Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13261195
ทั้งหมด:13572474
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 421, 422, 423 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2021 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช ช่วงสีคิ้ว
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันศุกร์ ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:30 น.

ในสัญญา 3-4 ลำตะคอง-สีคิ้ว, กุดจิก-โคกกรวด คืบหน้าแล้วกว่า 7.3%
วันนี้ขอเอาความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน มาให้เพื่อนๆชมกันต่อ รอบนี้ขอเป็นสัญญา 3-4 ลำตะคอง-สีคิ้ว, กุดจิก-โคกกรวด ช่วงสถานีรถไฟสีคิ้ว ซึ่งคืบหน้าไปพอสมควร เสาเริ่มขึ้นแล้ว….
—————————
รายละเอียดสัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร แบ่งเป็น
- ทางยกระดับ 23.33 กิโลเมตร
- ทางระดับดิน 14.12 กิโลเมตร
มูลค่าสัญญา 9,848 ล้านบาท
ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน
เริ่มก่อสร้าง 26 มกราคม 2564
สิ้นสุดสัญญา 11 มกราคม 2567
—————————
จากการสำรวจ เริ่มจากบริเวณจุดตัดเมืองสีคิ้ว
ซึ่งจากบริเวณใกล้จุดตัด มีการรื้ออาคารธนาคารกรุงเทพ สาขาสีคิ้ว ซึ่งก่อสร้างอยู่ในเขตรถไฟ (เช่าพื้นที่) เสร็จเรียบร้อย
จากหลักธนาคารจะมีการเริ่มเปิดหน้าดิน ลงเสาเข็มเป็นระยะๆ แล้ว!!! ต้องถือว่าเร็วพอสมควร
จากนั้นก็วิ่งมุ่งหน้าลงใต้ไปทางสถานีรถไฟหนองน้ำขุ่น จะเห็นเครื่องจักรขุดเสาเข็มทำงานอยู่เป็นช่วงๆ
พอเลยจุดตัดกับถนน 201 (สีคิ้ว-ชัยภูมิ) ก็เห็นการเปิดหน้าดินมายิ่งขึ้น พร้อมกับเครื่องจักรใหญ่ทำงานกันอยู่
โดยเฉพาะบริเวณหน้า Office ของโครงการสัญญา 3-4 ตรงข้ามสถานีหนองน้ำขุ่น ซึ่งตอนนี้ เริ่มขึ้นโครงเหล็กเตรียมหล่อเสาทางยกระดับแล้ว!!!
หลังจากหน้าสถานีหนองน้ำขุ่นไป จะเห็นเสาของรถไฟความเร็วสูง ค่อยๆ ลดระดับลงเพื่อให้ลงระดับดิน ห่างจากสถานีหนองน้ำขุ่นไปประมาณ 1 กิโลเมตร!!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2021 10:34 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด 3 สนามบิน กับ(ดัก)ปัญหาความเท่าเที่ยมรัฐ
Oct 23, 2021
ฐานเศรษฐกิจ Thansettakij


https://www.youtube.com/watch?v=sNLudsmoSh8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2021 9:02 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพี ยอมจ่ายดอกเบี้ยกว่าพันล้าน ผ่านวิกฤติโควิด รัฐบีบรับไม้ต่อ เดินรถแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
24 ตุลาคม 2564 เวลา 08:02 น.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่าจากวิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่เอกชนจะต้องเข้าเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ต่อเนื่องไม่สุดในวันที่ 24 ต.ค.2564 ทั้งนี้ เพราะมีเหตุเรื่องจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงอย่างมาก

จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า จำนวนเฉลี่ยผู้โดยสารรายวันในระบบขนส่งทางรางทุกระบบ พบว่าผู้โดยสารลดลงกว่า 88.8% จากวิกฤติโควิด-19 ที่มีการล็อกดาวน์ และประกาศเคอร์ฟิว ถึงแม้ปัจจุบันจะมีข่าวเตรียมเปิดประเทศ แต่คงใช้เวลาหลายเดือนกว่าตัวเลขผู้โดยสารจะดีขึ้น




เนื่องจากโครงการนี้เป็นรูปแบบรัฐร่วมเอกชนลงทุน หรือ PPP จึงทำให้ผู้ร่วมลงทุนทั้งรัฐและเอกชนต้องร่วมกันแก้ปัญหา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ ซึ่งล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร่วมทุนทั้งรัฐและเอกชนหาทางออกร่วมกัน โดยครม.เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบจากโควิดให้กับคู่สัญญา ซึ่งจะทำให้การเดินรถไฟฟ้าในช่วงรอยต่อของการรับมอบพื้นที่โครงการดำเนินการได้ต่อเนื่อง โดยเอกชนขอผ่อนผันการชำระเงินค่าสิทธิบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ออกไป 3 เดือน และขอปรับรูปแบบการจ่ายจากเดิมที่ต้องชำระทั้งจำนวน 10,671 ล้านบาท ขอผ่อนผันเป็นการแบ่งชำระเป็น 10 งวด ซึ่งต่อมาได้เจรจาต่อรอง เหลือเป็น 6 งวด ทั้งนี้ในการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ของเอกชนในช่วง 3 เดือนที่ได้รับการผ่อนผัน รายได้ทั้งหมดเป็นของรัฐ


แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้าง เปิดเผยว่า กรณีนี้พบว่าเอกชนคู่สัญญาต้องรับภาระดอกเบี้ยกว่า พันล้านบาทแลกกับการแบ่งจ่ายค่าสิทธิ์ ถือเป็นต้นทุนที่จำต้องแบกรับ เนื่องจากปัจจุบันวิกฤติโควิด-19 กระทบกับยอดผู้โดยสาร ที่หายไปกว่า 80% ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินไม่มั่นใจจึงทำให้เอกชนไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าสิทธิได้ ถือเป็นความท้าทายของเอกชนผู้ร่วมลงทุน ซึ่งแม้จะเป็นรายใหญ่แต่ก็เป็นหน้าใหม่ในวงการก่อสร้าง ทำให้เอกชนต้องเผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม



ข้อมูลผู้โดยสาร แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงระหว่างวันเดือน ม.ค. – ก.ย. 2564 ซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่พบว่า ในเดือนสิงหาคม มีสถิติผู้โดยสารต่ำที่สุดเป็นประวัติการเหลือเพียงเฉลี่ย 9,356 คนต่อวัน ก่อนจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นเป็นเฉลี่ยวันละ 14,644 คนในเดือนกันยายน


สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ภายใต้การให้บริการเดินรถโดย บริษัท เอเชีย เอรา วัน จะยังคงเดินหน้าให้บริการผู้โดยสารมี 8 สถานีบริการประกอบไปด้วย สถานีพญาไท สถานีปราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสถานีสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 (ยกเว้นในช่วงปฏิบัติตามประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เปิดดำเนินการถึง 23.00) มีค่าโดยสารระหว่าง 15-45 บาท.

