Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180571
ทั้งหมด:13491806
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 241, 242, 243 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2021 8:27 am    Post subject: Reply with quote

กทพ.ไม่ถอย จ่อถก ม.เกษตร สร้าง "ทางด่วนขั้น 3"
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 27, 2021 05:43

กทพ.เดินหน้าชงครม.ไฟเขียวสร้างทางด่วนขั้น3 เล็งเปิดประมูลช่วงเม.ย.-ก.ค.65 เริ่มก่อสร้างพ.ย.65 เปิดให้บริการ ปี 68 เตรียมจ้างที่ปรึกษาเจาะเส้นทางใหม่ หวังม.เกษตรฯ เปิดทาง

การทางพิเศษแห่งประเทศ ไทย (กทพ.) มีแผนขยายโครงข่ายเชิ่อมการเดินทางลดปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมือง แต่เนื่องจากหลายเส้นทางต้องตัดผ่านชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้การพัฒนาย่อมมีปัญหาอุปสรรคอย่างระบบทางด่วนขั้นที่ 3

รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร - นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนรอบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าครม.จะพิจารณาได้ไม่เกินเดือนธันวาคมนี้ หากผ่านความเห็บชอบแล้ว หลังจากนั้น กทพ. จะดำเนินการเปิดประมูลในช่วงทดแทน N2 (เกษตร-นวมินทร์) วงเงิน 16,960 ล้านบาท โดยประสานขอรายชื่อผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม เพื่อพิจารณารายละเอียดการแบ่งสัญญาและจัดทำราคากลางขออนุมัติเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ภายในเดือนมกราคมเมษายน 2565 หลังจากนั้นจะประกาศประกวดราคา ในช่วงปลายเดือนเมษายนพฤษภาคม 2565 โดยเปิดให้เอกชนซื้อซองและยื่นข้อเสนอในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 คาดลงนามสัญญาได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือนกันยายน 2565

ขณะเดียวกันในช่วงที่จะดำเนินการก่อสร้างช่วงทดแทน N2 นั้น กทพ.จะดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับแบบการก่อสร้างฐานรากตอม่อที่ใช้ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี โดยไม่ให้เป็นอุปสรรคในช่วงการทำงานร่วมกัน เบื้องต้นจะดูวิธีการก่อสร้างและสิ่งปลูกสร้างจะขวางกันหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานไปด้วย หากประกวดราคาแล้วเสร็จจะต้องหารือกับเอกชนผู้ชนะการประมูลเพื่อดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง โดยประสานงานร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) เพื่อขอใช้พื้นที่ภายในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการภายในเดือนตุลาคม 2568

ทั้งนี้โครงการทางด่วนสายนี้ เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (TFF) ซึ่งมีการจัดสรรวงเงินมาแล้วราว 2 ปี แต่เนื่องจากยังไม่มีการประกวดราคา และเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณเริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้ กทพ.ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยราว 1.3 พันล้านต่อปี

สำหรับแนวเส้นทางช่วงทดแทน N2 มีจุดเริ่มต้นโครงการ ทางขึ้น-ลงแห่งที่ 1 อยู่บริเวณถนนเกษตร-นวมินทร์ เลยทางลอดอุโมงค์เกษตรปัจจุบันมาราว 200 เมตร หรืออยู่ช่วงก่อนถึงตึก RS หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะคร่อมไปตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ก่อนเป็นทางแยกเชื่อมไปยังทางต่างระดับฉลองรัช และไปสิ้นสุดโครงการเชื่อมเข้าสู่มอเตอร์เวย์ สาย 9 โดยทางด่วนเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมต่อการเดินทางฝั่งตะวันออก และตะวันตกของกรุงเทพฯ

ขณะความคืบหน้าช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) ที่ผ่านมา ม.เกษตรฯ คัดค้านการก่อสร้างช่วงดังกล่าวมาโดยตลอด เพราะกังวลจะได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศและอุบัติเหตุการจราจรบนทางด่วน หากเปิดให้บริการ รวมทั้งกังวลในกรณีที่กทพ.ขอใช้พื้นที่ เนื่องจากเขตทางบริเวณนี้ค่อนข้างจำกัด และพื้นถนนไม่มีพื้นที่สร้างฐานราก ทำให้ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมจ้างที่ปรึกษาจัดทำผลการศึกษาแนวเส้นทางใหม่อีกครั้ง คาดว่าได้ตัวผู้รับจ้างศึกษาแผนในช่วงต้นปี 2565 ระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะดำเนินการเจรจากับม.เกษตรฯต่อไป

"การศึกษาแนวเส้นทางในครั้งนี้คงต้องดูรายละเอียดให้ชัดเจนอีกที หากก่อสร้างบริเวณด้านหน้าม.เกษตรฯไม่ได้ อาจจะเปลี่ยนแนวเส้นทางบริเวณด้านหลังของม.เกษตรฯ แทน หรือเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นทางเบี่ยง ยืนยันว่าทางด่วนเส้นทางนี้คงต้องเดินหน้าต่อไม่สามารถหยุดกลางคันได้ เพราะเราต้องการให้ทางด่วนสายนี้เชื่อมต่อเป็นระบบโครงข่ายเดียวกัน"

ที่ผ่านมากทพ.ได้ศึกษาแนวเส้นทางทดแทนทางด่วนช่วง N1 เบื้องต้นออกแบบไว้ 3 แนวทาง คือ
1. ทางยกระดับผ่านหน้า ม.เกษตรฯ แบบเดิม โดยใช้แนวถนนงามวงศ์วาน มาทางคลองเปรมประชากร-ทางด่วนศรีรัช ขอใช้พื้นที่ใน ม.เกษตรฯ ประมาณ 180 ตารางเมตร
2. อุโมงค์ทางด่วน จากแยกรัชวิภาผ่านหลังเมเจอร์รัชโยธินเชื่อมต่อโครงการ Missing Link สิ้นสุดที่แยกเกษตร และ
3. อุโมงค์ทางด่วนผ่านหน้า ม.เกษตรฯ บริเวณแยกบางเขน สิ้นสุดแยกประชาชื่น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ปัจจุบันในส่วนของการก่อสร้างฐานรากตอม่อร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร - นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ที่อยู่ระหว่างรอแผนงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากกทพ.ติดปัญหาการก่อสร้างทางด่วนช่วงเกษตรศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถเสนอโครงการต่อได้

"ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลนั้น เบื้องต้นแบบการก่อสร้างของเรามีพร้อมอยู่แล้ว คงต้องรอ กทพ. พิจารณาแนวเส้นทางในการก่อสร้าง เพื่อหาข้อสรุปก่อนว่าเป็นอย่างไร ส่วนการเปิดประมูลจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไรนั้นขึ้นอยู่กับ กทพ. เนื่องจากการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลของรฟม.จะต้องเปิดประมูลร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 2 ของกทพ. รวมทั้งการก่อสร้างโครงการฯจะต้องหาเอกชนผู้รับจ้างรายเดียวกันด้วย"
"ทางด่วนเส้นทางนี้คงต้องเดินหน้าต่อไม่สามารถหยุดกลางคันได้ เพราะเราต้องการให้ทางด่วนสายนี้เชื่อมต่อเป็นระบบโครงข่ายเดียวกัน"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 - 30 ต.ค. 2564

-------

การทางฯเตรียมชงครม. ก่อสร้างทางด่วนเกษตร
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, October 28, 2021 04:13

กรุงเทพธุรกิจ การทางพิเศษฯ เตรียมเสนอ ครม.ไฟเขียวทางด่วน ขั้น 3 เล็งเปิดประมูลช่วง เม.ย.-พ.ค. ปี 65 เตรียมจ้างที่ปรึกษาเจาะ เส้นทางใหม่ หวัง ม.เกษตรฯ เปิดทาง

รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร- นวมินทร์-ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) โดยระบุว่า ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนรอบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะมีการพิจารณาได้ไม่เกินเดือน ธ.ค.นี้

"หากผ่านการเห็นชอบจาก ครม. การทางฯ ก็จะเปิดประมูลในช่วงทดแทน N2 ก่อน ซึ่งจะเร่งประสานขอรายชื่อผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม พิจารณารายละเอียดการแบ่งสัญญาและจัดทำราคากลางขออนุมัติเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง วงเงินประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท"

อย่างไรก็ดี กทพ.ประเมินว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาได้ในช่วงปลายเดือน เม.ย.-พ.ค. 2565 โดยเปิดให้เอกชนซื้อซองและยื่นข้อเสนอในช่วงเดือน มิ.ย. 2565 และคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือน ก.ย. 2565 ก่อนจะเริ่มก่อสร้างปลายเดือน พ.ย. 2565 ใช้เวลาก่อสร้างราว 3 ปี เปิดให้บริการภายใน เดือน ต.ค. 2568

สำหรับการก่อสร้างช่วงทดแทน N2 นั้น กทพ.จะดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับแบบการก่อสร้างฐานรากตอม่อที่ใช้ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ซึ่ง แนวเส้นทางช่วงทดแทน N2 มี จุดเริ่มต้นโครงการ ทางขึ้น-ลงแห่งที่ 1 อยู่บริเวณถนนเกษตร-นวมินทร์ เลยทางลอดอุโมงค์เกษตรปัจจุบันมาราว 200 เมตร หรืออยู่ช่วงก่อนถึง ตึก RS หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะคร่อมไปตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ก่อนเป็นทางแยกเชื่อมไปยังทางต่างระดับฉลองรัช และไปสิ้นสุดโครงการเชื่อมเข้าสู่มอเตอร์เวย์ สาย 9

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า โครงการทางด่วนช่วงทดแทน N2 เป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่ เชื่อมต่อการเดินทางฝั่งตะวันออก และ ตะวันตกของกรุงเทพฯ โดย กทพ. จะพัฒนาโครงการดังกล่าวผ่านวงเงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (TFF) ซึ่งมีการจัดสรรวงเงินมาแล้วราว 2 ปี แต่เนื่องจากยังไม่มีการประกวดราคา และเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณเริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้ กทพ.ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยราว 1.3 พันล้านต่อปี

ส่วนความคืบหน้าช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) ที่ผ่านมา ม.เกษตรฯ คัดค้านการก่อสร้าง ช่วงดังกล่าวมาโดยตลอด เตรียมจ้าง ที่ปรึกษาจัดทำผลการศึกษาแนว เส้นทางใหม่ หลังจากนั้นจะดำเนินการ เจรจาหาแนวทางพัฒนาที่เหมาะสม ร่วมกับ ม.เกษตรฯ

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2021 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กทพ.ไม่ถอย จ่อถก ม.เกษตร สร้าง "ทางด่วนขั้น 3"
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 27, 2021 05:43



ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 - 30 ตุลาคม 2564


ลิงค์มาแล้วครับ
https://www.thansettakij.com/economy/501262

Quote:
การทางฯเตรียมชงครม. ก่อสร้างทางด่วนเกษตร
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, October 28, 2021 04:13



ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564

ลิงค์มาแล้วครับ
https://www.bangkokbiznews.com/news/904037

กทพ.ปักหมุดปี 65 ประมูลทางด่วนกว่า 3 หมื่นล้าน สาย N2 ต้นทุนเพิ่ม 2 พันล้าน จ่อออกพันธบัตรเสริม TFF
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 08:14 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 08:14 น.


