Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258192
ทั้งหมด:13569468
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”รื้อแผนซื้อรถไฟดีเซลราง184คัน 1.5หมื่นล้าน
*ให้ศึกษาใหม่จากไฮบริดเป็นแบตเตอร์รี่ (BMU)
*รฟท.กลัวรอ3ปีหวั่นรถเก่าพังไม่มีให้บริการปชช.
https://www.facebook.com/1860889064132603/posts/3000205373534294

Wisarut wrote:
เปิดโรดแมป รถไฟ EV “ศักดิ์สยาม” ดันให้เกิดปี68
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 - 19:49 น.

"ศักดิ์สยาม" สั่งปรับแผนใช้รถไฟอีวีในไทยก่อนปี 68
จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.32 น.


https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2895840930637406
Arrow
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงนามบันทึกข้อตกลงพัฒนารถไฟให้เป็นระบบไฟฟ้า
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 16.34 น.



วันนี้ (15 กันยายน 2564) เวลา 15.00 น. นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และ ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ทำพิธีลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า” วิธี online ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนการพัฒนาปรับปรุงระบบรถไฟให้เป็นระบบรถไฟฟ้าครอบคลุมโครงข่ายทางรถไฟทั่วประเทศ รองรับการเดินทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของประเทศ และกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะผลักดันการใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดมลพิษในด้านต่างๆ รวมถึงผลักดันการใช้พลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับทิศทางของเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงได้ร่วมกับทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการร่วมกันคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้วัสดุในประเทศ เพื่อให้มีรูปแบบการบริการใหม่แก่ประชาชน มีวัตถุประสงค์การร่วมมือ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาด้านวิศวกรรมในการเปลี่ยนรถจักรดีเซลไฟฟ้าและรถดีเซลราง จากการใช้พลังงานน้ำมันดีเซล ไปสู่ระบบรถจักรไฟฟ้า และรถไฟฟ้า จากพลังงานไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ เช่น ระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Overhead Catenary System) ระบบพลังงานทางเลือกจาก hydrogen fuel cell หรือระบบรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Electric Vehicle หรือ EV) และการใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อนของรถไฟ
2. แนวทางการพัฒนาด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับสถานีจ่ายไฟฟ้า สถานีประจุพลังงานไฟฟ้าของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผยถึงการทำความร่วมมือในครั้งนี้ว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งบูรณาการณ์องค์คงวามรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมในหลากหลายมิติ นำโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้การดำเนินโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ตามวิสัยทัศน์ของสถาบัน ในฐานะ The World Master of Innovation สู่การขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับโลก ซึ่ง สจล. มีศักยภาพและมีผลงานวิจัยหลากหลายด้าน ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม โดยจะเห็นได้จาก Asia University Ranking 2021 ที่จัดอันดับโดย Times Higher Education ให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังติดอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยด้านงานวิจัย (Research) ด้าน Industry Income และมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 5 ของไทยและภูมิภาคอาเซียน ทางด้าน Science and Tech. University ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความพร้อมทั้งบุคลากรและทรัพยากรและพร้อมที่ให้ความร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยในการพัฒนาและร่วมขับเคลื่อนเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางราง ด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อพัฒนาไปสู้ระบบไฟฟ้า
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การร่วมมือทางด้านวิชาการในครั้งนี้เพื่อพัฒนาการขนส่งระบบรางของการรถไฟฯ ไปสู่ระบบไฟฟ้าในด้านต่างๆ ดังเช่นหลายๆ ประเทศที่ได้เริ่มมีการพัฒนาระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมนี ซึ่งได้มีการวิจัยในการนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาขับเคลื่อนรถไฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังสอดคล้องกับแผนงานและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบคมนาคมขนส่งให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศอีกด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=Vwb30gKJkmA


Last edited by Wisarut on 17/09/2021 7:31 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

การพัฒนารถไฟ EV ในระดับสากล
กรมการขนส่งทางราง
15 กันยายน 2564 เวลา 19:10 น.


บริษัท Bombardier Transportation (ปัจจุบันได้ถูก Alstom ซื้อกิจการแล้ว) ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่ของโลกได้เปิดตัวรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ (Battery electric multiple unit : BEMU) รุ่น TALENT 3 ซึ่งสามารถวิ่งด้วยพลังงานแบตเตอรี่ได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการชาร์จ 7 ถึง 10 นาที สามารถชาร์จผ่านระบบจ่ายไฟฟ้าชนิดสัมผัสเหนือศีรษะด้วยแพนโทกราฟเมื่อรถไฟจอดที่สถานี
ข้อดีหลัก 5 ข้อของรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ คือ
1. ไม่มีการปล่อยมลพิษ (emission-free)
2. ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (energy-efficient)
3. สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ (recyclable)
4. เป็นพลังงานสะอาดเมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล
5. ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงเครื่องยนต์
โดยประเทศเยอรมนีมีนโยบายที่จะยกเลิกจาการใช้น้ำมันและเครื่องยนต์ดีเซล และมีแผนที่จะใช้รถไฟพลังงานแบตเตอรี่แทนที่รถไฟดีเซล เช่นเดียวกับประเทศไทยตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ที่ได้สั่งการให้ศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำรถไฟพลังงานแบตเตอรี่มาใช้ในประเทศไทย ซึ่งกรมการขนส่งทางรางจะร่วมมือกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
ระบบราง (องค์การมหาชน) ในการศึกษาเส้นทางและรูปแบบการชาร์จไฟที่เหมาะสมที่จะนำรถไฟพลังงานแบตเตอรี่มาใช้ต่อไป
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=M3AYuDFdf88

