RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179789
ทั้งหมด:13491021
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2021 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ในอดีต 2 สิงหาคม 2505
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ผู้แทนรัฐบาลไทย เดินทางโดยรถไฟขบวนพิเศษจากสถานีกรุงเทพ - หนองคาย ไปร่วมพิธีเศกสมรสมกุฎราชกุมารลาว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4299524300106065&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2021 7:57 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้มีคนดึงข้อมูลการล่องแก่ง จากเชียงใหม่ผ่านตาก ไปนครสวรรค์ออกมาแล้ว
https://www.facebook.com/padd.kpamotap/posts/1089147524948848

Wisarut wrote:
จาก ระยะทางไปมณฑลพายัพ เขียนโดย พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) พิมพ์เมื่อปลาย ปี 2465 (ราวๆ มีนาคม 2465 นับได้ว่าปี 1923 แล้ว) ที่ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ทำให้ทราบว่า

1. สมัยนั้นรถที่มีเดินทุกวันคือ รถขบวนกรุงเทพ - ปากน้ำโพ ทำให้คนแถว พิจิตร บางมูลนาก (จุดรับสินค้าจากเพชรบูรณ์ หล่มสัก) และ พิษณุโลก ต้องลำบากในการขนสินค้ามาก

2. รถด่วนสายเหนือ มีเดินทุกวันอาทิตย์และพุธ ออกเดินทาง 16:30 น. ถึงพิษณุโลก เวลา 04:00 น. วันจันทร์ และ พฤหัสบดี ถึงเชียงใหม่ในวันรุ่งขึ้น (วันจันทร์ และ พฤหัสบดี) เวลา 18:00 น.

3. รถธรรรมดา (จริงๆ คือรถรวม) พิษณุโลก - ลำปาง นี้ออกจากพิษณุโลก 08:20 น. ถึงเด่นไชย 13:30 น. ออกเด่นไชย 13:40 น. ถึงบ้านปิน 14:54 น. ถึงแม่เมาะ 17:50 น. ต้องเดินเครื่องแรงเพื่อไต่เขา ถึงสถานีแม่ทะ 18:05 น. และ ถึงปลายทาง สถานีนครลำปาง ที่ สบตุ๋ย (ต้นฉบับเขียนว่าสถานีสบตุ๋ย) 18:18 น.

4. ถนนจากเด่นไชยผ่านสูงเม่น ไปแพร่ ระยะทาง 600 เส้น หรือ 24 กิโลเมตร กรมทางทำไว้แต่ไม่ค่อยมั่นคงเท่าไหร่

5. ถนนจากสถานีบ้านปิน ถึง ที่ว่าการอำเภอลอง ระยะทางแค่ 75 เส้น (3 กิโลเมตร)

6. ถนนจากสถานีนครลำปางที่สบตุ๋ยถึงที่พักซึ่งเป็นบ้านเจ้าเทพธำรง ณ ลำปาง ระยะทางแค่ 150 เส้น (6 กิโลเมตร) อยู่ฟากตรงข้ามกับคุ้มเจ้าหลวง บุญวาทยวงศ์มานิต

7. ที่น่าสนใจคือ ที่พักคนเดินทาง (โรงแรม) ของกรม รถไฟ ที่สถานีนครลำปางห่างจากตัวสถานีไปทางด้านเหนือ แค่ 2 เส้น (80 เมตร) ที่ลำปางมีศาลเมือง และ ศาลมณฑลด้วย ส่วนเรือจำเก่านั้นโทรมมาก ต้องย้ายไปสร้างใหม่ ตอนนั้นก่อรากไว้แล้ว

8. ถนนจากลำปาง ผ่านงาว พะเยา ไปเชียงราย (ถนนพหลโยธิน) ระยะทาง 234 กิโลเมตร (5850 เส้น) ตอนแรก เจ้าหลวงลำปางตัดไว้ แต่ตอนนี้ กรมทางรับเข้าไปปกครองแทนเจ้าหลวงลำปาง โดยถือว่าเป็นทางหลวงแผ่นดิน ตอนนั้นใช้งานได้ดี 38 กิโลเมตร (950 เส้น) แต่กระนั้น กรมทางมีภาระต้องแก้ไขทางที่ตัดไว้เดิมที่สูงชัน ทางโค้งหักข้อศอก เลียบหน้าผาด้วย กว่าจะพ้นอำเภอเมืองลำปางก็ 52 กิโลเมตร จากนั้นเป็นทางลงเขาอีก 87 กิโลเมตร จึงจะถึงเมืองงาว ใช้เวลาเดินทางจากลำปางไปงาว 5 ชั่วโมง

