RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179631
ทั้งหมด:13490863
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 112, 113, 114 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2021 9:02 am    Post subject: Reply with quote

ผุดฟีดเดอร์EVBusเชื่อมสายสีแดง นำร่อง'รังสิต-คลอง7'เคลียร์1เลนวิ่งชม.เร่งด่วน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564

เปิดพิมพ์เขียวระบบฟีดเดอร์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง คมนาคม-จังหวัดปทุมธานีวางแผนนำรถเมล์ EV Bus วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารป้อนรถไฟฟ้าแบบไร้รอยต่อ 3 เส้นทาง นำร่องโครงการแรก "สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-คลอง 7" จำนวน 8 สถานี ไอเดียกระฉูดผ่าทางตันปัญหารถติดแหง็กในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า-เย็น ผุด "buswayเลนรถเมล์พิเศษ" วิ่งบนเลนสวนทาง 1 ช่องจราจร กรมทางหลวงเร่งเคลียร์ถนน-ปรับปรุงป้ายสัญญาณจราจรถนนรังสิต-นครนายกให้เสร็จภายใน 2 เดือน รองรับรถไฟฟ้าเปิดบริการเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เปิดให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) แบบเสมือนจริง (soft opening) ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 โดยไม่คิดค่าโดยสาร

สีแดงเปิดเป็นทางการ พ.ย. 64

ปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 3,073 คน เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์ โควิดซึ่งรัฐบาลขอความร่วมมือประชาชนงดการเดินทางหากไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาความตรงต่อเวลาอยู่ที่ 96.84% ความน่าเชื่อถือในการให้บริการ 99.35% อยู่ในระดับการให้บริการเป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้ รถไฟชานเมืองสายสีแดงมีกำหนดเปิดบริการเป็นทางการโดยเก็บค่าโดยสารภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ในระหว่างนี้เป็นช่วงเวลาของการเตรียม ความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปิดบริการเป็นทางการ โดยเฉพาะระบบเชื่อมต่อหรือระบบฟีดเดอร์ในการ "ขนคน-ขนของ" ที่จะต้องบูรณาการการทำงานให้สามารถเปิดบริการได้พร้อมกัน

ประกอบด้วยการพัฒนาสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้าในระยะยาว สำหรับสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารมี 3 จุดหลักที่สถานีรังสิต สถานีตลิ่งชัน และจุดจอดรถอโศก ส่วนสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้ามี 3 จุดที่สถานีเชียงรากน้อย สถานีวัดสุวรรณ และ ICD ลาดกระบัง

สำหรับโครงการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้า สายสีแดง (สถานีรังสิต) คาดว่าการให้บริการ ในเส้นทางสายสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 จะสามารถเร่งรัดดำเนินการให้ สามารถให้บริการได้ทันกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงอย่างเป็นทางการ ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้

นำร่อง "สถานีรังสิต-คลอง 7"

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิตมีจำนวน 3 เส้นทาง คือ 1.ช่วงสถานีรังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 ระยะทาง 19.3 กิโลเมตร 2.ช่วงสถานีรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร และ 3.ช่วงสถานีรังสิต-แยก คปอ. ระยะทาง 10.6 กิโลเมตร

ความคืบหน้าล่าสุด ทางคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จ.ปทุมธานี (อจร.จังหวัดปทุมธานี) เห็นชอบแผนดำเนินการตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แล้ว ขั้นตอนต่อไปเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณา ซึ่งคาดว่าการประชุม คจร.ต้องรอช่วงหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ทั้งนี้ เมื่อ คจร.พิจารณาเห็นชอบ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางพิจารณาเส้นทาง เงื่อนไข และลักษณะรถที่จะนำมาบริการ เพื่อออกใบอนุญาตเส้นทางสัมปทาน โดยทั้งหมดต้องเร่งรัดให้ทันกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

แหล่งข่าวกล่าวว่า เบื้องต้นโครงการนำร่องสายแรกคัดเลือกเส้นทางที่ 1 ช่วงสถานีรังสิต-คลอง 7 สาเหตุเพราะในช่วงเวลาปกติพบว่าสภาพปัญหาจราจรบนถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) มีปริมาณการใช้รถติดขัดสะสมเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงเช้าการจราจรหนาแน่น ทำให้รถติดยาวไปถึงคลอง 4 ส่วนช่วงชั่วโมงเร่งด่วนรอบเย็นการจราจรติดขัดยาวไปถึงคลอง 7 การเริ่มนำร่องเส้นทางนี้เพราะมีความพร้อมที่สุด

โจทย์ 4 ข้อดึงคนใช้แมสทรานซิต

แหล่งข่าวกล่าวว่า ระบบฟีดเดอร์ในโครงการนำร่องนี้ มีโจทย์หลักคือทำให้คนหยุดใช้รถส่วนตัวแล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำได้ต้องมีระบบคมนาคมที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความสะดวก โดยต้องมีการทำเชื่อมต่อการเดินทางจากบ้านหรือชุมชนไปยังสถานีรถไฟฟ้ารังสิต ผ่านบริการครอบคลุม 4 ด้าน

