Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180992
ทั้งหมด:13492227
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 305, 306, 307 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/11/2021 7:28 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เคาะใช้ชานสูง"ทางคู่"ทุกสถานี
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, November 22, 2021 05:41

ผู้จัดการรายวัน360 - รฟท.สรุปแบบสถานีรถไฟทางคู่ ใช้ชานสูง 1.10 เมตร ทั้งหมด หลังคณะทำงานถกข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบรอบด้าน "นิรุฒ" เผยยึดความปลอดภัยสูงสุด ชี้ สนข.ศึกษาไว้ดีแล้ว ส่วนสายใต้ต้องแก้เป็นชานสูงก่อนตรวจรับงาน พร้อมกำหนดแผนด้านความปลอดภัย ลดความเร็วช่วงผ่านสถานีเล็ก

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุฒม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2564 ได้รับทราบผลการพิจารณา การใช้ความสูงของชานชาลารถไฟ ระดับ 1.10 เมตร ทุกสถานี ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะแรก 5 เส้นทางที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งเป็นไปตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ออกแบบไว้และเป็นไปตาม TOR ประมูล

ทั้งนี้ จากที่มีประเด็นวิพากษณ์วิจารณ์ กรณีการปรับแบบก่อสร้างชานชาลา 1.10 เมตร หรือชานสูง ในสถานีขนาดใหญ่ และชานชาลา 0.50 เมตร หรือชานต่ำ ในสถานีขนาดเล็ก และป้ายหยุดรถ เนื่องจากมีประเด็นเรื่องความปลอดภัย และความสะดวกสบายของผู้โดยสาร รฟท. จึงได้ตั้งคณะทำงานโดยมีตนเป็นประธาน เพื่อพิจารณา โดยเฉพาะสถานีขนาดเล็ก หรือป้ายหยุดรถที่รถไฟบางขบวนไม่จอด

โดยคณะทำงานฯได้มีการประชุมหลายครั้ง จนได้ข้อสรุปว่า ยังคงรูปแบบชานสูงตามที่ สนข.ออกแบบไว้ เนื่องจากได้มีการศึกษามาเป็นอย่างดีแล้ว และเป็นไปตาม TOR ที่ประกวดราคา สำหรับในเรื่องความปลอดภัยนั้น รฟท.จะมีการกำหนดมาตรการดูแล ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการเดินรถและให้บริการ

เช่น เมื่อขบวนรถวิ่งผ่านสถานีขนาดเล็กที่มีชานสูง จะลดความเร็วลงโดยจะมีการกำหนดเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะพิจารณาในเรื่องประเภทรถไฟประกอบด้วย เพราะหากตัวรถแคบ ก็จะไม่กระทบใดๆ วิ่งด้วยความเร็วปกติ ส่วนสถานีใหญ่นั้น รถไฟจอดอยู่แล้วไม่มีปัญหา ซึ่ง ไม่ว่าชานสูง หรือชานต่ำ ทุกแบบต้องมั่นใจเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก แต่ยอมรับว่า อาจทำให้การเดินรถล่าช้าไปบ้าง

ส่วนสถานีหรือป้ายหยุดรถที่มีการก่อสร้างเป็นชานต่ำไปแล้วนั้น นายนิรุฒ กล่าวว่า ขณะนี้การก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะแรก ยังไม่มีการตรวจรับงาน ดังนั้น หากสถานีใดมีการก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามแบบและ TOR ก็จะต้องปรับแก้ให้ถูกต้อง ทุกแบบต้องมั่นใจเรื่องความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นชานสูงชานต่ำ

สายใต้ "หัวหิน- ประจวบฯ" ทำชานต่ำไปแล้วต้องเร่งแก้ไข

รายงานข่าว เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2564 บอร์ด รฟท.ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะการพิจารณาระดับความสูงของชานชาลาของรฟท. โดยมีผู้ว่าฯ รฟท.เป็นประธานและมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วม เช่น สนข. กรมการขนส่ง ทางรางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาวิศวกรสมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมคนพิการ สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย

โดยคณะทำงานมีการประชุม 5 ครั้ง และได้มีมติให้ใช้ความสูงของชานชาลา 1.10 เมตร จากระดับสันราง ให้ตัวชานชาลาสถานีมีความสูงเท่ากับพื้นรถ สำหรับสถานีทุกขนาด คือ สถานีขนาดใหญ่ สถานีขนาดกลาง สถานีขนาดเล็ก ที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยให้ รฟท. พิจารณามาตรการเพิ่มเติมเช่นจำกัดความเร็ว เมื่อขบวนรถผ่านสถานี การปรับปรุงสภาพทางและซ่อมบำรุง การกำหนดระยะห่างระหว่างตัวรถและของชานชาลา และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการตามหลักการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design)

เนื่องจากก่อนหน้านี้ รฟท.มีความกังวลในด้านความปลอดภัย กรณีสถานีเล็ก ที่ชานสูง มีข้อกังวลการล้ำเขตโครงสร้างของจมูกชานชาลา รวมถึงระยะปลอดภัยระหว่างตัวรถไฟกับขอบชานสูง ที่มีช่องว่างเหลือ 90 มิลลิเมตร แต่หากเป็นชานต่ำ จะไม่มีปัญหาเรื่องช่องว่างและไม่ต้องกังวลเรื่องขบวนรถวิ่งผ่านและมีการโคลงไปกระแทกกับชานชาลา จึงทำให้มีการปรับแบบก่อสร้างชานต่ำไปแล้วเช่น สายใต้ สัญญา 3 ช่วง หัวหิน- ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 13 แห่งซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปชานสูง ผู้รับเหมาต้องแก้ไข