9. ที่ตลาดมีของส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพ นอกนั้นมีผ้าซิ่นทอมือของคนลำปางที่ดีรสู้ผ้าซิ่นเชียงใหม่ไม่ได้ แต่ มีดีที่เครื่องหนังทำมือโดยคนไทย มีโรงภาพยนตร์แล้วด้วย

10. นอกเมืองลำปางพอพ้นสะพานรัษฏา ก็มีโรงเรียนหลวงและโรงเรียนชาย หญิงที่มิสชันนารีอเมริกันบริหาร และ เขาสอนดีให้รู้จักรักในอาชีพทำนาที่บรรพชนเคยทำด้วย ข้อนี้น่าสนใจจริงๆ ออ ยังมีโรงพยาบาลที่พวกมิสชันนารีอเมริกัน อีกด้วย

11. นอกจากนี้มีโรงงานฟอกหนังด้วย และยังมีโรงงานทอผ้า ที่ เจ้าหลวง บุญวาทยวงศ์มานิต ดำเนินการ แต่ยังติดตั้งเครื่องจักรไม่ถึงครึ่งก็ถึงแก่พิลาลัยเสียก่อน ลูกหลาน ก็บริหารไม่เป็น เลยโทรมไปอย่างน่าเสียดาย

12. ทางจากนครลำปางไป พระธาตุลำปางหลวง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ แค่ 300 เส้น (12 กิโลเมตร)

13. รถไฟจากลำปางไปเชียงใหม่เที่ยวเช้า 06:50 น. ผ่านบ่อแห้ว ห้างฉัตร ปางม่วง ปางหัวพง (ตอนนั้นยังไม่เลิก) ผ่านสะพานหอสูงสามแห่งที่ปางแงะ ซึ่งน่าหวาดเสียวเพราะสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่าสิบวา (20 เมตร) ไม่มีโค้งสะพานอยู่บนสะพานหอสูงเป็นพนัก ให้อุ่นใจ ถึงปากถ้ำขุนตาน ฝั่งลำปาง 08:26 น. ถึงปากถ้ำขุนตานฝั่งลำพูน 08:31 น. แล้วจึงถึงสถานีขุนตาน - ถ้ำขุนตานยาว 33 เส้น (จริงๆยาวกว่านั้น) ที่ยนอดดอยขุนตานมีที่พักกรมรถไฟ ตอนแรกเป็นบ้านพักของนายไอเซนโฮเฟอร์ นายช่างเยอร์มันเพื่อดูคนงาน แต่ พอตกเป็นเชลยศึกก็กลายสภาพเป็นที่พักกรมรถไฟ มีการต่อท่อเอาน้ำจากดอยงาช้างมาใช้ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต และ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครรราชสีมา เคยประทับที่บ้านพักกรมรถไฟที่ดอยขุนตานอีกด้วย แม้อากาศบนยอดดอยขุนตานจะดีเหมือนชายทะเล แต่ ที่สถานขุนตานที่อยู่เบื้องล่าง ความไข้ (มาลาเรีย) ชุกชุมนัก ถึงทางชมพู 08:55 น. ผ่านสะพานทาชมพูที่ มีโค้งเป็นพนัก ที่ดูงามกว่าสะพานเหล็กเป็นอันมาก ผ่านสถานีแม่ทาศาลา (ที่ถูกคือ สถานีศาลาแม่ทา) 09:26 น. ผ่านหนองหล่ม และ สนามเรือบินลำพูน ถึง สถานีลำพูน 10:20 น. จากนั้น รถไฟผ่านสถานี บางเลิ้ง (ที่ถูกคือ สถานีป่ายางเลิ้ง ตามชื่อหมู่บ้าน) ในอำเภอสารถี ก่อนถึงสถานีเชียงใหม่ สถานีสุดทางรถไฟ 11:10 น. ตัวสถานีเชียงใหม่อยู่ที่ตำบลท่าศาลา หรือ หนองประทีป มีถนนไปสันกำแพงและแม่ออน และ มีถนนเชียงใหม่ - ลำพูน ยาว 600 เส้น (24 กิโลเมตร)

14. ทางจากสถานีห้างฉัตรไป ที่ว่าการอำเภอหางสัตว์ แค่ 70 เส้น (2.8 กิโลเมตร) และ ตัวเมืองลำพูน อยู่ห่างจากสถานีลำพูนไปทางใต้ 2 กิโลเมตร (50 เส้น)

15. ปลายปี 2465 กรมทางกำลังก่อรากสะพานนวรัฐ (ต้นฉบับเขียนว่าสะพานเนาวรัตน์) เพื่อทำสะพานเหล็กคอนกรีตข้ามแม่น้ำปิง เพื่อแทนสะพานไม้ที่มีมาแต่เดิม เสร็จปี 2466