แต่กระนั้นมีคนไม่เห็นพ้องด้วย ดูที่นี่ก็ได้ https://www.facebook.com/Kornwithoon2000/posts/1278574685904826
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2021 7:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงนามบันทึกข้อตกลงพัฒนารถไฟให้เป็นระบบไฟฟ้า
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 16.34 น.

https://www.youtube.com/watch?v=Vwb30gKJkmA


สจล.,รฟท.ยกระดับขนส่งทางรางไทย สู่ระบบไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 12:14 น.
ปรับปรุง: วันที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 12:14 น.

สจล. ร่วมมือ รฟท. ดันงานวิจัยขับเคลื่อนการขนส่งของรถจักรล้อเลื่อนให้สามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้หลากมิติ ทั้งวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม ฯลฯ ขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม ที่รุดผลักดันการใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดมลพิษในด้านต่าง ๆ

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า สจล.เล็งเห็นโอกาสของการพัฒนาระบบขนส่งและการคมนาคมโดยรถไฟ ที่ในอนาคตหากมีการปรับตัวสู่การเลือกใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน อีกทั้ง สจล. ที่มีพื้นที่ตั้งใกล้ชิดกับจุดจอดรถไฟสถานีพระจอมเกล้า มีศักยภาพในการพัฒนางานวิจัยในหลากหลายมิติ ตลอดจนความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สจล. ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ในฐานะ The World Master of Innovation สู่บทบาทการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับโลก จากการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2021 (Asia-Pacific) จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วเอเชีย ให้เป็น เบอร์ 1 มหาวิทยาลัยไทยด้านงานวิจัย (Research) ด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม (Industry Income) และมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 5 ของไทยและภูมิภาคอาเซียน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Tech University)

ดังนั้น สจล. โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านบุคลากรและทรัพยากร เพื่อให้ความร่วมมือกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อน เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า” เพื่อผลักดันงานวิจัยพัฒนาการขนส่งของรถจักรล้อเลื่อน ให้สามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ บนพื้นฐานการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ ที่ครอบคลุมศาสตร์ด้านวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม ฯลฯ



นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า การรถไฟฯ มีแผนพัฒนาปรับปรุงระบบรถไฟให้เป็นระบบรถไฟฟ้าครอบคลุมโครงข่ายทางรถไฟทั่วประเทศ รองรับการเดินทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของประเทศ และกระทรวงคมนาคมมีนโยบาย ผลักดันการใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดมลพิษด้านต่าง ๆ รวมถึงผลักดันการใช้พลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางของเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงร่วมกับ สจล.ร่วมกันคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้วัสดุในประเทศ เพื่อให้มีรูปแบบบริการใหม่แก่ประชาชน มีวัตถุประสงค์การร่วมมือ ดังนี้

1.แนวทางพัฒนาด้านวิศวกรรมในการเปลี่ยนรถจักรดีเซลไฟฟ้าและรถดีเซลราง จากการใช้พลังงานน้ำมันดีเซลไปสู่ระบบรถจักรไฟฟ้าและรถไฟฟ้า จากพลังงานไฟฟ้ารูปแบบต่างๆ เช่น ระบบจ่ายไฟเหนือหัว(Overhead Catenary System),ระบบพลังงานทางเลือกจากhydrogen fuel cell ,ระบบรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่(Electric Vehicle:EV),การใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อนของรถไฟ

2. แนวทางการพัฒนาด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับสถานีจ่ายไฟฟ้า สถานีประจุพลังงานไฟฟ้าของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง



ความร่วมมือทางด้านวิชาการดังกล่าว เพื่อพัฒนาการขนส่งระบบรางของการรถไฟฯ ไปสู่ระบบไฟฟ้าในด้านต่างๆ ดังเช่นต่างประเทศที่ได้เริ่มมีการพัฒนาระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่มากขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมนี ซึ่งได้มีการวิจัยในการนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาขับเคลื่อนรถไฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังสอดคล้องกับแผนงานและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบคมนาคมขนส่งให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2021 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

อีก 6 ปีได้นั่งรถไฟไฟฟ้า
Source - เดลินิวส์
Thursday, December 16, 2021 05:05

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งความคืบหน้าโครงการขับเคลื่อนรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) เพื่อผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะในประเทศไทยตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ว่า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 65 เบื้องต้นเสนอให้ไทยใช้เทคโนโลยีรถไฟแบตเตอรี่ รูปแบบ Hydrogen Fuel Cell ในการเดินรถไฟไฟฟ้าในช่วงที่มีระบบจ่ายไฟสามารถวิ่งและชาร์จไฟไปได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนช่วงที่ไม่มีระบบจ่ายไฟระหว่างวิ่งก็ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่และค่อยชาร์จที่สถานีปลายทาง

