RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181474
ทั้งหมด:13492712
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 1:35 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กแป๊ะ” ตั้งคำถาม สวนสาธารณะคลองช่องนนทรีอาจจะทับซ้อนพื้นที่การสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทาในอนาคตหรือไม่!?!
Bangkok-Today ข่าวส่วนกลาง Jumpon 10/24/2021

“บิ๊กแป๊ะ” ตั้งคำถาม สวนสาธารณะคลองช่องนนทรีอาจจะทับซ้อนพื้นที่การสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทาในอนาคตหรือไม่!?!

พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้ตั้งคำถามผ่านเฟซบุ๊ค “จักรทิพย์คนทำงาน” จากกรณีโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีที่จะเป็นปอดของชาวกรุงเทพในอนาคต ระบุว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้ตั้งคำถามว่า งบประมาณที่ใช้มากถึง 980 ล้านบาท แต่เพิ่งได้รับจัดสรรงบประมาณเพียง 80 ล้านบาท เท่านั้น สำหรับเริ่มโครงการนำร่องในช่วงแรกจากถนนสาทรถึงซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ระยะทาง 200 เมตรก่อน

ประเด็นต่อมาคือพื้นที่ตรงนี้ในอนาคต จะมีการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ท่าพระ บนเส้นทางเดียวกันกับสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี หรือ BRT ปัจจุบัน แม้รถไฟฟ้าจะเป็นรูปแบบโมโนเรล ใช้พื้นที่ไม่มาก แต่ระหว่างการก่อสร้าง ก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้าง บริเวณเดียวกันกับสวนสาธารณะที่กรุงเทพกำลังก่อสร้าง ตลอดช่วงสถานีตั้งแต่ช่องนนทรีจนถึงสะพานพระราม 3

ท้ายที่สุดคำถามพล.ต.อ.จักรทิพย์ ระบุว่าการตั้งคำถามครั้งนี้ เพียงแค่อยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้คุยกันให้เรียบร้อย เพื่อมองเห็นภาพให้ตรงกัน และเพื่อนำเงินจากประชาชนมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานครทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2021 6:41 am    Post subject: Reply with quote

สจส.เล็งทำรถไฟไร้รางARTแทนBRT งบฯ240ล้าน/กม.วิ่งคู่ขนานคลองช่องนนทรี
แนวหน้า วันพุธ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
สจส. สำนักการจราจรและขนส่ง

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวถึงแผนการปรับเปลี่ยนการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ หรือ BRT เป็นรถไฟฟ้าในอนาคต ว่า สืบเนื่องจากโครงการรถ BRT จะสิ้นสุดสัญญาการเดินรถในปี 2566 สำนักการจราจรและขนส่ง มีแผนที่จะดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งขนาดรองทดแทนในเส้นทางของ BRT เบื้องต้นมีแนวคิดที่นำรูปแบบรถไฟฟ้าไร้ราง : Autonomous Rail Rapid Transit (ART) มาแทนในเส้นทางวิ่งรถ BRT เนื่องจากมีช่องเดินรถอยู่แล้ว สามารถปรับเปลี่ยนวางระบบเดินรถไฟฟ้าไร้รางได้ รวมถึงตัวสถานีก็สามารถใช้สถานีเดิมของ BRT ปรับเปลี่ยนระบบรองรับการเดินรถโดยที่ไม่ต้องก่อสร้างสถานีใหม่ อีกทั้ง ออกแบบให้คู่ขนานไปกับคลองช่องนนทรีได้ โดยรถไฟฟ้าไร้ราง จะลงทุนน้อยกว่าแบบมีราง วงเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าไร้ราง ART ประมาณ 240 ล้านบาท/กิโลเมตร ขณะที่ รถไฟฟ้าแบบมีราง วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 1,500 ล้านบาท/กิโลเมตร อย่างไรก็ดีต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ก่อน

ตามแผนสำนักการจราจรและขนส่งจะขอจัดสรรงบประมาณปี 2566 จ้างศึกษาระบบขนส่งขนาดรองทั้งระบบราง และระบบไร้ราง โดยศึกษาความเป็นไปได้ (FS) และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 8 เดือน จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการร่วมทุน รูปแบบ PPP (Public Private Partnership) ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปีน่าจะได้วิ่งบริการประมาณปี 2572-2573

สำหรับโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) หรือ BRT ปัจจุบันวิ่งให้บริการบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระราม 3 เริ่มต้นที่สถานีสาทร สิ้นสุดสถานีราชพฤกษ์ ระยะทาง16 กิโลเมตร รวม 12 สถานี ได้แก่ สาทร, อาคารสงเคราะห์,เทคนิคกรุงเทพ, ถนนจันทน์, นราราม 3, วัดด่าน, วัดปริวาส,วัดดอกไม้, สะพานพระรามเก้า, เจริญราษฎร์, สะพานพระรามสาม และราชพฤกษ์ ทุกสถานีติดตั้งลิฟต์สำหรับรถวีลแชร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. อัตราค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย โดยนักเรียนในเครื่องแบบบุคคลทุพพลภาพ(ผู้พิการ) และภิกษุสามเณร ไม่เก็บค่าโดยสาร ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการวันละ 15,000-20,000 คน ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครมีแผนยกเลิกโครงการฯ ปรับทำเป็นรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนใต้ พระโขนง-ช่องนนทรี-ท่าพระ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ


Last edited by Mongwin on 12/11/2021 6:48 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2021 6:41 am    Post subject: Reply with quote

ศึกษาโมโนเรลสายสีเทาให้เอกชนร่วมทุน
แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.

วันที่ 12 พ.ย. 2564 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดการสัมมนาปฐมนิเทศโครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) จัดประชุมสัมมนา นำเสนอข้อมูลโครงการด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์การเงินการลงทุน ด้านการวางแผนวิเคราะห์การร่วมทุนภาครัฐและเอกชน และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลเสนอขออนุมัติโครงการและสำหรับการเตรียมความพร้อมในการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership)

สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) เป็นหนึ่งในโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระบบรางสายรอง ตามแผน M-MAPและอยู่ระหว่างการดำเนินการ PPP เป็นเส้นทางที่รองรับการเติบโตย่านวัชรพลถึงทองหล่อ โดยจะเชื่อมการเดินทางจากชานเมืองฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ช่วยป้อนผู้โดยสารให้กับโครงข่ายสายหลักสายสีส้มและสายสีเขียว เชื่อมต่อกับโครงข่ายสายรองสายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีน้ำตาล

จุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล แนวเส้นทางมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านถนนอยู่เย็น ถนนสุคนธสวัสดิ์ ข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก ผ่านถนนสังคมสงเคราะห์ ข้ามถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัช ผ่านแยกประชาธรรมจุดตัดถนนประชาอุทิศ ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช ที่แยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9 ยกข้ามรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือเข้าสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลี้ยวเข้าถนนทองหล่อ สิ้นสุดที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีทองหล่อ

รวมระยะทาง 16.25 กิโลเมตร จำนวน15 สถานี

รูปแบบโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ขนาดคานรองรับทางวิ่ง 0.80 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ ความเร็ว 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาเดินทางไป–กลับ 62 นาที คาดว่าสามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 8,000-30,000 คน/ชั่วโมง และประมาณการเปิดให้บริการปี 2573 จะช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางย่านชุมชนหนาแน่น ที่ยังขาดแคลนระบบขนส่งสาธารณะ และยังไม่มีระบบรถไฟฟ้าให้บริการ


-------


เดินเครื่อง! ลุยศึกษา PPP รถไฟฟ้าสีเทา “วัชรพล-ทองหล่อ” 2.7 หมื่นล้าน
เดลินิวส์ 12 พฤศจิกายน 2564 14:04 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้จัดประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการงานจ้างที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom โดยนายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัด กทม. กล่าวเปิดการประชุมฯ ว่า รถไฟฟ้าสายสีเทา เป็นรถไฟฟ้าสายที่ 3 ที่ดำเนินการโดย กทม. หลังจากก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการ และเปิดให้บริการในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว และสายสีทอง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีอีก 1 โครงการที่รัฐบาลมอบให้ กทม. ดำเนินการด้วย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-สุวรรณภูมิ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา และจะให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับสายสีเทา

นายขจิต กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ทางสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ศึกษาความเหมาะสม จัดทำแบบเบื้องต้น และจัดเตรียมเอกสาร พร้อมทั้งศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเสร็จตั้งแต่ปี 58 แบ่งแนวเส้นทางเป็น 3 ระยะ รวมระยะทาง 40 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.3 กม. 15 สถานี, ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-พระราม 3 ระยะทาง 12.2 กม. 16 สถานี และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง 11.5 กม. 9 สถานี โดยผลการศึกษาเสนอแนะให้ดำเนินการระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เป็นโครงการนำร่องก่อน วงเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 2.75 หมื่นล้านบาท