16. อาคารสถานีเชียงใหม่ เป็นตึกหลังยาวชั้นเดียวมีโครงเหล็ก ขวางจากตัวตึกให้รถไฟเข้าเทียบ มีที่พักคนเดินทาง (โรงแรม) อยู่ทางเหนือ ที่กรมรถไฟให้เอกชนผูกขาดแต่ ขาดทุนเพราะ ไม่ค่อยมีคนมาพักเนื่องจาก โดยมากคนเดินทางมักนัดแนะกับญาติมิตร ไว้ก่อนแล้ว มีโรงโรง สินค้า อยู่ด้านใต้ของสถานีรถไฟและ กองพลทหารราบที่ 8 (ค่ายกาวิละ) ก็อยู่ด้านใต้ของสถานีรถไฟด้วย

17. ที่เชียงใหม่ มีโรงเรียนที่หมอสอนศาสนามาตั้งขึ้น (โรงเรียน ปรินสรอยัล และ โรงเรียนพระราชชายา ที่ ต่อมาย้ายมาแถววัดเกตุเป็นโรงเรียนดาราวิทยา) สถานีกงสุลอังกฤษ และ สถานกงสุลฝรั่งเศส โรงเรียนจีน โรงพิมพ์ ศาลเมือง ศาลมณฑล เรือนอุปราชภาคพายัพ มีโรงพยาบาลอเมริกัน ด้านใต้วังพระราชชายาด้วย ทำให้ กระทรวงมหา่ดไทยสมัยนั้นที่คุมกรมสาธารณสุข ต้องหาทางตั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัดให้ได้ หรืออย่างน้อยให้สุขาภิบาลตั้งโรงพยาบาลของสุขาภิบาลเองก็ยังดี แต่ต้องทำให้ดีๆ อย่าสักแต่ว่าทำ ถัดจากโรงพยาลาลอเมริกันก็คือคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ มีตลาดใหญ่มากชุมพ่อค้าแม่ค้าและลุกค้าได้ 2000 - 3000 คน เปิดเฉพาะตอนเช้า สายๆก็เลิก มีที่ทำการไปรษณีย์ที่แปลงจากศาลต่าประเทศก่อนย้ายไปรวมกะศาลมณฑล ในตัวเมืองมีคลังมณฑลที่โทรมไปมาก ศาลเมือง และ ศาลมณฑล ส่วนเรือนจำมณฑลพายัพทำไว้ดีมาก มีโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่ห้วยแก้วตรงตีนดอยสุเทพที่อยู่ด้านตะวันตกของโรงเรียน มีป่าล้อมสามด้าน แถมความไข้ชุกชุม และลมหนามมักมาแรง

18. อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อปลายปี 2465 นั้น 133 รูเปียแลกได้ 100 บาท และ คนงานกรมรถไฟที่ได้ค่าแรงวันละบาทมักแลกรูเปีย ได้ 1.25 - 1.30 รูเปีย เพื่อใช้สอย แต่เวลาแลกรูเปียเป็นเงินบาทเพื่อการจ่ายภาษี พบว่า ต้องใช้ 1.40 - 1.50 รูเปียจึงจะแลกเงิน 1 บาทได้ ส่วนอัตราหลวงที่กำหนด 1.75 รูเปียแลกได้ 1 บาทนั้นไม่ค่อยมีใครใช้กัน

19. ที่ตลาดมีไม้ขีดไฟ เครื่องเหล็ก เครื่องทองเหลือง น้ำมัน จากกรุงเทพ เข้ามามาก แถมยังส่งไปขายไกลถึงเชียงตุง เพราะ ขนสินค้าจากกรุงเทพมาเชียงตุงสะดวกกว่าการขนสินค้าจากท่าเรือย่างกุ้งเสียอีก มีรถยนต์ 50 คัน รถม้า 50 คัน รถจักรยาน 2000 คัน นอกนั้นเป็นเกวียนหุ้มล้อด้วยเหล็ก

