Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179873
ทั้งหมด:13491105
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2021 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

ค้าน‘รฟท.’ยกเลิกขบวนรถไฟเข้า‘สถานีหัวลำโพง’-หนุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ควบคู่'เดินรถ'
เขียนโดยisranews
เขียนวันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12:52 น.

อย่ารังแก "หัวลำโพง" !"สามารถ ราชพลสิทธิ์ " โยน5ข้อ เตือนกระทรวงคมนาคม
หน้าเศรษฐกิจคมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10:43 น. 1.5k
"สามารถ ราชพลสิทธิ์ " ออกโรงเตือน กระทรวงคมนาคม -รฟท. อย่ารังแก"หัวลำโพง" ! โยน5ข้อให้ขบคิด ย่ำ ไม่น่าเชื่อว่าความคิดเช่นนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลเน้นนโยบายขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ด้วยระบบราง

‘สามารถ’ แนะ 'รฟท.' เปลี่ยนแนวคิด ‘ยกเลิก’ รถไฟทุกขบวนเข้า ‘สถานีหัวลำโพง’ หนุนใช้ ‘โมเดลญี่ปุ่น’ พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ควบคู่ 'เดินรถ'

................................

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ย. นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ‘ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte’ โดยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกรถไฟทุกขบวนที่วิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารที่เดินทางจากชานเมืองเข้ามาทำงานในพื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ

“ในส่วนของผู้โดยสารชานเมืองนั้น เดิมสามารถเข้ามาถึงใจกลางกรุงเทพฯ จะลงรถไฟที่สถานีสามเสน หรือสถานีหัวลำโพงก็ได้ ซึ่งมีแหล่งงานมากมาย ช่วยให้เขาเหล่านี้ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง หากเขาต้องลงรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อจะทำให้เขาเสียเวลาและค่าเดินทางเพิ่มขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้เขาอย่างมาก” นายสามารถ ระบุ

นายสามารถ ระบุด้วยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟ โดยไม่จำเป็นต้องปิดการให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงได้ และหากการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว จะทำให้การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากจะมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่ใช้รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ควบคู่กับการเดินรถไฟ หรือ Integrated Development of Area and Railway (IDAR)

สำหรับเนื้อหาที่ นายสามารถ โพสต์ข้อความมี ดังนี้

“อย่ารังแกหัวลำโพง !

กระทรวงคมนาคมอ้างว่าต้องการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ที่เกิดจากทางรถไฟตัดกับถนน เป็นเหตุให้รถยนต์บนท้องถนนต้องหยุดรอให้รถไฟวิ่งผ่านไปก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงจะยกเลิกรถไฟทุกขบวนวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป โดยให้จอดแค่สถานีกลางบางซื่อเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าความคิดเช่นนี้จะเกิดขึ้นในยุคที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ด้วยระบบราง

1.การแก้จุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนนจำเป็นต้องยกเลิกรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพงด้วยหรือ ?

ตอบว่าไม่จำเป็น เพราะการรถไฟฯ มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง อยู่ระดับใต้ดินวิ่งในอุโมงค์เปิด ซึ่งรถไฟดีเซลก็สามารถวิ่งได้ด้วย ทำให้แก้ปัญหาจุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนนได้ จึงไม่จำเป็นต้องยกเลิกรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพง

หากรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ไม่เกิดขึ้น ปัญหาจุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนนก็สามารถแก้ได้โดยการสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟหรือสะพานลอยข้ามทางรถไฟให้รถยนต์วิ่ง

2.หากยกเลิกรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพง ใครจะเดือดร้อน ?

หากไม่มีรถไฟวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงจะมีผู้เดือดร้อนมากมาย ประกอบด้วยผู้โดยสารที่เดินทางจากชานเมืองเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และผู้โดยสารจากจังหวัดที่อยู่ห่างไกลที่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ นานา

ในส่วนของผู้โดยสารชานเมืองนั้น เดิมสามารถเข้ามาถึงใจกลางกรุงเทพฯ จะลงรถไฟที่สถานีสามเสน หรือสถานีหัวลำโพงก็ได้ ซึ่งมีแหล่งงานมากมาย ช่วยให้เขาเหล่านี้ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง หากเขาต้องลงรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อจะทำให้เขาเสียเวลาและค่าเดินทางเพิ่มขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้เขาอย่างมาก

เช่นเดียวกับ ผู้โดยสารจากจังหวัดที่อยู่ห่างไกล หากเขาต้องลงรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อแล้วเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (ขณะนี้ยังไม่มี) เขาจะต้องหอบสัมภาระมากมายอย่างทุลักทุเลเพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้า ซึ่งในชั่วโมงเร่งด่วนเขาจะต้องเบียดเสียดกับผู้โดยสารรถไฟฟ้า กว่าจะได้ขึ้นรถไฟฟ้าคงต้องรอกันนาน อีกทั้ง จะต้องเสียค่าเดินทางเพิ่มขึ้นด้วย

3.ปิดหัวลำโพงเท่ากับปิดประตู่สู่ระบบราง

การยกเลิกรถไฟทุกขบวนวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงหรือปิดให้บริการสถานีหัวลำโพงถือเป็นการปิดประตู่สู่ระบบราง เนื่องจากทำเลที่ตั้งของสถานีหัวลำโพงอยู่ในย่านธุรกิจกลางเมือง มีรถไฟฟ้าหลายสาย เดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวก หากหัวลำโพงถูกปิดลงจะทำให้การเดินทางด้วยระบบรางไม่ราบรื่น ขาดจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางที่สำคัญอย่างยิ่ง

หลายเมืองทั่วโลกที่นิยมขนผู้โดยสารด้วยระบบรางจะรักษาสถานีรถไฟใจกลางเมืองไว้ ไม่ย้ายออกนอกเมือง เช่น กรุงโตเกียวที่ยังคงมีรถไฟหลากหลายประเภทวิ่งเข้าออกสถานีรถไฟโตเกียวอย่างคับคั่งหลายพันเที่ยวต่อวัน

4.ไม่ปิดหัวลำโพงก็พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้

อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องการปิดหัวลำโพงก็คือต้องการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และคอนโดมีเนียม เป็นต้น เพื่อนำรายได้เข้าการรถไฟฯ

แต่กระทรวงคมนาคมจะต้องไม่ลืมว่าหากการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว จะทำให้การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากจะมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก เพราะการเดินทางเข้าออกหัวลำโพงสะดวกรวดเร็ว อันเป็นผลมาจาก “การพัฒนาพื้นที่กับทางรถไฟแบบบูรณาการ (Integrated Development of Area and Railway หรือ IDAR) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ดังนั้น จะต้องเปิดให้บริการสถานีหัวลำโพงต่อไป

5.อย่าให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย”

ผมขอเสนอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนการปิดสถานีหัวลำโพงให้รอบคอบ ให้ย้อนคิดไปถึงการปิดสนามบินดอนเมืองในปี 2549 ทันทีที่เปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ผู้โดยสารที่อยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจำนวนมากเดือดร้อน ต้องเดินทางไกลไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้งในปี 2550 แต่ในปี 2552 สนามบินดอนเมืองก็ถูกปิดลงอีก โดยอ้างว่าการใช้ 2 สนามบินที่อยู่ใกล้กัน อาจทำให้เครื่องบินชนกันได้ ซึ่งในขณะนั้นผมเป็น ส.ส. ได้ตั้งกระทู้สดถาม รมว. คมนาคม แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่สามารถยับยั้งการปิดสนามบินดอนเมืองได้

อย่างไรก็ตาม การใช้สนามบินสุวรรณภูมิเพียงสนามบินเดียวทำให้มีจำนวนการขึ้นลงของเครื่องบินหนาแน่น เป็นผลให้ความจุของรันเวย์ใกล้ถึงจุดอิ่มตัว จะต้องเร่งสร้างรันเวย์เพิ่ม ดังนั้น ในปี 2555 จึงต้องเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้ง เพื่อชะลอการลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร

บทเรียนจากการปิด-เปิดสนามบินดอนเมืองหลายครั้ง ถือเป็นบทเรียนที่กระทรวงคมนาคมจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” ที่จะต้องปิด-เปิดสถานีหัวลำโพงหลายครั้งเช่นเดียวกัน

อย่ารังแกหัวลำโพงที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมมายาวนานถึง 105 ปี เลย !"