โดยจากการเปรียบเทียบชานสูง กับ ชานต่ำในเรื่องค่าใช้จ่าย พบว่า ค่าก่อสร้างชานต่ำ มีราคาต่ำหน่วยต่ำกว่า แต่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มภายหลังเมื่อต้องปรับแก้เป็นชานสูง, ด้านความปลอดภัยชานสูงมีข้อกังวลเรื่องการล้ำเขตโครงสร้างชานชาลา ร่นระยะขอบชานชาลาอีก 10-20 ซม., ด้านบริการอำนวยความสะดวกผู้โดยสารนั้น ไม่ว่าชานสูงหรือชานต่ำ ในระยะแรก รฟท.จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลผู้ใช้บริการทุกคน, สำหรับการเดินรถให้ รฟท.พิจารณาความเร็วให้สอดคล้องกับขนาดรถ, รฟท.อยู่ระหว่างปรับปรุงรถโดยสารให้รองรับชานสูง โดยจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2567

อย่างไรก็ตาม รถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ก่อสร้างชานสูงเสร็จแล้ว ก็ยังไม่พบปัญหารถเฉี่ยวชนชานชาลาแต่อย่างใด และพบว่าผู้พิการสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 22 พ.ย. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2021 10:31 am    Post subject: Reply with quote

แนวทางรถไฟใหม่ของมวกเหล็ก "สีเหลือง" ที่ยกสูง ผ่านห้วยมวกเหล็ก ขณะที่เส้นทางรถไฟเดิม "สีแดง" จะอ้อมออกมาทางถนนมิตรภาพ แล้วย้อนกลับไปทางดงพญาเย็น เข้าเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
"อย่าถามว่า ทางรถไฟ ตรงนี้ สูงจัง แต่ควรมองว่า ทำไม ตลาดมวกเหล็ก ถึงได้อยู่ลึกในหุบเขามากกว่า "
การเดินทางของรถไฟในเส้นทางเดิม ต้องในช้เวลา 20 นาที ในขณะเส้นทางใหม่ ใช้เวลา 5 นาที และที่สำคัญเป็นทางคู่ รถบรรทุกสินค้าความยาวมากๆ ก็วิ่งผ่านสบายไม่หนักมาก เพราะไม่ต้องออกแรงไต่ขึ้นเขา แบบแต่ก่อน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=459206442298681&id=100046279876123
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2021 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

ทุกข์ชาวโคราชจากทางรถไฟคู่
เรียน บ.ก.(ข่าวสด)
พวกเราอยู่ในชุมชนพื้นที่ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นชุมชนชานเมืองขนาดใหญ่ มี 12 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 3 หมื่นคน มีโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 15 แห่ง สถานศึกษา 9 แห่ง และที่ตั้งหน่วยงานราชการ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงเส้นทางผ่านเขตเมืองนครราชสีมา เนื่องจากทางบนดินไม่ตอบโจทย์ความสะดวก ความปลอดภัย กรณีปิดจุดตัดข้ามทางรถไฟโดยสร้างสะพานเกือกม้าและอุโมงค์ทางลอด เสมือนแบ่งแยกชาวบ้านออกจากกัน ส่งผลให้การสัญจรยากลำบาก รวมทั้งหากเกิดเหตุเพลิงไหม้รถดับเพลิงต้องเสียเวลาระงับเหตุร้าย และสะพานหัวทะเล ต้องการให้ปรับรูปแบบทางรถไฟยกระดับช่วงผ่านจุดตัดถนนไชยณรงค์หรือห้าแยกโรงแรมปัญจดารา เพิ่มความสูงจากเดิมเป็น 4.50 เมตร เพื่อให้รถยนต์ขนาดใหญ่สามารถลอดข้ามได้สะดวก และรื้อถอนสะพานหัวทะเล เนื่องจากผลกระทบหลังก่อสร้างสะพานเมื่อปีพ.ศ.2539 ทำให้กิจการโรงแรมที่พัก อาคารพาณิชย์ สถานีบริการเชื้อเพลิง ร้านอาหาร ฯลฯ ตั้งอยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตร ประสบปัญหาการค้าซบเซา ไม่มียานพาหนะแล่นผ่าน หลายรายต้องเซ้งกิจการและหาทำเลการค้าใหม่ และอสังหาริมทรัพย์ราคาตก ทั้งนี้ ภาคประชาชนรวมตัวเคลื่อนไหวโดยรวบรวม รายชื่อและปัญหารวมทั้งข้อร้องเรียนนำเสนอรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 9 ครั้ง ซึ่งมีข้ออ้างนำไปพิจารณาเพื่อทบทวนปรับรูปแบบการก่อสร้าง จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด ฝากถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้มีอำนาจโปรดพิจารณาช่วยพวกเราด้วย
ผู้เดือดร้อน
Note: ออกจะทุเรศไม่ใช่น้อยที่มาบ่นเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงไปโคราชทำให้ต้องปิดทาลักผ่าน ทั้งๆที่คนโคราชเองนี่แหละที่ทำให้การรถไฟต้องทำแบบนี้มาแต่แรก ไม่ละอายแก้ไจจริงๆ
https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/letter-to-editors/news_6742329
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/11/2021 5:49 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ ทุกข์..ร้อน ฟ้องใครดี: หวั่นรถไฟรางคู่ทำอ้อมไกลกระทบ2อำเภอชาวตาคลี-บ้านหมี่ขอสะพานข้ามทางทดแทน
Source - เดลินิวส์
Sunday, November 28, 2021 05:16