ได้แก่ 1.ต้องเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายสีแดงแบบไร้รอยต่อ 2.มีการเดินรถตามตารางเวลาแบบตรงต่อเวลา (on schedule services) 3.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green transport) และ 4.ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบได้ (inclusive transport)

เนรมิต Busway 2 เดือนเสร็จ

สำหรับรูปแบบระบบฟีดเดอร์ที่วางแผนไว้ในเส้นทางช่วงสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-คลอง 7 นั้น ทางจังหวัดปทุมธานีเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด โดยกำหนดเป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV Bus) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากแผนเดิมที่ออกแบบให้เป็นรถไฟฟ้ารางเบา (light rail) เนื่องจากต้องการเร่งรัดโครงการให้ทันกับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสายสีแดง

เบื้องต้น ออกแบบให้รถเมล์วิ่งบนเส้นทางเฉพาะ (busway) กำหนดให้อยู่ชิดเกาะกลาง โดยในช่วงเร่งด่วนรอบเช้า จะวิ่งในช่องขวาสุดของเส้นทางขาออก และในช่วงเร่งด่วนเย็น จะวิ่งในช่องขวาสุดของเส้นทางขาเข้า โดยมอบหมายให้ทางจังหวัดปทุมธานีร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ปรับปรุงกายภาพของถนนรังสิต-นครนายก และติดตั้งป้ายสัญญาณไฟจราจร มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2564

EV Bus "รังสิต-นครนายก"

รายละเอียดโครงการ EV Bus ตัวรถเมล์มีความจุคนบนรถ 60-120 คน, กำหนดระยะเวลารับส่งต่อรอบ 20 นาที, ความถี่ในการรับส่งผู้โดยสารแบ่งเป็นช่วงเร่งด่วน 15 นาที/คัน กับช่วงนอกเวลาเร่งด่วน 30 นาที/คัน ส่วนเวลาให้บริการกำหนดไว้ตั้งแต่ 5.00-24.00 น. มีจำนวน 8 สถานี ประกอบด้วย สถานีรังสิต, ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, คลอง 2, คลอง 3, คลอง 4, คลอง 4-5, คลอง 5-6 และคลอง 7

แนวเส้นทาง เริ่มต้นที่สถานีรถไฟฟ้ารังสิต เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรังสิต-นครนายก วิ่งตรงไปขึ้นทางต่างระดับรังสิตมุ่งหน้าไปทางจังหวัดนครนายก วิ่งตรงไปเรื่อย ๆ และไปสิ้นสุดที่บริเวณคลอง 7 ธัญบุรี

อีก 2 เส้นทางรอเฟสต่อไป

ส่วนอีก 2 สายทางที่เหลือวางแผนดำเนินการในระยะถัดไป ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงคมนาคมและความพร้อมของจังหวัดปทุมธานีด้วย ได้แก่ เส้นทางช่วง "สถานีรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต" ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีรังสิต วิ่งไปตามถนนเลียบคลองเปรมประชากร ผ่านวัดเปรมประชากร วัดเวฬุวัน ไปสิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ในด้านสถานีมีจำนวนทั้งสิ้น 8 สถานี ประกอบด้วย สถานีรังสิต, โรงเรียนคลองเปรมประชากร, พฤกษาวิลล์, ซ.แม่เนื่อง ภู่เลี้ยง, ซ.บางพูด 2, เชียงราก, ซ.ร่วมใจอุทิศ และ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

และเส้นทางช่วง "สถานีรังสิต-แยก คปอ." ระยะทาง 10.6 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีรังสิตวิ่งไปตามถนนรังสิต-นครนายก ผ่านทางต่างระดับรังสิตเข้าสู่ถนนพหลโยธิน วิ่งตามทางมาเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดที่แยก คปอ. ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตที่สถานีแยก คปอ.พอดี

ส่วนจำนวนสถานีตอนนี้วางไว้ 9 สถานีด้วยกัน อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่เพื่อระบุตำแหน่งสถานีที่ชัดเจนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2021 2:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผุดฟีดเดอร์EVBusเชื่อมสายสีแดง นำร่อง'รังสิต-คลอง7'เคลียร์1เลนวิ่งชม.เร่งด่วน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ


ผุดฟีดเดอร์ EVBus เชื่อมสายสีแดง นำร่องรังสิต-คลอง 7 เคลียร์ 1 เลนวิ่ง ชม.เร่งด่วน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 12:22 น.

โครงการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิตมีจำนวน 3 เส้นทาง คือ

Click on the image for full size
1.ช่วงสถานีรังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 ระยะทาง 19.3 กิโลเมตร
เบื้องต้นโครงการนำร่องสายแรกคัดเลือกเส้นทางที่ 1 ช่วงสถานีรังสิต-คลอง 7 สาเหตุเพราะในช่วงเวลาปกติพบว่าสภาพปัญหาจราจรบนถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) มีปริมาณการใช้รถติดขัดสะสมเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงเช้าการจราจรหนาแน่น ทำให้รถติดยาวไปถึงคลอง 4 ส่วนช่วงชั่วโมงเร่งด่วนรอบเย็นการจราจรติดขัดยาวไปถึงคลอง 7 การเริ่มนำร่องเส้นทางนี้เพราะมีความพร้อมที่สุด มีจำนวน 8 สถานี ประกอบด้วย

สถานีรังสิต,
ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต,
คลอง 2 (ตลาดพระรูป),
คลอง 3 (โรงเรียนโชคชัยรังสิต),
คลอง 4 (มาร์เกตวิลเลจรังสิต),
คลอง 4-5 (ดรีมเวิลด์ - วัดเขียนเขต)
คลอง 5-6 (วิทยาลัยการปกคลอง - ราชมงคลธัญบุรี)
คลอง 7 (เทศบาลเมืองธัญบุรี)

สวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่ข้าง สนามกอล์ฟรอยัลเจมส์ (ระหว่างคลอง 6 - คลอง 7) สามารถเพิ่มได้ในภายหลัง


แนวเส้นทาง เริ่มต้นที่สถานีรถไฟฟ้ารังสิต เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรังสิต-นครนายก วิ่งตรงไปขึ้นทางต่างระดับรังสิตมุ่งหน้าไปทางจังหวัดนครนายก วิ่งตรงไปเรื่อย ๆ และไปสิ้นสุดที่บริเวณคลอง 7 ธัญบุรี

2.ช่วงสถานีรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีรังสิต วิ่งไปตามถนนเลียบคลองเปรมประชากร ผ่านวัดเปรมประชากร วัดเวฬุวัน ไปสิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ในด้านสถานีมีจำนวนทั้งสิ้น 8 สถานี ประกอบด้วย
สถานีรังสิต,
โรงเรียนคลองเปรมประชากร,
พฤกษาวิลล์,
ซ.แม่เนื่อง
ภู่เลี้ยง,
ซ.บางพูด 2,
เชียงราก,
ซ.ร่วมใจอุทิศ และ
ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต


3.ช่วงสถานีรังสิต-แยก คปอ. ระยะทาง 10.6 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีรังสิตวิ่งไปตามถนนรังสิต-นครนายก ผ่านทางต่างระดับรังสิตเข้าสู่ถนนพหลโยธิน วิ่งตามทางมาเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดที่แยก คปอ. ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตที่สถานีแยก คปอ.พอดี

ส่วนจำนวนสถานีตอนนี้วางไว้ 9 สถานีด้วยกัน อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่เพื่อระบุตำแหน่งสถานีที่ชัดเจนต่อไป

โจทย์ 4 ข้อดึงคนใช้แมสทรานซิต
แหล่งข่าวกล่าวว่า ระบบฟีดเดอร์ในโครงการนำร่องนี้ มีโจทย์หลักคือทำให้คนหยุดใช้รถส่วนตัวแล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำได้ต้องมีระบบคมนาคมที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความสะดวก โดยต้องมีการทำเชื่อมต่อการเดินทางจากบ้านหรือชุมชนไปยังสถานีรถไฟฟ้ารังสิต ผ่านบริการครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่
1.ต้องเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายสีแดงแบบไร้รอยต่อ
2.มีการเดินรถตามตารางเวลาแบบตรงต่อเวลา (on schedule services)
3.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green transport) และ
4.ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบได้ (inclusive transport)

เนรมิต Busway 2 เดือนเสร็จ
สำหรับรูปแบบระบบฟีดเดอร์ที่วางแผนไว้ในเส้นทางช่วงสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-คลอง 7 นั้น ทางจังหวัดปทุมธานีเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด โดยกำหนดเป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV Bus) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากแผนเดิมที่ออกแบบให้เป็นรถไฟฟ้ารางเบา (light rail) เนื่องจากต้องการเร่งรัดโครงการให้ทันกับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสายสีแดง

เบื้องต้น ออกแบบให้รถเมล์วิ่งบนเส้นทางเฉพาะ (busway) กำหนดให้อยู่ชิดเกาะกลาง โดยในช่วงเร่งด่วนรอบเช้า จะวิ่งในช่องขวาสุดของเส้นทางขาออก และในช่วงเร่งด่วนเย็น จะวิ่งในช่องขวาสุดของเส้นทางขาเข้า โดยมอบหมายให้ทางจังหวัดปทุมธานีร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ปรับปรุงกายภาพของถนนรังสิต-นครนายก และติดตั้งป้ายสัญญาณไฟจราจร มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2564

EV Bus “รังสิต-นครนายก”
รายละเอียดโครงการ EV Bus ตัวรถเมล์มีความจุคนบนรถ 60-120 คน, กำหนดระยะเวลารับส่งต่อรอบ 20 นาที, ความถี่ในการรับส่งผู้โดยสารแบ่งเป็นช่วงเร่งด่วน 15 นาที/คัน กับช่วงนอกเวลาเร่งด่วน 30 นาที/คัน ส่วนเวลาให้บริการกำหนดไว้ตั้งแต่ 5.00-24.00 น.
https://www.prachachat.net/property/news-750073
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2021 11:22 am    Post subject: Reply with quote