ทางด่วน N2 ค่าก่อสร้างเพิ่ม 2,000 ล้าน จาก 1.4 หมื่นล้านเป็น 1.6 หมื่นล้าน เหตุปรับแบบช่วงโครงสร้างร่วมรถไฟฟ้าสีน้ำตาล กทพ.จ่อออกพันธบัตร 2,000 ล้าน เสริม TFF มั่นใจฐานะการเงินแข็งแกร่ง กทพ.เผยปี 65 เปิดประมูลด่วน N2 และสายกระทู้-ป่าตองกว่า 3 หมื่นล้าน

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ในปี 2565 กทพ.มีแผนเปิดประมูลก่อสร้างโครงการทางด่วน 2 สาย ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W Corridor จากแยกเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. ซึ่งขณะนี้วงเงินลงทุนโครงการเพิ่มจาก 14,000 ล้านบาท เป็น 16,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับยกระดับทางด่วนให้สูงขึ้นในแนวก่อสร้างร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ซึ่งโครงการผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) แล้วอยู่ในขั้นตอนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)​

ทั้งนี้ กทพ.ได้ระดมทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) จำนวน14,382 ล้านบาท สำหรับดำเนินการก่อสร้างทางด่วน N2 ส่วนต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท กทพ.จะใช้วิธีออกพันธบัตร โดยหลัง ครม.อนุมัติจะดำเนินการออกพันธบัตร ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมเนื่องจาก กทพ.มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีกระแสเงินสดในมือประมาณ 4,400 ล้านบาท/ปี

“ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือช่วง N2 กทพ.จะลงทุน 100% ทั้งก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบ O&M และจัดเก็บรายได้ เป็นสายทางที่สำคัญเพราะเชื่อมพื้นที่โซนตะวันออกและตะวันตกของ กทม.”

ส่วนช่วง N1 ซึ่งติดปัญหาช่วงผ่านหน้า ม.เกษตรฯ นั้น กทพ.กำลังเร่งจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาด้านวิศวกรรมโดยละเอียดในแต่ละรูปแบบการก่อสร้าง

ทางด่วนสายใหม่”เกษตร-นวมินทร์-วงแหวน”จ่อเข้าครม.
*กทพ.เร่งก่อสร้างแก้วิกฤติรถติด 8 กม. 1.6 หมื่นล้าน
*ตอม่อ 281 ต้น 25 ปียังแข็งแรงดีแต่ต้องเคาะสนิม!!
*ประมูลทำฐานรากรถไฟฟ้าสีน้ำตาล(ในอนาคต)ด้วย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3033145416906956


กทพ.ลุ้นครม.ไฟเขียวสร้างทางด่วนขั้น 3 เล็งเปิดประมูลช่วงเม.ย.-พ.ค.65
วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 11:22 น.

กทพ.เดินหน้าชงครม.ไฟเขียวสร้างทางด่วนขั้น3 เล็งเปิดประมูลช่วงเม.ย.-พ.ค.65 เริ่มก่อสร้างพ.ย.65 เปิดให้บริการ ปี 68 เตรียมจ้างที่ปรึกษาเจาะเส้นทางใหม่ หวังม.เกษตรฯ เปิดทาง

28 ต.ค. 2564 แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร – นวมินทร์ – ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) โดยปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนรอบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าครม.จะพิจารณาได้ไม่เกินเดือนธันวาคมนี้

ทั้งนี้หาก ครม.เห็บชอบแล้ว กทพ.จะดำเนินการเปิดประมูลในช่วงทดแทน N2 (เกษตร-นวมินทร์) วงเงิน 16,960 ล้านบาท โดยประสานขอรายชื่อผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม เพื่อพิจารณารายละเอียดการแบ่งสัญญาและจัดทำราคากลางขออนุมัติเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ภายในเดือนม.ค.-เม.ย. 2565 หลังจากนั้นจะประกาศประกวดราคา ในช่วงปลายเดือนเม.ย.-พ.ค. 2565 โดยเปิดให้เอกชนซื้อซองและยื่นข้อเสนอในช่วงเดือนมิ.ย.2565 คาดลงนามสัญญาได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือนก.ย. 2565 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปลายเดือนพ.ย. 2565 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการภายในเดือนต.ค. 2568

“การศึกษาแนวเส้นทางในครั้งนี้คงต้องดูรายละเอียดให้ชัดเจนอีกที หากก่อสร้างบริเวณด้านหน้าม.เกษตรฯไม่ได้ อาจจะเปลี่ยนแนวเส้นทางบริเวณด้านหลังของม.เกษตรฯ แทน หรือเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นทางเบี่ยง ยืนยันว่าทางด่วนเส้นทางนี้คงต้องเดินหน้าต่อ ไม่สามารถหยุดกลางคันได้ เนื่องจาก กทพ.ต้องการให้ทางด่วนสายนี้เชื่อมต่อเป็นระบบโครงข่ายเดียวกัน”แหล่งข่าว กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2021 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

1 พ.ย.นี้ ระวังตกขบวน บีทีเอส-รฟม.ปรับเวลาให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางไหนบ้าง ที่นี่มีคำตอบ
หน้าข่าวทั่วไป
ฐานดิจิทัล
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:02 น.

เช็กเวลาให้ดี ขึ้นรถไฟฟ้ากลับบ้าน หลังบีทีเอส-รฟม.ปรับเวลาให้บริการรถไฟฟ้า เหตุยกเลิกเคอร์ฟิวบางจังหวัด รับแผนเปิดประเทศ เริ่ม 1 พ.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงาว่า ภายหลังจากรัฐบาลประกาศเปิดประเทศพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 พ.ย.2564 นี้ โดยออกคำสั่ง พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด (บางจังหวัดยกเลิกบางพื้นที่) ให้มีผลตั้งแต่เวลา 23.00 น.ของวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 จากคำสั่งดังกล่าว ทำให้อีก 20 จังหวัดที่เหลือยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการ เคอร์ฟิว ตั้งแต่เวลา 23.00-03.00 น. แต่พื้นที่ปริมณฑลอย่าง นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ยังเป็นจังหวัดที่ยังเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและยังเคอร์ฟิว ตั้งแต่ 23.00-3.00 น.เหมือนเดิม ส่งผลให้การเดินทางโดยระบบขนส่งทางราง อย่างรถไฟฟ้ามีการปรับเปลี่ยนเวลาให้บริการ เพื่อรับการเปิดประเทศที่จะขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับการปรับเวลาให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน แนวเส้นทางอยู่ในกรุงเทพมหานคร (พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) จะเริ่มเปิดให้บริการเวลา 06.00 - 24.00 น. ตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ส่วนที่จอดรถรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร (พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) เริ่มเปิดให้บริการเวลา 05.00 – 01.00 น. ตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ประกอบด้วย อาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 อาคาร ที่สถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) และลานจอดแล้วจร จำนวน 10 ลาน ที่สถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน

ขณะที่การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าMRT สายสีม่วง แนวเส้นทางบางส่วนอยู่ในจังหวัดนนทบุรี (นอกพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) จะยังคงเปิดให้บริการเวลา 05.30 - 23.00 น. (รถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายถึงสถานีปลายทางเวลา 23.00 น.) จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ส่วนที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ซึ่งอยู่ในจังหวัดนนทบุรี (นอกพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) ยังคงเปิดให้บริการเวลา 05.00 – 23.00 น. จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย อาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 อาคาร ที่สถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1


ฟากลานจอดแล้วจรสถานีเคหะฯ ในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ (นอกพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) ยังคงเปิดให้บริการเวลา 05.00 – 23.00 น. จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง


4. ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต แบ่งเป็น อาคารจอดแล้วจรสถานีแยก คปอ. ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร (พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) เริ่มเปิดให้บริการเวลา 05.00 – 01.00 น. ตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป และอาคารจอดแล้วจรสถานีคูคต ซึ่งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี (นอกพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว) ยังคงเปิดให้บริการเวลา 05.00 – 23.00 น. จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง


ฟากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าสายสีทอง แจ้งให้บริการตามปกติ ตั้งแต่เวลา 6.00-24.00 ยกเว้นสถานีสำโรง-สถานีเคหะฯ (พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ) และสถานีคูคต (พื้นที่จังหวัดปทุมธานี) จะปิดให้บริการเวลา 23.00 น.แล้วจรจะเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่ 05.00-01.00น.


ทั้งนี้ในส่วนการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดง จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 6.00-22.00น. โดยขบวนสุดท้ายออกจากต้นทางประมาณ 21.30 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2021 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

"ระบบขนส่งสาธารณะ" พร้อมให้บริการผู้โดยสาร รับแผนเปิดประเทศ
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:29 น.

“บีทีเอส” เดินหน้าให้บริการรถไฟฟ้า รับนักท่องเที่ยวเข้าไทย หลังภาครัฐเปิดประเทศ คาดปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นกลับมาเท่าเดิม ราว 8-9 แสนรายต่อวัน ขณะที่ขสมก.เปิดเดินรถ กว่า 2 พันคัน ตลอดคืน ฟากกพท.ประสานสนามบิน-สายการบิน ปรับมาตรฐานให้บริการ รองรับเที่ยวบินต่อเนื่อง

นายสุรงพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า สำหรับการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในส่วนของรถไฟฟ้าบีทีเอสยังคงมาตรการการดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น บริษัทได้มีการเพิ่มความถี่ในการเดินรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสมากขึ้น โดยนำขบวนรถออกให้บริการรวม 98 ขบวน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสาร และลดความแออัดภายในขบวนรถ รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่สถานี แม่บ้าน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เข้ารับการตรวจคัดกรองทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน พร้อมเพิ่มความถี่ในการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทั้งในขบวนรถ จุดให้บริการสถานีต่างๆ และจุดสัมผัสต่างๆ ขณะที่ผู้โดยสารต้องสวมหน้ากากอนามัยด้วย รองรับนโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ





นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.มีมติปรับระดับพื้นที่ควบคุมและเข้มงวดสูงสุด (สีแดงเข้ม) จาก 23 จังหวัด เหลือ 7 จังหวัด ทางบริษัทฯ จึงมีการปรับเวลาการให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีทอง และรถด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เปิดให้บริการตามปกติทุกสถานี เริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน นี้ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 24.00 น. ขณะที่ลานจอดแล้วจรให้บริการตามปกติ เวลา 05.00 – 01.00 น.



นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม. และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT พร้อมให้ความร่วมมือดำเนินการตามมติ ศบค. โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป รถไฟฟ้า MRT จะปรับเวลาให้บริการตามปกติโดยรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) เปิดให้บริการเวลา 06.00- 24.00 น. และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 05.30 - 24.00 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 06.00 – 24.00 น.


ส่วนอาคารและลานจอดแล้วจรของ รฟม. จะเปิดให้บริการเวลาตามปกติทุกแห่ง คือ 05.00 – 01.00 น. โดยปัจจุบัน รฟม. มีที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จำนวน 10 สถานี ประกอบด้วย 4 อาคาร และ 10 ลานจอดรถ ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) ลานจอดแล้วจรสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จำนวน 4 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ จำนวน 1 สถานี ได้แก่ ลานจอดแล้วจรสถานีเคหะฯ และที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต จำนวน 2 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต



รายงานข่าวจากกรมเจ้าท่า (จท.) กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมรับการเปิดประเทศนั้น เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมได้เร่งให้กรมฯผลักดันนโยบายให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกสู่ภาคใต้ เพื่อลดปริมาณรถบรรทุกจากภาคใต้เข้าสู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด - 19 ทำให้ล่าช้ากว่าแผน และพัฒนาท่าเรือให้เป็นยอร์ชคลับ รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย สร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือให้เป็นระบบท่าเรืออัตโนมัติ เชื่อมต่อระบบขนส่งอื่น อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน





รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวต่อว่า กรมฯได้ออกประกาศยกเลิกจำกัดเวลาให้บริการบริเวณโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สาย (M7) และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สาย (M9) ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ เป็นต้นไป เพื่อรองรับการเปิดประเทศของภาครัฐ