ขณะที่เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอคัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ โดยคัดค้านการที่ รฟท.จะปิดให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพง เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้บริการรถไฟในการเดินทางเข้ามาทำงานหรือมาเรียนในพื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพ

สร.รฟท. ยังระบุว่า การปิดสถานีหัวลำโพงดังกล่าว ไม่สามารถแก้ปัญหาจราจรติดขัดในกรุงเทพฯเช่นที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวอ้าง พร้อมทั้งเสนอให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท. แก้ปัญหาการจราจรบริเวณจุดที่ถนนตัดผ่านทางรถไฟ

@รฟท.ยันไม่ทุบทิ้ง 'สถานีหัวลำโพง'

ก่อนหน้านี้ รฟท.ชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลประเด็นเรื่อง ทุบสถานีหัวลำโพง เพื่อสร้างเป็นตึกสูง ว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความในสื่อโซเชียลต่างๆ ระบุว่า การรถไฟฯ จะทำการทุบสถานีหัวลำโพงแล้วสร้างเป็นตึกสูงแทนนั้น

รฟท.ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยกระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายให้รถไฟทุกขบวน โดยเฉพาะรถไฟทางไกล ปรับสถานีปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน กระทรวงคมนาคม

โดย รฟท.ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางระบบขนส่งแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยมุ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เต็มศักยภาพ สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนในยุคใหม่ในทุกมิติ ทั้งด้านการเดินทางขนส่ง การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดภายในพื้นที่กรุงเทพฯ

โดยกำหนดกรอบเวลาการดำเนินงานให้ชัดเจน และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัดทำแผนรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ก่อนล่วงหน้า

ส่วนแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า หลังจาก รฟท. ย้ายการเดินรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อทั้งหมดแล้ว จะเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง ซึ่งจะเน้นการเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนายังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่และปรับเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้น จะยังคงอนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้อย่างครบถ้วน

สำหรับแนวทางการพัฒนา จะให้เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมือง ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายจากสถานีกลางบางซื่อมาสถานีกรุงเทพ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถท่องเที่ยวรอบเมือง และเรือท่องเที่ยว พื้นที่บางส่วนซึ่งปัจจุบันคือโรงซ่อมรถไฟ และพวงราง จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ให้ทันสมัย เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เชิงวัฒนธรรมร่วมสมัย แหล่งศูนย์รวมร้านค้าและอาหารที่มีชื่อรอบเกาะรัตนโกสินทร์ตั้งแต่อดีต ผสมผสานกับร้านค้าสินค้า แบรนด์เนมระดับโลก ที่ถูกจัดสรรให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

นอกจากนี้ ยังจัดสรรพื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกเพศทุกวัย และเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยรอบ รวมถึงศูนย์ประชุมนานาชาติ และที่สำคัญคือ ยังคงอนุรักษ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ให้ได้แก่ อาคารสถานีหัวลำโพง ชานชาลา อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จะเชื่อมประวัติศาตร์ให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตจากอดีตสู่สังคมในอนาคต เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างการอนุรักษ์มรดกอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ กับการสร้างรายได้เพิ่มให้กับการรถไฟฯ และประเทศ

ทั้งนี้ การเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ - รังสิต และบางซื่อ - ตลิ่งชัน เชิงพาณิชย์ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 2564 เริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 - 24.00 น. ทุกวัน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท สูงสุดไม่เกิน 42 บาท หลังจากที่ได้เปิดให้บริการแบบทดลองเสมือนจริง มาตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564

โดยปัจจุบันมียอดผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 6,105 คน ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่สูงถึง 13% สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งได้มีการเชื่อมต่อการเดินทางกับรถโดยสารประจำทาง โดยกรมการขนส่งทางบก และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ปรับปรุงเส้นทางเพื่อรองรับการเชื่อมต่อโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงทุกสถานี เพื่อให้ผู้ใช้บริกรเดินทางได้อย่างสะดวก และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลตามนโยบายรัฐบาล

สำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทาง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2541878505957037


Last edited by Wisarut on 24/11/2021 10:48 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2021 11:11 pm    Post subject: Reply with quote

จับตาคมนาคมเคาะ "หัวลำโพง" "ศักดิ์สยาม" เรียกถก 22 พ.ย.นี้
เศรษฐกิจ
วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9:00 น.

พรุ่งนี้ ! “ศักดิ์สยาม” นั่งหัวโต๊ะถกแผนหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ย้ำจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ดันใช้สถานีกลางบางซื่อฮับเศรษฐกิจและการขนส่งแห่งใหม่ของประเทศ

เสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยสำหรับนโยบายหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อปรับไปบริการเดินรถไฟสถานีสุดท้ายที่สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการเดินทางแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ดำเนินการในวันที่ 23 พ.ย.นี้

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า กระทรวงฯ ได้มีนโยบายให้รถไฟทุกขบวน โดยเฉพาะรถไฟทางไกล ปรับสถานีปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน อีกทั้งได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางระบบขนส่งแห่งใหม่ของประเทศไทย

โดยมุ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เต็มศักยภาพ สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนในยุคใหม่ในทุกมิติ ทั้งด้านการเดินทางขนส่ง การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดภายในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยกำหนดกรอบเวลาการดำเนินงานให้ชัดเจน และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัดทำแผนรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ก่อนล่วงหน้า



ส่วนแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. เผยหลังจากย้ายการเดินรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อทั้งหมดแล้ว จะเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง ซึ่งจะเน้นการเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนายังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่และปรับเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้น จะยังคงอนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้อย่างครบถ้วน


ขณะที่แผนพัฒนาสถานีกรุงเทพ บนพื้นที่ 120 ไร่ มูลค่าที่ดิน 1.44 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นแบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 พื้นที่ ประกอบด้วย

โซน A จำนวน 16 ไร่ บริเวณอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะจัดทำเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์และพัฒนาทัศนียภาพ
โซน B จำนวน 13 ไร่ ปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์
โซน C จำนวน 22 ไร่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่โรงซ่อมรถรางและรถโดยสาร พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบปิดและเปิด เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม และจะปรับปรุงเป็น Water front Promenade เลียบครองผดุงกรุงเกษม ดูต้นแบบจากเวนิส ประเทศอิตาลี
โซน D จำนวน 49 ไร่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ชานชาลา ทางรถไฟ และย่านสับเปลี่ยน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งระบบการสัญจรและพื้นที่ฝั่งเมือง มีแผนพัฒนาได้ในหลายรูปแบบ โดยพัฒนาเป็นโครงการผสมผสาน (มิกซ์ยูส) ลักษณะ Lifestyle mixed-use รองรับธุรกิจโรงแรม อาคารสำนักงาน รวมทั้งที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้าและพื้นที่จัดแสดง โดยยึดต้นแบบโตเกียว มิดทาวน์ (Tokyo Midtown) ประเทศญี่ปุ่น
โซน E จำนวน 20 ไร่ บริเวณอาคารสำนักงาน ร.ฟ.ท.ตึกคลังพัสดุเดิม เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์รูปแบบ Urban mixed-use อาทิ โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม รวมถึงพื้นที่ให้ร่มรื่นผสมผสานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเชื่อมต่อรูปแบบสิ่งปลูกสร้างเชิงอนุรักษ์โครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งมีระยะห่างกันไม่เกิน 500 เมตร ตลอดแนวคลองและได้ศึกษาชุมชนริมน้ำ โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
จับตาคมนาคมเคาะ "หัวลำโพง" "ศักดิ์สยาม" เรียกถก 22 พ.ย.นี้