Wisarut wrote:
แก้สัญญาแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อมไฮสปีด
อสังหาริมทรัพย์
วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:17 น.


ครม.เคาะเยียวยา ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้าน ชี้ผลกระทบโควิดทำผู้โดยสารต่ำเป้า เหตุสุดวิสัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.

รฟท.เตรียมเซ็น MOU ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 3 เดือน เร่งเจรจาเงื่อนไขแบ่งชำระ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.


Mongwin wrote:
กลุ่มซีพีชง ’รื้อ’ สัญญาไฮสปีด-เลื่อนจ่ายหมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 20 ต.ค. 2564 เวลา 14:54 น.21

กลุ่มซีพีขอแก้สัญญารถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน l ลึกแต่ไม่ลับ l THAN TALK l 20/10/64
Oct 20, 2021

ฐานเศรษฐกิจ Thansettakij

https://www.youtube.com/watch?v=l2oRBhB9PCI
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 1:29 am    Post subject: Reply with quote

แบงก์เบรกปล่อยกู้ "กลุ่มซีพี"สร้าง"ไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน"
หน้าแรก Insights
ฐานเศรษฐกิจ 24 ต.ค. 2564 เวลา 21:59 น.

แบงก์พาณิชย์ ชะลอปล่อยสินเชื่อ กลุ่มซีพี ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2.24 แสนล้านบาท หลังโควิดระบาด ต้องกลับมาทบทวนความคุ้มค่าการลงทุนใหม่ ประกอบกับรอความชัดเจนนโยบายรัฐบาลในการผลักดัน EEC

โครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปรีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่าโครงการรวม 224,544.36 ล้านบาท ที่ "กลุ่มซีพี" ภายใต้ชื่อบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ ที่ปัจจุบันได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการโครงการ อาจต้องสะดุดลงหลังจากสถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มซีพี

แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินเปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องกลับมาทบทวนการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการขนาดใหญ่ว่าจะมีความคุ้มค่าในการลงทุนตามที่ได้มีการประเมินไปก่อนหน้านี้หรือไม่ หนึ่งในโครงการที่ต้องมีการทบทวน คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ของกลุ่มซีพี ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 2.24 แสนล้านบาท

การทบทวนการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มซีพีเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เพราะเห็นว่าผลตอบแทนแทนทางเศรษฐกิจลดลงจากเดิมที่คาดว่าว่าจะมีจำนวน 50,900 ล้านบาท โดยมีค่า IRR ที่ 14.2%

นอกจากนี้หลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 นโยบายของภาครัฐเองก็ยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ทำให้สถาบันการเงินต้องชะลอการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มซีพีเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

"ฐานเศรษฐกิจ" พยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้กับกลุ่มซีพี แต่ไม่สามารถติดต่อได้ นอกจากนี้ยังได้โทรศัพท์ไปสอบถามนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถึงเรื่องดังกล่าว แต่ไม่มีการรับสาย

กลุ่มซีพีที่เข้ามาดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะเวลาสัญญา 50 ปี มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ภายใต้ชื่อใหม่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้เห็นชอบให้เยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็น ชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาทให้ รฟท. เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ภายในวันที่ 25 ต.ค. 2564

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)

โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง มูลค่าโครงการรวม 224,544.36 ล้านบาท ประกอบด้วย

ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา 168,718.00 ล้านบาท
การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27 ล้านบาท
สิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 7:15 am    Post subject: Reply with quote

ปมแก้สัญญาร่วมทุน รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
อ่านระหว่างบรรทัด
สันติสุข มะโรงศรี
แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการสำคัญที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจของประเทศ

ที่ผ่านมา ได้เปิดประมูลให้เอกชนแข่งขันกันยื่นข้อเสนอเพื่อร่วมลงทุน โดยผนวกเอาการพัฒนาที่ดินรถไฟแปลงงาม ทั้งมักกะสันและศรีราชา ได้ผู้ชนะประมูลคือกลุ่มซีพี (ปัจจุบัน คือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด) โดยสัญญาจะจ่ายค่าเช่าที่ดินมักกะสันให้ร.ฟ.ท.ราวห้าหมื่นล้านบาทตลอดสัญญา 50 ปี และจะต้องเข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์รวมทั้งรับภาระหนี้สินไปด้วย โดยจะต้องจ่ายค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ราวหมื่นล้านบาทในวันที่ 24 ต.ค.2564 ที่ผ่านมา

พูดง่ายๆ ว่า ในสัญญาร่วมลงทุนฯ มีผลประโยชน์ส่วนสำคัญ ได้แก่

1.การพัฒนาพื้นที่ที่ดินเพื่อการพาณิชย์โดยรอบสถานีมักกะสันและศรีราชา
2.ก่อสร้างและเดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
3.บริหารจัดการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

ปรากฏว่า มีเหตุที่จะนำไปสู่การแก้สัญญาร่วมลงทุนกันเสียแล้ว

1. แอร์พอร์ตลิงก์ได้รับผลกระทบโควิด

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (กพอ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 มีมติเรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดังนี้

1) รับทราบปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในส่วนของการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เนื่องจากสถานการณ์ผลกระทบโควิด-19 ดังนี้

(1) บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัย (ภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยาโครงการฯ โดยขอขยายระยะเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์ พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ (PIC) และการขยายระยะเวลาโครงการฯ

(2) คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (คณะกรรมการบริหารสัญญาฯ) เห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาฯ ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ

(3) คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (คณะกรรมการกำกับฯ) เห็นด้วยกับหลักการตามคณะกรรมการบริหารสัญญาฯ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ที่จะถึงกำหนดชำระใน วันที่ 24 ตุลาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดของโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงินใดๆ ตามสัญญาร่วม
ลงทุนฯ

2) มอบหมายให้ ร.ฟ.ท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ก็ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอ ครม.

3) มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สกพอ. และเอกชนคู่สัญญา เข้าดำเนินการเพื่อแก้ไขการดำเนินการกรณีแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

2. ครม. รับทราบ

การประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา ครม.มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกฯและมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักตามที่ สกพอ. เสนอ

3. รายงานข่าว ระบุว่า เอกชนคู่สัญญาขอผ่อนจ่ายค่าให้สิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาท โดยขอผ่อนจ่าย 10 งวด แทนการจ่ายทั้งหมดงวดเดียวในวันที่ 24 ต.ค.2564 (เว็บไซต์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน นำรายงานข่าวชิ้นนี้ไปเผยแพร่ด้วย)

กลุ่ม ซี.พี.ให้เหตุผลว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทำให้ปริมาณผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ลดลง 70-80% จากคาดการณ์มีปริมาณผู้โดยสารวันละ 80,000-90,000 เที่ยวคน/วัน มีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการจริงเฉลี่ยวันละ 30,000 เที่ยวคน/วัน ดังนั้น การจ่ายค่าใช้สิทธิ์เต็มจำนวน 10,671 ล้านบาท เพียงก้อนเดียว จึงเป็นความเสี่ยงต่อการขาดทุน และขอผ่อนจ่ายออกเป็น 10 งวดดังกล่าว เพื่อให้แผนธุรกิจสะท้อนผลประกอบการที่แท้จริง