รายงานข่าวจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด กล่าวว่า ขสมก.ได้มีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน เพื่อรองรับการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เบื้องต้นได้กำหนดให้มีการเดินรถในเส้นทางปกติ จัดรถออกวิ่ง วันละ 2,886 คัน จำนวน 20,000 เที่ยวจัดเดินรถบริการตลอดคืน (รถกะสว่าง) ตามปกติ จำนวน 23 เส้นทาง โดยเริ่มให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2564 รวมทั้งจัดเดินรถเชื่อมต่อท่าอากาศยาน จำนวน 6 เส้นทาง รวม 60 คัน



ส่วนด้านพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร) เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จำนวน 9,000 คน คิดเป็น 98% ของพนักงานประจำรถทั้งหมด





รายงานข่าวจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวว่า ภายหลังการเปิดประเทศนั้น กพท.ได้ประสานไปยังผู้บริหารสนามบินและสายการบิน เพื่อปรับแผนการให้บริการภายหลังจากรัฐบาลปลดล็อกการเดินทาง เนื่องจากจะมีการเปิดจุดบินมากขึ้น และมีการขยายโครงการแซนด์บ็อกซ์ไปยังจังหวัดต่างๆ ขณะเดียวกันกพท.ได้ประสานให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และยังอยู่ในโครงการแซนด์บ็อกซ์ เพื่อเตรียมความพร้อมปรับมาตรฐานการให้บริการให้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงปกติก่อนเกิดโควิด-19 ให้สามารถรองรับเที่ยวบินต่อเครื่อง นอกเหนือจากเที่ยวบินปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2021 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยา 3 สาย "เกณฑ์ประมูล" ต้อง "เหมือนกัน"
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 02 พ.ย. 2564 เวลา 10:19 น.

Click on the image for full size

ดร.สามารถ ย้ำเกณฑ์การประมูลรถไฟฟ้า 3 สายต้องเหมือนกัน หลังรฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลสายส้ม กระทบแผนก่อสร้างล่าช้า

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำหรับเกณฑ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยาสายแรกคือสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายใช้ "เกณฑ์ราคา" ในการประมูล สายที่ 2 ตามแผนของ รฟม. คือสายสีส้มตะวันตก ตามด้วยสายที่ 3 คือสายสีม่วงใต้ ทั้ง 3 สายนี้ใช้เทคนิคการก่อสร้างเหมือนกัน ดังนั้น "เกณฑ์ประมูล" หาผู้รับเหมาหรือผู้ร่วมลงทุนจะต้องเหมือนกัน !

1. รถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยาสายแรก

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงสนามไชย-ท่าพระ เป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา การประมูลรถไฟฟ้าสายนี้ รฟม. ใช้ "เกณฑ์ราคา" แต่ผู้ชนะการประมูลจะต้องผ่านเกณฑ์เทคนิคก่อนด้วยคะแนนไม่น้อยกว่า 70% จึงจะได้รับการพิจารณาข้อเสนอด้านราคา ใครเสนอราคาต่ำสุดก็จะชนะการประมูล ปรากฏว่าบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล โดยจะต้องทำการออกแบบพร้อมก่อสร้าง (Design & Build) ซึ่ง ช. การช่าง ได้ว่าจ้างให้บริษัท AECOM หรือเออีคอม (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ออกแบบ

2. สายสีส้มตะวันตกจะลอดใต้เจ้าพระยาเป็นสายที่ 2 ? ตามแผนของ รฟม. รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะได้รับการก่อสร้างลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายที่ 2 แต่ถึงเวลานี้มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจาก รฟม. ได้ล้มประมูล หลังจากเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลกลางอากาศจาก "เกณฑ์ราคา" เป็น "เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา" ทำให้มีปัญหาจึงถูกฟ้องร้อง ยังเปิดประมูลใหม่ไม่ได้

เดิม รฟม. ใช้ "เกณฑ์ราคา" ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องผ่านเกณฑ์เทคนิคก่อน โดยต้องได้คะแนนด้านเทคนิคไม่น้อยกว่า 85% จึงจะได้รับการพิจารณาข้อเสนอด้านราคา ใครเสนอเสนอราคาต่ำสุดจะชนะการประมูล

หลังจากปิดการขายเอกสารประกวดราคา รฟม. ได้เปลี่ยนมาใช้ "เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ ราคา" โดยให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนด้านราคาหรือผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมสูงสุดจะชนะการประมูล

รฟม.ได้ชี้แจงเหตุผลในการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลว่ารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกมีเส้นทางผ่านพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อีกทั้ง ต้องขุดอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา รฟม. จึงจำเป็นต้องได้ผู้ชนะการประมูลที่มีสมรรถนะและประสบการณ์สูง

ผมได้แย้ง รฟม. ว่าหาก รฟม. ต้องการผู้ชนะการประมูลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจริง รฟม. จะต้องใช้ "เกณฑ์ราคา" เพราะเกณฑ์ราคาให้ความสำคัญต่อคะแนนด้านเทคนิคเต็ม 100% ต่างกับ "เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา" ที่ลดทอนความสำคัญด้านเทคนิคลงเหลือเพียง 30% เท่านั้น อีกทั้ง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายก็มีเส้นทางผ่านพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และต้องลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน แต่ รฟม. ก็ใช้ "เกณฑ์ราคา" ไม่ได้ใช้ "เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา"

ด้วยเหตุนี้ เหตุผลของ รฟม. จึงย้อนแย้งกับข้อเท็จจริง

3. สายสีม่วงใต้จะลอดใต้เจ้าพระยาก่อนหรือหลังสายสีส้มตะวันตก ?