ในภาพนี้มีรถไฟ 3 ขบวนสวนกัน
เซ็งอีพวกลักตัดสายไฟจริงๆ ระบบเดินรถไฟฟ้าล่มไปเลย ต้องใช้ ว.เรียกเข้าสถานีกัน แทนที่วิ่งได้ 145 กม./ชม. ต้องหยุด แล้วคลานๆ เข้าสถานีหลักหกแทน ถ้าวิ่งได้เต็มสปีด คงมาสวนกันแถวๆ หน้าสถานี ไม่ไกลขนาดนี้
https://www.facebook.com/marut28/posts/10223896829461414
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2021 4:03 pm    Post subject: Reply with quote

พ.ย.นี้ได้ใช้”ตั๋วร่วม” รถไฟฟ้าสายสีแดง&รถเมล์ขสมก.
*การรถไฟ-ขสมก.-กรุงไทยจัดให้เหมาจ่ายรายเดือน
*นำร่อง2ระบบไปก่อน(สภาพบัตรแมงมุมรอวนๆไป)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2997144853840346
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

“กรมราง” สแกนการบริการรถไฟฟ้าสายสีแดง
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
15 กันยายน 2564 เวลา 15:12 น.

กรมฯราง ลงพื้นสแกนการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง พบเสียงดัง โจรขโมยสายไฟ มีผู้บุกรุกเข้าเขตระบบราง ถก รฟท.-รฟฟท. เร่งแก้ป้ญหาติดกำแพงเสียง ปิดทางลักผ่าน ตรวจสอบสายไฟ


ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า ขร. ได้ลงพื้นที่ติดตามการให้บริการเดินรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยมีการวัดค่าระดับเสียงการเดินรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ด้วยเครื่องมือตรวจวัดบริเวณนอกขบวนรถไฟฟ้าขณะวิ่ง และบริเวณบ้านประชาชนผู้ร้องเรียน เพื่อหาวิธีลดผลกระทบจากเสียงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาการชำรุดของเครื่องนับเพลา (Axle counter) จากการถูกโจรกรรมสายไฟประแจขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงปัญหาจากการมีผู้บุกรุกเข้ามาในเขตระบบราง เป็นต้น 


อย่างไรก็ตามจากการหารือร่วมกันระหว่าง ขร. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (รฟฟท.) ได้ข้อสรุปดังนี้ 

1.รฟท. พิจารณาติดตั้งกำแพงกันเสียงบริเวณที่มีชุมชน หรือที่พักอาศัยใกล้เขตทางรถไฟ เพื่อลดผลกระทบทางเสียงให้กับประชาชน และทำการตรวจวัดเสียงในปัจจุบันบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบ เพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป 

2.รฟท. พิจารณาดำเนินการปิดทางลักผ่าน/ติดตั้งรั้วกั้น/ติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติม/เพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย/ยกเลิกการจอดรถบริเวณพื้นที่ Connection track เพื่อป้องกันผู้บุกรุกเข้ามาในเขตการเดินรถ ซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายต่อการเดินรถ และ

3.รฟท. และ รฟฟท. ดำเนินการตรวจสอบสายไฟที่โดนโจรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการที่มีอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ ขร. จะสรุปรายงานกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป และแจ้งผู้ร้องเรียนทราบผลการดำเนินงานในเบื้องต้นต่อไป.

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4422951961085048

เปิดไม่ทันไร! รถไฟสายสีแดง เจอโจรบุกขโมยสายไฟ ทำเดินรถสะดุด
เด่นออนไลน์
15 กันยายน 2564 เวลา 15:03 น.

เปิดไม่ทันไร! รถไฟสายสีแดง เจอโจรบุกขโมยสายไฟ ทำเดินรถสะดุด เตรียมปิดทางลักผ่าน ติดตั้งรั้วกั้น ติดตั้งกล้อง CCTV พร้อมเพิ่มเจ้าหน้าที่

15 ก.ย. 2564 – นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ได้ลงพื้นที่ติดตามการให้บริการเดินรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยมีการวัดค่าระดับเสียงการเดินรถ ด้วยเครื่องมือตรวจวัดบริเวณนอกขบวนรถไฟฟ้าขณะวิ่ง และบริเวณบ้านประชาชนผู้ร้องเรียน เพื่อหาวิธีลดผลกระทบจากเสียงที่เกิดขึ้น



เบื้องต้น การรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) จะพิจารณาดำเนินการติดตั้งกำแพงกันเสียงบริเวณที่มีชุมชน หรือที่พักอาศัยใกล้เขตทางรถไฟ เพื่อลดผลกระทบทางเสียงให้กับประชาชน และทำการตรวจวัดเสียงในปัจจุบันบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบ เพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป

นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่สำรวจยังพบปัญหาการชำรุดของเครื่องนับเพลา (Axle counter) จากการถูกโจรกรรมสายไฟ ประแจขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงปัญหาจากการมีผู้บุกรุกเข้ามาในเขตระบบราง

เบื้องต้น รฟท.จะพิจารณาดำเนินการปิดทางลักผ่าน ติดตั้งรั้วกั้น ติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติม เพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและยกเลิกการจอดรถบริเวณพื้นที่ Connection track เพื่อป้องกันผู้บุกรุกเข้ามาในเขตการเดินรถ ซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายต่อการเดินรถ รวมทั้งเร่งตรวจสอบสายไฟที่โดนโจรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการที่มีอุปกรณ์ชำรุดเสีย


รถไฟสายสีแดง ถูกโจรกรรมสายไฟ รฟท. ยกระดับการป้องกัน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 15:54 น.


รถไฟสายสีแดง ถูกโจรบุกขโมยสายไฟ เร่งตรวจสอบและยกระดับการป้องกัน

วันที่ 15 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ (Soft Opening) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564

เปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ก.ค. นี้ “ศักดิ์สยาม” ประกาศความพร้อม
ประยุทธ์-ศักดิ์สยาม เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง นั่งฟรีถึง พ.ย. 64
ล่าสุด ข่าวสด รายงานว่า นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ได้ลงพื้นที่ติดตามการให้บริการเดินรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจพบปัญหาการชำรุดของเครื่องนับเพลา (Axle counter) จากการถูกโจรกรรมสายไฟ ประแจขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงปัญหาจากการมีผู้บุกรุกเข้ามาในเขตระบบราง


เบื้องต้น รฟท.จะพิจารณาดำเนินการปิดทางลักผ่าน ติดตั้งรั้วกั้น ติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติม เพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและยกเลิกการจอดรถบริเวณพื้นที่ Connection track เพื่อป้องกันผู้บุกรุกเข้ามาในเขตการเดินรถ ซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายต่อการเดินรถ รวมทั้งเร่งตรวจสอบสายไฟที่โดนโจรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการที่มีอุปกรณ์ชำรุดเสีย

ระหว่างลงพื้นที่สำรวจยังมีการวัดค่าระดับเสียงการเดินรถ ด้วยเครื่องมือตรวจวัดบริเวณนอกขบวนรถไฟฟ้าขณะวิ่ง และบริเวณบ้านประชาชนผู้ร้องเรียน เพื่อหาวิธีลดผลกระทบจากเสียงที่เกิดขึ้น


เบื้องต้น การรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) จะพิจารณาดำเนินการติดตั้งกำแพงกันเสียงบริเวณที่มีชุมชน หรือที่พักอาศัยใกล้เขตทางรถไฟ เพื่อลดผลกระทบทางเสียงให้กับประชาชน และทำการตรวจวัดเสียงในปัจจุบันบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบ เพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป


Last edited by Wisarut on 19/09/2021 11:05 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2021 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

ทดม.เปิดใช้ Skywalk เชื่อมต่อโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 17 ก.ย. 2564 เวลา 16:08 น.

Click on the image for full size

ทดม.เปิดใช้ Skywalk เชื่อมต่อโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต
ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดให้บริการทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนและผู้โดยสาร

ร.ท.สัมพันธ์ ขุทรานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.)ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดให้บริการ “ทางเดินลอยฟ้า (Skywalk)” เชื่อมต่อโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต ที่สถานีดอนเมืองเข้ามายังท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) เชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีบางซื่อมายัง ทดม.เพียง 16 นาที เพื่อให้ผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกสบาย อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาการหาที่จอดรถ เนื่องจากผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้าแทนได้ ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือนั่งแท็กซี่เข้ามาในสนามบิน นับเป็นรูปแบบการเดินทางที่ง่าย ประหยัดเวลา สะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ “ทางเดินลอยฟ้า (Skywalk)” มีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณทางเดินชั้น 2 อาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น ของ ทดม.ขนานไปกับแนวรั้วของสนามบินเชื่อมต่อไปยังโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต ตรงกับทางออกหมายเลข 6 ของสถานีดอนเมือง โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้ศูนย์อาหารเมจิกฟู้ด อาคารผู้โดยสาร 2 เป็นจุดสังเกตทางเข้าได้ โดย “ทางเดินลอยฟ้า (Skywalk)” ของ ทดม. มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ความยาว 110 เมตร เป็นทางลาดเรียบ สะดวกแก่ผู้ใช้บริการและผู้โดยสารที่มีกระเป๋าสัมภาระแบบลากเลื่อน มีระบบปรับอากาศตลอดทางเดินเพื่อความเย็นสบาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตั้งแต่ป้ายบอกทาง ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ทางหนีไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และยังมีทางลาดพร้อมลิฟต์ 1 ตัว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุให้ง่ายต่อการใช้บริการ รวมถึงระหว่างทางเดินลอยฟ้ายังมีทางแยกลงบันไดไปทางเท้าริมถนนวิภาวดีรังสิตอีกด้วย เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางต่อด้วยรถโดยสารสาธารณะ โดยในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 “ทางเดินลอยฟ้า (Skywalk)” เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 20.00 น.

