Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13257992
ทั้งหมด:13569268
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - นำเข้ารถดีเซลราง KiHa 183 JR Hokkaido 17 คัน และ Hamanasu
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

นำเข้ารถดีเซลราง KiHa 183 JR Hokkaido 17 คัน และ Hamanasu
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 32, 33, 34  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2021 8:55 am    Post subject: Reply with quote

เคลียร์ปมดราม่า ขนาดความกว้างล้อรถไฟบริจาคของญี่ปุ่นไม่ใช่ปัญหา ปรับได้ 3 คันต่อวัน
ไทยโพสต์ 21 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 06:39 น.

21 ก.ย.64 - หลังเกิดปมดรามามีสื่อบางสำนักโจมตีว่า รถดีเซลราง จำนวน17 คัน ที่ บริษัท JR Hokkaido ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทยนั้น ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ เพราะมีขนาดความกว้างของล้อไม่เท่ากันนั้น ล่าสุดเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย ยืนยันรถดีเซลรางญี่ปุ่นมอบให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดีและคุ้มค่า โรงงานมักกะสันพร้อมปรับความกว้างล้อเป็น 1 เมตร พร้อมเป็นขบวนท่องเที่ยวและเฟิร์สคลาสต่อไป

จากที่ บริษัท JR Hokkaido ได้มอบรถดีเซลราง จำนวน17 คัน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย รฟท.รับผิดชอบเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเท่านั้น โดยมีการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อหลายแขนง ในเรื่องความคุ้มค่าเพราะเห็นว่ารถไฟจากญี่ปุ่นได้ใช้งานมาแล้ว 30 - 40 ปี อีกทั้งมีขนาดความกว้างของล้อ 1.06 เมตร ขณะที่ รางรถไฟไทยมีขนาดกว้าง 1 เมตร ทำให้ รฟท. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายการช่างกล การรถไฟฯ ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

ปัจจุบันในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาค ใช้ขนาดความกว้างของรางรถไฟแตกต่างกันออกไป เช่น ยุโรป และ จีนใช้ความกว้างของราง ขนาด 1.435 เมตร หรือเรียกว่า Standard Gauge ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน บังคลาเทศ อินเดีย ใช้ความกว้างของรางขนาด 1.60 เมตร ซึ่งการกำหนดความกว้างของรางนั้น เป็นเรื่องของการใช้พื้นที่และการเชื่อมโยงกันในภูมิภาคเป็นปัจจัยสำคัญ

ขณะที่ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ส่วนมากใช้ความกว้างของรางขนาด 1.00 - 1.067 เมตร โดย รฟท. มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐานเดียวกันคือ Narrow Gauge โดยความกว้างของรางขนาด 1.00 เมตร ของ รฟท. นั้น สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าได้

ขนาดความกว้างของล้อ

กรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที ซึ่งการปรับปรุงสภาพรถและปรับขนาดความกว้างของฐานล้อเป็นเรื่องที่ศูนย์แผนงานและการผลิต โรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล ดำเนินการเป็นปกติทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน

สำหรับกรณีการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอน หนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ

ความคุ้มค่า

ที่ผ่านมาในอดีต รฟท. เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ซึ่งหลังจากปรับปรุงแล้วสามารถนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่ง รฟท. ได้นำรถโดยสารปรับอากาศ JR West ที่ได้รับ มาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะเพื่อใช้ในกิจการรถไฟ อาทิเช่น ตู้ SRT Prestige และ SRT VIP Train (ขบวนรถหรูสีน้ำเงินเข้มคาดทอง รถไฟชั้นเฟิร์สคลาส) และเคยเป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เดินทาง และใช้ประชุม ครม.สัญจรหลายครั้ง นอกจากนี้ ยังให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในรูปแบบของขบวนรถท่องเที่ยว เช่น รถ OTOP Train อีกด้วย ถือเป็นขบวนรถไฟที่มีผู้โดยสารจองเช่าใช้บริการมากที่สุด เพราะมีความสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันโดยในปีงบประมาณ 2562 รฟท. มีรายได้จากการให้เช่ารถไฟเฟิร์สคลาส และขบวนรถพิเศษรวมกว่า 10 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้ลดลงเหลือประมาณ 5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังนำรถ JR West บางส่วนมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถแค้มป์คาร์ของฝ่ายการช่างโยธา รถ Power car รถสำหรับผู้พิการ Wheel chair ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท. ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก

ส่วนรถโดยสารควีนแลนด์ ปัจจุบัน รฟท. ยังใช้ให้บริการในขบวนรถชานเมืองเป็นประจำทุกวัน โดยสังเกตุได้จากขบวนรถที่ทำจาก Stainless คาดสีเขียว ซึ่งล้วนเป็นรถไฟที่ รฟท. ได้รับมาและดำเนินการซ่อมบำรุง และปรับปรุงความกว้างของฐานล้อทั้งสิ้น ซึ่งยังสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี

สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ 10 คันที่ JR Hokkaido มอบมาก่อนหน้านี้ รฟท. มีแผนจะดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนการปรับปรุงความกว้างของฐานล้อ จาก 1.067 เมตรเป็น 1.00 เมตร เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันจอดอยู่ที่ ศรีราชา และ รฟท. อยู่ระหว่างประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อทำการดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ตามที่มีการร่วมมือกับ ทาง TCDC และมีการวางแผน ทางการตลาดไปก่อนหน้านั้น ส่วนขบวนรถ ดีเซลราง Kiha183 จำนวน 17 คันล่าสุดนั้น หลังจากรับเข้ามาแล้ว จะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็นปตามแผนงานตามมาตรฐาน ของ รฟท. โดยคาดว่าจะสามารถทยอย นำออกให้บริการได้ ภายในต้นปี 2565

อะไหล่ซ่อมบำรุง

ส่วนประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม รถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้น การซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อน ส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น

สำหรับรถดีเซลรางที่ทางบริษัท JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่น ได้มอบให้ การรถไฟฯ ถือเป็นความร่วมมือและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยการรถไฟฯ มีหนังสือตอบรับมอบรถดีเซลราง ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2560 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายจึงทำให้ล่าช้ามาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท JR Hokkaido จึงได้ว่าจ้างบริษัททำการขนย้ายรถไฟทั้ง 17 คัน ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ขบวนรถดีเซลรางอยู่ในสภาพดีได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากทางญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากที่การรถไฟฯ ได้รับมอบตู้โดยสารแล้วจะมีการเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกครั้ง ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2021 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เคลียร์ปมดราม่า ขนาดความกว้างล้อรถไฟบริจาคของญี่ปุ่นไม่ใช่ปัญหา ปรับได้ 3 คันต่อวัน
ไทยโพสต์ 21 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 06:39 น.

รฟท.ยันรถไฟญี่ปุ่นมือสองคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ รง.มักกะสันปรับขนาด 1 เมตรวิ่งฉลุย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:40 น.
ปรับปรุง: 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:40 น.

รฟท.ยืนยันรถดีเซลรางญี่ปุ่นมอบให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดีและคุ้มค่า โรงงานมักกะสันพร้อมปรับความกว้างล้อเป็น 1 เมตร พร้อมเป็นขบวนท่องเที่ยวและเฟิสต์คลาสต่อไป

จากที่บริษัท JR Hokkaido ได้มอบรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย รฟท.รับผิดชอบเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเท่านั้น โดยมีการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อหลายแขนงในเรื่องความคุ้มค่าเพราะเห็นว่ารถไฟจากญี่ปุ่นได้ใช้งานมาแล้ว 30-40 ปี อีกทั้งมีขนาดความกว้างของล้อ 1.06 เมตร ขณะที่รางรถไฟไทยมีขนาดกว้าง 1 เมตร ทำให้ รฟท.ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายการช่างกล การรถไฟฯ ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

ประเด็นขนาดความกว้างของราง ปัจจุบันในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาคใช้ขนาดความกว้างของรางรถไฟแตกต่างกันออกไป เช่น ยุโรป และจีนใช้ความกว้างของรางขนาด 1.435 เมตร หรือเรียกว่า Standard Gauge ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน บังกลาเทศ อินเดีย ใช้ความกว้างของรางขนาด 1.60 เมตร ซึ่งการกำหนดความกว้างของรางนั้น เป็นเรื่องของการใช้พื้นที่และการเชื่อมโยงกันในภูมิภาคเป็นปัจจัยสำคัญ

ขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ส่วนมากใช้ความกว้างของรางขนาด 1.00-1.067 เมตร โดย รฟท.มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐาน
เดียวกันคือ Narrow Gauge โดยความกว้างของรางขนาด 1.00 เมตรของ รฟท.นั้นสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าได้

ขนาดความกว้างของล้อ กรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท.แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิกที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที ซึ่งการปรับปรุงสภาพรถและปรับขนาดความกว้างของฐานล้อเป็นเรื่องที่ศูนย์แผนงานและการผลิต โรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล ดำเนินการเป็นปกติทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน

สำหรับกรณีการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ

ในเรื่องความคุ้มค่า ที่ผ่านมาในอดีต รฟท.เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ซึ่งหลังจากปรับปรุงแล้วสามารถนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