ตามแผนรฟม. รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายที่ 3 แต่เพราะความล่าช้าของสายสีส้มตะวันตก อาจเป็นไปได้ที่สายสีม่วงใต้ช่วงลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาจะได้รับการก่อสร้างก่อน ยกเว้น รฟม. เปลี่ยนใจกลับไปใช้ "เกณฑ์ราคา" ในการประมูลสายสีส้มตะวันตก

รฟม. อยู่ในกระบวนการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หลังจากล้มประมูลไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนล้มประมูล รฟม. ใช้ "เกณฑ์เทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา" ด้วยเหตุผลเดียวกับสายสีส้มตะวันตกที่อ้างว่ามีเส้นทางผ่านพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และต้องลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ผมไม่เห็นด้วย และเสนอให้ รฟม. ใช้ "เกณฑ์ราคา" เพราะประชาชนและประเทศชาติจะได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในที่สุด รฟม. กลับมาใช้ "เกณฑ์ราคา" ในการประมูลครั้งใหม่

4. สรุป ถึงเวลานี้ รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามี 3 สาย เปิดให้บริการแล้ว 1 สาย อีก 2 สาย อยู่ในกระบวนการประมูล รฟม. ใช้ "เกณฑ์ราคา" 2 สาย ประกอบด้วยสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และสายสีม่วงใต้ เหลืออีกเพียงสายเดียวคือสายสีส้มตะวันตกที่ รฟม. ยากจะปฏิเสธการใช้ "เกณฑ์ราคา" ได้

"การอ้างเหตุผลที่ย้อนแย้งมาสนับสนุนความต้องการของตน สุดท้ายจะกลายเป็นคมหอกมาทิ่มแทงตนเอง"

ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2021 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยา 3 สาย "เกณฑ์ประมูล" ต้อง "เหมือนกัน"
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 02 พ.ย. 2564 เวลา 10:19 น.


ต้นรากอยู่นี่ครับ
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2525013067643581
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2021 7:06 am    Post subject: Reply with quote

สจส.เล็งทำรถไฟไร้รางARTแทนBRT งบฯ240ล้าน/กม.วิ่งคู่ขนานคลองช่องนนทรี
แนวหน้า วันพุธ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
สจส. สำนักการจราจรและขนส่ง

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวถึงแผนการปรับเปลี่ยนการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ หรือ BRT เป็นรถไฟฟ้าในอนาคต ว่า สืบเนื่องจากโครงการรถ BRT จะสิ้นสุดสัญญาการเดินรถในปี 2566 สำนักการจราจรและขนส่ง มีแผนที่จะดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งขนาดรองทดแทนในเส้นทางของ BRT เบื้องต้นมีแนวคิดที่นำรูปแบบรถไฟฟ้าไร้ราง : Autonomous Rail Rapid Transit (ART) มาแทนในเส้นทางวิ่งรถ BRT เนื่องจากมีช่องเดินรถอยู่แล้ว สามารถปรับเปลี่ยนวางระบบเดินรถไฟฟ้าไร้รางได้ รวมถึงตัวสถานีก็สามารถใช้สถานีเดิมของ BRT ปรับเปลี่ยนระบบรองรับการเดินรถโดยที่ไม่ต้องก่อสร้างสถานีใหม่ อีกทั้ง ออกแบบให้คู่ขนานไปกับคลองช่องนนทรีได้ โดยรถไฟฟ้าไร้ราง จะลงทุนน้อยกว่าแบบมีราง วงเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าไร้ราง ART ประมาณ 240 ล้านบาท/กิโลเมตร ขณะที่ รถไฟฟ้าแบบมีราง วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 1,500 ล้านบาท/กิโลเมตร อย่างไรก็ดีต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ก่อน

ตามแผนสำนักการจราจรและขนส่งจะขอจัดสรรงบประมาณปี 2566 จ้างศึกษาระบบขนส่งขนาดรองทั้งระบบราง และระบบไร้ราง โดยศึกษาความเป็นไปได้ (FS) และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 8 เดือน จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการร่วมทุน รูปแบบ PPP (Public Private Partnership) ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2-3 ปีน่าจะได้วิ่งบริการประมาณปี 2572-2573

สำหรับโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) หรือ BRT ปัจจุบันวิ่งให้บริการบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระราม 3 เริ่มต้นที่สถานีสาทร สิ้นสุดสถานีราชพฤกษ์ ระยะทาง16 กิโลเมตร รวม 12 สถานี ได้แก่ สาทร, อาคารสงเคราะห์,เทคนิคกรุงเทพ, ถนนจันทน์, นราราม 3, วัดด่าน, วัดปริวาส,วัดดอกไม้, สะพานพระรามเก้า, เจริญราษฎร์, สะพานพระรามสาม และราชพฤกษ์ ทุกสถานีติดตั้งลิฟต์สำหรับรถวีลแชร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. อัตราค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย โดยนักเรียนในเครื่องแบบบุคคลทุพพลภาพ(ผู้พิการ) และภิกษุสามเณร ไม่เก็บค่าโดยสาร ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการวันละ 15,000-20,000 คน ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครมีแผนยกเลิกโครงการฯ ปรับทำเป็นรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนใต้ พระโขนง-ช่องนนทรี-ท่าพระ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2021 2:40 pm    Post subject: Reply with quote

“บีอีเอ็ม” จัดโปรฯ ใช้คูปองจ่ายค่าทางด่วนสายศรีรัช – วงแหวนฯ ราคาเดิม 1 ปี
เดลินิวส์ 3 พฤศจิกายน 2564 13:16 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

"ศักดิ์สยาม" นั่งหัวโต๊ะถก กทพ.-บีอีเอ็ม เยียวยาช่วยประชาชน จัดโปรโมชั่นใช้คูปองจ่ายค่าผ่านทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ราคาเดิม 1 ปี พร้อมหนุนใช้ตั๋วร่วม EMV ทางด่วน-รถไฟฟ้า-รถเมล์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับ ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม ถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดมาตรการเยียวยาให้กับประชาชน เนื่องจากจะมีการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ด่วน) สายศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตามสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 15 ธ.ค.64 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยลดค่าครองชีพในการเดินทางให้แก่ประชาชนผู้ใช้ทางด่วน ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แสดงความห่วงในเรื่องนี้ด้วย