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับแผนการพัฒนารถไฟไฟฟ้านั้น ไจก้า ได้เสนอการพัฒนาในเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
    แผนระยะกลาง ปี 70 ให้เดินรถไฟไฟฟ้านำร่อง 3 เส้นทาง คือ สายเหนือ 2 เส้นทาง ได้แก่ บางซื่อ-บ้านภาชี-ลพบุรีและบางซื่อ-บ้านภาชี-บ้านหมอ (สระบุรี) ความถี่เดินรถ 30 นาทีต่อขบวนต่อทิศทาง และ
    สายตะวันออกเฉียงเหนือ บางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย ความถี่เดินรถ 30 นาทีต่อขบวนต่อทิศทาง
    ส่วนแผนระยะยาว ปี 75 ให้เดินรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทาง นำร่อง สายเหนือ คือ
    ช่วงบางซื่อ-บ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 243 กิโลเมตร (กม.)
    สายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงบ้านภาชีแก่งคอย-ชุมทางจิระ 259 กม.
    สายใต้ ช่วงบางซื่อ-หัวหิน 222 กม. และ
    สายตะวันออก ช่วงบางซื่อ-พัทยา 159 กม.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2021 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อีก 6 ปีได้นั่งรถไฟไฟฟ้า
Source - เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:05 น.


ส่อง แผนคมนาคมดันรถไฟ EV นำร่อง 7 เส้นทาง
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 7:30 น.

“คมนาคม” จับมือไจก้า ศึกษารถไฟ EV ดันเทคโนโลยีรถไฟแบตเตอรี่ คาดแล้วเสร็จเดือนม.ค.65 จ่อนำร่อง 7 เส้นทาง เริ่มให้บริการปี 70

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง(ขร.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการขับเคลื่อนรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า(EV on Train) เพื่อผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ ตามนโนยายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ว่าองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า)อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ เบื้องต้นเสนอให้ไทยใช้เทคโนโลยีรถไฟแบตเตอรี่ รูปแบบHydrogen Fuel Cell ในการเดินรถไฟไฟฟ้าในช่วงที่มีระบบจ่ายไฟ โดยในระหว่างทางวิ่งช่วงที่ไม่มีระบบจ่ายไฟก็สามารถวิ่งและชาร์ตไปได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ส่วนช่วงที่ไม่มีระบบจ่ายไฟในระหว่างที่วิ่งก็ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่และค่อยชาร์ตที่สถานีปลายทาง คาดว่าศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.2565


สำหรับแผนการพัฒนารถไฟไฟฟ้าเบื้องต้นไจก้านำเสนอการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือแผนระยะกลาง 2570 เสนอให้มีการเดินรถไฟไฟฟ้านำร่องจำนวน 3 เส้นทาง คือสายเหนือ 2 เส้นทางคือ บางซื่อ-บ้านภาชี-ลพบุรีและบางซื่อ-บ้านภาชี-บ้านหมอ(สระบุรี) ความถี่ในการเดินรถ 30 นาทีต่อขบวนต่อทิศทาง และสายตะวันออกเฉียงเหนือ บางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย ความถี่ความถี่ในการเดินรถ 30 นาทีต่อขบวนต่อทิศทาง


นอกจากนี้แผนระยะยาวในปี 2575 เสนอให้มีการเดินรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทางนำร่อง สายเหนือ คือ ช่วง บางซื่อ-บ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 243 กม. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง บ้านภาชี-แก่งคอย-ชุมทางจิระ ระยะทาง 259 กม. สายใต้ ช่วง บางซื่อ-หัวหิน 222 กม. และสายตะวันออก ช่วงบางซื่อ-พัทยา ระยะทาง159 กม.


คมนาคม เล็งเปิดวิ่งรถไฟอีวี 7 เส้นทาง นำร่อง ปี 70 จำนวน 3 เส้นทาง จากบางซื่อ ไป ลพบุรี และ สระบุรี
เศรษฐกิจ
ข่าวสด
วันพุธ ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:13 น.


คมนาคม เล็งเปิดเดินรถไฟอีวี 7 เส้นทาง นำร่องปี 70 จำนวน 3 เส้นทาง บางซื่อ ไปลพบุรี และสระบุรี -ปี 75 เพิ่มอีก 4 เส้นทางไป หัวหินและพัทยา

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง(ขร.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการขับเคลื่อนรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า(EV on Train) หรือรถไฟอีวี เพื่อผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ ตามนโนยายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ว่าองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า)อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนม.ค.2565 จากนั้นจะนำเสนอผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป


เบื้องต้นเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ใช้เทคโนโลยีรถไฟแบตเตอรี่ รูปแบบHydrogen Fuel Cell ในการเดินรถไฟอีวี ในช่วงที่มีระบบจ่ายไฟ โดยในระหว่างทางวิ่งช่วงที่มีระบบจ่ายไฟก็สามารถวิ่งและชาร์ตไปได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ส่วนช่วงที่ไม่มีระบบจ่ายไฟในระหว่างที่วิ่งก็ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่และค่อยชาร์ตที่สถานีปลายทาง