อย่างไรก็ตาม บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ในฐานะผู้บริหารจัดการและพัฒนาสนามบินทั้ง 6 แห่งของประเทศ ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามบิน รวมทั้งการให้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย ความพึงพอใจ และมั่นใจภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงสุดในสนามบินของ AOT
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2021 11:47 am    Post subject: Reply with quote

พึ่งเห็นภาพความชันของทางรถไฟสายสีแดง ช่วงลงจากสถานีกลางตรงประดิพัทธ์ ชัน 1.2 % (12 per mill) แบบนี้รถ LD (ทั้งรถจักรและดีเซลราง) วิ่งขึ้นได้นะเนี่ย
https://www.facebook.com/marut28/posts/10223967909478370
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2021 4:02 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ผุดฟีดเดอร์EVBusเชื่อมสายสีแดง นำร่อง'รังสิต-คลอง7'เคลียร์1เลนวิ่งชม.เร่งด่วน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ


ผุดฟีดเดอร์ EVBus เชื่อมสายสีแดง นำร่องรังสิต-คลอง 7 เคลียร์ 1 เลนวิ่ง ชม.เร่งด่วน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 12:22 น.



คจร.ไฟเขียวผุด”มินิบัสไฟฟ้า”เชื่อมสถานีรังสิตรถไฟสีแดง -เคาะ MR-Map ลงทุนนำร่อง 4 เส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.
คจร.ไฟเขียวผุด “มินิบัสไฟฟ้า” เชื่อมสถานีรังสิตรถไฟสีแดง-เคาะ MR-Map ลงทุนนำร่อง 4 เส้นทาง

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.

คจร. ไฟเขียวจัดรถเมล์อีวีเชื่อมสถานีรังสิตรถไฟฟ้าสายสีแดง 3 เส้นทาง
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:23 น.

Click on the image for full size
คจร. ไฟเขียวฟีดเดอร์เชื่อม “สถานีรังสิต” รถไฟฟ้าสีแดง 3 เส้นทาง สั่ง ขบ. หาผู้ประกอบการใช้รถแบบอีวี พร้อมมอบ ทล.-จ.ปทุมธานี ปรับปรุงถนน 3 เส้นทาง เคาะแผนแม่บทพัฒนาขนส่งสาธารณะ 3 จังหวัด รองรับอีอีซี สั่งลุย MR-Map ประเดิม 4 เส้นทาง


คจร.เห็นชอบฟีดเดอร์ 3 เส้นทาง เชื่อมสถานีรังสิต สายสีแดง ผุดมินิบัสไฟฟ้า มอบขบ.เร่งหาผู้ประกอบการ นำร่อง”รังสิต - ธัญบุรีคลอง 7” พร้อมปรับถนนทำช่องทางพิเศษ ดึงคนใช้ขนส่งสาธารณะเพิ่ม ไฟเขียว MR-Map สร้างโครงข่ายรถไฟคู่มอเตอร์เวย์ และรับทราบเปิดใช้ด่านไร้ไม้กั้น (M-Flow)

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2564 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันที่ 20 ก.ย.ได้เห็นชอบในหลักการการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (สถานีรังสิต) หรือ Feeder รถไฟฟ้าสายสีแดง โดยใช้รถโดยสารขนส่งมวลชนแบบพิเศษ ตามมติ คณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จ.ปทุมธานี (อจร.จังหวัดปทุมธานี) และคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยให้จ.ปทุมธานี กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และกรมทางหลวง (ทล.)ดำเนินการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

ซึ่ง Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้ารังสิต (สายสีแดง) มี จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่
1 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต - ธัญบุรีคลอง 7 ใช้เส้นทางถนนรังสิต-นครนายก (ทล.305 ) ระยะทางประมาณ 19.3 กม.
2. เส้นทางที่ 2 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ใช้เส้นทางถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนคลองหลวงหน้า ม. ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทางประมาณ 19.1 กม. (ในระยะแรก)
3. เส้นทางที่ 3 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต - แยก คปอ. ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 10.6 กม.