Click on the image for full size

แต่เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อม ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมเลี่ยนแปลงไปจากเมื่อปี 58 และ กทม. มีแผนที่จะพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาให้ดำเนินการทบทวน และปรับปรุงผลการศึกษาเมื่อปี 58 เพื่อให้เป็นปัจจุบัน อาทิ แนวเส้นทาง สถานี การคาดการณ์ผู้โดยสาร รายได้ และมูลค่าลงทุน พร้อมทั้งศึกษาวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ด้วย มีระยะเวลาดำเนินการ 200 วัน คาดว่าจะจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วง วัชรพล-ทองหล่อ แล้วเสร็จปี 65 เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ปี 66 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน ในปี 67-68 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี (ปี69-72) และเปิดให้บริการปี 73  

ทั้งนี้ในส่วนของรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานอีไอเอ ครั้งสุดท้าย เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาต่อไป

นายชยภัทร รักพานิชย์มณี วิศวกรโครงการ กล่าวว่า โครงการใช้รูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ขับเคลื่อนด้วยล้อยาง และบังคับทิศทางด้วยคานรางเดี่ยว (Guideway Beam) รองรับผู้โดยสารได้ 8,000-30,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ระยะเวลาการเดินทางไป-กลับ ประมาณ 62 นาที ความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กม.ต่อชั่วโมง(ชม.) สูงสุด 80 กม.ต่อชม.

อย่างไรก็ตามภายหลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) และการทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Interview) ในช่วงประมาณเดือน ม.ค.65 และจะจัดสัมมนาสรุปผลโครงการ ในช่วงประมาณเดือน มี.ค. 65 เพื่อนำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป.


---------


กทม. ลุยโมโนเรล “วัชรพล-ทองหล่อ” 2.7 หมื่นล้าน คาดสรุปผล มี.ค. 65
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 - 13:49 น.

Click on the image for full size

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการ ในรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting งานจ้างที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ วงเงิน 27,500 ล้านบาท ให้สอดคล้องตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562) พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมการสัมมนา

นำร่อง “วัชรพล-ทองหล่อ”

นายขจิต กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ จัดเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกทม.และปริมณฑล ซึ่งที่ผ่านมา สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม จัดทำแบบเบื้องต้นและจัดเตรียมเอกสาร พร้อมทั้งศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ซึ่งแบ่งแนวเส้นทางออกเป็น 3 ระยะ

ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง –พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3 – ท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 40 กม.

โดยผลการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาโครงการระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ ระยะทางรวม 16.3 กม มีสถานีทั้งหมด 15 สถานี เป็นเส้นทางนำร่อง

ผู้โดยสารเริ่มต้น 8,000 คน

สำหรับแนวเส้นทางของโครงการระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ ตามผลการศึกษาเดิม มีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับรามอินทรา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก ผ่านถนนอยู่เย็น ถนนสุคนธสวัสดิ์ ข้ามถนนเกษตรนวมินทร์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก ผ่านถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีฉลองรัช และผ่านถนนพระราม 9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีพระราม 9

จากนั้นแนวเส้นทางจะยกข้ามรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี และเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีทองหล่อที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสายสุขุมวิท) โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) อยู่ที่บริเวณสถานีคลองลำเจียก

มีรูปแบบการพัฒนาโครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไป – กลับ ประมาณ 62 นาที ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 8,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

ต่อมา สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร มีแผนที่จะพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาให้ดำเนินการทบทวนผลการศึกษาเดิมและศึกษาวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ โดยมีขอบเขตการดำเนินงานประกอบด้วย


1) จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ

2) วิเคราะห์ความจำเป็นของโครงการ ในการกำหนดมาตรการสนับสนุน เพื่อให้โครงการร่วมลงทุนบรรลุวัตถุประสงค์

3) จัดทำหลักการของโครงการร่วมลงทุน นำเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

และ 4) ดำเนินการประชาสัมพันธ์ จัดการสัมมนา และทดสอบความสนใจของนักลงทุนภาคเอกชน (Market Sounding)

ทั้งนี้ ภายหลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครจะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) และการทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Interview) ในช่วงประมาณเดือนมกราคม 2565 และจะจัดสัมมนาสรุปผลโครงการ ในเดือนมีนาคม 2565 เพื่อนำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง

โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.greyline-ppp.com
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2021 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ศึกษาโมโนเรลสายสีเทาให้เอกชนร่วมทุน
แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.