20. สมัยก่อน ถนนจากเชียงใหม่ ไปอำเภอรอบนอกยังมีไม่ทั่วถึงเลยต้องมีการล่องเรือ ตามลำน้ำปิงไปตามอำเภอ หางดง จอมทอง และ ยังไปไกล ถึงปากบ่อง (อำเภอป่าซาง ของลำพูน ก่อนที่ทางหลวงจากเชียงใหม่ จะมาถึงป่าซางปี 2489) กว่าจะถึงบ้านมืดกา แถวดอยเต่า จากนั้นต้องล่องแก่ง ผ่านอำเภอลี้ไปเมืองตาก เจอคนหากินทางเก็บขี้ค้างคาวมาทำดินประสิว ได้ปีละ 70 ชั่ง ขายชั่งละ 7 รูเปีย ต้องใช้เวลา 4 วันในการล่องแก่งจากปากบ่อง ที่ดอยเต่า ไปแก่งส้มป่อย แถวสามเงา เมืองตาก ชาวบ้านไม่คิดจะระเบิดแก่งเพราะทำหน้าที่เป็นประตูน้ำโดยธรรมชาติช่วยการกักเก็บน้ำและชะลอกระแสน้ำอย่างดี จากแก่งส้มป่อยถึงเมืองตากต้องล่องเรือไปอีกวัน และ ใช้เวลาอีกห้าวันกว่าจะถึงเมืองกำแพงเพชร และอีก ห้าวันกว่าจะล่องจากกำแพงเพชรีถึงปากน้ำโพ และ การล่องเรือจากเชียงใหม่ถึงปากน้ำโพนับวันจะเสื่อมโทรมลง เพราะมีรถไฟไปถึงแล้ว

http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/th/website/oldbook/detailbook/5385


ตอนนี้ ระยะทางไปมณฑลพายัพ เขียนโดย พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ได้รับการ reprint แล้ว


Last edited by Wisarut on 23/01/2022 11:44 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2021 11:41 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องราวเกี่ยวกับรถจักร SDA-4 ของ CRRC Ziyang ที่ TPI เอามาใช้ เมื่อปี 1992 และ 2017
https://www.facebook.com/CRRCGC/posts/4599664773394229
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2021 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

ครูนน เล่าเรื่องสาเหตุที่ทำทางรถไฟสายใต้ โดยไม่ทำจากตรังไปพัทลุง


Noppadol Tippayarat wrote:
#ความรู้ใหม่จากการอ่านเอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติ
การสร้างรถไฟสายใต้ แต่เดิมจะสร้างจากตรังตรงมาพัทลุง แต่ “กรมหลวงนเรศวร์วรฤทธิ์” ได้กราบทูล ร.๕ ว่าการก่อสร้างจะลำบากมาก เพราะติดเทือกเขาเป็นทางยาว ต้องยกระดับถมคันรางและเจาะอุโมงค์ค่อนข้างมาก เนื่องบริเวณเชื่อมต่อระหว่างพัทลุงและตรังนั้น มีเทือกเขาแนวบรรทัดคั่นอยู่ (ที่เราเรียกคุ้นเคยในทางรถยนต์ว่า “เขาพับผ้า”)
รัชกาลที่ ๕ จึงมีพระวินิจฉัยเปลี่ยนเส้นทางรถไฟจากเดิมจะเริ่มสร้างจากตรังไปพัทลุงมา เป็นจากตรังไปที่ทุ่งสงแทน แล้วค่อยจึวค่อยสร้างทางรถไฟลงจากทุ่งสงย้อนลงมาทางใต้ไปเชื่อมพัทลุง พร้อมๆกับที่สร้างทางรถไฟจากชุมทางอู่ตะเภาที่สงขลาขึ้นมาพัทลุงให้บรรจบกัน
#ทำไมต้องสร้างรถไฟไปพัทลุง?
ก็เพราะเมืองหลักที่สำคัญทางใต้ที่ ร.๕ มีพระราชประสงค์จะให้มีรถไฟไปถึงคือ พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และสงขลา โดยเหตุที่เริ่มต้นสร้างจากตรังไปพัทลุงก่อนนั้น เพราะเดิมพัทลุงเป็นหัวเมืองใหญ่ มีเมืองขึ้น 4 เมือง คือ สงขลา ปะเหลียน จะนะ และ เทพา
ส่วนนครศรีธรรมราช มีพระราชประสงค์ที่แน่วแน่ที่ยังไงรถไฟต้องไปให้ถึงเพราะเป็นเมืองใหญ่ ลักษณะเดียวกับสวรรคโลกทางสายเหนือที่ต้องสร้างทางแยกจากสายหลักเส้นกรุงะทพ-เขียงใหม่ที่ชุมทางบ้านดาราเข้าไป เพราะขณะนั้น “สวรรคโลก” มีฐานะเป็นจังหวัดหัวเมืองสำคัญแห่งหนึ่ง แต่ต่อมาถูกลดระดับเป็นอำเภอ แล้วตั้งให้ “สุโขทัย” ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสวรรคโลกเป็นจังหวัดแทน ซึ่งคล้ายกับกรณีของ “จังหวัดระแงะ” ที่เดิมมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีรถไฟผ่านตัวเมือง (ที่ “สถานีตันหยงมัส”) ต่อมามีการลดฐานะด้วยการย้ายตัวจังหวัดมาที่บางนราแล้วเรียกชื่อใหม่ว่า “จังหวัดบางนรา” แล้วเปลี่ยนชื่อล่าสุดเป็น “จังหวัดนราธิวาส” ในปัจจุบันอีกครั้ง ส่วน “ระแงะ” ก็ลดฐานะเป็นอำเภอสังกัดจังหวัดนราธิวาสแทน
ครูนน
24 สิงหาคม 2563