ว่าด้วยเรื่องชุมชน การสัญจร-ไปมาหาสู่กันสำคัญ ดังนั้น เรื่องเส้นทางหากทำให้สะดวกหน่อยชาวบ้านก็ดีใจ แต่หากเห็นแววลำบากก็อยากสะท้อนเสียงเรียกร้องกันหน่อย เช่น "ทุกข์ร้อน" ครานี้ เป็นข้อกังวลของชาวบ้านในพื้นที่ติดต่อ 2 จังหวัด คือ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี และ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกรงได้รับผลกระทบต้องเดินทางอ้อมไกลกว่าเดิมเกือบ 10 กิโลเมตร หากการก่อสร้างรถไฟรางคู่เสร็จ

เบื้องต้นจึงรวมตัวเรียกร้อง ขอหน่วยงานสร้าง "สะพานข้ามทางรถไฟ" ทดแทนให้ชาวบ้านที่ต้องใช้เส้นทางขนส่งเกษตร ไหนจะเด็ก ๆ นักเรียนที่ต้องเดินทางไปโรงเรียนด้วย

นายณรงค์ศักดิ์ คูกิตติรัตน์ หรือ อาจารย์แห้ว แห่งศาลเจ้าพ่อนาคราช ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ พร้อมด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำชาวบ้านหมู่ที่ 1, 7 และ 18 พื้นที่ ต.จันเสน และชาวบ้านจากหมู่ที่ 1 อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี กว่า 400 คน รวมตัวบริเวณริมทางรถไฟบ้านจันเสน ยื่นข้อเรียกร้องถึง นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคเพื่อไทย และ นายอมร บริรักษ์เลิศ นายอำเภอตาคลี เพื่อขอ ให้ประสานไปยัง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยสร้างสะพานข้ามทางเพื่อให้ชาวบ้านของหมู่บ้าน 2 จังหวัดสามารถใช้รถเดินทางไประหว่างกันได้

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะมีการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นก็จะมีการสร้างรั้วกั้นริมทางรถไฟทั้งสองฝั่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้ชาวบ้านทั้ง 2 อำเภอ ของจ.นครสวรรค์และลพบุรี ได้รับความเดือดร้อนในการไปมาหาสู่และการใช้ชีวิตประจำวัน ที่สำคัญอาจเกิดความยากลำบากในการใช้เส้นทางเพื่อขนถ่ายพืชผลทางการเกษตร รวมถึงลูกหลานที่ต้องเดินทางไปโรงเรียนด้วย เพราะต้องเดินทางอ้อมไกลกว่าเดิม 8-10 กิโลเมตร ขณะที่หากเดินข้ามทางรถไฟมีระยะทางเพียง 100-200 เมตรเท่านั้น

หลังรับเรื่องร้องเรียนมีการรับปากจะประสานไปยัง รฟท. และหน่วยงานเกี่ยวข้องรับไปพิจารณา เบื้องต้นคาดว่าการทำสะพานข้ามจะใช้งบประมาณกว่า 60 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากนี้จะรายงานขั้นตอนคืบหน้ากับชาวบ้านเป็นระยะ

น่าเห็นใจชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าการพัฒนาพื้นที่เป็นเรื่องจำเป็น เมื่อเห็นข้อกังวลแล้วก็หวังว่าหน่วยงานเกี่ยว ข้องจะหาทางแก้ไขไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้การพัฒนาเกิดประโยชน์กับพื้นที่มากที่สุด.

ทุกข์...ร้อน ฟ้องใครดี ส่งข้อมูลมา crimedn@dailynews.co.th เราช่วยฟ้อง ทุกข์ร้อนของคุณได้

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2021 6:52 am    Post subject: Reply with quote

'สะพานขึงรถไฟ'แห่งเดียวในไทย
Source - เดลินิวส์
Wednesday, December 01, 2021 05:59

Click on the image for full size

สร้างพุ่ง66%ขึ้นเสา-ขึงสายเคเบิล

ไฮไลต์ทางคู่สายใต้ได้ใช้บริการ66

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 3.39 หมื่นล้านบาท มีความคืบหน้า 90.11% ช้ากว่าแผน 2.28%

โดยสัญญาที่ 1 นครปฐม-หนองปลาไหล คืบหน้า 94.03% เร็วกว่าแผน 1.37%,
สัญญาที่ 2 หนองปลาไหล-หัวหิน คืบหน้า 90.42% เร็วกว่าแผน 0.009%,
สัญญาที่ 3 หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ คืบหน้า 99.94% ช้ากว่าแผน 0.06%,
สัญญาที่ 4 ประจวบคีรีขันธ์บางสะพานน้อย คืบหน้า 82.83% ช้ากว่าแผน 3.9% และ
สัญญาที่ 5 บางสะพานน้อย-ชุมพร คืบหน้า 82.66% ช้ากว่าแผน 10.48%