มีรายงานว่า บอร์ดการรถไฟฯ และบอร์ด EEC ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องนี้ และมอบหมายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม จากนั้นให้เสนอให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง

4. ผมเห็นว่า เป็นข้อเท็จจริงที่กิจการรถไฟฟ้าได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และไม่ใช่ได้รับผลกระทบเฉพาะแอร์พอร์ตลิงก์เท่านั้น รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าบีทีเอส ฯลฯ ทั้งหมดล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น

หรือจะพูดให้ครอบคลุมมากขึ้น ทุกกิจการได้รับผลกระทบหมด แม้แต่แท็กซี่ เรือโดยสาร รถทัวร์ สายการบิน กิจการโรงแรม สถานบริการบันเทิง ฯลฯ ล้วนได้รับผลกระทบกันทั้งหมด

การที่คู่สัญญาเอกชนยกเหตุผลกระทบโควิดมาขอรับการเยียวยาจากรัฐ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และที่ผ่านมา รัฐก็มีแนวทางช่วยเหลือเยียวยาไปตามสภาพ เช่น โครงการรับเหมาก่อสร้างที่มีสัญญากับรัฐก็ได้รับสิทธิเยียวยา ขยายระยะเวลาสัญญาไปตามเงื่อนไขรายละเอียด เป็นต้น

แต่หากรัฐจะแก้สัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระเงินค่าเข้าไปบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ อันจะทำให้ภาครัฐได้รับเงินล่าช้าไปจากเดิม ในภาวะที่ภาครัฐเองก็ต้องการเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนและลงทุนโครงการต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะในกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทยเอง ย่อมเกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ เอื้อประโยชน์แก่เอกชนคู่สัญญา และอาจไม่เป็นธรรมต่อเอกชนรายอื่นๆ ที่เข้าร่วมประมูลแข่งขันก่อนหน้านี้ ซึ่งมีข้อเสนอที่ไม่ลิดรอนผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ตามสัญญาเช่นนี้

หากโอนอ่อนให้ตามข้อเสนอเอกชนตามที่มีข่าวร้องขอมาทั้งหมด โดยไม่มีการเจรจาต่อรองหรือพิจารณาในแง่ความเป็นธรรมให้ครอบคลุม และมีการอธิบายชี้แจงที่มีเหตุผลน้ำหนักเพียงพอ กรณีนี้สุ่มเสี่ยงจะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ

5. อุทาหรณ์สอนใจ กรณีคุก 6 ปี อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.

อย่าลืมว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพิ่งจะมีกรณีอดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง (ศาลปราบโกง) พิพากษาในชั้นอุทธรณ์คดีทุจริตโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มูลค่า 25,000 ล้านบาท คดีหมายเลขแดงที่ อท 236/2562 (ป.ป.ช.
ยื่นฟ้องคดีเอง)

โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นโครงการที่มีข้อครหาเดิมตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โครงการมูลค่า 2.5 หมื่นล้าน แต่เอกชนประมูลต่ำกว่าราคากลางหลักหมื่นบาท การก่อสร้างล่าช้า มีการขอขยายเวลาหลายครั้ง

กรณีดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง และความผิดทางอาญา อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.และพวก มาตรา 157 เนื่องจากการไต่สวนพบว่า มีพฤติกรรมแก้ไขสัญญาในเอกสารประกวดราคาระหว่าง ร.ฟ.ท. กับบริษัทเอกชนเอื้อประโยชน์แก่เอกชน เป็นเหตุให้ ร.ฟ.ท.ได้รับความเสียหาย

ระบุพฤติการณ์ว่า มีการกระทำทุจริตร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน ส่งผลให้เกิด
ความเสียหายต่อรัฐ 1.2 พันล้านบาท เพราะโครงการนี้ไม่มีการตรวจสอบวงเงินค่าธรรมเนียมตั้งแต่แรก โดยค่าธรรมเนียมการเงินที่ผู้รับเหมาตกลงกับร.ฟ.ท.คือ 1.6 พันล้านบาท และผู้รับเหมาได้เบิกเงินก้อนนี้จากธนาคารไปแล้วแต่ในความเป็นจริงค่าธรรมเนียมเงินกู้มีจำนวนเพียง 400 ล้านบาทเท่านั้น และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆที่ต้องจ่ายอีกเลย โดยส่วนต่างที่เกิดขึ้น 1.2 พันล้านบาทที่ร.ฟ.ท.ต้องรับผิดชอบ จะไม่เกิดขึ้นถ้าทำสัญญาอย่างตรงไปตรงมา

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ผิดอาญา 157 ลงโทษจำคุก 6 ปี

อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

สันติสุข มะโรงศรี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 9:52 am    Post subject: Reply with quote

แบงก์เบรกปล่อยกู้ไฮสปีด'ซีพี'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, October 25, 2021 05:07

Click on the image for full size

ขอสินเชื่อ 1.7 แสนล้านชะงัก - 'แอร์พอร์ตลิงก์'ผู้โดยสารซบ

รัฐเร่งเยียวยา"โควิด" เร่งแก้สัญญาใน3เดือน

กรุงเทพธุรกิจ "ร.ฟ.ท.-ซีพี"เดินหน้า แก้สัญญารถไฟความเร็วสูง เยียวยา ผลกระทบโควิด ยืดจ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์เป็น 6 ปี เร่งแก้สัญญาใน 3 เดือนจบ หวั่นส่งมอบพื้นที่เริ่มก่อสร้างล่าช้า เผย"แบงก์"เบรกปล่อยกู้ ยก 3 เหตุผล แอร์พอร์ต เรลลิงก์ซบเซา รัฐบาลหนุนอีอีซี ลดลง ชี้"ซีพี"กู้ชนเพดานแล้ว

กระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่มี กลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้เริ่มขึ้นแล้ว อย่างเป็นทางการหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564

สำหรับการแก้ไขสัญญาครั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการใน 2 ประเด็น คือ
1.ประเด็นการจ่ายค่าสิทธิบริหาร แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับแนวทางการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19
2.ประเด็นการให้เอกชนคู่สัญญาก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองแก้ปัญหาพื้นที่ ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับผลกระทบ โควิด-19 แต่เป็นการแก้ปัญหา 2 โครงการ ใช้พื้นที่ก่อสร้างทับซ้อนกัน โดยเจรจาให้ กลุ่มซีพีสร้างแทรครถไฟเพิ่มจาก 2 แทรค เป็น 4 แทรค สำหรับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ด้วย ซึ่งรัฐจ่ายเงินชดเชย ค่าก่อสร้างส่วนนี้ให้กลุ่มซีพี


แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน คู่สัญญาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นข้อเสนอมาจาก บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้ระบุถึง ผลกระทบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จากการระบาดของโรคโควิด-19 จึงขอ ปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญา ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน โดยยื่นข้อเสนอ 3 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับโครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ คือ 1.การขยายระยะเวลาจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากเดิมที่ต้องชำระเต็มจำนวน 10,671 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ต.ค.2564 2.การเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมทุนโครงการ (PIC) 3.การขอขยายระยะเวลาโครงการ

แหล่งข่าว กล่าวว่า ภายหลังจาก ครม.เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างคู่สัญญา ทั้ง 2 ฝ่าย ในวันที่ 20 ต.ค.2564 เรื่อง การบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้ามีความ ต่อเนื่องในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และให้บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด เข้ามาเดินรถไฟฟ้าได้ในวันนี้ (25 ต.ค.)

