Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179606
ทั้งหมด:13490838
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2021 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

15 ก.ย.64 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และตำบลสำโรงเหนือ ตำบลเทพารักษ์ ตำบลบางเมืองใหม่ ตำบลบางด้วน ตำบลปากน้ำ ตำบลบางเมือง ตำบลท้ายบ้านใหม่ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๔
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/060/T_0027.PDF
และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และตำบลสำโรงเหนือ ตำบลเทพารักษ์ ตำบลบางเมืองใหม่ ตำบลบางด้วน ตำบลปากน้ำ ตำบลบางเมือง ตำบลท้ายบ้านใหม่ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๔
...เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน ในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างและปรับปรุงทางเท้า และสิ่งจำเป็นอื่นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง
- สมุทรปราการ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/060/T_0033.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/09/2021 6:53 am    Post subject: Reply with quote

เปิดที่มา'ค่ารถไฟฟ้า65บาท'
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

กทม.อ้างความพอใจผู้โดยสาร ยังดื้อไม่บอกรายละเอียดข้อมูล

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งผลการประชุม คณะกรรมการกลั่นกรองการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจา และเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า กระทรวงฯ ได้เชิญกรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย ซึ่ง กทม. ยังคงยืนยันว่าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลต้นทุน และจำนวนผู้โดยสารที่เป็นสาระสำคัญในการวิเคราะห์ และจัดทำความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. ให้กระทรวงคมนาคมได้ โดยอ้างว่าเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานกับเอกชนผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ไม่สามารถนำข้อมูลไปเปิดเผยได้

นอกจากนี้ กทม. ยังได้ชี้แจงถึงที่มาการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายสูงสุด 65 บาทว่า อัตราค่าโดยสารราคานี้มาจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่าจะสามารถจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดได้เท่าใด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ระบุที่ 65 บาท ดังนั้นจึงเป็นตัวเลขที่เป็นความพึงพอใจในการจ่ายของประชาชน โดยในประเด็นนี้ทางกระทรวงคมนาคมมองว่าในการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ควรจะพิจารณาภาพรวมในมุมอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่พิจารณาแค่จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น ควรนำต้นทุน ค่าใช้จ่าย รายได้ และจำนวนผู้โดยสาร มาคำนวณว่าราคาที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าใด และราคา 65 บาทเหมาะสมจริงแล้วหรือไม่

ขณะนี้กระทรวงคมนาคมจึงยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เพียงพอ และข้อมูลที่ได้รับจาก กทม. เป็นเพียงตัวเลขค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ประชุมจึงมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำข้อมูลที่ได้รับจาก กทม. บางส่วน ไปจัดทำแบบจำลองการจราจรและขนส่งระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (eBUM) เพื่อคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร อาทิ การเดินทางจากจุดใดไปจุดใด แต่ละสถานีมีผู้โดยสารเข้าออกระบบเท่าใด การเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าสายอื่นสู่รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีจำนวนเท่าใด รวมทั้งยังนำไปสู่การคาดการณ์ข้อมูลรายได้ ทั้งจากค่าโดยสาร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ด้วย

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ขอข้อมูลจากทาง กทม. มาโดยตลอดประมาณ 11 รายการ อาทิ ปริมาณผู้โดยสาร, รายได้, ค่าจ้างเดินรถ และผลกระทบทางการเงิน ซึ่ง กทม. ส่งข้อมูลมาให้ 3 ครั้ง แต่ทั้ง 3 ครั้งข้อมูลไม่ตรงกัน ทางนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จึงให้กระทรวงคมนาคมเชิญ กทม. มาพูดคุย ไม่ต้องสอบถามผ่านทางหนังสือแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อเชิญ กทม. มาพูดคุยก็ได้คำตอบ และข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนเหมือนเดิม ทั้งนี้คาดว่า สนข. จะใช้เวลาดำเนินการไม่มากนัก เมื่อแล้วเสร็จคณะกรรมการฯ จะสรุปเสนอนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เพื่อนำเสนอความคิดเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. ให้ที่ประชุม ครม. รับทราบต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งสายสุขุมวิท (คูคต-เคหะสมุทรปราการ) และสายสีลม (สนามกีฬา แห่งชาติ-บางหว้า) มีระยะทางรวมกว่า 68 กิโลเมตร (กม.) มีทั้งหมด 60 สถานี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2021 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดที่มา'ค่ารถไฟฟ้า65บาท'
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

กทม.อ้างความพอใจผู้โดยสาร ยังดื้อไม่บอกรายละเอียดข้อมูล


ลิงก์มาแล้วครับ https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3006356469585851
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2021 8:35 am    Post subject: Reply with quote

วิษณุซัดคมนาคมขวางต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 20, 2021 06:06

กทม.ขอหมื่นล้าน เคลียร์หนี้สายสีเขียว

"คมนาคม" เผยครม.ถอดวาระการประชุมต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว สั่งมหาดไทยศึกษาให้ชัดเจน "วิษณุ" แจงรถไฟฟ้าสะดุดเพราะข้อทักท้วงคมนาคม ฟาก กทม.เตรียมยื่นหนังสือชงรัฐของบ 1 หมื่นล้าน ใช้หนี้บีทีเอส แก้ปัญหาต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว ขณะที่บีทีเอสเล็งรวบเอกสาร-หลักฐาน ฟ้องกทม.กรุงเทพธนาคม ค้างหนี้ 2 หมื่นล้าน

ศึกขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เพื่อล้างหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท ยังคงร้อนระอุ ระหว่างกระทรวงคมนาคมที่ยังขวางกระทรวงมหาดไทย เมื่อจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งไม่ได้เป็นครั้งแรกที่มีการถอนวาระต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากครม.โดยกระทรวงคมนาคมเป็นแกนหลักในการคัดค้านวาระนี้

รายงานระบุว่าในที่ประชุมครม.ได้แยกถกวาระนี้ในห้องประชุมเล็กข้างห้องประชุมครม. โดยมีนายกฯ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ พล.อ.อนุพงษ์เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ปิดห้องหารือกับรมต.จากพรรคภูมิใจไทย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น ล่าสุดได้รับทราบว่าเลขาคณะรัฐมนตรี (ครม.) แจ้งที่ประชุมครม.ว่ากระทรวงมหาดไทยขอถอดเรื่องดังกล่าวออกจากวาระการประชุมในครั้งนี้โดยไม่ทราบสาเหตุ

ขณะ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีครม.ไม่พิจารณาต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า มีรายละเอียดไม่เรียบร้อยเล็กน้อยแต่ไม่ยุ่งยากอะไร เป็นเรื่องที่กระทรวงคมนาคม ทักท้วงมาแล้วกระทรวงมหาดไทยเพิ่งเห็นเมื่อคืนวันที่ 18 ต.ค.ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องตอบตรงนี้ก่อน แต่ส่วนตัวยังไม่เห็นข้อทักท้วง

เมื่อถามว่า วาระนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม.แล้วดึงออกมาใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่การดึงออก เพียงแต่เมื่อถึงวาระดังกล่าว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ขอถอนออกไปเพื่อทำความเห็นเข้ามาใหม่ ส่วนจะเข้าครม.อีกครั้งในครั้งหหน้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า วาระการพิจารณาดังกล่าวเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณามาเป็นเวลานาน โดยที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 เคยมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ต่อมามีรายงานว่าได้มีการถอนเรื่องออกจากการพิจารณาเช่นกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ไปศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อนนำเสนอใหม่อีกครั้งหนึ่ง

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ความคืบหน้าการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เป็นเรื่องกระทรวงมหาดไทยดำเนินการว่าจะทำอย่างไรต่อไป ส่วนการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง สถานีหมอชิต (N8) สถานีคูคต (N24) จำนวน 16 สถานี และ สถานีแบริ่ง (E14) - สถานีเคหะฯ (E23) จำนวน 9 สถานี ที่ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี ขณะนี้กทม.ต้องรอสัญญาณจากรัฐบาลและผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อน เนื่องจากกทม.จำเป็นต้องของบประมาณจากภาครัฐเพื่อไปใช้หนี้ที่ค้างชำระแก่เอกชน เบื้องต้นในสัปดาห์หน้าทางกทม.จะทำหนังสือเสนอต่อรัฐบาล วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้หนี้ให้กับเอกชน โดยที่ผ่านมากทม.ได้เสนอของบประมาณดังกล่าวจากกทม.แต่สภากทม.ไม่อนุมัติงบประมาณนี้เพื่อนำไปใช้หนี้

"กรณีที่เอกชนฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อทวงหนี้กับกทม.นั้น ปัจจุบันกทม.อยู่ระหว่างรอศาลฯเรียกไต่สวนตามที่เอกชนยื่นฟ้อง เราอยากใช้หนี้ให้กับเอกชนอยู่แล้ว เนื่องจากเราเป็นหนี้กับเขา เพียงแต่เราต้องของบประมาณจากรัฐบาล เพราะเราไม่มีเงิน คาดว่าจะได้ข้อสรุปการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารภายใน 1-2 เดือนนี้"
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กล่าวว่า ล่าสุดได้ทราบเรื่องในกรณีที่ครม.ถอดวาระการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยต้องกลับไปทำข้อมูลในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน

"กรณีที่กทม.จะของบประมาณจากภาครัฐเพื่อนำมาใช้หนี้กับบริษัทนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะกทม.ติดหนี้กับเราอยู่ หากกทม.ใช้หนี้ให้เราเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี"
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะที่การเดินหน้าฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อทวงหนี้กทม.และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด นั้น ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมเอกสารและหลักฐานในส่วนของสัญญาค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ส่วนจะเริ่มดำเนินการฟ้องร้องได้เมื่อไรนั้นคงต้องรอดูจากทนายกฎหมายของบริษัทก่อน เนื่องจากเอกสารค่อนข้างเยอะ เพราะเป็นสัญญาที่ต้องดำเนินการเป็นช่วงๆ

"ที่ผ่านมาในส่วนของสัญญาจ้างเดินรถ วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทได้ดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองไปแล้วนั้น คงต้องรอดูความชัดเจนจากกทม.ที่ไปดำเนินการของบประมาณจากภาครัฐด้วย หลังจากนั้นกทม.ต้องหารือกับบริษัทอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร"
สำหรับภาระหนี้สะสมที่ภาครัฐมีต่อบีทีเอส แบ่งออกเป็น หนี้ค่าจ้างเดินรถตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 จำนวนราว 1.2 หมื่นล้านบาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) จำนวนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 21 - 23 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2021 1:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
วิษณุซัดคมนาคมขวางต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 20, 2021 06:06


เบื้องลึก! ถอนวาระครม.ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว
*”คมนาคม” ต้านหนัก 4 เหตุผลยันความเห็นถึง 8 ครั้ง
*แฉรัฐดูแลเองประโยชน์สูงกว่าให้เอกชน 4.6 แสนล้าน
*ต้องจ่ายหนี้รฟม./กทม.หมดปัญญาให้โอนโครงการคืน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3026888684199296
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2021 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ลากยาวต่อสัญญาสายสีเขียวกทม.อ่วมแบกหนี้ทวีคูณ
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, October 23, 2021 06:16