รฟท.ได้นำรถโดยสารปรับอากาศ JR West ที่ได้รับมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะเพื่อใช้ในกิจการรถไฟ เช่น ตู้ SRT Prestige และ SRT VIP Train (ขบวนรถหรูสีน้ำเงินเข้มคาดทอง รถไฟชั้นเฟิสต์คลาส) และเคยเป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เดินทาง และใช้ประชุม ครม.สัญจรหลายครั้ง

นอกจากนี้ ยังให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในรูปแบบของขบวนรถท่องเที่ยว เช่น รถ OTOP Train อีกด้วย ถือเป็นขบวนรถไฟที่มีผู้โดยสารจองเช่าใช้บริการมากที่สุด เพราะมีความสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยในปีงบประมาณ 2562 รฟท.มีรายได้จากการให้เช่ารถไฟเฟิสต์คลาส และขบวนรถพิเศษรวมกว่า 10 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้ลดลงเหลือประมาณ 5 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังนำรถ JR West บางส่วนมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถแคมป์คาร์ของฝ่ายการช่างโยธา รถ Power car รถสำหรับผู้พิการ Wheel chair ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท.ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก

ส่วนรถโดยสารควีนแลนด์ ปัจจุบัน รฟท.ยังใช้ให้บริการในขบวนรถชานเมืองเป็นประจำทุกวัน โดยสังเกตได้จากขบวนรถที่ทำจาก Stainless คาดสีเขียว ซึ่งล้วนเป็นรถไฟที่ รฟท.ได้รับมาและดำเนินการซ่อมบำรุง และปรับปรุงความกว้างของฐานล้อทั้งสิ้น ซึ่งยังสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี

สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ 10 คันที่ JR Hokkaido มอบมาก่อนหน้านี้ รฟท.มีแผนจะดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนการปรับปรุงความกว้างของฐานล้อจาก 1.067 เมตรเป็น 1.00 เมตรเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันจอดอยู่ที่ศรีราชา และ รฟท.อยู่ระหว่างประกาศการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อทำการดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ตามที่มีการร่วมมือกับทาง TCDC และมีการวางแผน ทางการตลาดไปก่อนหน้านั้น ส่วนขบวนรถดีเซลราง Kiha183 จำนวน 17 คันล่าสุดนั้น หลังจากรับเข้ามาแล้วจะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็นไปตามแผนงานตามมาตรฐานของ รฟท. โดยคาดว่าจะสามารถทยอยนำออกให้บริการได้ภายในต้นปี 2565

ส่วนประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมรถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้น การซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อนส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้าทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น

สำหรับรถดีเซลรางที่ทางบริษัท JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่นได้มอบให้การรถไฟฯ ถือเป็นความร่วมมือและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างการรถไฟฯ กับบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยการรถไฟฯ มีหนังสือตอบรับมอบรถดีเซลรางตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2560 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายจึงทำให้ล่าช้ามาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท JR Hokkaido จึงได้ว่าจ้างบริษัททำการขนย้ายรถไฟทั้ง 17 คัน

จากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ขบวนรถดีเซลรางอยู่ในสภาพดี ได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากทางญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากที่การรถไฟฯ ได้รับมอบตู้โดยสารแล้วจะมีการเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกครั้ง ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2021 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวปลอม! อย่าแชร์ รถไฟญี่ปุ่นมือสองที่บริจาคให้ไทยใช้ไม่ได้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
21 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:29 น.

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารประเด็นเรื่อง รถไฟญี่ปุ่นมือสองที่บริจาคให้ไทย วิ่งบนรางรถไฟไทยไม่ได้ และไม่คุ้มค่าในการนำมาใช้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการให้ข้อมูลที่ระบุว่า รถไฟที่ญี่ปุ่นได้บริจาคให้กับไทยนั้น ถูกใช้งานมาแล้ว 30 -​ 40 ปี อีกทั้งมีขนาดความกว้างของล้อ 1.06 เมตร ขณะที่รางรถไฟไทยมีขนาดกว้าง 1 เมตร ทำให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม หรือ รฟท. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงจำนวนมาก ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นดังกล่าวว่า

ปัจจุบันในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาค ใช้ขนาดความกว้างของรางรถไฟแตกต่างกันออกไป เช่น ยุโรป และจีนใช้ความกว้างของราง ขนาด 1.435 เมตร หรือเรียกว่า Standard Gauge ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน บังคลาเทศ อินเดีย ใช้ความกว้างของรางขนาด 1.60 เมตร ซึ่งการกำหนดความกว้างของรางนั้น เป็นเรื่องของการใช้พื้นที่และการเชื่อมโยงกันในภูมิภาคเป็นปัจจัยสำคัญ ขณะที่ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ส่วนมากใช้ความกว้างของรางขนาด 1.00 -​ 1.067 เมตร โดย รฟท. มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐานเดียวกันคือ Narrow Gauge โดยความกว้างของรางขนาด 1.00 เมตร ของ รฟท. นั้น สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาได้


ในกรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที ซึ่งการปรับปรุงสภาพรถและปรับขนาดความกว้างของฐานล้อเป็นเรื่องที่ศูนย์แผนงานและการผลิต โรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล ดำเนินการเป็นปกติทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน ซึ่งการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ

ด้านของความคุ้มค่านั้น ที่ผ่านมาในอดีต รฟท. เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่นในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ซึ่งหลังจากปรับปรุงแล้วสามารถนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

รฟท. ได้นำรถโดยสารปรับอากาศ JR West ที่ได้รับ มาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะเพื่อใช้ในกิจการรถไฟ อาทิเช่น ตู้ SRT Prestige และ SRT VIP Train (ขบวนรถหรูสีน้ำเงินเข้มคาดทอง รถไฟชั้นเฟิร์สคลาส) และเคยเป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เดินทาง และใช้ประชุม ครม.สัญจรหลายครั้ง นอกจากนี้ ยังให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในรูปแบบของขบวนรถท่องเที่ยว เช่น รถ OTOP Train อีกด้วย ถือเป็นขบวนรถไฟที่มีผู้โดยสารจองเช่าใช้บริการมากที่สุด เพราะมีความสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

ในปีงบประมาณ 2562 รฟท. มีรายได้จากการให้เช่ารถไฟเฟิร์สคลาส และขบวนรถพิเศษรวมกว่า 10 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้ลดลงเหลือประมาณ 5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังนำรถ JR West บางส่วนมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถแค้มป์คาร์ของฝ่ายการช่างโยธา รถ Power car รถสำหรับผู้พิการ Wheel chair ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท. ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก

ส่วนรถโดยสารควีนแลนด์ ปัจจุบัน รฟท. ยังใช้ให้บริการในขบวนรถชานเมืองเป็นประจำทุกวัน โดยสังเกตุได้จากขบวนรถที่ทำจาก Stainless คาดสีเขียว ซึ่งล้วนเป็นรถไฟที่ รฟท. ได้รับมาและดำเนินการซ่อมบำรุง และปรับปรุงความกว้างของฐานล้อทั้งสิ้น ซึ่งยังสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี

สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ 10 คันที่ JR Hokkaido มอบมาก่อนหน้านี้ รฟท. มีแผนจะดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนการปรับปรุงความกว้างของฐานล้อ จาก 1.067 เมตรเป็น 1.00 เมตร เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันจอดอยู่ที่ ศรีราชา และ รฟท. อยู่ระหว่างประกาศการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อทำการดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ตามที่มีการร่วมมือกับ ทาง TCDC และมีการวางแผน ทางการตลาดไปก่อนหน้านั้น ส่วนขบวนรถ ดีเซลราง Kiha183 จำนวน 17 คันล่าสุดนั้น หลังจากรับเข้ามาแล้ว จะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็นไปตามแผนงานตามมาตรฐาน ของ รฟท. โดยคาดว่าจะสามารถทยอยนำออกให้บริการได้ ภายในต้นปี 2565

ประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมรถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้น การซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อน ส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น ยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น

สำหรับรถดีเซลรางที่ทางบริษัท JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่น ได้มอบให้การรถไฟฯ ถือเป็นความร่วมมือและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยการรถไฟฯ มีหนังสือตอบรับมอบรถดีเซลราง ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2560 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายจึงทำให้ล่าช้ามาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท JR Hokkaido จึงได้ว่าจ้างบริษัททำการขนย้ายรถไฟทั้ง 17 คัน ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ขบวนรถดีเซลรางอยู่ในสภาพดี ได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากทางญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากที่การรถไฟฯ ได้รับมอบตู้โดยสารแล้วจะมีการเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกครั้ง ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลต่อไป

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่ เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com หรือโทร Call Center 1690

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รถไฟที่ JR Hokkaido มอบให้ไทยนั้น เมื่อรฟท. นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที ซึ่งการดันล้อที่มีความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร เป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติอยู่แล้ว และจะนำมาใช้งานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลต่อไป

สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2021 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลปรับโฉมรถไฟมือสอง
Source - เดลินิวส์
Tuesday, November 02, 2021 08:08

