่วโลกนำไทยไปมาก อย่างเมืองใหญ่ๆในปารีส หรือนิวยอร์ก ที่ใช้ระบบตั๋วจ่ายราคาเท่าเดิมเพียงครั้งเดียวสามารถเดินไกลเท่าไรก็ได้ แต่ไทยยังใช้ระบบการคิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง ส่งผลให้ประชาชนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายสูงมาโดยตลอด

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2555 พบว่ากระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เริ่มโครงการศึกษาการพัฒนาระบบตั๋วร่วม และในปี 2556-2558 มีการศึกษาวางแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ขณะที่ในปี 2558-2560 มีการศึกษาระบบจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ซึ่งดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นในปี 2561 สนข. ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอออก พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. จนลากยาวมาถึงปี 2564 ก็ยังอยู่ระหว่างเจรจาและเตรียมให้ประชาชนใช้บริการ แต่ยังไปไม่ถึงไหนเสียที

ในช่วงที่อภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ระบบตั๋วร่วมล่าช้า เนื่องจากมีผู้ประกอบการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหลายราย ซึ่งในสัญญาสัมปทาน ไม่ได้ระบุให้มีการดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วม ทำให้ต้องอาศัยการเจรจา ขณะนี้การเจรจาต่าง ๆ ได้ผลลุล่วงเป็นอย่างดี รวมทั้งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องระบบตั๋วร่วมอย่างชัดเจน ทำให้ไม่มีอำนาจไปบังคับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าให้เข้าร่วมใช้ระบบตั๋วร่วมได้

ล่าสุดนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ความคืบหน้าของการดำเนินการระบบตั๋วร่วมเพื่อใช้ในโครงข่ายคมนาคม ปัจจุบันกรมฯอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำระบบวิธีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือเดบิต ที่เรียกว่า Europay, Mastercard และ Visa หรือ EMV มาใช้ในการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง และเรือ โดยคาดว่าจะสามารถนำร่องให้บริการประชาชนได้ภายในเดือน พ.ย.นี้

“ทางธนาคารกรุงไทยได้เข้ามาช่วยทำระบบให้ เป็นผู้ลงทุนและพัฒนาระบบ EMV ทั้งหมด เบื้องต้นการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงในเดือนพ.ย.นี้ จะเริ่มนำร่องใช้บริการ EMV เป็นสายแรก พร้อมกับรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. และเรือไฟฟ้า MINE Smart Ferry”

นายพิเชฐ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้กรมฯยังอยู่ระหว่างหารือร่วมกับหน่วยงานทุกระบบขนส่งมวลชน เพื่อจัดทำโปรโมชั่นตั๋วร่วมแบบเป็นแพ็คเกจ อาทิ ซื้อแพ็คเกจเดินทางจำนวนมาก จะได้ส่วนลดคค่าโดยสารถูกลง 5-10% ซึ่งขณะนี้ทุกหน่วยงานเตรียมนำรูปแบบแพ็คเกจเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เพื่ออนุมัติโปรโมชั่น และกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้บัตรโดยสาร EMV สนับสนุนสังคมไร้เงินสด ภายในปี 2565 กระทรวงคมนาคมจะผลักดันให้ระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทติดตั้งระบบชำระค่าโดยสารรองรับ EMV โดยเฉพาะรถไฟฟ้า ซึ่งเบื้องต้นทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมระบบ คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้ในเดือน ก.พ.2565 ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัจจุบันทางเอกชนมีระบบชำระค่าบริการอยู่แล้ว อนาคตอาจจะมีการหารือร่วมกัน

“กรมฯได้กำชับว่าจะต้องไม่กระทบการให้บริการประชาชน เมื่อประชาชนต้องออกบัตรโดยสารใหม่ จะต้องไม่เก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน และมูลค่าการเดินทางในบัตรต้องไม่เปลี่ยนแปลง ในกรณีที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะมีการเปลี่ยนผ่านให้เอกชนเข้ามาบริหารในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เบื้องต้นทราบว่าเอกชนจะปรับปรุงบัตรโดยสารใหม่ ซึ่งได้หารือให้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับบัตร EMV ให้การชำระค่าโดยสารด้วย คาดว่าการปรับปรุงบัตรโดยสารใหม่ของเอกชนที่จะเกิดขึ้น จะให้บริการประชาชนได้ภายในปลายปีนี้”