มท.ขอแก้ไข 3 สัญญา

เปิดเบื้องลึกคมนาคมโดดขวางมหาดไทย ถอดวาระต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าครม. ชี้ยังไม่ดำเนินการเคลียร์ข้อคัดค้านเพียบ สัญญาไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ กทม.เผยอนุมัติล่าช้ากระทบภาระหนี้ค้างชำระเดินรถไฟฟ้าพุ่ง ต้องปรับจำนวนเที่ยวการเดินรถไฟฟ้าเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า กรณีการถอดวาระการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวแก่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ต่อหน้า2564 ที่ผ่านมานั้น เป็นผลมาจาก

กระทรวงมหาดไทยขาดรายละเอียดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำความเห็นในกรณีที่กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาไม่เห็นด้วยกับผลการเจรจาและร่างสัญญาดังกล่าว รวมทั้งมีความเห็นเพิ่มเติมในหลายประเด็นที่ไม่สอดคล้องกัน ที่เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยทบทวนความเหมาะสมของผลการเจรจาและร่างสัญญาฯด้วยความละเอียดรอบคอบอีกครั้ง

ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลอัตราค่าจ้าง จำนวนกิโลเมตรทั้งหมด จำนวนขบวนความถี่ในการเดินรถไฟฟ้า รายงานการศึกษาเปรียบเทียบกรณีที่รัฐดำเนินการเองกับการให้เอกชนดำเนินการ รวมทั้งกรอบระยะเวลาในการเจรจาแก้ไขสัญญาสัมปทานร่วมลงทุนไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานฉบับเดิม ที่บริษัทจะต้องแจ้งความประสงค์ไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภายใน 3-5 ปี ก่อนวันสิ้นสุดสัญญา และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการต้องจัดทำแนวทางการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการร่วมลงทุนก่อนครบสัญญา 5 ปี เนื่องจากต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่ต้องนำมาพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการร่วมลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งอัตราเงินเฟ้อและดัชนีผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากการบริการและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

อีกทั้ง ไม่สอดคล้องกับการดำเนินการของกทม.ในครั้งนี้ ตลอดจนการตรวจสอบตามขั้นตอนกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกทม.ไม่ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความเหมาะสมของการรับโอนทรัพย์สิน และภาระทางการเงินจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่จะโอนภาระหนี้ดังกล่าวให้เอกชนผู้รับสัมปทาน พร้อมทั้งนำภาระหนี้สินในส่วนโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นต้นทุนในการคิดอัตราค่าโดยสาร ทำให้กระทรวงคมนาคมไม่เห็นด้วยกับผลการเจรจาและร่างสัญญาของกทม.

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ขณะที่การต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว กระทรวงมหาดไทยได้เสนอผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ เพื่อขอความเห็นชอบในการแก้ไขสัญญาสัมปทานทั้ง 3 ช่วง ประกอบด้วย 1.เส้นทางหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน รวมระยะทาง 23.5 กิโลเมตร 2.ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสินบางหว้าและช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง รวมระยะทาง 12.75 กิโลเมตร 3.ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะฯ (สมุทรปราการ) รวมระยะทาง 31.2 กิโลเมตร ให้เป็นสัญญาหลักฉบับเดียวกัน เพื่อให้โครงการทั้ง 3 ช่วงสามารถเดินรถได้แบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน และเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในการเดินทางแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยเอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่กทม.มีต่อกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาการร่วมลงทุน 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2572- 4 ธันวาคม 2602 โดยใช้หลักเกณฑ์การปรับเพดานอัตราค่าโดยสารโดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI)

ทั้งนี้ ผลตอบแทนที่กทม.จะได้รับจากการต่อสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนี้ กทม.จะได้รับส่วนแบ่งในอัตรา 10% ของรายได้ค่าโดยสารของโครงการฯในช่วง 15 ปีแรก ได้รับส่วนแบ่ง 15% ในช่วง 10 ปีต่อมาได้รับส่วนแบ่ง 25% และในช่วง 5 ปี สุดท้ายตามลำดับ และจะได้รับส่วนแบ่งเมื่อเอกชนคู่สัญญามีผลตอบแทนการลงทุนจากงบการเงินเกิน 9.6% ต่อปี ขณะที่เอกชนคู่สัญญาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามที่กำหนดในสัญญาสัมปทานเดิมของโครงการฯ และสัญญาร่วมลงทุนของส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงปี 2573-2602 รวมทั้งจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาสัมปทานฉบับใหม่ เช่น รายได้ค่าโดยสารของโครงการ ยกเว้นส่วนที่ต้องแบ่งรายได้ค่าโดยสารให้กทม.และรายได้จากการดำเนินกิจการพาณิชย์