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อสั่งการเพิ่มเติม ประกอบด้วย

1.การพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ควรให้ ร.ฟ.ท. เร่งพิจารณาแนวทางการหยุดบริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยเร็ว เพื่อให้มีความชัดเจนในการเริ่มพัฒนาบริเวณสถานี

2.การศึกษาการพัฒนาพื้นที่ ให้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ที่อาจพิจารณาการออกแบบที่แตกจากเดิม คือ ประกวดแบบการพัฒนา โดยให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Land Developer) ร่วมแข่งขันเพื่อให้มีแนวความคิดหลากหลาย

3.การลงทุนของโครงการ ร.ฟ.ท.และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ควรพิจารณารูปแบบการลงทุน และหากพิจารณาแล้วว่าการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท.มากที่สุด เห็นควรให้ทำตามกฎหมายคู่ขนานเพื่อไม่ให้โครงการล่าช้า

นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งอยู่กลางเมือง และเข้าถึงง่ายด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีแดงในอนาคต จึงควรนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยให้เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมือง รวมถึงจัดสรรพื้นที่บางส่วนสำหรับเชิงพาณิชย์ให้ทันสมัย โดยคงอัตลักษณ์เดิม สอดคล้องความสมัยใหม่และรูปแบบการดำเนินชีวิต

รวมทั้งจะเปิดบริการสถานีบางซื่ออย่างเป็นทางการเดือน พ.ย.2564 และให้รถไฟทุกขบวน โดยเฉพาะรถไฟทางไกลเปลี่ยนมาสิ้นสุดสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งปัจจุบันมีรถไฟที่ให้บริการ 198 ขบวน เพราะประเมินการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน ใช้ประโยชน์จากสถานีกลางบางซื่อให้คุ้มค่าเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่งระดับอาเซียน

อย่างไรก็ดี ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ เวลา 15.00 น. ที่กระทรวงคมนาคมจะมีการประชุมคณะกรรมการติดตามการเปิดให้บริการสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ZOOM ซึ่งเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปของการปรับเส้นทางเดินรถไฟไปยังสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) รวมทั้งแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่อาจมีการรายงานความคืบหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2021 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

"จริงหรือ ?? " เค้าลือว่า อาคารบัญชาการ (ตึกบัญชาการ) การรถไฟแห่งประเทศไทย "จ่อคิวทุบ" เพื่อสร้างห้างสรรพสินค้า ชื่อดัง ในย่านสถานีหัวลำโพง
ตึกบัญชาการรถไฟปัจจุบัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตึกบัญชาการกรมรถไฟถูกระเบิดได้รับความเสียหาย ระหว่างปี 2491 กรมรถไฟได้รับงบประมาณสร้างตึกบัญชาการใหม่ เป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างบนฐานรากเดิมของตึก 2 ชั้นรูปตัว U มีทางลอดตัวตึกนี้แล้วเชื่อมทั้ง 2 ชั้นเข้าหากัน โดยสร้างทางด้านตะวันออกเข้าด้วยกัน ออกแบบโดยนายบำรุง อรุณเวช (บางข้อมูลระบุว่า ออกแบบโดย หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ พ.ศ. 2490) แล้วเสร็จประมาณปี 2492 สมัยนายปุ่น ศกุนตนาค เป็นอธิบดีกรมรถไฟ
แต่แล้วเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2495 เกิดไฟไหม้ที่ตึก 3 ชั้นทางทิศใต้ จึงมีการซ่อมแซมต่อเติมตึกที่เชื่อม 2 ชั้น ทางด้านตะวันออกให้เป็น 3 ชั้น เหมือนกันทุกด้านเชื่อมต่อกัน และได้อัญเชิญตราแผ่นดิน รัชกาลที่ 5 ขึ้นติดตั้งบนหน้าตึกชั้น 3 และนำตราล้อปีกสัญลักษณ์ของกรมรถไฟ ติดตั้งบนหน้าตึกชั้น 2 ดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=458754369010555&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/11/2021 8:02 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จับตาคมนาคมเคาะ "หัวลำโพง" "ศักดิ์สยาม" เรียกถก 22 พ.ย.นี้
เศรษฐกิจ
วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9:00 น.

จับตาประชุมปิด”หัวลำโพง”วันนี้วัดใจ”ศักดิ์สยาม”หักดิบฝ่ากระแสต้าน
เผยแพร่: 22 พ.ย. 2564 07:32 ปรับปรุง: 22 พ.ย. 2564 07:32 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จับตาประชุมปิดสถานีหัวลำโพงวันนี้(22 พ.ย.) วัดใจ”ศักดิ์สยาม”หักดิบ ฝ่ากระแสสังคมต้าน หรือจะยอมยืดเวลาให้ปรับตัว ด้านผู้ว่าฯรฟท.”เตรียมพร้อมจัดฟีดเดอร์ เยียวยาประชาชน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กรณี การยุติเดินรถไฟทางไกล รถชานเมือง เข้าสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) นั้นขณะนี้ ยังอยู่ในการพิจารณาซึ่งรฟท.ได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและให้การบริการประชาชนได้รับความสะดวกมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ

ส่วนกรณีที่ต้องหยุดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง ได้มีการแนวทางในการเยียวยาประชาชน เช่น การร่วมมือกับ ขสมก.ในการจัดรถโดยสาร และรถตู้ เชื่อมต่อเป็นฟีดเดอร์เพื่อส่งผู้โดยสารให้ถึงปลายทางและหัวลำโพงเหมือนเดิม

“ยังต้องมีการประชุมร่วมกันก่อน จึงยังไม่ชัดเจนว่าวันที่ 23 ธ.ค.64 นี้จะหยุดเดินรถทุกขบวนเข้าหัวลำโพงหรือไม่ ซึ่งเดิมรฟท.เสนอแผนที่จะลดขบวนเข้าหัวลำโพง โดยยังเหลือ 22 ขบวนไว้เนื่องจากเป็นขบวนที่มีผู้ใช้บริการมาก ส่วนกรณีการใช้รถเมล์ รถตู้หรือ MRT เป็นฟีดเดอร์ จะต้องมีการหารือและวางมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดการฉวยโอกาส เพราะค่าโดยสารรถไฟมีราคาถูก อาจจะมีกรณีไปซื้อตั๋วรถไฟ เพื่อใช้ต่อกับ MRT ในราคาถูก เป็นต้น”