สำหรับแผนดำเนินงานในปี 2565 กระทรวงคมนาคมยังมีเป้าหมายลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยผลักดันให้ รฟม.ออกบัตรรายเดือนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และม่วง รวมทั้งรถไฟชานเมืองสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยบัตรโดยสารแบบรายเดือน จะกำหนดเป็น
1.บัตรรายเดือนจำนวน 20 เที่ยว ราคา 700 บาท ซึ่งจะเฉลี่ยค่าโดยสารอยู่ที่ 35 บาทต่อเที่ยว
2.บัตรรายเดือนจำนวน 30 เที่ยว ราคา 900 บาท เฉลี่ย 30 ต่อเที่ยว และ
3.บัตรรายเดือนจำนวน 50 เที่ยว ราคา 1,250 บาท เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว


คงต้องจับตาดูว่าระบบตั๋วร่วมของไทยในครั้งนี้จะเปิดให้ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถใช้ได้จริงตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หรืออาจจะต้องรอเก้อ เพราะระบบตั๋วร่วมอาจเกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกครั้งเหมือนในช่วงที่ผ่านมา


-----------


กรมรางฯลุ้นใช้ตั๋วร่วมรถไฟสายสีแดงพ.ย.นี้
ไทยโพสต์ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 10:16 น.

กรมราง เตรียมพร้อมนำร่องลุ้นใช้ตั๋วร่วม EMV มาใช้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง พ.ย.นี้ ลุยถกขนส่งมวลชนทุกระบบ เพื่อจัดทำโปรโมชั่นตั๋วร่วมแบบเป็นแพ็คเกจหวังช่วยค่าโดยสารถูกลง

23 ต.ค. 2564 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำระบบวิธีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือเดบิต ที่เรียกว่า Europay, Mastercard และ Visa หรือ EMV มาใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง และเรือให้เป็นระบบตั๋วร่วม เพื่อใช้ในโครงข่ายคมนาคม โดยมีธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ลงทุนและพัฒนาระบบ เพื่อสนับสนุนสังคมไร้เงินสด คาดว่าจะนำร่องให้ประชาชนใช้ตั๋วร่วม EMV ในการใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง, รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. และเรือไฟฟ้า MINE Smart Ferry ได้ในเดือน พ.ย.นี้

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า จากนั้นในปี 65 กระทรวงคมนาคมจะผลักดันให้ระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทติดตั้งระบบชำระค่าโดยสารรองรับ EMV โดยเฉพาะรถไฟฟ้า เบื้องต้นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างเตรียมระบบ คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้ในเดือน ก.พ.65 ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัจจุบันเอกชนมีระบบชำระค่าบริการอยู่แล้ว อนาคตอาจมีการหารือร่วมกัน

นอกจากนี้ ขร.ยังอยู่ระหว่างหารือร่วมกับขนส่งมวลชนทุกระบบ เพื่อจัดทำโปรโมชั่นตั๋วร่วมแบบเป็นแพ็คเกจ อาทิ ซื้อแพ็คเกจเดินทางจำนวนมาก จะได้ส่วนลดค่าโดยสารถูกลง 5-10% ซึ่งขณะนี้ทุกหน่วยงานเตรียมนำรูปแบบแพ็คเกจเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เพื่ออนุมัติโปรโมชั่น สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่จะเปลี่ยนผ่านให้เอกชนเข้ามาบริหารในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เบื้องต้นทราบว่าเอกชนจะปรับปรุงบัตรโดยสารใหม่ ซึ่ง ขร.ได้หารือให้พัฒนาระบบเพื่อรองรับบัตร EMV ในการชำระค่าโดยสารด้วย คาดว่าจะให้บริการประชาชนได้ภายในปลายปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2021 8:40 pm    Post subject: Reply with quote

พาซูมมม!! ตัวเลขผู้โดยสารระบบรางนิวไฮทะลุ 5 แสนคน
*สูงสุดรอบการระบาดโควิด(3)มั่นใจ 1 ล้านคัมแบ็ก
*แชมป์เหงาสุดรถไฟ87%ตามด้วยARL-BTS-MRT
*รถไฟฟ้าสายสีแดงดีขึ้นเรื่อยๆขยับ 3 พันเป็น 6พัน
*พรุ่งนี้(25ต.ค.)เอเชียเอราวันเข้าเดินรถARLวันแรก

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารใช้บริการรวมทุกระบบประมาณ 5.37 แสนคน แบ่งเป็น รถไฟ 2.06 หมื่นคน,
รถไฟฟ้า ARL 1.94 หมื่นคน,
รถไฟฯสายสีแดง 6.43 พันคน,
รถไฟฟ้า MRT(รวมทั้งระบบสายสีน้ำเงินและสีม่วง) 1.72 แสนคน และ
รถไฟฟ้า BTS 3.18 แสนคน

ก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ มีผู้โดยสารรวมทุกระบบเฉลี่ย 1.22 ล้านคน/วัน ส่วนช่วงแพร่ระบาดฯ จนถึงปัจจุบัน มีผู้โดยสารทุกระบบรวมเฉลี่ย 3 แสนคน/วัน ลดลงประมาณ 75%