ขณะที่กทม.ได้ชี้แจงว่า หากยังไม่สามารถนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้ จะส่งผลกระทบหลายเรื่อง เช่น ไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารของโครงการฯ ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคตและช่วงแบริ่ง-เคหะฯ (สมุทรปราการ) ทำให้มีภาระหนี้ค้างชำระค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันพบว่าภาระดอกเบี้ยสะสมของสัญญาเงินกู้ที่กทม.ทำไว้กับกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากกทม.ไม่สามารถนำส่วนแบ่งรายได้ตามที่ระบุไว้ในร่างสัญญามาชำระหนี้ดังกล่าว รวมทั้งไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้เชิงพาณิชย์ของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในร่างสัญญา เป็นต้น ทำให้บีทีเอสต้องเจรจากับกทม.เพื่อทวงถามภาระหนี้และแจ้งว่าอาจมีการปรับจำนวนเที่ยวการเดินรถไฟฟ้าเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัท ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้ หากกทม.กลับไปดำเนินการตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนปี 2562 อาจส่งผลกระทบต่อภาระหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะฯ (สมุทรปราการ) ที่ยังค้างชำระกับบีทีเอส จำนวนกว่า 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากร่างสัญญาฯระบุว่า ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ทางบีทีเอสจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว ประกอบกับสภากรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นว่าหากการดำเนินโครงการฯไม่เป็นไปตามร่างสัญญาที่ระบุไว้ จะส่งผลให้กทม.ต้องรับภาระหนี้และค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า จึงเห็นควรให้กทม.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/10/2021 7:04 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”ขานรับเปิดเมือง 1 พ.ย. 64 ผ่อนคลายบริการทุกโหมดเดินทาง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 ตุลาคม 2564 - 06:01 น.

“คมนาคม”ขานรับเปิดเมือง 1 พ.ย. 64 ผ่อนคลายบริการทุกโหมดเดินทาง 5 รถไฟฟ้าปรับเวลาบริการยกแผง ด้านบขส.เปิด 43 เส้นทางเดินรถเปิดเมือง ยืดโปรฯฉีดวัคซีนลดค่าตั๋ว

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยงานภายใต้กระทรวงคมนาคมทั้งบก ราง น้ำ และอากาศ ต่างปรับเปลี่ยนเวลาให้บริการใหม่ทั้งหมด หลังศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด19 ( ศบค) มีมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะการยกเลิกมาตรการเคอร์ฟิวช่วง 23.00-03.00 น. มีผล 1 พฤศจิกายน 2564 นี้

5 รถไฟฟ้าปรับเวลาบริการยกแผง

เริ่มที่ผู้ประกอบการรถไฟฟ้า 4 สายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) แจ้งว่า บริษัทปรับเวลาให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม รถไฟฟ้าสายสีทอง และรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที ตามปกติตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 24.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ส่วนลานจอดแล้วจรให้บริการตามปกติ เวลา 05.00 – 01.00 น. พร้อมกับเพิ่มความถี่ โดยนำขบวนรถไฟฟ้าออกให้บริการทั้งหมด 98 ขบวน เพื่อรองรับนโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐบาล

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บีทีเอส โทรศัพท์ 0 2617 6000 (ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น.) Line Official : @btsskytrain (ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น.) หรือตรวจสอบสถานะการเดินรถได้ที่ App ‘BTS SkyTrain’ แฟนเพจ Facebook : รถไฟฟ้าบีทีเอส

Click on the image for full size

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. และ บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT พร้อมให้ความร่วมมือดำเนินการตามมติ ศบค. โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป รถไฟฟ้า MRT จะปรับเวลาให้บริการตามปกติ

โดยรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) เปิดให้บริการเวลา 06.00 – 24.00 น. และรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 05.30 – 24.00 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์/ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 06.00 – 24.00 น.

ทั้งนี้ ผู้โดยสารโปรดตรวจสอบตารางการเดินรถและเวลารถไฟขบวนสุดท้ายได้จากประกาศภายในสถานีหรือ เฟซบุ๊ก : MRT Bangkok Metro / โมบายแอปพลิเคชัน : Bangkok MRT และเว็บไซต์ www.bemplc.co.th หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลโทร. 0 2624 5200

Click on the image for full size

ในส่วนของอาคารและลานจอดแล้วจรของ รฟม. จะเปิดให้บริการเวลาตามปกติทุกแห่ง คือ 05.00 – 01.00 น. โดยปัจจุบัน รฟม. มีที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จำนวน 10 สถานี ประกอบด้วย 4 อาคาร และ 10 ลานจอดรถ ได้แก่


อาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) ลานจอดแล้วจรสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน

ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จำนวน 4 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1

ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ จำนวน 1 สถานี ได้แก่ ลานจอดแล้วจรสถานีเคหะฯ

และที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต จำนวน 2 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต

ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการอาคารและลานจอดแล้วจรของ รฟม. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารอาคารจอดรถ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โทร. 0 2513 1895 หรือ ไลน์แอด @mrtaparking


ส่วนรถไฟชานเมืองสายสีแดง บจ. รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.(รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงแจ้งปรับเวลาการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเป็น 06.00 – 22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

โดยรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทาง (สถานีกลางบางซื่อ , สถานีรังสิต และสถานีตลิ่งชัน) ในเวลา 21.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

Click on the image for full size

“ซี.พี.” ทดสอบระบบ “แอร์พอร์ตลิงค์”

ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ช่วงพญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้โอนให้ บจ.เอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) ไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 รายงานข่าวระบุว่า อยู่ระหว่างเซ็ตอัพระบบให้เสถียรและให้พนักงานทำความคุ้นเคยกับระบบอยู่ ซึ่งจะใช้เวลาสักพักหนึ่ง โดยยังมีพนักงานบางส่วนของ รฟฟท. มาเป็นพี่เลี้ยงในการควบคุมระบบเดินรถ ซึ่งได้ปรับเวลาให้บริการเป็น 5.30 – 00.00 น. เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