-------


เดินเครื่อง! ลุยศึกษา PPP รถไฟฟ้าสีเทา “วัชรพล-ทองหล่อ” 2.7 หมื่นล้าน
เดลินิวส์ 12 พฤศจิกายน 2564 14:04 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


แต้มอีกสีรถไฟฟ้า!! โมโนเรลสีเทา”วัชรพล-ทองหล่อ”
*กทม.จ้างรีวิว 16.3 กม ลุย PPP 2.7 หมื่นล้าน
*ศึกษาเสร็จปี65ชงครม.เคาะ66เปิดบริการ73
*เชื่อมรถไฟฟ้า5สายวาร์ปกลางเมืองแค่ครึ่งชม.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3044697165751781
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2021 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

แต้มอีกสีรถไฟฟ้า!! โมโนเรลสีเทา”วัชรพล-ทองหล่อ”
*กทม.จ้างรีวิว 16.3 กม ลุย PPP 2.7 หมื่นล้าน
*ศึกษาเสร็จปี65ชงครม.เคาะ66เปิดบริการ73
*เชื่อมรถไฟฟ้า5สายวาร์ปกลางเมืองแค่ครึ่งชม.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3044697165751781

การศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้า สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ พ.ศ. 2562 l สจส.
Nov 12, 2021
Daoreuk Channel


https://www.youtube.com/watch?v=HfZKbsnu6zo

วีดิทัศน์การศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
ในหมวด 4 ส่วนที่ 1 การเสนอโครงการ
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564

โดย สำนักการจราจรและขนส่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/11/2021 7:19 am    Post subject: Reply with quote

โมโนเรลสีเทา'วัชรพล-ทองหล่อ'เติมโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสีกรุงเทพฯ
Source - เดลินิวส์
Sunday, November 14, 2021 05:24

Click on the image for full size

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการงานจ้างที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมาในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัด กทม. กล่าวเปิดการประชุม ว่า รถไฟฟ้าสายสีเทา เป็นรถไฟฟ้าสายที่ 3 ดำเนินการโดย กทม. หลังจากดำเนินการและเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และสายสีทอง เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชนไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีอีก 1 โครงการที่รัฐบาลมอบให้ กทม. ดำเนินการด้วย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-สุวรรณภูมิ อยู่ระหว่างศึกษาและจะให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับสายสีเทา

นายขจิต กล่าวต่อว่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ศึกษาความเหมาะสม จัดทำแบบเบื้องต้น และจัดเตรียมเอกสาร พร้อมทั้งศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ตั้งแต่ปี 58 แบ่งแนวเส้นทางเป็น 3 ระยะ รวมระยะทาง 40 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.3 กม. 15 สถานี, ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนงพระราม 3 ระยะทาง 12.2 กม. 16 สถานี และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง 11.5 กม. 9 สถานี

Click on the image for full size

ผลการศึกษาเสนอแนะให้ดำเนินการระยะที่ 1 ช่วงวัชรพลทองหล่อ เป็นโครงการนำร่องก่อน วงเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 2.75 หมื่นล้านบาท

แต่เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อม ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อปี 58 และ กทม. มีแผนที่จะพัฒนา โครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาให้ดำเนินการทบทวน และปรับปรุงผลการศึกษาเมื่อปี 58 เพื่อให้เป็นปัจจุบัน อาทิ แนวเส้นทาง สถานี การคาดการณ์ผู้โดยสาร รายได้ และมูลค่าลงทุน

พร้อมทั้งศึกษาวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ด้วย มีระยะเวลาดำเนินการ 200 วัน คาดว่าจะจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วง วัชรพล-ทองหล่อ แล้วเสร็จปี 65 เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ปี 66 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน ในปี 67-68 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี (ปี69-72) และเปิดให้บริการปี 73

Click on the image for full size

ในส่วนของรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานอีไอเอ ครั้งสุดท้าย เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาต่อไป

นายชยภัทร รักพานิชย์มณี วิศวกรโครงการ กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีเทาจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 5 สี แนวเส้นทางช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ตามผลการศึกษาเดิม มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรา กับถนนประดิษฐ์มนูธรรม สามารถเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมฝั่งทิศทางขาออก โดยวางโครงสร้างบนพื้นที่ด้านข้างทางเท้า และทางจักรยาน ข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีคลองลำเจียก แนวเส้นทางยังคงมุ่งลงใต้ข้ามถนนลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีฉลองรัช ผ่านถนนประชาอุทิศ และข้ามทางพิเศษศรีรัชที่แยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่สถานีพระราม 9

จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตก เข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเลี้ยวลงมาทางใต้เข้าสู่ถนนทองหล่อ จนกระทั่งมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณถนนซอยสุขุมวิท 55 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีทองหล่อ มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ที่สถานีคลองลำเจียก

โครงการใช้รูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ขับเคลื่อนด้วยล้อยาง และบังคับทิศทางด้วยคานรางเดี่ยว (Guideway Beam) รองรับผู้โดยสารได้ 8,000-30,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ระยะเวลาการเดินทางไป-กลับ ประมาณ 62 นาที ความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กม.ต่อชั่วโมง (ชม.) สูงสุด 80 กม.ต่อชม.