นายนิรุฒกล่าวว่า ต้องถามว่าวันนี้ รถไฟ คือสาธารณูปโภค หรือองค์กรหากำไร ต้องดูบทบาทขององค์กรด้วย ส่วนด้านของนโยบายจะมองภาพรวมประเทศ ทั้งการขาดทุน ปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนนที่ทำให้เกิดปัญหาจราจร ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้ศึกษาไว้ ถ้าไม่มีรถไฟตัดผ่านถนน การจราจรในกทม.จะดีขึ้นอย่างไรบ้าง อีกทั้ง รฟท.ได้มีการลงทุนสร้างบางซื่อมหาศาลแล้ว ยังมีหัวลำโพง บริการไปด้วย ก็เป็นมุมมองในส่วนของนโยบาย

อย่างไรก็ตาม. รฟท.ยืนยันในการดูแลบริการและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบในฐานะหน่วยงานดูแลการเดินทางของประชาชนทุกระดับ แต่ก็ต้องทำตามนโยบาย นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า ส่วนของอาคารสถานีหัวลำโพงนั้น จะไม่มีการทุบใดๆ แต่จะเป็นการอนุรักษ์ไว้

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า วันนี้ (22 พ.ย. ) เวลา15.00 น. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะเป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง)และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อติดตามความพร้อมในด้านต่างๆรวมถึงพิจารณาการเดินรถไฟทางไกล รถชานเมือง เข้าสถานีหัวลำโพง ซึ่งมีนโยบายให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพื่อแก้ปัญหาจราจรในพื้นที่ชั้นใน และสอดคล้องกับการใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางคมนาคมระบบราง

สำหรับการหยุดเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงนั้น ก่อนหน้านี้ รฟท.ได้มีแผนว่า วันที่ 23 ธ.ค.2564 จะเริ่มแผนทยอยหยุดการเดินรถเข้าหัวลำโพง โดยจะยังคงเหลือวิ่งเขาหัวลำโพง 22 ขบวน ไปก่อนจนถึงปี 2565

ได้แก่ รถไฟชานเมือง สายเหนือ/สายอีสาน 6 ขบวน / วัน มาจากลพบุรี แก่งคอย บ้านภาชี โดยจัดรูปแบบว่า จะวิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงจากรังสิต-วัดเสมียนนารี จากนั้นจะลงแลมป์ใช้ทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิม( ซึ่งไม่มีจุดตัดกับถนน ) และจากบางซื่อเดิม จะวิ่งต่อไปยัง หัวลำโพง ซึ่งจะมีจุดตัดกับถนน เช่นบางซื่อ สะพานควาย ยมราช โดยจะวิ่งเช้า 3 ขบวน เย็น 3 ขบวนเท่านั้น โดยยังผู้โดยสารหลายพันคน ที่เดินทางมาทำงานในพื้นที่ชั้นในและโรงพยาบาลรามาธิบดี

สายตะวันออก รถไปธรรมดา ชานเมือง 14 ขบวน/วัน เข้าสถานีหัวลำโพงเนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมาก ประมาณ 8,000 คน/วัน และยังมีสายใต้ เป็น รถไฟชานเมือง จากสุพรรณบุรี และนครปฐม อีก 2 ขบวน/วัน

โดยทันทีที่มีข่าวรฟท.จะหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพงทำให้เกิดกระแสต่อต้าน ไม่เห็นด้วย อย่างมากโดยเห็นว่า เป็นการผลักภาระให้ประชาชน รัฐหันไปสนับสนุนอำนวยความสะดวกกับรถยนต์มากขึ้นไม่สนับสนุนระบบราง การไม่มีรถไฟที่หัวลำโพงเป็นการใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์ เป็นต้น ซึ่งต้องจับตาผลการประชุมว่าจะเป็นอย่างไร


------


“ศักดิ์สยาม” ฟังกระแสสังคม ทบทวนนโยบายปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 - 15:55 น.

วันที่ 22 พ.ย. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่มีนโยบายปิดการให้บริการสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 นั้น ในช่วง 15.00 น. จะมีการประชุมติดตามความคืบหน้ารถไฟชานเมืองสายสีแดง ขอให้รอดูการประชุมก่อน ตอนนี้ยังตอบไม่ได้

ส่วนภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่จะเพิ่มขึ้นนั้น จะมีการรวบรวมมาสรุปผลในการประชุมช่วง 15.00 น. วันนี้แน่นอน ขณะที่การเยียวยาก็ต้องมาดูกันหมด

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า มีข้อเสนอให้มีการเดินรถไฟเข้าหัวลำโพงช่วงเช้า-เย็น ช่วงละ 3 ขบวน นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ก็ค่อยมาดูตัวเลขกัน และไม่ใช่เรื่องขบวนรถ และต้องถามประชาชนที่เจอรถติดมีมากแค่ไหน โดยจะดูผลกระทบให้รอบด้าน

“นโยบายดังกล่าวไม่ได้ทำให้รถหายติด แต่จะทำให้สถานการณ์บรรเทาขึ้น วันนี้ เวลารถไฟวิ่งผ่านจุดตัดทำให้รถยนต์ต้องรอขบวนรถไฟวิ่งผ่าน แม้ รถไฟจะเป็นระบบขนส่งที่คนใช้กันมาก แต่รถที่วิ่งบนถนนก็มีลักษณะแบบเดียวกัน เช่น รถเมล์ของขสมก. ในใจลึกๆ อยากแก้ปัญหาจราจร และอยากแก้ปัญหาการบริหารของการรถไฟฯ ส่วนจะทำได้หรือไม่ ก็ต้องเอาข้อมูลมาดูกันแล้วตัดสินใจ ทุกเรื่องทบทวนได้หมด ต่อให้สั่งปิดให้บริการก็สั่งให้เปิดได้” นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2021 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

เคลียร์ชัด “ศักดิ์สยาม” เผยสาเหตุเตรียมปิด “สถานีหัวลำโพง”
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:37 น. 2.3k
“ศักดิ์สยาม” ชี้แจงสาเหตุเตรียมปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง หลังรฟท.หนี้พุ่ง 6 แสนล้าน ด้านบ.ลูกเตรียมแผนบริหารที่ดินรฟท.ทุกแปลง คาดโกยรายได้ 8 แสนล้าน ภายใน 30 ปี ช่วยรฟท.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะปิดให้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยรถไฟทุกขบวนสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อนั้น ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการหารือร่วมกับรฟท.เบื้องต้นได้มอบหมายให้บริษัทเอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ดำเนินการบริหารจัดการสินทรัพย์ของรฟท.เพื่อให้รฟท.มีรายได้ ไม่ใช่เฉพาะการบริหารที่ดินบริเวณสถานีหัวลำโพงเท่านั้น แต่เป็นการบริหารสถานีทุกแปลง ซึ่งเป็นที่ดินของรฟท.


ขณะเดียวกันสิ่งที่กระทรวงเห็นพบว่ารฟท.มีภาระขาดทุนสะสมต่อเนื่องในด้านการบริหารรายได้ ซึ่งปัจจุบันมีหนี้สินทางบัญชี ราว 1.5-1.6 แสนล้านบาท และมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจริง ราว 600,000 ล้านบาท ทั้งนี้ทางบ.ลูกได้นำข้อมูลสินทรัพย์ของรฟท.ที่สามารถสร้างรายได้ให้รฟท. ซึ่งปัจจุบันรฟท.มีที่ดินหลายแห่งที่มีศักยภาพและมีความสามารถในการพัฒนาให้มีรายได้ เช่น ที่ดินย่านสถานีธนบุรี ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศิริราช ,ที่ดินบริเวณสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 9 แปลง,ที่ดินย่าน RCA ,ที่ดินย่านหัวลำโพง



ทั้งนี้บริษัทเอสอาร์ที แอสเสท จำกัด คาดการณ์ว่า หากบริษัทดำเนินการขายสินทรัพย์ให้กับรฟท.จะทำให้ปีแรกรฟท.มีรายได้อยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 มีรายได้อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท หากดำเนินการตลอดระยะเวลา 30 ปี จะทำให้รฟท.มีรายได้อยู่ที่ 800,000 ล้านบาท ส่งผลให้รฟท.กลับมามีกำไรได้

//============================
‘ศักดิ์สยาม’สั่งรฟท.ทบทวนแผนหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง
วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 18.23 น.