Click on the image for full size

“ทางด่วน-โทลล์เวย์”ขานรับ ปรับเวลา

ส่วนการให้บริการทางพิเศษ ทางด่วน และมอเตอร์เวย์ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้แจ้งยกเลิกการจำกัดเวลาการให้บริการสำหรับรถยนต์ทั่วไปบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจะเริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 31 ตุลาคม 2564 หลังเวลา 23.00 น. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ทางพิเศษที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ยังคงจำกัดเวลาการให้บริการระหว่างเวลา 23.00 น. จนถึง เวลา 03.00 น. ตามเดิม โดยทางพิเศษที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่

ทางพิเศษอุดรรัถยา – ด่านฯ บางปะอิน (ขาเข้า), ด่านฯ บางปะอิน (ขาออก), ด่านฯ เชียงราก (ขาเข้า), ด่านฯ เชียงราก (ขาออก), ด่านฯ บางพูน (ขาเข้า), ด่านฯ บางพูน (ขาออก), ด่านฯ ศรีสมาน (ขาเข้า), ด่านฯ ศรีสมาน (ขาออก), ด่านฯ เมืองทอง (ขาเข้า), ด่านฯ เมืองทอง (ขาออก)

ทางพิเศษศรีรัช เฉพาะ ด่านฯ งามวงศ์วาน 1, ด่านฯ งามวงศ์วาน 2

ทางพิเศษบูรพาวิถี – ด่านฯ บางนา กม.6 (ขาเข้า), ด่านฯ บางนา กม.6 (ขาออก), ด่านฯ บางแก้ว, ด่านฯ บางนา กม.9-1, ด่านฯ บางนา กม.9-2, ด่านฯ บางนา กม.9-3, ด่านฯ บางพลี 1, ด่านฯ บางพลี 2, ด่านฯสุวรรณภูมิ 1 , ด่านฯ สุวรรณภูมิ 2, ด่านฯ วงแหวนรอบนอก(บางแก้ว), ด่านฯ เมืองใหม่บางพลี, ด่านฯ บางเสาธง, ด่านฯ บางบ่อ, ด่านฯ บางพลีน้อย, ด่านฯ บางสมัคร, ด่านฯ บางวัว, ด่านฯ บางปะกง 1, ด่านฯ บางปะกง 2

ทางพิเศษกาญจนาภิเษก เฉพาะ ด่านฯ บางแก้ว 1, ด่านฯ บางแก้ว 2, ด่านฯ บางแก้ว 3, ด่านฯ เทพารักษ์ 1, ด่านฯ เทพารักษ์ 2, ด่านฯ เทพารักษ์ 3, ด่านฯ เทพารักษ์ 4, ด่านฯ เทพารักษ์ 5, ด่านฯ บางเมือง 1, ด่านฯ บางเมือง 2, ด่านฯ บางเมือง 3, ด่านฯ บางเมือง 4, ด่านฯ ปากน้ำ 1, ด่านฯ ปากน้ำ 2, ด่านฯ ปากน้ำ 3, ด่านฯ ปู่เจ้าสมิงพราย, ด่านฯ บางครุ 1, ด่านฯ บางครุ 2, ด่านฯ บางครุ 3
​​
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 1543 ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) ตลอด 24 ชั่วโมง

Click on the image for full size

ด้านดอนเมืองโทลล์เวย์ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) เปิดให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทล์ลเวย์ทุกด่าน ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. Tollway Call Center : 1233

บขส.เปิด 43 เส้นทางเดินรถเปิดเมือง ยืดโปรฯฉีดวัคซีนลดค่าตั๋ว

โหมดขนส่งระหว่างจังหวัดผ่านรถทัวร์ นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ. ขนส่ง (บขส.) กล่าวว่า บขส. ได้ปรับตารางการเดินรถและเพิ่มจำนวนเที่ยววิ่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป บขส.จะเปิดให้บริการ เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จำนวน 22 เส้นทาง , เส้นทางภาคเหนือ จำนวน 10 เส้นทาง และเส้นทางภาคใต้ จำนวน 11 เส้นทาง และจะเปิดเส้นทางกรุงเทพฯ (หมอชิต2) – สตูล เพิ่มเติมในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564

ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถจองตั๋วเดินทางกับ บขส. ได้ที่ Application : E-Ticket , website บขส.https://tcl99web.transport.co.th/Home , ร้าน 7-Eleven , เคาน์เตอร์เซอวิส ทุกสาขา และตัวแทนจำหน่ายตั๋วของ บขส. ทั่วประเทศ

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ บขส. ได้จัดโครงการ “บขส.วิถีใหม่ห่างไกล Covid-19 ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ลด 20 %” ปรากฎว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้บริการ บขส. จึงได้ขยายเวลาโครงการฯ จากเดิมที่จะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ขยายเวลาเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

ทั้งนี้ผู้ใช้บริการที่แสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็ม ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด จะได้สิทธิ์ส่วนลดพิเศษ 20 % เฉพาะค่าโดยสาร ไม่รวมค่าธรรมเนียม (จำกัดจำนวนที่นั่งต่อเที่ยววิ่ง) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ช่องจำหน่ายตั๋วรถโดยสารของ บขส. ทั่วประเทศ และ Call Center1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2021 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

สภากทม. ติดตามความคืบหน้า แนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว
เดลินิวส์ 3 พฤศจิกายน 2564 21:30 น.
ทั่วไทย-กทม.