Click on the image for full size

'JR HOKKAIDO' 10 คัน 104 ล้าน พาเที่ยวน้ำตก/เชียงใหม่-ลำปาง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้ รฟท. ได้เสนอร่างประกาศ รฟท. และร่างเอกสาร การประกวดราคาจ้างดัดแปลงปรับปรุงรถโดยสารปรับอากาศ JR HOKKAIDO เป็นรถท่องเที่ยว จำนวน 10 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินประมาณ 104 ล้านบาท ให้นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. พิจารณาแล้ว เบื้องต้นคาดว่าจะประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ได้ในเดือน พ.ย. 64 ก่อนเปิดประมูลในเดือน ธ.ค.นี้ และลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลประมาณเดือน ก.พ. 65 จากนั้นเดือน มี.ค. ผู้รับจ้างต้องดำเนินการดัดแปลงและปรับปรุงสภาพให้แล้วเสร็จ และส่งมอบรถชุดแรก 5 คันให้ รฟท. ประมาณเดือน ต.ค. 65 ก่อน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับรถ JR HOKKAIDO จำนวน 10 คัน ได้รับมอบมาจากบริษัท JR Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ช่วงปลายปี 59 ประกอบด้วย รถ OHA ชนิด 48 ที่นั่ง และ 72 ที่นั่ง รวม 5 คัน และรถ SUHAFU ชนิด 64 ที่นั่ง 5 คัน โดย รฟท. จะ

นำมาพัฒนาเป็นรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับให้บริการประชาชน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยการว่าจ้างดัดแปลงครั้งนี้ แบ่งงานออกเป็น 7 ส่วนคือ 1.งานโครงสร้างตัวรถ 2.งานทำสีภายใน ภายนอก (ทั้งคัน) 3.งานตกแต่งภายใน งานติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 4.งานระบบไฟฟ้าต้นกำลัง และไฟฟ้าแสงสว่าง 5.งานดัดแปลงห้องน้ำ (ระบบปิด) 6.งานปรับปรุงด้านวิศวกรรม และ 7.งานปรับปรุงระบบเครื่องปรับอากาศ

ปัจจุบันรถ JR HOKKAIDO จอดอยู่ที่ชุมทางศรีราชา จ.ชลบุรี โดย รฟท. จะส่งมอบรถโดยสาร JR HOKKAIDO ชุดที่ 1 จำนวน 5 คัน ภายใน 15 วันนับจากวันที่ลงนาม ในสัญญาฯ ซึ่งผู้รับจ้างต้องดัดแปลง และปรับปรุงสภาพให้แล้วเสร็จ และส่งมอบรถคืนให้ รฟท. ชุดที่ 1 จำนวน 5 คัน ภายในระยะเวลา 8 เดือน จากนั้น รฟท. จะส่งมอบรถชุดที่ 2 อีก 5 คัน โดยผู้รับจ้างต้องดัดแปลง และปรับปรุงสภาพให้แล้วเสร็จ และส่งมอบรถคืนให้ รฟท. ชุดที่ 2 จำนวน 5 คัน ภายในระยะเวลา 15 เดือน นับจากวันที่ได้รับมอบรถชุดที่ 1 จาก รฟท.

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะนี้ รฟท. ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ออกแบบเสร็จแล้ว โดยแนวคิดการออกแบบ และสีสันแต่ละขบวน จะมีเอกลักษณ์ และลักษณะที่แตกต่างตามเส้นทางที่ให้บริการของรถไฟ จะช่วยสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ และช่วยสร้างบรรยากาศที่ไม่จำเจ อีกทั้งสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ โดยที่นั่งมีทั้งแบบหันหน้าเข้าหาหน้าต่าง เพื่อชมวิว หรือปรับเบาะหันหน้าเข้าหากัน ทั้งนี้เบื้องต้นรถ JR HOKKAIDO 5 คันแรกที่ดัดแปลง และปรับปรุงสภาพแล้วเสร็จ ทาง รฟท. มีแผนจะนำไปใช้ในการให้บริการสำหรับการท่องเที่ยวใน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเชียงใหม่-ลำปาง และเส้นทาง กรุงเทพฯน้ำตก คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณเดือน พ.ย.-ธ.ค.65

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การดัดแปลง และปรับปรุงสภาพรถโดยสารปรับอากาศ JR HOKKAIDO เป็นรถท่องเที่ยวจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ รฟท. ตลอดจนเป็นการเปิดประสบการณ์เดินทาง ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้เกิดความประทับใจ สร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ดีของประเทศ และเป็นการกระจายรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่งด้วย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2021 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

KIHA 183 ที่ Sakamori Wharf กำลังลงเรือมาเมืองไทยแล้วจ้า
https://twitter.com/jj8ikq/status/1460424626241032194?s=21


ชมบรรยากาศ ตอนยกรถไฟญี่ปุ่นมือสอง Kiha 183 และแคร์ล้อ ขึ้นเรือที่ท่าเรือเกาะฮอกไกโด
https://www.youtube.com/watch?v=5HoDb7hG6HI


Last edited by Wisarut on 11/12/2021 6:12 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2021 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
KIHA 183 ที่ Sakamori Wharf กำลังลงเรือมาเมืองไทยแล้วจ้า
https://twitter.com/jj8ikq/status/1460424626241032194?s=21