Click on the image for full size

นายชยภัทร กล่าวต่อว่า โครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าจะวิ่งไปตามแนวทางเท้าช่วงถนนประดิษฐ์มนูธรรม และเกาะกลางถนนช่วงถนนทองหล่อ โดยมีช่วงระยะห่างระหว่างเสาประมาณ 25-30 เมตร มีความสูงของทางวิ่งเฉลี่ย 14-15 เมตรจากผิวจราจร แต่มีบางช่วงที่ต้องข้ามรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หรือทางด่วน อาจต้องสูง 26 เมตร และบางช่วงอาจสูง 18-22 เมตร ส่วนจุดตัดระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเทากับรถไฟฟ้าทั้ง 5 สีนั้น จะเชื่อมต่อด้วยทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) ไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร ขณะที่อัตราค่าโดยสาร จะมีค่าแรกเข้า และบวกเพิ่มตามระยะทาง ส่วนจะเป็นในอัตราใดต้องรอผลการศึกษาก่อน

เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเทาแล้วเสร็จ จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เข้าสู่ใจกลางเมือง อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย ส่วนการดำเนินการในระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3-ท่าพระนั้น ตามผลการศึกษาเดิมระบุว่า หลังจากเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 อีกประมาณ 10 ปี จะเปิดให้บริการในช่วงระยะที่ 2 และ 3 ต่อไป

โมโนเรลสายสีเทา ช่วยแต้มสีเติมโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสีให้คนกรุงเทพฯ.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2021 7:40 am    Post subject: Reply with quote

กดปุ่มเมกะโปรเจ็กต์หมื่นล้าน กทม.เคลียร์งบรับเลือกตั้ง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 - 07:42 น.

Click on the image for full size
สะพานเกียกกาย

กทม.เตรียมกดปุ่มเมกะโปรเจ็กต์ เคลียร์งบฯลงทุน 1.1 หมื่นล้าน ก่อนเลือกตั้งผู้ว่าฯ ต้นปี’65 ขีดเส้นเบิกจ่ายจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือน ธ.ค. “บิ๊กวิน” สั่งเร่ง 7 โครงการ สำนักโยธาจ่อประมูลสะพานเกียกกายเฟส 3 ปิดจ็อบ “พรานนก-พุทธมณฑลสาย 4” ดันอีก 2 เส้นทางรวด เปิดเอกชนลงทุน PPP รถไฟฟ้า “บางนา-สุวรรณภูมิ” และ “วัชรพล-ทองหล่อ”

สัญญาณการจัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ชัดเจนขึ้น หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 7 ก.ย. 2564 เห็นชอบตามที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เสนอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นของ อปท. ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา และกำหนดไทม์ไลน์การเลือกตั้ง 28 พ.ย.-12 ธ.ค. 2564

โดยในส่วนของ กทม. การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภา กทม. (ส.ก.) จะอยู่ช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. 2565 ทำให้หลายฝ่ายจับตามองว่า ผู้บริหาร กทม.ชุดปัจจุบันจะเร่งสปีดลงทุนโครงการขนาดใหญ่ก่อนการเมืองจะผลัดใบเปลี่ยนขั้ว แม้ 1-2 ปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจจะทำให้ กทม.มีงบฯลงทุนจำกัด เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ลดลงมาก อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2565 กทม.มีแผนประมูลก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ และศึกษาและเตรียมแผนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ 2 เส้นทาง

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในปี 2565 แม้จะมีสัญญาณการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ แต่ กทม.จะเดินหน้าลงทุนโครงการสาธารณูปโภคสาธารณูปการต่าง ๆ ตามแผนปกติ ขณะที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน ยังไม่ได้สั่งเร่งรัดโครงการใดเป็นพิเศษ แต่เน้นย้ำให้แต่ละโครงการทำตามกรอบและระยะเวลาที่กำหนดไว้

Click on the image for full size
โครงการ กทม.