ขีดเส้นแก้สัญญาเสร็จ3เดือน

ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ครั้งนี้กำหนดกรอบเวลาให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อไม่ให้กระทบกับการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) และระยะเวลาการเริ่มก่อสร้างโครงการมากนัก สำหรับการแก้ไขสัญญาเบื้องต้น คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นชอบ เลื่อนการจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 3 เดือน และปรับวิธีการชำระเงินค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์จาก งวดเดียว 10,671 ล้านบาท เป็น 6 งวด ระยะเวลา 6 ปี ดังนี้

ปีที่ 1 จ่าย 5% , ปีที่ 2 จ่าย 7% , ปีที่ 3 จ่าย 10% , ปีที่ 4-5 จ่ายปีละ 10% และ ปีที่ 6 จ่าย 58% โดยจ่ายดอกเบี้ยในช่วง 6 ปี รวม 1,034 ล้านบาท และงวดแรกเริ่มจ่ายเมื่อการระบาดของโรคโควิดยุติลง และภาครัฐยกเลิกมาตรการที่กระทบจำนวน ผู้โดยสารแอร์พอร์ต เรลลิงก์

แบงก์ไม่ปล่อยกู้ไฮสปีด

รายงานข่าวระบุว่า บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด มีปัญหาในการเจรจาขอสินเชื่อเพื่อลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง โดย ได้รับการชี้แจงจากสถาบันเงิน 3 ประเด็น สำคัญ คือ 1.โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์มีปัญหาซบเซา จำนวนผู้โดยสารน้อยลงจากผลกระทบของโควิด-19 โดยจำนวน ผู้โดยสารเฉลี่ยล่าสุดลดเหลือวันละ 9,000 คน จากช่วงก่อนการระบาดมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 70,000 คน

2.รัฐบาลให้การสนับสนุนนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา 3.อัตราหนี้ของกลุ่มซีพีชนเพดานหลังจากที่ผ่านมาธุรกิจในเครือมีการกู้เงิน เพื่อลงทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะการซื้อกิจการของเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย 338,445 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนดังกล่าวกลุ่มซีพีใช้ทั้งกระแสเงินสดของบริษัทในกลุ่มซีพีและการกู้เงิน สำหรับมูลค่าหนี้สินของบริษัทสำคัญ ในเครือซีพี รวม 1.6 ล้านล้านบาท แบ่ง 2 ส่วน คือ 1.บริษัทเครือเจิญโภคภัณฑ์ จำกัด 96,508 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 2.บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลไตรมาส 2 ปี 2564 ประกอบด้วย CPF 509,450 ล้านบาท, CPAll 404,400 ล้านบาท , True 544,333 ล้านบาท และ Makro 47,274 ล้านบาท

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กลุ่มซีพีต้องยื่นกู้เงิน จากธนาคารสัดส่วน 80% ของมูลค่าโครงการที่ 2.2 แสนล้านบาท หรือต้องกู้ราว 1.7 แสนล้านบาท

ชี้จำเป็นเยียวยา"ซีพี"

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ในช่วงที่มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 79,000 คน แต่โควิด-19 ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารลดลงและจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 9,000 คน จึงทำให้เอกชนคู่สัญญาขอให้ภาครัฐช่วยพิจารณาว่า ในสัญญาเข้าข่ายให้มีการเยียวยา หรือไม่

ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาครั้งนี้จะแก้ไขเฉพาะจุด และเมื่อคณะกรรมการกำกับดูแล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นชอบรายละเอียดส่วนที่จะแก้ไข สัญญาจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) และครม.ให้ความเห็นชอบก่อนลงนามแก้ไขสัญญา

นายคณิศ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการพิจารณา การเยียวยาผลกระทบพบว่ามีความเป็นไปได้ เพราะบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ไม่ได้จัดงบประมาณสำหรับบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์หลังวันที่ 25 ต.ค.เป็นต้นไป รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาได้เข้ามารับถ่ายทอดงานบริหารโครงการแล้ว 80% จึงทำให้การรับหน้าที่เดินรถไฟฟ้าต่อไม่มีปัญหา

ยืดจ่ายจนกว่าจะแก้สัญญา

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้เกิดปัญหาในส่วนของการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็น คู่สัญญา มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน ซึ่ง ผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัยของภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ เอกชนได้ขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ และการขยายระยะเวลาโครงการ

"ซีพี"ปรับปรุงโฉมสถานี
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ได้เข้ามาปรับปรุงพื้นที่โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เช่น ชานชาลา ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ห้องน้ำ ระบบปรับอากาศ ในสถานี พื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสาร ทางเท้า ลานจอดรถ ป้ายบอกทาง ประตูเข้า-ออก การเพิ่มพื้นที่บริการผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมทั้งมีการดัดแปลงขบวนรถ Express line จำนวน 4 ขบวน จากเดิมรับผู้โดยสารได้ 3 ตู้ อีก 1 ตู้ใช้สำหรับขนสัมภาระกระเป๋า ส่งผลให้ขบวน Express Line จะเพิ่มขีดความสามารถรองรับ ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 250-300 คนต่อเที่ยว

"การบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เอกชนไม่ทิ้งแน่นอน เพียงแต่ตอนนี้เขาขอให้รัฐพิจารณาเยียวยาเท่านั้น วันที่ 25 ต.ค.นี้ ต้องเข้ามาบริหาร ซึ่งการรถไฟฯ ยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านมือบริหารในครั้งนี้ ทุกบริการจะยัง เหมือนเดิม บัตรโดยสาร สิทธิประโยชน์ที่ผู้โดยสารได้รับจะยังใช้ได้อย่างต่อเนื่อง" แหล่งข่าว กล่าว

"แมกโนเลีย"สำรวจมักกะสัน
ขณะที่พื้นที่เชิงพาณิชย์ที่เอกชนจะได้รับ สิทธิบริหารด้วยนั้น ก่อนหน้านี้ได้เข้ามาหารือ ร่วมกับ ร.ฟ.ท.เพื่อรายงานแผนพัฒนาโครงการในเบื้องต้น โดยจะปรับปรุงพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสันในรูปแบบโครงการผสมผสาน (มิกซ์ยูส) ซึ่งบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่ในสถานีมักกะสันแล้ว