รายงานข่าวแจ้งต่อว่าปัจจุบันงานก่อสร้างในสัญญาต่าง ๆ ไม่มีปัญหาอะไรสามารถควบคุมปัญหาอุปสรรคได้ทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะงานก่อสร้างสะพานขึงรถไฟ (Extradosed Bridge) ข้ามแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นไฮไลต์สำคัญของโครงการฯในสัญญาที่ 1 นครปฐม-หนองปลาไหล มีความคืบหน้า 66.06% เร็วกว่าแผน 1.81% งานเสาเข็ม, งานฐานราก และงานเสาเสร็จแล้ว กำลังเร่งขึ้นเสาและขึงสายเคเบิลมีแผนเทคอนกรีตต่อเชื่อมช่วงสแปน (Span) เดือน มี.ค. 65 จะใช้ทั้งคานสะพาน และเคเบิลรับน้ำหนักสะพานร่วมกัน

ทั้งนี้สะพานตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.ราชบุรี คู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ ไม่มีเสาตอม่อกลางแม่น้ำ มีตอม่อแค่ 2 ฝั่งแม่น้ำ เป็นทางเดี่ยว มีความยาว 160 เมตร มีความกว้าง 7.64 เมตร แบ่งเป็นทางเดิน 1 เมตร และมีเสา Pylon สูง 17.5 เมตร คาดว่าการก่อสร้างสะพานขึงจะแล้วเสร็จเดือน ก.ย. 65 ถือเป็นสะพานขึงรถไฟแห่งแรกมีความยาวมากที่สุดในไทย จะเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองราชบุรีด้วยและหากมีการประชาสัมพันธ์ผนวกกับข้อมูลประวัติศาสตร์และการประกาศเขตเมืองเก่าของราชบุรี สามารถจัดงานประจำปีให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับงานสะพานข้ามแม่น้ำแควได้

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่าสำหรับ ความคืบหน้าการสร้างชานชาลา ในโครงการรถไฟทางคู่สายใต้นั้น ขณะนี้ทุกสัญญาสร้างชานชาลาสูง 110 เซนติเมตร (ซม.) ที่มีพื้นชานชาลาเท่ากับพื้นตู้โดยสารรถไฟแล้วส่วนชานชาลาในสัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ สร้างชานชาลาสูง 50 ซม. นั้น ปัจจุบันได้แก้ไขโดยยกชานชาลาให้สูง 110 ซม. แล้วเช่นกัน

คาดว่าภาพรวมการก่อสร้างทั้งโครงการจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย. 65 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ของสัญญาที่ 6 โครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี หากไม่มีปัญหาอะไร และสามารถดำเนินงานได้ตามแผนงานที่วางไว้ โครงการรถไฟทางคู่สายใต้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้ประมาณปลายปี 66.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2021 6:56 am    Post subject: Reply with quote

รองปธ.หอไทยเสนอนายกฯ7ข้อ เร่งพัฒนาคมนาคม/โลจิสติกส์รับรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Wednesday, December 01, 2021 05:24

อุดรธานี - รองประธานหอการค้าไทย เสนอ นายก 7 ข้อ เน้นพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคม โลจิสติกส์ ให้ภาคการค้า การบริการ การท่องเที่ยว เพื่อรองรับไฟความเร็วสูงจากจีน- สปป.ลาว ที่จะเริ่มเปิดให้บริการ 2 ธ.ค.นี้

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานอาวุโสหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า วันที่ 1 ธันวาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม จะลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดอุดรธานีและจะประชุมร่วมกับจังหวัด ภาคเอกชน และผู้ประกอบในพื้นที่ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุดรธานีและแผนเปิดเมือง "อุดร พลัส โมเดล"

โอกาสนี้ภาคเอกชนจังหวัดอุดรธานีจะมีข้อเสนอต่อท่านนายกรัฐมนตรี กรณีการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงจากจีนสปป.ลาวในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 นี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น คาดการณ์ไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านคนต่อปี จึงเป็นโอกาสทางการค้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้มุ่งเป้าหมายทางการค้าสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง สปป.ลาว เวียดนาม จีน และกัมพูชา

ดังนั้นพื้นที่จังหวัดชายแดนฝั่งไทยจึงสมควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงจากจีน-สปป.ลาว จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในด้านการคมนาคม โลจิสติกส์ ให้ภาคการค้า การบริการ การท่องเที่ยว ซึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรนอกสถานที่ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ณ จังหวัดหนองคาย ได้สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับจังหวัดอุดรธานี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้วระดับหนึ่ง

นายสวาทกล่าวต่อว่า เพื่อให้โครง สร้างพื้นฐานพร้อมรองรับกับการเติบโตด้านเศรษฐกิจในภาคอีสานตอนบนอันจะได้รับอานิสงส์จากรถไฟความเร็วสูงจีนสปป.ลาว ภาคเอกชนจึงต้องการเสนอขอให้มีการพัฒนาในโครงการต่างๆ เพื่อให้พื้นที่ภาคอีสานของไทยได้ประโยชน์ ดังนี้

1.การขยายผิวจราจรทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี-หนองคาย
2.การขยายผิวจราจรทางหลวงหมายเลข 216 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานีด้านทิศตะวันออก
3.การขยายช่องจราจรจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ถนนสายแยกทางหลวง หมายเลข 2-พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ (หลวงตามหาบัว) อ.เมือง จ.อุดรธานี
4.เร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-อุดรธานี, อุดรธานี-หนองคาย
5.การพัฒนาท่าอากาศยานนานา ชาติจังหวัดอุดรธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรองรับการเติบโตของนักเดินทางและนักท่องเที่ยว และศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 3 และ
6.Logistic Park ศูนย์กลางการค้า และการขนส่งของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและโครงการท่าเรือบก (Inland Container Depot) จังหวัดอุดรธานี และ
7.พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้สอดรับกับการแข่งขันในเวทีสากล.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 1 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2021 5:21 am    Post subject: Reply with quote