ขีดเส้นจัดซื้อจบสิ้นปี

โครงการส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่อยู่ในข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2565 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือน ก.ย. 2564 ซึ่งได้กำชับทุกหน่วยงานให้เร่งจัดทำรายการเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอน พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2564 และจะต้องเร่งลงนามในสัญญาจ้างกับเอกชนในแต่ละโครงการให้ได้ในช่วงต้นปี 2565

ส่วนการดำเนินการร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ปัจจุบันได้เริ่มต้นกระบวนการแล้ว โดยแต่ละสำนักงานเขต และสำนักต่าง ๆ ของ กทม. อยู่ระหว่างรวบรวมแผนงานและโครงการที่จำเป็นอยู่ คาดว่าจะทยอยรวบรวมแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2565 จากนั้นจะเร่งเสนอสภา กทม.พิจารณาตามขั้นตอนในช่วงกลางปี 2565

แหล่งข่าวจากสำนักการคลัง กทม.เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2565 กทม.มีงบประมาณในส่วนงบฯลงทุนรวม 11,462 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าครุภัณฑ์ 520.339 ล้านบาท และค่าที่ดิน และการก่อสร้าง 10,941.786 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้แบ่งเป็น ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 872,505 ล้านบาท, โครงการผูกพันงบประมาณต่อเนื่อง 9,805.45 ล้านบาท และโครงการผูกพันงบประมาณใหม่ 263.82 ล้านบาท

เร่ง 7 โครงการ

สำหรับโครงการใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มลงทุนในปี 2565 และเป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ประกอบด้วย 7 โครงการ วงเงินรวม 1,557.8 ล้านบาท ดังนี้ โครงการของสำนักการโยธา 6 โครงการ วงเงินรวม 1,403.2 ล้านบาท ได้แก่

1.โครงการก่อสร้างบ้านพักผู้สูงอายุ บึงสะแกงาม ระยะที่ 2 วงเงิน 255 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2565-2566)

2.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี ช่วงที่ 3 ซ.นราธิวาสฯ 7-ถ.จันทน์ วงเงิน 370 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2565-2566)

3.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี ช่วงที่ 4 ถ.จันทน์-ถ.รัชดาภิเษก วงเงิน 250 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2565-2566)

4.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี ช่วงที่ 5 ถ.รัชดาภิเษก-ถ.พระราม 3 วงเงิน 200 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี

5.โครงการปรับปรุง ถ.แสมดำ ช่วง ถ.พระราม 2-คลองสนามชัย วงเงิน 268.99 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการต่อเนื่อง 4 ปี (2562-2565) และ

6.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ ถ.สีลม ช่วง ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ทั้งสายทาง วงเงิน 59.21 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2565 และสำนักสิ่งแวดล้อม มี 1 โครงการ คือ โครงการปรับปรุงสวนลุมพินี ในโอกาสครบ 100 ปี ระยะที่ 1 วงเงิน 154.6 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2565-2566)

ดัน “สะพานเกียกกาย”

แหล่งข่าวจากสำนักการโยธาเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในส่วนของสำนักการโยธา ในปี 2565 จะดำเนินการก่อสร้างโครงการสำคัญ 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ตอนที่ 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำ จาก ซ.จรัญสนิทวงศ์ 93-วัดแก้วจุฬามณี ระยะทาง 480 เมตร วงเงิน 1,350 ล้านบาท ซึ่งได้ตัวผู้รับจ้างแล้ว แต่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างโดยกรมบัญชีกลาง

และตอนที่ 3 เป็นทางยกระดับ และ ถ.ฝั่งพระนคร จากแม่น้ำเจ้าพระยา-สะพานแดง ระยะทาง 1.350 กม. วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท กำลังประเมินมูลค่าโครงการใหม่ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอน คาดว่าจะเริ่มต้นกระบวนการประมูลได้ต้นปี 2565

ส่วนความคืบหน้าการเวนคืนที่ดิน อยู่ระหว่างรอ พ.ร.ฎ.เวนคืนสิ่งปลูกสร้าง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลมาแล้วบางส่วน คิดเป็นวงเงินประมาณ 10% ของงบประมาณในการเวนคืน 7,490 ล้านบาท ซึ่งงบฯดังกล่าว รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนทั้งหมด โดยได้ทยอยจ่ายค่าเวนคืนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครเรียบร้อยแล้วเกือบ 50%

เวนคืน 7.5 พันล้าน

ทั้งนี้ โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย และถนนต่อเชื่อม ใช้เงินก่อสร้างประมาณ 12,717.4 ล้านบาท แยกเป็น ค่าก่อสร้าง 5,225 ล้านบาท ซึ่งรัฐและ กทม.ออกค่าก่อสร้าง 50 : 50 ค่าเวนคืน 7,490 ล้านบาท รัฐอุดหนุน 100% งานก่อสร้างแบ่งได้ 5 ตอน ประกอบด้วย