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า หากจำแนกตามระบบ พบว่า
รถไฟลดลงมากที่สุด 87.37% เหลือ 1.07 หมื่นคน/วัน จากปกติ 8.54 หมื่นคน/วัน,
รถไฟฟ้า ARL ลดลง 83.14% เหลือ 1.21 หมื่นคน/วัน จากปกติ 7.19 หมื่นคน/วัน,
รถไฟฟ้า BTS ลดลง 75.47% เหลือ 1.80 แสนคน/วัน จากปกติ 7.34 แสนคน/วัน
รถไฟฟ้า MRT ลดลง 72.42% เหลือ 9.29 หมื่นคน/วัน จากปกติ 3.37 แสนคน/วัน

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรี เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ในช่วงแรกมีผู้โดยสารใช้บริการเริ่มต้นประมาณ 3 พันคน/วัน ปัจจุบันขยับขึ้นเป็นประมาณ 6 พันคน/วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1) ซึ่งเป็นเอกชนที่ได้รับสิทธิในการให้บริการเดินรถไฟฟ้า ARL จะเข้ามาเดินรถเป็นวันแรก แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เนื่องจากยังไม่ชำระค่าโอนสิทธิ์การเดินรถ จึงยังไม่โอน ARL ให้ AERA 1
นอกจากนี้ทาง AERA1 ได้ปรับแผนใหม่ โดยยังไม่จำหน่ายบัตรใหม่คงให้ผู้โดยสารใช้บัตรรถไฟฟ้า ARL เดิมของ รฟฟท. ไปก่อน จนกว่าจะมีการโอน ARL ให้ AERA 1 พร้อมกันนี้ทาง รฟฟท. จะกลับมาให้บริการเติมเงินในบัตรอีกครั้ง หลังหยุดให้บริการเติมเงินตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารเดือดร้อน และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนถ่ายผู้ให้บริการในครั้งนี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3030279270526904
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2021 8:26 am    Post subject: Reply with quote

กทพ.ไม่ถอย จ่อถก ม.เกษตร สร้าง "ทางด่วนขั้น 3"
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 27, 2021 05:43

กทพ.เดินหน้าชงครม.ไฟเขียวสร้างทางด่วนขั้น3 เล็งเปิดประมูลช่วงเม.ย.-ก.ค.65 เริ่มก่อสร้างพ.ย.65 เปิดให้บริการ ปี 68 เตรียมจ้างที่ปรึกษาเจาะเส้นทางใหม่ หวังม.เกษตรฯ เปิดทาง

การทางพิเศษแห่งประเทศ ไทย (กทพ.) มีแผนขยายโครงข่ายเชิ่อมการเดินทางลดปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมือง แต่เนื่องจากหลายเส้นทางต้องตัดผ่านชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้การพัฒนาย่อมมีปัญหาอุปสรรคอย่างระบบทางด่วนขั้นที่ 3

รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร - นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนรอบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าครม.จะพิจารณาได้ไม่เกินเดือนธันวาคมนี้ หากผ่านความเห็บชอบแล้ว หลังจากนั้น กทพ. จะดำเนินการเปิดประมูลในช่วงทดแทน N2 (เกษตร-นวมินทร์) วงเงิน 16,960 ล้านบาท โดยประสานขอรายชื่อผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม เพื่อพิจารณารายละเอียดการแบ่งสัญญาและจัดทำราคากลางขออนุมัติเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ภายในเดือนมกราคมเมษายน 2565 หลังจากนั้นจะประกาศประกวดราคา ในช่วงปลายเดือนเมษายนพฤษภาคม 2565 โดยเปิดให้เอกชนซื้อซองและยื่นข้อเสนอในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 คาดลงนามสัญญาได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือนกันยายน 2565

ขณะเดียวกันในช่วงที่จะดำเนินการก่อสร้างช่วงทดแทน N2 นั้น กทพ.จะดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับแบบการก่อสร้างฐานรากตอม่อที่ใช้ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี โดยไม่ให้เป็นอุปสรรคในช่วงการทำงานร่วมกัน เบื้องต้นจะดูวิธีการก่อสร้างและสิ่งปลูกสร้างจะขวางกันหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานไปด้วย หากประกวดราคาแล้วเสร็จจะต้องหารือกับเอกชนผู้ชนะการประมูลเพื่อดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง โดยประสานงานร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) เพื่อขอใช้พื้นที่ภายในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการภายในเดือนตุลาคม 2568

ทั้งนี้โครงการทางด่วนสายนี้ เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (TFF) ซึ่งมีการจัดสรรวงเงินมาแล้วราว 2 ปี แต่เนื่องจากยังไม่มีการประกวดราคา และเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณเริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้ กทพ.ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยราว 1.3 พันล้านต่อปี

สำหรับแนวเส้นทางช่วงทดแทน N2 มีจุดเริ่มต้นโครงการ ทางขึ้น-ลงแห่งที่ 1 อยู่บริเวณถนนเกษตร-นวมินทร์ เลยทางลอดอุโมงค์เกษตรปัจจุบันมาราว 200 เมตร หรืออยู่ช่วงก่อนถึงตึก RS หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะคร่อมไปตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ก่อนเป็นทางแยกเชื่อมไปยังทางต่างระดับฉลองรัช และไปสิ้นสุดโครงการเชื่อมเข้าสู่มอเตอร์เวย์ สาย 9 โดยทางด่วนเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมต่อการเดินทางฝั่งตะวันออก และตะวันตกของกรุงเทพฯ

ขณะความคืบหน้าช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) ที่ผ่านมา ม.เกษตรฯ คัดค้านการก่อสร้างช่วงดังกล่าวมาโดยตลอด เพราะกังวลจะได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศและอุบัติเหตุการจราจรบนทางด่วน หากเปิดให้บริการ รวมทั้งกังวลในกรณีที่กทพ.ขอใช้พื้นที่ เนื่องจากเขตทางบริเวณนี้ค่อนข้างจำกัด และพื้นถนนไม่มีพื้นที่สร้างฐานราก ทำให้ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมจ้างที่ปรึกษาจัดทำผลการศึกษาแนวเส้นทางใหม่อีกครั้ง คาดว่าได้ตัวผู้รับจ้างศึกษาแผนในช่วงต้นปี 2565 ระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะดำเนินการเจรจากับม.เกษตรฯต่อไป

"การศึกษาแนวเส้นทางในครั้งนี้คงต้องดูรายละเอียดให้ชัดเจนอีกที หากก่อสร้างบริเวณด้านหน้าม.เกษตรฯไม่ได้ อาจจะเปลี่ยนแนวเส้นทางบริเวณด้านหลังของม.เกษตรฯ แทน หรือเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นทางเบี่ยง ยืนยันว่าทางด่วนเส้นทางนี้คงต้องเดินหน้าต่อไม่สามารถหยุดกลางคันได้ เพราะเราต้องการให้ทางด่วนสายนี้เชื่อมต่อเป็นระบบโครงข่ายเดียวกัน"

ที่ผ่านมากทพ.ได้ศึกษาแนวเส้นทางทดแทนทางด่วนช่วง N1 เบื้องต้นออกแบบไว้ 3 แนวทาง คือ
1. ทางยกระดับผ่านหน้า ม.เกษตรฯ แบบเดิม โดยใช้แนวถนนงามวงศ์วาน มาทางคลองเปรมประชากร-ทางด่วนศรีรัช ขอใช้พื้นที่ใน ม.เกษตรฯ ประมาณ 180 ตารางเมตร
2. อุโมงค์ทางด่วน จากแยกรัชวิภาผ่านหลังเมเจอร์รัชโยธินเชื่อมต่อโครงการ Missing Link สิ้นสุดที่แยกเกษตร และ
3. อุโมงค์ทางด่วนผ่านหน้า ม.เกษตรฯ บริเวณแยกบางเขน สิ้นสุดแยกประชาชื่น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ปัจจุบันในส่วนของการก่อสร้างฐานรากตอม่อร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร - นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ที่อยู่ระหว่างรอแผนงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากกทพ.ติดปัญหาการก่อสร้างทางด่วนช่วงเกษตรศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถเสนอโครงการต่อได้

"ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลนั้น เบื้องต้นแบบการก่อสร้างของเรามีพร้อมอยู่แล้ว คงต้องรอ กทพ. พิจารณาแนวเส้นทางในการก่อสร้าง เพื่อหาข้อสรุปก่อนว่าเป็นอย่างไร ส่วนการเปิดประมูลจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไรนั้นขึ้นอยู่กับ กทพ. เนื่องจากการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลของรฟม.จะต้องเปิดประมูลร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 2 ของกทพ. รวมทั้งการก่อสร้างโครงการฯจะต้องหาเอกชนผู้รับจ้างรายเดียวกันด้วย"
"ทางด่วนเส้นทางนี้คงต้องเดินหน้าต่อไม่สามารถหยุดกลางคันได้ เพราะเราต้องการให้ทางด่วนสายนี้เชื่อมต่อเป็นระบบโครงข่ายเดียวกัน"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 - 30 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 240, 241, 242 ... 277, 278, 279  Next
Page 241 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©