https://www.facebook.com/noppadol.psu/posts/3593882687308863
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2021 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟเชื่อมสถานีบางซื่อ - สถานีคลองตัน พ.ศ. 2484
Sawaphol Suvanich
30 สิงหาคม 2564 เวลา 10:03 น.

ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2484 ออกประกาศสำรวจเส้นทางเพื่อเวนคืนที่ดินตั้งแต่สถานีรถไฟบางซื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีคลองตัน ตามเส้นสีแดงที่วาดในแผนที่ หลังจากนี้มีสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เรื่องพับไป
.
พ.ศ. 2506 ได้มีราชกิจจานุเบกษาออกมาอีกครั้งเพื่อวางเส้นทางเวนคืนที่ดินในส่วนของทางรถไฟเชื่อมสถานีศูนย์ซ่อมรถมักกะสันยังมีผลให้บริเวณที่ดินเกิดสามเหลี่ยมซึ่งกินพื้นที่วัดบางกะปิ (วัดอุทัยธาราม) ต้องโดนเวนคืนที่ดินไปด้วย
.
พ.ศ. 2514 รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ครบ 25 ปีด้วยงานรัชดาภิเษก เส้นทางเวนคืนดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของถนนรัชดาภิเษกซึ่งแนวโค้งถนนรัชดานี่เองเป็นเส้นทางโค้งเก่าของเส้นทางรถไฟ
.
พ.ศ. 2530 โครงการ RCA ได้ก่อสร้างในพื้นที่โค้งด้านล่างทำให้แนวถนนในโครงการ RCA มีแนวโค้งตามเส้นทางรถไฟ See Less
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2021 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ในอดีต 01 กันยายน 2528
การเปิดเดินขบวนรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศเที่ยวปฐมฤกษ์ จากสถานีพิษณุโลกถึงสถานีกรุงเทพ โดยมีนายสืบ รอดประเสริฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 01 กันยายน 2528 ณ สถานีพิษณุโลก
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4389669644424863&id=222323771159492

#วันนี้ในอดีต 01 กันยายน 2528
การเปิดเดินขบวนรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศเที่ยวปฐมฤกษ์ จากสถานีขอนแก่นถึงสถานีกรุงเทพ โดยมีนายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 01 กันยายน 2528 ณ สถานีขอนแก่น
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4389800767745084&id=222323771159492

#วันนี้ในอดีต 01 กันยายน 2528
การเปิดเดินขบวนรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศเที่ยวปฐมฤกษ์ จากสถานีสุรินทร์ถึงสถานีกรุงเทพ โดยมีนายเสนอ มูลศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 01 กันยายน 2528 ณ สถานีสุรินทร์
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4389889301069564&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2021 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

การลำเลียงรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.) ชนิด 36 ที่นั่ง จากประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2530
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4407493449309149&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2021 10:24 pm    Post subject: Reply with quote

6 กันยายน 2509 ผู้ว่าการรถไฟ ขึ้นมาตรวจสภาพน้ำท่วมช่วงนาทา - หนองคาย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4405320272859800&id=222323771159492&notif_id=1630673255459581
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2021 2:38 am    Post subject: Reply with quote

แผนทำทางรถไฟฟ้ามหานครที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ การรถำฟและ ญี่ปุ่นได้ร่วมกันทำขึ้นปี 1979 แต่เอาเข้าจริงๆ ผิดแผนไปเยอะ
https://openjicareport.jica.go.jp/pdf/10178424_01.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2021 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีวงเวียนใหญ่(ภาพเก่าที่หาดูได้ยาก)
รถดีเซลรางไทโกกุ(จอดเที่ยบชานชลาสถานีวงเวียนใหญ่)
เครดิตภาพจากทวิตเตอร์ชาวญี่ปุ่น(ขอบคุณมากครับ)
https://twitter.com/FeiChinExpress/status/1436548426917826566
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 73, 74, 75  Next
Page 65 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©