สภา กทม. ติดตามความคืบหน้าแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงส่วนต่อขยาย ป้องกันไม่ให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการ กทม. ดินแดง นายคำรณ โกมลศุภกิจ ประธานสภา กทม. เป็นประธานการประชุมสภา กทม. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สี่ (ครั้งที่ 2) ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยมี สมาชิกสภา กทม. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คณะผู้บริหาร กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

ในที่ประชุม พล.ต.ท.ธีระศักดิ์ ง่วนบรรจง เสนอญัตติ เรื่อง ขอให้ กทม. รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการและแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ตามที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบในหลักการให้ กทม. รับผิดชอบเป็นผู้เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 

ซึ่งเมื่อ กทม.รับมอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงดังกล่าวแล้ว กทม.จะรับภาระหนี้สิน ทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่ และภาระผูกพันอื่นๆ ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ใช้ในการดำเนินโครงการไปพร้อมกันด้วย และในการประชุมของคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมอบหมายให้ กทม.เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้มีข้อเสนอให้ กทม. กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นค่างานก่อสร้างโครงสร้างงานโยธา รวมทั้งต้องทำสัญญาชดใช้เงินต่อกระทรวงการคลัง ในส่วนค่าจัดกรรมสิทธิ์ และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเงินกู้ของค่างานโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระไปแล้ว
สภา กทม.ได้เห็นชอบข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การกู้เงินเพื่อใช้ในการรับโอนทรัพย์สิน และหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ พ.ศ. 2561

โดยกทม.ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) บริหารจัดการเดินรถในส่วนที่รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้จ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ดำเนินการ โดยได้เปิดให้บริการเดินรถเต็มระบบ ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 63 

แต่จากปัญหาการกำหนดอัตราค่าโดยสารและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกรณีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันจึงยังไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารได้ กทม.ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจ้างเดินรถ เดือนละ 600 ล้านบาท โดยไม่มีรายรับ ส่งผลให้ กทม. มีภาระหนี้สินจำนวนมากทั้งจากการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้และการจ้างเดินรถ ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายงบประมาณโดยรวมของ กทม. ดังนั้น เพื่อให้สภา กทม.ได้รับทราบข้อมูลการบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าว จึงขอให้ กทม. รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการและแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 

ทั้งนี้สมาชิกสภา กทม. ได้ร่วมอภิปรายในวาระดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดย นายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา สมาชิกสภา กทม. กล่าวว่า บีทีเอส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ กทม. ค้างค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต และช่วงแบริ่ง–เคหะสมุทรปราการ เป็นจำนวนมูลหนี้รวม 1.2 หมื่นล้านบาท โดย กทม. เป็นจำเลยที่ 1 และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นจำเลยที่ 2 เพื่อร่วมกันชดใช้หนี้

โดยมูลหนี้ดังกล่าวยังไม่รวมค่าก่อสร้างอีก 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 32,000 ล้านบาท หากยังไม่แก้ปัญหา อาจจะเป็นปัญหาสะสม จึงควรแก้ปัญหาโดยการประกาศจัดเก็บอัตราค่าโดยสารชั่วคราว ระหว่างที่รอให้การต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อป้องกันไม่ให้ภาระหนี้มากกว่านี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์หน่วยงานของรัฐไม่เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้ 

ด้านนายธวัชชัย ฟักอังกูร สมาชิกสภา กทม. กล่าวว่า ขอให้ กทม. ตรวจสอบสถานภาพทางการเงินการคลังของ กทม. รวมทั้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งที่ผ่านมาและที่กรุงเทพมหานครต้องมีภาระในอนาคต เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการขอสนับสนุนจากรัฐบาล โดยเป็นการแสดงให้เห็นถึงเหตุผลความจำเป็นของกรุงเทพมหานครที่จำเป็นต้องได้รับการสรับสนุนงบประมาณ

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในการพิจารณาแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสาร ภายหลังที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้เปิดให้บริการช่วงสถานีแบริ่ง-สถานีสำโรง เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 60 และเปิดให้บริการถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 61 กทม.ได้มีการเสนอการเก็บค่าโดยสารในอัตราค่าโดยสาร 15-21 บาท แต่เนื่องจากมีการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน จึงทำให้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ได้มีการทดลองเปิดให้บริการต่อเป็นช่วง ๆ จนได้เปิดให้บริการเต็มระบบจนถึงสถานีคูคตเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 63 และได้เล็งเห็นว่าการดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ครม.  กทม.จึงได้มีการพิจารณาโครงสร้างค่าโดยสารและออกประกาศ กทม. เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อดำเนินการจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการในอัตราไม่เกิน 104 บาท ตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป

ซึ่งหลังจากที่ กทม.ได้มีการออกประกาศดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าได้รับการร้องเรียนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอให้พิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าโดยสารตามประกาศฯ ต่อมาผู้ว่าฯ กทม. จึงได้ลงนามในประกาศ กทม. เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้เลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปก่อน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเก็บค่าโดยสารระหว่างที่รอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ สำนักการจราจรและขนส่ง จึงได้มีหนังสือประสานบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการหารายได้ จากพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีในส่วนต่อขยายที่ 2 และให้ศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารที่เหมาะสมในส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ปัจจุบันจึงอยู่ระหว่างที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ศึกษาแนวทางและนำเสนอต่อสำนักการจราจรและขนส่งเพื่อพิจารณาต่อไป.