เลาะไซต์ก่อสร้าง"รถไฟทางคู่"ดีเลย์ยกแผง ผู้รับเหมาขยายสูงสุด 20 เดือนเลื่อนปิดจ๊อบ "ไฮสปีดไทย-จีน" อืด! ส่อหลุดเป้าเปิดหวูด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, December 02, 2021 05:22

รีวิวไซต์ก่อสร้างโครงการ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทางวงเงิน 88,014 ล้านบาท สารพัดปัญหารุม ทั้งปรับแบบเหตุสุดวิสัยทำให้ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เซ็นสัญญาเริ่มงานตั้งแต่ ปี 2561 การก่อสร้างหลุดเป้า ผู้รับเหมาดาหน้าขอต่อขยายเวลา 9 เดือน-20 เดือน เลื่อนปิดจ๊อบงานไปเป็นปี 2565 ขณะที่รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ 21 ธ.ค. 2560 มีงานโยธาก่อสร้าง 14 สัญญา ล่าช้าไม่น้อยหน้ากัน มีปัญหาติดหล่มร้องเรียนประมูล ปรับแบบสถานีอยุธยากรณีกระทบมรดกโลกค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ ทำให้ยังเหลืออีก 6 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง อาจทำให้ต้องขยับเปิดบริการจากเป้าปี 2570 ออกไปอีก

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่จำนวน 5 เส้นทางระยะทางรวม 700 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 76,591 ล้านบาท ค่างานติดตั้งระบบอาณัติสัญญา 3 เส้นทาง วงเงิน 11,423 ล้านบาท วงเงินรวม 88,014 ล้านบาท มีแววจะต้องขยับแผนเลื่อนเปิดหวูดเต็มรูปแบบในปี 2566 ออกไปหลังจากการก่อสร้างงานโยธา 5 เส้นทาง จำนวน 10 สัญญา มีอุปสรรคในการก่อสร้างทุกเส้นทาง

ปัญหาเพียบ ผู้รับเหมา ขอขยายเวลาก่อสร้าง 9 สัญญา

โดยสถานการณ์ก่อสร้าง 5 โครงการนั้นจะมี 10 สัญญาประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. แบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 บ้านกลับ-โคกกระเทียม ระยะทาง 32 กม. ค่าก่อสร้าง 10,050 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ยูเอ็น-เอสเอช (ยูนิค/ชิโน-ไฮโดร) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 15 มิ.ย. 2561-14 มิ.ย. 2565 (48 เดือน) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 63.44 % เร็วกว่าแผน 4.45 %

สัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กม. ค่าก่อสร้าง 8,649 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 256-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) มีการขยายสัญญาอีก 17 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ค. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 70.33% ช้ากว่าแผน 13.73%

สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระระยะทาง 132 กม. แบ่งงานเป็น 3 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 มาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กม.ค่าก่อสร้าง 7,560 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ.2561-31 ม.ค. 2565 (48 เดือน) มีการขยายสัญญาอีก 309 วันจากเดิม ไปสิ้นสุดวันที่ 5 ธ.ค. 2565 ผลงาน ณ เดือน พ.ย.2564 คืบหน้า 92.29% ช้ากว่าแผน 7.39% เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตป่าไม้

สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีจำนวน 3 อุโมงค์ โดยอุโมงค์ที่ 1 ระยะทาง 5.85 กม. อุโมงค์ที่ 2 ระยะทาง 0.65 กม. อุโมงค์ที่ 3 ระยะทาง 1.40 กม. ค่าก่อสร้าง9,290 ล้านบาท มี กิจการรวมค้า อิตาเลียนไทย ไรท์ทีนเนลลิ่ง(ITD-RT) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงานวันที่ 1ก.ค. 2561-30 ธ.ค. 2564 (42 เดือน) มีการขยายสัญญา 271 วัน ไปสิ้นสุด เดือนก.ย. 2565 ผลงาน ณ เดือนพ.ย.2564 คืบหน้า 89.139% เร็วกว่าแผน 0.13% มีปัญหางบประมาณเวนคืนไม่เพียงพอ

ส่วนสัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กม. ค่าก่อสร้าง 7,060.58 ล้านบาท ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการและ พิจารณา EIA โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 42 เดือน ซึ่งงานก่อสร้างช่วงนี้ ติดปัญหากรณีการรื้อสะพานข้ามแยกสีมาธานี และก่อสร้างอุโมงค์ทดแทน ที่ต้องใช้เวลาในการหาข้อยุติร่วมกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่

สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งสร้าง 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 นครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทาง 93 กม. ค่าก่อสร้าง 8,198 ล้านบาท มี บจก.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 20 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ย. 2565) ณเดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 95.01% เร็วกว่าแผน 2.13%

สัญญาที่ 2 หนองปลาไหล-หัวหิน ระยะทาง 76 กม. ค่าก่อสร้าง 7,520 ล้านบาท มี บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561 -31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 20 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ย. 2565) ณ เดือน พ.ย.2564 งานคืบหน้า 90.763% เร็วกว่าแผน 0.012%

สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. ค่าก่อสร้าง 5,807 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ก.ค. 2563 (30 เดือน) ขยายสัญญา 11 เดือน (1 ส.ค. 2563-30 มิ.ย. 2564) และขยายสัญญาครั้งที่ 2 อีก 4 เดือน ไปสิ้นสุดเดือน ต.ค. 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบงาน ซึ่งพบว่า การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 99.94% ยังล่าช้า 0.06%

สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. แบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ระยะทาง 88 กม.ค่าก่อสร้าง 6,465 ล้านบาท มีกิจการร่วมค่า KS-C (เคเอสร่วมค้า / China Railway 11th) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ต.ค.2563 (33 เดือน) ขยายสัญญา 15 เดือน (1 พ.ย. 2563-31 ม.ค. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 งานคืบหน้า 83.205% ช้ากว่าแผน 4.690%

สัญญาที่ 2 บางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 79 กม. ค่าก่อสร้าง 5,992 ล้านบาทมีกิจการร่วมค้า STTP (ชิโน-ไทย/ไทยพีค่อน) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561- 31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 15 เดือน (1 ก.พ. 2564-30 เม.ย.2565) ณ เดือนพ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 82.88 % ช้ากว่าแผน 10.825 %

งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญา สายอีสานเสร็จช้าสุดต.ค.ปี 66

สำหรับโครงการจัดหาและติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม รถไฟทางคู่ 3 สาย ได้แก่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. ค่าก่อสร้าง 2,988.57 ล้านบาท มีกลุ่มร่วมค้าบีที-ยูเอ็น ประกอบด้วย บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกเนล (ประเทศไทย) จำกัด และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 39 เดือน เริ่มงานวันที่ 24 ม.ค.2563 กำหนดแล้วเสร็จเดือน เม.ย. 2566

สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. ค่าก่อสร้าง 2,549.89 ล้านบาท มีกลุ่ม บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และบริษัท LS Industrial Systems หรือ LSIS ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 45 เดือน เริ่มวันที่ 24 ม.ค. 2563 กำหนดเสร็จเดือนต.ค.2566

สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กม. ค่าก่อสร้าง 7,384.84 ล้านบาท มี บจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC จากประเทศจีน เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 36 เดือน เริ่มงานวันที่ 27 ม.ค. 2563 กำหนดเสร็จเดือน ม.ค. 2566

รถไฟไทย-จีน ก่อสร้างสะดุด ยังเหลืออีก 6 สัญญายังไม่ได้เริ่มตอกเข็ม

สำหรับบิ๊กโปรเจกต์อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท มีงานโยธาจำนวน 14 สัญญา ค่าก่อสร้าง 117,914.08 ล้านบา โดย มีสัญญาเดียวที่ก่อสร้างเสร็จคือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362 ล้านบาท

อีก 7 สัญญาอยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลคอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 พ.ค. 2562 ก่อสร้าง 540 วัน (สิ้นสุด 21 ต.ค. 2563) ขยายสัญญาถึง 26 พ.ค. 2564 ล่าสุดงานคืบหน้า 76.85% ช้ากว่าแผน 23.15% อุปสรรคขาดแคลนแรงงาน และโควิด-19 อยู่ระหว่างขอต่อสัญญา

สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการผู้รับจ้าง เริ่มงาน 19 เม.ย.2564 สิ้นสุด 3 เม.ย. 2567 คืบหน้า 0.17% ล่าช้า 4.18% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน และการขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้

สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.ไทย เอ็นจิเนียร์และอุตสาหกรรมเป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 19 ก.พ. 2564 สิ้นสุด 4 ก.พ. 2567 คืบหน้า 1.06% ล่าช้า 7.72% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน และการขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้ กรมชลประทานและกรมธนารักษ์

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวดระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาทมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค. 2564 สิ้นสุด 31 ม.ค. 2567 คืบหน้า 10.57% เร็วกว่าแผน 3.10%

สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า SPTK จำกัดก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค. 2564 สิ้นสุด 31 ม.ค. 2567 คืบหน้า1.823 % ล่าช้า 5.74% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน

สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง สิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 ส.ค. 2567 งานคืบหน้า 0.26% ล่าช้า 1.98%

สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงก่อสร้าง เริ่มงาน 19 ก.พ. 2564 สิ้นสุด 4 ก.พ. 2567 คืบหน้า 7.06% ล่าช้า 0.71%

รอเข้าพื้นที่ 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 10,570 ล้านบาทมี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยวงเงิน 6,573 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง, สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทางรวม 31.60 กม. วงเงิน 9,428.9 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง เป็น ผู้รับจ้าง

ติดปัญหาปรับแบบสถานีอยุธยา สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้วระยะทาง 13.3 กม. มีบมจ. อิตาเลียนไทยเป็นผู้รับจ้าง และติดฟ้องคัดค้านผลประมูล สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง30.21 กม.ราคากลาง 11,386 ล้านบาท และ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. มีประเด็นโครงสร้างทับซ้อนกับไฮสปีด 3 สนามบิน

ออกแบบ "ระบบและขบวนรถ" ยังไม่นิ่งคาดเสร็จปี 65

ส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท รฟท. เซ็นสัญญากับ บจ.ไชน่า เรลเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล และ บจ. ไชน่าเรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น เมื่อ 28 ต.ค.2563 ขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนส่วนที่ 1 คือออกแบบระบบทั้งหมดและขบวน รถไฟ วงเงินประมาณ 700-800 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ลงตัว