"แผนเร่งด่วนที่ทางเอกชนกำหนดไว้ ทราบว่าจะเริ่มจากการปรับปรุงและ บริหารรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มนำร้านค้าเข้ามา บริการในสถานีรถไฟฟ้า ส่วนการพัฒนา พื้นที่เชิงพาณิชย์ยังไม่ถือเป็นเรื่อง เร่งด่วน เพราะเชื่อว่าเอกชนน่าจะรอดู การฟื้นตัวของปริมาณผู้โดยสารที่จะกลับมาเดินทาง เพราะปัจจุบันผู้โดยสาร แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ลดลงมากจากก่อนเกิดโควิดที่มีวันละมากกว่า 70,000 คน"
จับตาขุมทรัพย์มักกะสัน เมกะโปรเจค'เจ้าสัวซีพี'

บุษกร ภู่แส

กรุงเทพธุรกิจ

ย่านมักกะสันกำลังกลายเป็น แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ หลัง บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เชื่อม 3 สนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) ได้ลงนามในสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 จุดเริ่มต้นการเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ไปพร้อมกับการพัฒนาที่ดินในมักกะสัน ที่กลุ่มซีพีได้รับสิทธิพัฒนาโครงการ มิกซ์ยูส "เมืองอัจฉริยะ" มูลค่านับแสนล้านบาท ภายในระยะเวลา 50 ปี พื้นที่มักกะสันจึงถือเป็น "ขุมทรัพย์ใหม่" ของกลุ่มซีพี จากที่ ถือครองที่ดินมักกะสัน เนื้อที่ 140-150 ไร่ ซึ่งมีขนาดแปลงที่ดินใหญ่กว่า อภิมหาโปรเจค "วัน แบ็งคอก" ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี บน

ถนนพระราม 4 ซึ่งเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บนถนนวิทยุ 104 ไร่ ตามแผนจะพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท พื้นที่รวม 1.83 ล้านตารางเมตร ประกอบไปด้วย พื้นที่รีเทลและไลฟ์สไตล์ โรงแรม คอนโดมิเนียม ซึ่งจะเปิดให้บริการเฟสแรก ในปี 2566

สำหรับพื้นที่มักกะสัน ซี.พี. ใช้ เม็ดเงินลงทุนราว 1.4 แสนล้านบาท คาดว่าหากแล้วเสร็จจะเป็นโครงการ มิกซ์ยูสที่ใหญ่ที่สุด ในกรุงเทพมหานคร เฉพาะพื้นที่อาคารเกินกว่า 2 ล้านตารางเมตรคิดเป็นมูลค่าหลักแสนล้านบาท เน้นเชิง พาณิชยกรรม โดยจะมีทุกสรรพสิ่งอยู่ในโครงการนี้ กล่าวคือ โรงแรม 2 สเกล เข้าไปอยู่ในโครงการทั้งโรงแรมระดับลักชัวรีหรือ อัพสเกล อย่างน้อย 2 ตึก นอกจากนี้ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน พื้นที่รีเทล เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ และคอนโดมิเนียม (ลิสโฮลด์) ที่มีการออกแบบสเปชียล "แตกต่าง" จาก บิ๊กโปรเจค "เดอะ ฟอเรสเทียส์" ภายใต้ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ในเครือ ซีพี มุ่งสร้างโครงการเมืองเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี

ทั้งนี้ อภิโปรเจคมิกซ์ยูสของ "เจ้าสัวซีพี"บนที่ดินมักกะสัน 140 ไร่ โครงการนี้ สร้างปรากฏการณ์ทอล์คออฟเดอะทาวน์อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ขนาดมูลค่า การลงทุนทุบสถิติ "วัน แบ็งคอก" ของเจ้าสัวเจริญ! ตามมาด้วย ความสูงของตึกสูงระฟ้าที่จะกลายเป็นแลนด์มาร์ค!ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ล่าสุดมีกระแสข่าว แผนสร้าง "ซูเปอร์ทาวเวอร์-มักกะสันคอมเพล็กซ์" ตึกสูงที่สุดในไทยด้วยความสูง 550 เมตร 120 ชั้น พื้นที่ใช้สอยไม่ต่ำกว่า 1-2 ล้านตารางเมตร ปักหมุดเป็นศูนย์กลางชอปปิงระดับโลก มีสถานพยาบาล ล้ำหน้าเรื่องนวัตกรรม และแหล่งรวมความบันเทิง ศูนย์กลาง การประชุมระดับนานาชาติ เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ

อีกทั้งยังกันพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 50 ไร่ ก่อสร้างทางเชื่อมจาก ทางสาธารณะเข้าโครงการบริเวณ ถนนอโศก ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเชื่อมไฮสปีด เจาะอุโมงค์เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรีและสถานีไฮสปีด อีกด้วย !!

หากเป็นจริงตามนั้น หมายความว่า ตึกแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์แอท ไอคอนสยาม ที่มีความสูง ถึง 317.95 เมตร 70 ชั้น กำลังจะโดนโค่นแชมป์ในอนาคตอย่างแน่นอน แม้จะยังไม่เห็นมาสเตอร์แพลนใหม่ล่าสุดหลังวิกฤติโควิด-19 ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไรนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่ปลี่ยนไป หากแต่อภิโปรเจคมิกซ์ยูส มักกะสันของ "เจ้าสัวซีพี" ไล่ทำลายสถิติ โครงการคู่แข่งไปแล้วหลายรายการ

นับเป็นโครงการที่ผู้คนเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดในการทำลายหน้าประวัติศาสตร์ทางการลงทุนต่างๆ ในประเทศไทย ด้วย "จุดขาย" ที่สร้าง ปรากฏการณ์ทอล์คออฟเดอะทาวน์ในเรื่องของการเป็นที่สุดของที่สุด! อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 9:57 am    Post subject: Reply with quote

ปม'ส่งมอบพื้นที่'ล่าช้า ยืดตอกเสาเข็มไฮสปีด
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, October 25, 2021 05:06

กรุงเทพธุรกิจ ร.ฟ.ท.เผยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ล่าช้า กว่าแผน 2 เดือน ติดปัญหาเวนคืนบางส่วน "สกพอ."คาดเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 65 เผยกลุ่มซีพีลงพื้นที่เตรียมก่อสร้างแล้ว

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ดำเนินการมา 2 ปี หลังจากมีการลงนาม ร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 และปัจจุบัน เป็นช่วงที่ ร.ฟ.ท.จะต้องดำเนินการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับเอกชนคู่สัญญา

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา อยู่ใน ระดับที่พอใจแม้จะยังไม่เริ่มก่อสร้าง เพราะยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ แต่จะมี การเร่งส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ในขณะที่ การเวนคืนที่ดินและการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคดำเนินการเสร็จใน 2 ปี ซึ่งถือว่าเร็วเมื่อเทียบกับหลายโครงการ ในช่วงที่ผ่านมา

"ปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 น่าจะ เริ่มก่อสร้างได้ ตอนนี้กำลังคุยเรื่องการตอกเสาเข็มเพื่อเริ่มก่อสร้าง แต่ขอเคลียร์ปัญหาของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้เสร็จก่อน ซึ่งจะ มีการแก้ไขสัญญาทั้งประเด็นแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ งานโยธาช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน"นายคณิศ กล่าว
ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายในปลายปี 2564 จะเห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก(อีอีซี)คืบหน้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ที่เริ่มก่อสร้างไปแล้ว ในขณะที่รถไฟความเร็วสูงและ สนามบินอู่ตะเภาจะเริ่มก่อสร้าง ในอีกไม่นาน

ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า2เดือน

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่ในโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อาจจะล่าช้าออกไปจากแผนราว 2 เดือน หรือส่งมอบได้ภายใน เดือน ธ.ค.2564 เนื่องจากยัง ติดปัญหาการเวนคืนที่ดินบางส่วน ซึ่งยังติดปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณ และที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้หารือร่วมกับ สกพอ.และอยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขเรื่องนี้ สำหรับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1.ช่วงสุวรรณภูมิอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ระยะทาง5,521 ไร่ ซึ่งเดิมมีกำหนดส่งมอบภายในวันที่ 24 ต.ค.2564 แต่ต้องล่าช้าออกไป โดยที่ผ่านมาได้มีการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท รวมถึงมีการโยกย้ายผู้บุกรุกที่กีดขวางการก่อสร้าง และได้ดำเนินการโยกย้ายแล้วเสร็จ 100% ในขณะที่งานรื้อย้ายสาธารณูปโภคมี 756 จุด 2.ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบแล้วเสร็จตาม เป้าหมายภายใน 2 ปี นับจากวันลงนาม สัญญาเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 จะแบ่งการส่งมอบ ดังนี้

ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร มีสาธารณูปโภค ที่ต้องรื้อย้ายเล็กน้อย เช่น ท่อประปาและสถานีสูบน้ำ ส่วนผู้บุกรุกทั้งหมดราว 20 ราย ได้ย้ายออกจากพื้นที่เรียบร้อยแล้ว

ช่วงพญาไท-บางซื่อ ระยะทาง 22 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคสำคัญขวางอยู่ คือ ท่อน้ำมัน รายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดรื้อย้ายได้ในปี 2565 นอกจากนี้ผู้บุกรุกราว 100 หลังคาเรือน ได้ทยอยออกจากพื้นที่แล้ว เหลือ บางส่วนที่ไม่ย้ายออก โดย ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย คาดว่าจะดำเนินการขอคืนพื้นที่ได้ภายในปี 2565

ลงพื้นที่เตรียมงานก่อสร้าง

นอกจากนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้ลงพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเตรียมงานก่อสร้าง ถนนสะพาน บ้านพัก คนงาน โรงหล่อชิ้นส่วน โดยเอกชน คู่สัญญาได้ดำเนินการออกแบบ และเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง เช่น ก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวสำหรับงานก่อสร้างโครงการ ก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน และก่อสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างทางวิ่งแล้ว

ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญายืนยันว่า มีความพร้อมเริ่มงานก่อสร้างโครงการทันที เมื่อได้รับมอบพื้นที่โครงการ ช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา จาก ร.ฟ.ท. โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4-5ปี และจะเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงพญาไท สุวรรณภูมิ ถึงอู่ตะเภา ในปี 2568 ตามแผนเร่งรัด ในขณะที่การสำรวจพื้นที่โครงการที่ผ่านมามีหลายจุดที่เจอปัญหา ซึ่งพื้นที่ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ติดปัญหารื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยเฉพาะท่อน้ำมันในช่วงพญาไท ส่วน ผู้บุกรุกได้ออกจากพื้นที่เรียบร้อยแล้วในช่วงที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีแดง และทำให้มีการปรับข้อกำหนดของการส่งมอบพื้นที่ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ส่วนช่วงพญาไท-บางซื่อ ที่ผ่านมา ติดปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคบริเวณท่อน้ำมัน ซึ่งต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จึงจะมีการรื้อย้ายได้

ร.ฟ.ท.ดันแผนส่งมอบพื้นที่

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในภาพรวม ร.ฟ.ท.ถือว่าดำเนินการได้เป็นไปตามแผนงานและตามสัญญากำหนดไว้ โดยจะมีการทยอยส่งมอบพื้นที่แต่ละช่วง และโครงการนี้จะก่อสร้างแล้วเสร็จเพื่อเปิดให้บริการในเดือน พ.ย.2571

สำหรับการส่งมอบพื้นที่ให้ เอกชนเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ปัจจุบันไม่มีปัญหาติดขัด ร.ฟ.ท. จะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามสัญญากำหนดไว้ เช่นเดียวกับการโอนสิทธิบริหารรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่เอกชนจะเข้ามาเริ่มดำเนินการใน วันที่ 25 ต.ค.2564

เริ่มตอกเสาเข็มปีหน้า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า แผนดำเนินงานของ กระทรวงคมนาคมในปี 2565 จะให้ ความสำคัญกับการพัฒนาการขนส่งระบบราง โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 โครงการ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการในขณะนี้ ซึ่งระหว่าง ปี 2565-2571 จะมีการลงทุนถึง 2.2 แสนล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งปัจจุบัน ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเตรียมส่งมอบพื้นที่ โดย ร.ฟ.ท.จะดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และที่ผ่านมาเอกชน คู่สัญญาได้เข้าพื้นที่เพื่อเตรียมเริ่ม งานก่อสร้างแล้ว โดยคาดว่าในช่วงปี 2565 จะสามารถเริ่มงานก่อสร้างโครงการได้

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2021 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

จี้รฟท.รับเงิน10,671ล้านตามสัญญา ก่อนโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ให้ซีพี
หน้าเศรษฐกิจ - Mega Project
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:16 น.

สมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.) ยื่นหนังสือ จี้ผู้ว่า รฟท.รับเงิน 10,671ล้านบาท ตามสัญญา 24ต.ค.62 ก่อนโอนสิทธิ์บริหารรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ ให้เครือเจริญโภคภัณ์หรือกลุ่มซีพี ถือหุ้นใหญ่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน ชื่อใหม่ เอเชีย เอราวัน แบ่งชำระ6งวด

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่19 ตุลาคมเห็นชอบแนวทาง เยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19กรณี แบ่งจ่ายชำระค่าสิทธิ์การเช่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ให้กับ เครือเจริญโภคภัณ์หรือกลุ่มซีพี ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ตามข้อเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี เป็นประธาน, การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท. )ฯลฯ นั้น