----------



จี้กทม.เก็บค่าโดยสาร BTS
Source - ไทยรัฐ
Thursday, November 04, 2021 05:21

สภา กทม.แก้ปัญหาหนี้ระหว่างรอครม.ต่อสัมปทาน

เมื่อวันที่ 3 พ.ย.64 ในการประชุมสภา กทม. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 ครั้งที่ 2 ประจำปี 2564 ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกทม. 2 นายธีระศักดิ์ ง่วนบรรจง สมาชิกสภา กทม. ได้เสนอญัตติขอให้กทม. รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการและแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

นายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา สมาชิกสภา กทม. อภิปรายว่า บีทีเอสได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ กทม.ค้างค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ รวม 1.2 หมื่นล้านบาท โดย กทม.เป็นจำเลยที่ 1 และเคทีเป็นจำเลยที่ 2 โดยมูลหนี้ดังกล่าวยังไม่รวมค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณทั้ง 2 ช่วงอีก 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากยังไม่แก้ปัญหาอาจจะเป็นดินพอกหางหมู กทม.ควรแก้ปัญหาโดยการประกาศจัดเก็บอัตราค่าโดยสารชั่วคราว ระหว่างที่รอให้การต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวผ่าน ครม.เพื่อป้องกันไม่ให้ภาระหนี้มากกว่านี้

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยให้ประกาศอัตราจัดเก็บอัตราค่าโดยสารเพราะอย่างน้อยแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายบริหารไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เรื่องการจัดเก็บค่าโดยสาร ขณะที่ส.ก.บางคนเสนอให้คืนโครงการดังกล่าวให้รัฐบาลไปดำเนินการเอง

ด้านนายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ในการพิจารณาแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสาร ภายหลังที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายได้เปิดให้บริการช่วงสถานีแบริ่ง-สถานีสำโรง เมื่อวันที่ 3 เม.ย.60 และเปิดให้บริการถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.61 กทม. ได้มีการเสนอการเก็บค่าโดยสารในอัตราค่าโดยสาร 15-21 บาท แต่เนื่องจากมีการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน จึงทำให้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม จากนั้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ได้เปิดให้บริการต่อเป็นช่วงๆ จนเปิดถึงสถานีคูคต เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.63 ขณะที่กทม. ได้พิจารณาโครงสร้างค่าโดยสารและออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องการกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมถึงช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตและช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในอัตราสูงสุด 104 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป แต่ได้รับการร้องเรียนขอให้ทบทวนผู้ว่าฯ กทม. จึงให้เลื่อนการจัดเก็บค่า โดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปก่อน.

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 4 พ.ย. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2021 9:18 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สภากทม. ติดตามความคืบหน้า แนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว
เดลินิวส์ 3 พฤศจิกายน 2564 21:30 น.
ทั่วไทย-กทม.


จี้กทม.เก็บค่าโดยสาร BTS สภากทม.แก้ปัญหาหนี้ระหว่างรอครม.ต่อสัมปทาน
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าวในประเทศ
4 พฤศจิกายน 2564 เวลา 07:38 น.

เมื่อวันที่ 3 พ.ย.64 ในการประชุมสภา กทม. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 ครั้งที่ 2 ประจำปี 2564 ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการ กทม. 2 นายธีระศักดิ์ ง่วนบรรจง สมาชิกสภา กทม.ได้เสนอญัตติขอให้ กทม. รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการและแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ


นายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา สมาชิกสภา กทม. อภิปรายว่า บีทีเอส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ กทม.ค้างค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ รวม 1.2 หมื่นล้านบาท โดย กทม.เป็นจำเลยที่ 1 และเคทีเป็นจำเลยที่ 2 โดยมูลหนี้ดังกล่าวยังไม่รวมค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณทั้ง 2 ช่วงอีก 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากยังไม่แก้ปัญหา อาจจะเป็นดินพอกหางหมู กทม.ควรแก้ปัญหาโดยการประกาศจัดเก็บอัตราค่าโดยสารชั่วคราว ระหว่างที่รอให้การต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวผ่าน ครม.เพื่อป้องกันไม่ให้ภาระหนี้มากกว่านี้

ข่าวแนะนำ
แจงแล้ว ถนนประหลาด เกาะกลางโผล่กินเลนไปครึ่ง ชาวเน็ตแซะไม่เคยทำให้ผิดหวัง (คลิป)
หมอปลาเผาถ่านแก้เคล็ดให้ครอบครัวน้องเพลง เผยบ้านเอาดินป่าช้าเก่ามาถม (คลิป)
"เสี่ยชัด-น้องเกตุ" กลับบ้านเกิด ปันสุข แจกของ ไหว้พระ คนแห่ต้อนรับ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยให้ประกาศอัตราจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เพราะอย่างน้อยแสดงให้เห็นว่าฝ่ายบริหารไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เรื่องการจัดเก็บค่าโดยสาร ขณะที่ ส.ก.บางคนเสนอให้คืนโครงการดังกล่าวให้รัฐบาลไปดำเนินการเอง

ด้านนายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในการพิจารณาแนวทางการจัดเก็บค่าโดยสาร ภายหลังที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้เปิดให้บริการช่วงสถานีแบริ่ง-สถานีสำโรง เมื่อวันที่ 3 เม.ย.60 และเปิดให้บริการถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.61 กทม.ได้มีการเสนอการเก็บค่าโดยสารในอัตราค่าโดยสาร 15-21 บาท แต่เนื่องจากมีการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน จึงทำให้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม จากนั้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ได้เปิดให้บริการต่อเป็นช่วงๆ จนเปิดถึงสถานีคูคตเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.63

ขณะที่ กทม.ได้พิจารณาโครงสร้างค่าโดยสารและออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องการกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมถึงช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในอัตราสูงสุด 104 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป แต่ได้รับการร้องเรียนขอให้ทบทวน ผู้ว่าฯ กทม.จึงให้เลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปก่อน.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2021 6:51 am    Post subject: Reply with quote