ยังเหลือส่วนที่ 2 งานติดตั้ง วงเงิน 40,000 ล้านบาท จะเริ่มได้หลังออกแบบเสร็จ และงานโยธามีความคืบหน้าพอที่จะสามารถส่งมอบพื้นที่ คาดว่าจะออก NTP ให้ในปี 2565 และยังมีงานส่วนที่3 งานฝึกอบรม ประมาณ 1,000 ล้านบาท มีการจัดตั้งองค์กร บริหารรถไฟความเร็วสูง คาดออก NTP หลังจากนี้ 1-2 ปี

ส่วนรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย มี ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่งที่นาทา

ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป

ขณะที่ฝั่ง สปป.ลาวที่เปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม สปป.ลาว-จีน ใน วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ซึ่งฝั่งไทยยังเชื่อมต่อไม่ได้ จึงทำได้แค่เพียง รฟท. ใช้ปรับแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง รองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นทางราง โดยในปี2564-2565 มีการเพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจากเดิมวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ) เป็น 10 ขบวนไป-กลับ พ่วงขบวนละ 25 แคร่

และช่วงในปี 2566-2568 จะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน (ไป-กลับ) และตั้งปี 2569 จะเพิ่มขบวนรถเป็น 24 ขบวน (ไป-กลับ) ซึ่งไม่รวมขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศที่เดิมปกติมีให้บริการวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ)

ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ปักหมุดเริ่มสร้างปี 65

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท รฟท. ทำสัญญาสัมปทานให้บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ก่อสร้างและบริหาร ซึ่งมีความก้าวหน้าต่อเนื่อง โดยจะทยอยส่งมอบพื้นที่ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 160 กม. และออก NTP เริ่มงานช่วงเดือน มี.ค. 2565

ส่วนช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง มีกรอบเวลาส่งมอบพื้นที่ภายในปี 2566 เอกชนมีเวลาก่อสร้าง 5 ปี หรือได้นั่งไม่เกินปี 2571 ใกล้เคียงกับ ไฮสปีดไทย-จีน เรียกว่ามาทีหลัง...แต่ปังกว่า!!! .

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 2 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2021 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเสนอ ครม.ปีหน้า ลุยต่อขยายไฮสปีดไทย - จีน และทางคู่หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 02 ธ.ค. 2564 เวลา 16:28 น.

“ศักดิ์สยาม” ดันระบบรางหนุนไฮสปีดลาว - จีน จ่อเสนอ ครม.ปีหน้าลุยประมูลสร้างส่วนต่อขยายไฮสปีดไทย - จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย และรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย มั่นใจเปิดให้บริการปี 2570 รับดีมานด์ขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการต่ออายุแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทบและเยอรมนี วันนี้ (2 ธ.ค.) โดยระบุว่า ความร่วมมือทางด้านรถไฟระหว่างไทยและเยอรมัน ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กระทรวงฯ มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบรางที่เป็นรูปแบบการเดินทางมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี ไทยและเยอรมันจะสานต่อความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางของไทยให้ยั่งยืน ซึ่งแผนพัฒนาระบบรางของไทยในขณะนี้มีทั้งรถถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รวมไปถึงรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) โดยเบื้องต้นในปีหน้า กระทรวงฯ จะเสนอรถไฟทางคู่สายขอนแก่น - หนองคาย และไฮสปีดเทรนไทย - จีน ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ และจะเร่งรัดประกวดราคาเริ่มก่อสร้างในปี 2566 เพื่อเปิดบริการในปี 2570

“รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมระบบรางอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในโอกาสรองรับรถไฟลลาว - จีน กระทรวงฯ โดยกรมการขนส่งทารางและ สนข.พิจารณามาอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งทีมงานไปที่ลาวเพื่อดูข้อมูลการเปิดการเดินรถของทางจีนลาวที่เป็นรางเดี่ยว สามารถดำเนินการขนสินค้า หรือผู้โดยสารต่อวันในจำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาวางแผนรองรับ”

ทั้งนี้ ไทยยังเชื่อว่าแผนขนถ่ายสินค้ามายังฝั่งไทยที่กำหนดอยู่ในปัจจุบันยังเพียงพอ เนื่องจากรถไฟจากฝั่งลาวปัจจุบันยังเป็นช่วงที่มาไม่ถึงชายแดนไทย และมีระบบรางเดี่ยวที่เชื่อมกันอยู่แล้ว ซึ่งปริมาณการขนส่งสินค้าในขณะนี้มีจำนวนไม่มากเท่าไหร่ ซึ่งไทยได้เร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูงให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนอยู่แล้ว ประกอบกับการพัฒนารถไฟทางคู่ที่จะไปสิ้นสุดจังหวัดหนองคาย เชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการจะสามารถรองรับดีมานด์การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้เป็นอย่างดี

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญของการเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งชายแดนลาว คือการก่อสร้างสะพานเพื่อเชื่อมรถไฟ เพราะสะพานเดิมรองรับรถยนต์และรถไฟด้วย รองรับแค่ 15 ตัวต่อตู้ โดยไทยจะเพิ่มให้เป็น 30 ต่อตู้ รวมทั้งกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ยังอยู่ระหว่างเร่งรัดพัฒนาศูนย์ขนถ่ายสินค้าชั่วคราวที่จังหวัดหนองคายด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2021 5:07 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมเสนอ ครม.ปีหน้า ลุยต่อขยายไฮสปีดไทย - จีน และทางคู่หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 02 ธ.ค. 2564 เวลา 16:28 น.