นายสุวิช คุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.) มีหนังสือถึง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท. ) ระบุกรณีรฟท.จะโอน สิทธิลงทุนในแอร์พลอร์ต เรลลิงก์ ให้กับภาคเอกชนคู่สัญญา ต้องชำระเงินให้การรถไฟฯจำนวน 10,671ล้านบาทก่อน ตามสัญญาร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ต้องส่งมอบสิทธิ์ลงทุนในกิจการแอร์พลอร์ต เรลลิ้งก์ ภายใน 24เดือน เป็นเงินจำนวน หนึ่งหมื่นหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านเก้าหมื่นบาท (10,671,090,000)บาท เอกชนจึงมีสิทธิเข้าไปดำเนินกิจการเชิง

พาณิชย์ในแอร์พอร์ต เรลลิงก์ได้ ทั้งนี้ กิจการแอร์พลอร์ต เรลลิ้งก์เป็นบริษัทลูกของรฟท.ที่มีสภาพพร้อมในการให้บริการโดยสารแก่ประชาชนอยู่แล้วและกิจการเข้าสู่จุดคุ้มทุนและเริ่มสูงเกิจการที่มีกำไรหากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนที่ดีเมื่อเอกชนได้สิทธิลงทุนบริหารกิจการดังกล่าวก็สามารถดำเนินกิจการต่อหารายได้โตยไม่ต้องลงทุนใหม่ และยังสามารถนำสถานีและพื้นที่รอบสถานนีไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ และยังได้พื้นที่ดินย่านมักกะสันประมาณ 150ไร่ พื้นที่ดินศรีราชาประมาณ 25ไร่ เป็นพื้นที่คิดค่าเช่าเปรียบเทียบจาก

ราคาประเมินมิใช่จากราคาตลาด สัญญาเช่าระยะยาว 50ปี และยังได้สทธิเช่าต่ออีก 49ปี เอกชนสามารถไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ทันทีหลังได้สิทธิ์ เอกชนจึงได้ประโยชน์จากโครงการนี้เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า รฟท. ต้องรับชำระเงินจำนวน 10,671 ล้านบาท ก่อนการส่งมอบสิทธิต่างๆในกิจการแอร์พลอร์ล เรลลิงก์ให้แก่เอกชนจึงเรียนมาเพื่อให้การบริหารเกิดประโยชน์สูงสุดแก่การรถไฟฯ ประเทศชาติและประชาชนด้วย จักขอบคุณยิ่ง


Last edited by Wisarut on 25/10/2021 9:15 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2021 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่การปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้า ARL สถานีพญาไท ก่อนการถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรลลิงก์ไปยังเอเชีย เอรา วัน
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20.21 น.

วันนี้ (25 ต.ค. 64) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง นำคณะเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ลงพื้นที่เพื่อสำรวจการปรับปรุงสถานีและการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ณ สถานีพญาไท โดยมีผู้บริหารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1)
บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือ AERA1 ได้รับสิทธิในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (รถไฟฟ้า ARL) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทาง AERA1ไม่สามารถชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรสลิงก์ ได้ครบถ้วนทั้งหมดภายในวันที่ครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมลงทุน จึงขอเลื่อนวันถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ออกไปอีก 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 โดยทาง AERA1 จะให้การสนับสนุนบุคลากรทั้งหมดและรับความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้งานดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด (KPI) โดย รฟท. รฟฟท. และที่ปรึกษาของ รฟท. มีสิทธิกำกับดูแลเอกชนคู่สัญญาให้ดำเนินการตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด ดังกล่าว
ทั้งนี้ บัตรโดยสารของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (บัตรเดิม) ยังคงใช้งานได้ตามปกติและสามารถเติมเงินเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้า ARL ได้เหมือนเดิม รวมทั้งยังไม่มีการนำบัตรเดิมมาเปลี่ยนเป็นบัตรใหม่ของเอกชนที่ได้รับสิทธิ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป

สำหรับการลงพื้นที่ฯ ดังกล่าวผู้แทนหน่วยงานได้ให้ข้อมูลในการปรับปรุงสถานีและการให้บริการเดินรถ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานในช่วงระหว่างการถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรลลิงก์ โดย ขร. ได้เน้นย้ำในการให้บริการรถไฟฟ้า ARL ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ และได้รับความสะดวก หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือดำเนินการต่างๆที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบและสร้างเข้าใจอย่างรวดเร็ว

Mongwin wrote:
“กรมฯราง” เช็กงาน “แอร์พอร์ตลิงก์” หลัง “AERA 1” ให้บริการวันแรก
เดลินิวส์ 25 ตุลาคม 2564 20:53 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


ขร.ตรวจ “แอร์พอร์ตลิงก์”-ซี.พี.เลื่อนชำระค่าสิทธิ์ ยันบริการ-บัตรโดยสารใช้ได้เหมือนเดิม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 ตุลาคม 2564 เวลา 23:43 น.
ปรับปรุง: 25 ตุลาคม 2564 เวลา 23:43 น.



กรมรางตรวจแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปรับปรุงสถานีพญาไท ด้าน “เอเชีย เอรา วัน” พร้อมส่งบุคลากรเดินรถและรับความเสี่ยง ช่วง 3 เดือนเลื่อนชำระค่าสิทธิ์ ยันบัตรโดยสารยังใช้เดินทางได้เหมือนเดิมตามปกติ

วันที่ 25 ต.ค. 64 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และเจ้าหน้าที่ ขร.ลงพื้นที่เพื่อสำรวจการปรับปรุงสถานีและการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ณ สถานีพญาไท โดยมีผู้บริหารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1)

สำหรับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือ AERA1 ได้รับสิทธิในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (รถไฟฟ้า ARL) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทาง AERA1 ไม่สามารถชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ครบถ้วนทั้งหมดภายในวันที่ครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมลงทุน จึงขอเลื่อนวันถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ตเรลลิงก์ออกไปอีก 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 โดยทาง AERA1 จะให้การสนับสนุนบุคลากรทั้งหมดและรับความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้งานดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด (KPI) โดย รฟท. รฟฟท. และที่ปรึกษาของ รฟท.มีสิทธิกำกับดูแลเอกชนคู่สัญญาให้ดำเนินการตามมาตรฐานดัชนีชี้วัดดังกล่าว

ทั้งนี้ บัตรโดยสารของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (บัตรเดิม) ยังคงใช้งานได้ตามปกติและสามารถเติมเงินเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้เหมือนเดิม รวมทั้งยังไม่มีการนำบัตรเดิมมาเปลี่ยนเป็นบัตรใหม่ของเอกชนที่ได้รับสิทธิจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป

สำหรับการลงพื้นที่ดังกล่าว ผู้แทนหน่วยงานได้ให้ข้อมูลในการปรับปรุงสถานีและการให้บริการเดินรถรวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานในช่วงระหว่างการถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดย ขร.ได้เน้นย้ำในการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ และได้รับความสะดวก หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือดำเนินการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบและสร้างความเข้าใจอย่างรวดเร็ว


Last edited by Wisarut on 26/10/2021 7:54 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2021 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ 26 ต.ค. 2564 เวลา 12:34 น.