BTS ยังมั่นใจได้ต่อสัญญาสีเขียว กทม.ส่งสัญญาณชง 'ครม.' เคาะเร็ว ๆ นี้
Source - ข่าวหุ้น
Wednesday, December 08, 2021 05:57

BTS ยังเชื่อกทม.ไม่ทำให้ผิดหวัง ล่าสุดขอศาลเลื่อนส่งคำชี้แจงแล้ว แจงเหตุมหาดไทยกำลังชงเรื่องต่อสัมปทานสายสีเขียวเข้าครม. มั่นใจได้รับอนุมัติต่อสัญญาล้างหนี้ ด้านจำนวนผู้โดยสารยังโตต่อเนื่องหลังรัฐเปิดประเทศ คาดอีก 2 ปีฟื้นตัวปกติ ขณะที่ปี 65 เตรียมเงินลงทุน O&M มอเตอร์เวย์-เมืองการบินอู่ตะเภา

นายสุรยุทธ์ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ BTS ยังมั่นใจว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) จะชำระหนี้ที่ค้างจ่าย BTS อยู่กว่า 30,371 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 BTS ได้ยื่นฟ้องกทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT รัฐวิสาหกิจของกทม. ต่อศาลปกครองเป็นมูลค่า 12,000 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ศาลปกครองได้รับคำฟ้องและให้ กทม. กับ KT ทำคำชี้แจงเพิ่มเติม แต่ล่าสุดทราบว่า กทม.ได้ขอเลื่อนการนำส่งคำชี้แจง เพราะมีความมั่นใจว่ากระทรวงมหาดไทยจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณาเห็นชอบในเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ

อย่างไรก็ตาม หากสุดท้ายแล้วครม.ไม่เห็นชอบเรื่องการต่อสัมปทานสายสีเขียว ก็เชื่อว่ารัฐบาลจะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กทม.เพื่อชำระหนี้แก่ BTS และเชื่อมั่นว่าเป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายรัฐหรือหน่วยงานรัฐจะไม่ชำระหนี้เลย พร้อมย้ำว่ากทม.ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากทริสเรทติ้งอยู่ที่ 2A+ ซึ่งสูงกว่า BTS ที่อยู่ที่ระดับ A+ ถึง 4 ระดับ ทาง BTS จึงไม่กังวลในเรื่องนี้

นายสุรยุทธ์ กล่าวต่อถึงแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสว่า ปัจจุบันแม้มีกระแสข่าวเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอมิครอน แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสาร โดยตั้งแต่รัฐบาลคลายล็อกดาวน์และประกาศเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาพบว่าผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเดือนกันยายน 2564 มีผู้โดยสาร 4.5 ล้านเที่ยวคน คิดเป็น 21% ของช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เดือนตุลาคมมีผู้โดยสาร 6 ล้านเที่ยวคน คิดเป็น 30% และล่าสุดเดือนพฤศจิกายนมีผู้โดยสารในอัตรา 40% ของช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว

ทั้งนี้ BTS ประเมินว่าจากนี้ไปผู้โดยสารจะเติบโตต่อเนื่องตามการเปิดประเทศ และทั้งปี 2565 จำนวนผู้โดยสารจะกลับไปเกือบเท่าก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีจากนี้ จำนวนผู้โดยสารจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ คือ เท่าก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19

สำหรับแผนการลงทุนในปี 2565 นั้น จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ BTS ร่วมกับพันธมิตรชนะการประกวดราคาได้รับงาน คือ
    1.การดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา และบางใหญ่-กาญจนบุรี ในนามกิจการร่วมค้า BGSR (BTS ถือหุ้น 40% / บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF 40% / บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC 10% และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH 10%) ซึ่งประเมินว่ากรมทางหลวงจะออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) ในเดือนธันวาคมนี้ และในปี 2565 จะใช้เงินลงทุนประมาณหลักพันล้านต้น ๆ

    2.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในนามกิจการร่วมค้า BBS (บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA / BTS และ STEC ซึ่ง BTS ถือหุ้น 35% โดยมีงานหลักคือการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารวงเงินประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งได้ลงทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัดไปแล้ว 4,500 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 4,500 ล้านบาทนั้น BTS จะลงทุนประมาณ 1 พันกว่าล้านบาทตามสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งอยู่ระหว่างรอฟังคำตัดสินของศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติมิชอบกลาง ถ้ามีความชัดเจนแล้วและ BTS ตัดสินใจเข้าร่วมประกวดราคา และได้รับงานก็จะต้องมีการลงทุนสูงในโครงการนี้เช่นกัน ขณะที่ปี 2565 BTS มีแผนออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) เพิ่มเติมด้วย

นายสุรยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีที่กลุ่ม BTS เข้าไปลงทุนในกลุ่มบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART จำนวน 1.75 หมื่นล้านบาทว่า ในส่วนแผน JFin Coin สกุลเงินดิจิทัล ที่จะเป็นบริการทางการเงินเพื่อใช้ในบริการต่าง ๆ ของทั้ง 2 กลุ่มบริษัทนั้น จะมีความชัดเจนช่วงไตรมาส 1/2565 ส่วนแผนการดำเนินโครงการอื่น ๆ ร่วมกัน ยังอยู่ระหว่างหารือ หากมีความคืบหน้าทาง BTS จะแจ้งให้นักลงทุนรับทราบแน่นอน

ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 8 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 100, 101, 102  Next
Page 87 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©