‘ศักดิ์สยาม’สั่งรฟท.ทบทวนแผนหยุดเดินรถเข้าหัวลำโพง ให้สอดคล้องรูปแบบความต้องการประชาชน พร้อมศึกษาปรับขบวนรถวิ่งนอกชั่วโมงเร่งด่วน

22 พฤศจิกายน 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีการว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีการพิจารณาหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง พร้อมพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์คมนาคมกลางเมือง ว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนข้อมูลแผนการเดินรถให้รอบด้านครอบคลุมทุกมิติ โดยพิจารณาการปรับรูปแบบ และจำนวนรถไฟให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมถึงความเป็นไปได้ในการปรับให้ขบวนรถไฟวิ่งนอกชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น




นอกจากนี้ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเวทีสาธารณะชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน และจัดทำข้อมูลให้ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว เพื่อหาข้อยุติและแก้ปัญหาให้ได้ทุกมิติ รวมถึงมาตรการเยียวยาต่างๆ รวมถึงการให้ข้อมูลด้านการพัฒนาหัวลำโพงให้เห็นภาพรวมทุกประเด็น ทั้งการอนุรักษ์อาคาร และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ รวมถึงการบริหารสถานีกลางบางซื่อ โดยให้พิจารณาข้อมูลการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเน้นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม



ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้มีการตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ในการดำเนินการบริหารที่ดินของการการรถไฟฯ ทุกแปลง หลังจากกระทรวงคมนาคม พิจารณาข้อมูลของการรถไฟฯ พบว่า มีการขาดทุนสะสมต่อเนื่อง หรืออยู่ที่ประมาณ 150,000-160,000 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขจากกระทรวงการคลัง (ไม่ลงบัญชี) อยู่ที่ประมาณเกือบ 600,000 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันทางการรถไฟฯ มีภาระในเรื่องของการบริหารที่มาการขาดทุนสะสมมานาน ซึ่งจากการบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ประเมินรายได้ขั้นต่ำสุดใช้ระยะเวลาประมาณ 30 ปี จะมีรายได้เข้ามารวมระยะเวลาบริหารจัดการประมาณ 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท



สำหรับปัญหาเรื่องการเดินรถไฟฯ เข้ามาในกลางเมืองนั้น ทางรัฐบาลได้เล็งเห็นเรื่องดังกล่าว มานานแล้ว จึงได้ดำเนินการสร้างโครงการสถานีกลางบางซื่อขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางระบบคมนาคม โดยเฉพาะระบบราง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟทางไกล, รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต ขณะเดียวกัน อีกปัญหาหนึ่งของกรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ ปัญหาการจราจร เนื่องจากจุดตัดทางถนนกับทางรถไฟ ประกอบกับเมื่อได้ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วนั้น จึงมองว่า ควรมีการปรับการเดินรถเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ อย่างมีผลเป็นรูปธรรม ปัญหาหลักคือการใช้ประโยชน์จากสถานีกลางบางซื่อที่ได้ลงทุนก่อสร้างมูลค่าถึง 30,000 กว่าล้านบาท

ขณะเดียวกันปัญหาการจราจรเป็นปัญหาใหญ่ของกรุงเทพฯ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะต้องหาวิธีการที่เหมาะสม พร้อมทั้งเปรียบเทียบข้อมูลทั้งหมดที่สำคัญคือ การพัฒนาประเทศ หากยังไม่สามารถหาตัวแบบที่จะอยู่ร่วมกันได้ระหว่างสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์กับโลกสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาประเทศจำส่งผลให้เสียโอกาส อย่างไรก็ตามจะต้องรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายและประเมินว่าอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันมี 118 ขบวนที่ให้บริการเข้าสู่สถานีหัวลำโพง ซึ่งต้องมาพิจารณาว่า จะปรับลดเหลือ 22 ขบวนที่ให้บริการหลังเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง เชิงพาณิชย์ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ มีความจำเป็นที่จะต้องเหลือขบวนให้บริการคงไว้หรือกระทบต่อการจราจรอย่างไร ต้องมีการปรับตารางเวลาการให้บริการหรือไม่



ทั้งนี้ กรณีของการหยุดการเดินสถานีหัวลำโพงนั้น ก็จะมีการประชุมพิจารณาทบทวนว่า มีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ ต้องพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง และหากต้องมีการจัดรถรับ-ส่งบริการ รวมถึงต้องหารือกับการรถไฟฯ และดูตัวเลขอีกครั้ง เนื่องจากจะต้องมีการประเมินเปรียบเทียบว่า การวิ่งให้บริการรถไฟเข้ามาสถานีหัวลำโพงกับการจราจรที่ติดขัดในช่วงปรับผ่านว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาถึงสิ่งที่จะมีผลกระทบต่างๆ ว่า จะสามารถปรับเวลาได้หรือไม่

“ใครจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ว่าไปเพราะผมไม่อยากให้การรถไฟฯอยู่แบบนี้ ผมต้องการให้การรถไฟฯ มีสิ่งที่จะสามารถตอบคนในประเทศนี้ว่าเป็นการรถไฟฯจะเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งสามารถประกอบกิจจการแล้วมีกำไรและสามารถดูแลประชาชนได้จริง อย่าเพิ่งไปดราม่ากัน ในใจลึกๆ คือ ต้องการแก้ไขปัญหาจราจร และแก้ไขปัญหาของการบริหารของรถไฟฯ ที่เบื้องต้น จะต้องนำตัวเลขและข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ถึงไม่มีรถไฟวิ่งตัดเลยก็ไม่ใช่ว่ารถจะไม่ติดไม่มีแน่นอนเพราะรถมันเยอะแต่ก็มองว่าจะดีขึ้นแน่นอน แต่ก็ต้องพิจารณาตัวเลขข้อมูลก่อนตัดสินใจ ทุกเรื่องสามารถทบทวนได้หมด ทุกวันนี้มีการปรับจาก 118 ขบวน เหลือ 22 ขบวน และจะสามารถปรับได้อีกหรือไหม” นายศักดิ์สยาม กล่าว

🚂 ‘ศักดิ์สยาม’ สั่งการรถไฟฯ ทบทวนแผนหยุดให้บริการเดินรถเข้า ‘หัวลำโพง’ เล็งเปิดเวทีสาธารณะ ยันพร้อมรับฟังทุกความเห็น
.
🚂 “ศักดิ์สยาม” สั่งการรถไฟฯ ทบทวนแผนหยุดให้บริการเดินรถเข้าหัวลำโพง ปรับรูปแบบสอดรับความต้องการประชาชน พร้อมจัดเวทีสาธารณะรับฟังทุกความเห็น ก่อนหาข้อยุติ เผยกล้าตัดสินใจ–พัฒนาประเทศ ชี้ประวัติศาสตร์–โลกสมัยใหม่ต้องเดินหน้าไปด้วยกัน ลั่น! ความในใจอยากแก้จราจร–แก้หนี้กว่า 6 แสนล้าน หัวกลับสู่เสือตัวที่ 5
.
📌 อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.trjournalnews.com/37294

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
จับตาคมนาคมเคาะ "หัวลำโพง" "ศักดิ์สยาม" เรียกถก 22 พ.ย.นี้
เศรษฐกิจ
วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9:00 น.