1.ทางยกระดับและถนนฝั่งธนบุรี จาก ถ.เลียบทางรถไฟสายใต้-ถ.จรัญสนิทวงศ์ ระยะทาง 1.05 กม. วงเงิน 4,015 ล้านบาท
2.สะพานข้ามแม่น้ำ จาก ซ.จรัญสนิทวงศ์ 93-วัดแก้วจุฬามณี ระยะทาง 480 เมตร วงเงิน 1,350 ล้านบาท
3.ทางยกระดับและ ถ.ฝั่งพระนครจากแม่น้ำเจ้าพระยา-สะพานแดง ระยะทาง 1.350 กม. วงเงิน 1,000 ล้านบาท
4.ทางยกระดับและ ถ.ฝั่งพระนคร จากแยกสะพานแดง-ถ.กำแพงเพชร ระยะทาง 1.4 กม. วงเงิน 1,100 ล้านบาท และ
5.ทางยกระดับและ ถ.ฝั่งพระนคร จาก ถ.กำแพงเพชร-ถ.พหลโยธิน ระยะทาง 1.6 กม. วงเงิน 1,025 ล้านบาท

และ 2.โครงการก่อสร้างถนนพรานนก-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ช่วงที่การก่อสร้างยังคั่งค้างล่าช้า ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กม. วงเงิน 1,532 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 จากนั้นจะเริ่มประมูลและดำเนินโครงการเดียวกันนี้ ในช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 3 กม. วงเงิน 1,300 ล้านบาทต่อไป

ดันรถไฟฟ้า 2 สาย

ขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักการจราจรและขนส่ง กทม.เปิดเผยว่า สำนักจราจรและขนส่งได้จัดสัมมนาปฐมนิเทศโครงการรถไฟฟ้าภายใต้การผลักดันของ กทม. 2 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กม. วงเงินลงทุน 27,892 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งมีการจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการใหม่ช่วงกลางปี 2564 คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2565 จากนั้น กทม.จะนำเสนอโครงการตามขั้นตอนให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในปี 2566

และ 2.โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 19 กม. วงเงินลงทุน 30,000 ล้านบาท สถานะปัจจุบันได้ตัวบริษัทที่ปรึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เรียบร้อยแล้ว ใช้เวลาศึกษา 2 ปี

ดึงเอกชนร่วมทุน PPP

ทั้ง 2 โครงการเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก แนวทางดำเนินการอาจต้องเลือกลงทุนในลักษณะ PPP เปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุน อย่างไรก็ตาม จากที่การดำเนินกิจการรถไฟฟ้าของ กทม.ยังติดพันกับเรื่องสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งมีหนี้ทั้งการเดินรถ และการจ้างก่อสร้างวงเงินรวมเกือบ 40,000 ล้านบาท

ประกอบกับการจัดเก็บรายได้ของ กทม.ช่วงการแพร่ระบาดของโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจลดลงมาก ทำให้แผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ต้องเลื่อนระยะเวลาออกไป อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ กทม.จะเร่งดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จไว้ก่อน เมื่อมีความพร้อมการผลักดันขั้นตอนการลงทุนจะทำได้โดยง่าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2021 11:52 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ทราบความคืบหน้า "โมโนเรลสายสีเทา" คาดเปิดให้บริการปี 73
เผยแพร่: 18 พ.ย. 2564 10:14 ปรับปรุง: 18 พ.ย. 2564 10:14 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” (Monorail) ซึ่งการเดินรถไฟมีทั้งสิ้น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล–ทองหล่อ ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง–พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3 – ท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 40 กม.

ทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ (PPP) เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุม พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน



------


"นายกฯ"สั่งเร่งรัดก่อสร้าง"รถไฟฟ้าสายสีเทา" วงเงิน 27,500 ล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 18 พ.ย. 2564 เวลา 9:07 น.

"โฆษกรัฐบาล" เผย “นายกฯ” สั่ง เร่งรัด "โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทา” วงเงิน 27,500 ล้าน ผ่านรูปแบบร่วมทุน PPP เฟสแรก วัชรพล–ทองหล่อ คาด เปิดให้บริการครบเส้นทางในปี 2573

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” (Monorail) ซึ่งได้ข้อสรุปการดำเนินโครงการในช่วงแรกแล้วโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โมโนเรลสายสีเทาจะใช้ช่วงสถานี วัชรพล-ทองหล่อ เป็นเส้นทางนำร่องในช่วงแรก ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท มีสถานีทั้งหมด15 สถานี ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไป–กลับ ประมาณ 62 นาที คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 8,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ใช้ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ(Automatic Train Control: ATC) และมีระบบการเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection System)

ทั้งนี้ เส้นทางการเดินรถไฟมีทั้งสิ้น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล–ทองหล่อ

ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง–พระราม 3

และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3 – ท่าพระ

รวมระยะทางประมาณ 40 กม. ซึ่งคาดว่าทั้งหมด 3 ระยะนี้จะเปิดให้บริการได้ในปี 2573

นายธนกร กล่าวว่า ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เป็นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ (PPP) สอดคล้องตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกันทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับภาครัฐได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุมในระยะยาว สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกภาคส่วนได้ผ่านระบบขนส่งสาธารณะซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในประเทศ และต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงระบบขนส่งในภูมิภาค