สำหรับแผนการพัฒนารถไฟไฟฟ้าเบื้องต้นไจก้านำเสนอการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือแผนระยะกลาง 2570 เสนอให้มีการเดินรถไฟไฟฟ้านำร่องจำนวน 3 เส้นทาง คือสายเหนือ 2 เส้นทางคือ บางซื่อ-บ้านภาชี-ลพบุรีและบางซื่อ-บ้านภาชี-บ้านหมอ(สระบุรี) ความถี่ในการเดินรถ 30 นาทีต่อขบวนต่อทิศทาง และสายตะวันออกเฉียงเหนือ บางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย ความถี่ความถี่ในการเดินรถ 30 นาทีต่อขบวนต่อทิศทาง


ส่วนแผนระยะยาวในปี 2575 เสนอให้มีการเดินรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทางนำร่อง สายเหนือ คือ ช่วง บางซื่อ-บ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 243 กม. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง บ้านภาชี-แก่งคอย-ชุมทางจิระ ระยะทาง 259 กม. สายใต้ ช่วง บางซื่อ-หัวหิน 222 กม. และสายตะวันออก ช่วงบางซื่อ-พัทยา ระยะทาง159 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งสรรหาผอ.สถาบันวิจัยฯระบบราง ลุยเทคโนโลยี EV หนุนผลิตชิ้นส่วนรถไฟในประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:59 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:59 น.



“คมนาคม”เร่งสรรหาผู้อำนวยการ”สถาบันวิจัยฯระบบราง”ในเม.ย.65 เดินหน้าทำยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการเทคโนโลยี และวิจัย EV ผลักดันสนับสนุนการผลิตขบวนรถ ชิ้นส่วนและวัสดุอุปกรณ์ระบบรางภายในประเทศทดแทนการนำเข้า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตาม ความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 3 วันที่ 24 ก.พ. 2565 ว่า ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ กระทรวงคมนาคม ได้สนองตอบนโยบายดังกล่าวโดยเร่งพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 เพื่อยกระดับขีดความสามารถระบบรางของไทย เสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

โดยสถาบันวิจัยฯ มีหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง พัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง โดยมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบาย Thai First รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV มาใช้ในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ซึ่ง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางเรียบร้อยแล้ว โดยมีการแต่งตั้ง รศ.ดร.โชติชัย เจริญงาม เป็นประธานกรรมการ และแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 ราย ได้แก่ 1. นายถาวร ชลัษเฐียร 2. ดร.เพียงออ เลาหะวิไลย 3. ผศ.พิศิษฐ์ แสง-ชูโต 4. นายสมโภชน์ อาหุนัย และ 5 ดร.สุเมธ องกิตติกุล

นอกจากนี้ คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ยังประกอบด้วยคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้แทนกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีระบบราง โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจควบคุมดูแลสถาบันวิจัยฯ ให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการของสถาบันวิจัยฯ เป็นไปตามกฎหมาย และวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยฯ

โดยหลังจากนี้ คณะกรรมการสถาบันวิจัยฯ จะดำเนินการคัดเลือกผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ต่อไป โดยคาดว่าจะดำเนินการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันฯ แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2565

ทั้งนี้ นโยบายของกระทรวงคมนาคมได้มีการผลักดันให้สถาบันวิจัยฯ สร้างความร่วมมือร่วมกับสถาบันการศึกษา ผู้ให้บริการด้านระบบราง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ซึ่ง สถาบันวิจัยฯ ได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง” เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 กับขร. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานวิชาชีพและหน่วยงานวิจัยและรับรองด้านระบบราง สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านระบบรางระดับอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านระบบรางระดับอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน และผู้ประกอบกิจการด้านระบบรางภาครัฐและเอกชน รวม 83 หน่วยงาน
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยฯ และสนับสนุนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตขบวนรถ ชิ้นส่วนและวัสดุอุปกรณ์ระบบรางภายในประเทศทดแทนการนำเข้า

ทั้งนี้การดำเนินการของสถาบันวิจัยฯ จะแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศ ผ่านบันทึกความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งทางรางกับประเทศภาคีที่มีความก้าวหน้าด้านระบบราง อาทิ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อให้สามารถผลักดันอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติม ให้สถาบันวิจัยฯ จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการดำเนินการแต่ละเรื่องที่มีความเร่งด่วนให้ชัดเจน รวมถึงเร่งรัดการจัดทำยุทธศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีระบบรางเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และได้เน้นย้ำให้คณะกรรมการสถาบันวิจัยฯ พิจารณาโครงสร้างองค์กรของสถาบันวิจัยฯ ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านระบบราง

X

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ ขร.และสถาบันวิจัยฯ แสวงหาความร่วมมือกับสถาบันระดับอาชีวศึกษาในการประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในระดับของผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้มีการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถาบันวิจัยฯ ผ่านสื่อในหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2022 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เร่งสรรหาผอ.สถาบันวิจัยฯระบบราง ลุยเทคโนโลยี EV หนุนผลิตชิ้นส่วนรถไฟในประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:59 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:59 น.


รฟท. ลุยพัฒนารถไฟ EV ต้นแบบ วิ่งเชื่อมลาดกระบัง-สจล.-หัวตะเข้
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:58 น.