JR車両の船積み延期 強風のため タイヘ輸出
11/16 21:21
https://www.hokkaido-np.co.jp/sp/amp/article/612378

 室蘭港崎守埠頭(ふとう)で行われる予定だった、タイへ輸出する中古JR車両の船積み作業が16日、強風のため延期された。

 輸出されるのは、JR北海道の特急「オホーツク」(札幌―網走)や「大雪」(旭川―網走)などで使われていた車両で、「キハ183系」などの20両。2017年に引退し、同年から室蘭で保管されている。作業は17日に再開する予定。(久保耕平)

【JR北】崎守埠頭に居たキハ183系が船積みのため輸送
https://2nd-train.net/topics/article/35812/

Click on the image for full size

2021年11月16日、崎守埠頭で輸出待ちをしてキハ183系が船積みのため輸送されました。崎守埠頭のキハ183系17両は、タイ国鉄へ譲渡されることが北海道新聞などで報じられています。2020年3月25/26日に、陣屋町(室蘭)に留置されていたキハ183系は崎守埠頭へ陸送されていました。


Last edited by Mongwin on 17/11/2021 12:28 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2021 12:02 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
KIHA 183 ที่ Sakamori Wharf กำลังลงเรือมาเมืองไทยแล้วจ้า
https://twitter.com/jj8ikq/status/1460424626241032194?s=21

เลื่อนการจัดส่งรถ JR ส่งออกไทยเนื่องจากลมแรง
11/16 21:21
https://www.hokkaido-np.co.jp/sp/amp/article/612378

 งานขนส่งรถไฟ JR มือสองที่จะส่งออกไปยังประเทศไทยซึ่งมีกำหนดจะดำเนินการที่ท่าเรือ Muroran Port Sakimori ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 16 เนื่องจากลมแรง

รถไฟที่ส่งออกคือรถไฟที่ใช้ใน JR Hokkaido limited express "Okhotsk" (Sapporo-Abashiri) และ "Taisetsu" (Asahikawa-Abashiri) และรถพ่วง 20 คันคือ "Kiha 183 series" ปลดระวางในปี 2017 และถูกเก็บไว้ใน Muroran ตั้งแต่ปีเดียวกัน งานมีกำหนดจะกลับมาดำเนินการในวันที่ 17 (รายงานโดย โคเฮ คูโบะ)

[JR North] Kiha 183 series ที่ท่าเรือ Sakimori Wharf เพื่อขนส่งทางเรือ
https://2nd-train.net/topics/article/35812/

Click on the image for full size

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 Kiha 183 series ถูกขนส่งเพื่อจัดส่งที่ท่าเรือ Sakimori เพื่อรอการส่งออก มีรายงานในหนังสือพิมพ์ ฮอกไกโดชิมบุนว่าขบวนรถซีรีส์ 17 Kiha 183 ที่ท่าเรือซากิโมริจะถูกโอนไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2020 ซีรีส์ Kiha 183 ที่ถูกกักขังอยู่ที่ Jinyamachi (Muroran) ได้ถูกขนส่งทางบกไปยังท่าเรือ Sakimori Wharf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2021 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

รถเจอาร์ ฮอกไกโด KIHA183 มาถึงแล้ว
https://www.facebook.com/groups/trainphotogallery/posts/3994146420685143/

Kiha183 จำนวน17คัน(หัวใหญ่8 หัวเล็ก1 รถพ่วง8คัน) เลขที่มีในไทย
รถไม่มีห้องขับ
キハ182-22
キハ182-23
キハ182-29
キハ182-30
キハ182-39
キハ182-40
キハ182-41
キハ182-42
รถมีห้องขับ
キハ183-104 เเคปเตี้ย
キハ183-208
キハ183-209
キハ183-210
キハ183-211
キハ183-212
キハ183-215
キハ183-218
キハ183-219
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4684503561596552