“นายกรัฐมนตรี รับทราบการดำเนินการ ติดตาม และสั่งการเร่งรัดเพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าวซึ่งถือเป็นประเด็นที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเส้นทางคมนาคม เป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับโครงการขนส่งสาธารณะในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเดียวกันนอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาเมือง และพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางสถานี พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนแล้ว ยังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนไทย ซึ่งทุกประเด็นความเจริญที่จะส่งผลถึงประชาชนเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญที่สุด” นายธนกร กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2021 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทา ประยุทธ์ เตรียมเปิดใช้ ปี 2573
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 - 08:16 น.

ธนกร-โฆษกรัฐบาล เผย ประยุทธ์ เร่งรถไฟฟ้า “โมโนเรลสายสีเทา” ยกระดับคุณภาพชีวิต คนกทม.คาด เปิดให้บริการ ปี 2573 ระยะทางรวม 16.3 กม. มี 15 สถานี วงเงินก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” (Monorail) ซึ่งได้ข้อสรุปการดำเนินโครงการในช่วงแรกแล้ว

โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว โมโนเรลสายสีเทาจะใช้ช่วงสถานี วัชรพล-ทองหล่อ เป็นเส้นทางนำร่องในช่วงแรก ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท มีสถานีทั้งหมด 15 สถานี ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไป–กลับ ประมาณ 62 นาที

คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 8,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ใช้ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control: ATC) และมีระบบการเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection System)

ทั้งนี้ เส้นทางการเดินรถไฟมีทั้งสิ้น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล–ทองหล่อ ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง–พระราม 3 และระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3 – ท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 40 กม. ซึ่งคาดว่าทั้งหมด 3 ระยะนี้จะเปิดให้บริการได้ในปี 2573

นายธนกร กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เป็นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ (PPP) สอดคล้องตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกันทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับภาครัฐได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุมในระยะยาว สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกภาคส่วนได้ผ่านระบบขนส่งสาธารณะซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในประเทศ และต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงระบบขนส่งในภูมิภาค


นายธนกรล่าวว่า นายกรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการ ติดตาม และสั่งการเร่งรัดเพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นประเด็นที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเส้นทางคมนาคม เป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับโครงการขนส่งสาธารณะในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเดียวกัน

“นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาเมือง และพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางสถานี พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนแล้ว ยังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนไทย ซึ่งทุกประเด็นความเจริญที่จะส่งผลถึงประชาชนเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญที่สุด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2021 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

รู้หรือไม่... รถไฟฟ้าโมโนเรลมีทางเดินตลอดระหว่างสถานีถึงสถานีเลยนะครับ
ทางเดินที่ออกแบบมานี้ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินที่รถไฟเกิดขัดข้องกลางทาง ผู้โดยสารสามารถลงจากรถไฟและเดินมาตามทางเดิน Walkway ที่ออกแบบไว้ มาจนถึงสถานีได้อย่างปลอดภัย
อีกเหตุผล คือไว้สำหรับทีม Maintenance เดินตรวจสอบแนวสายไฟในราง Cable tray และตรวจสอบ GWB. โดยใช้ทางเดินนี้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=410944927363384&id=113530000438213

รถ CART คืออะไร
ก็คือรถที่ใช้สำหรับติดตั้ง Conductor Rail ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับรถไฟฟ้าโมโนเรล ขณะทำการเดินรถนั่นเอง
ซึ่งบนรถCART จะมีเครนช่วยยก Conductor Rail เพื่อมาติดตั้งด้านข้าง Guide way beam เพราะว่าน้ำหนักมาก คนยกไม่ไหว ต้องใช้เครนช่วยประคองในการยกลงจากรถมาติดตั้ง และคนงานสามารถนั่งบนรถทำงานได้อย่างปลอดภัย ตลอดการติดตั้งเพราะเป็นงานที่สูงและเสี่ยงอันตรายมาก
รถนี้ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ขับเคลื่อนเพลาเพื่อให้ล้อที่วางบนGWBหมุน ทำให้รถเคลื่นที่ได้ และยังเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จ่ายไฟให้กับปลั้กต่างๆบนตัวรถ เพื่อใช้งานด้านบน ไม่ต้องต่อพ่วงไฟฟ้าจากที่อื่นมาใช้งานด้วย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=414150923709451&id=113530000438213
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 30, 31, 32  Next
Page 26 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©