รฟท. ลุยพัฒนารถไฟ EV ต้นแบบ ตั้งคณะทำงานร่วม สจล. เตรียมวิ่งใช้งาน เชื่อมสถานี ARL ลาดกระบัง-สถานี สจล.-สถานีหัวตะเข้ “ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งดำเนินการสนองนโยบายนายกฯ หนุนยานยนต์ไฟฟ้าในไทย


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเรื่อง การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ผ่านระบบ Zoom ว่า ที่ประชุมได้เร่งรัดการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train โดยเตรียมให้สถาบันวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ยื่นขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย EV จากเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565



นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้รับรายงานว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางราง ด้านรถจักรล้อเลื่อนเพี่อการพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนารถไฟ EV on Train ของประเทศไทย ซึ่งมีโครงการในการศึกษาและพัฒนารถไฟ EV Shuttle Train ต้นแบบ ที่จะวิ่งใช้งานเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) ลาดกระบัง สู่สถานี สจล. และสถานีหัวตะเข้

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ได้สั่งการเพิ่มเติมให้ศึกษาการใช้ EV on Train ในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ใช้ในเมืองด้วย เพื่อให้สามารถลดต้นทุนในการติดตั้ง และดำเนินการ รวมถึงให้กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และเร่งรัดแผนปฏิบัติการ (Action plan) เพื่อให้แปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานเรื่องดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 20-25% ภายในปี 73 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบขนส่งของประเทศ รวมทั้ง “นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive).
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/05/2022 9:03 am    Post subject: Reply with quote

ส่องแผน "รถไฟ EV" อนาคตระบบรางไทย จาก "ดีเซล" สู่ "รถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่" พลิกโฉม "ผู้นำระบบรางของอาเซียน"
เผยแพร่: 26 พ.ค. 2565 06:44
ปรับปรุง: 26 พ.ค. 2565 06:44
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ตามที่รัฐบาลมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางราง ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2578 มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ โดยกระทรวงคมนาคมได้ผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ระยะทางรวม 3,150 กม. ประกอบด้วย ระยะแรกจำนวน 5 เส้นทาง ระยะทาง 700 กม. ค่าก่อสร้าง 89,514.88 ล้านบาท ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กม. ค่าก่อสร้าง 266,975.99 ล้านบาท และเส้นทางสายใหม่จำนวน 2 เส้นทาง ระยะทาง 678 กม. ค่าก่อสร้าง 127,605.40 ล้านบาท ซึ่งคาดหวังว่าเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางขึ้น 30% และเป็นระบบหลักของการขนส่งสินค้า

ซึ่งรัฐได้ทุ่มเม็ดเงินกว่า 4.84 แสนล้านบาท โหมก่อสร้างเพื่อยกระดับเส้นทางรถไฟเป็นทางคู่ทั่วประเทศ พัฒนาระบบรถไฟระหว่างเมืองเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า ด้วยการเพิ่มความจุของทางรถไฟให้เป็นทางคู่...

แต่เมื่อหันมาที่รถจักรและล้อเลื่อนที่มีในปัจจุบันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามข้อมูลพบว่า หัวรถจักร รถโดยสาร รถสินค้า มีจำนวนรวม 4,955 คัน ประกอบด้วย รถจักร 219 คัน รถดีเซลราง 226 คัน รถโดยสาร 1,286 คัน รถสินค้า 3,219 คัน รถจักรไอน้ำ 5 คัน ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพเก่าอายุการใช้งานสูงกว่า 50 ปี...คงไม่ตอบโจทย์ในเรื่องประสิทธิภาพการขนส่งแน่นอน และเป็นเรื่องที่ รฟท.จะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับทางคู่ที่จะทยอยแล้วเสร็จ

Click on the image for full size

โดยรถจักร 219 คัน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

1. หัวรถจักรรุ่น General Electric (GE) จำนวน 45 คัน มีอายุการใช้งาน 54-57 ปี มีความพร้อมในการใช้งาน 73% ขณะนี้ได้มีการจัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) “อุลตร้าแมน” จำนวน 50 คันเข้ามาทดแทน โดยรับมอบแล้ว 20 คัน และจะเป็นหัวรถจักรใหม่เอี่ยมที่จะนำมาวิ่งทัพม้าเหล็กในปี 2565 นี้

2. หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นอัลสตอม : Alsthom (ALS) จำนวน 97คัน มีอายุการใช้งาน 36-47 ปี มีความพร้อมในการใช้งาน 74%

3. หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่น ฮิตาชิ : Hitachi (HID) จำนวน 21 คัน มีอายุการใช้งาน 28 ปี มีความพร้อมในการใช้งานประมาณ 74%

4. หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่น General Electric (GEA) จำนวน 36 คัน มีอายุการใช้งาน 25 ปี มีความพร้อมในการใช้งานประมาณ 74%

5. รถจักรดีเซลไฟฟ้า (CSR) จำนวน 20 คัน อายุการใช้งานที่ 6 ปี มีความพร้อมในการใช้งานถึง 84%

ปัจจุบันสภาพหัวรถจักรที่พร้อมใช้งานมีประมาณ 150 คันต่อวัน ขณะที่มีความต้องการใช้ถึงวันละ 200 คัน หรือยังขาดอีก 50-60 คันที่ต้องเร่งเติมเต็มในระยะแรก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งตามความจุของทางที่เพิ่มขึ้น

ในขณะเดียวกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถ ยังมีแผนดำเนินการการติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ หรือ ATP (Automatic Train Protection) รองรับมาตรฐาน ETCS level 1 กับรถจักรทุกรุ่นอีกด้วย



@ส่อง Action Plan รถไฟ EV จัดหา "รถจักร-ล้อเลื่อน" รองรับทางคู่

ทั้งนี้ รฟท.มีแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการจัดหารถจักรล้อเลื่อน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ

- ระยะสั้น ปี 2564-2566 ปรับปรุงรถจักร GE หรืออัลสตอม เป็น Hybrid หรือ Battery Locomotive จำนวน 4 คัน

- ระยะกลาง ปี 2565-2568 ซ่อมปรับปรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่น HID เป็น Hybrid Locomotive จำนวน 21 คัน งบ 777 ล้านบาท, ซ่อมปรับปรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่น GEA เป็น Hybrid Locomotive จำนวน 36 คัน งบ 1,692 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างดำเนินการรับฟังคำวิจารณ์ public Hearings, จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คัน รุ่นอุลตร้าแมน ซึ่งส่งมอบแล้ว 20 คัน

- แผนระยะยาว ปี 2565-2576 จัดหารถ 1,294 คัน วงเงินกว่า 1.1 แสนล้านบาท ได้แก่

1. โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ (Hybrid DMU) จำนวน 184 คัน งบประมาณ 14,260 ล้านบาท (ปี 2567 จำนวน 20 คัน ปี 2568 จำนวน 164 คัน ) 2. โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ (Hybrid DMU) จำนวน 216 คัน งบประมาณ 16,513.2 ล้านบาท (ปี 2568 จำนวน 26 คัน ปี 2569 จำนวน 190 คัน )

3. โครงการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน (Battery Shunting Locomotive) จำนวน 20 คัน งบประมาณ 1,200 ล้านบาท (ปี 2566 จำนวน 10 คัน ปี 2567 จำนวน 10 คัน) 4. โครงการเช่ารถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) จำนวน 30 คัน งบประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี (ดำเนินการปี 2566)

5. โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ (Hybrid DMU) รองรับรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 332 คัน งบประมาณ 27,954.4 ล้านบาท (ปี 2567 จำนวน 116 คัน ปี 2568 จำนวน 216 คัน) 6. โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ (Hybrid DMU) รองรับรถไฟทางคู่สายใหม่ (เชียงของ, นครพนม) จำนวน 102 คัน งบประมาณ 8,588.40 ล้านบาท (ปี 2568)

7. โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ (Hybrid DMU) รองรับรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 192 คัน งบประมาณ 17,145.6 ล้านบาท (ปี 2569 จำนวน 108 คัน ปี 2570 จำนวน 84 คัน) 8. โครงการจัดหารถดีเซลราง (Hybrid DMU) ทดแทนรถโดยสารท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 148 คัน งบประมาณ 7,846 ล้านบาท (ปี 2571)

นอกจากนี้ ยังมีแผนจัดหาเพื่อรองรับอนาคต ได้แก่ โครงการจัดหารถจักร (Hybrid หรือ Hydrogen Locomotive) จำนวน 20 คัน งบประมาณ 6,315.2 ล้านบาท (ปี 2572) และโครงการจัดหารถจักร (Hybrid หรือ Hydrogen Locomotive) จำนวน 50 คันงบประมาณ 15,788.1 ล้านบาท (ปี 2576)

@ผู้ว่าฯ รฟท.ลั่นปีนี้ลุยแผนหาเครื่องมือทำมาหากิน & ปรับปรุงยกเครื่องการให้บริการ

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าฯ รฟท.กล่าวว่า ในปี 2565 รฟท.จะเดินหน้าในการจัดหารถจักร ล้อเลื่อน ทั้งหัวรถจักร รถโดยสาร แคร่สินค้าซึ่งเป็นเครื่องมือในการให้บริการเพื่อสร้างรายได้ และเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่จะทยอยแล้วเสร็จ

โดยขณะนี้โครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ (Hybrid DMU) จำนวน 184 คัน สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในประเด็นของเทคนิค ว่าจะเป็นรถไฟ EV หรือไฮบริด และวิธีการระหว่างเช่ากับซื้อ ว่าวิธีใดจะคุ้มค่าในการดำเนินการมากกว่า

รฟท.ใช้งบลงทุนในการจัดหารถโดยสาร โดยกู้มาดำเนินการ และนำรถไฟนั้นมาหารายได้เพื่อใช้คืนเงินกู้ จึงไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด ซึ่งภาพรวม วิธีการเช่าจะง่ายรวดเร็วกว่าและไม่ต้องเป็นภาระด้านการซ่อมบำรุงอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต.) จำนวน 965 คัน วงเงินกว่า 2.3 พันล้านบาท ที่กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการจัดหาที่เหมาะสมและรวดเร็ว ไม่เป็นภาระด้านการเงิน โดย รฟท.เสนอวิธีเช่าดำเนินการ ซึ่งจะช่วยประหยัดในเรื่องการซ่อมบำรุงได้อีกด้วย