“คมนาคม”ชงครม.2โปรเจคท์ราง2.7แสนล้าน
*ไฮสปีดเทรนเฟสที่ 2“โคราช-หนองคาย”
*รถไฟทางคู่เฟส 2“ขอนแก่น-หนองคาย”
*ตั้งธงประมูล2โครงการปี65-66เปิดปี70
*10ธ.ค.ตั้งเวทีฟังเสียงพัฒนา"หัวลำโพง"
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3059348594286638
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2021 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

"ศักดิ์สยาม" ขันนอตรถไฟทางคู่ล่าช้า 6 สัญญา พร้อมดันเฟส 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย
เผยแพร่: 3 ธ.ค. 2564 19:08 ปรับปรุง: 3 ธ.ค. 2564 19:08 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ศักดิ์สยาม" สั่งเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟสแรก พบ 6 สัญญายังล่าช้า พร้อมดันช่วงขอนแก่น-หนองคาย เร่งชง ครม.เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งเชื่อม สปป.ลาว

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (ประชุมครั้งที่ 3) ด้วย Application “Zoom” โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เข้าร่วมการประชุม โดย รฟท.ได้รายงานผลการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ว่า มีการก่อสร้างเร็วกว่าแผนงานจำนวน 3 สัญญา ได้แก่

1. โครงการฯ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 มีผลงานการก่อสร้าง 62.46%
2. โครงการฯ ช่วงนครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 1 มีผลงานการก่อสร้าง 93.99% และ
3. โครงการฯ ช่วงนครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 2 มีผลงานการก่อสร้าง 90.11%

ส่วนงานก่อสร้างที่ล่าช้ากว่าแผนมี 6 สัญญา ได้แก่
1. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 มีผลงานการก่อสร้าง 69.88%
2. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 มีผลงานการก่อสร้าง 92.10%
3. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 มีผลงานการก่อสร้าง 88.82%
4. ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ มีผลงานการก่อสร้าง 99.94%
5. ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สัญญาที่ 1 มีผลงานการก่อสร้าง 82.82%
6. ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สัญญาที่ 2 มีผลงานการก่อสร้าง 82.35%

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้กำชับให้ รฟท. กำกับดูแลให้ผู้รับจ้างเร่งรัดการก่อสร้าง สัญญาที่มีผลการก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงานให้มีผลการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงานโดยเร็ว

นอกจากนี้ ให้ รฟท.เร่งรัดการนำเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟทางคู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนให้มีความสมบูรณ์ และสามารถเชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์กับ สปป.ลาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยให้ รฟท.เร่งรัดการเสนอโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีตามแผนงานที่กำหนดไว้ และเมื่อคณะกรรมการ รฟท.พิจารณาเรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ในช่วงขอนแก่น-หนองคายแล้ว ให้ รฟท.ทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบการดำเนินงานและประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ให้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับประสบการณ์ที่มีปัญหาในอดีตมาปรับปรุง ให้การนำเสนอโครงการเกิดความสมบูรณ์

นอกจากนี้ ให้ รฟท.รวบรวมข้อมูลปริมาณการขนส่งสินค้าจากการเปิดให้บริการรถไฟลาว-จีน ว่ามีผลกระทบต่อปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศอย่างไร และเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ส่วนประเด็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง ของ รฟท. ให้ รฟท.ประสานขอข้อมูลแรงงานในระบบฐานข้อมูลของกระทรวงแรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

สำหรับการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างบริเวณสะพานสีมาธานีนั้น ให้ รฟท.จัดทำทางเลือกในการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนสำหรับนำไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ เช่น ทางเลือกในการอ้อมเมืองตามแนวคิดของ MR-MAP และพัฒนาระบบเชื่อมต่อการเดินทางให้ครบถ้วน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะส่วนที่ผ่านตัวเมืองใหญ่ ให้ รฟท.ออกแบบด้วยความรอบคอบ โดยให้นำนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ประกอบการพิจารณาด้วย

ส่วนปัญหามีการขโมยอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ (Signalling) โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ให้ รฟท.ศึกษาแนวทางของกรมทางหลวง ทล.ในการป้องกันการขโมยอุปกรณ์ทางหลวง

ส่วนกรณีสถานการณ์เพดานหนี้สาธารณะของประเทศ ขอให้ รฟท.ศึกษาแนวทางอื่นๆ ที่เหมาะสมกับการดำเนินโครงการของ รฟท.เพื่อลดภาระการพึ่งพางบประมาณของประเทศ เช่น การทำ PPP หรือการศึกษาแนวทางการทำ TFF ของ กทพ. เพื่อให้สามารถแปลงแผนงานไปสู่การปฏิบัติจริงได้

อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาโครงการรถไฟสายใหม่ ให้ รฟท.ตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วนว่ามีปัญหาในส่วนใดหรือไม่ โดยจัดทำเป็น Checklist หากมีปัญหาอุปสรรคให้ดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอนทันที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 305, 306, 307 ... 388, 389, 390  Next
Page 306 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©