UPDATE: รถดีเซลราง KIHA183 17 คัน ออกเดินทางจากเกาะฮอกไกโดของญี่ปุ่น ถึงไทยแล้ว
รถดีเซลราง จาก JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่น ที่บริจาคให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 17 คัน ในโอกาสรักษาความสัมพันธ์ระหว่าง รฟท. และบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน ถูกขนย้ายจากท่าเรือซากิโมริ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ถึงประเทศไทยแล้ว
สำหรับรถไฟดีเซล รุ่น KIHA183 ได้รับบริจาคจากประเทศญี่ปุ่นจำนวน 17 คัน ราคากลาง 42,500,000 บาท มีบริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบทำการขนย้าย โดยประเทศไทยจะต้องจ่ายค่าขนย้ายเอง
ก่อนหน้านี้ นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การรถไฟฯ เคยได้รับตู้โดยสารรถไฟจากประเทศญี่ปุ่น (บริษัท JR-West) เพื่อใช้ในกิจการรรถไฟมาแล้ว โดยนำมาปรับปรุงและดัดแปลงเป็นรถโดยสารและรถจัดเฉพาะ สร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เป็นอย่างดี
ส่วนความร่วมมือระหว่างการรถไฟฯ และ JR Hokkaido ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือในการมอบตู้โดยสารเป็นครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกได้ส่งมาให้ประเทศไทยแล้วจำนวน 10 ตู้ เมื่อเดือนตุลาคม 2561 และอยู่ระหว่างกระบวนการปรับปรุงดัดแปลง เพื่อใช้สำหรับเป็นขบวนรถด้านการท่องเที่ยวแล้ว โดยการออกแบบนั้น ใน 1 ขบวน มีตู้โดยสาร 5 คัน แบ่งเป็นรถนั่งทั่วไป 3 คัน รถสำหรับครอบครัว 1 คัน และรถพักผ่อน 1 คัน
https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/3170579209859124
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2021 11:25 am    Post subject: Reply with quote

มุมมองผ่านรั้ว kiha 183 ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ในส่วนของท่า A2 วันที่ 07 ธันวาคม 2564
https://www.facebook.com/SthaniRthfiSayTawanXxkNiPrathesthiy/posts/285913726880468

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา บริษัท ไทยแหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (TLT) ในเครือบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ให้การต้อนรับเรือบรรทุกสินค้า M.V. SEA WISDOM VOY.30 เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือ เอ 2 ท่าเรือแหลมฉบัง
โดยบริษัทฯ ได้ทำการขนถ่ายรถตู้รถไฟนำเข้าจากญี่ปุ่น จำนวน 17 ตู้ โดยเสร็จสมบูรณ์และปลอดภัย และจะส่งมอบให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นการต่อไป
https://www.facebook.com/hutchisonportsthailand/posts/1938890306271225


Last edited by Wisarut on 08/12/2021 4:04 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2021 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
มุมมองผ่านรั้ว kiha 183 ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ในส่วนของท่า A2 วันที่ 07 ธันวาคม 2564
https://www.facebook.com/SthaniRthfiSayTawanXxkNiPrathesthiy/posts/285913726880468

รถไฟมือสองจากญี่ปุ่นมาถึงไทย รอลุ้นการรถไฟฯ ดัดแปลงเป็นขบวนท่องเที่ยว
เผยแพร่: 8 ธ.ค. 2564 15:11 ปรับปรุง: 8 ธ.ค. 2564 15:11 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
ภาพ : Hutchison Ports Thailand

เผยโฉมขบวนรถไฟ 17 ตู้ จากญี่ปุ่น เทียบท่าขึ้นท่าเรือแหลมฉบัง หลังบริษัทรถไฟฮอกไกโด บริจาคให้การรถไฟฯ ฟรีๆ แต่ต้องออกค่าขนส่งเอง ซึ่งมีแผนที่จะนำมาดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว

วันนี้ (8 ธ.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า เฟซบุ๊ก Hutchison Ports Thailand ของบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้พัฒนาท่าเทียบเรือที่แหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โพสต์ภาพขบวนรถไฟที่นำขึ้นมาจากเรือ พร้อมข้อความระบุว่า "เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา บริษัท ไทยแหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (TLT) ในเครือบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ให้การต้อนรับเรือบรรทุกสินค้า M.V. SEA WISDOM VOY.30 เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือ เอ 2 ท่าเรือแหลมฉบัง โดยบริษัทฯ ได้ทำการขนถ่ายรถตู้รถไฟนำเข้าจากญี่ปุ่น จำนวน 17 ตู้ โดยเสร็จสมบูรณ์และปลอดภัย และจะส่งมอบให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นการต่อไป"

อ่านโพสต์ต้นฉบับ คลิกที่นี่

สำหรับตู้รถไฟนำเข้าจากญี่ปุ่น 17 ตู้ เป็นรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้มอบให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่ต้องออกค่าขนส่งและบำรุงรักษาเอง ทำให้ในเวลาต่อมาการรถไฟฯ ได้จัดซื้อจัดจ้างขนย้ายรถดีเซลราง JR Hokkaido จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน และได้เลือกให้ บริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ขนย้าย เป็นเงินทั้งสิ้น 42.25 ล้านบาท โดยเบื้องต้นการรถไฟฯ มีแผนจะนำมาดัดแปลงเป็นขบวนรถส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ


เวลคัม!รถดีเซลราง'KIHA183'17คัน
Source - เดลินิวส์
Thursday, December 09, 2021 05:20