โดยรูปแบบการเดินรถ Feeder จะกำหนดตามตารางเดินรถที่สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้า (On Schedule Services) รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transport) และรองรับการให้บริการกับทุกคน (Inclusive Transport) และให้ ขบ. ดำเนินการหาผู้ประกอบการเดินรถด้วยมาตรฐาน EV รองรับผู้พิการ โดยรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และนำเข้าสู่การพิจารณาของ คกก. ขนส่งทางบกกลางต่อไป

และให้จังหวัดปทุมธานีและกรมทางหลวง ดำเนินการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของเส้นทางได้แก่ เส้นทางที่ 1 บนถนน ทล.305 ได้แก่ (ก) Smart Bus Stop (ข) ทางเชื่อมสะพานลอยคนข้ามที่เกาะกลาง (ค) ช่องทางพิเศษ (Reversible Bus Lane) และ (ง) สัญญาณไฟควบคุมช่องทางพิเศษ เส้นทางที่ 2 และ 3 บนถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนพหลโยธิน ได้แก่ Smart Bus Stop

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำขอให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อช่วยพัฒนาระบบคมนาคม และแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินงาน สามารถขับเคลื่อนแผนต่าง ๆ ให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ต่อไป

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สถานีรังสิตเป็นสถานีใหญ่ เนื่องจากเป็นชุมทาง (Gateway) ที่จะมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมการเดินทางพื้นที่โดยรอบเข้าสู้สถานีได้อย่างสะดวก ซึ่งทำระบบรถไฟรางเบา (Light rail) จะลงทุนสูง ดังนั้น สนข.จึงได้ศึกษาปรับแผน ใช้รูปแบบรถโดยสารมินิบัสไฟฟ้า ในช่วงแรก เพื่อให้ประชาชนปับมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเข้าสถานีรังสิต และระยะที่ 2 จะปรับเป็นระบบรถไฟรางเบา เมื่อจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่า

โดยที่ประชุมมอบหมายให้ขบ.รับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องและจัดหาผู้ให้บริการรถโดยสารไฟฟ้า ตามขั้นตอน ส่วน จ.ปทุมธานี และทล.ให้ร่วมกันตรวจสอบกายภาพของถนนเพื่อปรับปรุงจัดทำช่องทางสิ่งพิเศษ สำหรับรองรับการเปิดบริการเส้นทางแรก สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 ให้ทันในเดือน พ.ย. 2564

@ไฟเขียวแผนแม่บท MR - Map นำร่องลงทุน 4 เส้นทาง

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า คจร.ยังเห็นชอบ ร่างโครงข่ายแผนแม่บท MR - Map ที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ ซึ่งมีโครงข่าย เบื้องต้น 10 เส้นทาง มีระยะทางรวม 6,530 กม. ประกอบด้วยเส้นทางทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับเส้นทางระบบราง 4,470 กม. เส้นทางเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 1,710 กม. และเส้นทางเฉพาะระบบราง 350 กม.

และได้พิจารณา 4 โครงการนำร่องที่มีศักยภาพ ได้แก่
1. เส้นทาง MR8 ชุมพร – ระนอง ระยะทาง 91 กม.
2. เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 ระยะทางรวม 283 กม.
3. เส้นทาง MR2 หนองคาย (ด่านหนองคาย) – แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา – แหลมฉบัง ระยะทาง 297 กม. และ
4. เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา – อุบลราชธานี ระยะทาง 404 กม.

โดยเห็นว่า โครงการ เป็นประโยชน์สำหรับการบูรณาการระหว่างระบบรางและถนนในการพัฒนาโครงข่ายให้เป็นระบบเชื่อมโยงโครงข่ายภายในประเทศและต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยและเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและประตูการค้า แก้ปัญหาจราจร ลดปัญหาการเกิดคอขวดของการเดินทางทั้งระบบถนนและระบบรางของทั้งประเทศ

และเห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยองเพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Public Transit Master Plan : EPMP) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาผลักดันแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป
@รับทราบแผนด่านไร้ไม่กั้น ( M-Flow) เริ่มใช้ ต.ค. 64

นอกจากนี้ คจร.ยังได้รับทราบการพัฒนาและดำเนินงานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษทั้งระบบ โดยจะเปิดให้บริการ เดือน ต.ค.2564 บนเส้นทางมอเตอร์เวย์ M9 จำนวน 4ด่าน (ด่านทับช้าง1,2 ,ด่านธัญบุรี1,2) บนทางพิเศษฉลองรัฐ เปิดในไตรมาที่1 2565 จำนวน3ด่าน (ด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล5-1 ด่านสุขาภิบาล 5-2 ) และมอเตอร์เวย์ M7 กรุงเทพ-บ้านฉาง ทางพิเศษฉลองรัช ระยะที่2 และถนนกาญขนาภิเษก เปิดทดสอบระบบปี 2566
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3004042809817217


https://www.facebook.com/news1feed/posts/343415904186853


Last edited by Wisarut on 20/09/2021 9:12 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2021 7:22 pm    Post subject: Reply with quote


พม่ามาลองใช้รถไฟฟ้าสายแดง เหมือนกัน แถมผู้ชายพุดภาษาอังกฤษได้ดีจริงๆ
https://www.youtube.com/watch?v=eLkbnaNZ_Ck


แน่นอนที่คนญี่ปุนต้องกรูกันมาเป็นแน่
https://www.youtube.com/watch?v=LauU42s5ygY
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2021 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

คจร. ไฟเขียวแผนแม่บทพัฒนาขนส่งสาธารณะฉะเชิงเทรา -ชลบุรี -ระยองรับ อีอีซี

20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 18:15 น.
เคาะสร้างทางด่วนเชื่อมรถไฟ 10 เส้นทาง นำร่อง 4 โครงการ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์ เศรษฐกิจ-นโยบาย
21 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 07:10 น.