จับตาประชุมปิด”หัวลำโพง”วันนี้วัดใจ”ศักดิ์สยาม”หักดิบฝ่ากระแสต้าน
เผยแพร่: 22 พ.ย. 2564 07:32 ปรับปรุง: 22 พ.ย. 2564 07:32 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ศักดิ์สยาม” ฟังกระแสสังคม ทบทวนนโยบายปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 - 15:55 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2021 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

ลดแรงต้านปิดหัวลำโพง! “ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท.เปิดเวทีฟังความเห็นทุกมิติ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 18:29 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 18:29 น.



“ศักดิ์สยาม” ลดกระแสต้านปิด “หัวลำโพง” สั่งรฟท.จัดเวทีสาธารณะฟังความเห็นทุกมิติ ทั้งหยุดเดินรถ-พัฒนาเชิงพาณิชย์ ส่วนสายสีแดงพร้อมเปิดทางการ 29 พ.ย. 64 คุมค่าตั๋ว 3 ปีแรก 12-42 บาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 22 พ.ย. ว่า รถไฟสายสีแดงจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการและมีการจัดเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 2564 ส่วนกรณีการหยุดเดินรถไฟเข้าสู่สถานีหัวลำโพงนั้น ให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนข้อมูลแผนการเดินรถให้รอบด้าน โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมิติการบริหารจราจร และมิติการให้บริการประชาชน โดยพิจารณาการปรับรูปแบบ และจำนวนรถไฟให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมถึงความเป็นไปได้ในการปรับให้ขบวนรถไฟวิ่งนอกชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น

อีกทั้งได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเวทีสาธารณะชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน และจัดทำข้อมูลให้ชัดเจนในประเด็นนี้เพื่อหาข้อยุติและแก้ปัญหาให้ได้ทุกมิติ รวมถึงมาตรการเยียวยาต่างๆ รวมถึงการให้ข้อมูลด้านการพัฒนาหัวลำโพงให้เห็นภาพรวมทุกประเด็น ทั้งการอนุรักษ์อาคาร และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ รวมถึงการบริหารสถานีกลางบางซื่อ โดยให้พิจารณาข้อมูลการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเน้นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

สำหรับรถไฟสายสีแดงที่มีการเปิดทดลองให้ประชาชนใช้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันพบว่ามีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 8,817 คน/วัน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อรองรับการเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่สถานีรถไฟสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ โดยจัดตารางการเดินรถจะสอดคล้องกับตารางรถไฟสายสีแดงเพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง พร้อมทั้งให้ดำเนินการจัดหารถ Mobile Kiosk ที่มีความทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชน

@คุมค่าโดยสาร 3 ปีแรก 12-42 บาท แนะใช้ตั๋วเดือนประหยัดกว่า

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ความพร้อมเข้าสู่ระบบตั๋วร่วม บัตรโดยสารในการเดินทางร่วม โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยใน 3 ปีแรก (2565-2568) ที่เปิดให้บริการจะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง 1.5 บาท อัตราค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทางหนึ่งเที่ยวไม่เกิน 42 บาทตลอดสายรวมทั้งสองช่วง เมื่อถึงปีที่เอกชนดำเนินการให้เสนอใช้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป



ทั้งนี้ รฟท.จะได้ประชาสัมพันธ์ตารางอัตราค่าโดยสาร (Fare Table) ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าต่อไป สำหรับผู้ใช้บัตรโดยสาร 30 วัน (ตั๋วเดือน) สำหรับบุคคลทั่วไปจะมีราคาเฉลี่ยต่อเที่ยว 25-35 บาท พร้อมจัดโปรโมชันส่วนลดการเดินทางสำหรับเด็ก นักเรียน โดยเด็กส่วนสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร ได้รับยกเว้นค่าโดยสาร เด็กซึ่งมีอายุไม่เกิน 14 ปี และมีความสูงไม่เกิน 91-120 ซม.ได้รับส่วนลดร้อยละ 50 จากอัตราค่าโดยสารปกติ พร้อมทั้งมีบัตรโดยสารสำหรับนักเรียน/นักศึกษา (Student Card) อายุไม่เกิน 23 ปี จะได้รับส่วนลดร้อยละ 10 จากอัตราค่าโดยสารปกติ ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป และพระภิกษุ ได้รับส่วนลดร้อยละ 50 จากอัตราค่าโดยสารปกติ รวมทั้งผู้พิการจะได้รับยกเว้นค่าโดยสาร

นอกจากนี้ ยังได้รับทราบแผนการใช้บัตรโดยสารในการเดินทางร่วม โดย บมจ.ธนาคารกรุงไทยได้หารือร่วมระหว่าง รฟท. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขสมก. และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อให้เกิดตั๋วร่วมระหว่างหน่วยงานตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อส่งเสริมการเดินทางร่วมระหว่างระบบขนส่งมวลชนรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ รฟท.เตรียมความพร้อมการเข้าสู่ระบบตั๋วร่วม และเปิดใช้งานกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565

ทั้งนี้ ยังได้กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมให้ติดตามข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อโซเชียลต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนอย่างทันท่วงที

//-------------------------------------------------------------------

“ศักดิ์สยาม” ชี้ปิดหัวลำโพงแก้จุดตัดทำรถติด-เร่งพัฒนาที่ดินล้างหนี้ รฟท. 6 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:30 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:30 น.





“ศักดิ์สยาม” พร้อมรับเสียงวิจารณ์ หยุดเดินรถเข้าหัวลำโพงเพื่อแก้ปัญหารถติดจุดตัดรถไฟ และนำที่ดินหัวลำโพงมาพัฒนาสร้างรายได้เพิ่ม ชี้ รฟท.แบกหนี้สะสม 6 แสนล้าน ต้องเร่งพัฒนาที่ดินทำเลทอง คาดใน 30 ปีสร้างรายได้ 8 แสนล้านบาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสไม่เห็นด้วยกับการหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ว่า เรื่องการหยุดเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงภายหลังเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อเป็นทางการนั้น กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือร่วมกันมานานแล้ว เนื่องจากต้องการให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางของระบบรางทั้งหมด โดยในระยะแรกจะปรับลดขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพง จากเดิม 118 ขบวนต่อวันเหลือ 22 ขบวน ส่วนขบวนรถขนส่งสินค้าจะปรับไปใช้สถานีเชียงรากน้อยแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้มีจุดตัดทางรถไฟกับถนน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการจราจรในพื้นที่ กทม.