สกพอ. รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน หนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในพื้นที่อีอีซี (EEC Project list)

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี กล่าว รายงานความก้าวหน้าการลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project list) ที่ปัจจุบันมีความคืบหน้า และได้ดำเนินการในด้านต่างๆ ต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินก้าวหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เอกชนต้องได้สินเชื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการฯ มีความก้าวหน้าตามกำหนดอย่างต่อเนื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างของโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) แล้ว 98.11% ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ซึ่งเอกชนคู่สัญญา ได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563 ประกอบด้วย การสร้างถนนและสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีกฃ 1.89% ภายในเดือนมกราคม 2565 และเมื่อเอกชนคู่สัญญาตรวจรับพื้นที่แล้วเสร็จ รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (Notice to Proceed, NTP) คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2565

ดังนั้น ปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาต้องได้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพราะสัญญาร่วมลงทุนกำหนดว่าให้เอกชนคู่สัญญาทำสัญญาสินเชื่อโครงการกับสถาบันการเงิน (หรือสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนสำหรับโครงการฯ) ภายใน 240 วัน นับจากวันที่ รฟท. ออก NTP ดังนั้นขั้นตอนการหาสินเชื่อจะแล้วเสร็จประมาณ เดือน พฤศจิกายน 2565


2. แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ประชาชนมาก่อน ทุกขั้นตอนโปร่งใส รัฐไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมกับเอกชน กรณีเอกชนเข้ารับดำเนินการแอร์พอร์ตลิงก์นั้น ปรากฏว่าสถานการณ์โควิดทำให้ผู้โดยสารลดลงจากประมาณ 7-8 หมื่นคน/วัน เหลือเพียง 1-2 หมื่น คน/วัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดการณ์มาก่อน ซึ่ง รฟท. รับขาดทุนมาโดยตลอด และต้องให้มีการถ่ายโอนการดำเนินการตามกำหนดจึงไม่จัดเตรียมงบประมาณไว้ล่วงหน้า

ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) จึงได้ให้นโยบายว่าให้หาทางแก้ไขโดยไม่ให้กระเทือนต่อประชาชนผู้โดยสาร วันที่ 20 ตุลาคม 2564 รฟท. และเอกชนคู่สัญญา จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อให้บริหารสัญญาร่วมลงทุน ในการแก้ไขปัญหาโครงการฯ เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 เพื่อให้เอกชนเข้ารับดำเนินการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และให้มีบริการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

• เอกชนเข้ารับดำเนินการ แอร์พอร์ต ลิงก์ นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ตามกำหนดการที่วางไว้

• เอกชนคู่สัญญารับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมถึงบุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมด รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย และการดำเนินการอื่นใด เพื่อทำให้การเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษาระบบแอร์พอร์ต เรลลิงก์เป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด หรือ KPI ที่ รฟท. กำหนด

ซึ่งก่อนการเข้ารับเนินการเอกชนได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1,100 ล้านบาท ในการดำเนินการปรับปรุงระบบและบริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ลงนามสัญญาร่วมลงทุน จึงมีความพร้อมด้านเทคนิคและบุคคลากร

• รฟท. ยังเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร ไม่โอนรายได้ให้เอกชนในทันที แต่จะโอนให้เมื่อแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้จะให้เอกชนนำค่าโดยสารดังกล่าวไปหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากกำไรต้องส่งคืน รฟท. ดังนั้น รฟท. จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุน จากแอร์พอร์ต เรลลิงก์ อีกต่อไป ซึ่งคิดเป็นประมาณ 600 ล้านบาทในปี 2564

• ในวันที่ลงนามบันทึกข้อตกลง เอกชนคู่สัญญาได้ชำระเงินจำนวน 1,067.11 ล้านบาท คิดเป็น 10% สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามบันทึกข้อตกลง

• บันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 3 เดือน เป็นการเจรจาหาทางออกร่วมกัน โดยรัฐต้องไม่เสียประโยชน์และเป็นธรรมกับเอกชน โดยการเจรจาจะดำเนินการโดยคณะทำงาน ที่แต่งตั้งโดย รฟท.
และคณะกรรมการกำกับเพื่อนำเสนอ รฟท. กพอ. และ ครม.ต่อไป

ทั้งนี้ ทางเอกชนได้เข้าดำเนินการ ตามบันทึกข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆ ในการให้บริการประชาชน โดยรฟท. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้เอกชนได้เสนอการลงทุนพัฒนาแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ และเอกชนได้รับความเป็นธรรม

3. การร่วมลงทุนรัฐและเอกชนใน อีอีซี สู่ต้นแบบ รัฐประหยัดงบประมาณ ดึงเงินเอกชนร่วมพัฒนาประเทศ โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน อีอีซี พร้อมเป็นตัวอย่างของการร่วมทุนรัฐและเอกชน เพื่อประหยัดงบประมาณ และนำเงินทุนภาคเอกชนมาร่วมในการพัฒนาประเทศ

การร่วมทุนคือทั้ง 2 ฝ่าย รัฐและเอกชนเข้ามาร่วม “รับความเสี่ยงด้วยกัน” โดยเอกชนนำเงินทุนมาลงทุนด้วย ต่างกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่เอกชนรับจ้างรัฐบาล ซึ่งรัฐลงเงินจ้างเอกชนทั้งหมด และรัฐรับความเสี่ยงแต่ฝ่ายเดียวหากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้คาดมาก่อนการลงนามสัญญา ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐขยายเวลาส่งมอบงานและยกเว้นค่าปรับในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั่วไปให้กับผู้รับจ้างเมื่อเกิดโควิด-19 ในการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องมี “ความเข้าใจร่วมกัน” เป็นพื้นฐานที่จะเจรจาหาทางออกในกรณีสุดวิสัยที่ไม่คาดมาก่อน และนำไปสู่การแก้ไขสัญญาภายใต้ความเข้าใจร่วมกันให้โครงการประสบความสำเร็จ โดยรัฐและเอกชนไม่เสียเปรียบซึ่งกันและกัน

กรณีโควิด-19 ซึ่งอาจเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดการณ์มาก่อน เพราะรัฐบาลออกมาตรการกำหนดให้ธุรกิจและประชาชนหยุดการเดินทางเป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้จำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ลดลงเป็นจำนวนมาก นำไปสู่ “การเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด” อย่างเป็นธรรมโดยไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ

อย่างไรก็ตาม กรณีโครงการร่วมทุนอื่นๆ ใน EEC ไม่จำเป็นต้องนำมาสู่กระบวนการแก้ไขปัญหา เช่น กรณีแอร์พอร์ท ลิงก์ เพราะ โครงการท่าเรือมาบตาพุด และสนามบินอู่ตะเภา:เมืองการบินภาคตะวันออก กำลังจะเริ่มก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จใน 4 ปี ผลกระทบจากโควิดคงหมดไปแล้ว ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบังที่กำลังจะลงนามได้พิจารณากระทบเหล่านี้ในสัญญาไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 421, 422, 423 ... 545, 546, 547  Next
Page 422 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©