20 ก.ย.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมอบให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พิจารณาผลักดันแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บทโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง(MR – Map)ที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ 10 เส้นทาง โดยมีระยะทางรวม 6,530 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย เส้นทางทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ร่วมกับเส้นทางระบบราง 4,470 กม. เส้นทางเฉพาะมอเตอร์เวย์ 1,710 กม. และเส้นทางเฉพาะระบบราง 350 กม. โดยได้พิจารณา 4 โครงการนำร่องที่มีศักยภาพ 4 เส้นทางจากทั้งหมด 10 เส้นทาง ได้แก่ 1.เส้นทาง MR8 ชุมพร – ระนอง ระยะทาง 91 กม.

2. เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 ระยะทางรวม 283 กม.
3.เส้นทาง MR2 หนองคาย (ด่านหนองคาย) – แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา – แหลมฉบัง ระยะทาง 297 กม. และ
4. เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา – อุบลราชธานี ระยะทาง 404 กม.

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการของการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อการเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง(สถานีรังสิต) โดยใช้รถโดยสารขนส่งมวลชนแบบพิเศษตามมติคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(อจร.)จังหวัดปทุมธานี และคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และให้จังหวัดปทุมธานี กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) และกรมทางหลวง(ทล.) ดำเนินการพัฒนา เพื่อรองรับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และรายงานผลการดำเนินการให้ คจร.รับทราบด้วย


สำหรับการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ประกอบด้วย 1.เส้นทางระบบ Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้ารังสิต 3 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต – ธัญบุรีคลอง 7 ใช้เส้นทางถนนรังสิต-นครนายก(ทล.305) ระยะทางประมาณ 19.3 กม.
เส้นทางที่ 2 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ใช้เส้นทางถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนคลองหลวงหน้า ม. ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทางประมาณ 19.1 กม. เป็นระยะแรกก่อน หากสถานีรถไฟฟ้า ม. ธรรมศาสตร์ (รังสิต) เปิดใช้ ก็พิจารณาปรับเส้นทางต่อไป และ
เส้นทางที่ 3 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต – แยก คปอ. ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 10.6 กม.

2.รูปแบบการเดินรถของระบบ Feeder ตามตารางเดินรถที่สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้า (On Schedule Services) รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transport) และรองรับการให้บริการกับทุกคน (Inclusive Transport) และให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการหาผู้ประกอบการเดินรถด้วยมาตรฐาน EV รองรับผู้พิการ โดยรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางต่อไป และให้จังหวัดปทุมธานี และ ทล. ดำเนินการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของเส้นทาง ดังนี้

เส้นทางที่ 1 บนถนน ทล.305 ได้แก่ (ก) Smart Bus Stop (ข) ทางเชื่อมสะพานลอยคนข้ามที่เกาะกลาง (ค) ช่องทางพิเศษ (Reversible Bus Lane) และ (ง) สัญญาณไฟควบคุมช่องทางพิเศษ เส้นทางที่ 2 และ 3 บนถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนพหลโยธิน ได้แก่ Smart Bus Stop

นอกจากนี้ที่ประชุม ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการโครงการ ได้แก่
1. การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
2. การดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือ
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม)
4. การปฏิรูปเส้นทางระบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
5. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย – บ้านแพ้ว และ 6.แผนการพัฒนาและดำเนินงานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow)

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำขอให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อช่วยพัฒนาระบบคมนาคม และแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินงาน สามารถขับเคลื่อนแผนต่าง ๆ ให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ต่อไป
https://www.youtube.com/watch?v=ApZsb9Oq4Ms

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ผุดฟีดเดอร์EVBusเชื่อมสายสีแดง นำร่อง'รังสิต-คลอง7'เคลียร์1เลนวิ่งชม.เร่งด่วน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ


ผุดฟีดเดอร์ EVBus เชื่อมสายสีแดง นำร่องรังสิต-คลอง 7 เคลียร์ 1 เลนวิ่ง ชม.เร่งด่วน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 12:22 น.



คจร.ไฟเขียวผุด”มินิบัสไฟฟ้า”เชื่อมสถานีรังสิตรถไฟสีแดง -เคาะ MR-Map ลงทุนนำร่อง 4 เส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.
คจร.ไฟเขียวผุด “มินิบัสไฟฟ้า” เชื่อมสถานีรังสิตรถไฟสีแดง-เคาะ MR-Map ลงทุนนำร่อง 4 เส้นทาง

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:43 น.

คจร. ไฟเขียวจัดรถเมล์อีวีเชื่อมสถานีรังสิตรถไฟฟ้าสายสีแดง 3 เส้นทาง
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:23 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3004042809817217


https://www.facebook.com/news1feed/posts/343415904186853


Last edited by Wisarut on 21/09/2021 7:06 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 112, 113, 114 ... 147, 148, 149  Next
Page 113 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©