สำหรับประเด็นที่เป็นห่วงว่าประชาชนที่ใช้บริการรถไฟจะได้รับผลกระทบนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งหามาตรการเพื่อแก้ปัญหา โดยจะนำรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทำเป็นระบบฟีดเดอร์ เพื่อเชื่อมบริการเส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ รวมถึงจะประสานกับเอกชนเจ้าของสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงิน หรือ MRT ในการหามาตรการเชื่อมต่อการเดินทางให้ประชาชนต่อไป

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า โครงการรถไฟสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และปัจจุบัน รฟท.ยังมีภาระหนี้สินและขาดทุนต่อเนื่อง ล่าสุดมีจำนวน 1.6 แสนล้านบาท และหากคิดเป็นจำนวนหนี้ที่ไม่ได้ลงบัญชีถึง 6 แสนล้านบาท จึงเป็นโจทย์ที่ รฟท.ต้องเร่งแก้ปัญหา ซึ่ง รฟท.ได้จัดตั้ง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เป็นบริษัทลูก เพื่อดำเนินการบริหารสินทรัพย์ของ รฟท.เพื่อหารายได้เพิ่มและแก้ปัญหาขาดทุน ซึ่งมีหลายแปลงที่มีศักยภาพไม่เฉพาะสถานีหัวลำโพง แต่ยังมีสถานีธนบุรี ซึ่งจะพัฒนาร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช, บริเวณอาร์ซีเอ บริเวณสถานีแม่น้ำ โดย SRTA คาดการณ์คาดว่าในปีแรกจะสามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาทรัพย์สินให้กับ รฟท.ประมาณ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท และรวม 30 ปี รฟท.ได้มากถึง 8 แสนล้านบาท

“วันนี้ (22 พ.ย.) จะมีการนำข้อมูล ข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายมาพิจารณาประเมินตัวเลขต่างๆ และผลกระทบ แนวทางการเยียวยา หากตัวเลข ข้อมูลชัดเจนตัดสินใจได้ก็ตัดสินใจ ตอนนี้อย่าเพิ่งดรามากัน ซึ่งจากที่มี 118 ขบวนเหลือ 22 ขบวนเข้าหัวลำโพง ก็ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ให้รฟท.ไปดูอีกว่าจะปรับได้อีกหรือไม่ หรือจะปรับเวลาไม่ให้กระทบช่วงเร่งด่วน เพราะเราต้องแก้ปัญหาจราจร และในที่สุดการบริหารที่สถานีหัวลำโพงจะต้องเปลี่ยนไป เพราะเรามีสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางระบบราง ผมกล้าตัดสินใจ ผมทำงานก็โดนวิพากษ์วิจารณ์ ก็ไม่เป็นไร ซึ่งการพัฒนาหัวลำโพงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะต้องประมูลแบบนานาชาติ และคงไม่ได้เกิดในสมัยผม แต่วันนี้ผมต้องเริ่มนับหนึ่งไว้ก่อน หากผมไม่เริ่มนับ ก็ต้องรอคนอื่นซึ่งก็ไม่รู้จะเริ่มเมื่อไหร่ และนั่นหมายถึงหนี้สินสะสมของรถไฟไม่รู้จะเพิ่มไปเป็นเท่าไร”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2021 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯมอบคมนาคมดูแลพื้นที่หัวลำโพงให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันอังคาร ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 15.41 น.


เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามสื่อมวลชน ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มอบหมาย กรณีที่นายกฯ มีดำริเรื่องการปิดใช้งานสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ได้หารือกับกระทรวงคมนาคมถึงผลกระทบหรือไม่ ว่า นายกฯ ชี้แจงว่าได้มีการหารือให้แนวทางกับกระทรวงคมนาคมไปแล้ว ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ประโยชน์ได้ทุกมิติ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งนี้ ให้เกิดมูลค่าสูงสุดในการใช้พื้นที่ ทั้งในส่วนของพิพิธภัณฑ์และอื่นๆ

รถยนต์ติดรถไฟ หรือ รถไฟติดรถยนต์ ?
.
'ศักดิ์สยาม' จ่อใช้เวทีสาธารณะรับฟังความเห็นกรณี รถไฟไม่เข้าหัวลำโพง เผย คมนาคม ได้จัดรถเมล์รองรับไว้แล้ว แต่เบื้องต้นได้ให้ รฟท.ทบทวนแผนการเดินรถให้รอบอีกครั้ง
.
ทั้งนี้ การให้รถไฟหยุดที่บางซื่อ เนื่องจากกรุงเทพมหานคร มีปัญหาการจราจรบริเวณจุดตัด เมื่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้ว จึงควรปรับแผนการเดินรถ โดยใจลึกๆ รมว.คมนาคม เชื่อว่าปัญหาจราจรจะดีขึ้น
https://www.facebook.com/onenews31/posts/4891581080930328
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2021 8:13 am    Post subject: Reply with quote

ย้อนดูแสตมป์ #หัวลำโพง
เมื่อคราวฉลองครบร้อยปี

Arrow https://www.facebook.com/stampinlove2021/posts/4905457479466913

--------------------------------------
ตำนานสถานีรถไฟหัวลำโพงกำลังจะปิดฉากลงในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ กับการเป็นศูนย์รวมเส้นทาง #รถไฟ ใจกลางกรุงมานานข้ามศตวรรษ เพื่อส่งมอบบทบาทดังกล่าวให้แก่สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางให้บริการ #ระบบราง แห่งใหม่ต่อไป แม้จะยังคงรถไฟบางเที่ยวอยู่ก็ตาม
#สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ หัวลำโพง สร้างขึ้นในพื้นที่ 120 ไร่เศษ เป็นสถานีรถไฟหลักและเก่าแก่ที่สุดของไทย เริ่มก่อสร้างในสมัย #รัชกาลที่5 และเปิดใช้งานใน #รัชกาลที่6 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 ตัวอาคารลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ออกแบบโดยมิสเตอร์ มาริโอ ดามัญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน

วัสดุในการก่อสร้างมาจากเยอรมนี ประดับลวดลายศิลปะอย่างวิจิตรสวยงาม บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสารเป็นหินอ่อน เพดานเป็นไม้สักสลักลายนูนซึ่งหาดูได้ยาก นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร

เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่ติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานีมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร เป็นเครื่องบอกเวลาแก่ผู้สัญจรไปมาและผู้ใช้บริการจนถึงปัจจุบัน

ในวันครบรอบ 100 ปี เมื่อปี 2559 มีการออก #แสตมป์ ที่ระลึกจำนวน 4 แบบ/ดวง ชนิดราคา 3 บาท เป็นภาพ “สถานีรถไฟกรุงเทพ” ตั้งแต่ยุคแรกสมัยรัชกาลที่ 6 (2459) ยุคช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (2482 - 2488) มีหลุมหลบภัยอยู่ด้านหน้า ส่วนอีกสองดวงเป็นภาพถ่ายมุมสูง และทัศนียภาพในยามค่ำคืนของสถานีหัวลำโพงในยุคปัจจุบัน

นอกจากแสตมป์และซองวันแรกจำหน่ายแล้ว ยังมีแผ่นชีตที่ระลึกด้วย

น่าเสียดายที่วันสิ้นสุดการเดินทางมายาวนานถึง 105 ปี ของสถานีรถไฟหัวลำโพงไม่มีแสตมป์ออกเป็นที่ระลึกความทรงจำ แต่ต้องไม่พลาดแสตมป์ที่ระลึกการเปิดสถานีกลางบางซื่ออันทันสมัย จุดเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ของศูนย์กลางคมนาคมระบบรางในเมืองไทย...เร็ว ๆนี้

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2021 10:44 am    Post subject: Reply with quote

“รสนา”ออกโรงจี้รัฐบาล “SAVE หัวลำโพง”
หน้การเมือง
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:19 น.