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กระทรวงคมนาคม ได้ขอให้ทางบีอีเอ็ม ได้พิจารณาให้ความร่วมมือกับภาครัฐ และช่วยเหลือประชาชนด้วยการออกมาตรการในการส่งเสริมการตลาด หรือชะลอการขึ้นค่าผ่านทางที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ซึ่งทางบีอีเอ็มได้รับที่จะช่วยออกมาตรการส่งเสริมทางการตลาด เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อการปรับขึ้นค่าผ่านทางในช่วงดังกล่าว โดยจะเป็นในลักษณะของการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ในรูปแบบผู้ใช้ทางที่ใช้คูปองชำระค่าผ่านทางในอัตราราคาเดิมที่ใช้อยู่เป็นระยะเวลา 1 ปี (15 ธ.ค.64 – 15 ธ.ค.65) โดยทางบีอีเอ็มจะทำหนังสือยืนยันมาตรการดังกล่าวแจ้งมายัง กทพ. เพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ใช้ทางพิเศษในช่วงดังกล่าวต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางบนทางพิเศษของ กทพ. ที่อยู่ในการกำกับดูแลตามสัญญาสัมปทานของบีอีเอ็ม 3 สายทาง ประกอบด้วย ทางพิเศษสายศรีรัช ทางพิเศษสายอุดรรัถยา และทางพิเศษสายศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร โดยการนำเทคโนโลยีระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-Lane Free Flow : M-Flow) มาใช้ ทั้งนี้ได้มอบให้ กทพ. จัดทำแผนปฏิบัติการ(แอ๊คชั่นแพลน) ให้ชัดเจน เพื่อเร่งรัดการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังได้หารือถึงการพัฒนาระบบตั๋วร่วม เพื่อให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนได้รับความสะดวก โดยทางบีอีเอ็มยินดีให้การสนับสนุนกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบตั๋วร่วม เพื่อใช้ในระบบขนส่งสาธารณะที่กระทรวงคมนาคมดำเนินการอยู่ โดยระยะแรกได้มีการพัฒนาระบบ EMV Contactless ซึ่งเป็นการหักเงินผ่านระบบบัตรเครดิต และบัตรเดบิตของธนาคาร ทั้งในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง พร้อมบูรณาการร่วมกับรถโดยสารของ ขสมก. และทางพิเศษ และจะได้มีการขยายผลให้ครอบคลุมระบบขนส่งสาธารณะของกระทรวงคมนาคม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบในระยะต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทางด่วน สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ มีดังนี้ รถยนต์ 4 ล้อ เดิม 50 บาท เป็น 65 บาท, รถ 6-10 ล้อ เดิม 80 บาท เป็น 105 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ เดิม 115 บาท เป็น 150 บาท อย่างไรก็ตามทางด่วนสายนี้เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 59 โดยตามสัญญาสัมปทานกับเอกชนคู่สัญญา จะต้องมีการปรับขึ้นทุก 5 ปี.... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/438227/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2021 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

‘นันทิดา’ขอใช้พื้นที่เชื่อมต่อโมโนเรลสายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท
วันพุธ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 19.25 น.

Click on the image for full size

24 พฤศจิกายน 2564 ที่ห้องประชุมชั้น 5 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สมุทรปราการ พร้อมด้วยคณะผู้บริการ อบจ.สมุทรปราการ เข้าประชุมร่วมกับ ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และนายกิตติพงษ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อหารือเรื่องการขอใช้พื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้ารางเดียว หรือรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าโมโนเรลสายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท มูลค่า 5.7 หมื่นล้าน ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) นำร่อง ระยะทาง 29.79 กิโลเมตร (กม.) รวม 15 สถานี

ทั้งนี้ สถานีแพรกษาจะเป็นจุดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 มาตรา 17 (21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร ที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้มีการตั้งโครงการเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ซึ่งโครงการแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด รองรับการขยายตัวของ กรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางสู่สนามบินสุวรรณภูมิ จึงมีโครงการแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด ร่นระยะการเดินทางของคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว รวมถึงชาวต่างชาติที่ลงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการได้อย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันพื้นที่สมุทรปราการ เริ่มเกิดวิกฤติจราจรที่ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานานขึ้น และยังช่วยสนับสนุนแผนการพัฒนาสมุทรปราการให้ก้าวไปสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติชายฝั่งสามารถเชื่อมโยงกับชุมชนได้โดยรอบ

นางสาวนันทิดา กล่าวว่า การเชื่อมต่อขงรถไฟรางเดี่ยวหรือรถไฟฟ้าโมโนเรล จะให้ผลประโยชน์กับประชาชนชาวสมุทรปราการ ซึ่งปกติเรามีรถไฟฟ้า BTS อยู่แล้ว แต่ยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างภาคตะวันออก-ตะวันตก เพราะฉะนั้นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจะมีส่วนในการช่วยเหลือการพัฒนาในเรื่องการเดินทางและการขนส่ง จึงได้สานต่อโครงการนี้ขึ้นมา

ด้าน ดร.กีรติ กล่าวว่า ในส่วนของ อบจ.สมุทรปราการ ได้นำเสนอมา เราจะนำเอารายละเอียดของโครงการเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการท่าอากาศยานไทย แต่ในขณะเดียวกันทาง อบจ.สมุทรปราการ นำรายละเอียดของโครงการไปเสนอต่อคณะกรรมการบริหารการจราจรทางบก ซึ่งมีรองนายกฯเป็นประธาน หลังจากที่ทางคณะกรรมการชุดนี้ให้ความเห็นชอบ จะต้องนำเอาแผนกลับมาคุยกับท่าอากาศไทย ในฐานะเจ้าของพื้นที่ เพื่อทางท่าอากาศยานไทย จะได้มีการอนุมัติการเข้าใช้พื้นที่ต่อไป คาดว่าในต้นปี 2565 น่าจะเห็นการอนุมัติทั้งหลายที่เกี่ยวข้องแล้ว