และการจัดหารถจักรสับเปลี่ยน ( Shunting) นำมาวิ่งในระยะทางสั้นๆ ซึ่งมองว่าจะเป็นรถไฟ EV 100% มีความเหมาะสม รวมไปถึงต้องดำเนินแผนการปรับปรุงรถจักรเก่า รถโดยสารเก่า มีการปรับปรุงห้องน้ำในรถโดยสารเป็นระบบปิด

Click on the image for full size

@เร่งศึกษาแผนเปลี่ยนเทคโนโลยี “EV on Train”

จากนโยบายรัฐบาลโดย "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รมว.คมนาคม ที่มุ่งเดินหน้าสู่ Carbon Neutrality and NetZero ด้วยการเริ่มให้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในส่วนของระบบราง การผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถไฟ หรือ “EV on Train” นั้น รฟท.กำลังดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับรถไฟขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยจะทำการดัดแปลงหัวรถจักรปัจจุบันมาใช้แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง

“นิรุฒ มณีพันธ์”กล่าวว่า คณะทำงานของ รฟท.ทำงานร่วมกับ สจล. และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาเทคโนโลยีด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อการพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุด และเพื่อให้การลงทุนเกิดความคุ้มค่าที่สุด

“ตอนนี้เรามองไปที่รถไฟ EV หรือรถไฟใช้แบตเตอรี่ หรือไฮโดรเจน ซึ่งก็ต้องดูว่ามีใช้กันแค่ไหน อย่างไร ราคาเป็นอย่างไร คุ้มหรือไม่ เดิมทีเรื่องพวกนี้จะคิดจากฝ่ายช่างกล และนำเสนอมาที่ผู้ว่าฯ แต่วันนี้ รฟท.ได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ช่วยกันพิจารณาเลือกเทคนิค เลือกเทคโนโลยีพลังงาน และวิธีการ จัดหาที่ดีและเหมาะสมกับ รฟท.โดยไม่เป็นภาระของรัฐ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นวิธีการทำงานรูปแบบใหม่สำหรับ รฟท.ที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่อนาคต คาดว่าแผนจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 เดือนนี้ เพราะต้องไม่ลืมว่าหากตัดสินใจได้ในปีนี้ ยังมีกระบวนการขั้นตอนการจัดหาที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ดังนั้นจึงต้องเร่งพิจารณาและตัดสินใจ ไม่เช่นนั้นทางคู่เสร็จ ก็จะมีแต่ทางรถไฟ แต่ไม่มีรถไฟวิ่งบริการ”

@รถไฟพลังงานแบตเตอรี่ ตอบโจทย์อนาคตระบบรางประเทศ

“อนันต์ โพธิ์นิ่มแดง” ผู้ช่วยผู้ว่าฯ รฟท.ด้านปฏิบัติการ อธิบายถึงเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ หรือรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Baterry Electrical Multiple Unit ; BEMU) ว่ามีให้บริการแล้วในหลายประเทศ ซึ่ง รฟท.อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลเพื่อประเมินเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระบบรางของไทยมากที่สุด

ปัจจุบันหัวจักรดีเซลไฟฟ้าที่ รฟท.ใช้งานอยู่ จะใช้น้ำมันดีเซลเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้าจ่ายผ่านหม้อแปลงเพื่อไปปั่นมอเตอร์ที่ติดอยู่ที่เพลาล้อให้เกิดการขับเคลื่อน หรือเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ดังนั้นการเลิกใช้น้ำมันดีเซลจึงต้องหาพลังงานทางเลือก คือ จะใช้พลังงานอะไรไปปั่นมอเตอร์

ขณะที่ก่อนหน้านี้ รฟท.มีแผนที่จะใช้ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว (Overhead Contact System : OCS) ซึ่งต้องมีการลงทุนก่อสร้าง และติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าไปตามเส้นทางรถไฟ และติดตั้งที่ตัวรถเพื่อรับสายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อจำกัดค่อนข้างมากทั้งในแง่การลงทุนและการใช้งาน

เปรียบเทียบกับปัจจุบันมีเทคโนโลยี รถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ หรือเรียกเข้าใจง่ายๆ เป็น รถไฟใส่ถ่าน จะไปวิ่งเส้นทางไหนก็ได้ มีความคล่องตัว ยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า เพราะสามารถนำไปวิ่งในเส้นทางใดก็ได้ และสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า

ในแง่การลงทุน ระบบไฟฟ้าเหนือหัว จากการศึกษา ร่วมกับญี่ปุ่น พบว่าเส้นทางรถไฟมีการเดินรถไม่ถึง 80 ขบวนต่อวัน จะไม่คุ้มค่า ในทางกลับกัน การลงทุนขบวนรถไม่สูงมาก ส่วนรถไฟแบบที่มีแบตเตอรี่ในตัว การลงทุนตัวรถสูงประมาณ 2 เท่า แต่ไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟเหนือหัวใดๆ

เบื้องต้นข้อมูลการลงทุนสายไฟเหนือหัว พร้อมสถานีจ่ายไฟตามเส้นทาง เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1 ล้านยูโร (ประมาณ 35 ล้านบาท ) ประเมินคร่าวๆ หากต้องการลงทุนระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัวเส้นทางจากบางซื่อ-อยุธยา ระยะทางประมาณ 60 กม. ค่าลงทุนประมาณ 2,100 ล้านบาท กรณีเป็นทางคู่ต้องติดระบบทั้ง 2 ทาง ค่าลงทุนเพิ่มเป็น 4,200 ล้านบาท