“รสนา โตสิตระกูล”เรียกร้องรัฐบาล SAVE หัวลำโพง อัดรมต.คมนาคมจะมาถืออำนาจปิดโดยไม่ฟังเสียงชาวกรุงเทพฯ ว่าจะเห็นด้วยกับนโยบายไร้รสนิยมเช่นนี้หรือไม่ อย่างไร

วันนี้ (20 พ.ย.64) นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และ เป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภค ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ในหัวข้อ “SAVE ลมหายใจสถานีรถไฟหัวลำโพง” ระบุว่า

ดิฉันตกใจที่ทราบว่ารมต.คมนาคมจะสั่งปิดสถานีรถไฟหัวลำโพงให้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ฟังแล้วคุ้นๆ กับยุคที่สั่งปิดสนามบินดอนเมืองโดยอดีตรมต.คมนาคมคนหนึ่งที่มาจากจังหวัดบุรีรัมย์ แต่บ้านเมืองนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในที่สุดดอนเมืองก็กลับมาเป็นสนามบินนานาชาติ หลังจากที่ถูกทิ้งรกร้างและให้จมน้ำในปีน้ำท่วมใหญ่ 2554





สถานีรถไฟหัวลำโพงหรือสถานีกรุงเทพ เป็นหมุดหมายเริ่มต้นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และของภูมิภาคนี้ ที่ใช้เป็นสถานีเริ่มต้นเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของทางรถไฟไปทั่วราชอาณาจักรไทยมายาวนานถึง 105 ปี นับแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำพิธีเปิด

แต่แล้วจู่ๆ ก็มีรัฐบาลหนึ่งมาสั่งปิดประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตอันทรงคุณค่าของสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองไทย เพื่อนำเอาสถานที่แห่งนี้พร้อมทั้งที่ดินกว่า 120 ไร่ไปปู้ยี่ปู้ยำทำเป็นตึกสูงคอนกรีตมิกซ์ยูส นอกจากจะเป็นทัศนะอุจาด(Visual Pollution) ทางสถาปัตยกรรมแล้ว ยังสร้างความแออัดทางจราจรในย่านนั้น

ดิฉันเคยไปเห็นสถานีรถไฟเก่าแก่ในแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมันนีที่เป็นสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองค์ และเป็นต้นแบบของสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำสถาปัตยกรรมมาเป็นแบบก่อสร้างหัวลำโพง


คำว่าสถานีรถไฟใหญ่ประจำเมืองออกเสียงว่าเฮ้าส์บานโฮป Hauptbahnhof เสียงช่างพ้องกับคำว่าหัวลำโพง
ปัจจุบันสถานีรถไฟต้นแบบหัวลำโพงในเยอรมันนียังเป็นสถานีรถไฟประจำเมืองแฟรงก์เฟิร์ตอยู่เลย ในขณะที่ไทยจะยกเลิกสถานีรถไฟหัวลำโพง

น่าเสียดายที่นักบริหารบ้านเมืองไทยสมัยนี้นอกจากไร้วิสัยทัศน์ ไม่เคยเห็นสิ่งเก่าแก่ที่มีคุณค่ามหาศาลเพราะสนใจแต่มูลค่ากันเป็นหลัก ใช่หรือไม่

ใครก็ตามที่คิดจะพัฒนากรุงเทพมหานครในเชิงโครงสร้าง ควรคำนึงถึงพระราชดำริแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า

“แต่ที่เราคิดเป็นการสร้างเมืองเพื่อที่จะเป็นตัวอย่าง และทำให้เมืองเดิมของเราคือกรุงเทพมหานครนี้ เป็นเมืองที่โปร่ง เป็นเมืองที่น่าดู เป็นเมืองประวัติศาสตร์ และเป็นเมืองสวยงาม “

ดิฉันขอคัดค้านในฐานะชาวกรุงเทพฯ ตั้งแต่เกิดว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง รัฐมนตรีคมนาคมจะมาถืออำนาจปิดหัวลำโพงโดยไม่ฟังเสียงประชาชนชาวกรุงเทพฯ ว่าจะเห็นด้วยกับนโยบายไร้รสนิยมเช่นนี้หรือไม่ อย่างไร

จึงขอเรียกร้องรัฐบาลโปรดพัฒนามหานครโดยรักษาประวัติศาสตร์อันสวยงามอนุรักษ์สถานีรถไฟหัวลำโพง ให้เป็นสถานีบริการที่ยังมีชีวิต สืบทอดประวัติศาสตร์การรถไฟของชาติสมดังเนื้อร้องในเพลงมาร์ชรถไฟที่ว่า
“รถไฟของชาติรับใช้ประชาราษฎร์ด้วยภักดี” มาอย่างยาวนานสืบไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2021 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

สโมสร นศ.ศิลปากรจับมือ นศ. “โบราณคดี” ออกแถลงค้านปิดหัวลำโพง
เผยแพร่: 24 พ.ย. 2564 12:37 ปรับปรุง: 24 พ.ย. 2564 12:37 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดีไม่เห็นด้วยกับกระทรวงคมนาคมปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง หลังอ้างทำให้รถติด ขอให้ทบทวนนโยบายปิดหัวลำโพง พร้อมดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทุกวิถีทาง

จากกรณีกระทรวงคมนาคมอ้างว่าต้องการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ที่เกิดจากทางรถไฟตัดกับถนน เป็นเหตุให้รถยนต์บนท้องถนนต้องหยุดรอให้รถไฟวิ่งผ่านไปก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงจะยกเลิกรถไฟทุกขบวนวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพงตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป โดยให้จอดแค่สถานีกลางบางซื่อเท่านั้น จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่ต้องใช้บริการรถไฟ หรือนักวิชาการต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้าน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 พ.ย. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรออกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร คณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี

เรื่อง คัดค้านนโยบายการปิดบริการสถานีรถไฟกรุงเทพ( หัวลำโพง) ขอให้มีการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีรถไฟกรุงเทพให้ชัดเจน โดยมีใจความว่า

“จากข่าวกรณีการปิดบริการสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป โดยใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีปลายทางแทน ทำให้ไม่มีรถไฟโดยสารเข้าสถานีกรุงเทพอีก ด้วยเหตุผลในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน ทั้งยังมีแผนการพัฒนาอาคารสถานีหลังปิดบริการ ที่อ้างว่าจะพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่คนเมืองและเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยยังคงอนุรักษ์อาคารสถานีและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างครบถ้วนนั้น

สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ในฐานะองค์กรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีความกังวลใจและไม่เห็นด้วยต่อการจัดการดังกล่าว เนื่องจากการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ และเปลี่ยนไปใช้สถานีกลางบางชื่อเป็นสถานีปลายทางแทนนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่สอดรับกับการใช้บริการขนส่งสาธารณะของประชาชน ทำให้การใช้บริการขนส่งสาธารณะลำบากมากกว่าเดิม และเป็นการเพิ่มภาระและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ไม่สอดคล้องกับการอ้างเหตุผลที่จะแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนน ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพนั้น ทั้งในเรื่องของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์สามารถกระทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องปิดบริการสถานีรถไฟกรุงเทพแต่ประการใด

นอกจากนี้ ประเด็นในเรื่องแผนการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพนั้นยังน่าเป็นห่วง เพราะแผนการพัฒนาพื้นที่ที่กล่าวอ้างว่าจะพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่คนเมือง และยังคงอนุรักษ์สถานีและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้นั้น เกรงว่าจะเป็น “ข้ออ้างในการพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์” ที่เล็งเห็นผลประโยชน์ทางพาณิชย์มากกว่าการตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม จนนำไปสู่การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่ย่ำแย่และเลวร้ายเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยตลอดในสังคมไทย

สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ขอเรียกร้องให้ผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้องทบทวนและยกเลิกนโยบายการปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ ขอให้มีการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีรถไฟกรุงเทพให้ชัดเจน หากไม่มีการพิจารณาอีกครั้ง เราจะดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์สถานีรถไฟกรุงเทพต่อไปทุกวิถีทาง ให้ท่านทั้งหลายได้ยินเสียงของพวกเรา และได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ก่อนที่สิ่งเหล่านี้จะสูญหายไป ไม่หลงเหลืออะไรให้กับคนรุ่นเรา”

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 31, 32, 33  Next
Page 14 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©