“หลังจากนั้นทาง อบจ.สมุทรปราการ ก็ไปดำเนินโครงการในการจัดหาเอกชนร่วมลงทุน และการก่อสร้าง ซึ่งตรงนั้นความก้าวหน้าของวันนี้ถือว่าเป็นจุดดีของทั้ง 2 หน่วยงานที่ทางสมุทรปราการได้ให้ความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดทั้งจังหวัดในการเดินทางเชื่อมต่อกัน และทางสุวรรณภูมิสามารถที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้” ดร.กีรติ กล่าว

ส่วนนายกิตติพงษ์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ซึ่งตนในเรื่องของการให้บริการผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการ ปัจจุบันสุวรรณภูมิมีข้อจำกัดอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการจราจร และเรื่องที่จอดรถยนต์ เพราะฉะนั้นเมื่อโครงการที่เรามาพูดคุยกันวันนี้ของทั้ง 2 หน่วยงาน ตนมองว่าเป็นภาพที่สวยงามของการพัฒนาของประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นได้ ตนคิดว่าสนามบินสุวรรณภูมิแม้กระทั่ง จ.สมุทรปราการ หรือประเทศไทยเราจะก้าวเข้าไปสู่มาตรฐานอีกขั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นตนคิดว่าวันนี้เป็นก้าวที่ดี และเป็นการเริ่มต้นของทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติหรือขั้นตอนต่าง ๆ ก็คงจะต้องเดินต่อไปจากวันนี้

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2021 6:50 am    Post subject: Reply with quote

รายงาน: เร่งเครื่อง รถไฟฟ้าหลากสี ส่งท้ายปี 64
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 27, 2021 05:47
* อนัญญา จั่นมาลี

Click on the image for full size

กระทรวงคมนาคม เร่งก่อสร้างโครง การรถไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างกันหลายเส้นทางเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างครบครัน แม้มีหลายโครงการเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่าบางเส้นทางสะดุดกลางทาง อย่างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ที่ยังไม่สามารถเปิดประมูลได้และยังไม่ได้ข้อยุติเสียที ล่าสุดศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้รับคำฟ้องคดีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในกรณีที่ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกได้ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมบางขุนนนท์ โดยจะนัดไต่สวนมูลฟ้อง 3 วัน ในวันที่ 14, 20 และ 24 ธันวาคมนี้

ที่ผ่านมา รฟม. ได้ยกเลิกการประกวดราคาในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 และมีแผนที่จะเริ่มประกาศประกวดราคาอีกครั้งหนึ่ง แต่กลับถูกบริษัทเอกชนสกัดยื่นฟ้องคดีสายสีส้มเพิ่มเติม อีก 2 คดี คือ
1.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการล้มประมูลเนื่องจากเป็นการทำละเมิด และขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม. มีการดำเนินการคัดเลือกเอกชนหรือเปิดประมูลใหม่และ
2.ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติมิชอบกลาง กรณีที่ผู้ว่าการรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกได้ร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก

ไม่เพียงเท่านั้น รฟม.ได้เสนอการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯต่อที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แต่กลับพบว่าในที่ประชุมมีคณะกรรมการบางรายไม่เห็นด้วยในการเปิดประมูลรอบนี้ และเห็นควรให้คดีต่างๆ ที่อยู่ในศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้ข้อยุติเสียก่อน ทำให้ปัจจุบันโครงการฯยังไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ อีกทั้งไทม์ไลน์ที่รฟม.ระบุไว้ก่อนหน้านี้กลับคาดเคลื่อนไปหมด ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเปิดให้บริการทั้งเส้นทางได้

ขณะสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ปัจจุบันรฟม.ได้ปรับปรุงร่างทีโออาร์กลับมาใช้เกณฑ์ด้านราคาตามเดิม

ด้านความคืบหน้าสายสีแดง เริ่มจัดเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.2564 ปัจจุบันมียอดผู้โดยสาร โดยเฉลี่ยวันละ 6,105 คน ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่สูงถึง 13% โดยกำหนดอัตราค่าโดยสาร ใน 3 ปีแรกจะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และ ค่าโดยสาร 1.50 บาทต่อกิโลเมตร เบื้องต้น รฟท. พิจารณากำหนดแนวทางเพื่อลดภาระทางการเงิน รวมทั้งแนวทางการผ่อนผันดอกเบี้ยใน 3 ปีแรกของการเปิดให้บริการ

ฟากสายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) ปัจจุบันรฟม.ได้ดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้กับบริษัทนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) แล้วเสร็จ โดยการส่งมอบพื้นที่สถานีสุดท้าย คือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งสถานีล่าสุดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาเห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว โดยกลางปี 2565 จะส่งมอบขบวนรถครบทั้งหมด 42 ขบวนและพร้อมเปิดให้บริการ ปลายปี 2565 ส่วนสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (กม.) รฟม.ได้ส่งมอบพื้นที่เกือบครบ 100% แล้ว คาดว่าเปิดให้บริการภายในกลางปี 2565

ปิดท้ายสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี ปัจจุบันในส่วนของการก่อสร้างฐานรากตอม่อร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 (แคราย-ม.เกษตรฯ) และช่วงทดแทน N2 (เกษตร-นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ที่อยู่ระหว่างรอแผนงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจาก กทพ. ติดปัญหาการก่อสร้างทางด่วนช่วงเกษตรศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถเสนอโครงการต่อได้

ทั้งนี้ รฟม.ระบุว่า การประมูลสายสีน้ำตาลของ รฟม.จะต้องเปิดประมูลร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 2 ของ กทพ. รวมทั้งการก่อสร้างโครงการฯจะต้องหาเอกชนผู้รับจ้างรายเดียวกัน ซึ่ง กทพ.จะเป็นผู้พิจารณาต่อไป

หากโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางในไทยสอดรับแผนเปิดประเทศ

"ทุกเส้นทางหากเปิดให้บริการได้ตามแผน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทย"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 241, 242, 243 ... 277, 278, 279  Next
Page 242 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©