รถไฟมือสองญี่ปุ่นบริจาคให้ไทย ปรับปรุงสภาพเปิดบริการปีหน้า

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้บริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับ คัดเลือกจาก รฟท. ได้ขนย้ายรถไฟดีเซลราง KIHA 183 จำนวน 17 คัน จากท่าเรือมุโระรัง ประเทศญี่ปุ่น มาถึงท่าเทียบเรือ เอ 2 ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ประเทศไทย เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะขนย้ายรถไฟไปยังพื้นที่ของ รฟท. บริเวณสถานีรถไฟแหลมฉบัง ก่อนปรับปรุงเครื่องยนต์ ลดขนาดความกว้างของล้อรถ เนื่องจากที่ประเทศญี่ปุ่นใช้รางรถไฟขนาด 1.067 เมตร ขณะที่ประเทศไทยใช้รางรถไฟขนาด 1 เมตร รวมทั้งต้องปรับปรุงตัวรถให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานด้วย ทั้งนี้จะใช้เวลาปรับปรุงประมาณ 1 ปี

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิก ก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที การปรับปรุงสภาพรถและปรับขนาดความกว้างของฐานล้อ เป็นเรื่องที่ศูนย์แผนงานและการผลิต โรงงานมักกะสันฝ่ายการช่างกล ดำเนินการเป็นปกติทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอยู่แล้วโดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า รถดีเซลรางลอตนี้ทาง JR Hokkaido บริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคให้ รฟท. ถือเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่าง รฟท. และบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน และจะเกิดประโยชน์ต่อ รฟท. ด้วย โดย รฟท.มีหนังสือตอบรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 60 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายทำให้ล่าช้ามาถึงปัจจุบันการมอบตู้โดยสารระหว่าง รฟท. และ JR Hokkaido ถือเป็นครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกเคยส่งมาให้ประเทศไทยแล้ว 10 ตู้ เมื่อเดือน ต.ค.61 และอยู่ระหว่างปรับปรุงดัดแปลง เพื่อใช้เป็นขบวนรถด้านการท่องเที่ยว

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า รถไฟดีเซลราง KIHA183 เป็นขบวนรถที่ ไม่ต้องใช้หัวรถจักร มีเครื่องยนต์ในตัว แบ่งเป็น 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ อีก 1 ตู้เป็นรถสำรอง ใน 1 ขบวน มี 216 ที่นั่ง เป็นรถปรับอากาศเบาะที่นั่งปรับเอนได้ มีห้องน้ำระบบปิด ทำความเร็วได้สูงสุด 100 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.)

จากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ยังอยู่ในสภาพดีสามารถนำมาใช้งานได้ แม้จะเป็นตู้โดยสารที่ถูกปลดระวางเมื่อปี 59 แต่ได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากทางญี่ปุ่นอย่างดี หลังจาก รฟท.ได้รับมอบตู้โดยสารแล้ว จะเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และเป็นไปตามแผนงานตามมาตรฐาน ของ รฟท. คาดว่าจะนำตู้โดยสารมาใช้ขนส่งผู้โดยสาร โดยเฉพาะการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาล

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า รฟท. อยู่ระหว่างหารือถึงเส้นทางที่จะนำรถดีเซลราง KIHA 183 มาให้บริการ คาดว่าภายในปี 65 จะเริ่มนำรถ บางชุดมาให้บริการผู้โดยสารได้ เบื้องต้นจะให้บริการเป็นขบวนรถไฟนำเที่ยวเส้นทางระยะใกล้ก่อน เน้นเส้นทางที่ได้รับความนิยม แต่จะเป็นเส้นทางใดบ้างนั้นอยู่ระหว่างพิจารณา อาทิ กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-พัทยา-บ้านพลูตาหลวง, กรุงเทพฯ-น้ำตก, กรุงเทพฯ-สวนสนประดิพัทธ์ และนครราชสีมาพัทยา นอกจากนี้จะให้บริการในเส้นทางรถไฟทางคู่โดยเฉพาะ เส้นทางหนองคาย เพื่อเชื่อม สปป.ลาว

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่าในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ รฟท. จะเชิญสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมขบวนรถไฟดีเซลราง KIHA 183 จำนวน 17 คัน จาก JR HOKKAIDO ประเทศญี่ปุ่น ที่ SRTO ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยจะให้ข้อมูลถึงความ เป็นมาในการรับมอบขบวนรถ KIHA 183 จากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแผนการปรับปรุงขบวนรถทั้ง 17 คัน และแผนการเดินขบวนรถ KIHA183 ทั้ง 17 คัน ในการให้บริการในประเทศไทยด้วยพร้อมกันนี้จะให้สื่อมวลชนได้เข้าชมภายในขบวนรถ KIHA 183 ด้วย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ธ.ค. 2564

Arrow https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3064105813810916
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 32, 33, 34  Next
Page 3 of 34

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©