หาก...ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว สายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 700 กม. ต้องลงทุนประมาณ 24,500 ล้านบาทต่อระบบทางเดี่ยว กรณีทางคู่ ค่าลงทุนเพิ่มอีกเท่าตัว แม้จะลงทุนขบวนรถถูกกว่า แต่หากความถี่เส้นทางไม่ถึง 80 ขบวนต่อวัน สรุป... คือไม่คุ้มค่า

ดังนั้น การลงทุนระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัวจึงเหมาะกับเส้นทางในเมืองหรือระยะทางรอบเมือง รัศมี 300-500 กม. ซึ่ง รฟท.กำลังปรับแผน คาดว่าจะสรุปใน 1-2 เดือนนี้ จากนั้นจะเข้าบอร์ด รฟท.พิจารณา และเสนอไป สศช.เพื่อพิจารณาภาพรวมในการลงทุนต่อไป

“การหาเทคโนโลยีใหม่ที่มีความยืดหยุ่น เพื่อลดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นอีกเรื่องที่ตอบโจทย์อนาคตระบบรางประเทศ ซึ่ง รฟท.จะต้องศึกษาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และเร่ง "ปรับ-เปลี่ยน" เพื่อเป้าหมายประเทศไทยเป็นผู้นำระบบรางของอาเซียน!!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2022 3:06 pm    Post subject: Reply with quote

EA จับมือ China Railway พัฒนารถไฟ Hybrid Battery
การเงินการธนาคาร
วันอังคาร ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:44 น.

Click on the image for full size
EA เซ็นเอ็มโอยู China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) ลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery หวังยกระดับการเดินทางทางรางของไทย เทียบชั้นต่างประเทศ ปูทางสู่การสร้างโรงงานประกอบหัวรถจักร และขนส่งมวลชนไฮบริดแบตเตอรี่ ตลอดจนศูนย์ซ่อมบำรุงและซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูง เพิ่มการจ้างงานในประเทศ บูมเศรษฐกิจในระยะยาว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานพิธีลงนามความร่วมมือในการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery โดยมี กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) Mr.Luo Wen Managing Director – China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานทดแทนเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมในพิธีลงนาม



Mr.Luo Wen, Managing Director - China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) เปิดเผยว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนส่งเสริมและผลักดันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟอย่างจริงจัง พร้อมทั้งสนใจพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บริษัท China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA)ในกลุ่ม China Railway ซึ่งเป็นผู้นำการก่อสร้างที่ครอบคลุมขนาดใหญ่และทรงพลังที่สุดในโลก ด้วยประสบการณ์ในการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างทางรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ พร้อมทั้งความสามารถในการรวมทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพในภาคการผลิตหัวรถจักรรถไฟความเร็วสูง

โดยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการรถไฟของไทย พร้อมทั้งบูรณาการห่วงโซ่อุตสาหกรรมของจีนและไทยให้ก้าวหน้าและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ในประเทศไทย ร่วมกับ EA ผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานของประเทศไทย ทั้งการผลิตพลังงานสะอาด การจัดเก็บพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีชาร์จที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ และเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย ความร่วมมือระหว่าง CRCCSA และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) จะประสบความสำเร็จแห่งความสำเร็จในไม่ช้าอย่างแน่นอน

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA เปิดเผยว่า CRCCSA เป็นบริษัทในกลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited ถือเป็นบริษัทฯที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ยังเป็นหนึ่งในบริษัทผู้รับเหมาด้านวิศวกรรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีเครือข่ายทั่วโลกมากกว่า 130 ประเทศ ให้เกียรติมาพัฒนาและวิจัยร่วมกับ บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน Green Energy รายใหญ่ของประเทศไทย

นับเป็นโอกาสที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของ EA ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ที่ทันสมัยยกระดับการเดินทางทางรางให้เทียบเท่านานาประเทศ และคาดว่าเมื่อโครงการนี้สำเร็จจะเป็นจุดเริ่มต้นครั้งยิ่งใหญ่สู่การสร้างโรงงานประกอบหัวรถจักร และขนส่งมวลชนไฮบริดแบตเตอรี่ ตลอดจนศูนย์ซ่อมบำรุง และซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูง

ซึ่งทั้งหมดจะเป็นส่วนสนับสนุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ และลดการพึ่งพาหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล และเกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และยังสะท้อนความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นไปตามตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความตกลงปารีส

//-----------------------------

หน้าตารถจักรไฮบริต พลัง แบตเตอรี่ ที่ CRRC ต้าเหลียน ส่งออกมาเมืองไทย โดยโหลดขึ้นท่าเรือเทียนสิน เมื่อ 17 กรกฎาคม 2022 นับว่าเป็นรถจักรพลังงานแบตเตอรี่ ที่ CRRC ต้าเหลียน ส่งออกไปขายต่างประเทศ จากโรงงานใหม่ของต้าเหลียน ออกมาเขียว ฟ้าสดใสดีนัก

https://mp.weixin.qq.com/s/a5U86BXK8p-lnT3wx_heBw
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 10, 11, 12  Next
Page 4 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©